ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ ห้า

กรฺม-โยค การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก

โศลก 19

ihaiva tair jitaḥ sargo
yeṣāṁ sāmye sthitaṁ manaḥ
nirdoṣaṁ hi samaṁ brahma
tasmād brahmaṇi te sthitāḥ
อิไหว ไตรฺ ชิตห์ สรฺโค
เยษำ สาเมฺย สฺถิตํ มนห์
นิรฺโทษํ หิ สมํ พฺรหฺม
ตสฺมาทฺ พฺรหฺมณิ เต สฺถิตาห์
อิห — ในชีวิตนี้, เอว — แน่นอน, ไตห์ — โดยพวกเขา, ชิตห์ — ชัยชนะ, สรฺคห์ — การเกิดและตาย, เยษามฺ — ผู้ซึ่ง, สาเมฺย — ในความสงบใจ, สฺถิตมฺ — สถิต, มนห์ — จิตใจ, นิรฺโทษมฺ — ไม่มีมลทิน, หิ — แน่นอน, สมมฺ — ในความสงบใจ, พฺรหฺม — เหมือนองค์ภควาน, ตสฺมาตฺ — ดังนั้น, พฺรหฺมณิ — ในองค์ภควาน, เต — พวกเขา, สฺถิตาห์ — สถิต

คำแปล

พวกที่จิตใจสถิตในความมั่นคงและสงบเป็นผู้ที่ได้รับชัยชนะจากสภาวะแห่งการเกิดและการตายแล้ว พวกนี้ไม่มีมลทินเหมือน พฺรหฺมนฺ ฉะนั้น เท่ากับเขาได้สถิตใน พฺรหฺมนฺ เรียบร้อยแล้ว

คำอธิบาย

ความสงบของจิตใจที่ได้กล่าวข้างต้นนี้เป็นเครื่องหมายของความรู้แจ้งแห่งตน บุคคลที่บรรลุถึงระดับนี้อย่างแท้จริงควรได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้ที่ได้รับชัยชนะสภาวะทางวัตถุแล้ว โดยเฉพาะการเกิดและการตาย ตราบใดที่แสดงตัวกับร่างกายนี้พิจารณาได้ว่าเขาคือพันธวิญญาณ แต่ในทันทีที่พัฒนามาถึงระดับแห่งความสงบด้วยการรู้แจ้งตนเองเขาเป็นอิสระจากพันธชีวิต หรืออีกนัยหนึ่งเขาไม่ต้องเกิดในโลกวัตถุนี้อีกต่อไป แต่สามารถบรรลุถึงอาณาจักรทิพย์หลังจากตายไป องค์ภควานฺทรงไม่มีมลทินเพราะทรงปราศจากความยึดติดหรือความเกลียดชัง ในทำนองเดียวกันเมื่อสิ่งมีชีวิตปราศจากความยึดติดหรือความเกลียดชังตัวเขาก็ไร้มลทินได้เช่นเดียวกัน และมีสิทธิ์บรรลุถึงอาณาจักรทิพย์ บุคคลเช่นนี้พิจารณาได้ว่าเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว และลักษณะอาการเป็นเช่นไรจะได้อธิบายต่อไป