ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สี่

ความรู้ทิพย์

โศลก 38

na hi jñānena sadṛśaṁ
pavitram iha vidyate
tat svayaṁ yoga-saṁsiddhaḥ
kālenātmani vindati
น หิ ชฺญาเนน สทฺฤศํ
ปวิตฺรมฺ อิห วิทฺยเต
ตตฺ สฺวยํ โยค-สํสิทฺธห์
กาเลนาตฺมนิ วินฺทติ
— ไม่มีสิ่งใด, หิ — แน่นอน, ชฺญาเนน — ด้วยความรู้, สทฺฤศมฺ — ในการเปรียบเทียบ, ปวิตฺรมฺ — ทำให้ถูกต้อง, อิห — ในโลกนี้, วิทฺยเต — มีอยู่, ตตฺ — นั้น, สฺวยมฺ — ตัวเขา, โยค — ในการอุทิศตนเสียสละ, สํสิทฺธห์ — ผู้ที่มีวุฒิภาวะ, กาเลน — ตามกาลเวลา, อาตฺมนิ — ในตัวเขา, วินฺทติ — ได้รับความสุข

คำแปล

ในโลกนี้ไม่มีอะไรประเสริฐและบริสุทธิ์เท่ากับความรู้ทิพย์ ความรู้เช่นนี้คือผลอันสมบูรณ์จากการเข้าฌานทั้งหลาย และผู้ที่ได้รับผลสำเร็จในการปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้จะได้รับความสุขกับความรู้นี้ภายในตัวเขาเองตามกาลเวลา

คำอธิบาย

เมื่อพูดถึงความรู้ทิพย์เราพูดถึงความเข้าใจทางจิตวิญญาณ ฉะนั้นจึงไม่มีสิ่งใดประเสริฐและบริสุทธิ์ไปกว่าความรู้ทิพย์ อวิชชาคือต้นเหตุแห่งการพันธนาการ และความรู้คือต้นเหตุแห่งความหลุดพ้น ความรู้นี้คือผลอันสมบูรณ์แห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ และเมื่อเราสถิตในความรู้ทิพย์เราก็ไม่จำเป็นต้องแสวงหาความสงบที่ไหนอีก เพราะเราได้รับความสุขจากความสงบภายในตัวเรา หรืออีกนัยหนึ่งความรู้และความสงบนี้เกิดขึ้นในกฺฤษฺณจิตสำนึก และนี่คือสิ่งสุดท้ายใน ภควัท-คีตา