ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ หก
ธฺยาน-โยค
โศลก 18
yadā viniyataṁ cittam
ātmany evāvatiṣṭhate
nispṛhaḥ sarva-kāmebhyo
yukta ity ucyate tadā
ātmany evāvatiṣṭhate
nispṛhaḥ sarva-kāmebhyo
yukta ity ucyate tadā
ยทา วินิยตํ จิตฺตมฺ
อาตฺมนฺยฺ เอวาวติษฺฐเต
นิสฺปฺฤหห์ สรฺว-กาเมโภฺย
ยุกฺต อิตฺยฺ อุจฺยเต ตทา
อาตฺมนฺยฺ เอวาวติษฺฐเต
นิสฺปฺฤหห์ สรฺว-กาเมโภฺย
ยุกฺต อิตฺยฺ อุจฺยเต ตทา
ยทา — เมื่อ, วินิยตมฺ — มีระเบียบวินัย, จิตฺตมฺ — จิตใจและกิจกรรมของจิต, อาตฺมนิ — ในความเป็นทิพย์, เอว — แน่นอน, อวติษฺฐเต — สถิต, นิสฺปฺฤหห์ — ปราศจากความต้องการ, สรฺว — สำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง, กาเมภฺยห์ — การสนองประสาทสัมผัสวัตถุ, ยุกฺตห์ — สถิตอย่างดีในโยคะ, อิติ — ดังนั้น, อุจฺยเต — กล่าวว่า, ตทา — ในขณะนั้น
คำแปล
เมื่อโยคีได้ฝึกปฏิบัติโยคะทำให้กิจกรรมจิตใจมีระเบียบวินัย
คำอธิบาย
กิจกรรมของโยคีจะแตกต่างจากบุคคลธรรมดาทั่วไปด้วยลักษณะที่หยุดจากความต้องการทางวัตถุทั้งปวงซึ่งมีเพศสัมพันธ์เป็นตัวนำ โยคีผู้สมบูรณ์มีระเบียบวินัยอย่างดีในกิจกรรมของจิตใจที่ทำให้ตัวเขาไม่ถูกรบกวนจากความต้องการทางวัตถุใดๆทั้งสิ้น ระดับอันสมบูรณ์เช่นนี้บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกบรรลุได้โดยปริยาย ดังที่ได้กล่าวไว้ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (9.4.18-20)
ส ไว มนห์ กฺฤษฺณ-ปทารวินฺทโยรฺ
วจำสิ ไวกุณฺฐ-คุณานุวรฺณเน
กเรา หเรรฺ มนฺทิร-มารฺชนาทิษุ
ศฺรุตึ จการาจฺยุต-สตฺ-กโถทเย
วจำสิ ไวกุณฺฐ-คุณานุวรฺณเน
กเรา หเรรฺ มนฺทิร-มารฺชนาทิษุ
ศฺรุตึ จการาจฺยุต-สตฺ-กโถทเย
มุกุนฺท-ลิงฺคาลย-ทรฺศเน ทฺฤเศา
ตทฺ-ภฺฤตฺย-คาตฺร-สฺปรฺเศ ’งฺค-สงฺคมมฺ
ฆฺราณํ จ ตตฺ-ปาท-สโรช-เสารเภ
ศฺรีมตฺ-ตุลสฺยา รสนำ ตทฺ-อรฺปิเต
ตทฺ-ภฺฤตฺย-คาตฺร-สฺปรฺเศ ’งฺค-สงฺคมมฺ
ฆฺราณํ จ ตตฺ-ปาท-สโรช-เสารเภ
ศฺรีมตฺ-ตุลสฺยา รสนำ ตทฺ-อรฺปิเต
ปาเทา หเรห์ เกฺษตฺร-ปทานุสรฺปเณ
ศิโร หฺฤษีเกศ-ปทาภิวนฺทเน
กามํ จ ทาเสฺย น ตุ กาม-กามฺยยา
ยโถตฺตม-โศฺลก-ชนาศฺรยา รติห์
ศิโร หฺฤษีเกศ-ปทาภิวนฺทเน
กามํ จ ทาเสฺย น ตุ กาม-กามฺยยา
ยโถตฺตม-โศฺลก-ชนาศฺรยา รติห์
“ครั้งแรกพระราชา อมฺพรีษ ทรงใช้พระจิตของพระองค์ตั้งอยู่ที่พระบาทรูปดอกบัวขององค์ศฺรี กฺฤษฺณ จากนั้นทรงใช้พระดำรัสในการอธิบายคุณสมบัติทิพย์ขององค์กฺฤษฺณ ทรงใช้พระหัตถ์ทำความสะอาดวัดขององค์กฺฤษฺณ ทรงใช้พระกรรณในการสดับฟังกิจกรรมขององค์กฺฤษฺณ ทรงใช้พระเนตรในการมองรูปลักษณ์ทิพย์ขององค์กฺฤษฺณ ทรงใช้พระวรกายในการสัมผัสร่างกายของสาวก ทรงใช้ประสาทสัมผัสในการดมกลิ่นหอมจากดอกบัวที่ถวายให้องค์กฺฤษฺณ ทรงใช้พระชิวหาในการลิ้มรสใบทุละสีที่ถวายแด่พระบาทรูปดอกบัวขององค์กฺฤษฺณ ทรงใช้พระบาทในการเสด็จไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และวัดขององค์กฺฤษฺณ ทรงใช้พระเศียรในการถวายความเคารพแด่องค์กฺฤษฺณ และทรงใช้พระราชดำริในการปฏิบัติพระภารกิจขององค์กฺฤษฺณ กิจกรรมทิพย์ทั้งหลายเหล่านี้เหมาะสมสำหรับสาวกผู้บริสุทธิ์”
ระดับทิพย์นี้ผู้ปฏิบัติตามวิถีทางที่ไร้รูปลักษณ์ไม่สามารถแสดงออกให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ แต่เป็นสิ่งที่ง่ายและปฏิบัติได้สำหรับบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นที่ มหาราช อมฺพรีษ ทรงปฏิบัติ นอกเสียจากว่าจิตเราจะตั้งมั่นอยู่ที่พระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควานฺด้วยการระลึกถึงพระองค์อยู่เสมอไม่เช่นนั้นการปฏิบัติทิพย์เช่นนี้ก็จะเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นในการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺกิจกรรมที่ได้กล่าวไว้เหล่านี้เรียกว่า อรฺจน หรือการใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมดไปในการรับใช้พระองค์ ประสาทสัมผัสและจิตใจจำเป็นต้องทำงาน การทำเป็นละเลยไม่สนใจไม่ให้มันทำงานเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นสำหรับผู้คนทั่วไปโดยเฉพาะบุคคลที่ไม่อยู่ในระดับสละโลกวัตถุ การใช้ประสาทสัมผัสและจิตใจปฏิบัติรับใช้ทิพย์ดังที่ได้อธิบายแล้วข้างต้นจึงเป็นวิธีที่สมบูรณ์ในการบรรลุถึงวิถีทิพย์ ซึ่งเรียกว่า ยุกฺต ใน ภควัท-คีตา