ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
คำแนะนำในการอ่านภาษาสันสกฤตด้วยตัวอักษรไทย
ภควัท-คีตา ฉบับเดิมเล่มนี้ได้มีการใช้คำภาษาสันสกฤตด้วยตัวอักษรไทยที่เป็นไปตามระบบที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลและทางวิชาการ ซึ่งองค์ประกอบและหลักการอาจจะทำให้ผู้ที่ยังไม่เคยรู้จักและได้สัมผัสกับภาษาสันสกฤตมาก่อนยังไม่ค่อยเข้าใจหลักการในการอ่านออกเสียงที่ถูกต้องได้ เราจึงขอแนะนำให้ผู้อ่านใช้คู่มือการออกเสียงภาษาสันสกฤตที่ให้ไว้ในหนังสือเล่มนี้เพื่อเรียนรู้วิธีการออกเสียงคำภาษาสันสกฤตอย่างถูกต้องและใกล้เคียงที่สุด นอกจากนี้เรายังมีการเขียนทับศัพท์โศลกเป็นภาษาโรมัน (IAST) ซึ่งอาจเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านจำนวนมากที่จะทำให้สามารถอ่านออกเสียงได้ง่ายและใกล้เคียงเสียงภาษาสันสกฤตมากยิ่งขึ้น
ภาษาสันสกฤต มีรูปอักษร 48 ตัว แบ่งเป็นพยัญชนะ 34 ตัว สระ 14 ตัว การศึกษาภาษาสันสกฤตในประเทศไทยจะนิยมใช้อักษร3 ชนิด คือ อักษรเทวนาครี และอักษรโรมัน อักษรไทย ในที่นี้จะแสดงสระและพยัญชนะด้วยตัวอักษรไทย
สระ 14 ตัวได้แก่ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ ไอ เอา
- ในระบบภาษาโรมัน IAST สระเสียงยาว อา อี อู (ā, ī, ū) จะมีขีดยาวบนตัวอักษรที่เป็นสระ
- ฤ เป็นสระพิเศษที่มักจะออกเสียงเป็น"ริ" ในระบบ IAST ṛ คือ ฤ ,และ ḷ คือ ฦ . เมื่อมีขีดยาว ฤๅ และ ฦๅ จะอ่านออกเสียงเป็น รี และ ลี
พยัญชนะ 34 ตัวแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ
พยัญชนะวรรค แบ่งเป็น 5 วรรค รวม 25 ตัว คือ
- วรรค กะ เสียงเกิดที่คอ ได้แก่ ก ข ค ฆ ง
- วรรค จะ เสียงเกิดที่เพดาน ได้แก่ จ ฉ ช ฌ ญ
- วรรค ฏะ เสียงเกิดที่ปุ่มเหงือก ได้แก่ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
- วรรค ตะ เสียงเกิดที่ฟัน ได้แก่ ต ถ ท ธ น
- วรรค ปะ เสียงเกิดที่ริมฝีปาก ได้แก่ ป ผ พ ภ ม
พยัญชนะอวรรค
- เสียงกึ่งสระ ได้แก่ ย เสียงเกิดที่เพดาน ร เสียงเกิดที่ปุ่มเหงือก ล เสียงเกิดที่ฟัน ว เสียงเกิดที่ริมฝีปาก
- เสียงเสียดแทรก ได้แก่ ศ เสียงเกิดที่เพดาน ษ เสียงเกิดที่ปุ่มเหงือก ส เสียงเกิดที่ฟัน
- เสียงหนักมีลม ได้แก่ ห
ตารางการออกเสียงโดยการเปรียบเทียบเสียงสันสกฤตกับอักษรไทย
ด้านล่างจะอธิบายเปรียบเทียบตัวอักษรไทย ตัวอักษรโรมัน และการอ่านออกเสียง
พยัญชนะวรรค กะ (ออกเสียงจากลำคอ)
ก
ka
คล้ายตัวอักษร ก
ข
kha
คล้ายตัวอักษร ข
ค
ga
คล้ายตัวอักษร G และคำว่า Gun ในภาษาอังกฤษ
ฆ
gha
ออกเสียง ค และ ห แบบมีลมออก
ง
ṅa
ออกเสียง ง ขึ้นจมูก
พยัญชนะวรรค จะ (ออกเสียงโดยใช้ลิ้นติดเพดาน)
จ
ca
คล้ายตัวอักษร จ
ฉ
cha
คล้ายตัวอักษร ฌ
ช
ja
คล้ายตัวอักษร จ และมีเสียงสั่น เหมือนคำว่า Japan ในภาษาอังกฤษ
ฌ
jha
คล้ายตัวอักษร J ในภาษาอังกฤษ และ ห ตามหลังแบบมีลมออก
ญ
ña
ออกเสียง ญ ขึ้นจมูก
พยัญชนะวรรค ตะ (ออกเสียงโดยใช้ลิ้นติดที่หน้าฟันบน ลิ้นม้วน)
ฎ
ṭa
ออกเสียง ต
ฐ
ṭha
ออกเสียง ถ และ ห ตามหลังมีลมออกมา
ฑ
ḍa
ออกเสียง ด แต่งอปลายลิ้นขึ้นเพดานเล็กน้อย
ฒ
ḍha
ออกเสียง ด แต่งอปลายลิ้นขึ้นเพดานเล็กน้อย และ ห ตามหลังแบบมีลมออกมา
ณ
ṇa
ออกเสียง น
พยัญชนะวรรค ตะ (ออกเสียงโดยใช้ลิ้นติดที่หน้าฟันบน)
ด
ta
ออกเสียง ต
ถ
tha
ออกเสียง ถ
ท
da
ออกเสียง ด
ธ
dha
ธ/ดห์ ตัว ด และ ห ตามหลังแบบมีลม
น
na
ออกเสียง น
พยัญชนะวรรค ปะ (ออกเสียงจากริมฝีปาก)
ป
pa
ออกเสียง ป
ผ
pha
คล้ายตัวออกอักษร ผ และ ห ตามแบบมีลม
พ
ba
ออกเสียง บ
ภ
bha
ออกเสียง บห์ (ออกเสียง บ แล้ว ห ตามหลังแบบมีลม)
ม
ma
ออกเสียง ม
พยัญชนะเศษวรรค
ย
ya
ออกเสียง ย
ร
ra
ออกเสียง ร
ล
la
ออกเสียง ล
ว
va
ออกเสียง ว แบบภาษาอังกฤษคำว่า Video
เสียงเสียดแทรก
ศ
śa
ออกเสียงแบบคำภาษาอังกฤษคำว่า Shopping
ษ
ṣa
ออกเสียงแบบคำภาษาอังกฤษคำว่า "กระดาษ tissue"
ส
sa
ออกเสียง ส
เสียงอื่นๆที่เหลือ
ห
ha
ออกเสียง ห ซึ่งมักจะออกเสียงอยู่กลางคำ
ห์
ḥ
ออกเสียง ห ซึ่งมันจะอยู่ท้ายคำและจะออกเสียงตามสระตัวหน้า เช่น
อาหา, โอโห, อิหิ
ฬ
ḷ
ออกเสียง ล
อํ
ṃ/ṁ
ออกเสียงสระ อำ
หลักการอ่านออกเสียงภาษาสันสกฤตเบื้องต้น
-
พยัญชนะที่ไม่มีสระประสมด้วย ให้ออกเสียงเหมือนมีสระอะ เช่น รถ อ่านว่า ระถะ (ไม่ใช่รด) นคร อ่านว่า นะคะระ (ไม่ใช่นะคอน)
-
พยัญชนะที่มีสระอื่นประสม อ่านเหมือนภาษาไทยปกติ เช่น สา, วาริ, นานา, มุนิ, ไร, โค, โย เป็นต้น สำหรับ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ อ่านได้ดังนี้ สระ ฤ ฤๅ ออกเสียงเหมือนมี ริ รี ควบ เช่น กฺฤ อ่านว่า กริ (ก ควบ ร), กฺฤๅ อ่านว่า กรี (ก ควบ ร), กฺฦ อ่านว่า กลิ (ก ควบ ล) เป็นต้น
-
พยัญชนะสันสกฤตทั้งหมดออกเสียงต่างกัน ไม่มีตัวไหนเหมือนกันเลย ซึ่งเราควรเรียนรู้โดยการฟังสาวกอื่นในชั้นเรียนหรือจากการบันทึกเสียงการอ่านโศลก
-
คำที่มีเครื่องหมายวงกลมเล็กๆ ข้างบน อํ (นฤคหิต) ให้ออกเสียงขึ้นจมูก หรือออกเสียงเหมือนมี ม เป็นตัวสะกด อธิบายแบบง่าย ดังนี้
-
พยัญชนะที่ไม่มีรูปสระอะไรเลยและมีนฤคหิตอยู่ท้ายคำให้ออกเสียงเหมือนมีสระอะแล้วมี ม เป็นตัวสะกด เช่น โยคํ อ่านว่า โย-คัม แต่ถ้ามีนฤคหิตอยู่กลางคำให้ออกเสียง ง เป็นตัวสะกด เช่น สํงคีต อ่านว่า สัง-คี-ตะ
-
พยัญชนะที่ประสมด้วยสระอื่นและมีนฤคหิตให้อ่านเหมือนมีสระอื่นประสมแล้วสะกดด้วย ม เช่น ตำ (ต สระ อา แล้วมีนฤคหิต) อ่านว่า ตาม อรึ อ่านว่า อะริม เธนํุ อ่านว่า เทนุม
-
บางครั้งตัวสระอิ แล้วมีนฤคหิตจะใช้พิมพ์เป็นสระอึแทน มุนึ จึงต้องอ่านว่า มุนิม ไม่ใช่อ่านว่า มุนึม
-
พยัญชนะที่มีจุดข้างใต้หมายถึงพยัญชนะที่ไม่มีเสียงสระจะพบมากในภาษาสันสกฤต แบ่งได้เป็นสามรูปแบบ
-
พยัญชนะที่มีจุดอยู่ท้ายคำ ให้อ่านเป็นตัวสะกดได้เลย เช่น สนฺ อ่านว่า สัน, ราชานฺ อ่านว่า รา-ชาน, ชลมฺ อ่านว่า ชะลัม, ตมสฺ อ่านว่า ตะ-มัส
-
พยัญชนะที่มีจุดอยู่ต้นคำ ให้อ่านแบบตัวควบกล้ำ เช่น ปฺรีย อ่านว่า ปรี-ยะ (สองพยางค์) ตฺริ (ต ควบ ร สระอิ, พยางค์เดียว) ศฺรี (ศ ควบ ร สระ อี, พยางค์เดียว) ทฺวิช อ่านว่า ทวิ ชะ (ท ควบ ว สระอิ, สองพยางค์) สฺตฺรี (ส ควบ ต ควบ ร คำนี้ ควบสามตัวเข้าด้วยกัน แล้วประสมด้วยสระ อี อ่านพยางค์เดียว) ตัวอย่างคำที่ควบสามตัวเข้าด้วยกัน เช่น เกฺษ อ่าน ก ควบ ษ ประสมสระเอ อ่านว่า กะ-เส ไม่อ่านว่า เกด (บางครั้งก็เขียนพยัญชนะควบคร่อมสระ เช่น กฺเษ แต่ให้ออกเสียงเหมือนกัน) โปฺร อ่านว่า โปร ป ควบ ร ประสมสระโอ
-
พยัญชนะมีจุดอยู่กลางคำ ให้อ่านแยกพยางค์ก่อน เช่น อินฺทฺร อ่านว่า อิน-ทระ (สองพยางค์) พฺรหฺม อ่านว่า พระ-หมะ (ห ควบ ม ไม่ใช่ ห นำ, สองพยางค์) ที่จริงแล้วยึดหลักเดียว กัน คือ ตัวไหนมีจุดแสดงว่าไม่มีเสียงสระ ให้ควบไปเรื่อยๆจนกว่าจะเจอสระ เช่น ไสนฺย ออกเสียง ไส แล้วมีเสียง น ตามมา ก่อนจะออกเสียง ยะ (คำนี้สองพยางค์ คนไทยมักออกเสียงแผลงเป็น แสน-ยา เนื่องจากออกเสียงค่อนข้างยาก) เกฺราญฺจ อ่าน ก ควบ ร ประสมสระเอา อ่านว่า เกรา แล้วมี ญ เป็นตัวสะกด ส่วน จ ออกเสียง จะ ตามปกติ คือ เกฺราญฺ-จ (ออกเสียงสองพยางค์)
-
เครื่องหมายวิสรรคะ (ะ) บางตำราใช้ ห ใส่เครื่องหมายยามักการ ให้ออกเสียงลมหายใจหนักๆ เป็นเสียงก้องของพยางค์ข้างหน้า เช่น นระ ออกเสียงว่า นะระหะ แล้วมีเสียงลมหายใจหนักๆตามมาเป็นเสียงสั้นๆ เครื่องหมายวิสรรคะตามหลังสระอะไรก็ได้ ให้ออกเสียง ห แล้วตามด้วยเสียงสระของคำนั้น เช่น นไระ ออกเสียง นะไรไห, มุนิะ ออกเสียง มุนิหิ เป็นต้น
-
เครื่องหมายอวครหะ เป็นเครื่องหมายวรรคตอน ซึ่งในภาษาไทยอาจใช้เครื่องหมายอัญประกาศเดี่ยว (’) เช่น เทหิโน’สฺมินฺ ให้อ่านตามปกติ คือ เดหิโนสมิน
ตัวอย่างการอ่านออกเสียงภาษาสันสกฤตด้วยตัวอักษรไทยจากภควัท-คีตา
บทที่ 1 โศลก 1
ธฺฤตราษฺฏฺร อุวาจ อ่านว่า ธริตะราษฺฏระ อุวาจะ
ธรฺม-กฺเษเตฺร กุรุ-กฺเษเตฺร อ่านว่า ธะเรอะมะ เกอะเฉเตร กุรุ เกอะเฉเตร
สมเวตา ยุยุตฺสวห์ อ่านว่า สะมะเวตา ยุยุตสะวะหะ
มามกาห์ ปาณฺฑวาศฺ ไจว อ่านว่า มามะกาหา ปาณฎะวาศไจวะ
กิมฺ อกุรฺวต สญฺชย อ่านว่า กิมะ กุเรอะวะตะ สัญจยะ
บทที่ 2 โศลก 13
เทหิโน ’สฺมินฺ ยถา เทเห อ่านว่า เดหิโนสมิน ยะถา เดเหะ
เกามารํ เยาวนํ ชรา อ่านว่า เกามารัม เยาวะนัม จยะรา
ตถา เทหานฺตร-ปฺราปฺติรฺ อ่านว่า ตะถา เดหานตะระ-ปราปติเรอะ
ธีรสฺ ตตฺร น มุหฺยติ อ่านว่า ธีรัส ตะตระ นะ มุหยะติ
ขอขอบพระคุณ
-
ผศ.ดร.ธวัชชัย ดุลยสุจริต
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาบาลีและสันสกฤต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
-
ผศ.ดร.เสกสรรค์ สว่างศรี
อาจารย์สาขาวิชาภารตวิทยา คณะมนุยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-
ดร.ปัทมา สว่างศรี
อาจารย์สาขาวิชาภารตวิทยา คณะมนุยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้ให้คำปรึกษาและแนะนำเรื่องการใช้ภาษาสันสกฤตด้วยตัวอักษรไทย
ภควัท-คีตา ฉบับเดิมเล่มนี้ได้มีการใช้คำภาษาสันสกฤตด้วยตัวอักษรไทยที่เป็นไปตามระบบที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลและทางวิชาการ ซึ่งองค์ประกอบและหลักการอาจจะทำให้ผู้ที่ยังไม่เคยรู้จักและได้สัมผัสกับภาษาสันสกฤตมาก่อนยังไม่ค่อยเข้าใจหลักการในการอ่านออกเสียงที่ถูกต้องได้ เราจึงขอแนะนำให้ผู้อ่านใช้คู่มือการออกเสียงภาษาสันสกฤตที่ให้ไว้ในหนังสือเล่มนี้เพื่อเรียนรู้วิธีการออกเสียงคำภาษาสันสกฤตอย่างถูกต้องและใกล้เคียงที่สุด นอกจากนี้เรายังมีการเขียนทับศัพท์โศลกเป็นภาษาโรมัน (IAST) ซึ่งอาจเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านจำนวนมากที่จะทำให้สามารถอ่านออกเสียงได้ง่ายและใกล้เคียงเสียงภาษาสันสกฤตมากยิ่งขึ้น
ภาษาสันสกฤต มีรูปอักษร 48 ตัว แบ่งเป็นพยัญชนะ 34 ตัว สระ 14 ตัว การศึกษาภาษาสันสกฤตในประเทศไทยจะนิยมใช้อักษร3 ชนิด คือ อักษรเทวนาครี และอักษรโรมัน อักษรไทย ในที่นี้จะแสดงสระและพยัญชนะด้วยตัวอักษรไทย
สระ 14 ตัวได้แก่ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ ไอ เอา
- ในระบบภาษาโรมัน IAST สระเสียงยาว อา อี อู (ā, ī, ū) จะมีขีดยาวบนตัวอักษรที่เป็นสระ
- ฤ เป็นสระพิเศษที่มักจะออกเสียงเป็น"ริ" ในระบบ IAST ṛ คือ ฤ ,และ ḷ คือ ฦ . เมื่อมีขีดยาว ฤๅ และ ฦๅ จะอ่านออกเสียงเป็น รี และ ลี
พยัญชนะ 34 ตัวแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ
พยัญชนะวรรค แบ่งเป็น 5 วรรค รวม 25 ตัว คือ
- วรรค กะ เสียงเกิดที่คอ ได้แก่ ก ข ค ฆ ง
- วรรค จะ เสียงเกิดที่เพดาน ได้แก่ จ ฉ ช ฌ ญ
- วรรค ฏะ เสียงเกิดที่ปุ่มเหงือก ได้แก่ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
- วรรค ตะ เสียงเกิดที่ฟัน ได้แก่ ต ถ ท ธ น
- วรรค ปะ เสียงเกิดที่ริมฝีปาก ได้แก่ ป ผ พ ภ ม
พยัญชนะอวรรค
- เสียงกึ่งสระ ได้แก่ ย เสียงเกิดที่เพดาน ร เสียงเกิดที่ปุ่มเหงือก ล เสียงเกิดที่ฟัน ว เสียงเกิดที่ริมฝีปาก
- เสียงเสียดแทรก ได้แก่ ศ เสียงเกิดที่เพดาน ษ เสียงเกิดที่ปุ่มเหงือก ส เสียงเกิดที่ฟัน
- เสียงหนักมีลม ได้แก่ ห
ตารางการออกเสียงโดยการเปรียบเทียบเสียงสันสกฤตกับอักษรไทย
ด้านล่างจะอธิบายเปรียบเทียบตัวอักษรไทย ตัวอักษรโรมัน และการอ่านออกเสียง
พยัญชนะวรรค กะ (ออกเสียงจากลำคอ)
ก
ka
คล้ายตัวอักษร ก
ข
kha
คล้ายตัวอักษร ข
ค
ga
คล้ายตัวอักษร G และคำว่า Gun ในภาษาอังกฤษ
ฆ
gha
ออกเสียง ค และ ห แบบมีลมออก
ง
ṅa
ออกเสียง ง ขึ้นจมูก
พยัญชนะวรรค จะ (ออกเสียงโดยใช้ลิ้นติดเพดาน)
จ
ca
คล้ายตัวอักษร จ
ฉ
cha
คล้ายตัวอักษร ฌ
ช
ja
คล้ายตัวอักษร จ และมีเสียงสั่น เหมือนคำว่า Japan ในภาษาอังกฤษ
ฌ
jha
คล้ายตัวอักษร J ในภาษาอังกฤษ และ ห ตามหลังแบบมีลมออก
ญ
ña
ออกเสียง ญ ขึ้นจมูก
พยัญชนะวรรค ตะ (ออกเสียงโดยใช้ลิ้นติดที่หน้าฟันบน ลิ้นม้วน)
ฎ
ṭa
ออกเสียง ต
ฐ
ṭha
ออกเสียง ถ และ ห ตามหลังมีลมออกมา
ฑ
ḍa
ออกเสียง ด แต่งอปลายลิ้นขึ้นเพดานเล็กน้อย
ฒ
ḍha
ออกเสียง ด แต่งอปลายลิ้นขึ้นเพดานเล็กน้อย และ ห ตามหลังแบบมีลมออกมา
ณ
ṇa
ออกเสียง น
พยัญชนะวรรค ตะ (ออกเสียงโดยใช้ลิ้นติดที่หน้าฟันบน)
ด
ta
ออกเสียง ต
ถ
tha
ออกเสียง ถ
ท
da
ออกเสียง ด
ธ
dha
ธ/ดห์ ตัว ด และ ห ตามหลังแบบมีลม
น
na
ออกเสียง น
พยัญชนะวรรค ปะ (ออกเสียงจากริมฝีปาก)
ป
pa
ออกเสียง ป
ผ
pha
คล้ายตัวออกอักษร ผ และ ห ตามแบบมีลม
พ
ba
ออกเสียง บ
ภ
bha
ออกเสียง บห์ (ออกเสียง บ แล้ว ห ตามหลังแบบมีลม)
ม
ma
ออกเสียง ม
พยัญชนะเศษวรรค
ย
ya
ออกเสียง ย
ร
ra
ออกเสียง ร
ล
la
ออกเสียง ล
ว
va
ออกเสียง ว แบบภาษาอังกฤษคำว่า Video
เสียงเสียดแทรก
ศ
śa
ออกเสียงแบบคำภาษาอังกฤษคำว่า Shopping
ษ
ṣa
ออกเสียงแบบคำภาษาอังกฤษคำว่า "กระดาษ tissue"
ส
sa
ออกเสียง ส
เสียงอื่นๆที่เหลือ
ห
ha
ออกเสียง ห ซึ่งมักจะออกเสียงอยู่กลางคำ
ห์
ḥ
ออกเสียง ห ซึ่งมันจะอยู่ท้ายคำและจะออกเสียงตามสระตัวหน้า เช่น
อาหา, โอโห, อิหิ
อาหา, โอโห, อิหิ
ฬ
ḷ
ออกเสียง ล
อํ
ṃ/ṁ
ออกเสียงสระ อำ
หลักการอ่านออกเสียงภาษาสันสกฤตเบื้องต้น
- พยัญชนะที่ไม่มีสระประสมด้วย ให้ออกเสียงเหมือนมีสระอะ เช่น รถ อ่านว่า ระถะ (ไม่ใช่รด) นคร อ่านว่า นะคะระ (ไม่ใช่นะคอน)
- พยัญชนะที่มีสระอื่นประสม อ่านเหมือนภาษาไทยปกติ เช่น สา, วาริ, นานา, มุนิ, ไร, โค, โย เป็นต้น สำหรับ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ อ่านได้ดังนี้ สระ ฤ ฤๅ ออกเสียงเหมือนมี ริ รี ควบ เช่น กฺฤ อ่านว่า กริ (ก ควบ ร), กฺฤๅ อ่านว่า กรี (ก ควบ ร), กฺฦ อ่านว่า กลิ (ก ควบ ล) เป็นต้น
- พยัญชนะสันสกฤตทั้งหมดออกเสียงต่างกัน ไม่มีตัวไหนเหมือนกันเลย ซึ่งเราควรเรียนรู้โดยการฟังสาวกอื่นในชั้นเรียนหรือจากการบันทึกเสียงการอ่านโศลก
- คำที่มีเครื่องหมายวงกลมเล็กๆ ข้างบน อํ (นฤคหิต) ให้ออกเสียงขึ้นจมูก หรือออกเสียงเหมือนมี ม เป็นตัวสะกด อธิบายแบบง่าย ดังนี้
- พยัญชนะที่ไม่มีรูปสระอะไรเลยและมีนฤคหิตอยู่ท้ายคำให้ออกเสียงเหมือนมีสระอะแล้วมี ม เป็นตัวสะกด เช่น โยคํ อ่านว่า โย-คัม แต่ถ้ามีนฤคหิตอยู่กลางคำให้ออกเสียง ง เป็นตัวสะกด เช่น สํงคีต อ่านว่า สัง-คี-ตะ
- พยัญชนะที่ประสมด้วยสระอื่นและมีนฤคหิตให้อ่านเหมือนมีสระอื่นประสมแล้วสะกดด้วย ม เช่น ตำ (ต สระ อา แล้วมีนฤคหิต) อ่านว่า ตาม อรึ อ่านว่า อะริม เธนํุ อ่านว่า เทนุม
- บางครั้งตัวสระอิ แล้วมีนฤคหิตจะใช้พิมพ์เป็นสระอึแทน มุนึ จึงต้องอ่านว่า มุนิม ไม่ใช่อ่านว่า มุนึม
- พยัญชนะที่มีจุดข้างใต้หมายถึงพยัญชนะที่ไม่มีเสียงสระจะพบมากในภาษาสันสกฤต แบ่งได้เป็นสามรูปแบบ
- พยัญชนะที่มีจุดอยู่ท้ายคำ ให้อ่านเป็นตัวสะกดได้เลย เช่น สนฺ อ่านว่า สัน, ราชานฺ อ่านว่า รา-ชาน, ชลมฺ อ่านว่า ชะลัม, ตมสฺ อ่านว่า ตะ-มัส
- พยัญชนะที่มีจุดอยู่ต้นคำ ให้อ่านแบบตัวควบกล้ำ เช่น ปฺรีย อ่านว่า ปรี-ยะ (สองพยางค์) ตฺริ (ต ควบ ร สระอิ, พยางค์เดียว) ศฺรี (ศ ควบ ร สระ อี, พยางค์เดียว) ทฺวิช อ่านว่า ทวิ ชะ (ท ควบ ว สระอิ, สองพยางค์) สฺตฺรี (ส ควบ ต ควบ ร คำนี้ ควบสามตัวเข้าด้วยกัน แล้วประสมด้วยสระ อี อ่านพยางค์เดียว) ตัวอย่างคำที่ควบสามตัวเข้าด้วยกัน เช่น เกฺษ อ่าน ก ควบ ษ ประสมสระเอ อ่านว่า กะ-เส ไม่อ่านว่า เกด (บางครั้งก็เขียนพยัญชนะควบคร่อมสระ เช่น กฺเษ แต่ให้ออกเสียงเหมือนกัน) โปฺร อ่านว่า โปร ป ควบ ร ประสมสระโอ
- พยัญชนะมีจุดอยู่กลางคำ ให้อ่านแยกพยางค์ก่อน เช่น อินฺทฺร อ่านว่า อิน-ทระ (สองพยางค์) พฺรหฺม อ่านว่า พระ-หมะ (ห ควบ ม ไม่ใช่ ห นำ, สองพยางค์) ที่จริงแล้วยึดหลักเดียว กัน คือ ตัวไหนมีจุดแสดงว่าไม่มีเสียงสระ ให้ควบไปเรื่อยๆจนกว่าจะเจอสระ เช่น ไสนฺย ออกเสียง ไส แล้วมีเสียง น ตามมา ก่อนจะออกเสียง ยะ (คำนี้สองพยางค์ คนไทยมักออกเสียงแผลงเป็น แสน-ยา เนื่องจากออกเสียงค่อนข้างยาก) เกฺราญฺจ อ่าน ก ควบ ร ประสมสระเอา อ่านว่า เกรา แล้วมี ญ เป็นตัวสะกด ส่วน จ ออกเสียง จะ ตามปกติ คือ เกฺราญฺ-จ (ออกเสียงสองพยางค์)
- เครื่องหมายวิสรรคะ (ะ) บางตำราใช้ ห ใส่เครื่องหมายยามักการ ให้ออกเสียงลมหายใจหนักๆ เป็นเสียงก้องของพยางค์ข้างหน้า เช่น นระ ออกเสียงว่า นะระหะ แล้วมีเสียงลมหายใจหนักๆตามมาเป็นเสียงสั้นๆ เครื่องหมายวิสรรคะตามหลังสระอะไรก็ได้ ให้ออกเสียง ห แล้วตามด้วยเสียงสระของคำนั้น เช่น นไระ ออกเสียง นะไรไห, มุนิะ ออกเสียง มุนิหิ เป็นต้น
- เครื่องหมายอวครหะ เป็นเครื่องหมายวรรคตอน ซึ่งในภาษาไทยอาจใช้เครื่องหมายอัญประกาศเดี่ยว (’) เช่น เทหิโน’สฺมินฺ ให้อ่านตามปกติ คือ เดหิโนสมิน
ตัวอย่างการอ่านออกเสียงภาษาสันสกฤตด้วยตัวอักษรไทยจากภควัท-คีตา
บทที่ 1 โศลก 1
ธฺฤตราษฺฏฺร อุวาจ อ่านว่า ธริตะราษฺฏระ อุวาจะ
ธรฺม-กฺเษเตฺร กุรุ-กฺเษเตฺร อ่านว่า ธะเรอะมะ เกอะเฉเตร กุรุ เกอะเฉเตร
สมเวตา ยุยุตฺสวห์ อ่านว่า สะมะเวตา ยุยุตสะวะหะ
มามกาห์ ปาณฺฑวาศฺ ไจว อ่านว่า มามะกาหา ปาณฎะวาศไจวะ
กิมฺ อกุรฺวต สญฺชย อ่านว่า กิมะ กุเรอะวะตะ สัญจยะ
ธรฺม-กฺเษเตฺร กุรุ-กฺเษเตฺร อ่านว่า ธะเรอะมะ เกอะเฉเตร กุรุ เกอะเฉเตร
สมเวตา ยุยุตฺสวห์ อ่านว่า สะมะเวตา ยุยุตสะวะหะ
มามกาห์ ปาณฺฑวาศฺ ไจว อ่านว่า มามะกาหา ปาณฎะวาศไจวะ
กิมฺ อกุรฺวต สญฺชย อ่านว่า กิมะ กุเรอะวะตะ สัญจยะ
บทที่ 2 โศลก 13
เทหิโน ’สฺมินฺ ยถา เทเห อ่านว่า เดหิโนสมิน ยะถา เดเหะ
เกามารํ เยาวนํ ชรา อ่านว่า เกามารัม เยาวะนัม จยะรา
ตถา เทหานฺตร-ปฺราปฺติรฺ อ่านว่า ตะถา เดหานตะระ-ปราปติเรอะ
ธีรสฺ ตตฺร น มุหฺยติ อ่านว่า ธีรัส ตะตระ นะ มุหยะติ
เกามารํ เยาวนํ ชรา อ่านว่า เกามารัม เยาวะนัม จยะรา
ตถา เทหานฺตร-ปฺราปฺติรฺ อ่านว่า ตะถา เดหานตะระ-ปราปติเรอะ
ธีรสฺ ตตฺร น มุหฺยติ อ่านว่า ธีรัส ตะตระ นะ มุหยะติ
ขอขอบพระคุณ
-
ผศ.ดร.ธวัชชัย ดุลยสุจริต
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาบาลีและสันสกฤต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร -
ผศ.ดร.เสกสรรค์ สว่างศรี
อาจารย์สาขาวิชาภารตวิทยา คณะมนุยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ -
ดร.ปัทมา สว่างศรี
อาจารย์สาขาวิชาภารตวิทยา คณะมนุยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้ให้คำปรึกษาและแนะนำเรื่องการใช้ภาษาสันสกฤตด้วยตัวอักษรไทย