ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ ห้า

กรฺม-โยค การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก

โศลก 29

bhoktāraṁ yajña-tapasāṁ
sarva-loka-maheśvaram
suhṛdaṁ sarva-bhūtānāṁ
jñātvā māṁ śāntim ṛcchati
โภกฺตารํ ยชฺญ-ตปสำ
สรฺว-โลก-มเหศฺวรมฺ
สุหฺฤทํ สรฺว-ภูตานำ
ชฺญาตฺวา มำ ศานฺติมฺ ฤจฺฉติ
โภกฺตารมฺ — ผู้ได้รับผลประโยชน์, ยชฺญ — ของการบูชา, ตปสามฺ — บำเพ็ญเพียรและสมถะ, สรฺว-โลก — โลกทั้งหมดและเหล่าเทวดา, มหา-อีศฺวรมฺ — องค์ภควาน, สุ-หฺฤทมฺ — ผู้อุปการะ, สรฺว — ของทั้งหมด, ภูตานามฺ — สิ่งมีชีวิต, ชฺญาตฺวา — ทราบ, มามฺ — ข้า (กฺฤษฺณ) , ศานฺติมฺ — บรรเทาจากความเจ็บปวดทางวัตถุ, ฤจฺฉติ — เขาบรรลุ

คำแปล

ผู้ที่มีจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ในข้า รู้ว่าในที่สุดข้าคือผู้ได้รับประโยชน์แห่งการบูชาและความสมถะทั้งหมด ข้าคือองค์ภควานสูงสุดของโลกและเทวดาทั้งปวง ข้าคือผู้อุปการะและผู้ปรารถนาดีของมวลชีวิต เขาผู้นี้จะได้รับความสงบจากความเจ็บปวดแห่งความทุกข์ทางวัตถุ

คำอธิบาย

พันธวิญญาณภายใต้เงื้อมมือของพลังงานแห่งความหลงมีความกระตือรือร้นที่จะได้รับความสงบในโลกวัตถุ แต่ไม่รู้สูตรแห่งความสงบซึ่งจะอธิบายในส่วนนี้ของ ภควัท-คีตา สูตรแห่งความสงบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดมีง่ายๆดังนี้คือ องค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์แห่งกิจกรรมของมวลมนุษย์ มนุษย์ควรถวายทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อรับใช้ทิพย์แด่พระองค์เพราะว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นเจ้าของโลกทั้งหมดและเทวดาทั้งปวง ไม่มีผู้ใดยิ่งใหญ่ไปกว่าพระองค์องค์กฺฤษฺณทรงยิ่งใหญ่กว่าเทวดาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เช่น พระศิวะ และพระพรหม ในคัมภีร์พระเวท (อุปนิษทฺ) ได้อธิบายถึงองค์ภควานฺว่า ตมฺ อีศฺวราณำ ปรมํ มเหศฺวรํ ภายใต้มนต์สะกดแห่งความหลงสิ่งมีชีวิตพยายามเป็นเจ้าของทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนเองสำรวจพบ แต่แท้ที่จริงพวกเขาถูกครอบงำโดยพลังงานวัตถุขององค์ภควานฺ พระองค์ทรงเป็นเจ้านายของธรรมชาติวัตถุ และพันธวิญญาณอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์อันเข้มงวดของธรรมชาติวัตถุ นอกเสียจากว่าจะเข้าใจความจริงง่ายๆนี้มิฉะนั้นก็จะเป็นไปไม่ได้ที่จะได้รับความสงบในโลกไม่ว่าโดยส่วนตัวหรือส่วนรวม นี่คือเหตุผลของกฺฤษฺณจิตสำนึก องค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดและมวลชีวิตรวมทั้งเทวดาผู้ยิ่งใหญ่เป็นรองจากพระองค์เราสามารถได้รับความสงบอย่างสมบูรณ์ในกฺฤษฺณจิตสำนึกที่บริบูรณ์เท่านั้น

ในบทที่ห้านี้เป็นการอธิบายภาคปฏิบัติของกฺฤษฺณจิตสำนึก โดยทั่วไปทราบกันว่าเป็น กรฺม-โยค คำถามจากการคาดคะเนทางจิตที่ว่า กรฺม-โยค สามารถให้ความหลุดพ้นได้อย่างไรนั้นได้ให้คำตอบไว้ที่นี้ การทำงานในกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นการทำงานด้วยความรู้ที่สมบูรณ์ว่าองค์ภควานฺทรงเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด งานเช่นนี้ไม่แตกต่างไปจากความรู้ทิพย์ กฺฤษฺณจิตสำนึกโดยตรงคือ ภกฺติ-โยค และ ชฺญาน-โยค เป็นวิถีทางที่จะนำเราไปสู่ ภกฺติ-โยค กฺฤษฺณจิตสำนึกหมายถึงการทำงานด้วยความรู้อันสมบูรณ์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสัจธรรมสูงสุด และความสมบูรณ์ของจิตสำนึกนี้คือความรู้อันสมบูรณ์แห่งองค์กฺฤษฺณ หรือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ดวงวิญญาณผู้บริสุทธิ์เป็นผู้รับใช้นิรันดรขององค์ภควานฺเหมือนกันกับเศษละอองอณูของพระองค์ที่มาสัมผัสกับ มายา (ความหลง) เพราะต้องการเป็นเจ้าเหนือ มายา นี่คือต้นเหตุแห่งความทุกข์มากมาย ตราบใดที่ยังสัมผัสอยู่กับวัตถุเขาจะต้องปฏิบัติงานเนื่องจากความจำเป็นทางวัตถุ อย่างไรก็ดีกฺฤษฺณจิตสำนึกนำเขามาสู่ชีวิตทิพย์แม้ในขณะที่อยู่ในอาณาเขตของวัตถุ เป็นการปลุกความเป็นอยู่ในวิถีทิพย์ด้วยการปฏิบัติอยู่ในโลกวัตถุ เมื่อเจริญมากขึ้นก็จะมีอิสระมากขึ้นจากเงื้อมมือของวัตถุองค์ภควานฺทรงไม่ลำเอียงกับผู้ใด ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับการปฏิบัติหน้าที่ของตนเองในกฺฤษฺณจิตสำนึก ซึ่งช่วยให้เขาควบคุมประสาทสัมผัสได้ในทุกๆด้าน และได้รับชัยชนะจากอิทธิพลแห่งความต้องการและความโกรธ ผู้ที่ยืนอยู่อย่างมั่นคงในกฺฤษฺณจิตสำนึกสามารถควบคุมตัณหาดังที่กล่าวมาแล้ว ดำรงอยู่อย่างแท้จริงในระดับทิพย์หรือ พฺรหฺม-นิรฺวาณ เรื่องการเข้าฌานแปดวิธีของโยคะก็ปฏิบัติอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยปริยาย เพราะจุดมุ่งหมายสูงสุดได้รับการดูแล มีวิธีการค่อยๆพัฒนาในการฝึกปฏิบัติ ยม, นิยม, อาสน, ปฺราณายาม, ปฺรตฺยาหาร, ธารณา, ธฺยาน และ สมาธิ แต่ทั้งหมดนี้เป็นเพียงความสมบูรณ์เบื้องต้นของการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่สามารถให้รางวัลความสงบแก่มนุษย์ได้ อันเป็นความสมบูรณ์สูงสุดของชีวิต

ดังนั้นได้จบคำอธิบายโดย ภักดีเวดานตะ บทที่ห้า ของหนังสือ ศฺรีมทฺ ภควัท-คีตา ในหัวข้อเรื่อง กรฺม-โยค การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก