ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ หก

ธฺยาน-โยค

โศลก 42

atha vā yoginām eva
kule bhavati dhīmatām
etad dhi durlabha-taraṁ
loke janma yad īdṛśam
อถ วา โยคินามฺ เอว
กุเล ภวติ ธีมตามฺ
เอตทฺ ธิ ทุรฺลภ-ตรํ
โลเก ชนฺม ยทฺ อีทฺฤศมฺ
อถ วา — หรือ, โยคินามฺ — ของนักทิพย์นิยมผู้มีความรู้, เอว — แน่นอน, กุเล — ในครอบครัว, ภวติ — เกิด, ธี-มตามฺ — ของพวกมีปัญญาสูง, เอตตฺ — นี้, หิ — แน่นอน, ทุรฺลภ-ตรมฺ — หายากมาก, โลเก — ในโลกนี้, ชนฺม — เกิด, ยตฺ — ที่ซึ่ง, อีทฺฤศมฺ — เหมือนเช่นนี้

คำแปล

หรือ (หากไม่ประสบผลสำเร็จหลังจากฝึกปฏิบัติโยคะไปเป็นเวลานาน) เขาจะเกิดในครอบครัวของนักทิพย์นิยมผู้ที่เปี่ยมไปด้วยปัญญาอย่างแน่นอน และเป็นจริงที่ว่าการเกิดเช่นนี้เป็นสิ่งที่หาได้ยากในโลกนี้

คำอธิบาย

การเกิดในตระกูลของโยคีหรือนักทิพย์นิยมผู้ที่เปี่ยมไปด้วยปัญญาได้รับการสรรเสริญไว้ ที่นี้ว่า เด็กที่เกิดในตระกูลเช่นนี้ได้รับแรงกระตุ้นทางจิตวิญญาณตั้งแต่แรกเริ่มของชีวิตโดยเฉพาะในกรณีของตระกูล อาจารฺย หรือ โคสฺวามี ตระกูลเช่นนี้มีความรู้มากและอุทิศตนเสียสละตามประเพณีและการฝึกปฏิบัติ ดังนั้นพวกท่านจึงกลายมาเป็นพระอาจารย์ทิพย์ ในประเทศอินเดียมีตระกูล อาจารฺย เช่นนี้มากมาย แต่ปัจจุบันเสื่อมทรามลงเนื่องจากการศึกษาและการฝึกปฏิบัติไม่เพียงพอ ด้วยพระเมตตาขององค์ภควานฺจึงยังมีครอบครัวที่อุปถัมภ์นักทิพย์นิยมมาหลายชั่วคน แน่นอนว่าเป็นบุญมหาศาลที่ได้เกิดในตระกูลเช่นนี้ เป็นความโชคดีที่ทั้งพระอาจารย์ทิพย์ของเรา โอํ วิษฺณุปาท ศฺรี ศฺรีมทฺ ภกฺติสิทฺธานฺต สรสฺวตี โคสฺวามี มหาราช และตัวอาตมาเองได้มีโอกาสเกิดในตระกูลเช่นนี้ ด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์ภควานฺเราทั้งสองคนได้รับการฝึกฝนในการอุทิศตนเสียสละรับใช้พระองค์ตั้งแต่แรกเริ่มของชีวิต ต่อมาเราได้มาพบกันตามคำสั่งแห่งระบบทิพย์