ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ ห้า
กรฺม-โยค การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก
โศลก 22
ye hi saṁsparśa-jā bhogā
duḥkha-yonaya eva te
ādy-antavantaḥ kaunteya
na teṣu ramate budhaḥ
duḥkha-yonaya eva te
ādy-antavantaḥ kaunteya
na teṣu ramate budhaḥ
เย หิ สํสฺปรฺศ-ชา โภคา
ทุห์ข-โยนย เอว เต
อาทฺยฺ-อนฺตวนฺตห์ เกานฺเตย
น เตษุ รมเต พุธห์
ทุห์ข-โยนย เอว เต
อาทฺยฺ-อนฺตวนฺตห์ เกานฺเตย
น เตษุ รมเต พุธห์
เย — พวกเขา, หิ — แน่นอน, สํสฺปรฺศ-ชาห์ — ด้วยการมาสัมผัสกับประสาทสัมผัสวัตถุ, โภคาห์ — ความเพลิดเพลิน, ทุห์ข — ความทุกข์, โยนยห์ — แหล่งกำเนิดของ, เอว — แน่นอน, เต — พวกเขาเป็น, อาทิ — เริ่มต้น, อนฺต — จบ, วนฺตห์ — อยู่ในอำนาจ, เกานฺเตย — โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี, น — ไม่เคย, เตษุ — ในสิ่งเหล่านั้น, รมเต — ชื่นชมยินดี, พุธห์ — บุคคลผู้มีปัญญา
คำแปล
บุคคลผู้มีปัญญาจะไม่ไปมีส่วนร่วมกับต้นเหตุแห่งความทุกข์อันเนื่องมาจากการไปสัมผัสกับประสาทสัมผัสวัตถุ
คำอธิบาย
ความสุขทางประสาทสัมผัสวัตถุอันเนื่องจากการมาสัมผัสกับวัตถุซึ่งทั้งหมดเป็นสิ่งชั่วคราว เพราะร่างกายเองก็เป็นสิ่งชั่วคราว ดวงวิญญาณผู้หลุดพ้นไม่สนใจสิ่งใดๆที่ไม่ถาวร รู้ดีถึงความปลื้มปีติแห่งความสุขทิพย์ แล้วดวงวิญญาณผู้หลุดพ้นจะยอมรับเอาความสุขจอมปลอมได้อย่างไร ใน ปทฺม ปุราณ กล่าวว่า
รมนฺเต โยคิโน ’นนฺเต
สตฺยานนฺเท จิทฺ-อาตฺมนิ
อิติ ราม-ปเทนาเสา
ปรํ พฺรหฺมาภิธียเต
สตฺยานนฺเท จิทฺ-อาตฺมนิ
อิติ ราม-ปเทนาเสา
ปรํ พฺรหฺมาภิธียเต
“พวกโยคีได้รับความสุขทิพย์อย่างหาที่สุดมิได้จากสัจธรรมที่สมบูรณ์ ฉะนั้นสัจธรรมที่สมบูรณ์สูงสุดองค์ภควานฺจึงทรงมีอีกพระนามหนึ่งว่า ราม”
ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (5.5.1) ได้มีกล่าวไว้เช่นกันว่า
นายํ เทโห เทห-ภาชำ นฺฤ-โลเก
กษฺฏานฺ กามานฺ อรฺหเต วิฑฺ-ภุชำ เย
ตโป ทิวฺยํ ปุตฺรกา เยน สตฺตฺวํ
ศุทฺเธฺยทฺ ยสฺมาทฺ พฺรหฺม-เสาขฺยํ ตฺวฺ อนนฺตมฺ
กษฺฏานฺ กามานฺ อรฺหเต วิฑฺ-ภุชำ เย
ตโป ทิวฺยํ ปุตฺรกา เยน สตฺตฺวํ
ศุทฺเธฺยทฺ ยสฺมาทฺ พฺรหฺม-เสาขฺยํ ตฺวฺ อนนฺตมฺ
“โอ้ ลูกรัก ไม่มีเหตุผลอันใดที่จะต้องไปทำงานหนักเพื่อความสุขทางประสาทสัมผัสขณะที่มีชีวิตอยู่ในร่างมนุษย์นี้ ความสุขเช่นนี้พวกกินอุจจาระ (สุกร) ก็ยังหาได้โดยง่ายดาย ฉะนั้นเธอควรบำเพ็ญเพียรในชีวิตนี้ซึ่งจะทำให้ความเป็นอยู่ของเธอบริสุทธิ์ขึ้น และจากผลแห่งการกระทำเช่นนี้เธอจะสามารถเพลิดเพลินกับความปลื้มปีติสุขทิพย์อย่างหาที่สุดไม่ได้”
ฉะนั้นพวกที่เป็นโยคีหรือนักทิพย์นิยมผู้มีปัญญาโดยแท้จริงจะไม่หลงใหลอยู่กับความสุขทางประสาทสัมผัสอันเป็นต้นเหตุแห่งความเป็นอยู่ทางวัตถุ ผู้ที่เสพติดกับความสุขทางวัตถุมากเพียงใดเขาก็จะติดกับดักในความทุกข์ทางวัตถุมากยิ่งขึ้น