ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ หก

ธฺยาน-โยค

โศลก 24

sa niścayena yoktavyo
yogo ’nirviṇṇa-cetasā
saṅkalpa-prabhavān kāmāṁs
tyaktvā sarvān aśeṣataḥ
ส นิศฺจเยน โยกฺตโวฺย
โยโค ’นิรฺวิณฺณ-เจตสา
สงฺกลฺป-ปฺรภวานฺ กามำสฺ
ตฺยกฺตฺวา สรฺวานฺ อเศษตห์
manasaivendriya-grāmaṁ
viniyamya samantataḥ
มนไสเวนฺทฺริย-คฺรามํ
วินิยมฺย สมนฺตตห์
สห์ — นั้น, นิศฺจเยน — ด้วยความมั่นใจอย่างแน่วแน่, โยกฺตวฺยห์ — ต้องฝึกปฏิบัติ, โยคห์ — ระบบโยคะ, อนิรฺวิณฺณ-เจตสา — ปราศจากการเบี่ยงเบน, สงฺกลฺป — การคาดคะเนทางจิตใจ, ปฺรภวานฺ — เกิดจาก, กามานฺ — ความปรารถนาทางวัตถุ, ตฺยกฺตฺวา — ยกเลิก, สรฺวานฺ — ทั้งหมด, อเศษตห์ — อย่างสมบูรณ์, มนสา — ด้วยจิตใจ, เอว — แน่นอน, อินฺทฺริย-คฺรามมฺ — ประสาทสัมผัสครบชุด, วินิยมฺย — ประมาณ, สมนฺตตห์ — จากรอบด้าน

คำแปล

เราควรปฏิบัติตนในการฝึกปฏิบัติโยคะด้วยความมั่นใจและศรัทธาโดยไม่เบี่ยงเบนจากวิถีทาง เราควรละทิ้งความปรารถนาทางวัตถุทั้งมวลอันเกิดมาจากการคาดคะเนทางจิตใจโดยไม่มีข้อยกเว้น และควบคุมประสาทสัมผัสทั้งหมดจากรอบด้านด้วยจิตใจ

คำอธิบาย

ผู้ฝึกปฏิบัติโยคะควรมีความมั่นใจ ควรฝึกปฏิบัติด้วยความอดทนโดยไม่เบี่ยงเบน เขาควรมั่นใจในความสำเร็จในขั้นสุดท้าย และดำเนินตามหลักการด้วยความพากเพียรอย่างมั่นคง ไม่มีการหมดกำลังใจหากบรรลุความสำเร็จล่าช้า ความสำเร็จนั้นแน่นอนสำหรับผู้ที่ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด รูป โคสฺวามี ได้กล่าวเกี่ยวกับ ภกฺติ-โยค ไว้ดังนี้

อุตฺสาหานฺ นิศฺจยาทฺ ไธรฺยาตฺ
ตตฺ-ตตฺ-กรฺม-ปฺรวรฺตนาตฺ
สงฺค-ตฺยาคาตฺ สโต วฺฤตฺเตห์
ษฑฺภิรฺ ภกฺติห์ ปฺรสิธฺยติ
“เราสามารถปฏิบัติตามวิธีของ ภกฺติ-โยค ให้สำเร็จได้ด้วยหัวใจที่เปี่ยมไปด้วยความกระตือรือร้น พากเพียร และมั่นใจ ด้วยการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ คบหาสมาคมกับสาวกด้วยการปฏิบัติกิจกรรมแห่งความดีโดยสมบูรณ์” (อุปเทศามฺฤต 3)

สำหรับความมั่นใจเราควรปฏิบัติตามตัวอย่างของนกกระจอกผู้สูญเสียไข่ของตนไปกับคลื่นในมหาสมุทร นกกระจอกน้อยวางไข่อยู่ที่ชายหาดมหาสมุทรแต่มหาสมุทรอันยิ่งใหญ่ได้พัดพาเอาไข่ไปกับคลื่น นกกระจอกน้อยโมโหมากและขอร้องให้มหาสมุทรคืนไข่ มหาสมุทรไม่สนใจแม้แต่จะพิจารณาคำร้องของเธอ นกกระจอกจึงน้อยตัดสินใจที่จะทำให้มหาสมุทรนี้แห้งลงจึงเริ่มตักน้ำด้วยจงอยปากอันน้อยนิดของมัน ทุกๆคนหัวเราะเยาะต่อความมุ่งมั่นที่เป็นไปไม่ได้ ข่าวการกระทำของนกกระจอกน้อยนี้ได้แพร่สะพัดไป ในที่สุด ครุฑ (พญาครุฑ) พญานกที่เป็นพาหนะของพระวิษณุได้ยินเข้าจึงมีความเมตตาสงสารต่อนกน้อยผู้ซึ่งเปรียบเสมือนน้องสาว พญาครุฑจึงมาพบนกกระจอกน้อย พญาครุฑรู้สึกยินดีมากในความมุ่งมั่นของนกกระจอกน้อยจึงรับปากว่าจะช่วย ดังนั้นพญาครุฑจึงได้ขอร้องให้มหาสมุทรนำไข่ของนกกระจอกน้อยมาคืนทันทีไม่อย่างนั้นท่านจะจัดการกับงานของนกกระจอกน้อยนี้เอง มหาสมุทรรู้สึกตกใจจึงนำไข่ทั้งหมดมาคืน จึงทำให้นกกระจอกน้อยได้รับความสุขด้วยพระกรุณาของพญาครุฑ

ในลักษณะเดียวกันการฝึกปฏิบัติโดยโยคะเฉพาะ ภกฺติ-โยค ในกฺฤษฺณจิตสำนึกอาจดูเหมือนว่าเป็นงานที่ยากมาก แต่หากผู้ใดปฏิบัติตามหลักธรรมด้วยความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่องค์กฺฤษฺณจะทรงช่วยอย่างแน่นอน เพราะว่าพระองค์ทรงช่วยคนที่ช่วยตนเอง