ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ แปด

การบรรลุถึงองค์ภควานฺ

โศลก 3

śrī-bhagavān uvāca
akṣaraṁ brahma paramaṁ
svabhāvo ’dhyātmam ucyate
bhūta-bhāvodbhava-karo
visargaḥ karma-saṁjñitaḥ
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
อกฺษรํ พฺรหฺม ปรมํ
สฺวภาโว ’ธฺยาตฺมมฺ อุจฺยเต
ภูต-ภาโวทฺภว-กโร
วิสรฺคห์ กรฺม-สํชฺญิตห์
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — องค์ภควานฺตรัส, อกฺษรมฺ — ไม่มีวันถูกทำลาย, พฺรหฺมพฺรหฺมนฺ, ปรมมฺ — ทิพย์, สฺวภาวห์ — ธรรมชาติอมตะ, อธฺยาตฺมมฺ — ตัวชีวิต, อุจฺยเต — เรียกว่า, ภูต-ภาว-อุทฺภว-กรห์ — ผลิตร่างวัตถุของสิ่งมีชีวิต, วิสรฺคห์ — การสร้าง, กรฺม — กิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ, สํชฺญิตห์ — เรียกว่า

คำแปล

องค์ภควานตรัสว่า ดวงชีวิตทิพย์ที่ไม่มีวันถูกทำลายเรียกว่า พฺรหฺมนฺ และธรรมชาตินิรันดรของเขาเรียกว่า อธฺยาตฺม หรือดวงชีวิต กิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาร่างกายวัตถุของสิ่งมีชีวิตเรียกว่ากรรม (กรฺม) หรือกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ

คำอธิบาย

พฺรหฺมนฺ ไม่มีวันถูกทำลายและเป็นอยู่ชั่วกัลปวสาน สถานภาพเดิมแท้ของเขาไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าในขณะใด แต่เหนือไปจาก พฺรหฺมนฺ ยังมี ปร-พฺรหฺมนฺ พฺรหฺมนฺ หมายถึงสิ่งมีชีวิต และ ปร-พฺรหฺมนฺ หมายถึงองค์ภควานฺ สถานภาพพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตแตกต่างไปจากสถานภาพที่เขาได้รับในโลกวัตถุ ในวัตถุจิตสำนึกธรรมชาติคือพยายามเป็นเจ้าแห่งวัตถุ แต่ในจิตสำนึกทิพย์หรือกฺฤษฺณจิตสำนึกสถานภาพของเขาคือเป็นผู้รับใช้องค์ภควานฺ เมื่อสิ่งมีชีวิตอยู่ในวัตถุจิตสำนึกจะต้องได้รับร่างกายต่างๆในโลกวัตถุเช่นนี้เรียกว่ากรรม (กรฺม) หรือการสร้างอันหลากหลายด้วยการบังคับของจิตสำนึกวัตถุ

ในวรรณกรรมพระเวทสิ่งมีชีวิตเรียกว่า ชีวาตฺมา และ พฺรหฺมนฺ แต่ไม่เคยถูกเรียกว่า ปร-พฺรหฺมนฺ สิ่งมีชีวิต (ชีวาตฺมา) ได้รับสถานภาพต่างๆบางครั้งกลืนเข้าไปในธรรมชาติวัตถุอันมืดมนและสำคัญตนเองกับวัตถุ และบางครั้งสำคัญตนเองกับสิ่งที่สูงกว่าคือธรรมชาติทิพย์ ดังนั้นสิ่งมีชีวิตจึงได้ชื่อว่าเป็นพลังงานพรมแดนขององค์ภควานฺ ตามที่สำคัญตนเองกับธรรมชาติวัตถุหรือธรรมชาติทิพย์จึงได้รับร่างวัตถุหรือร่างทิพย์ ในธรรมชาติวัตถุเขาอาจได้รับร่างกายจากหนึ่งใน 8,400,000 เผ่าพันธุ์ชีวิตแต่ในธรรมชาติทิพย์จะมีเพียงร่างเดียว ในธรรมชาติวัตถุบางครั้งปรากฏเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นนก ฯลฯ ตามกรรมของตน เพื่อบรรลุถึงดาวเคราะห์วัตถุบนสรวงสวรรค์และได้รับความสุขกับสิ่งอำนวยความสะดวก บางครั้งเขาปฏิบัติพิธีบูชา (ยชฺญ) แต่เมื่อผลบุญหมดลงจะกลับมาในโลกนี้อีกครั้งในร่างมนุษย์ วิธีกรรมเช่นนี้เรียกว่ากรรมหรือ (กรฺม)

ฉานฺโทคฺย อุปนิษทฺ อธิบายวิธีการทำพิธีบูชาทางพระเวทที่แท่นพิธีบูชามีการถวายสิ่งของห้าอย่างไปในไฟห้าชนิด ไฟห้าชนิดก่อขึ้นจากดาวเคราะห์สวรรค์ เมฆ โลก ชาย และหญิง และสิ่งถวายในพิธีบูชาห้าอย่างคือ ความศรัทธา ผู้มีความสุขบนดวงจันทร์ ฝน เมล็ดข้าว และอสุจิ

ในพิธีการบูชาสิ่งมีชีวิตทำพิธีบูชาโดยเฉพาะเพื่อบรรลุถึงสรวงสวรรค์และก็บรรลุถึงจริงในเวลาต่อมา เมื่อผลบุญแห่งการบูชาหมดสิ้นลงสิ่งมีชีวิตตกลงมาบนโลกในรูปของฝน จากนั้นมาอยู่ในรูปของเมล็ดข้าว และมนุษย์รับประทานเมล็ดข้าวกลายเป็นอสุจิซึ่งทำให้ผู้หญิงตั้งครรภ์ ดังนั้นสิ่งมีชีวิตได้รับร่างมนุษย์อีกครั้งหนึ่งเพื่อปฏิบัติพิธีบูชาและวนเวียนอยู่ในวัฏจักรนี้ สิ่งมีชีวิตจึงวนเวียนบนวิถีทางวัตถุชั่วกัลปวสาน อย่างไรก็ดีบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกหลีกเลี่ยงการบูชาเขาจึงปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยตรง ดังนั้นจึงเตรียมตัวกลับคืนสู่เหย้าคืนสู่องค์ภควานฺ

นักวิจารณ์ ภควัท-คีตา ผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์คิดว่า พฺรหฺมนฺ รับเอารูปของ ชีว ในโลกวัตถุอย่างไร้เหตุผล และเพื่อสนับสนุนประเด็นนี้พวกเขาได้อ้างอิงบทที่สิบห้าโศลก 7 ของ คีตา แต่ในโศลกนี้องค์ภควานฺยังตรัสอีกว่าสิ่งมีชีวิตเป็น “ละอองอณูนิรันดรของตัวข้า” สิ่งมีชีวิตเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺ และอาจตกลงมาในโลกวัตถุแต่องค์ภควานฺ (อจฺยุต) ไม่มีวันตกลงต่ำ ดังนั้นข้อสรุปที่ว่า พฺรหฺมนฺ สูงสุดรับเอารูปของ ชีว จึงยอมรับไม่ได้ มีความสำคัญที่ควรจำไว้ว่าในวรรณกรรมพระเวท พฺรหฺมนฺ (สิ่งมีชีวิต) แตกต่างจาก ปร-พฺรหฺมนฺ (องค์ภควานฺ)