ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ เจ็ด

ความรู้แห่งสัจธรรม

โศลก 17

teṣāṁ jñānī nitya-yukta
eka-bhaktir viśiṣyate
priyo hi jñānino ’tyartham
ahaṁ sa ca mama priyaḥ
เตษำ ชฺญานี นิตฺย-ยุกฺต
เอก-ภกฺติรฺ วิศิษฺยเต
ปฺริโย หิ ชฺญานิโน ’ตฺยรฺถมฺ
อหํ ส จ มม ปฺริยห์
เตษามฺ — จากทั้งหมดนี้, ชฺญานี — ผู้ที่อยู่ในความรู้อย่างสมบูรณ์, นิตฺย-ยุกฺตห์ — ปฏิบัติตนอยู่เสมอ, เอก — เท่านั้น, ภกฺติห์ — ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้, วิศิษฺยเต — เป็นพิเศษ, ปฺริยห์ — เป็นที่รักยิ่ง, หิ — แน่นอน, ชฺญานินห์ — แด่ผู้ที่อยู่ในความรู้, อตฺยรฺถมฺ — สูงส่ง, อหมฺ — ข้าเป็น, สห์ — เขา, — เช่นกัน, มม — แด่ข้า, ปฺริยห์ — รัก

คำแปล

จากทั้งหมดนี้ ผู้ที่อยู่ในความรู้โดยสมบูรณ์ และปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยความบริสุทธิ์อยู่เสมอดีที่สุด เพราะข้าเป็นที่รักยิ่งของเขา และเขาก็เป็นที่รักของข้า

คำอธิบาย

จากการปราศจากมลทินแห่งความปรารถนาทางวัตถุทั้งหลาย ผู้ที่มีความทุกข์ ผู้ที่ชอบถาม ผู้ที่สิ้นเนื้อประดาตัว และผู้แสวงหาความรู้สูงสุดทั้งหมดสามารถกลายมาเป็นสาวกผู้บริสุทธิ์ได้ แต่จากทั้งหมดนี้ผู้ที่อยู่ในความรู้แห่งสัจธรรมที่สมบูรณ์และเป็นอิสระจากความต้องการทางวัตถุทั้งปวงจะกลายมาเป็นสาวกผู้บริสุทธิ์ขององค์ภควานฺโดยแท้จริง และจากทั้งสี่ประเภทสาวกผู้อยู่ในความรู้อย่างสมบูรณ์และในขณะเดียวกันปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺตรัสว่าดีที่สุด จากการแสวงหาความรู้เขาสำนึกได้ว่าตนเองนั้นแตกต่างไปจากร่างกายวัตถุ เมื่อเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นเขาจะมาถึงความรู้แห่ง พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ และ ปรมาตฺมา เมื่อบริสุทธิ์อย่างเต็มที่เขาจะรู้สำนึกว่าสถานภาพพื้นฐานของตนเองคือเป็นผู้รับใช้นิรันดรขององค์ภควานฺ ดังนั้นด้วยการคบหาสมาคมกับสาวกผู้บริสุทธิ์ ผู้ที่ชอบถาม ผู้ที่มีความทุกข์ ผู้ที่แสวงหาความช่วยเหลือทางวัตถุ และผู้ที่มีความรู้ทั้งหมดกลายมาเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ในระดับเตรียมตัวผู้ที่มีความรู้แห่งองค์ภควานฺอย่างสมบูรณ์และในขณะเดียวกันปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้เป็นที่รักยิ่งของพระองค์ผู้ที่สถิตในความรู้ที่บริสุทธิ์ของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าจะได้รับการคุ้มครองในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ มลทินทางวัตถุนั้นจะไม่สามารถทำให้เขาแปดเปื้อนได้