ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ หก
ธฺยาน-โยค
โศลก 3
ārurukṣor muner yogaṁ
karma kāraṇam ucyate
yogārūḍhasya tasyaiva
śamaḥ kāraṇam ucyate
karma kāraṇam ucyate
yogārūḍhasya tasyaiva
śamaḥ kāraṇam ucyate
อารุรุกฺโษรฺ มุเนรฺ โยคํ
กรฺม การณมฺ อุจฺยเต
โยคารูฒสฺย ตไสฺยว
ศมห์ การณมฺ อุจฺยเต
กรฺม การณมฺ อุจฺยเต
โยคารูฒสฺย ตไสฺยว
ศมห์ การณมฺ อุจฺยเต
อารุรุกฺโษห์ — ผู้ที่เพิ่งเริ่มโยคะ, มุเนห์ — ของนักปราชญ์, โยคมฺ — ระบบโยคะแปดระดับ, กรฺม — งาน, การณมฺ — วิถีทาง, อุจฺยเต — กล่าวว่า, โยค — โยคะแปดระดับ, อารูฒสฺย — ของผู้ได้รับแล้ว, ตสฺย — ของเขา, เอว — แน่นอน, ศมห์ — หยุดกิจกรรมทางวัตถุทั้งหมด, การณมฺ — วิถีทาง, อุจฺยเต — กล่าวว่า
คำแปล
สำหรับผู้เริ่มต้นในระบบโยคะแปดระดับกล่าวไว้ว่า
คำอธิบาย
วิธีการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างตัวเรากับองค์ภควานฺเรียกว่า โยคะ อาจเปรียบเทียบได้กับขั้นบันไดเพื่อบรรลุถึงความรู้แจ้งทิพย์สูงสุด ขั้นบันไดนี้เริ่มต้นจากสภาวะวัตถุต่ำสุดของสิ่งมีชีวิต และสูงขึ้นไปจนถึงความรู้แจ้งแห่งตนอย่างสมบูรณ์ในชีวิตทิพย์ที่บริสุทธิ์ ตามระดับแห่งความเจริญก้าวหน้าส่วนต่างๆของขั้นบันไดมีชื่อเรียกต่างกัน แต่รวมกันทั้งหมดเป็นขั้นบันไดที่สมบูรณ์เรียกว่าโยคะ และอาจแบ่งออกเป็นสามส่วนคือ ชฺญาน-โยค , ธฺยาน-โยค และ ภกฺติ-โยค ขั้นแรกของบันไดเรียกว่าระดับ โยคารุรุกฺษุ และขั้นสูงสุดเรียกว่า โยคารูฒ
เกี่ยวกับระบบโยคะแปดระดับนั้นเป็นการพยายามขั้นต้นเพื่อเข้าไปสู่สมาธิด้วยหลักธรรมแห่งชีวิต และฝึกปฏิบัติท่านั่งต่างๆ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการบริหารร่างกาย) ถือว่าเป็นกิจกรรมทางวัตถุเพื่อหวังผล กิจกรรมเช่นนี้ทั้งหมดจะนำให้บรรลุความสมดุลทางจิตใจอย่างสมบูรณ์เพื่อควบคุมประสาทสัมผัส เมื่อประสบความสำเร็จในการฝึกสมาธิเขาจะหยุดกิจกรรมทั้งหมดที่รบกวนจิตใจ
อย่างไรก็ดีบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกสถิตในระดับสมาธิตั้งแต่ตอนเริ่มต้น เนื่องจากเขาระลึกถึงองค์กฺฤษฺณเสมอ และปฏิบัติรับใช้องค์กฺฤษฺณอยู่ตลอดเวลาซึ่งพิจารณาว่าหยุดกิจกรรมทางวัตถุทั้งหมดโดยปริยาย