ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สี่
ความรู้ทิพย์
โศลก 36
api ced asi pāpebhyaḥ
sarvebhyaḥ pāpa-kṛt-tamaḥ
sarvaṁ jñāna-plavenaiva
vṛjinaṁ santariṣyasi
sarvebhyaḥ pāpa-kṛt-tamaḥ
sarvaṁ jñāna-plavenaiva
vṛjinaṁ santariṣyasi
อปิ เจทฺ อสิ ปาเปภฺยห์
สเรฺวภฺยห์ ปาป-กฺฤตฺ-ตมห์
สรฺวํ ชฺญาน-ปฺลเวไนว
วฺฤชินํ สนฺตริษฺยสิ
สเรฺวภฺยห์ ปาป-กฺฤตฺ-ตมห์
สรฺวํ ชฺญาน-ปฺลเวไนว
วฺฤชินํ สนฺตริษฺยสิ
อปิ — ถึงแม้, เจตฺ — ถ้า, อสิ — เธอเป็น, ปาเปภฺยห์ — ของคนบาป, สเรฺวภฺยห์ — ทั้งหมด, ปาป-กฺฤตฺ-ตมห์ — คนบาปที่สุด, สรฺวมฺ — ผลบาปทั้งหมดนี้, ชฺญาน-ปฺลเวน — ด้วยนาวาแห่งความรู้ทิพย์, เอว — แน่นอน, วฺฤชินมฺ — มหาสมุทรแห่งความทุกข์, สนฺตริษฺยสิ — เธอจะข้ามได้อย่างสมบูรณ์
คำแปล
ถึงแม้ว่าจะได้รับการพิจารณาว่าเป็นคนบาปที่สุดในหมู่คนบาปทั้งหลาย
คำอธิบาย
การเข้าใจสถานภาพพื้นฐานอันแท้จริงของตนเองอย่างถูกต้องในความสัมพันธ์กับองค์กฺฤษฺณเป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะความเข้าใจเช่นนี้สามารถนำเราให้ออกจากการดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดที่กำลังดำเนินอยู่ในมหาสมุทรแห่งอวิชชาได้โดยทันที โลกวัตถุนี้บางครั้งถือว่าเป็นมหาสมุทรแห่งอวิชชา บางครั้งถือว่าเป็นป่าที่กำลังถูกไฟเผาไหม้ เราอาจเป็นนักว่ายน้ำที่เก่งมากแต่ในมหาสมุทรการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดนั้นเป็นสิ่งที่ยากลำบากมาก ถ้าหากว่ามีใครคนหนึ่งยื่นมือเข้ามาอุ้มนักว่ายน้ำที่กำลังดิ้นรนต่อสู้อยู่ให้ออกจากมหาสมุทร ท่านผู้นี้ถือเป็นผู้ช่วยเหลือที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ความรู้อันสมบูรณ์ที่ได้รับจากบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าคือวิถีทางแห่งความหลุดพ้น นาวาแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกนั้นเรียบง่ายมาก แต่ในขณะเดียวกันก็ประเสริฐที่สุด