ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ หก

ธฺยาน-โยค

โศลก 27

praśānta-manasaṁ hy enaṁ
yoginaṁ sukham uttamam
upaiti śānta-rajasaṁ
brahma-bhūtam akalmaṣam
ปฺรศานฺต-มนสํ หฺยฺ เอนํ
โยคินํ สุขมฺ อุตฺตมมฺ
อุไปติ ศานฺต-รชสํ
พฺรหฺม-ภูตมฺ อกลฺมษมฺ
ปฺรศานฺต — สงบ, ตั้งมั่นอยู่ที่พระบาทรูปดอกบัวขององค์กฺฤษฺณ, มนสมฺ — จิตใจของเขา, หิ — แน่นอน, เอนมฺ — นี้, โยคินมฺโยคี, สุขมฺ — ความสุข, อุตฺตมมฺ — สูงสุด, อุไปติ — ได้รับ, ศานฺต-รชสมฺ — ตัณหาสงบลง, พฺรหฺม-ภูตมฺ — หลุดพ้นด้วยการแสดงตัวกับสัจธรรม, อกลฺมษมฺ — เป็นอิสระจากวิบากกรรมในอดีตทั้งมวล

คำแปล

โยคีผู้มีจิตใจตั้งมั่นอยู่ที่ข้า บรรลุถึงความสมบูรณ์สูงสุดแห่งความสุขทิพย์อย่างแท้จริง เขาอยู่เหนือระดับตัณหา รู้แจ้งคุณสมบัติอันแท้จริงของตนเองกับองค์ภควานฺ ดังนั้นจึงเป็นอิสระจากผลกรรมในอดีตทั้งปวง

คำอธิบาย

พฺรหฺม-ภูต คือระดับที่เป็นอิสระจากมลทินทางวัตถุ และสถิตในการรับใช้ทิพย์แด่องค์ภควานฺ มทฺ-ภกฺตึ ลภเต ปรามฺ (ภควัท-คีตา 18.54) เขาไม่สามารถดำรงรักษาอยู่ในคุณสมบัติของ พฺรหฺมนฺ สัจธรรมที่สมบูรณ์ได้จนกว่าจิตใจจะตั้งมั่นอยู่ที่พระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควานฺ ไว มนห์ กฺฤษฺณ-ปทารวินฺทโยห์ การปฏิบัติอยู่ในการรับใช้ด้วยความรักทิพย์แด่องค์ภควานฺ หรือการดำรงรักษาอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกคือการได้รับเสรีภาพความหลุดพ้นจากระดับตัณหาและมลทินทางวัตถุทั้งปวงอย่างแท้จริง