ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ ห้า

กรฺม-โยค การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก

โศลก 27-28

sparśān kṛtvā bahir bāhyāṁś
cakṣuś caivāntare bhruvoḥ
prāṇāpānau samau kṛtvā
nāsābhyantara-cāriṇau
สฺปรฺศานฺ กฺฤตฺวา พหิรฺ พาหฺยำศฺ
จกฺษุศฺ ไจวานฺตเร ภฺรุโวห์
ปฺราณาปาเนา สเมา กฺฤตฺวา
นาสาภฺยนฺตร-จาริเณา
yatendriya-mano-buddhir
munir mokṣa-parāyaṇaḥ
vigatecchā-bhaya-krodho
yaḥ sadā mukta eva saḥ
ยเตนฺทฺริย-มโน-พุทฺธิรฺ
มุนิรฺ โมกฺษ-ปรายณห์
วิคเตจฺฉา-ภย-โกฺรโธ
ยห์ สทา มุกฺต เอว สห์
สฺปรฺศานฺ — อายตนะภายนอก เช่น เสียง, กฺฤตฺวา — รักษา, พหิห์ — ภายนอก, พาหฺยานฺ — โดยไม่จำเป็น, จกฺษุห์ — ตา, — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, อนฺตเร — ระหว่าง, ภฺรุโวห์ — คิ้ว, ปฺราณ-อปาเนา — ลมที่เดินขึ้นและเดินลง, สเมา — หยุดพัก, กฺฤตฺวา — รักษา, นาส-อภฺยนฺตร — ภายในจมูก, จาริเณา — เป่า, ยต — ควบคุม, อินฺทฺริย — ประสาทสัมผัส, มนห์ — จิตใจ, พุทฺธิห์ — ปัญญา, มุนิห์ — นักทิพย์นิยม, โมกฺษ — เพื่อความหลุดพ้น, ปรายณห์ — กำหนดไว้เช่นนั้น, วิคต — ละทิ้ง, อิจฺฉา — ปรารถนา, ภย — ความกลัว, โกฺรธห์ — ความโกรธ, ยห์ — ผู้ซึ่ง, สทา — เสมอ, มุกฺตห์ — หลุดพ้น, เอว — แน่นอน, สห์ — เขาเป็น

คำแปล

ปิดกั้นอายตนะภายนอกทั้งหมด กำหนดดวงตาและสายตา ทำสมาธิระหว่างคิ้วทั้งสองข้าง หยุดลมหายใจเข้าออกภายในจมูก และควบคุมจิตใจ ประสาทสัมผัส และปัญญา นักทิพย์นิยมตั้งเป้าหมายอยู่ที่ความหลุดพ้น เป็นอิสระจากความต้องการ ความกลัว และความโกรธ ผู้ที่อยู่ในระดับนี้เสมอหลุดพ้นแน่นอน

คำอธิบาย

ผู้ปฏิบัติตนในกฺฤษฺณจิตสำนึกสามารถเข้าใจบุคลิกลักษณะทิพย์ของตนเองได้ในทันที จากนั้นก็จะสามารถเข้าใจองค์ภควานฺด้วยวิธีการอุทิศตนเสียสละรับใช้ เมื่อสถิตอย่างดีในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ท่านได้ไปถึงสถานภาพทิพย์ และมีคุณวุฒิพอที่จะรู้สึกว่าองค์ภควานฺทรงปรากฏอยู่ในโลกแห่งกิจกรรมของตัวท่าน สภาวะโดยเฉพาะเช่นนี้เรียกว่าความหลุดพ้นอยู่ในองค์ภควานฺ

หลังจากได้อธิบายหลักข้างต้นเกี่ยวกับการหลุดพ้นอยู่ในองค์ภควานฺพระองค์ทรงให้คำสั่งสอนแด่ อรฺชุน ว่าเราจะสามารถมาถึงสถานภาพนี้ด้วยการปฏิบัติการเข้าฌาน หรือโยคะที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า อษฺฏางฺค-โยค ซึ่งแยกออกไปเป็นแปดวิธีเรียกว่า ยม, นิยม, อาสน, ปฺราณายาม, ปฺรตฺยาหาร, ธารณา, ธฺยาน และ สมาธิ ในบทที่หกจะอธิบายเรื่องโยคะอย่างละเอียด และในท้ายบทที่ห้าจะอธิบายเฉพาะพื้นฐานเท่านั้น เราต้องนำพาตัวเองให้ออกจากอายตนะภายนอก เช่น เสียง สัมผัส รูป รส และกลิ่นด้วยวิธีโยคะของ ปฺรตฺยาหาร จากนั้นกำหนดสายตาและดวงตาระหว่างคิ้วทั้งสองข้างและตั้งสมาธิอยู่ที่ปลายจมูกพร้อมทั้งปิดเปลือกตามาครึ่งหนึ่ง ไม่มีประโยชน์ในการปิดตาทั้งหมดเพราะมีโอกาสที่จะหลับได้มาก และไม่มีประโยชน์อันใดในการเปิดตาทั้งหมดเพราะเสี่ยงที่จะไปหลงใหลกับอายตนะภายนอก การเคลื่อนไหวของลมหายใจควบคุมให้อยู่ภายในโพรงจมูกด้วยการปรับลมเดินขึ้นและลมเดินลงให้เข้ากันอยู่ภายในร่างกาย ด้วยการฝึกโยคะเช่นนี้จะสามารถควบคุมประสาทสัมผัส หลีกเลี่ยงจากอายตนะภายนอก และเตรียมตัวเองเพื่อความหลุดพ้นในองค์ภควานฺ

วิธีการโยคะนี้ช่วยให้เป็นอิสระจากความกลัวและความโกรธทุกชนิด จากนั้นจะรู้สึกว่าอภิวิญญาณทรงปรากฏอยู่ในสภาวะทิพย์ อีกนัยหนึ่งกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นวิธีง่ายที่สุดในการปฏิบัติตามหลักธรรมโยคะ เรื่องนี้จะมีการอธิบายโดยละเอียดในบทต่อไป อย่างไรก็ดีบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกปฏิบัติด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้อยู่เสมอจึงไม่ต้องเสี่ยงในการสูญเสียประสาทสัมผัสของตนไปในการปฏิบัติอย่างอื่น ซึ่งเป็นวิธีการควบคุมประสาทสัมผัสที่ดีกว่า อษฺฏางฺค-โยค