ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ เจ็ด

ความรู้แห่งสัจธรรม

โศลก 30

sādhibhūtādhidaivaṁ māṁ
sādhiyajñaṁ ca ye viduḥ
prayāṇa-kāle ’pi ca māṁ
te vidur yukta-cetasaḥ
สาธิภูตาธิไทวํ มำ
สาธิยชฺญํ จ เย วิทุห์
ปฺรยาณ-กาเล ’ปิ จ มำ
เต วิทุรฺ ยุกฺต-เจตสห์
ส-อธิภูต — และหลักการปกครองแห่งปรากฏการณ์ทางวัตถุ, อธิไทวมฺ — ปกครองเทวดาทั้งหลาย, มามฺ — ข้า, ส-อธิยชฺญมฺ — และปกครองพิธีบูชาทั้งหมด, — เช่นกัน, เย — พวกที่, วิทุห์ — รู้, ปฺรยาณ — ความตาย, กาเล — ขณะที่, อปิ — แม้, — และ, มามฺ — ข้า, เต — พวกเขา, วิทุห์ — รู้, ยุกฺต-เจตสห์ — จิตใจพวกเขาปฏิบัติในข้า

คำแปล

พวกที่มีจิตสำนึกสมบูรณ์ในข้า ผู้รู้จักข้าองค์ภควานฺสูงสุดว่าเป็นหลักในการบริหารปรากฏการณ์ทางวัตถุ บริหารเหล่าเทวดา และพิธีบูชาทั้งหลายสามารถเข้าใจและรู้ถึงข้าบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า แม้ขณะที่ตาย

คำอธิบาย

บุคคลปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่เบี่ยงเบนจากวิถีทางในการเข้าใจบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ด้วยการคบหาสมาคมทิพย์ในกฺฤษฺณจิตสำนึก เขาสามารถเข้าใจว่าองค์ภควานฺทรงเป็นหลักในการบริหารปรากฏการณ์ทางวัตถุ และบริหารแม้เหล่าเทวดาได้อย่างไร จากการคบหาสมาคมทิพย์เช่นนี้เขาค่อยๆมีความมั่นใจต่อองค์ภควานฺ และในขณะตายบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกเช่นนี้จะไม่มีวันลืมองค์กฺฤษฺณ โดยธรรมชาติเขาจะได้รับการส่งเสริมไปยังดาวเคราะห์ขององค์ภควานฺ โคโลก วฺฤนฺทาวน

บทที่เจ็ดนี้อธิบายว่าเราสามารถจะมีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ได้อย่างไร จุดเริ่มต้นของกฺฤษฺณจิตสำนึกคือการมาคบหาสมาคมกับบุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึก การคบหาสมาคมเช่นนี้เป็นทิพย์จะทำให้เราไปสัมผัสกับองค์ภควานฺโดยตรง และด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์ภควานฺเราสามารถเข้าใจองค์กฺฤษฺณว่าทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ในขณะเดียวกันเราสามารถเข้าใจสถานภาพพื้นฐานอันแท้จริงของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตลืมองค์กฺฤษฺณและมาถูกกิจกรรมทางวัตถุพันธนาการได้อย่างไร จากการค่อยๆพัฒนากฺฤษฺณจิตสำนึกด้วยการคบหาสมาคมกับกัลยาณมิตร สิ่งมีชีวิตสามารถเข้าใจว่าเนื่องจากลืมองค์กฺฤษฺณเราจึงมาอยู่ในสภาวะตามกฎแห่งธรรมชาติวัตถุ และยังเข้าใจอีกว่าชีวิตในร่างวัตถุนี้เป็นโอกาสที่จะเรียกกฺฤษฺณจิตสำนึกกลับคืนมา จึงควรใช้สอยประโยชน์อย่างเต็มที่เพื่อให้ได้รับพระเมตตาอันหาที่สุดมิได้จากองค์ภควานฺ

ได้สนทนากันหลายประเด็นในบทนี้ เช่น บุคคลผู้อยู่ในความทุกข์ บุคคลผู้ชอบถาม บุคคลผู้ต้องการสิ่งจำเป็นทางวัตถุ ความรู้แห่ง พฺรหฺมนฺ ความรู้แห่ง ปรมาตฺมา ความหลุดพ้นจากการเกิด การตาย และโรคภัยไข้เจ็บ และการบูชาองค์ภควานฺ อย่างไรก็ดีผู้ที่พัฒนาในกฺฤษฺณจิตสำนึกจริงๆจะไม่สนใจกับวิธีต่างๆเหล่านี้ เขาเพียงแต่ปฏิบัติตนในกิจกรรมของกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยตรงและบรรลุถึงสถานภาพพื้นฐานอันแท้จริงของตนเองว่าเป็นผู้รับใช้นิรันดรขององค์ศฺรี กฺฤษฺณ ในสภาวะเช่นนี้เขาจะมีความยินดีในการสดับฟังและสรรเสริญองค์ภควานฺในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยความบริสุทธิ์ และมั่นใจว่าจากการกระทำเช่นนี้จุดมุ่งหมายทั้งหมดของเขาจะบรรลุผลสำเร็จ ความศรัทธาอันแรงกล้าเช่นนี้เรียกว่า ทฺฤฒ-วฺรต ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ ภกฺติ-โย หรือการรับใช้ทิพย์ด้วยความรัก นี่คือข้อสรุปของพระคัมภีร์ทั้งหลาย บทที่เจ็ดของ ภควัท-คีตา เป็นเนื้อหาสาระแห่งความมุ่งมั่นนี้

ดังนั้นได้จบคำอธิบายโดย ภักดีเวดานตะ บทที่เจ็ด ของหนังสือ ศฺรีมทฺ ภควัท-คีตา ในหัวข้อเรื่อง ความรู้แห่งสัจธรรม