ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ ห้า

กรฺม-โยค การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก

โศลก 1

arjuna uvāca
sannyāsaṁ karmaṇāṁ kṛṣṇa
punar yogaṁ ca śaṁsasi
yac chreya etayor ekaṁ
tan me brūhi su-niścitam
อรฺชุน อุวาจ
สนฺนฺยาสํ กรฺมณำ กฺฤษฺณ
ปุนรฺ โยคํ จ ศํสสิ
ยจฺ เฉฺรย เอตโยรฺ เอกํ
ตนฺ เม พฺรูหิ สุ-นิศฺจิตมฺ
อรฺชุนห์ อุวาจอรฺชุน ตรัส, สนฺนฺยาสมฺ — สละ, กรฺมณามฺ — ของกิจกรรมทั้งหลาย, กฺฤษฺณ — โอ้ กฺฤษฺณ, ปุนห์ — อีกครั้ง, โยคมฺ — การอุทิศตนเสียสละรับใช้, — เช่นกัน, ศํสสิ — ท่านสรรเสริญ, ยตฺ — ซึ่ง, เศฺรยห์ — มีประโยชน์มากกว่า, เอตโยห์ — ทั้งสองสิ่งนี้, เอกมฺ — หนึ่ง, ตตฺ — นั้น, เม — แก่ข้าพเจ้า, พฺรูหิ — กรุณาบอก, สุ-นิศฺจิตมฺ — อย่างชัดเจน

คำแปล

อรฺชุน ตรัสว่า โอ้ กฺฤษฺณ เริ่มแรกพระองค์ทรงบอกให้ข้าพเจ้าสละงาน และจากนั้นก็ทรงแนะนำให้ทำงานด้วยการอุทิศตนเสียสละ ขอให้พระองค์ทรงโปรดกรุณาตรัสอย่างชัดเจนว่า ทั้งสองสิ่งนี้สิ่งไหนจะมีประโยชน์มากกว่ากัน

คำอธิบาย

ในบทที่ห้าของ ภควัท-คีตา นี้องค์ภควานฺทรงตรัสว่า งานในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ดีกว่าการคาดคะเนทางจิตใจอย่างลมๆแล้งๆ การอุทิศตนเสียสละรับใช้นั้นง่ายกว่า เพราะว่าเป็นทิพย์โดยธรรมชาติและทำให้เราเป็นอิสระจากวิบากกรรม ในบทที่สองได้อธิบายถึงความรู้พื้นฐานของดวงวิญญาณ และการที่ดวงวิญญาณถูกพันธนาการในร่างวัตถุ พร้อมทั้งอธิบายถึงความหลุดพ้นจากพันธนาการทางวัตถุนี้ด้วย พุทฺธิ-โยค หรือการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ในบทที่สามได้อธิบายถึงบุคคลผู้สถิตในระดับแห่งความรู้จะไม่มีหน้าที่ใดๆต้องปฏิบัติอีกต่อไป ในบทที่สี่พระองค์ตรัสแก่ อรฺชุน ว่างานบูชาทั้งหมดมาจบลงที่ความรู้ อย่างไรก็ดีในตอนท้ายของบทที่สี่องค์ภควานฺทรงแนะนำให้ อรฺชุน ตื่นขึ้นต่อสู้ และสถิตในความรู้อันสมบูรณ์ ดังนั้นจากการเน้นถึงความสำคัญพร้อมๆกันทั้งงานแห่งการอุทิศตนเสียสละ และการวางเฉยอยู่ในความรู้ได้สร้างความงุนงงและสับสนให้แก่ อรฺชุน ในการตัดสินใจ อรฺชุน ทรงเข้าใจว่าการเสียสละในความรู้คือหยุดการงานทั้งหมดที่เป็นกิจกรรมทางประสาทสัมผัส แต่ถ้าหากว่าเราปฏิบัติงานในการอุทิศตนเสียสละรับใช้แล้วงานจะหยุดลงได้อย่างไร หรืออีกนัยหนึ่ง อรฺชุน ทรงคิดว่า สนฺนฺยาส หรือการสละในความรู้ควรเป็นอิสระจากกิจกรรมทั้งมวล เพราะว่าการทำงานและการเสียสละไปด้วยกันไม่ได้ ปรากฏว่า อรฺชุน ทรงไม่เข้าใจว่าการทำงานที่เปี่ยมไปด้วยความรู้นั้นจะไม่มีวิบากกรรมจึงดูเหมือนว่าไม่ได้ทำอะไรเลย ดังนั้นจึงทรงถามว่าควรจะหยุดทำงานทั้งหมด หรือควรทำงานในแบบที่เปี่ยมไปด้วยความรู้