ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ หก

ธฺยาน-โยค

โศลก 7

jitātmanaḥ praśāntasya
paramātmā samāhitaḥ
śītoṣṇa-sukha-duḥkheṣu
tathā mānāpamānayoḥ
ชิตาตฺมนห์ ปฺรศานฺตสฺย
ปรมาตฺมา สมาหิตห์
ศีโตษฺณ-สุข-ทุห์เขษุ
ตถา มานาปมานโยห์
ชิต-อาตฺมนห์ — ของผู้ที่เอาชนะจิตใจตนเองได้แล้ว, ปฺรศานฺตสฺย — ผู้ได้รับความสงบด้วยการควบคุมจิตใจ, ปรม-อาตฺมา — อภิวิญญาณ, สมาหิตห์ — เข้าพบอย่างสมบูรณ์, ศีต — ในความเย็น, อุษฺณ — ความร้อน, สุข — ความสุข, ทุห์เขษุ — และความทุกข์, ตถา — เช่นกัน, มาน — ในเกียรติยศ, อปมานโยห์ — และไร้เกียรติยศ

คำแปล

สำหรับผู้ที่เอาชนะจิตใจตนเองได้นั้น ได้บรรลุถึงองค์อภิวิญญาณเรียบร้อยแล้ว และได้รับความสงบ สำหรับบุคคลเช่นนี้นั้นความสุขและความทุกข์ ความร้อนและความเย็น การได้เกียรติและการเสียเกียรติ ทั้งหมดมีค่าเท่ากัน

คำอธิบาย

อันที่จริงทุกชีวิตมีจุดมุ่งหมายเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าผู้ทรงประทับอยู่ภายในหัวใจของทุกคนในรูป ปรมาตฺมา เมื่อจิตใจได้ถูกพลังงานแห่งความหลงภายนอกนำไปในทางที่ผิดเขาจะถูกพันธนาการอยู่ในกิจกรรมทางวัตถุ ฉะนั้นทันทีที่ควบคุมจิตใจได้ด้วยหนึ่งในวิธีของระบบโยคะจึงพิจารณาได้ว่าเขาบรรลุถึงจุดหมายปลายทางแล้ว เขาต้องปฏิบัติตามคำสั่งจากผู้ที่สูงกว่า เมื่อจิตใจตั้งมั่นอยู่ที่ธรรมชาติที่สูงกว่าจะไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากปฏิบัติตามคำสั่งขององค์ภควานฺ จิตใจต้องยอมรับคำสั่งที่สูงกว่าและปฏิบัติตามนั้นผลแห่งการควบคุมจิตใจได้คือปฏิบัติตามคำสั่งของ ปรมาตฺมา หรือองค์อภิวิญญาณโดยปริยาย เพราะว่าผู้ที่อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกบรรลุถึงสถานภาพทิพย์นี้ได้โดยทันที สาวกขององค์ภควานฺไม่ได้รับผลกระทบจากสิ่งคู่ที่มีอยู่ทางวัตถุ เช่น ความทุกข์และความสุข ความเย็นและความร้อน เป็นต้น ระดับนี้คือการปฏิบัติ สมาธิ หรือซึมซาบอยู่ในองค์ภควานฺ