ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ แปด

การบรรลุถึงองค์ภควานฺ

โศลก 27

naite sṛtī pārtha jānan
yogī muhyati kaścana
tasmāt sarveṣu kāleṣu
yoga-yukto bhavārjuna
ไนเต สฺฤตี ปารฺถ ชานนฺ
โยคี มุหฺยติ กศฺจน
ตสฺมาตฺ สเรฺวษุ กาเลษุ
โยค-ยุกฺโต ภวารฺชุน
— ไม่เคย, เอเต — ทั้งสอง, สฺฤตี — วิถีทางต่างกัน, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, ชานนฺ — ถึงแม้ว่าเขารู้, โยคี — สาวกขององค์ภควานฺ, มุหฺยติ — สับสน, กศฺจน — ผู้ใด, ตสฺมาตฺ — ดังนั้น, สเรฺวษุ กาเลษุ — เสมอ, โยค-ยุกฺตห์ — ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก, ภว — เพียงแต่มาเป็น, อรฺชุน — โอ้ อารจุนะ

คำแปล

ถึงแม้สาวกทราบสองวิธีนี้ โอ้ อรฺชุน พวกเขาไม่สับสน ดังนั้นจงตั้งมั่นตลอดเวลาอยู่ในการอุทิศตนเสียสละ

คำอธิบาย

ที่นี้ องค์กฺฤษฺณทรงแนะนำ อรฺชุน ว่าไม่ควรวิตกกับวิถีทางต่างๆที่ดวงวิญญาณจะเดินทางไปขณะออกจากโลกวัตถุ สาวกขององค์ภควานฺไม่ควรกังวลว่าจะจากไปด้วยการตระเตรียมหรือด้วยอุบัติเหตุ แต่ควรสถิตอย่างมั่นคงในกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยสวดภาวนา หเร กฺฤษฺณ และควรรู้ว่าการวิตกกังวลในทั้งสองวิถีทางนี้มีแต่ปัญหา วิธีที่ดีที่สุดคือซึมซาบอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกและประสานทุกสิ่งทุกอย่างในการรับใช้พระองค์เช่นนี้จะทำให้วิถีทางที่จะไปสู่อาณาจักรทิพย์ปลอดภัยแน่นอน และคำว่า โยค-ยุกฺต มีความสำคัญอย่างยิ่งในโศลกนี้โดยตรง ผู้ที่มีความมั่นคงในโยคะจะปฏิบัติกิจกรรมทั้งหมดในกฺฤษฺณจิตสำนึกอยู่เสมอ ศฺรี รูป โคสฺวามี แนะนำว่า อนาสกฺตสฺย วิษยานฺ ยถารฺหมฺ อุปยุญฺชตห์ เราไม่ควรยึดติดอยู่ในภารกิจทางวัตถุและทำทุกสิ่งทุกอย่างในกฺฤษฺณจิตสำนึกด้วยระบบที่เรียกว่า ยุกฺต-ไวราคฺย นี้ เราจะบรรลุถึงความสมบูรณ์ ดังนั้นสาวกไม่ควรวิตกกับคำอธิบายเหล่านี้เพราะทราบว่าการที่จะไปยังพระตำหนักสูงสุดรับประกันด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้