ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ ห้า

กรฺม-โยค การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก

โศลก 3

jñeyaḥ sa nitya-sannyāsī
yo na dveṣṭi na kāṅkṣati
nirdvandvo hi mahā-bāho
sukhaṁ bandhāt pramucyate
ชฺเญยห์ ส นิตฺย-สนฺนฺยาสี
โย น เทฺวษฺฏิ น กางฺกฺษติ
นิรฺทฺวนฺโทฺว หิ มหา-พาโห
สุขํ พนฺธาตฺ ปฺรมุจฺยเต
ชฺเญยห์ — ควรรู้, สห์ — เขา, นิตฺย — เสมอ, สนฺนฺยาสี — ผู้สละทางโลก, ยห์ — ผู้ซึ่ง, — ไม่เคย, เทฺวษฺฏิ — เกลียดชัง, — หรือไม่, กางฺกฺษติ — ปรารถนา, นิรฺทฺวนฺทฺวห์ — เป็นอิสระจากมวลสิ่งคู่, หิ — แน่นอน, มหา-พาโห — โอ้ ยอดนักรบ, สุขมฺ — มีความสุข, พนฺธาตฺ — จากพันธนาการ, ปฺรมุจฺยเต — หลุดพ้นอย่างสมบูรณ์

คำแปล

ผู้ที่ไม่รังเกียจกิจกรรม และไม่ปรารถนาผลตอบแทนจากกิจกรรมของตนเอง ได้ชื่อว่าเป็นผู้เสียสละอยู่เสมอ บุคคลเช่นนี้เป็นอิสระจากมวลสิ่งคู่ ข้ามพ้นจากพันธนาการทางวัตถุได้โดยง่ายดาย และได้รับความหลุดพ้นอย่างสมบูรณ์ โอ้ อรฺชุน ยอดนักรบ

คำอธิบาย

บุคคลที่อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นผู้เสียสละอยู่เสมอ เพราะไม่รู้สึกรังเกียจหรือต้องการผลตอบแทนจากการกระทำของตนเอง ผู้เสียสละเช่นนี้อุทิศตนรับใช้ด้วยความรักทิพย์ต่อองค์ภควานฺมีวุฒิภาวะที่สมบูรณ์ เพราะทราบดีถึงสถานภาพพื้นฐานของตนเองในความสัมพันธ์กับองค์กฺฤษฺณ ทราบเป็นอย่างดีว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นส่วนที่สมบูรณ์ และตนเองเป็นเพียงละอองอณูของพระองค์ความรู้เช่นนี้สมบูรณ์เพราะว่าถูกต้องทั้งคุณภาพและปริมาณ ทัศนคติที่มาเป็นหนึ่งเดียวกับองค์กฺฤษฺณไม่ถูกต้อง เพราะว่าละอองอณูจะมาเทียบเท่ากับส่วนที่สมบูรณ์บริบูรณ์สูงสุดไม่ได้ ความรู้ที่ว่าเป็นหนึ่งเดียวกันในคุณภาพแต่แตกต่างกันในปริมาณเป็นความรู้ทิพย์ที่ถูกต้อง ซึ่งจะนำเราไปสู่ความสมบูรณ์ในตนเอง ไม่มีอะไรที่ต้องปรารถนาหรือต้องเศร้าโศก ภายในจิตใจปราศจากสิ่งคู่เพราะว่าอะไรก็แล้วแต่ที่ทำจะทำไปเพื่อองค์กฺฤษฺณ เพราะท่านเป็นอิสระจากระดับของสิ่งคู่ ท่านจึงหลุดพ้นอยู่เสมอถึงแม้ว่าจะอยู่ในโลกวัตถุนี้