ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ หก

ธฺยาน-โยค

โศลก 5

uddhared ātmanātmānaṁ
nātmānam avasādayet
ātmaiva hy ātmano bandhur
ātmaiva ripur ātmanaḥ
อุทฺธเรทฺ อาตฺมนาตฺมานํ
นาตฺมานมฺ อวสาทเยตฺ
อาตฺไมว หฺยฺ อาตฺมโน พนฺธุรฺ
อาตฺไมว ริปุรฺ อาตฺมนห์
อุทฺธเรตฺ — เราต้องส่ง, อาตฺมนา — ด้วยจิตใจ, อาตฺมานมฺ — พันธวิญญาณ, — ไม่เคย, อาตฺมานมฺ — พันธวิญญาณ, อวสาทเยตฺ — ทำให้ตกต่ำลง, อาตฺมา — จิตใจ, เอว — แน่นอน, หิ — อันที่จริง, อาตฺมนห์ — ของพันธวิญญาณ, พนฺธุห์ — เพื่อน, อาตฺมา — จิตใจ, เอว — แน่นอน, ริปุห์ — ศัตรู, อาตฺมนห์ — ของพันธวิญญาณ

คำแปล

เราต้องจัดส่งตนเองด้วยความช่วยเหลือจากจิตใจของตัวเอง มิใช่ทำตัวให้ตกต่ำลง จิตใจเป็นได้ทั้งเพื่อนและศัตรูของพันธวิญญาณ

คำอธิบาย

คำว่า อาตฺมา หมายถึง ร่างกาย จิตใจ และวิญญาณ ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ในระบบโยคะนั้นจิตใจของพันธวิญญาณสำคัญมากเพราะว่าจิตใจเป็นศูนย์กลางของการฝึกปฏิบัติโยคะ ณ ที่นี้ อาตฺมา หมายถึง จิตใจ จุดมุ่งหมายของระบบโยคะก็เพื่อควบคุมจิตใจและดึงให้จิตใจออกห่างจากการยึดติดกับอายตนะภายนอก ได้เน้นไว้ที่นี้ว่าจิตใจจะต้องได้รับการฝึกฝนเพื่อจัดส่งพันธวิญญาณให้พ้นจากโคลนตมแห่งอวิชชา ในความเป็นอยู่ทางวัตถุเราอยู่ภายใต้อำนาจอิทธิพลของจิตใจและประสาทสัมผัส อันที่จริงดวงวิญญาณบริสุทธิ์ถูกพันธนาการอยู่ในโลกวัตถุ เพราะว่าจิตใจถูกอหังการพัวพันซึ่งทำให้ต้องการเป็นเจ้าครอบครองธรรมชาติวัตถุ ฉะนั้นจิตใจควรได้รับการฝึกฝนเพื่อไม่ให้ไปหลงใหลกับแสงสีของธรรมชาติวัตถุ ด้วยวิธีนี้พันธวิญญาณอาจได้รับความปลอดภัย เราไม่ควรทำตัวเองให้ตกต่ำลงด้วยการไปหลงใหลกับอายตนะภายนอก หากเราไปหลงใหลกับอายตนะภายนอกมากเท่าไรเราก็จะถูกพันธนาการในความเป็นอยู่ทางวัตถุมากเท่านั้น วิธีที่ดีที่สุดที่จะไม่ให้ตนเองถูกพันธนาการคือให้จิตใจปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกอยู่เสมอ คำว่า หิ ใช้เพื่อเน้นจุดนี้ ตัวอย่างเช่น เราต้องทำเช่นนี้ ได้กล่าวไว้เช่นกันว่า

มน เอว มนุษฺยาณำ
การณํ พนฺธ-โมกฺษโยห์
พนฺธาย วิษยาสงฺโค
มุกฺไตฺย นิรฺวิษยํ มนห์
“สำหรับมนุษย์นั้นจิตใจเป็นต้นเหตุแห่งพันธนาการ และจิตใจก็เป็นต้นเหตุแห่งความหลุดพ้น จิตใจที่ซึมซาบอยู่กับอายตนะภายนอกเป็นต้นเหตุแห่งพันธนาการ และจิตใจที่ไม่ยึดติดกับอายตนะภายนอกเป็นต้นเหตุแห่งความหลุดพ้น” (อมฺฤต-พินฺทุ อุปนิษทฺ 2) ฉะนั้นจิตใจที่ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกอยู่เสมอเป็นต้นเหตุแห่งความหลุดพ้นสูงสุด