ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ แปด

การบรรลุถึงองค์ภควานฺ

โศลก 12

sarva-dvārāṇi saṁyamya
mano hṛdi nirudhya ca
mūrdhny ādhāyātmanaḥ prāṇam
āsthito yoga-dhāraṇām
สรฺว-ทฺวาราณิ สํยมฺย
มโน หฺฤทิ นิรุธฺย จ
มูรฺธฺนฺยฺ อาธายาตฺมนห์ ปฺราณมฺ
อาสฺถิโต โยค-ธารณามฺ
สรฺว-ทฺวาราณิ — ประตูทั้งหมดของร่างกาย, สํยมฺย — ควบคุม, มนห์ — จิตใจ, หฺฤทิ — ในหัวใจ, นิรุธฺย — ขอบเขต, — เช่นกัน, มูรฺธฺนิ — บนศีรษะ, อาธาย — ตั้งมั่น, อาตฺมนห์ — ของวิญญาณ, ปฺราณมฺ — ลมปราณชีวิต, อาสฺถิตห์ — สถิต, โยค-ธารณามฺ — สภาวะโยคะ

คำแปล

สภาวะโยคะ คือ การไม่ยึดติดกับการปฏิบัติทางประสาทสัมผัสทั้งหมด ปิดประตูประสาทสัมผัสทั้งหมด ตั้งจิตมั่นอยู่ที่หัวใจ และกำหนดลมปราณชีวิตอยู่ที่บนศีรษะ เขาสถิตตนเองอยู่ในโยคะ

คำอธิบาย

การปฏิบัติโยคะได้แนะนำไว้ ที่นี้ ก่อนอื่นเราต้องปิดประตูเพื่อความสุขทางประสาทสัมผัสทั้งหมด การปฏิบัติเช่นนี้เรียกว่า ปฺรตฺยาหาร หรือการถอนประสาทสัมผัสต่างๆให้ออกจากอายตนะภายนอก อวัยวะประสาทสัมผัสเพื่อรับความรู้ เช่น ตา หู จมูก ลิ้น และสัมผัสควรถูกควบคุมอย่างสมบูรณ์ ไม่ควรปล่อยให้ไปปฏิบัติเพื่อสนองประสาทสัมผัสของตน เช่นนี้จิตใจจดจ่ออยู่ที่อภิวิญญาณภายในหัวใจ และพลังชีวิตยกสูงขึ้นไปด้านบนของศีรษะ วิธีนี้ได้อธิบายไว้อย่างละเอียดในบทที่หก ซึ่งกล่าวไว้ว่าการปฏิบัติเช่นนี้ไม่เหมาะสมสำหรับยุคนี้ วิธีที่ดีที่สุดคือ กฺฤษฺณจิตสำนึก หากเราสามารถตั้งจิตมั่นอยู่ที่องค์กฺฤษฺณในการอุทิศตนเสียสละรับใช้อยู่เสมอจะเป็นการง่ายมากที่จะคงอยู่ในความสงบที่ไม่หวั่นไหวหรือยู่ใน สมาธิ