ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สี่
ความรู้ทิพย์
โศลก 7
yadā yadā hi dharmasya
glānir bhavati bhārata
abhyutthānam adharmasya
tadātmānaṁ sṛjāmy aham
glānir bhavati bhārata
abhyutthānam adharmasya
tadātmānaṁ sṛjāmy aham
ยทา ยทา หิ ธรฺมสฺย
คฺลานิรฺ ภวติ ภารต
อภฺยุตฺถานมฺ อธรฺมสฺย
ตทาตฺมานํ สฺฤชามฺยฺ อหมฺ
คฺลานิรฺ ภวติ ภารต
อภฺยุตฺถานมฺ อธรฺมสฺย
ตทาตฺมานํ สฺฤชามฺยฺ อหมฺ
ยทา ยทา — เมื่อใดและที่ไหน, หิ — แน่นอน, ธรฺมสฺย — ของศาสนา, คฺลานิห์ — ขัดแย้ง, ภวติ — ปรากฏออกมา, ภารต — โอ้ ผู้สืบราชวงศ์ ภรต, อภฺยุตฺถานมฺ — มีอำนาจเหนือ, อธรฺมสฺย — ไร้ศาสนา, ตทา — เวลานั้น, อาตฺมานมฺ — ตัวข้า, สฺฤชามิ — ปรากฏ, อหมฺ — ข้า
คำแปล
เมื่อใดและที่ไหนที่การปฏิบัติตามหลักศาสนา
คำอธิบาย
คำว่า สฺฤชามิ มีความสำคัญ ณ ที่นี้ สฺฤชามิ มิใช่แปลว่าการสร้าง เพราะว่าโศลกก่อนหน้านี้ได้กล่าวไว้ว่าไม่มีการสร้างรูปร่างหรือพระวรกายขององค์ภควานฺ เนื่องจากรูปลักษณ์ของพระองค์นั้นทรงมีอยู่ชั่วกัลปวสาน ฉะนั้นคำว่า สฺฤชามิ หมายความว่าองค์ภควานฺทรงปรากฏมาตามความเป็นจริงแม้จะทรงปรากฏตามกำหนดเวลา เช่น ในปลาย ทฺวาปร-ยุค ของกัปที่ยี่สิบแปดแห่ง มนุ-สํหิตา องค์ที่เจ็ดในหนึ่งวันของพระพรหม พระองค์ทรงไม่มีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เหล่านี้ เพราะทรงมีอิสระเสรีอย่างสมบูรณ์ในการปฏิบัติ อย่างไรก็ได้ตามพระราชอัธยาศัย ฉะนั้นทรงปรากฏด้วยความปรารถนาของพระองค์เอง เมื่ออธรรมเฟื่องฟูมีอำนาจเหนือ และศาสนาที่แท้จริงสูญหายไป หลักธรรมแห่งศาสนานี้ได้วางไว้ในคัมภีร์พระเวท การปฏิบัติใดๆที่ขัดแย้งต่อกฎเกณฑ์อันถูกต้องของคัมภีร์พระเวทจะทำให้เราเป็นผู้ไร้คุณธรรม ใน ภาควต ได้กล่าวไว้ว่าหลักธรรมนี้คือ กฎขององค์ภควานฺ พระองค์เท่านั้นที่ทรงสามารถสร้างระบบศาสนา เป็นที่ยอมรับกันว่าองค์ภควานฺทรงเป็นผู้ตรัสคัมภีร์พระเวทเข้าสู่หัวใจของพระพรหม ฉะนั้นหลัก ธรฺม หรือหลักศาสนาคือคำสั่งโดยตรงของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า (ธรฺมํ ตุ สากฺษาทฺ ภควตฺ-ปฺรณีตมฺ ) หลักธรรมต่างๆได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนตลอดทั้งเล่มใน ภควัท-คีตา จุดมุ่งหมายของคัมภีร์พระเวทคือ สถาปนาหลักธรรมเช่นนี้ภายใต้คำสั่งขององค์ภควานฺ และพระองค์ทรงสั่งโดยตรงในตอนท้ายของ คีตา ว่าหลักธรรมสูงสุดของศาสนาคือ การศิโรราบต่อองค์ภควานฺเท่านั้นไม่มีอะไรมากไปกว่านี้ หลักธรรมของพระเวทจะส่งเสริมเราไปสู่การศิโรราบอย่างสมบูรณ์ต่อพระองค์ และเมื่อใดที่มีมารมารังควานหลักธรรมนี้องค์ภควานฺจะทรงปรากฏ จาก ภาควต เราเข้าใจว่าองค์กฺฤษฺณทรงอวตารลงมาเป็นองค์พุทฺธ (พระพุทธเจ้า) ขณะที่ลัทธิวัตถุนิยมแพร่หลาย และนักวัตถุนิยมได้ใช้ข้ออ้างจากอำนาจแห่งคัมภีร์พระเวท ถึงแม้ว่าจะมีกฎเกณฑ์ข้อบังคับเกี่ยวกับการบูชายัญสัตว์เพื่อจุดมุ่งหมายบางประการในคัมภีร์พระเวท แต่ผู้มีแนวโน้มไปในทางมารก็ยังทำการบูชายัญสัตว์โดยไม่มีการอ้างอิงถึงหลักธรรมของพระเวท องค์พุทฺธ (พระพุทธเจ้า) ทรงประสูติเพื่อหยุดความเหลวไหลเช่นนี้ และทรงสถาปนาหลักอหิงสาแห่งพระเวท ดังนั้นทุกๆ อวตาร หรืออวตารขององค์ภควานฺจะทรงมีพระภารกิจโดยเฉพาะ และทั้งหมดได้อธิบายไว้ในพระคัมภีร์อย่างเปิดเผย เราไม่ควรยอมรับผู้ใดว่าเป็นอวตารนอกจากพระคัมภีร์ ได้อ้างอิงไว้ไม่เป็นความจริงที่ว่าองค์ภควานฺทรงปรากฏบนแผ่นดินของประเทศอินเดียเท่านั้น พระองค์ทรงสามารถปรากฏพระวรกายได้ทุกหนทุกแห่งตามที่ทรงปรารถนา องค์ภควานฺในรูปของอวตารทุกพระองค์จะตรัสเกี่ยวกับศาสนามากเท่าที่ประชาชนในยุคและสถานการณ์นั้นๆจะเข้าใจได้ แต่พระภารกิจของทุกพระองค์ทรงเหมือนกันคือ ทรงนำประชาชนมาสู่ ภควานฺ จิตสำนึก และเชื่อฟังปฏิบัติตามหลักธรรมแห่งศาสนา บางครั้งพระองค์เสด็จลงมาเอง บางครั้งทรงส่งผู้แทนที่เชื่อถือได้มาในรูปของสาวก หรือผู้รับใช้ หรือทรงแปลงพระวรกายมา
หลักธรรมแห่ง ภควัท-คีตา ได้ตรัสแก่ อรฺชุน ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการตรัสแก่บุคคลอื่นๆที่เจริญแล้ว เนื่องจาก อรฺชุน ทรงมีความเจริญก้าวหน้ามากเมื่อเปรียบเทียบกับคนธรรมดาทั่วไป ในส่วนอื่นๆของโลกสองบวกสองเป็นสี่คือหลักคณิตศาสตร์ที่เป็นความจริง ไม่ว่าในชั้นคณิตศาสตร์เบื้องต้นหรือชั้นสูง ถึงกระนั้นก็ยังมีการคำนวณที่สูงกว่าและต่ำกว่า ดังนั้นอวตารทั้งหมดขององค์ภควานฺจะสอนหลักธรรมเดียวกัน แต่จะปรากฏว่าสูงกว่าหรือต่ำกว่าขึ้นอยู่กับแต่ละสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป หลักศาสนาที่สูงกว่าเริ่มจากการยอมรับสี่ระดับและสี่อาชีพแห่งชีวิตสังคมดังจะอธิบายต่อไป จุดมุ่งหมายทั้งหมดแห่งพระภารกิจขององค์อวตารคือ การรณรงค์กฺฤษฺณจิตสำนึกทั่วทุกหนทุกแห่ง จิตสำนึกเช่นนี้ปรากฏหรือไม่ปรากฏจะอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่แตกต่างกันเท่านั้น