ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ เก้า

ความรู้ที่ลับสุดยอด

โศลก 27

yat karoṣi yad aśnāsi
yaj juhoṣi dadāsi yat
yat tapasyasi kaunteya
tat kuruṣva mad-arpaṇam
ยตฺ กโรษิ ยทฺ อศฺนาสิ
ยชฺ ชุโหษิ ททาสิ ยตฺ
ยตฺ ตปสฺยสิ เกานฺเตย
ตตฺ กุรุษฺว มทฺ-อรฺปณมฺ
ยตฺ — อะไรก็แล้วแต่, กโรษิ — เธอทำ, ยตฺ — อะไรก็แล้วแต่, อศฺนาสิ — เธอรับประทาน, ยตฺ — อะไรก็แล้วแต่, ชุโหษิ — เธอถวาย, ททาสิ — เธอให้ทาน, ยตฺ — อะไรก็แล้วแต่, ยตฺ — อะไรก็แล้วแต่, ตปสฺยสิ — ความสมถะที่เธอปฏิบัติ, เกานฺเตย — โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี, ตตฺ — นั้น, กุรุษฺว — ทำ, มตฺ — แด่ข้า, อรฺปณมฺ — เป็นเครื่องถวาย

คำแปล

อะไรก็แล้วแต่ที่เธอทำ อะไรก็แล้วแต่ที่เธอรับประทาน อะไรก็แล้วแต่ที่เธอถวายหรือให้ทาน และความสมถะใดๆที่เธอปฏิบัติ จงทำไปเพื่อถวายแด่ข้า โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี

คำอธิบาย

ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะหล่อหลอมชีวิตของตนเองจนกระทั่งไม่สามารถลืมองค์กฺฤษฺณได้ ไม่ว่าในสถานการณ์ใดๆทุกคนต้องทำงานเพื่อดำรงรักษาร่างกายและดวงวิญญาณให้อยู่ด้วยกัน องค์กฺฤษฺณทรงแนะนำไว้ ที่นี้ว่าเราควรทำงานเพื่อพระองค์ทุกคนต้องรับประทานอาหารเพื่อประทังชีวิต ดังนั้นเราควรรับส่วนเหลือของอาหารที่ถวายให้องค์กฺฤษฺณ มนุษย์ผู้มีความเจริญต้องปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาบางอย่างองค์กฺฤษฺณทรงแนะนำว่า “จงทำไปเพื่อข้า” เช่นนี้เรียกว่า อรฺจน ทุกคนมีแนวโน้มที่จะให้บางสิ่งบางอย่างเป็นทาน องค์กฺฤษฺณทรงตรัสว่า “จงให้แด่ข้า” เช่นนี้หมายความว่าส่วนเกินของเงินที่สะสมไว้ควรใช้ประโยชน์ในการเผยแพร่ขบวนการกฺฤษฺณจิตสำนึก ปัจจุบันนี้ผู้คนมีแนวโน้มไปในวิธีการทำสมาธิเป็นอย่างมากซึ่งปฏิบัติกันไม่ได้ในยุคนี้ แต่หากผู้ใดปฏิบัติสมาธิที่องค์กฺฤษฺณวันละยี่สิบสี่ชั่วโมงด้วยการสวดภาวนามหามนต์ หเร กฺฤษฺณ รอบลูกประคำแน่นอนว่าเราจะเป็นนักปฏิบัติสมาธิและเป็นโยคะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ดังที่ได้ยืนยันไว้ในบทที่หกของ ภควัท-คีตา