ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ แปด
การบรรลุถึงองค์ภควานฺ
โศลก 10
prayāṇa-kāle manasācalena
bhaktyā yukto yoga-balena caiva
bhruvor madhye prāṇam āveśya samyak
sa taṁ paraṁ puruṣam upaiti divyam
bhaktyā yukto yoga-balena caiva
bhruvor madhye prāṇam āveśya samyak
sa taṁ paraṁ puruṣam upaiti divyam
ปฺรยาณ-กาเล มนสาจเลน
ภกฺตฺยา ยุกฺโต โยค-พเลน ไจว
ภฺรุโวรฺ มเธฺย ปฺราณมฺ อาเวศฺย สมฺยกฺ
ส ตํ ปรํ ปุรุษมฺ อุไปติ ทิวฺยมฺ
ภกฺตฺยา ยุกฺโต โยค-พเลน ไจว
ภฺรุโวรฺ มเธฺย ปฺราณมฺ อาเวศฺย สมฺยกฺ
ส ตํ ปรํ ปุรุษมฺ อุไปติ ทิวฺยมฺ
ปฺรยาณ-กาเล — ขณะตาย, มนสา — ด้วยใจ, อจเลน — ปราศจากการเบี่ยงเบน, ภกฺตฺยา — อุทิศตนเสียสละอย่างสมบูรณ์, ยุกฺตห์ — ปฏิบัติ, โยค-พเลน — ด้วยพลังแห่งอิทธิฤทธิ์โยคะ, จ — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, ภฺรุโวห์ — คิ้วทั้งสองข้าง, มเธฺย — ระหว่าง, ปฺราณมฺ — ลมปราณชีวิต, อาเวศฺย — ตั้งมั่น, สมฺยกฺ — สมบูรณ์, สห์ — เขา, ตมฺ — นั้น, ปรมฺ — ทิยพ์, ปุรุษมฺ — องค์ภควานฺ, อุไปติ — บรรลุ, ทิวฺยมฺ — ในอาณาจักรทิพย์
คำแปล
คนที่ขณะตายตั้งมั่นลมปราณชีวิตอยู่ระหว่างคิ้วทั้งสอง
คำอธิบาย
โศลกนี้ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าในขณะกำลังตายนั้นจิตใจต้องตั้งมั่นในการอุทิศตนเสียสละต่อบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า สำหรับพวกที่ฝึกปฏิบัติโยคะได้แนะนำไว้ว่าให้กำหนดพลังแห่งชีวิตให้มาอยู่ระหว่างคิ้วทั้งสอง (ที่ อาชฺญา-จกฺร ) การปฏิบัติ ษฏฺ-จกฺร-โยค เกี่ยวเนื่องกับการทำสมาธิที่ จกฺร ทั้งหกซึ่งเกริ่นไว้ ณ ที่นี้ สาวกผู้บริสุทธิ์มิได้ฝึกปฏิบัติโยคะเช่นนี้ แต่เพราะท่านปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกอยู่เสมอขณะที่กำลังจะตายด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์กฺฤษฺณจะทำให้สามารถระลึกถึงองค์ภควานฺได้ ดังจะอธิบายในโศลกสิบสี่
การใช้คำว่า โยค-พเลน มีความสำคัญในโศลกนี้ เพราะหากปราศจากการปฏิบัติโยคะไม่ว่าจะเป็น ษฏฺ-จกฺร-โยค หรือ ภกฺติ-โยค เราจะไม่สามารถไปถึงระดับทิพย์นี้ได้ในขณะที่กำลังจะตาย ขณะตายไม่มีใครสามารถระลึกถึงองค์ภควานฺขึ้นมาได้ในทันที เราจึงต้องฝึกปฏิบัติระบบโยคะบางอย่าง โดยเฉพาะระบบ ภกฺติ-โยค เนื่องจากจิตใจของเราขณะที่กำลังจะตายจะสับสนมาก เราจึงควรฝึกปฏิบัติวิถีทิพย์ผ่านระบบโยคะในระหว่างที่เรายังมีชีวิตอยู่