ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ ห้า

กรฺม-โยค การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก

โศลก 26

kāma-krodha-vimuktānāṁ
yatīnāṁ yata-cetasām
abhito brahma-nirvāṇaṁ
vartate viditātmanām
กาม-โกฺรธ-วิมุกฺตานำ
ยตีนำ ยต-เจตสามฺ
อภิโต พฺรหฺม-นิรฺวาณํ
วรฺตเต วิทิตาตฺมนามฺ
กาม — จากความต้องการ, โกฺรธ — และความโกรธ, วิมุกฺตานามฺ — ของพวกที่หลุดพ้น, ยตีนามฺ — ของนักบุญ, ยต-เจตสามฺ — ผู้ควบคุมจิตใจได้เป็นอย่างดี, อภิตห์ — ในอนาคตอันใกล้นี้อย่างแน่นอน, พฺรหฺม-นิรฺวาณมฺ — หลุดพ้นอยู่ในองค์ภควาน, วรฺตเต — มี, วิทิต-อาตฺมนามฺ — ของบุคคลผู้ที่รู้แจ้งแห่งตน

คำแปล

ผู้ที่ปราศจากความโกรธและความต้องการทางวัตถุทั้งหมดเป็นผู้รู้แจ้งแห่งตนมีวินัยในตนเอง และพยายามเพื่อความสมบูรณ์อยู่เสมอ จะหลุดพ้นสู่องค์ภควานภายในอนาคตอันใกล้นี้แน่นอน

คำอธิบาย

ระหว่างนักบุญทั้งหลายผู้ปฏิบัติเพื่อพยายามบรรลุถึงความหลุดพ้นอยู่เสมอ ผู้อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกดีที่สุด ภาควตมฺ (4.22.39) ยืนยันความจริงนี้ ดังต่อไปนี้

ยตฺ-ปาท-ปงฺกช-ปลาศ-วิลาส-ภกฺตฺยา
กรฺมาศยํ คฺรถิตมฺ อุทฺคฺรถยนฺติ สนฺตห์
ตทฺวนฺ น ริกฺต-มตโย ยตโย ’ปิ รุทฺธ-
โสฺรโต-คณาสฺ ตมฺ อรณํ ภช วาสุเทวมฺ
“เพียงแต่พยายามบูชา วาสุเทว บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้ แม้แต่นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ยังไม่สามารถควบคุมพลังอำนาจของประสาทสัมผัสได้ผลดีเท่ากับบุคคลที่ปฏิบัติตนด้วยความปลื้มปีติสุขทิพย์ในการรับใช้พระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควานฺ และถอนความต้องการที่ฝังรากลึกในกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ”

ในพันธวิญญาณความต้องการเพื่อหาความสุขจากงานเพื่อผลทางวัตถุได้ฝังรากลึกมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากยิ่งแม้สำหรับนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ก็ต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมากในการควบคุมความต้องการเหล่านี้ สาวกขององค์ภควานฺปฏิบัติตนรับใช้ด้วยการอุทิศตนเสียสละอยู่เสมอในกฺฤษฺณจิตสำนึก มีความสมบูรณ์ในการรู้แจ้งตนเองจะได้รับความหลุดพ้นอย่างเร็วมากในองค์อภิวิญณาญ เนื่องจากความรู้ที่สมบูรณ์ในการรู้แจ้งแห่งตนท่านจะอยู่ในสมาธิเสมอ ดังจะกล่าวตัวอย่างเปรียบเทียบดังนี้

ทรฺศน-ธฺยาน-สํสฺปรฺไศรฺ
มตฺสฺย-กูรฺม-วิหงฺคมาห์
สฺวานฺยฺ อปตฺยานิ ปุษฺณนฺติ
ตถาหมฺ อปิ ปทฺม-ช
“ด้วยการมอง การทำสมาธิ และการสัมผัสที่ปลา เต่า และนกที่ดูแลลูกๆของพวกมัน ในลักษณะเดียวกันข้าพเจ้าก็ทำเช่นนี้เหมือนกัน โอ้ ปทฺมช !”

ปลาเลี้ยงลูกด้วยเพียงแต่มองไปที่ลูกของมันเท่านั้น เต่าเลี้ยงลูกด้วยเพียงแต่ทำสมาธิ เต่าวางไข่บนดินและตัวมันลงไปอยู่ในน้ำทำสมาธิที่ไข่ ลักษณะเดียวกันสาวกในกฺฤษฺณจิตสำนึกถึงแม้อยู่ห่างไกลจากพระตำหนักขององค์ภควานฺ แต่สามารถพัฒนาตนเองให้ไปถึงพระตำหนักนั้นได้ด้วยเพียงแต่ระลึกถึงพระองค์อยู่ตลอดเวลาด้วยการปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก ตัวท่านจะไม่รู้สึกเจ็บปวดในความทุกข์ทางวัตถุในระดับชีวิตเช่นนี้เรียกว่า พฺรหฺม-นิรฺวาณ หรือปราศจากความทุกข์ทางวัตถุเนื่องจากซึบซาบอยู่ในองค์ภควานฺเสมอ