ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ หก

ธฺยาน-โยค

โศลก 36

asaṁyatātmanā yogo
duṣprāpa iti me matiḥ
vaśyātmanā tu yatatā
śakyo ’vāptum upāyataḥ
อสํยตาตฺมนา โยโค
ทุษฺปฺราป อิติ เม มติห์
วศฺยาตฺมนา ตุ ยตตา
ศโกฺย ’วาปฺตุมฺ อุปายตห์
อสํยต — หักห้ามไม่ไหว, อาตฺมนา — ด้วยจิตใจ, โยคห์ — การรู้แจ้งแห่งตน, ทุษฺปฺราปห์ — ยากที่จะบรรลุ, อิติ — ดังนั้น, เม — ของข้า, มติห์ — ความเห็น, วศฺย — ควบคุม, อาตฺมนา — ด้วยจิตใจ, ตุ — แต่, ยตตา — ขณะที่พยายาม, ศกฺยห์ — ปฏิบัติได้, อวาปฺตุมฺ — บรรลุ, อุปายตห์ — ด้วยวิธีที่เหมาะสม

คำแปล

สำหรับผู้ที่หักห้ามจิตใจของตนเองไม่ได้ การรู้แจ้งแห่งตนเป็นงานที่ยาก แต่ผู้ที่ควบคุมจิตใจตนเองได้ และมีความพยายามในวิถีทางที่ถูกต้องจะประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอน นี่คือความเห็นของข้า

คำอธิบาย

บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงประกาศว่าผู้ที่ไม่ยอมรับการรักษาที่ถูกต้องที่จะให้จิตใจไม่ยึดติดกับการปฏิบัติทางวัตถุจะบรรลุผลสำเร็จในการรู้แจ้งแห่งตนได้ยากมาก การพยายามฝึกปฏิบัติโยคะในขณะที่จิตใจใฝ่หาความสุขทางวัตถุเปรียบเสมือนกับการพยายามจุดไฟในขณะที่ราดน้ำลงไป การฝึกปฏิบัติโยคะโดยไม่ควบคุมจิตใจเป็นการเสียเวลา การอวดวิธีการปฏิบัติโยคะเช่นนี้อาจได้รับผลกำไรงามทางวัตถุแต่ว่าไร้ประโยชน์ในการรู้แจ้งแห่งดวงวิญญาณ ฉะนั้นเขาต้องควบคุมจิตใจโดยให้จิตใจปฏิบัติรับใช้ด้วยความรักทิพย์แด่องค์ภควานฺอยู่เสมอ นอกจากว่าเราจะปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกมิฉะนั้นแล้วเราจะไม่สามารถควบคุมจิตใจได้อย่างมั่นคง บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกบรรลุผลแห่งการปฏิบัติโยคะได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องพยายามนอกเหนือไปจากนี้ แต่ผู้ฝึกปฏิบัติโยคะไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จได้หากปราศจากกฺฤษฺณจิตสำนึก