ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ ห้า

กรฺม-โยค การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก

โศลก 4

sāṅkhya-yogau pṛthag bālāḥ
pravadanti na paṇḍitāḥ
ekam apy āsthitaḥ samyag
ubhayor vindate phalam
สางฺขฺย-โยเคา ปฺฤถคฺ พาลาห์
ปฺรวทนฺติ น ปณฺฑิตาห์
เอกมฺ อปฺยฺ อาสฺถิตห์ สมฺยคฺ
อุภโยรฺ วินฺทเต ผลมฺ
สางฺขฺย — การศึกษาวิเคราะห์โลกวัตถุ, โยเคา — ทำงานด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้, ปฺฤถกฺ — แตกต่าง, พาลาห์ — ผู้ด้อยปัญญา, ปฺรวทนฺติ — พูด, — ไม่เคย, ปณฺฑิตาห์ — บัณฑิต, เอกมฺ — ในหนึ่ง, อปิ — ถึงแม้, อาสฺถิตห์ — สถิต, สมฺยกฺ — สมบูรณ์, อุภโยห์ — ของทั้งสอง, วินฺทเต — ได้รับความสุข, ผลมฺ — ผล

คำแปล

คนโง่เท่านั้นที่พูดว่าการอุทิศตนเสียสละรับใช้ (กรฺม - โยค) แตกต่างจากการศึกษาวิเคราะห์โลกวัตถุ (สางฺขฺย) พวกบัณฑิตที่แท้จริงกล่าวว่าผู้ใดปฏิบัติตนดีหนึ่งในสองวิถีทางนี้จะบรรลุผลได้ทั้งสองทาง

คำอธิบาย

จุดมุ่งหมายของการศึกษาวิเคราะห์โลกวัตถุก็เพื่อที่จะค้นหาว่ามีดวงวิญญาณ ดวงวิญญาณของโลกวัตถุ คือ พระวิษฺณุ หรือ องค์อภิวิญญาณ การอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺนำมาซึ่งการรับใช้อภิวิญญาณ วิธีหนึ่งเป็นการค้นหารากของต้นไม้ และอีกวิธีหนึ่งเป็นการรดน้ำที่รากของต้นไม้ นักศึกษาที่แท้จริงของปรัชญา สางฺขฺย ค้นพบรากของโลกวัตถุ คือ พระวิษฺณุ และด้วยความรู้ที่สมบูรณ์เขาจะปฏิบัติรับใช้องค์ภควานฺ ดังนั้นในจุดสำคัญไม่มีข้อแตกต่างกันทั้งสองวิธีเพราะว่าจุดมุ่งหมายของทั้งสองเหมือนกันคือพระวิษณุ ผู้ที่ไม่รู้เป้าหมายสูงสุดกล่าวว่าจุดประสงค์ของ สางฺขฺย และ กรฺม-โยค ไม่เหมือนกัน แต่ผู้ที่เป็นบัณฑิตทราบว่าทั้งสองวิธีที่แตกต่างกันนี้มีจุดมุ่งหมายเหมือนกัน