ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ ห้า

กรฺม-โยค การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก

โศลก 17

tad-buddhayas tad-ātmānas
tan-niṣṭhās tat-parāyaṇāḥ
gacchanty apunar-āvṛttiṁ
jñāna-nirdhūta-kalmaṣāḥ
ตทฺ-พุทฺธยสฺ ตทฺ-อาตฺมานสฺ
ตนฺ-นิษฺฐาสฺ ตตฺ-ปรายณาห์
คจฺฉนฺตฺยฺ อปุนรฺ-อาวฺฤตฺตึ
ชฺญาน-นิรฺธูต-กลฺมษาห์
ตตฺ-พุทฺธยห์ — ผู้ที่ปัญญาอยู่ในองค์ภควานเสมอ, ตตฺ-อาตฺมานห์ — ผู้ที่จิตใจอยู่ในองค์ภควานเสมอ, ตตฺ-นิษฺฐาห์ — ผู้ที่มีความศรัทธาอยู่ในองค์ภควานเท่านั้น, ตตฺ-ปรายณาห์ — ผู้ที่รับเอาองค์ภควานเป็นที่พึ่งโดยสมบูรณ์, คจฺฉนฺติ — ไป, อปุนห์-อาวฺฤตฺติมฺ — สู่ความหลุดพ้น, ชฺญาน — ด้วยความรู้, นิรฺธูต — ทำให้บริสุทธิ์, กลฺมษาห์ — ความแคลงใจ

คำแปล

เมื่อปัญญา จิตใจ ศรัทธา และที่พึ่งของเขาทั้งหมดตั้งมั่นอยู่ในองค์ภควาน จากนั้นความสงสัยได้ถูกชะล้างไปจนหมดสิ้นด้วยความรู้ที่สมบูรณ์ เขาก็จะมุ่งหน้าไปสู่หนทางแห่งความหลุดพ้น

คำอธิบาย

สัจธรรมทิพย์สูงสุดคือองค์ศฺรี กฺฤษฺณ ภควัท-คีตา ทั้งเล่มมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่การประกาศว่าองค์กฺฤษฺณคือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า นั่นคือวิสัยทัศน์ของวรรณกรรมพระเวททั้งหมด ปร-ตตฺตฺว หมายถึงความจริงแท้ที่สูงสุด ผู้ที่ทราบว่าองค์ภควานฺทรงเป็น พฺรหฺมนฺ ปรมาตฺมา และ ภควานฺ เข้าใจว่า ภควานฺ หรือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าคือคำสุดท้ายแห่งความสมบูรณ์ที่แท้จริง ไม่มีอะไรที่มากไปกว่านี้ พระองค์ตรัสว่า มตฺตห์ ปรตรํ นานฺยตฺ กิญฺจิทฺ อสฺติ ธนญฺ-ชย องค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้ค้ำจุน พฺรหฺมนฺ ที่ไร้รูปลักษณ์ไว้เช่นเดียวกัน พฺรหฺมโณ หิ ปฺรติษฺฐาหมฺ ฉะนั้นในทุกๆทางองค์กฺฤษฺณทรงเป็นความจริงแท้ที่สูงสุด ผู้ที่จิตใจ ปัญญา ความศรัทธา และที่พึ่งอยู่ในองค์กฺฤษฺณเสมอ หรืออีกนัยหนึ่งคือผู้ที่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ ความเคลือบแคลงทั้งหมดได้ถูกชะล้างให้สะอาดอย่างไม่ต้องสงสัย และสถิตในความรู้อันสมบูรณ์ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับความเป็นทิพย์ บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกสามารถเข้าใจโดยตลอดว่ามีสิ่งคู่ (มีรูปพรรณและความเป็นปัจเจกบุคคลในขณะเดียวกัน) ในองค์กฺฤษฺณ และเพียบพร้อมไปด้วยความรู้ทิพย์ เช่นนี้เขาจะสามารถเจริญก้าวหน้าด้วยความมั่นคงบนหนทางแห่งความหลุดพ้น