ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ หก
ธฺยาน-โยค
โศลก 20-23
yatroparamate cittaṁ
niruddhaṁ yoga-sevayā
yatra caivātmanātmānaṁ
paśyann ātmani tuṣyati
niruddhaṁ yoga-sevayā
yatra caivātmanātmānaṁ
paśyann ātmani tuṣyati
ยโตฺรปรมเต จิตฺตํ
นิรุทฺธํ โยค-เสวยา
ยตฺร ไจวาตฺมนาตฺมานํ
ปศฺยนฺนฺ อาตฺมนิ ตุษฺยติ
นิรุทฺธํ โยค-เสวยา
ยตฺร ไจวาตฺมนาตฺมานํ
ปศฺยนฺนฺ อาตฺมนิ ตุษฺยติ
sukham ātyantikaṁ yat tad
buddhi-grāhyam atīndriyam
vetti yatra na caivāyaṁ
sthitaś calati tattvataḥ
buddhi-grāhyam atīndriyam
vetti yatra na caivāyaṁ
sthitaś calati tattvataḥ
สุขมฺ อาตฺยนฺติกํ ยตฺ ตทฺ
พุทฺธิ-คฺราหฺยมฺ อตีนฺทฺริยมฺ
เวตฺติ ยตฺร น ไจวายํ
สฺถิตศฺ จลติ ตตฺตฺวตห์
พุทฺธิ-คฺราหฺยมฺ อตีนฺทฺริยมฺ
เวตฺติ ยตฺร น ไจวายํ
สฺถิตศฺ จลติ ตตฺตฺวตห์
yaṁ labdhvā cāparaṁ lābhaṁ
manyate nādhikaṁ tataḥ
yasmin sthito na duḥkhena
guruṇāpi vicālyate
manyate nādhikaṁ tataḥ
yasmin sthito na duḥkhena
guruṇāpi vicālyate
ยํ ลพฺธฺวา จาปรํ ลาภํ
มนฺยเต นาธิกํ ตตห์
ยสฺมินฺ สฺถิโต น ทุห์เขน
คุรุณาปิ วิจาลฺยเต
มนฺยเต นาธิกํ ตตห์
ยสฺมินฺ สฺถิโต น ทุห์เขน
คุรุณาปิ วิจาลฺยเต
taṁ vidyād duḥkha-saṁyoga-
viyogaṁ yoga-saṁjñitam
viyogaṁ yoga-saṁjñitam
ตํ วิทฺยาทฺ ทุห์ข-สํโยค-
วิโยคํ โยค-สํชฺญิตมฺ
วิโยคํ โยค-สํชฺญิตมฺ
ยตฺร — ธุระในระดับนั้นที่, อุปรมเต — หยุด (เพราะเขารู้สึกได้รับความสุขทิพย์), จิตฺตมฺ — กิจกรรมทางจิต, นิรุทฺธมฺ — หักห้ามจากวัตถุ, โยค-เสวยา — ด้วยการปฏิบัติโยคะ, ยตฺร — ซึ่ง, จ — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, อาตฺมนา — ด้วยจิตที่บริสุทธิ์, อาตฺมานมฺ — ตัว, ปศฺยนฺ — รู้แจ้งสถานภาพของ, อาตฺมนิ — ในตัว, ตุษฺยติ — เขาพึงพอใจ, สุขมฺ — ความสุข, อาตฺยนฺติกมฺ — สูงสุด, ยตฺ — ซึ่ง, ตตฺ — นั้น, พุทฺธิ — ด้วยปัญญา, คฺราหฺยมฺ — เข้าถึงได้, อตีนฺทฺริยมฺ — ทิพย์, เวตฺติ — เขาทราบ, ยตฺร — ในที่, น — ไม่เคย, จ — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, อยมฺ — เขา, สฺถิตห์ — สถิต, จลติ — เคลื่อน, ตตฺตฺวตห์ — จากความจริง, ยมฺ — ที่ซึ่ง, ลพฺธฺวา — ด้วยการบรรลุ, จ — เช่นกัน, อปรมฺ — ใดๆ, ลาภมฺ — กำไร, มนฺยเต — พิจารณา, น — ไม่เคย, อธิกมฺ — มากกว่า, ตตห์ — กว่านั้น, ยสฺมินฺ — ซึ่งใน, สฺถิตห์ — สถิต, น — ไม่เคย, ทุห์เขน — ด้วยความทุกข์, คุรุณา อปิ — ถึงแม้ว่ายากมาก, วิจาลฺยเต — สั่น, ตมฺ — นั้น, วิทฺยาตฺ — เธอต้องรู้, ทุห์ข-สํโยค — ของความทุกข์จากการมาสัมผัสกับวัตถุ, วิโยคมฺ — ถอนราก, โยค-สํชฺญิตมฺ — เรียกว่าสมาธิในโยคะ
คำแปล
ในระดับแห่งความสมบูรณ์เรียกว่าสมาธิ
คำอธิบาย
จากการฝึกปฏิบัติโยคะทำให้เริ่มไม่ยึดติดกับความคิดเห็นทางวัตถุทีละน้อย นี่คือลักษณะพื้นฐานของหลักโยคะ และหลังจากนี้เขาสถิตในสมาธิ ซึ่งหมายความว่าโยคีรู้แจ้งองค์อภิวิญญาณผ่านทางจิตและปัญญาทิพย์โดยปราศจากความเข้าใจผิดไปสำคัญตนเองว่าเป็นอภิวิญญาณ การฝึกปฏิบัติโยคะมีพื้นฐานอยู่ที่หลักธรรมของระบบ ปตญฺชลิ มีผู้อธิบายบางท่านที่เชื่อถือไม่ได้พยายามบอกว่าปัจเจกวิญญาณเหมือนกับอภิวิญญาณ พวกที่ไม่เชื่อในองค์ภควานฺคิดว่าสิ่งนี้คือความหลุดพ้นแต่ไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของโยคะ ระบบ ปตญฺชลิ มีการยอมรับความสุขทิพย์ในระบบ ปตญฺชลิ แต่พวกที่เชื่อว่าเป็นหนึ่งเดียวกันจะไม่ยอมรับความสุขทิพย์นี้เนื่องจากกลัวอันตรายที่จะมีต่อทฤษฏีความเป็นหนึ่งเดียวกัน ความเป็นสิ่งคู่ระหว่างความรู้และผู้รู้พวกนี้ไม่ยอมรับ แต่ในโศลกนี้ความสุขทิพย์ซึ่งรู้แจ้งผ่านทางประสาทสัมผัสทิพย์เป็นที่ยอมรับ และ ปตญฺชลิ มุนิ ผู้อธิบายระบบโยคะที่มีชื่อเสียงได้ยืนยันสนับสนุนจุดนี้ นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ได้ประกาศใน โยค-สูตฺร (4.34) ของท่านว่า ปุรุษารฺถ-ศูนฺยานำ คุณานำ ปฺรติปฺรสวห์ ไกวลฺยํ สฺวรูป-ปฺรติษฺฐา วา จิติ-ศกฺติรฺ อิติ
จิติ-ศกฺติ หรือกำลังภายในนี้เป็นทิพย์ ปุรุษารฺถ หมายถึงศาสนาวัตถุ การพัฒนาเศรษฐกิจ การสนองประสาทสัมผัส ในที่สุดจะพยายามมาเป็นหนึ่งเดียวกับองค์ภควานฺ “ความเป็นหนึ่งเดียวกับองค์ภควานฺ” นี้เรียกว่า ไกวลฺยมฺ โดยผู้ที่เชื่อว่าเป็นหนึ่งเดียวกัน แต่ ปตญฺชลิ กล่าวว่า ไกวลฺยมฺ นี้เป็นกำลังภายในหรือพลังทิพย์ซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตสำเหนียกถึงสถานภาพพื้นฐานของตน ในคำดำรัสขององค์ ศฺรี ไจตนฺย ระดับของสภาวะนี้เรียกว่า เจโต-ทรฺปณ-มารฺชนมฺ หรือการทำความสะอาดกระจกแห่งจิตใจที่สกปรก “ความใสบริสุทธิ์” นี้อันที่จริงคือความหลุดพ้นหรือ ภว-มหา-ทาวาคฺนิ-นิรฺวาปณมฺ ทฤษฏี นิรฺวาณ โดยพื้นฐานมีลักษณะเช่นเดียวกันกับหลักนี้ ใน ภาควต (2.10.6) สิ่งนี้เรียกว่า สฺวรูเปณ วฺยวสฺถิติห์ โศลกใน ภควัท-คีตา ได้ยืนยันสถานการณ์นี้ไว้เช่นกัน
หลังจาก นิรฺวาณ หรือการจบสิ้นทางวัตถุจะมีปรากฏการณ์แห่งกิจกรรมทิพย์หรือการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺเรียกว่า กฺฤษฺณจิตสำนึก ในคำพูดของ ภาควตมฺ สฺวรูเปณ วฺยวสฺถิติห์ นี่คือ “ชีวิตอันแท้จริงของสิ่งมีชีวิต” มายา หรือความหลงคือสภาวะของชีวิตทิพย์ที่มีมลทินจากเชื้อโรคทางวัตถุ ความหลุดพ้นจากเชื้อโรคทางวัตถุนี้มิได้หมายความว่าทำลายสถานภาพพื้นฐานนิรันดรของสิ่งมีชีวิต ปตญฺชลิ ยอมรับเช่นเดียวกันนี้ด้วยคำพูดของท่านว่า ไกวลฺยํ สฺวรูป-ปฺรติษฺฐา วา จิติ-ศกฺติรฺ อิติ คำว่า จิติ-ศกฺติ หรือความสุขทิพย์นี้คือชีวิตที่แท้จริง ได้ยืนยันไว้ใน เวทานฺต-สูตฺร (1.1.12) ว่า อานนฺท-มโย ’ภฺยาสาตฺ ความสุขทิพย์ตามธรรมชาตินี้คือจุดมุ่งหมายสูงสุดของโยคะ และบรรลุได้โดยง่ายดายด้วยการปฏิบัติอุทิศตนเสียสละรับใช้หรือ ภกฺติ-โยค จะอธิบาย ภกฺติ-โยค อย่างชัดเจนในบทที่เจ็ดของ ภควัท-คีตา
ระบบโยคะที่อธิบายในบทนี้จะมี สมาธิ อยู่สองประเภทเรียกว่า สมฺปฺรชฺญาต - สมาธิ และ สมฺปฺรชฺญาต-สมาธิ เมื่อสถิตในตำแหน่งทิพย์ด้วยการศึกษาวิจัยทางปรัชญาต่างๆ กล่าวไว้ว่าเขาได้บรรลุ สมฺปฺรชฺญาต-สมาธิ ใน อสมฺปฺรชฺญาต-สมาธิ จะไม่มีความสัมพันธ์กับความสุขทางโลกอีกต่อไปเพราะอยู่เหนือความสุขต่างๆที่ได้รับจากประสาทสัมผัส เมื่อโยคีสถิตในสถานภาพนี้จะไม่มีวันสั่นคลอนนอกจากโยคะจะสามารถบรรลุถึงสถานภาพนี้ได้มิฉะนั้นจะถือว่าไม่สำเร็จ การปฏิบัติโยคะที่เรียกกันในปัจจุบันนี้ประกอบไปด้วยความสุขทางประสาทสัมผัสต่างๆนานาซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดกัน โยคีที่ปล่อยตัวไปในเพศสัมพันธ์และสิ่งเสพติดเป็นโยคีจอมปลอม แม้แต่พวกโยคีที่หลงใหลไปกับ สิทฺธิ (อิทธิฤทธิ์) ในระบบโยคะก็มิได้สถิตอย่างสมบูรณ์ หากโยคีหลงใหลไปกับผลข้างเคียงของโยคะจะไม่สามารถบรรลุถึงระดับแห่งความสมบูรณ์ดังที่ได้กล่าวไว้ในโศลกนี้ ฉะนั้นบุคคลที่ปล่อยตัวไปในการอวดวิธีปฏิบัติท่ากายกรรมต่างๆ หรือ สิทฺธิ ควรรู้ไว้ว่าจุดมุ่งหมายของโยคะได้สูญหายไปในทางนั้นแล้ว
การฝึกปฏิบัติโยคะที่ดีที่สุดในยุคนี้คือ กฺฤษฺณจิตสำนึกซึ่งไม่ยุ่งยาก บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกมีความสุขในอาชีพของตน และไม่ปรารถนาความสุขอื่นใด มีอุปสรรคมากมายในการปฏิบัติ หฐ-โยค, ธฺยาน-โยค และ ชฺญาน-โยค โดยเฉพาะในยุคแห่งความขัดแย้งนี้ แต่จะไม่มีปัญหาในการปฏิบัติ กรฺม-โยค หรือ ภกฺติ-โยค
ตราบเท่าที่ยังมีร่างวัตถุอยู่เราจะต้องสนองตอบอุปสงค์ของร่างกาย เช่น การกิน การนอน การป้องกันตัว และเพศสัมพันธ์ แต่ผู้ที่อยู่ใน ภกฺติ-โยค ที่บริสุทธิ์ หรือในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่กระตุ้นประสาทสัมผัสขณะที่สนองตอบความต้องการของร่างกาย แต่ยอมรับสิ่งจำเป็นที่สุดของชีวิตโดยพยายามจะใช้สิ่งไม่ดีที่ได้รับมาให้ได้ดีที่สุด และเพลิดเพลินกับความสุขทิพย์ในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะมีอุปสรรคต่อเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น อุบัติเหตุ โรคภัยไข้เจ็บ ความขาดแคลน แม้กระทั่งความตายของญาติสุดที่รัก แต่จะตื่นตัวอยู่เสมอในการปฏิบัติหน้าที่ของตนในกฺฤษฺณจิตสำนึกหรือ ภกฺติ-โยค อุบัติเหตุไม่เคยทำให้เขาบ่ายเบี่ยงไปจากหน้าที่ ดังที่กล่าวไว้ใน ภควัท-คีตา (2.14) อาคมาปายิโน ’นิตฺยาสฺ ตำสฺ ติติกฺษสฺว ภารต เขาอดทนต่อเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นเพราะทราบว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาแล้วจะดับไป มันไม่มีผลกระทบต่อหน้าที่ของตน ด้วยวิธีนี้จะทำให้บรรลุถึงความสมบูรณ์สูงสุดในการฝึกปฏิบัติโยคะ