ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ หก

ธฺยาน-โยค

โศลก 4

yadā hi nendriyārtheṣu
na karmasv anuṣajjate
sarva-saṅkalpa-sannyāsī
yogārūḍhas tadocyate
ยทา หิ เนนฺทฺริยารฺเถษุ
น กรฺมสฺวฺ อนุษชฺชเต
สรฺว-สงฺกลฺป-สนฺนฺยาสี
โยคารูฒสฺ ตโทจฺยเต
ยทา — เมื่อ, หิ — แน่นอน, — ไม่, อินฺทฺริย-อรฺเถษุ — ในการสนองประสาทสัมผัส, — ไม่เคย, กรฺมสุ — ในกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ, อนุษชฺชเต — ผู้จำเป็นปฏิบัติ, สรฺว-สงฺกลฺป — ของความต้องการทางวัตถุทั้งปวง, สนฺนฺยาสี — ผู้สละทางโลก, โยค-อารูฒห์ — เจริญในโยคะ, ตทา — ในเวลานั้น, อุจฺยเต — กล่าวว่า

คำแปล

กล่าวได้ว่าบุคคลผู้นี้เจริญในโยคะแล้วหากเขาได้สละความต้องการทางวัตถุทั้งปวง และไม่ปฏิบัติตนเพื่อสนองประสาทสัมผัส หรือได้ปฏิบัติในกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ

คำอธิบาย

เมื่อบุคคลปฏิบัติอย่างเต็มที่ในการรับใช้ทิพย์ด้วยความรักต่อองค์ภควานฺเขาจะมีความสุขอยู่ในตัว ดังนั้นจึงไม่ปฏิบัติเพื่อสนองประสาทสัมผัส หรือปฏิบัติในกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุอีกต่อไป มิเช่นนั้นเราต้องปฏิบัติเพื่อสนองประสาทสัมผัสเพราะว่าไม่มีผู้ใดสามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่มีกิจกรรมใดๆเลย หากปราศจากกฺฤษฺณจิตสำนึกเราต้องแสวงหากิจกรรมที่มีตนเองเป็นศูนย์กลาง หรือกิจกรรมที่เห็นแก่ตัวในวงกว้าง แต่บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกสามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความพึงพอพระทัยขององค์กฺฤษฺณ ดังนั้นจึงไม่ยึดติดกับการสนองประสาทสัมผัสโดยสมบูรณ์ ผู้ที่ไม่มีความรู้แจ้งเช่นนี้จะต้องพยายามหลบหนีความต้องการทางวัตถุอย่างผิดธรรมชาติก่อนที่จะพัฒนาไปถึงขั้นบันไดสูงสุดแห่งโยคะ