ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ หก

ธฺยาน-โยค

โศลก 43

tatra taṁ buddhi-saṁyogaṁ
labhate paurva-dehikam
yatate ca tato bhūyaḥ
saṁsiddhau kuru-nandana
ตตฺร ตํ พุทฺธิ-สํโยคํ
ลภเต เปารฺว-เทหิกมฺ
ยตเต จ ตโต ภูยห์
สํสิทฺเธา กุรุ-นนฺทน
ตตฺร — จากนั้น, ตมฺ — นั้น, พุทฺธิ-สํโยคมฺ — ฟื้นฟูจิตสำนึก, ลภเต — ได้รับ, เปารฺว-เทหิกมฺ — จากร่างก่อน, ยตเต — เขาพยายาม, — เช่นกัน, ตตห์ — หลังจากนั้น, ภูยห์ — อีกครั้ง, สํสิทฺเธา — เพื่อความสมบูรณ์, กุรุ-นนฺทน — โอ้ โอรสแห่งคุรุ

คำแปล

การเกิดเช่นนี้ทำให้ได้ฟื้นฟูจิตสำนึกทิพย์ของเขาจากชาติปางก่อน และพยายามเพื่อความเจริญก้าวหน้าอีกครั้งในการบรรลุถึงความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ โอ้ โอรสแห่ง กุรุ

คำอธิบาย

กฺษตฺริย ภารต ทรงประสูติในตระกูลพราหมณ์ที่ดี เป็นตัวอย่างในการเกิดที่ดีเพื่อฟื้นฟูจิตสำนึกทิพย์ ในอดีตพระราชา ภารต ทรงเป็นจักรพรรดิ์แห่งโลกและนับตั้งแต่นั้นมาโลกนี้มีชื่อเรียกในหมู่เทวดาว่า ภารต-วรฺษ ในอดีตมีชื่อว่า อิลาวฺฤต-วรฺษ เมื่อยังทรงพระเยาว์จักรพรรดิ์ทรงสละราชบัลลังก์เพื่อความสมบูรณ์ในวิถีทิพย์แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ในชาติต่อมาประสูติในตระกูล พฺราหฺมณ ที่ดีมีพระนามว่า ชฑ ภรต เนื่องจากทรงอยู่ในที่สันโดษเสมอและไม่พูดกับผู้ใด ในเวลาต่อมา กฺษตฺริย รหูคณ ทรงพบว่า ชฑ ภรต เป็นนักทิพย์นิยมผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด จากชีวิตของ กฺษตฺริย ภรต นี้ทำให้เข้าใจได้ว่าความพยายามในวิถีทิพย์หรือการฝึกปฏิบัติโยคะไม่เคยสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ ด้วยพระเมตตาขององค์ภควานฺนักทิพย์นิยมจะได้รับโอกาสอีกครั้งเพื่อความสมบูรณ์บริบูรณ์ในกฺฤษฺณจิตสำนึก