ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ ห้า

กรฺม-โยค การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก

โศลก 10

brahmaṇy ādhāya karmāṇi
saṅgaṁ tyaktvā karoti yaḥ
lipyate na sa pāpena
padma-patram ivāmbhasā
พฺรหฺมณฺยฺ อาธาย กรฺมาณิ
สงฺคํ ตฺยกฺตฺวา กโรติ ยห์
ลิปฺยเต น ส ปาเปน
ปทฺม-ปตฺรมฺ อิวามฺภสา
พฺรหฺมณิ — แด่องค์ภควาน, อาธาย — สละ, กรฺมาณิ — งานทั้งหมด, สงฺคมฺ — การยึดติด, ตฺยกฺตฺวา — ยกเลิก, กโรติ — ปฏิบัติ, ยห์ — ผู้ซึ่ง, ลิปฺยเต — มีผลกระทบ, — ไม่, สห์ — เขา, ปาเปน — ด้วยความบาป, ปทฺม-ปตฺรมฺ — ใบบัว, อิว — เหมือน, อมฺภสา — ด้วยน้ำ

คำแปล

ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยปราศจากการยึดติด ศิโรราบผลของงานแด่องค์ภควานจะไม่ได้รับผลกระทบจากการทำบาปฉันใด เปรียบเสมือนกับใบบัวที่น้ำไม่สามารถซึมเข้าไปได้ฉันนั้น

คำอธิบาย

ที่นี้คำว่า พฺรหฺมณิ หมายถึงในกฺฤษฺณจิตสำนึก โลกวัตถุคือปรากฏการณ์มวลรวมของสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ เรียกทางเทคนิคว่า ปฺรธาน บทมนต์พระเวท สรฺวํ หฺยฺ เอตทฺ พฺรหฺม (มาณฺฑูกฺย อุปนิษทฺ 2 ) ตสฺมาทฺ เอตทฺ พฺรหฺม นาม รูปมฺ อนฺนํ ชายเต (มาณฺฑูกฺย อุปนิษทฺ 1.2.10 ) และใน ภควัท-คีตา (14.3) มม โยนิรฺ มหทฺ พฺรหฺม แสดงให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกวัตถุคือปรากฏการณ์ของ พฺรหฺมนฺ แม้ว่าผลจะปรากฎออกมาแตกต่างกัน แต่มันไม่แตกต่างจากแหล่งกำเนิด ใน อีโศปนิษทฺ ได้กล่าวไว้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างสัมพันธ์กับ พฺรหฺมนฺ สูงสุดหรือองค์กฺฤษฺณ ฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างจึงเป็นของพระองค์เท่านั้น ผู้ที่ทราบดีว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นขององค์กฺฤษฺณ และพระองค์ทรงเป็นเจ้าของทุกสิ่งทุกอย่างดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างจึงควรนำมารับใช้องค์ภควานฺ โดยธรรมชาติตัวท่านไม่เกี่ยวข้องกับผลของกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นผลบุญหรือบาป ร่างวัตถุของทุกๆคนเป็นของขวัญจากองค์ภควานฺเพื่อปฏิบัติงานบางอย่างโดยเฉพาะ เราสามารถนำมาใช้ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกได้ หากเป็นเช่นนี้ก็อยู่เหนือมลทินจากผลแห่งบาป เช่นเดียวกับใบบัวถึงแม้จะอยู่ในน้ำแต่ไม่เปียก องค์ภควานฺทรงตรัสไว้ใน คีตา (3.30) เช่นกันว่า มยิ สรฺวาณิ กรฺมาณิ สนฺนฺยสฺย “จงสละงานทั้งหมดแด่ข้า (กฺฤษฺณ)” ข้อสรุปคือบุคคลผู้ปราศจากกฺฤษฺณจิตสำนึกปฏิบัติตามทัศนคติของร่างกายและประสาทสัมผัสวัตถุ แต่บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกปฏิบัติตามความรู้ที่ว่าร่างกายเป็นสมบัติขององค์กฺฤษฺณ ดังนั้นจึงควรใช้ไปในการรับใช้องค์กฺฤษฺณ