ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ ห้า

กรฺม-โยค การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก

โศลก 20

na prahṛṣyet priyaṁ prāpya
nodvijet prāpya cāpriyam
sthira-buddhir asammūḍho
brahma-vid brahmaṇi sthitaḥ
น ปฺรหฺฤเษฺยตฺ ปฺริยํ ปฺราปฺย
โนทฺวิเชตฺ ปฺราปฺย จาปฺริยมฺ
สฺถิร-พุทฺธิรฺ อสมฺมูโฒ
พฺรหฺม-วิทฺ พฺรหฺมณิ สฺถิตห์
— ไม่เคย, ปฺรหฺฤเษฺยตฺ — รื่นเริง, ปฺริยมฺ — พอใจ, ปฺราปฺย — ได้รับ, — ไม่เคย, อุทฺวิเชตฺ — หงุดหงิด, ปฺราปฺย — ได้รับ, — เช่นกัน, อปฺริยมฺ — ไม่พอใจ, สฺถิร-พุทฺธิห์ — ปัญญาในตัว, อสมฺมูฒห์ — ไม่สับสน, พฺรหฺม-วิตฺ — ผู้รู้องค์ภควานโดยสมบูรณ์, พฺรหฺมณิ — ในความเป็นทิพย์, สฺถิตห์ — สถิต

คำแปล

บุคคลผู้ไม่ร่าเริงเมื่อได้รับสิ่งที่พึงพอใจ ไม่เสียใจเมื่อได้รับสิ่งที่ไม่พึงพอใจ เป็นผู้มีปัญญาอยู่ในตัว ไม่สับสน และรู้ศาสตร์แห่งองค์ภควานฺถือว่าเป็นผู้สถิตในความเป็นทิพย์เรียบร้อยแล้ว

คำอธิบาย

ลักษณะอาการของผู้รู้แจ้งตนเองได้ให้ไว้ที่นี้ ลักษณะอาการแรกคือเขาไม่อยู่ในความหลงผิดคิดว่าร่างกายนี้คือตัวจริงของเขา เขารู้ดีว่าตัวเขาไม่ใช่ร่างกายนี้แต่เป็นละอองอณูของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ฉะนั้นจึงไม่รื่นเริงเมื่อได้รับบางสิ่งบางอย่าง หรือไม่เสียใจเมื่อสูญเสียบางสิ่งบางอย่างที่สัมพันธ์กับร่างกาย จิตใจที่มั่นคงเช่นนี้เรียกว่า สฺถิร-พุทฺธิ หรือผู้มีปัญญาในตัว ฉะนั้นเขาจึงไม่สับสนด้วยความเข้าใจผิดว่าร่างกายอันหยาบนี้เป็นดวงวิญญาณของเขา และเขาไม่ยอมรับว่าร่างกายนี้ถาวรจนปฏิเสธความมีอยู่ของดวงวิญญาณ ความรู้นี้พัฒนาตัวเขามาถึงจุดที่รู้ศาสตร์แห่งสัจธรรมที่สมบูรณ์ เช่น พฺรหฺมนฺ ปรมาตฺมา และ ภควานฺ เขาจึงรู้สถานภาพพื้นฐานของตัวเองเป็นอย่างดี โดยปราศจากความพยายามผิดๆที่จะไปเป็นหนึ่งเดียวกับองค์ภควานฺในทุกๆด้าน เช่นนี้เรียกว่าความรู้แจ้ง พฺรหฺมนฺ หรือความรู้แจ้งแห่งตนจิตสำนึกที่มั่นคงเช่นนี้เรียกว่ากฺฤษฺณจิตสำนึก