ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ หก
ธฺยาน-โยค
โศลก 11-12
śucau deśe pratiṣṭhāpya
sthiram āsanam ātmanaḥ
nāty-ucchritaṁ nāti-nīcaṁ
cailājina-kuśottaram
sthiram āsanam ātmanaḥ
nāty-ucchritaṁ nāti-nīcaṁ
cailājina-kuśottaram
ศุเจา เทเศ ปฺรติษฺฐาปฺย
สฺถิรมฺ อาสนมฺ อาตฺมนห์
นาตฺยฺ-อุจฺฉฺริตํ นาติ-นีจํ
ไจลาชิน-กุโศตฺตรมฺ
สฺถิรมฺ อาสนมฺ อาตฺมนห์
นาตฺยฺ-อุจฺฉฺริตํ นาติ-นีจํ
ไจลาชิน-กุโศตฺตรมฺ
tatraikāgraṁ manaḥ kṛtvā
yata-cittendriya-kriyaḥ
upaviśyāsane yuñjyād
yogam ātma-viśuddhaye
yata-cittendriya-kriyaḥ
upaviśyāsane yuñjyād
yogam ātma-viśuddhaye
ตไตฺรกาคฺรํ มนห์ กฺฤตฺวา
ยต-จิตฺเตนฺทฺริย-กฺริยห์
อุปวิศฺยาสเน ยุญฺชฺยาทฺ
โยคมฺ อาตฺม-วิศุทฺธเย
ยต-จิตฺเตนฺทฺริย-กฺริยห์
อุปวิศฺยาสเน ยุญฺชฺยาทฺ
โยคมฺ อาตฺม-วิศุทฺธเย
ศุเจา — ในความถูกต้อง, เทเศ — แผ่นดิน, ปฺรติษฺฐาปฺย — วาง, สฺถิรมฺ — มั่นคง, อาสนมฺ — ที่นั่ง, อาตฺมนห์ — ตัวเขา, น — ไม่, อติ — เกินไป, อุจฺฉฺริตมฺ — สูง, น — ไม่, อติ — เกินไป, นีจมฺ — ต่ำ, ไจล-อชิน — ผ้านุ่มและหนังกวาง, กุศ — และหญ้า กุศ, อุตฺตรมฺ — คลุม, ตตฺร — ข้างบน, เอก-อคฺรมฺ — ตั้งใจเป็นหนึ่ง, มนห์ — จิตใจ, กฺฤตฺวา — ทำ, ยต-จิตฺต — ควบคุมจิตใจ, อินฺทฺริย — ประสาทสัมผัส, กฺริยห์ — และกิจกรรม, อุปวิศฺย — นั่ง, อาสเน — บนที่นั่ง, ยุญฺชฺยาตฺ — ควรปฏิบัติ, โยคมฺ — ฝึกปฏิบัติโยคะ, อาตฺม — หัวใจ, วิศุทฺธเย — เพื่อให้บริสุทธิ์
คำแปล
ในการฝึกปฏิบัติโยคะเขาควรไปที่สถานที่สันโดษและควรวางหญ้า
คำอธิบาย
“สถานที่ศักดิ์สิทธิ์” หมายถึงสถานที่ที่ควรเคารพสักการะ ในประเทศอินเดียโยคีนักทิพย์นิยม หรือสาวกนั้นทั้งหมดจะออกจากบ้านและไปพำนักอยู่ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น ปฺรยาค, มถุรา, วฺฤนฺทาวน, หฺฤษีเกศ และ หรฺทฺวรฺ ในความสันโดษจะฝึกปฏิบัติโยคะ ณ สถานที่ที่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เช่น ยะมุนาและคงคาไหลผ่าน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นไปไม่ได้โดยเฉพาะชาวตะวันตก สิ่งที่เรียกว่าสมาคมโยคะในเมืองใหญ่ๆอาจประสบความสำเร็จในผลกำไรทางวัตถุ แต่ว่าไม่เหมาะสมเลยในการฝึกปฏิบัติโยคะที่แท้จริง ผู้ที่ควบคุมตนเองไม่ได้และผู้ที่จิตใจไม่สงบไม่สามารถฝึกปฏิบัติสมาธิได้ ฉะนั้นใน พฺฤหนฺ-นารทีย ปุราณ ได้กล่าวไว้ว่าใน กลิ-ยุค (ยุคปัจจุบัน) เมื่อคนทั่วไปมีอายุสั้น เฉื่อยชาในความรู้ทิพย์ และถูกรบกวนจากความวิตกกังวลต่างๆอยู่เสมอ วิธีที่ดีที่สุดในการรู้แจ้งทิพย์คือ การสวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควานฺ
หเรรฺ นาม หเรรฺ นาม
หเรรฺ นาไมว เกวลมฺ
กเลา นาสฺตฺยฺ เอว นาสฺตฺยฺ เอว
นาสฺตฺยฺ เอว คติรฺ อนฺยถา
หเรรฺ นาไมว เกวลมฺ
กเลา นาสฺตฺยฺ เอว นาสฺตฺยฺ เอว
นาสฺตฺยฺ เอว คติรฺ อนฺยถา
“ในยุคแห่งการทะเลาะวิวาทและมือถือสากปากถือศีลนี้ วิธีแห่งความหลุดพ้นคือ การร้องเพลงสวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควานฺ ไม่มีหนทางอื่นใด ไม่มีหนทางอื่นใด และไม่มีหนทางอื่นใด”