ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ ห้า

กรฺม-โยค การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก

โศลก 13

sarva-karmāṇi manasā
sannyasyāste sukhaṁ vaśī
nava-dvāre pure dehī
naiva kurvan na kārayan
สรฺว-กรฺมาณิ มนสา
สนฺนฺยสฺยาเสฺต สุขํ วศี
นว-ทฺวาเร ปุเร เทหี
ไนว กุรฺวนฺ น การยนฺ
สรฺว — ทั้งหมด, กรฺมาณิ — กิจกรรม, มนสา — ด้วยจิตใจ, สนฺนฺยสฺย — สละ, อาเสฺต — คงอยู่, สุขมฺ — ในความสุข, วศี — ผู้ควบคุม, นว-ทฺวาเร — ในสถานที่ที่มีเก้าประตู, ปุเร — ในเมือง, เทหี — วิญญาณในร่าง, — ไม่, เอว — แน่นอน, กุรฺวนฺ — ทำอะไร, — ไม่, การยนฺ — เป็นต้นเหตุให้ทำ

คำแปล

เมื่อดวงชีวิตในร่างควบคุมธรรมชาติของตนเองได้ และด้วยจิตใจที่สละการกระทำทั้งหมด เขาเป็นผู้พำนักอยู่ในเมืองที่มีเก้าประตู (ร่างวัตถุ) อย่างมีความสุข ไม่ได้ทำงานหรือเป็นต้นเหตุให้งานสำเร็จ

คำอธิบาย

วิญญาณในร่างอาศัยอยู่ในเมืองที่มีเก้าประตู กิจกรรมของร่างกายหรือเมืองอุปมาแห่งร่างกายที่เป็นรูปร่างจะดำเนินการโดยอัตโนมัติ โดยระดับแห่งธรรมชาติวัตถุแบบเฉพาะ ถึงแม้ว่าดวงวิญญาณจะทำตัวมันเองให้ขึ้นอยู่กับสภาวะของร่างกายจะสามารถอยู่เหนือสภาวะเหล่านี้ได้หากตัวเขาต้องการ ที่เป็นเช่นนี้เพราะได้ลืมธรรมชาติที่สูงกว่าของตน และไปสำคัญตัวเองกับร่างวัตถุจึงต้องรับทุกข์ กฺฤษฺณจิตสำนึกจะสามารถฟื้นฟูสถานภาพอันแท้จริงและออกมาจากร่างกายนี้ เมื่อยอมรับ กฺฤษฺณจิตสำนึกเราจะออกห่างจากกิจกรรมทางร่างกายอย่างสมบูรณ์ทันที ในชีวิตที่ควบคุมได้เช่นนี้ที่เจตนารมณ์ได้เปลี่ยนไปเราจะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขในเมืองเก้าประตู ได้กล่าวถึงประตูทั้งเก้าไว้ดังนี้

นว-ทฺวาเร ปุเร เทหี
หํโส เลลายเต พหิห์
วศี สรฺวสฺย โลกสฺย
สฺถาวรสฺย จรสฺย จ
“บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงประทับอยู่ภายในร่างของสิ่งมีชีวิต และทรงเป็นผู้ควบคุมมวลชีวิตในมวลจักรวาล ร่างกายประกอบด้วยเก้าประตู (สองตา สองโพรงจมูก สองหู หนึ่งปาก หนึ่งทวาร และอวัยวะสืบพันธุ์) สิ่งมีชีวิตในระดับวัตถุสำคัญตนเองกับร่างกาย แต่เมื่อสำคัญตนเองกับองค์ภควานฺภายในร่างเขาจะมีอิสรภาพเท่าๆกับองค์ภควานฺ แม้ขณะอยู่ในร่างกายนี้” (เศฺวตาศฺวตร อุปนิษทฺ 3.18)

ฉะนั้นบุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงเป็นอิสระจากกิจกรรมทั้งภายนอกและภายในร่างวัตถุ