ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

พระกรุณาธิคุณเจ้า อภัยจรัญอาระวินดะ ภักดีเวดานตะ สวามี ประภูปาดะ ได้กำเนิดบนโลกนี้ในปี ค.ศ.1896 ที่เมืองโกลกาตา ประเทศอินเดีย ท่านได้พบกับพระอาจารย์ทิพย์ชื่อ ศฺรีล ภกฺติสิทฺธานฺต สรสฺวตี ฐากุร ครั้งแรกที่เมืองโกลกาตา ในปี ค.ศ.1922 ท่านอาจารย์ ภกฺติสิทฺธานฺต ฐากุร เป็นนักวิชาการทางศาสนาผู้มีชื่อเสียงโดดเด่น และเป็นผู้สถาปนา เคาฑิยา มฐ (สถาบันพระเวท) หกสิบสี่แห่ง ท่านชอบเด็กหนุ่มที่มีการศึกษาดีผู้นี้ (ประภูปาดะ) และได้ให้ความมั่นใจว่าเขาควรอุทิศชีวิตเพื่อสอนความรู้พระเวท ศฺรีล ปฺรภุปาทได้เป็นลูกศิษย์ของท่าน และในปี ค.ศ.1933 สิบเอ็ดปีให้หลังท่านได้อุปสมบทเป็นสาวกอย่างเป็นทางการที่เมืองอลาหาบาด

ในการพบปะกันครั้งแรกในปีค.ศ.1922 ศฺรีล ภกฺติสิทฺธานฺต สรสฺวตี ฐากุร ขอร้องให้ ศฺรีล ปฺรภุปาทเผยแพร่ความรู้พระเวทเป็นภาษาอังกฤษ หลายปีต่อมาศฺรีล ปฺรภุปาทได้เขียนคําอธิบาย ภควัท-คีตา และช่วยงาน เคาฑิยา มฐ ในปี ค.ศ.1944 ท่านได้เริ่มทําวารสารรายปักษ์เป็นภาษาอังกฤษ ชื่อ Back to Godhead (กลับคืนสู่องค์ภควานฺ) ท่านได้ลําดับเรื่อง พิมพ์ต้นฉบับ และตรวจคําด้วยตัวท่านเองโดยไม่ได้มีใครให้ความช่วยเหลือ และได้นําวารสารนี้ไปแจกเอง ปัจจุบันนี้ลูกศิษย์ของท่านยังจัดพิมพ์วารสารนี้อย่างต่อเนื่อง

ในปี ค.ศ.1950 ศฺรีล ปฺรภุปาทได้เกษียณจากชีวิตสมรสและรับเอาชีวิต วานปฺรสฺถ (เกษียณ) เพื่ออุทิศเวลาในการศึกษาและงานเขียนมากขึ้น ศฺรีล ปฺรภุปาทเดินทางไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ วฺฤนฺทาวน ท่านใช้ชีวิตอยู่อย่างสมถะที่วัดประวัติศาสตร์ชื่อ ราธา-ทาโมทร ที่นั้นท่านใช้เวลาหลายปีศึกษาและทำงานเขียนอย่างลึกซึ้งศฺรีล ปฺรภุปาทได้รับเอาระดับชีวิตสละโลก (สันนยาสะ) ในปี ค.ศ.1959 ที่วัด ราธา-ทาโมทร ศฺรีล ปฺรภุปาทเริ่มงานชิ้นเอกของชีวิตท่านคือ แปลและให้คําอธิบายหนังสือ ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (ภาควต ปุราณ) ซึ่งมีหนึ่งหมื่นแปดพันโศลก และได้เขียนหนังสือชื่อ Easy Journey to Other Planets (การเดินทางแบบง่ายๆไปสู่ดาวเคราะห์ดวงอื่น)

หลังจากจัดพิมพ์ ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ สามเล่มแล้วศฺรีล ปฺรภุปาทได้เดินทางมายังสหรัฐอเมริกาในเดือนกันยายน ปี ค.ศ.1965 เพื่อสนองภารกิจของพระอาจารย์ทิพย์ ต่อมาศฺรีล ปฺรภุปาทได้เขียนหนังสือศาสนาคลาสสิคและปรัชญาของอินเดียมากกว่าห้าสิบเล่มชึ่งมีทั้งคําแปลและคําอธิบายที่ชัดเจนและเชื่อถือได้

ในปี ค.ศ.1965 เมื่อไปถึงนครหลวงนิวยอร์คโดยเรือบรรทุกสินค้าซึ่งศฺรีล ปฺรภุปาทแทบจะไม่มีเงินเลย หลังจากนั้นประมาณหนึ่งปีด้วยความยากลําบากเป็นอย่างยิ่งท่านได้สถาปนาสมาคมนานาชาติเพื่อกฺฤษฺณจิตสํานึกในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1966 ก่อนที่จะจากไปในวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ.1977 ท่านได้เป็นผู้นําและดูแลสมาคมให้เจริญเติบโตเป็นสมาพันธ์ทั่วโลกที่มีมากกว่าหนึ่งร้อย อาศฺรม โรงเรียน วัด สถาบัน และชุมชนเกษตรกรรม

ในปี ค.ศ.1972 ศฺรีล ปฺรภุปาทได้แนะนําระบบการศึกษาชั้นประถมและมัธยมแบบพระเวทให้ทางตะวันตก โดยได้เปิดโรงเรียน คุรุกุล ที่ เมืองแดลลัส รัฐเท็กซัส หลังจากนั้นลูกศิษย์ของท่านได้เปิดโรงเรียนคล้ายกันนี้ทั่วอเมริกาและทั่วโลก

ศฺรีล ปฺรภุปาทยังดลใจให้สร้างศูนย์วัฒนธรรมนานาชาติที่ยิ่งใหญ่หลายแห่งในประเทศอินเดีย ศูนย์ที่ ศฺรีธาม มายาปุรฺ ในแคว้นเบงกอลตะวันตก เป็นสถานที่สําหรับแผนแห่งเมืองทิพย์ การก่อสร้างโครงการอันยิ่งใหญ่นี้จะดําเนินต่อไปอีกหลายปีในอนาคต ที่เมือง วฺฤนฺทาวน ประเทศอินเดีย ยังมีวัด กฺฤษฺณ-พลราม ที่สวยงามมาก มีเกสต์เฮ้าส์นานาชาติ โรงเรียน คุรุกุล อนุสรณ์ และพิพิธภัณฑ์ของศฺรีล ปฺรภุปาท ที่เมืองมุมไบ และที่เมืองนิวเดลีมีศูนย์วัฒนธรรม และศูนย์ศึกษาอันยิ่งใหญ่ และยังมีศูนย์อื่นๆที่กําลังวางแผนไว้นับจํานวนเป็นสิบๆแห่ง สถานที่สําคัญๆของประเทศอินเดีย

อย่างไรก็ดีสิ่งสําคัญที่สุดที่ศฺรีล ปฺรภุปาทได้ให้ไว้คือหนังสือของท่าน ที่เหล่านักวิชาการได้ให้ความเคารพเป็นอย่างสูงในความน่าเชื่อถือได้ ความลึกซึ้ง และความชัดเจน หนังสือเหล่านี้ได้ถูกใช้เป็นตําราเรียนมาตรฐานในวิชาต่างๆตามมหาวิทยาลัยมากมาย ภักดีเวดานตะ บุ๊ค ทรัส ได้ถูกสถาปนาขึ้นในปี ค.ศ.1972 เพื่อพิมพ์งานของท่าน และกลายเป็นสำนักพิมพ์หนังสือศาสนาและปรัชญาอินเดียที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ช่วงเวลาเพียงสิบสองปีที่ถึงแม้ว่า ศฺรีล ปฺรภุปาทอยู่ในช่วงสูงวัยก็ยังคงเดินทางรอบโลกสิบสี่ครั้ง ข้ามหกทวีปเพื่อแสดงปาฐกถา ถึงแม้ว่าจะมีตารางภารกิจที่แน่นขนัดศฺรีล ปฺรภุปาทยังแบ่งเวลามาเขียนหนังสืออีกมากมาย หนังสือที่ท่านเขียนรวมกันเป็นห้องสมุดที่มีความหลากหลายทั้งประเภทปรัชญา ศาสนา วรรณกรรม และวัฒนธรรมพระเวท