ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ ห้า

กรฺม-โยค การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก

โศลก 12

yuktaḥ karma-phalaṁ tyaktvā
śāntim āpnoti naiṣṭhikīm
ayuktaḥ kāma-kāreṇa
phale sakto nibadhyate
ยุกฺตห์ กรฺม-ผลํ ตฺยกฺตฺวา
ศานฺติมฺ อาปฺโนติ ไนษฺฐิกีมฺ
อยุกฺตห์ กาม-กาเรณ
ผเล สกฺโต นิพธฺยเต
ยุกฺตห์ — ผู้ปฏิบัติอุทิศตนเสียสละรับใช้, กรฺม-ผลมฺ — ผลของกิจกรรมทั้งหมด, ตฺยกฺตฺวา — สละ, ศานฺติมฺ — ความสงบอันสมบูรณ์, อาปฺโนติ — ได้รับ, ไนษฺฐิกีมฺ — แน่วแน่, อยุกฺตห์ — ผู้ที่ไม่อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึก, กาม-กาเรณ — เพื่อความสุขกับผลของงาน, ผเล — ในผล, สกฺตห์ — ยึดติด, นิพธฺยเต — ถูกพันธนาการ

คำแปล

ดวงวิญญาณผู้อุทิศตนเสียสละอยู่เสมอได้รับความสงบที่บริสุทธิ์เพราะถวายผลของกิจกรรมทั้งหมดแด่ข้า ขณะที่ผู้ไม่ร่วมกับองค์ภควานฺโลภในผลแห่งแรงงานของตนเองจะถูกพันธนาการ

คำอธิบาย

ข้อแตกต่างระหว่างบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกและบุคคลในร่างกายจิตสำนึกคือ คนหนึ่งยึดมั่นกับองค์กฺฤษฺณ และอีกคนหนึ่งยึดติดกับผลของกิจกรรมของตนเอง บุคคลผู้ยึดมั่นต่อองค์กฺฤษฺณและทำงานเพื่อพระองค์เท่านั้นจะเป็นผู้หลุดพ้น และจะไม่มีความวิตกกังวลกับผลงานของตนเองอย่างแน่นอน ใน ภาควต อธิบายว่าสาเหตุแห่งความวิตกกังวลกับผลของกิจกรรมเกิดจาการทำหน้าที่ในทัศนคติของสิ่งคู่โดยไม่มีความรู้แห่งสัจธรรมที่สมบูรณ์ องค์กฺฤษฺณทรงเป็นสัจธรรมที่สมบูรณ์สูงสุด องค์ภควานฺในกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่มีสิ่งคู่ ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่เป็นผลผลิตจากพลังงานขององค์กฺฤษฺณ และองค์กฺฤษฺณทรงดีไปหมด ฉะนั้นกิจกรรมในกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงอยู่ในระดับที่สมบูรณ์นั้นเป็นทิพย์และไม่มีผลทางวัตถุ ผู้ปฏิบัติจึงเปี่ยมไปด้วยความสงบในกฺฤษฺณจิตสำนึก แต่ผู้ที่ถูกพันธนาการอยู่ในการคำนวณผลกำไรเพื่อสนองประสาทสัมผัสไม่สามารถได้รับความสงบเช่นนี้ นี่คือความลับของกฺฤษฺณจิตสำนึก ความรู้แจ้งที่ว่าไม่มีสิ่งอื่นใดมีอยู่นอกจากองค์กฺฤษฺณ คือฐานแห่งความสงบและความไม่กลัว