ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ ห้า

กรฺม-โยค การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก

โศลก 24

yo ’ntaḥ-sukho ’ntar-ārāmas
tathāntar-jyotir eva yaḥ
sa yogī brahma-nirvāṇaṁ
brahma-bhūto ’dhigacchati
โย ’นฺตห์-สุโข ’นฺตรฺ-อารามสฺ
ตถานฺตรฺ-โชฺยติรฺ เอว ยห์
ส โยคี พฺรหฺม-นิรฺวาณํ
พฺรหฺม-ภูโต ’ธิคจฺฉติ
ยห์ — ผู้ซึ่ง, อนฺตห์-สุขห์ — ความสุขจากภายใน, อนฺตห์-อารามห์ — มีความตื่นตัวเพลิดเพลินภายใน, ตถา — พร้อมกับ, อนฺตห์-โชฺยติห์ — มีเป้าหมายภายใน, เอว — แน่นอน, ยห์ — ผู้ใด, สห์ — เขา, โยคี — โยคี, พฺรหฺม-นิรฺวาณมฺ — เสรีภาพในองค์ภควาน, พฺรหฺม-ภูตห์ — เป็นผู้รู้แจ้งแห่งตน, อธิคจฺฉติ — ได้รับ

คำแปล

พวกที่มีความสุขอยู่ภายใน มีความตื่นตัวและร่าเริงอยู่ภายใน และเป็นผู้ที่มีเป้าหมายอยู่ภายในเป็นโยคีที่สมบูรณ์โดยแท้จริง เขาหลุดพ้นอยู่ในองค์ภควาน และในที่สุดจะบรรลุถึงพระองค์

คำอธิบาย

เว้นแต่ว่าเราจะได้รับรสแห่งความสุขภายในมิฉะนั้นแล้วจะสามารถยกเลิกกิจกรรมภายนอกเพื่อความสุขเพียงผิวเผินได้อย่างไร บุคคลผู้หลุดพ้นรื่นเริงอยู่กับความสุขด้วยประสบการณ์จริง ดังนั้นจึงสามารถนั่งอย่างสงบเงียบได้ไม่ว่าในสถานที่ใด และร่าเริงกับกิจกรรมแห่งชีวิต ในบุคคลผู้มีอิสระเสรีเช่นนี้จะไม่ต้องการความสุขทางวัตถุภายนอกใดๆทั้งสิ้น ระดับนี้เรียกว่า พฺรหฺม-ภูต ซึ่งเมื่อบรรลุแล้วจะต้องกลับคืนสู่เหย้ากลับคืนสู่องค์ภควานฺอย่างแน่นอน