ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ หก

ธฺยาน-โยค

โศลก 46

tapasvibhyo ’dhiko yogī
jñānibhyo ’pi mato ’dhikaḥ
karmibhyaś cādhiko yogī
tasmād yogī bhavārjuna
ตปสฺวิโภฺย ’ธิโก โยคี
ชฺญานิโภฺย ’ปิ มโต ’ธิกห์
กรฺมิภฺยศฺ จาธิโก โยคี
ตสฺมาทฺ โยคี ภวารฺชุน
ตปสฺวิภฺยห์ — กว่านักพรต, อธิกห์ — ยิ่งใหญ่กว่า, โยคี — โยคี, ชฺญานิภฺยห์ — กว่านักปราชญ์, อปิ — เช่นกัน, มตห์ — พิจารณา, อธิกห์ — ยิ่งใหญ่กว่า, กรฺมิภฺยห์ — กว่าผู้ทำงานเพื่อผลทางวัตถุ, — เช่นกัน, อธิกห์ — ยิ่งใหญ่กว่า, โยคี — โยคี, ตสฺมาตฺ — ดังนั้น, โยคี — นักทิพย์นิยม, ภว — จงมาเป็น, อรฺชุน — โอ้ อารจุนะ

คำแปล

โยคียิ่งใหญ่กว่านักพรต ยิ่งใหญ่กว่านักปราชญ์ และยิ่งใหญ่กว่าผู้ทำงานเพื่อผลทางวัตถุ ฉะนั้น โอ้ อรฺชุน ในทุกๆสถานการณ์เธอจงเป็นโยคี

คำอธิบาย

เมื่อเราพูดถึงโยคะเราหมายถึงการเชื่อมสัมพันธ์จิตสำนึกของเรากับสัจธรรมที่สมบูรณ์สูงสุด วิธีการปฏิบัตินี้มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามแนวทางของนักปฏิบัติ เมื่อวิธีการเชื่อมสัมพันธ์เน้นที่กิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุมีชื่อเรียกว่า กรฺม-โยค เมื่อเน้นที่ปรัชญามีชื่อเรียกว่า ชฺญาน-โยค เมื่อเน้นความสัมพันธ์ในการอุทิศตนเสียสละต่อองค์ภควานฺมีชื่อเรียกว่า ภกฺติ-โยค ภกฺติ-โยค หรือกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นความสมบูรณ์สูงสุดแห่งโยคะทั้งหลาย ดังจะอธิบายในโศลกต่อไป องค์ภควานฺทรงยืนยันในที่นี้ถึงความยิ่งใหญ่แห่งโยคะ แต่ทรงมิได้กล่าวว่ามีอะไรดีไปกว่า ภกฺติ-โยค ภกฺติ-โยค เป็นความรู้ทิพย์ที่สมบูรณ์เช่นนี้จึงไม่มีอะไรที่เหนือกว่า ระบบนักพรตโดยปราศจากความรู้แห่งตนไม่สมบูรณ์ ความรู้ทางปรัชญาโดยปราศจากการศิโรราบต่อองค์ภควานฺก็ไม่สมบูรณ์ และการทำงานเพื่อผลทางวัตถุโดยปราศจากกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นการเสียเวลา ฉะนั้นการปฏิบัติโยคะที่ได้รับการยกย่องสรรเสริญอย่างสูงสุด ที่นี้คือ ภกฺติ-โยค และจะอธิบายให้กระจ่างกว่านี้ในโศลกต่อไป