ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ หก

ธฺยาน-โยค

โศลก 28

yuñjann evaṁ sadātmānaṁ
yogī vigata-kalmaṣaḥ
sukhena brahma-saṁsparśam
atyantaṁ sukham aśnute
ยุญฺชนฺนฺ เอวํ สทาตฺมานํ
โยคี วิคต-กลฺมษห์
สุเขน พฺรหฺม-สํสฺปรฺศมฺ
อตฺยนฺตํ สุขมฺ อศฺนุเต
ยุญฺชนฺ — ปฏิบัติฝึกฝนโยคะ, เอวมฺ — ดังนั้น, สทา — เสมอ, อาตฺมานมฺ — ตัวเขา, โยคี — ผู้ที่สัมผัสอยู่กับองค์ภควานฺ, วิคต — เป็นอิสระจาก, กลฺมษห์ — มลทินทางวัตถุทั้งมวล, สุเขน — ในความสุขทิพย์, พฺรหฺม-สํสฺปรฺศมฺ — สัมผัสกับองค์ภควานฺอยู่เสมอ, อตฺยนฺตมฺ — สูงสุด, สุขมฺ — ความสุข, อศฺนุเต — ได้รับ

คำแปล

ดังนั้นโยคีผู้ที่ควบคุมตนเองได้ปฏิบัติตนฝึกฝนอยู่ในโยคะเสมอ เป็นอิสรเสรีจากมลทินทางวัตถุทั้งปวง และบรรลุระดับสูงสุดแห่งความสุขที่สมบูรณ์ในการรับใช้องค์ภควานด้วยความรักทิพย์

คำอธิบาย

การรู้แจ้งตนเอง หมายถึง รู้สถานภาพพื้นฐานของตนในความสัมพันธ์กับองค์ภควานฺ ปัจเจกวิญญาณเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺ และสถานภาพของตนคือการถวายการรับใช้ทิพย์แด่พระองค์การเชื่อมสัมพันธ์ทิพย์กับองค์ภควานฺนี้ เรียกว่า พฺรหฺม-สํสฺปรฺศ