ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ หก

ธฺยาน-โยค

โศลก 19

yathā dīpo nivāta-stho
neṅgate sopamā smṛtā
yogino yata-cittasya
yuñjato yogam ātmanaḥ
ยถา ทีโป นิวาต-โสฺถ
เนงฺคเต โสปมา สฺมฺฤตา
โยคิโน ยต-จิตฺตสฺย
ยุญฺชโต โยคมฺ อาตฺมนห์
ยถา — ดังเช่น, ทีปห์ — ตะเกียง, นิวาต-สฺถห์ — ในสถานที่ไม่มีลม, — ไม่, อิงฺคเต — แกว่งไกว, สา — นี้, อุปมา — เปรียบเทียบ, สฺมฺฤตา — พิจารณาว่า, โยคินห์ — ของโยคี, ยต-จิตฺตสฺย — ผู้ที่จิตใจควบคุมได้, ยุญฺชตห์ — ปฏิบัติอยู่เสมอ, โยคมฺ — ในสมาธิ, อาตฺมนห์ — ที่องค์ภควานฺ

คำแปล

ดังเช่นตะเกียงในสถานที่ที่ไม่มีลมจะไม่หวั่นไหว นักทิพย์นิยมผู้ควบคุมจิตใจของตนเองได้จะดำรงรักษาความมั่นคงในการทำสมาธิอยู่ที่รูปลักษณ์ทิพย์เสมอ

คำอธิบาย

บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างแท้จริงจะซึมซาบอยู่ในความเป็นทิพย์ ด้วยการปฏิบัติสมาธิอย่างไม่หวั่นไหวอยู่ที่องค์ภควานฺ ผู้ทรงเป็นที่เคารพบูชาของเขาอยู่เสมอ และมีความมั่นคงเสมือนดังเช่นตะเกียงที่อยู่ในสถานที่ที่ไม่มีลม