ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ หก

ธฺยาน-โยค

โศลก 26

yato yato niścalati
manaś cañcalam asthiram
tatas tato niyamyaitad
ātmany eva vaśaṁ nayet
ยโต ยโต นิศฺจลติ
มนศฺ จญฺจลมฺ อสฺถิรมฺ
ตตสฺ ตโต นิยไมฺยตทฺ
อาตฺมนฺยฺ เอว วศํ นเยตฺ
ยตห์ ยตห์ — ที่ใด, นิศฺจลติ — ถูกรบกวน, มนห์ — จิตใจ, จญฺจลมฺ — ไม่นิ่ง, อสฺถิรมฺ — ไม่มั่นคง, ตตห์ ตตห์ — จากนั้น, นิยมฺย — ประมาณ, เอตตฺ — นี้, อาตฺมนิ — ในตัว, เอว — แน่นอน, วศมฺ — ควบคุม, นเยตฺ — ต้องนำมาอยู่ภายใต้

คำแปล

จิตใจที่ล่องลอยไปยังแห่งหนใดก็แล้วแต่นั้น เป็นผลมาจากธรรมชาติที่ไม่หยุดนิ่งและไม่มั่นคงของมันเอง เราต้องเอามันออกและดึงมันให้กลับมาอยู่ภายใต้การควบคุมของตัวเราให้ได้

คำอธิบาย

ธรรมชาติของจิตใจนั้นไม่หยุดนิ่งและไม่มั่นคง แต่โยคีผู้รู้แจ้งแห่งตนต้องควบคุมจิตใจ จิตใจนั้นไม่ควรเป็นตัวที่ควบคุมตัวเขา ผู้ที่ควบคุมจิตใจ (รวมทั้งประสาทสัมผัส) ได้เรียกว่า โคสฺวามี หรือ สฺวามี ผู้ที่ถูกจิตใจควบคุมเรียกว่า โค-ทาส หรือเป็นทาสของประสาทสัมผัส โคสฺวามี รู้ถึงมาตรฐานของความสุขทางประสาทสัมผัส ในความสุขทางประสาทสัมผัสทิพย์ประสาทสัมผัสจะต้องปฏิบัติในการรับใช้องค์หฺฤษีเกศ หรือเจ้าของสูงสุดแห่งประสาทสัมผัสคือองค์กฺฤษฺณ การรับใช้องค์กฺฤษฺณด้วยประสาทสัมผัสที่บริสุทธิ์เรียกว่า กฺฤษฺณจิตสำนึก นี่คือวิธีที่จะนำประสาทสัมผัสมาอยู่ภายใต้การควบคุม และเป็นความสมบูรณ์สูงสุดแห่งการฝึกปฏิบัติโยคะ ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้