ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ หก

ธฺยาน-โยค

โศลก 17

yuktāhāra-vihārasya
yukta-ceṣṭasya karmasu
yukta-svapnāvabodhasya
yogo bhavati duḥkha-hā
ยุกฺตาหาร-วิหารสฺย
ยุกฺต-เจษฺฏสฺย กรฺมสุ
ยุกฺต-สฺวปฺนาวโพธสฺย
โยโค ภวติ ทุห์ข-หา
ยุกฺต — ประมาณ, อาหาร — การกิน, วิหารสฺย — การพักผ่อนหย่อนใจ, ยุกฺต — ประมาณ, เจษฺฏสฺย — ของผู้ทำงานเพื่อการดำรงชีวิต, กรฺมสุ — ในการปฏิบัติหน้าที่, ยุกฺต — ประมาณ, สฺวปฺน-อวโพธสฺย — นอนและตื่น, โยคห์ — ฝึกปฏิบัติโยคะ, ภวติ — มาเป็น, ทุห์ข-หา — ความเจ็บปวดหายไป

คำแปล

ผู้ที่ประมาณนิสัยในการกิน การนอน การพักผ่อนหย่อนใจ และการทำงานจะสามารถขจัดความเจ็บปวดทางวัตถุทั้งปวงได้ด้วยการฝึกปฏิบัติตามระบบโยคะ

คำอธิบาย

ความสุรุ่ยสุร่ายในเรื่องของการกิน การนอน การป้องกันตัว และเพศสัมพันธ์ซึ่งเป็นความต้องการของร่างกายจะขวางกั้นความเจริญก้าวหน้าในการฝึกปฏิบัติโยคะ เกี่ยวกับการกินนั้นเราสามารถประมาณได้เมื่อเราฝึกยอมรับและกินเฉพาะ ปฺรสาทมฺ อาหารทิพย์เท่านั้น ตาม ภควัท-คีตา (9.26) องค์กฺฤษฺณทรงรับการถวายพวกผัก แป้ง ผลไม้ ข้าว นม ฯลฯ เช่นนี้บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกได้รับการฝึกฝนให้ไม่กินอาหารที่ไม่ใช่เป็นอาหารของมนุษย์ หรืออาหารที่ไม่อยู่ในประเภทแห่งความดีโดยปริยาย เกี่ยวกับการนอนนั้นบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะตื่นอยู่เสมอกับการปฏิบัติหน้าที่ในกฺฤษฺณจิตสำนึก ดังนั้นเวลาที่สูญเสียไปในการนอนโดยไม่จำเป็นถือว่าเป็นการสูญเสียอย่างใหญ่หลวง อวฺยรฺถ-กาลตฺวมฺ บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่สามารถทนได้ต่อเวลาแม้เพียงหนึ่งนาทีของชีวิตที่ผ่านไปโดยไม่ปฏิบัติตนรับใช้องค์ภควานฺ ฉะนั้นการนอนจึงจำกัดไว้ให้น้อยที่สุด ตัวอย่างที่ดีเลิศในเรื่องนี้ได้แก่ ศฺรีล รูป โคสฺวามี ผู้ปฏิบัติตนรับใช้แด่องค์กฺฤษฺณอยู่เสมอและไม่สามารถนอนเกินสองชั่วโมงต่อวันบางครั้งก็น้อยกว่านี้ ฐากุร หริทาส จะไม่รับประทาน ปฺรสาทมฺ และไม่นอนแม้แต่นาทีเดียวหากไม่เสร็จสิ้นการสวดมนต์ภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ประจำวันถึงสามแสนพระนามบนประคำ เกี่ยวกับเรื่องงานนั้นบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่ทำอะไรที่ไม่สัมพันธ์กับจุดประสงค์ขององค์กฺฤษฺณ ดังนั้นงานของเขาจึงพอประมาณอยู่เสมอและไร้มลทินจากการสนองประสาทสัมผัสเนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับการสนองประสาทสัมผัสบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงไม่มีเวลาปล่อยสบายทางวัตถุ เพราะว่าเขาประมาณในการทำงาน การพูด การนอน การตื่นและกิจกรรมอื่นๆของร่างกายทั้งหมด สำหรับเขาจึงไม่ได้รับความทุกข์ทางวัตถุ