ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ หก

ธฺยาน-โยค

โศลก 25

śanaiḥ śanair uparamed
buddhyā dhṛti-gṛhītayā
ātma-saṁsthaṁ manaḥ kṛtvā
na kiñcid api cintayet
ศไนห์ ศไนรฺ อุปรเมทฺ
พุทฺธฺยา ธฺฤติ-คฺฤหีตยา
อาตฺม-สํสฺถํ มนห์ กฺฤตฺวา
น กิญฺจิทฺ อปิ จินฺตเยตฺ
ศไนห์ — ทีละน้อย, ศไนห์ — ทีละขั้น, อุปรเมตฺ — เขาควรระงับ, พุทฺธฺยา — ด้วยปัญญา, ธฺฤติ-คฺฤหีตยา — ปฏิบัติด้วยความมั่นใจ, อาตฺม-สํสฺถมฺ — วางอยู่ในความเป็นทิพย์, มนห์ — จิตใจ, กฺฤตฺวา — ทำ, — ไม่, กิญฺจิตฺ — สิ่งอื่นใด, อปิ — แม้, จินฺตเยตฺ — ควรคิดถึงมัน

คำแปล

ค่อยๆเป็นค่อยๆไปทีละขั้น เขาควรสถิตในสมาธิด้วยวิถีทางแห่งปัญญา และมีความมั่นใจอย่างเต็มเปี่ยม ดังนั้นจิตใจควรตั้งมั่นอยู่ที่ตนเองเท่านั้น และไม่ควรคิดถึงสิ่งอื่นใด

คำอธิบาย

ด้วยความมั่นใจและสติปัญญาที่ถูกต้องเราควรค่อยๆหยุดกิจกรรมทางประสาทสัมผัส เช่นนี้เรียกว่า ปฺรตฺยาหาร จิตใจถูกควบคุมด้วยความมั่นใจ สมาธิ และหยุดกิจกรรมทางประสาทสัมผัส ทำให้สามารถที่จะควบคุมจิตใจได้ และควรสถิตในสมาธิหรือ สมาธิ ในขณะนั้นจะไม่มีอันตรายใดๆเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแนวคิดชีวิตทางวัตถุอีกต่อไป อีกนัยหนึ่งคือถึงแม้ว่าจะพัวพันอยู่กับวัตถุตราบที่ยังมีร่างวัตถุอยู่ก็ไม่ควรคิดถึงการสนองประสาทสัมผัส เราไม่ควรคิดถึงความสุขอื่นใดนอกจากความสุขแห่งองค์ภควานฺ ระดับนี้บรรลุได้โดยง่ายดายด้วยการฝึกปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยตรง