ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบ

ความมั่งคั่งแห่งสัจธรรม

SIMPLE

โศลก 1

śrī-bhagavān uvāca
bhūya eva mahā-bāho
śṛṇu me paramaṁ vacaḥ
yat te ’haṁ prīyamāṇāya
vakṣyāmi hita-kāmyayā
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
ภูย เอว มหา-พาโห
ศฺฤณุ เม ปรมํ วจห์
ยตฺ เต ’หํ ปฺรียมาณาย
วกฺษฺยามิ หิต-กามฺยยา
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — องค์ภควานฺตรัส, ภูยห์ — อีกครั้งหนึ่ง, เอว — แน่นอน, มหา-พาโห — โอ้ ยอดนักรบ, ศฺฤณุ — จงฟัง, เม — ของข้า, ปรมมฺ — สูงสุด, วจห์ — คำสั่งสอน, ยตฺ — ซึ่ง, เต — แด่เธอ, อหมฺ — ข้า, ปฺรียมาณาย — คิดว่าเธอเป็นที่รักของข้า, วกฺษฺยามิ — ตรัส, หิต-กามฺยยา — เพื่อประโยชน์แด่เธอ

คำแปล

องค์ภควานฺตรัสว่า จงฟังอีกครั้งหนึ่ง โอ้ อรฺชุน ยอดนักรบ เพราะว่าเธอเป็นเพื่อนรักของข้า ข้าจะพูดให้ความรู้ในสิ่งที่ดีกว่าที่เคยอธิบายไปแล้วเพื่อเป็นประโยชน์แด่เธอ

คำอธิบาย

ปราศร มุนิ ได้อธิบายคำว่า ภควานฺ คือผู้ที่เปี่ยมไปด้วยความมั่นคั่งหกประการ ได้แก่ พลังอำนาจ ชื่อเสียง ความร่ำรวย ความรู้ ความสง่างาม และความเสียสละ องค์ภควานฺ กฺฤษฺณหรือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงแสดงความมั่งคั่งหกประการนี้ขณะที่ทรงประทับอยู่บนโลกนี้ ดังนั้นบรรดานักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลายเช่น ปราศร มุนิ ยอมรับว่าองค์กฺฤษฺณ คือองค์ภควานฺ บัดนี้องค์กฺฤษฺณทรงสั่งสอน อรฺชุน ด้วยความรู้ที่เป็นความลับยิ่งขึ้นไปอีกเกี่ยวกับความมั่งคั่งและพระภารกิจของพระองค์ก่อนหน้านี้ทรงเริ่มต้นจากบทที่เจ็ดซึ่งองค์ภควานฺทรงอธิบายถึงพลังงานต่างๆของพระองค์ว่าทำงานกันอย่างไร ในบทนี้ทรงอธิบายถึงความมั่งคั่งของพระองค์โดยเฉพาะแด่ อรฺชุน บทที่แล้วทรงอธิบายถึงพลังงานต่างๆอย่างชัดเจน เพื่อสถาปนาการอุทิศตนเสียสละด้วยความมั่นคงทรงตรัสต่อ อรฺชุน เกี่ยวกับปรากฎการณ์และความมั่งคั่งต่างๆในบทนี้อีกครั้งหนึ่ง

เมื่อได้สดับฟังเกี่ยวกับองค์ภควานฺมากขึ้นเราจะตั้งมั่นอยู่กับการอุทิศตนเสียสละรับใช้มากยิ่งขึ้น เราควรสดับฟังเกี่ยวกับพระองค์ร่วมกับเหล่าสาวกของพระองค์เสมอเพราะจะช่วยส่งเสริมการอุทิศตนเสียสละรับใช้ การสนทนาในสังคมสาวกเป็นไปได้โดยเฉพาะพวกที่มีความกระตือรือร้นอย่างแท้จริงที่จะอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึก บุคคลอื่นไม่สามารถมีส่วนร่วมในการสนทนาเช่นนี้ องค์ภควานฺตรัสต่อ อรฺชุน อย่างชัดเจนว่าเนื่องจากว่า อรฺชุน เป็นที่รักยิ่งของพระองค์และเพื่อประโยชน์ของ อรฺชุน จึงได้มีการสนทนาเช่นนี้เกิดขึ้น

โศลก 2

na me viduḥ sura-gaṇāḥ
prabhavaṁ na maharṣayaḥ
aham ādir hi devānāṁ
maharṣīṇāṁ ca sarvaśaḥ
น เม วิทุห์ สุร-คณาห์
ปฺรภวํ น มหรฺษยห์
อหมฺ อาทิรฺ หิ เทวานามฺ
มหรฺษีณำ จ สรฺวศห์
— ไม่เคย, เม — ของข้า, วิทุห์ — ทราบ, สุร-คณาห์ — เหล่าเทวดา, ปฺรภวมฺ — แหล่งเดิม, ความมั่งคั่ง, — ไม่เคย, มหา-ฤษยห์ — นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่, อหมฺ — ข้าเป็น, อาทิห์ — แหล่งกำเนิด, หิ — แน่นอน, เทวานามฺ — ของเหล่าเทวดา, มหา-ฤษีณามฺ — ของนักบวชผู้ยิ่งใหญ่, — เช่นกัน, สรฺวศห์ — ในทุกๆด้าน

คำแปล

ทั้งเทวดาและนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่จำนวนมากไม่รู้แหล่งกำเนิดหรือความมั่งคั่งของข้า แต่ข้าคือแหล่งกำเนิดของเหล่าเทวดาและนักปราชญ์ด้วยประการทั้งปวง

คำอธิบาย

ดังที่ได้กล่าวไว้ใน พฺรหฺม-สํหิตา ว่าศฺรี กฺฤษฺณคือองค์ภควานฺ ไม่มีผู้ใดยิ่งใหญ่ไปกว่าพระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง ที่นี้พระองค์ตรัสไว้เช่นกันว่า ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของเหล่าเทวดาและนักปราชญ์ทั้งหลาย แม้เทวดาและนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ไม่สามารถเข้าใจองค์กฺฤษฺณได้ เมื่อพวกนี้ไม่สามารถเข้าใจพระนามหรือบุคลิกภาพขององค์กฺฤษฺณแล้วผู้ที่สมมติว่าเป็นนักวิชาการแห่งโลกใบเล็กๆนี้จะมีสถานภาพเช่นไร ไม่มีผู้ใดสามารถเข้าใจว่าทำไมองค์ภควานฺจึงทรงเสด็จมายังโลกเหมือนกับปุถุชนคนธรรมดาและปฏิบัติกิจกรรมที่ไม่ธรรมดาอันน่าอัศจรรย์เช่นนี้ จากนั้นเราควรรู้ว่าความรู้ทางวิชาการไม่ใช่คุณสมบัติที่จำเป็นในการเข้าใจองค์กฺฤษฺณ แม้แต่เทวดาและนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ได้พยายามเข้าใจองค์กฺฤษฺณด้วยการคาดคะเนทางจิตใจแต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนเช่นกันว่าแม้เหล่าเทวดาผู้ยิ่งใหญ่ไม่สามารถเข้าใจบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า พวกเขาสามารถคาดคะเนจนถึงขีดจำกัดของประสาทสัมผัสอันไม่สมบูรณ์ จนมาถึงจุดสรุปที่ตรงกันข้ามคือลัทธิไร้รูปลักษณ์เกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ปรากฏจากคุณลักษณะทั้งสามของธรรมชาติวัตถุ หรืออาจจินตนาการบางสิ่งบางอย่างด้วยการคาดคะเนทางจิตใจแต่เป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าใจองค์กฺฤษฺณ ด้วยการคาดคะเนที่โง่เขลาเช่นนี้

ตรงนี้องค์ภควานฺตรัสโดยอ้อมว่าหากผู้ใดปรารถนาจะรู้สัจธรรมที่สมบูรณ์ “บัดนี้ข้าปรากฏในฐานะบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ข้าคือองค์ภควานฺ” เราควรรู้เช่นนี้ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถเข้าใจองค์ภควานฺผู้ที่ไม่สามารถมองเห็นได้และยังทรงประทับอยู่ด้วย และพระองค์ก็ยังทรงปรากฎได้อีก เราสามารถเข้าใจองค์กฺฤษฺณได้อย่างแท้จริงว่าเป็นอมตะ เปี่ยมไปด้วยความปลื้มปิติสุข และความรู้ จากการศึกษาคำดำรัสของพระองค์ใน ภควัท-คีตา และ ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ ทัศนคติเกี่ยวกับองค์ภควานฺที่เหมือนกับพลังอำนาจที่สามารถควบคุมบางอย่าง หรือว่าเป็น พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ บุคคลผู้อยู่ภายใต้พลังอำนาจเบื้องต่ำสามารถบรรลุถึง แต่ผู้ที่อยู่ในสถานภาพทิพย์เท่านั้นจึงสามารถสำเหนียกถึงบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าได้

เพราะว่าคนส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าใจองค์กฺฤษฺณในสถานภาพอันแท้จริง ด้วยพระเมตตาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ขององค์ภควานฺทรงเสด็จลงมาเพื่ออนุเคราะห์ต่อนักคาดคะเนเหล่านี้ ถึงกระนั้นแม้จะมีกิจกรรมอันไม่ธรรมดาขององค์ภควานฺเนื่องจากมลทินแห่งพลังงานวัตถุนักคาดคะเนเหล่านี้ยังคิดว่า พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์คือองค์ภควานฺ เหล่าสาวกผู้ศิโรราบต่อองค์ภควานฺโดยดุษฎีเท่านั้นจึงสามารถเข้าใจได้ด้วยพระกรุณาธิคุณของบุคลิกภาพสูงสุดว่าพระองค์คือองค์กฺฤษฺณ เหล่าสาวกขององค์ภควานฺไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับแนวคิด พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ ความศรัทธาและการอุทิศตนเสียสละจะนำพวกท่านให้มาศิโรราบต่อพระองค์โดยทันที และด้วยพระเมตตาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ขององค์กฺฤษฺณทำให้สามารถเข้าใจองค์กฺฤษฺณ นอกนั้นไม่มีผู้ใดเข้าใจพระองค์ได้ ดังนั้นแม้นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่เห็นด้วยว่า อาตฺมา คืออะไร องค์ภควานฺคืออะไร และพระองค์คือผู้ที่เราต้องบูชา

โศลก 3

yo mām ajam anādiṁ ca
vetti loka-maheśvaram
asammūḍhaḥ sa martyeṣu
sarva-pāpaiḥ pramucyate
โย มามฺ อชมฺ อนาทึ จ
เวตฺติ โลก-มเหศฺวรมฺ
อสมฺมูฒห์ ส มรฺเตฺยษุ
สรฺว-ปาไปห์ ปฺรมุจฺยเต
ยห์ — ผู้ใดซึ่ง, มามฺ — ข้า, อชมฺ — ไม่มีการเกิด, อนาทิมฺ — ไม่มีจุดเริ่มต้น, — เช่นกัน, เวตฺติ — รู้, โลก — โลก, มหา-อีศฺวรมฺ — เจ้านายสูงสุด, อสมฺมูฒห์ — ไม่หลงผิด, สห์ — เขา, มรฺเตฺยษุ — ในหมู่พวกที่ต้องตาย, สรฺว-ปาไปห์ — จากผลบาปทั้งปวง, ปฺรมุจฺยเต — ถูกจัดส่ง

คำแปล

ผู้ที่รู้ว่าข้าคือผู้ไม่มีการเกิด ไม่มีจุดเริ่มต้น รู้ว่าข้าคือองค์ภควานที่สูงสุดของโลกทั้งหลาย ผู้นั้นเท่านั้นที่ไม่หลงผิดในหมู่มนุษย์ และเป็นอิสระจากความบาปทั้งปวง

คำอธิบาย

ดังที่ได้กล่าวไว้ในบทที่เจ็ด (7.3) ว่า มนุษฺยาณำ สหเสฺรษุ กศฺจิทฺ ยตติ สิทฺธเย พวกที่พยายามพัฒนาตนเองมาสู่ระดับแห่งความรู้แจ้งทิพย์ไม่ใช่มนุษย์ธรรมดา พวกนี้เหนือกว่ามนุษย์ธรรมดาหลายล้านคนที่ไม่มีความรู้แห่งความรู้แจ้งทิพย์ แต่จากพวกที่พยายามที่จะเข้าใจสถานภาพทิพย์ของตนอย่างแท้จริง ผู้มาถึงจุดที่เข้าใจว่าองค์กฺฤษฺณ คือองค์ภควานฺ เจ้าของสรรพสิ่ง และทรงไม่มีการเกิดจะเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในความรู้แจ้งทิพย์ ในระดับนี้เท่านั้นที่จะเข้าใจสถานภาพอันสูงสุดขององค์กฺฤษฺณอย่างเต็มเปี่ยม และเป็นอิสระจากผลบาปทั้งปวงโดยสมบูรณ์

ตรงนี้มีการธิบายองค์ภควานฺด้วยคำว่า อช หมายถึง “ไม่มีการเกิด” แต่พระองค์ทรงแตกต่างไปจากสิ่งมีชีวิตที่อธิบายไว้ในบทที่สองว่าเป็น อช พระองค์ทรงแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตที่เกิดและตายอันเนื่องมาจากความยึดติดทางวัตถุ พันธวิญญาณเปลี่ยนร่างของตนเองแต่พระวรกายขององค์ภควานฺไม่มีการเปลี่ยนแปลง แม้เมื่อครั้งที่เสด็จลงมายังโลกวัตถุนี้ซึ่งจะมาในรูปลักษณ์ที่ไม่มีการเกิดเหมือนเดิม ดังนั้นในบทที่สี่ได้กล่าวไว้ว่า ด้วยพลังอำนาจเบื้องสูงของพระองค์ที่ทรงมิได้อยู่ภายใต้พลังงานวัตถุเบื้องต่ำแต่อยู่ในพลังงานเบื้องสูงเสมอ

ในโศลกนี้คำว่า เวตฺติ โลก-มเหศฺวรมฺ แสดงว่าเราควรรู้ว่าองค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงเป็นเจ้าของสูงสุดแห่งระบบดาวเคราะห์ต่างๆในจักรวาล พระองค์ทรงอยู่ก่อนการสร้างและพระองค์ทรงแตกต่างจากการสร้าง เหล่าเทวดาทั้งหลายถูกสร้างขึ้นมาภายในโลกวัตถุนี้ แต่สำหรับองค์กฺฤษฺณกล่าวไว้ว่าพระองค์ทรงมิได้ถูกสร้างขึ้นมา ดังนั้นองค์กฺฤษฺณทรงแตกต่างจากแม้แต่เทวดาผู้ยิ่งใหญ่ เช่น พระพรหม และพระศิวะ เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้สร้าง พระพรหม พระศิวะ และเทวดาอื่นๆทั้งหลาย พระองค์จึงทรงเป็นบุคคลสูงสุดของดาวเคราะห์ทั้งหมด

ดังนั้นองค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงแตกต่างจากทุกสิ่งทุกอย่างที่ถูกสร้างขึ้นมา ผู้ใดที่รู้เช่นนี้เป็นผู้ที่หลุดพ้นจากผลบาปทั้งปวงทันที เราต้องเป็นอิสระจากกิจกรรมบาปทั้งหมดเพื่อมาอยู่ในความรู้แห่งองค์ภควานฺ ด้วยการอุทิศตนเสียสละเท่านั้นที่จะรู้ถึงพระองค์ได้ ไม่ใช่ด้วยวิธีอื่นใดทั้งสิ้น ดังที่ได้กล่าวไว้ใน ภควัท-คีตา

เราไม่ควรพยายามเข้าใจองค์กฺฤษฺณว่าเป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดา ดังที่กล่าวไว้แล้วว่าคนโง่เขลาเท่านั้นที่คิดว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นบุคคลธรรมดา ได้เน้นไว้ ที่นี้อีกครั้งหนึ่งด้วยวิธีที่ต่างกัน คนมีปัญญาพอที่จะเข้าใจสถานภาพพื้นฐานเดิมขององค์ภควานฺจะเป็นผู้ที่มีอิสระจากผลบาปทั้งปวงเสมอ

หากเป็นที่รู้กันว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นบุตรของพระนาง เทวกี แล้วพระองค์จะทรงเป็นผู้ที่ไม่มีการเกิดได้อย่างไร ได้อธิบายไว้ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ เช่นกัน เมื่อพระองค์ทรงปรากฏต่อหน้าพระนาง เทวกี และ วสุเทว พระองค์ทรงมิได้เกิดเหมือนเด็กน้อยธรรมดา องค์กฺฤษฺณทรงปรากฏในรูปลักษณ์เดิมแท้ของพระองค์จากนั้นทรงเปลี่ยนพระวรกายมาเป็นเด็กน้อยธรรมดา

ทุกสิ่งทุกอย่างที่กระทำไปภายใต้คำสั่งขององค์กฺฤษฺณเป็นทิพย์ไม่มีมลทินจากผลทางวัตถุ ซึ่งอาจจะเป็นมงคลหรือไม่เป็นมงคล แนวคิดที่ว่ามีสิ่งที่เป็นมงคลและไม่เป็นมงคลในโลกวัตถุเป็นการอุปโลกน์ทางจิต ทุกสิ่งทุกอย่างไม่เป็นมงคลเพราะว่าตัวธรรมชาติวัตถุเองไม่เป็นมงคลเราเพียงแต่จินตนาการว่าเป็นมงคล ความเป็นสิริมงคลที่แท้จริงขึ้นอยู่กับกิจกรรมในกฺฤษฺณจิตสำนึกด้วยการอุทิศตนเสียสละและรับใช้อย่างเต็มเปี่ยม ดังนั้นหากเราปรารถนาให้กิจกรรมของพวกเราเป็นมงคลเราควรทำงานภายใต้คำชี้นำขององค์ภควานฺ คำชี้นำเหล่านี้ได้ให้ไว้ในพระคัมภีร์ที่เชื่อถือได้ เช่น ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ และ ภควัท-คีตา หรือจากพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้ เพราะว่าพระอาจารย์ทิพย์เป็นผู้แทนขององค์ภควานฺ คำชี้นำของท่านเป็นการชี้นำโดยตรงจากองค์ภควานฺ พระอาจารย์ทิพย์ นักบุญ และพระคัมภีร์ชี้นำไปในทางเดียวกันจะไม่มีข้อขัดแย้งในสามแหล่งนี้ การกระทำทั้งหมดภายใต้การชี้นำเช่นนี้เป็นอิสระจากผลบุญหรือผลบาปของโลกวัตถุนี้ ท่าทีทิพย์ของสาวกในการปฏิบัติกิจกรรมอันที่จริงเป็นการเสียสละจึงเรียกว่า สนฺนฺยาส ดังที่ได้กล่าวไว้ในโศลกหนึ่งบทที่หกของ ภควัท-คีตา ผู้ปฏิบัติไปตามหน้าที่เพราะได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติจากองค์ภควานฺ และเป็นผู้ที่ไม่ได้หาที่พึ่งในผลแห่งกิจกรรมของตนเอง (อนาศฺริตห์ กรฺม-ผลมฺ) เป็นผู้เสียสละที่แท้จริง ผู้ใดปฏิบัติภายใต้การชี้นำขององค์ภควานฺเป็น สนฺนฺยาสี และเป็นโยคีที่แท้จริง ไม่ใช่บุคคลผู้แต่งชุด สนฺนฺยาสี หรือโยคีจอมปลอม

โศลก 4-5

buddhir jñānam asammohaḥ
kṣamā satyaṁ damaḥ śamaḥ
sukhaṁ duḥkhaṁ bhavo ’bhāvo
bhayaṁ cābhayam eva ca
พุทฺธิรฺ ชฺญานมฺ อสมฺโมหห์
กฺษมา สตฺยํ ทมห์ ศมห์
สุขํ ทุห์ขํ ภโว ’ภาโว
ภยํ จาภยมฺ เอว จ
ahiṁsā samatā tuṣṭis
tapo dānaṁ yaśo ’yaśaḥ
bhavanti bhāvā bhūtānāṁ
matta eva pṛthag-vidhāḥ
อหึสา สมตา ตุษฺฏิสฺ
ตโป ทานํ ยโศ ’ยศห์
ภวนฺติ ภาวา ภูตานำ
มตฺต เอว ปฺฤถคฺ-วิธาห์
พุทฺธิห์ — ปัญญา, ชฺญานมฺ — ความรู้, อสมฺโมหห์ — ปราศจากความสงสัย, กฺษมา — การให้อภัย, สตฺยมฺ — สัจจะ, ทมห์ — ควบคุมประสาทสัมผัส, ศมห์ — ควบคุมจิตใจ, สุขมฺ — ความสุข, ทุห์ขมฺ — ความทุกข์, ภวห์ — การเกิด, อภาวห์ — การตาย, ภยมฺ — ความกลัว, — เช่นกัน, อภยมฺ — ความไม่กลัว, เอว — เช่นกัน, — และ, อหึสา — ไม่เบียดเบียน, สมตา — ความมีใจมั่นคง, ตุษฺฏิห์ — ความพึงพอใจ, ตปห์ — การบำเพ็ญเพียร, ทานมฺ — การให้ทาน, ยศห์ — มีชื่อเสียง, อยศห์ — เสียชื่อเสียง, ภวนฺติ — ปรากฏมา, ภาวาห์ — ธรรมชาติ, ภูตานามฺ — สิ่งมีชีวิตต่างๆ, มตฺตห์ — จากข้า, เอว — แน่นอน, ปฺฤถกฺ-วิธาห์ — จัดการอย่างหลากหลาย

คำแปล

ปัญญา ความรู้ ความเป็นอิสระจากความสงสัยและความหลงผิด การให้อภัย สัจจะ การควบคุมประสาทสัมผัส การควบคุมจิตใจ ความสุขและความทุกข์ การเกิด การตาย ความกลัว ความไม่กลัว การไม่เบียดเบียน ความมีใจมั่นคง ความพึงพอใจ ความสมถะ การให้ทาน ความมีชื่อเสียงและเสียชื่อเสียง คุณสมบัติอันหลากหลายเหล่านี้ทั้งหมดของสิ่งมีชีวิต ข้าเป็นผู้สร้างเพียงผู้เดียว

คำอธิบาย

คุณสมบัติต่างๆของสิ่งมีชีวิตไม่ว่าดีหรือเลวนั้นองค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้สร้างทั้งหมด และได้อธิบายไว้ ที่นี้

ปัญญา หมายถึงพลังในการวิเคราะห์สิ่งต่างๆด้วยระดับสายตาที่ถูกต้องเหมาะสม และความรู้หมายถึงการเข้าใจว่าอะไรคือวิญญาณ และอะไรคือวัตถุ ความรู้ทั่วไปที่ได้รับจากการศึกษาในมหาวิทยาลัยเกี่ยวเนื่องกับวัตถุเท่านั้นตรงนี้จะไม่ยอมรับว่าเป็นความรู้ ความรู้ หมายถึงรู้ข้อแตกต่างระหว่างวิญญาณและวัตถุ การศึกษาในสมัยปัจจุบันไม่มีความรู้เกี่ยวกับดวงวิญญาณเพียงแต่ดูแลธาตุวัตถุต่างๆและดูแลความจำเป็นของร่างกายเท่านั้น ดังนั้นความรู้ทางวิชาการจึงไม่สมบูรณ์

อสมฺโมห ความเป็นอิสระความสงสัยและความหลงผิดบรรลุได้เมื่อเราไม่ลังเลและเข้าใจปรัชญาทิพย์ ดำเนินไปอย่างช้าๆแต่แน่นอนว่าจะเป็นอิสระจากความวิตกกังวล เราไม่ควรยอมรับสิ่งใดโดยไม่มีการพินิจพิจารณา ทุกสิ่งทุกอย่างควรรับไว้ด้วยความเอาใจใส่และระมัดระวัง กฺษมา ความอดทนและการให้อภัยควรถือปฏิบัติ เราควรอดทนและให้อภัยกับความผิดเล็กน้อยของผู้อื่น สตฺยมฺ หรือสัจจะ หมายความว่าความจริงควรเสนอไปตามความจริงเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ความจริงไม่ควรเสนอไปอย่างผิดๆตามธรรมเนียมของสังคม ได้มีการกล่าวไว้ว่าเราควรพูดความจริงเมื่อเป็นที่พอใจของผู้อื่นเท่านั้น แต่นั่นไม่ใช่สัจจะ ความจริงนั้นควรพูดอย่างตรงไปตรงมาเพื่อผู้อื่นจะได้เข้าใจอย่างถูกต้องว่าความจริงนั้นคืออะไร หากบุคคลนี้เป็นขโมยและผู้คนได้รับการเตือนว่าเขาเป็นขโมยนั่นคือสัจจะ ถึงแม้ว่าบางครั้งสัจจะไม่เป็นที่พอใจเราก็ไม่ควรหลีกเลี่ยงที่จะพูด สัจจะหมายความว่าความจริงต้องควรได้เสนอออกไปเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น นั่นคือคำนิยามของคำว่า สัจจะ

การควบคุมประสาทสัมผัสหมายความว่า ประสาทสัมผัสไม่ควรใช้ไปเพื่อความสุขส่วนตัวโดยไม่จำเป็น ไม่มีข้อห้ามเกี่ยวกับความจำเป็นที่เหมาะสมของประสาทสัมผัส แต่ความสุขทางประสาทสัมผัสที่ไม่จำเป็นอุปสรรคในความเจริญก้าวหน้าในวิถีทิพย์ ฉะนั้นประสาทสัมผัสจึงควรถูกห้ามปรามจากการใช้โดยไม่จำเป็น ในทำนองเดียวกันเราควรควบคุมจิตใจจากการคิดที่ไม่จำเป็นเช่นนี้เรียกว่า ศม เราไม่ควรใช้เวลาของเราเที่ยวไปหาเงินเพราะนั่นเป็นการใช้พลังแห่งความคิดที่ผิด จิตใจควรใช้ไปเพื่อเข้าใจความจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์ และควรจะแสดงออกอย่างน่าเชื่อถือได้ พลังแห่งความคิดควรพัฒนาร่วมกับบุคคลผู้เชื่อถือได้ในพระคัมภีร์ เช่น นักบุญ พระอาจารย์ทิพย์ และพวกที่ความคิดพัฒนาสูงมากแล้ว สุขมฺ ความยินดีหรือความสุข ควรเป็นประโยชน์เพื่อพัฒนาความรู้ทิพย์แห่งกฺฤษฺณจิตสำนึก ในทำนองเดียวกันสิ่งที่เจ็บปวดหรือก่อให้เกิดความทุกข์ก็คือไม่เป็นประโยชน์ในการพัฒนากฺฤษฺณจิตสำนึก สิ่งใดที่เป็นประโยชน์เพื่อพัฒนากฺฤษฺณจิตสำนึกควรรับไว้ และสิ่งใดที่ไม่เป็นประโยชน์ควรปฏิเสธ

ภว การเกิด ควรเข้าใจว่าเกี่ยวเนื่องกับร่างกายเพราะสำหรับดวงวิญญาณไม่มีทั้งการเกิดและการตาย ซึ่งกล่าวไว้แล้วในตอนต้นของ ภควัท-คีตา การเกิดและการตายสัมพันธ์กับร่างกายของเราในโลกวัตถุ ความกลัวเกิดเนื่องมาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับอนาคต บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่มีความกลัวเพราะจากกิจกรรมของเขามั่นใจได้ว่าจะกลับคืนสู่ท้องฟ้าทิพย์คืนสู่เหย้าสู่องค์ภควานฺอย่างแน่นอน ฉะนั้นอนาคตจึงสว่างไสวมาก อย่างไรก็ดีบุคคลอื่นไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นเช่นไรและไม่รู้ว่าชาติหน้าจะเป็นอะไรดังนั้นจึงอยู่ในความวิตกกังวลตลอดเวลา หากเราต้องการเป็นอิสระจากความวิตกกังวลวิธีที่ดีที่สุดคือ เข้าใจองค์กฺฤษฺณและสถิตในกฺฤษฺณจิตสำนึกเสมอ เช่นนี้จะทำให้เราเป็นอิสระจากความกลัวทั้งหมด ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (11.2.37) กล่าวไว้ว่า ภยํ ทฺวิตียาภินิเวศตห์ สฺยาตฺ ความกลัวเกิดจากการที่เราซึมซาบอยู่ในพลังงานแห่งความหลง แต่พวกที่เป็นอิสระจากพลังงานแห่งความหลงมั่นใจว่าตนเองไม่ใช่ร่างกายวัตถุแต่เป็นละอองอณูขององค์ภควานฺ และปฏิบัติในการรับใช้ทิพย์ต่อพระองค์จึงไม่มีอะไรน่ากลัว อนาคตของพวกเขาสว่างไสวมาก ความกลัวนี้เป็นสภาวะของบุคคลผู้ไม่มีกฺฤษฺณจิตสำนึก อภยมฺ หรือความไม่กลัว เป็นไปได้สำหรับบุคคลที่อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเท่านั้น

อหึสา การไม่เบียดเบียน หมายความว่าเราไม่ควรทำสิ่งใดที่จะทำให้ผู้อื่นได้รับความทุกข์หรือสับสน กิจกรรมทางวัตถุที่บรรดานักการเมือง นักสังคมสงเคราะห์ คนใจบุญมากมายให้สัญญานั้นไม่ได้ทำให้เกิดผลดีมากเพราะว่าพวกนักการเมืองและคนใจบุญเหล่านี้ไม่มีวิสัยทัศน์ที่เป็นทิพย์ และไม่รู้ว่าอะไรคือประโยชน์ที่แท้จริงของสังคมมนุษย์ อหึสา หมายความว่า ผู้คนควรได้รับการฝึกฝนให้ใช้ร่างกายมนุษย์เพื่อให้ได้รับประโยชน์สมบูรณ์สูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ร่างกายมนุษย์มีไว้เพื่อความรู้แจ้งทิพย์ ดังนั้นขบวนการใดๆหรือคณะกรรมาธิการใดๆที่ไม่นำไปสู่จุดมุ่งหมายนี้กระทำการเบียดเบียนต่อร่างกายมนุษย์ บุคคลที่ส่งเสริมความสุขทิพย์ในอนาคตของผู้คนโดยทั่วไปเรียกว่าผู้ไม่เบียดเบียน

สมตา แปลว่าความมีใจมั่นคง หมายถึงปราศจากความยึดติดและความเกลียดชัง การยึดติดมากหรือการรังเกียจมากไม่ใช่เป็นสิ่งที่ดีที่สุด โลกวัตถุนี้ควรยอมรับโดยปราศจากการยึดติดหรือความรังเกียจ อะไรที่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินงานในกฺฤษฺณจิตสำนึกควรยอมรับไว้ และอะไรที่ไม่เอื้ออำนวยควรปฏิเสธ เช่นนี้เรียกว่า สมตา หรือความมีใจมั่นคง บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่มีอะไรที่จะปฏิเสธ และไม่มีอะไรที่ต้องยอมรับนอกจากว่าสิ่งนั้นมีประโยชน์ใช้สอยในการดำเนินงานในกฺฤษฺณจิตสำนึก

ตุษฺฏิ ความพึงพอใจ หมายความว่า เราไม่ควรกระตือรือร้นในการสะสมสิ่งของวัตถุมากยิ่งขึ้นด้วยกิจกรรมที่ไม่จำเป็น เราควรพึงพอใจกับสิ่งต่างๆที่ได้รับมาด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์ภควานฺ เช่นนี้เรียกว่าความพึงพอใจ ตป หมายถึงความสมถะหรือการบำเพ็ญเพียร มีกฎเกณฑ์มากมายในคัมภีร์พระเวทที่นำมาปฏิบัติได้ ที่นี้ เช่น การตื่นนอนแต่เช้า และการอาบน้ำ บางครั้งยากลำบากมากที่ต้องตื่นนอนแต่เช้าตรู่แต่ความยากลำบากใดๆที่เราอาสาปฏิบัติและอาจได้รับความทุกข์เช่นนี้เรียกว่าการบำเพ็ญเพียร ในทำนองเดียวกันมีข้อกำหนดให้อดอาหารในวันสำคัญของเดือน เราอาจไม่มีแนวโน้มที่จะปฏิบัติการอดอาหารเช่นนี้ แต่เนื่องจากความมุ่งมั่นที่จะเจริญก้าวหน้าในศาสตร์แห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกเราควรยอมรับความลำบากทางร่างกายเช่นนี้เมื่อได้รับคำแนะนำ อย่างไรก็ดีเราไม่ควรอดอาหารโดยไม่จำเป็นหรือขัดต่อคำสั่งสอนของพระเวท และไม่ควรอดอาหารเพื่อจุดมุ่งหมายทางการเมืองเพราะอยู่ในระดับอวิชชา ตามคำอธิบาย ภควัท-คีตา สิ่งใดที่ทำไปในระดับอวิชชาหรือตัณหาจะไม่ทำให้เจริญก้าวหน้าในวิถีทิพย์ สิ่งใดที่ทำไปในระดับแห่งความดีทำให้เราเจริญขึ้น อย่างไรก็ดีการอดอาหารตามคำสั่งสอนของคัมภีร์พระเวทจะประเทืองความรู้ทิพย์

เกี่ยวกับการให้ทานนั้นเราควรให้ห้าสิบเปอร์เซ็นต์ของรายได้เพื่อจุดมุ่งหมายที่ดีแล้ว อะไรคือจุดมุ่งหมายที่ดี นั่นคือการปฏิบัติที่สัมพันธ์กับกฺฤษฺณจิตสำนึก เช่นนี้ไม่เป็นเพียงจุดมุ่งหมายที่ดีเท่านั้นแต่ยังเป็นจุดมุ่งหมายที่ดีที่สุด เพราะว่าองค์กฺฤษฺณทรงดีจุดมุ่งหมายของพระองค์ก็ทรงดีเช่นกัน ดังนั้นการให้ทานควรให้กับบุคคลผู้ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก วรรณกรรมพระเวทได้กล่าวไว้ว่าการให้ทานควรให้กับพราหมณ์หรือ พฺราหฺมณ แบบนี้ยังมีการถือปฏิบัติกันอยู่ ถึงแม้ว่าจะไม่ดีทีเดียวตามคำสั่งสอนของพระเวทแต่คำสั่งสอนก็คือการให้ทานควรให้แก่ พฺราหฺมณ เพราะเหตุใดเพราะ พฺราหฺมณ ปฏิบัติในการพัฒนาความรู้ทิพย์ที่สูงกว่าเป็นผู้ที่อุทิศตนเสียสละชีวิตทั้งชีวิตในการเข้าใจ พฺรหฺม ชานาตีติ พฺราหฺมณห์ ผู้ที่รู้ พฺรหฺมนฺ เรียกว่า พฺราหฺมณ ดังนั้นการให้ทานจึงถวายให้ พฺราหฺมณ เพราะท่านปฏิบัติในการรับใช้ทิพย์อยู่เสมอจึงไม่มีเวลาทำมาหาเลี้ยงชีพ วรรณกรรมพระเวทกล่าวว่าการให้ทานควรให้กับผู้ที่อยู่ในระดับชีวิตสละโลก สนฺนฺยาสี ด้วยเช่นกัน สนฺนฺยาสี ภิกขาจารไปตามบ้านไม่ใช่เพื่อเงินแต่เพื่อจุดมุ่งหมายในการเผยแพร่หลักธรรม ระบบก็คือพวก สนฺนฺยาสี ไปตามบ้านเพื่อปลุกคฤหัสถ์ให้ตื่นจากอวิชชา เพราะพวกคฤหัสถ์ปฏิบัติภารกิจทางครอบครัวจนลืมจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของชีวิต การปลุกกฺฤษฺณจิตสำนึกให้พวกคฤหัสถ์จึงเป็นภารกิจของ สนฺนฺยาสี ในรูปของภิกขุที่ไปเยี่ยมและส่งเสริมให้คฤหัสถ์มีกฺฤษฺณจิตสำนึก ดังที่ได้กล่าวไว้ในคัมภีร์พระเวทว่าเราควรตื่นขึ้นและบรรลุถึงสิ่งที่ควรจะได้รับในชีวิตร่างมนุษย์นี้ ความรู้และวิธีการนี้ สนฺนฺยาสี เป็นผู้แจกจ่าย ดังนั้นการให้ทานจึงควรให้แก่ผู้ที่อยู่ในระดับชีวิตสละโลก ให้แก่ พฺราหฺมณ และให้กับพวกที่มีจุดมุ่งหมายที่ดีในทำนองนี้ ไม่ใช่ไปให้แก่พวกที่ทำตามอำเภอใจ

ยศ ชื่อเสียง ควรเป็นไปตามที่องค์ไจตนฺย ตรัส บุคคลมีชื่อเสียงดีเมื่อมาเป็นสาวกผู้ยิ่งใหญ่นั่นคือชื่อเสียงที่แท้จริง หากผู้ใดมาเป็นบุคคลผู้ยิ่งใหญ่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกและเป็นที่รู้โดยทั่วกันเขาเป็นผู้มีชื่อเสียงที่แท้จริง นอกนั้นจะไม่ถือว่าเป็นผู้มีชื่อเสียง

คุณสมบัติทั้งหลายเหล่านี้ปรากฏอยู่ทั่วจักรวาลทั้งในสังคมมนุษย์และในสังคมเทวดา มีรูปแบบของมนุษย์มากมายในดาวเคราะห์อื่นๆและคุณสมบัติเหล่านี้ก็มีอยู่ สำหรับผู้ที่ปรารถนาความเจริญก้าวหน้าในกฺฤษฺณจิตสำนึก องค์กฺฤษฺณทรงสร้างคุณสมบัติทั้งหลายเหล่านี้แต่บุคคลจะพัฒนาด้วยตนเองภายใน ผู้ปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺจะพัฒนาคุณสมบัติที่ดีทั้งหลายซึ่งพระองค์ทรงเป็นผู้จัดการ

ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราพบไม่ว่าดีหรือเลวองค์กฺฤษฺณทรงเป็นแหล่งกำเนิด ไม่มีสิ่งใดปรากฏตัวเองในโลกวัตถุนี้ที่ไม่ได้อยู่ในองค์กฺฤษฺณ นั่นคือความรู้ ถึงแม้เราทราบว่าสิ่งต่างๆสถิตแตกต่างกันไปเราควรรู้แจ้งว่าทุกสิ่งทุกอย่างหลั่งไหลมาจากศฺรี กฺฤษฺณ

โศลก 6

maharṣayaḥ sapta pūrve
catvāro manavas tathā
mad-bhāvā mānasā jātā
yeṣāṁ loka imāḥ prajāḥ
มหรฺษยห์ สปฺต ปูเรฺว
จตฺวาโร มนวสฺ ตถา
มทฺ-ภาวา มานสา ชาตา
เยษำ โลก อิมาห์ ปฺรชาห์
มหา-ฤษยห์ — นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่, สปฺต — เจ็ด, ปูเรฺว — ก่อน, จตฺวารห์ — สี่, มนวห์มนุ, ตถา — เช่นกัน, มตฺ-ภาวาห์ — เกิดจากข้า, มานสาห์ — จากจิตใจ, ชาตาห์ — เกิด, เยษามฺ — ของพวกเขา, โลเก — ในโลก, อิมาห์ — ทั้งหมดนี้, ปฺรชาห์ — พลเมือง

คำแปล

นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งเจ็ด และก่อนหน้านี้มีนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่อีกสี่ท่าน รวมทั้ง มนุ (บรรพบุรุษแห่งมนุษยชาติ) มาจากข้า กำเนิดมาจากจิตใจของข้า สิ่งมีชีวิตทั้งหลายซึ่งเป็นพลโลกของดาวเคราะห์ต่างๆสืบเชื้อสายมาจากท่านเหล่านี้

คำอธิบาย

องค์ภควานฺทรงให้ข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องวงศ์วานของประชากรในจักรวาล พระพรหมทรงเป็นชีวิตแรกที่ประสูติจากพลังงานของพระองค์ทรงพระนามว่า หิรณฺยครฺภ จากพระพรหมนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งเจ็ด ก่อนหน้านี้มีนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่สี่ท่านคือ สนก, สนนฺท, สนาตน และ สนตฺ - กุมาร จากนั้น มนุ-สํหิตา ทรงปรากฏออกมา นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งยี่สิบห้าท่านนี้เป็นผู้อาวุโสสูงสุดของมวลชีวิตในจักรวาลทั้งหมด มีจักรวาลอยู่นับไม่ถ้วนและมีดาวเคราะห์ที่นับไม่ถ้วนอยู่ภายในแต่ละจักรวาล แต่ละดาวเคราะห์ยังเต็มไปด้วยประชากรอันหลากหลายเผ่าพันธุ์ทั้งหมดเกิดมาจากผู้อาวุโสสูงสุดยี่สิบห้าท่านนี้ พระพรหมทรงปฏิบัติการบำเพ็ญเพียงเป็นเวลาหนึ่งพันปีตามเวลาของเทวดาก่อนที่จะรู้แจ้งด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์กฺฤษฺณว่าจะทำการสร้างอย่างไร จากพระพรหม สนก, สนนฺท, สนาตน และ สนตฺ - กุมาร ประสูติออกมา จากนั้น รุทฺร และนักปราชญ์ทั้งเจ็ด เช่นนี้ พฺราหฺมณ และ กฺษตฺริย ทั้งหลายเกิดมาจากพลังงานขององค์ภควานฺ พระพรหมทรงพระนามว่า ปิตามห หรือเสด็จปู่ และองค์กฺฤษฺณทรงพระนามว่าพระ ปิตามห พระบิดาของเสด็จปู่ซึ่งได้กล่าวไว้ในบทที่สิบเอ็ดของ ภควัท-คีตา (11.39)

โศลก 7

etāṁ vibhūtiṁ yogaṁ ca
mama yo vetti tattvataḥ
so ’vikalpena yogena
yujyate nātra saṁśayaḥ
เอตำ วิภูตึ โยคํ จ
มม โย เวตฺติ ตตฺตฺวตห์
โส ’วิกลฺเปน โยเคน
ยุชฺยเต นาตฺร สํศยห์
เอตามฺ — ทั้งหมดนี้, วิภูติมฺ — ความมั่นคั่ง, โยคมฺ — พลังอิทธิฤทธิ์, — เช่นกัน, มม — ของข้า, ยห์ — ผู้ใดที่, เวตฺติ — รู้, ตตฺตฺวตห์ — อย่างแท้จริง, สห์ — เขา, อวิกลฺเปน — โดยไม่แบ่งแยก, โยเคน — ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้, ยุชฺยเต — ปฏิบัติ, — ไม่เคย, อตฺร — ที่นี่, สํศยห์ — สงสัย

คำแปล

ผู้ที่มั่นใจอย่างแท้จริงในความมั่งคั่งและพลังอิทธิฤทธิ์ของข้านี้ จะปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยความบริสุทธิ์ใจโดยไม่มีข้อสงสัย

คำอธิบาย

จุดสุดยอดแห่งความสมบูรณ์ในวิถีทิพย์คือความรู้แห่งองค์ภควานฺ นอกเสียจากว่าเราจะมั่นใจอย่างแน่วแน่ในความมั่งคั่งต่างๆขององค์ภควานฺแล้วนั้นเราจะไม่สามารถปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ได้ โดยทั่วไปผู้คนรู้ว่าพระผู้เป็นเจ้านั้นยิ่งใหญ่แต่ไม่รู้รายละเอียดว่าพระองค์ทรงยิ่งใหญ่อย่างไร รายละเอียอยู่ตรงนี้คือหากผู้ใดรู้อย่างแท้จริงว่าองค์ภควานฺทรงยิ่งใหญ่อย่างไรโดยธรรมชาติจะมาเป็นดวงวิญญาณผู้ศิโรราบและปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้พระองค์เมื่อรู้ถึงความมั่งคั่งขององค์ภควานฺอย่างแท้จริงจะไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากศิโรราบต่อพระองค์ความรู้อันแท้จริงนี้รู้ได้จากคำอธิบายใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ และ ภควัท-คีตา และจากวรรณกรรมในลักษณะเดียวกันนี้

ในการบริหารจักรวาลนี้มีเทวดามากมายทรงกระจายอยู่ทั่วระบบดาวเคราะห์ ผู้นำเทวดาคือ พระพรหม พระศิวะ สี่กุมารผู้ยิ่งใหญ่และผู้อาวุโสสูงสุดอื่นๆ มีบรรพบุรุษของประชากรในจักรวาลมากมายทั้งหมดกำเนิดมาจากองค์ภควานฺ กฺฤษฺณผู้ทรงเป็นบรรพบุรุษองค์แรกของบรรพบุรุษทั้งหลาย

ทั้งหมดนี้คือความมั่งคั่งบางประการขององค์ภควานฺ เมื่อมีความมั่นใจอย่างแน่วแน่ในความมั่งคั่งเหล่านี้เราก็จะยอมรับองค์กฺฤษฺณด้วยความศรัทธาอย่างแรงกล้า โดยปราศจากข้อสงสัยและปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ความรู้โดยเฉพาะทั้งหมดนี้มีความจำเป็นเพื่อเพิ่มพูนความใส่ใจในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยความรักต่อพระองค์เราไม่ควรละเลยในการเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าองค์กฺฤษฺณทรงยิ่งใหญ่เพียงใด เพราะเมื่อรู้ถึงความยิ่งใหญ่ของพระองค์จะทำให้เราตั้งมั่นในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยความจริงใจ

โศลก 8

ahaṁ sarvasya prabhavo
mattaḥ sarvaṁ pravartate
iti matvā bhajante māṁ
budhā bhāva-samanvitāḥ
อหํ สรฺวสฺย ปฺรภโว
มตฺตห์ สรฺวํ ปฺรวรฺตเต
อิติ มตฺวา ภชนฺเต มำ
พุธา ภาว-สมนฺวิตาห์
อหมฺ — ข้า, สรฺวสฺย — ทั้งหมด, ปฺรภวห์ — แหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิด, มตฺตห์ — จากข้า, สรฺวมฺ — ทุกสิ่งทุกอย่าง, ปฺรวรฺตเต — ออกมา, อิติ — ดั้งนั้น, มตฺวา — รู้, ภชนฺเต — มาอุทิศตนเสียสละ, มามฺ — แด่ข้า, พุธาห์ — ผู้รู้, ภาว-สมนฺวิตาห์ — ด้วยความตั้งใจอย่างยิ่ง

คำแปล

ข้าคือแหล่งกำเนิดของโลกทิพย์และโลกวัตถุทั้งหมด ทุกสิ่งทุกอย่างกำเนิดมาจากข้า ผู้มีปัญญารู้เช่นนี้โดยสมบูรณ์จะปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อข้า และบูชาข้าอย่างสุดหัวใจ

คำอธิบาย

นักวิชาการผู้คงแก่เรียนศึกษาคัมภีร์พระเวทอย่างสมบูรณ์และได้รับข้อมูลจากผู้ที่เชื่อถือได้ เช่น องค์ไจตนฺย และรู้ว่าจะนำคำสอนเหล่านี้ไปใช้อย่างไรเพื่อให้เข้าใจว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นแหล่งกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่างทั้งในโลกวัตถุและโลกทิพย์ เพราะเมื่อรู้เช่นนี้โดยสมบูรณ์จึงจะตั้งมั่นอย่างแน่วแน่ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานฺ โดยไม่เบี่ยงเบนจากคำบรรยายที่เหลวไหลหรือจากคนโง่เขลาใดๆ วรรณกรรมพระเวททั้งหมดยอมรับว่าองค์กฺฤษฺณ คือแหล่งกำเนิดของพระพรหม พระศิวะ และเทวดาทั้งหลาย ใน อถรฺว เวท (โคปาล-ตาปนี อุปนิษทฺ 1.24) กล่าวไว้ว่า โย พฺรหฺมาณํ วิทธาติ ปูรฺวํ โย ไว เวทำศฺ คาปยติ สฺม กฺฤษฺณห์ “ในตอนต้นองค์กฺฤษฺณทรงสอนความรู้พระเวทแก่พระพรหมผู้ซึ่งในอดีตได้เผยแพร่ความรู้พระเวทนี้” และ นารายณ อุปนิษทฺ (1) กล่าวว่า อถ ปุรุโษ ไว นารายโณ ’กามยต ปฺรชาห์ สฺฤเชเยติ “จากนั้นองค์ภควานฺ นารายณ ทรงปรารถนาจะสร้างสิ่งมีชีวิต อุปนิษทฺ กล่าวต่อไปว่า นารายณาทฺ พฺรหฺมา ชายเต, นารายณาทฺ ปฺรชาปติห์ ปฺรชายเต, นารายณาทฺ อินฺโทฺร ชายเต, นารายณาทฺ อษฺเฏา วสโว ชายนฺเต, นารายณาทฺ เอกาทศ รุทฺรา ชายนฺเต, นารายณาทฺ ทฺวาทศาทิตฺยาห์ “จากพระนารายณ์ พระพรหมประสูติ จากพระนารายณ์ ผู้อาวุโสสูงสุดต่างๆก็ประสูติเช่นกัน จากพระนารายณ์พระอินทร์ประสูติ จากพระนารายณ์ วสุ ทั้งแปดองค์ประสูติ จากพระนารายณ์ รุทฺร ทั้งสิบเอ็ดองค์ประสูติ จากพระนารยณ์ อาทิตฺย สิบสององค์ประสูติ” พระนารายณ์องค์นี้ทรงเป็นภาคแบ่งแยกขององค์กฺฤษฺณ

ได้กล่าวไว้ในพระเวทเล่มเดียวกันว่า พฺรหฺมโณฺย เทวกี-ปุตฺรห์ กฺฤษฺณ บุตรของพระนาง เทวกี คือองค์ภควานฺ” (นารายณ อุปนิษทฺ 4) จากนั้นได้กล่าวต่อไปว่า เอโก ไว นารายณ อาสีนฺ พฺรหฺมา เนศาโน นาโป นาคฺนิ-โสเมา เนเม ทฺยาวฺ-อาปฺฤถิวี นกฺษตฺราณิ สูรฺยห์ “ในตอนต้นของการสร้างมีเพียงองค์ภควานฺ พระนารายณ์ ไม่มีพระพรหม ไม่มีพระศิวะ ไม่มีน้ำ ไม่มีไฟ ไม่มีดวงจันทร์ ไม่มีดวงดาวในท้องฟ้า ไม่มีดวงอาทิตย์” (มหา อุปนิษทฺ 1) ใน มหา อุปนิษทฺ กล่าวไว้เช่นกันว่า พระศิวะประสูติจากพระนาลาฎ (หน้าผาก) ขององค์ภควานฺ ดังนั้นพระเวทกล่าวว่าองค์ภควานฺผู้ทรงสร้างพระพรหมและพระศิวะควรได้รับการบูชา

ใน โมกฺษ-ธรฺม องค์กฺฤษฺณทรงตรัสว่า

ปฺรชาปตึ จ รุทฺรํ จาปฺยฺ
อหมฺ เอว สฺฤชามิ ไว
เตา หิ มำ น วิชานีโต
มม มายา-วิโมหิเตา
“ข้าเป็นผู้ให้กำเนิดบรรดาผู้อาวุโสสูงสุด พระศิวะและองค์อื่นๆ ถึงแม้ว่าพวกเขาไม่รู้ว่าข้าเป็นผู้ให้กำเนิดเพราะว่าหลงผิดอยู่ในพลังงานแห่งความหลงของข้า” ใน วราห ปุราณ ได้กล่าวไว้เช่นกันว่า

นารายณห์ ปโร เทวสฺ
ตสฺมาชฺ ชาตศฺ จตุรฺมุขห์
ตสฺมาทฺ รุโทฺร ’ภวทฺ เทวห์
ส จ สรฺว-ชฺญตำ คตห์
“พระนารายณ์คือองค์ภควานฺ และจากพระองค์พระพรหมประสูติ จากพระพรหมพระศิวะประสูติ”

องค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงเป็นแหล่งกำเนิดของการให้กำเนิดทั้งหมด พระองค์ทรงถูกเรียกว่าเป็นแหล่งกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่างที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ทรงตรัสว่า “เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างกำเนิดมาจากข้า ข้าคือแหล่งกำเนิดเดิมแท้ของทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ภายใต้ข้า ไม่มีผู้ใดอยู่เหนือข้า” ไม่มีผู้ควบคุมสูงสุดอื่นใดนอกจากองค์กฺฤษฺณ ผู้เข้าใจองค์กฺฤษฺณเช่นนี้จากพระอาจารย์ทิพย์ที่เชื่อถือได้และจากการอ้างอิงของวรรณกรรมพระเวท จะใช้พลังงานของเขาทั้งหมดในกฺฤษฺณจิตสำนึกและกลายมาเป็นผู้รู้อย่างแท้จริง เมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลเช่นนี้บุคคลอื่นๆทั้งหมดผู้ไม่รู้จักองค์กฺฤษฺณอย่างถูกต้องเป็นคนโง่เขลา คนโง่เขลาเท่านั้นที่พิจารณาว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นมนุษย์ธรรมดา บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่ควรสับสนกับคนโง่เขลาเหล่านี้ ควรหลีกเลี่ยงคำบรรยายและการตีความ ภควัท-คีตา ที่เชื่อถือไม่ได้ทั้งหมด และเดินหน้าต่อไปในกฺฤษฺณจิตสำนึกด้วยความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่

โศลก 9

mac-cittā mad-gata-prāṇā
bodhayantaḥ parasparam
kathayantaś ca māṁ nityaṁ
tuṣyanti ca ramanti ca
มจฺ-จิตฺตา มทฺ-คต-ปฺราณา
โพธยนฺตห์ ปรสฺปรมฺ
กถยนฺตศฺ จ มำ นิตฺยํ
ตุษฺยนฺติ จ รมนฺติ จ
มตฺ-จิตฺตาห์ — จิตใจของพวกเขาปฏิบัติอยู่ในข้าอย่างเต็มเปี่ยม, มตฺ-คต-ปฺราณาห์ — ชีวิตของพวกเขาเสียสละให้ข้า, โพธยนฺตห์ — การสอน, ปรสฺปรมฺ — ในหมู่พวกเขากันเอง, กถยนฺตห์ — พูด, — เช่นกัน, มามฺ — เกี่ยวกับข้า, นิตฺยมฺ — อาจิน, ตุษฺยนฺติ — มีความยินดี, — เช่นกัน, รมนฺติ — รื่นเริงกับความปลื้มปีติสุขทิพย์, — เช่นกัน

คำแปล

ความคิดของสาวกผู้บริสุทธิ์พำนักอยู่ในข้า ชีวิตอุทิศในการรับใช้ข้าโดยสมบูรณ์ และพวกเขาได้รับความพึงพอใจและปลื้มปีติสุขอย่างใหญ่หลวงจากการให้แสงสว่างซึ่งกันและกัน พร้อมทั้งสนทนาเกี่ยวกับข้าอยู่เสมอ

คำอธิบาย

ได้กล่าวถึงบุคลิกลักษณะของสาวกผู้บริสุทธิ์ไว้ ที่นี้ว่าพวกท่านปฏิบัติตนอย่างเต็มที่ในการรับใช้ทิพย์ด้วยความรักต่อองค์ภควานฺโดยไม่สามารถหันเหจิตใจไปจากพระบาทรูปดอกบัวขององค์กฺฤษฺณได้ การสนทนาจะเกี่ยวกับเรื่องราวทิพย์ทั้งหมดโดยเฉพาะ ในโศลกนี้ได้อธิบายถึงลักษณะอาการของสาวกผู้บริสุทธิ์ว่าชอบสรรเสริญคุณสมบัติและลีลาขององค์ภควานฺวันละยี่สิบสี่ชั่วโมง หัวใจและจิตวิญญาณซึมซาบอยู่ในองค์กฺฤษฺณตลอดเวลา และมีความชื่นชมยินดีในการสนทนาเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณร่วมกับสาวกรูปอื่น

ในระดับต้นของการอุทิศตนเสียสละรับใช้จะได้รับความสุขทิพย์จากการรับใช้ในตัวมันเอง ในระดับที่สูงขึ้นจะสถิตในความรักแห่งองค์ภควานฺอย่างแท้จริง เมื่อสถิตในสภาวะทิพย์นั้นแล้วจะได้รับความสมบูรณ์สูงสุดดังที่พระองค์ทรงแสดงที่พระตำหนัก องค์ไจตนฺย ทรงเปรียบเทียบการอุทิศตนเสียสละรับใช้นี้เหมือนกับเมล็ดพันธุ์ ถ้าหว่านลงไปที่ดวงใจของสิ่งมีชีวิต มีสิ่งมีชีวิตนับจำนวนไม่ถ้วนท่องอยู่ในโลกและจักรวาลต่างๆ จากพวกนั้นมีไม่กี่ชีวิตที่โชคดีพอมาพบกับสาวกผู้บริสุทธิ์และได้รับโอกาสเข้าใจการอุทิศตนเสียสละรับใช้ การอุทิศตนเสียสละรับใช้นี้เหมือนกับเมล็ดพันธุ์เมื่อหว่านลงไปในดวงใจของสิ่งมีชีวิต และหากผู้นั้นสดับฟังและภาวนา หเร กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ หเร หเร / หเร ราม หเร ราม ราม ราม หเร หเร อย่างต่อเนื่องเมล็ดพันธุ์นี้จะบังเกิดผลเหมือนกับเมล็ดพันธุ์ของต้นไม้ที่บังเกิดผลด้วยการรดน้ำสม่ำเสมอ ต้นไม้ทิพย์แห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้จะค่อยๆเจริญขึ้นและเจริญขึ้นจนกระทั่งเจาะทะลุหลังคาที่ครอบคลุมจักรวาลวัตถุ และเข้าไปในรัศมี พฺรหฺม-โชฺยติรฺ ในท้องฟ้าทิพย์ ที่นั้นต้นไม้นี้ยังเจริญเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆจนกระทั่งไปถึงดาวเคราะห์สูงสุดเรียกว่า โคโลก วฺฤนฺทาวน ซึ่งเป็นดาวเคราะห์สูงสุดขององค์กฺฤษฺณ ในที่สุดต้นไม้นี้จะมาพึ่งอยู่ภายใต้พระบาทรูปดอกบัวขององค์กฺฤษฺณและพำนักอยู่ที่นั่น ขณะที่ต้นไม้ค่อยๆผลิดอกออกผลต้นไม้แห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้นี้ก็ผลิดอกออกผลเช่นเดียวกัน วิธีการรดน้ำในรูปของการสวดภาวนาและสดับฟังจะดำเนินต่อไป ต้นไม้แห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้นี้ได้มีการอธิบายไว้อย่างสมบูรณ์ใน ไจตนฺย-จริตามฺฤต (มธฺย-ลีลา บทที่สิบเก้า) ว่าเมื่อต้นไม้ที่สมบูรณ์มาพึ่งอยู่ภายใต้พระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควานฺ เขาจะซึมซาบอยู่ในความรักแห่งพระองค์อย่างเต็มเปี่ยม จากนั้นก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้แม้เพียงเสี้ยววินาทีเดียวโดยปราศจากการสัมผัสกับองค์ภควานฺ เหมือนกับปลาที่ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้หากไม่มีน้ำ ในระดับนี้สาวกบรรลุถึงคุณสมบัติทิพย์ในการมาสัมผัสกับองค์ภควานฺอย่างแท้จริง

ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ เต็มไปด้วยเรื่องราวที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างองค์ภควานฺและเหล่าสาวกของพระองค์ดังนั้น ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ จึงเป็นที่รักยิ่งของสาวกดังที่ได้กล่าวไว้ใน ภาควต เอง (12.13.18) ว่า ศฺรีมทฺ-ภาควตํ ปุราณมฺ อมลํ ยทฺ ไวษฺณวานำ ปฺริยมฺ เรื่องราวเหล่านี้ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางวัตถุ การพัฒนาเศรษฐกิจ การสนองประสาทสัมผัส หรือความหลุดพ้น ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ เป็นการบรรยายเฉพาะถึงธรรมชาติทิพย์ขององค์ภควานฺ เหล่าสาวกของพระองค์ได้อธิบายไว้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นดวงวิญญาณผู้รู้แจ้งในกฺฤษฺณจิตสำนึกได้รับความสุขอย่างต่อเนื่องในการสดับฟังวรรณกรรมทิพย์นี้ เหมือนกับชายหนุ่มและหญิงสาวที่มีความสุขเมื่อได้อยู่ด้วยกัน

โศลก 10

teṣāṁ satata-yuktānāṁ
bhajatāṁ prīti-pūrvakam
dadāmi buddhi-yogaṁ taṁ
yena mām upayānti te
เตษำ สตต-ยุกฺตานำ
ภชตำ ปฺรีติ-ปูรฺวกมฺ
ททามิ พุทฺธิ-โยคํ ตํ
เยน มามฺ อุปยานฺติ เต
เตษามฺ — แด่พวกเขา, สตต-ยุกฺตานามฺ — ปฏิบัติอยู่เสมอ, ภชตามฺ — ในการถวายการอุทิศตนเสียสละรับใช้, ปฺรีติ-ปูรฺวกมฺ — ในความปลาบปลื้มด้วยความรัก, ททามิ — ข้าให้, พุทฺธิ-โยคมฺ — ปัญญาที่แท้จริง, ตมฺ — นั้น, เยน — ซึ่ง, มามฺ — แด่ข้า, อุปยานฺติ — มา, เต — พวกเขา

คำแปล

สำหรับบุคคลที่เสียสละในการรับใช้ข้าด้วยใจรักอยู่เสมอ ข้าจะให้ความเข้าใจเพื่อให้พวกเขาสามารถมาถึงข้า

คำอธิบาย

โศลกนี้คำว่า พุทฺธิ-โยคมฺ สำคัญมากเราอาจจำได้ว่าในบทที่สองทรงสอน อรฺชุน ว่าพระองค์ได้ตรัสต่อ อรฺชุน หลายอย่าง พร้อมทั้งสอนวิธีแห่ง พุทฺธิ-โยค มาบัดนี้ทรงอธิบายถึง พุทฺธิ-โยค ตัว พุทฺธิ-โยค เองคือการปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกเพราะนี่คือปัญญาที่สูงสุด พุทฺธิ หมายถึงปัญญา และโยคะหมายถึงกิจกรรมพิเศษหรือความเจริญก้าวหน้าอย่างวิเศษ เมื่อเราพยายามกลับคืนสู่เหย้าคืนสู่องค์ภควานฺและรับเอากฺฤษฺณจิตสำนึกในการอุทิศตนเสียสละรับใช้มาปฏิบัติอย่างเต็มที่ การปฏิบัติเช่นนี้เรียกว่า พุทฺธิ-โยค อีกนัยหนึ่ง พุทฺธิ-โยค คือวิธีการที่สามารถทำให้เราออกจากพันธนาการทางโลกวัตถุนี้ได้ จุดมุ่งหมายสูงสุดในความเจริญก้าวหน้าคือองค์กฺฤษฺณ ผู้คนไม่ทราบเช่นนี้ ฉะนั้นการคบหาสมาคมกับสาวกและพระอาจารย์ทิพย์ผู้ที่เชื่อถือได้จึงเป็นสิ่งสำคัญ เราควรรู้ว่าจุดมุ่งหมายของเราคือองค์กฺฤษฺณ เมื่อกำหนดจุดมุ่งหมายไว้เรียบร้อยแล้วจากนั้นวิถีทางอาจช้าหน่อย แต่จะเดินก้าวหน้าต่อไปเรื่อยๆจนในที่สุดเราบรรลุถึงเป้าหมาย

เมื่อบุคคลรู้เป้าหมายแห่งชีวิตแต่ยังมัวเมาอยู่กับผลของกิจกรรมเช่นนี้เขาปฏิบัติ กรฺม-โยค เมื่อรู้ว่าเป้าหมายคือองค์กฺฤษฺณ แต่ได้รับความสุขจากการคาดคะเนทางจิตใจเพื่อให้เข้าใจองค์กฺฤษฺณเช่นนี้เขาปฏิบัติ ชฺญาน-โยค และเมื่อรู้เป้าหมายและเสาะแสวงหาองค์กฺฤษฺณโดยสมบูรณ์ในกฺฤษฺณจิตสำนึกพร้อมทั้งอุทิศตนเสียสละรับใช้เช่นนี้เขาปฏิบัติ ภกฺติ-โยค หรือ พุทฺธิ-โยค ซึ่งเป็นโยคะที่สมบูรณ์ โยคะที่สมบูรณ์นี้เป็นระดับที่บริบูรณ์สูงสุดแห่งชีวิต

บุคคลอาจมีพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้และอาจยึดติดอยู่กับองค์กรหรือสมาคมทิพย์ ถึงกระนั้นหากไม่ฉลาดพอที่จะสร้างความก้าวหน้าองค์กฺฤษฺณจะสอนเขาจากภายในเพื่อในที่สุดเขาอาจมาถึงพระองค์โดยไม่ยากลำบากนัก คุณสมบัติคือบุคคลนั้นต้องปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกอยู่เสมอด้วยความรักและอุทิศตนถวายการรับใช้ทุกรูปแบบ เขาควรปฏิบัติงานบางอย่างเพื่อองค์กฺฤษฺณและควรทำไปด้วยใจรัก หากสาวกไม่ฉลาดพอที่จะเจริญก้าวหน้าบนหนทางแห่งความรู้แจ้งตนเอง แต่มีความจริงใจและอุทิศตนต่อกิจกรรมแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ องค์ภควานฺจะทรงให้โอกาสเขาเจริญก้าวหน้าและบรรลุถึงพระองค์ในที่สุด

โศลก 11

teṣām evānukampārtham
aham ajñāna-jaṁ tamaḥ
nāśayāmy ātma-bhāva-stho
jñāna-dīpena bhāsvatā
เตษามฺ เอวานุกมฺปารฺถมฺ
อหมฺ อชฺญาน-ชํ ตมห์
นาศยามฺยฺ อาตฺม-ภาว-โสฺถ
ชฺญาน-ทีเปน ภาสฺวตา
เตษามฺ — สำหรับพวกเขา, เอว — แน่นอน, อนุกมฺปา-อรฺถมฺ — เพื่อแสดงพระเมตตาธิคุณพิเศษ, อหมฺ — ข้า, อชฺญาน-ชมฺ — เนื่องจากอวิชชา, ตมห์ — ความมืด, นาศยามิ — ปัดเป่า, อาตฺม-ภาว — ภายในหัวใจของพวกเขา, สฺถห์ — สถิต, ชฺญาน — ของความรู้, ทีเปน — ด้วยตะเกียง, ภาสฺวตา — สว่างไสว

คำแปล

เพื่อแสดงพระเมตตาธิคุณพิเศษ ข้าผู้ประทับอยู่ภายในหัวใจของพวกเขา ทำลายความมืดที่เกิดจากอวิชชาด้วยประทีปแห่งความรู้ที่สว่างไสว

คำอธิบาย

เมื่อองค์ไจตนฺย ทรงประทับอยู่ที่เมืองพาราณสีได้ทำการเผยแพร่การสวดภาวนา หเร กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ หเร หเร หเร ราม หเร ราม ราม ราม หเร หเร คนเป็นพันๆติดตามพระองค์ปฺรกาศานนฺท สรสฺวตี นักวิชาการผู้คงแก่เรียนและมีอิทธิพลมากที่เมืองพาราณสีในขณะนั้นเยาะเย้ย ไจตนฺย ว่าเป็นคนเจ้าอารมณ์ บางครั้งพวกนักปราชญ์วิจารณ์สาวกเพราะคิดว่าสาวกส่วนใหญ่อยู่ในความมืดแห่งอวิชชา และเป็นคนเจ้าอารมณ์ไม่เดียงสากับปรัชญา อันที่จริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น มีนักวิชาการผู้คงแก่เรียนหลายท่านที่เสนอปรัชญาแห่งการอุทิศตนเสียสละ แต่ถึงแม้ว่าสาวกไม่ฉวยประโยชน์จากวรรณกรรมเหล่านี้หรือจากพระอาจารย์ทิพย์หากมีความจริงใจในการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์กฺฤษฺณจะทรงช่วยจากภายในหัวใจ ดังนั้นสาวกผู้มีความจริงใจปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีความรู้คุณสมบัติเพียงประการเดียวก็คือต้องปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ในกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างเต็มที่

พวกนักปราชญ์สมัยปัจจุบันคิดว่าหากไม่สามารถแยกแยะจะไม่สามารถมีความรู้ที่บริสุทธิ์ สำหรับพวกนี้องค์ภควานฺทรงให้คำตอบ ดังนี้พวกที่ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่างบริสุทธิ์ถึงแม้ว่าไม่มีการศึกษาเพียงพอและไม่มีความรู้ในหลักธรรมพระเวทอย่างเพียงพอ องค์ภควานฺจะทรงช่วยพวกเขาดังที่ได้กล่าวไว้ในโศลกนี้

พระองค์ตรัสต่อ อรฺชุน ว่าโดยพื้นฐานแล้วนั้นเป็นไปไม่ได้ที่เราจะเข้าใจสัจธรรมสูงสุดบุคลิกภาพแห่งพระเจ้าด้วยการคาดคะเน เพราะว่าสัจธรรมสูงสุดนั้นยิ่งใหญ่มากจนเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าใจองค์กฺฤษฺณ หรือบรรลุถึงพระองค์ด้วยความพยายามทางจิตใจ มนุษย์สามารถคาดคะเนเป็นเวลาหลายต่อหลายล้านปีหากไม่อุทิศตนเสียสละ และหากไม่มาเป็นที่รักของสัจธรรมสูงสุดจะไม่มีวันเข้าใจองค์กฺฤษฺณ หรือสัจธรรมสูงสุดได้ ด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้เท่านั้นที่สัจธรรมสูงสุดองค์กฺฤษฺณจะทรงชื่นชมยินดี และด้วยพลังอำนาจที่มองไม่เห็นของพระองค์จะทรงเปิดเผยพระวรกายที่ดวงใจของสาวกผู้บริสุทธิ์ สาวกผู้บริสุทธิ์จะมีองค์กฺฤษฺณอยู่ภายในหัวใจเสมอ และจากการปรากฏขององค์กฺฤษฺณซึ่งเหมือนกับดวงอาทิตย์ความมืดแห่งอวิชชาก็จะถูกขจัดไปในทันที นี่คือพระเมตตาธิคุณพิเศษที่องค์กฺฤษฺณทรงมีให้แก่สาวกผู้บริสุทธิ์

เนื่องมาจากมลภาวะแห่งการมาคบหาสมาคมทางวัตถุเป็นเวลาหลายต่อหลายล้านชาติ หัวใจของเราจึงถูกปกคลุมไปด้วยฝุ่นแห่งวัตถุนิยมอยู่เสมอ แต่เมื่อเราได้มาปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้และสวดภาวนา หเร กฺฤษฺณ อยู่เสมอ ฝุ่นเหล่านั้นจะถูกปัดให้สะอาดอย่างรวดเร็วแล้วเราจะเจริญก้าวหน้ามาสู่ระดับแห่งความรู้ที่บริสุทธิ์ จุดมุ่งหมายสูงสุดคือพระวิษฺณุซึ่งเราจะสามารถบรรลุได้ด้วยการสวดภาวนาและการอุทิศตนเสียสละรับใช้เท่านั้น ไม่ใช่ด้วยการคาดคะเนทางจิตใจหรือด้วยการโต้เถียงใดๆ สาวกผู้บริสุทธิ์ไม่ต้องวิตกกังวลเกี่ยวกับสิ่งจำเป็นทางวัตถุในชีวิต ไม่จำเป็นต้องกังวลเพราะเมื่อความมืดถูกขจัดออกไปจากหัวใจแล้วองค์ภควานฺจะทรงยินดีกับการอุทิศตนเสียสละรับใช้ของสาวกด้วยความรัก พระองค์จะทรงจัดสรรทุกสิ่งทุกอย่างให้โดยปริยาย นี่คือสาระสำคัญของคำสอนใน ภควัท-คีตา จากการศึกษา ภควัท-คีตา เราจะกลายเป็นดวงวิญญาณผู้ศิโรราบโดยดุษฎีต่อองค์ภควานฺและปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยใจบริสุทธิ์ เมื่อพระองค์ทรงเข้ามาควบคุมแล้วเราจะเป็นอิสระจากความพยายามทางวัตถุทั้งปวงโดยสมบูรณ์

โศลก 12-13

arjuna uvāca
paraṁ brahma paraṁ dhāma
pavitraṁ paramaṁ bhavān
puruṣaṁ śāśvataṁ divyam
ādi-devam ajaṁ vibhum
อรฺชุน อุวาจ
ปรํ พฺรหฺม ปรํ ธาม
ปวิตฺรํ ปรมํ ภวานฺ
ปุรุษํ ศาศฺวตํ ทิวฺยมฺ
อาทิ-เทวมฺ อชํ วิภุมฺ
āhus tvām ṛṣayaḥ sarve
devarṣir nāradas tathā
asito devalo vyāsaḥ
svayaṁ caiva bravīṣi me
อาหุสฺ ตฺวามฺ ฤษยห์ สเรฺว
เทวรฺษิรฺ นารทสฺ ตถา
อสิโต เทวโล วฺยาสห์
สฺวยํ ไจว พฺรวีษิ เม
อรฺชุนห์ อุวาจอรฺชุน ตรัส, ปรมฺ — สูงสุด, พฺรหฺม — สัจจะ, ปรมฺ — สูงสุด, ธาม — ผู้ค้ำจุน, ปวิตฺรมฺ — บริสุทธิ์, ปรมมฺ — สูงสุด, ภวานฺ — พระองค์, ปุรุษมฺ — บุคลิกภาพ, ศาศฺวตมฺ — องค์เดิม, ทิวฺยมฺ — ทิพย์, อาทิ-เทวมฺ — พระผู้เป็นเจ้าองค์แรก, อชมฺ — ไม่มีการเกิด, วิภุมฺ — ยิ่งใหญ่ที่สุด, อาหุห์ — กล่าว, ตฺวามฺ — เกี่ยวกับพระองค์, ฤษยห์ — เหล่านักบวช, สเรฺว — ทั้งหมด, เทว-ฤษิห์ — นักบวชในหมู่เทวดา, นารทห์นารท, ตถา — เช่นกัน, อสิตห์อสิต, เทวลห์เทวล, วฺยาสห์วฺยาส, สฺวยมฺ — ด้วยตัวพระองค์เอง, — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, พฺรวีษิ — พระองค์ทรงอธิบาย, เม — แด่ข้า

คำแปล

อรฺชุน ตรัสว่า พระองค์ทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า เป็นพระตำหนักสูงสุด เป็นผู้บริสุทธิ์ที่สุด เป็นสัจธรรม พระองค์ทรงเป็นอมตะ เป็นทิพย์ เป็นบุคคลแรก ไม่มีการเกิด เป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย เช่น นารท อสิต เทวล และ วฺยาส ได้ยืนยันความจริงนี้เกี่ยวกับพระองค์บัดนี้พระองค์ทรงประกาศแก่ข้าด้วยพระองค์เอง

คำอธิบาย

สองโศลกนี้องค์ภควานฺทรงให้โอกาสแก่นักปราชญ์สมัยปัจจุบันโดยกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า พระองค์ทรงแตกต่างจากปัจเจกวิญญาณ หลังจากสดับฟังสี่โศลกซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของ ภควัท-คีตา ในบทนี้ อรฺชุน ทรงเป็นอิสระจากความสงสัยทั้งปวงโดยสิ้นเชิง และยอมรับว่าองค์กฺฤษฺณคือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ทันใดนั้น อรฺชุน ทรงประกาศอย่างกล้าหาญว่า “พระองค์คือ ปรํ พฺรหฺม บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า” ในอดีตองค์กฺฤษฺณตรัสว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ให้กำเนิดทุกสิ่งทุกอย่างและทุกชีวิต เทวดาทุกองค์และมนุษย์ทุกคนขึ้นอยู่กับองค์กฺฤษฺณ แต่เนื่องด้วยอวิชชาเหล่ามนุษย์และเทวดาคิดว่าตนเองสมบูรณ์และเป็นอิสระจากบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ด้วยการปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้อวิชชาจะถูกขจัดออกไปจนหมดสิ้น องค์ภควานฺทรงอธิบายไว้แล้วในโศลกก่อนหน้านี้ บัดนี้ด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์ภควานฺ อรฺชุน ยอมรับพระองค์ว่าทรงเป็นสัจธรรมสูงสุดตามคำสอนพระเวท มิใช่เพราะว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นสหายสนิทแล้ว อรฺชุน ทรงยกยอองค์กฺฤษฺณด้วยการเรียกพระองค์ว่าบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า สัจธรรมที่สมบูรณ์ สิ่งที่ อรฺชุน ตรัสในสองโศลกนี้สัจจะแห่งคัมภีร์พระเวทได้ยืนยันไว้ คำสั่งสอนพระเวทยืนยันว่าผู้ที่รับเอาการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานฺไปปฏิบัติเท่านั้นจึงจะสามารถเข้าใจพระองค์ได้ ในขณะที่บุคคลอื่นไม่สามารถเข้าใจได้ ทุกคำในโศลกนี้ที่ อรฺชุน ตรัสนั้นคำสอนพระเวทได้มีการยืนยันไว้

ใน เกน อุปนิษทฺ ได้กล่าวไว้ว่า พฺรหฺมนฺ สูงสุดเป็นที่พักพิงของทุกสิ่งทุกอย่าง และองค์กฺฤษฺณทรงอธิบายไว้แล้วว่าทุกสิ่งทุกอย่างพักพิงอยู่ที่พระองค์มุณฺฑก อุปนิษทฺ ยืนยันว่าทุกสิ่งทุกอย่างพำนักอยู่ที่องค์ภควานฺ ผู้ปฏิบัติการระลึกถึงพระองค์อยู่ตลอดเวลาจึงสามารถเป็นผู้รู้แจ้ง การระลึกถึงองค์กฺฤษฺณอยู่ตลอดเวลาคือ สฺมรณมฺ ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ การอุทิศตนเสียสละรับใช้แด่องค์กฺฤษฺณเท่านั้นที่ทำให้เราเข้าใจสถานภาพของตัวเราเองและขจัดร่างกายวัตถุนี้ออกไปได้

คัมภีร์พระเวทยอมรับว่าองค์ภควานฺทรงเป็นผู้บริสุทธิ์ที่สุดในบรรดา ผู้บริสุทธิ์ผู้ที่เข้าใจว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้บริสุทธิ์ที่สุดในหมู่ผู้บริสุทธิ์สามารถทำให้ตนเองบริสุทธิ์จากกิจกรรมบาปทั้งปวงได้ นอกจากเราจะศิโรราบต่อองค์ภควานฺเท่านั้นเราจึงจะสามารถขจัดเชื้อโรคแห่งการกระทำบาปทั้งหมดได้ อรฺชุน ยอมรับว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้บริสุทธิ์สูงสุดซึ่งเป็นไปตามคำสั่งสอนของวรรณกรรมพระเวท บุคลิกภาพผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งนำโดย นารท ได้ยืนยันไว้เช่นเดียวกัน

องค์กฺฤษฺณทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าเราจึงควรทำสมาธิอยู่ที่พระองค์เสมอ และได้รับความสุขจากความสัมพันธ์ทิพย์ที่มีต่อองค์กฺฤษฺณ พระองค์ทรงเป็นผู้มีชีวิตที่สูงสุด ทรงเป็นอิสระจากความต้องการทางร่างกาย จากการเกิดและการตาย ไม่เพียงแต่ อรฺชุน เท่านั้นที่ทรงยืนยันเช่นนี้แต่วรรณกรรมพระเวททั้งหมด เช่น ปุราณ และประวัติศาสตร์ต่างๆก็ได้ยืนยันไว้เช่นกัน ในวรรณกรรมพระเวททั้งหมดได้อธิบายเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณไว้เช่นนี้ และองค์ภควานฺเองก็ตรัสในบทที่สี่ว่า “ถึงแม้ว่าข้าไม่มีการเกิด ข้ายังเสด็จมาบนโลกนี้เพื่อสถาปนาหลักธรรมแห่งศาสนา” พระองค์ทรงเป็นบุคคลแรกที่สูงสุด พระองค์ทรงไม่มีแหล่งกำเนิดเพราะทรงเป็นแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง และทุกสิ่งทุกอย่างกำเนิดมาจากพระองค์ความรู้อันสมบูรณ์เช่นนี้สามารถได้รับจากพระกรุณาธิคุณขององค์ภควานฺ

ที่นี้ อรฺชุน ทรงแสดงตนเองผ่านทางพระกรุณาธิคุณขององค์กฺฤษฺณ หากเราปรารถนาจะเข้าใจ ภควัท-คีตา เราควรยอมรับข้อความจากสองโศลกนี้ อันนี้เรียกว่าระบบ ปรมฺปรา คือการรับสายปรัมปรา นอกเสียจากว่าเราจะอยู่ในระบบปรัมปรามิฉะนั้นเราก็จะไม่สามารถเข้าใจ ภควัท-คีตา ได้ สิ่งที่เรียกว่าการศึกษาทางวิชาการนั้นเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าใจ ภควัท-คีตา แต่พวกที่อับโชคที่โอหังกับการศึกษาทางวิชาการยังดื้อรั้นโดยเชื่อว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นบุคคลธรรมดา ถึงแม้จะมีหลักฐานมากมายในวรรณกรรมพระเวทก็ตาม

โศลก 14

sarvam etad ṛtaṁ manye
yan māṁ vadasi keśava
na hi te bhagavan vyaktiṁ
vidur devā na dānavāḥ
สรฺวมฺ เอตทฺ ฤตํ มเนฺย
ยนฺ มำ วทสิ เกศว
น หิ เต ภควนฺ วฺยกฺตึ
วิทุรฺ เทวา น ทานวาห์
สรฺวมฺ — ทั้งหมด, เอตตฺ — นี้, ฤตมฺ — ความจริง, มเนฺย — ข้ายอมรับ, ยตฺ — ซึ่ง, มามฺ — แด่ข้า, วทสิ — พระองค์ตรัส, เกศว — โอ้ กฺฤษฺณ, — ไม่เคย, หิ — แน่นอน, เต — ของพระองค์, ภควนฺ — โอ้ องค์ภควาน, วฺยกฺติมฺ — เปิดเผย, วิทุห์ — สามารถรู้, เทวาห์ — เหล่าเทวดา, — ไม่, ทานวาห์ — เหล่ามาร

คำแปล

โอ้ กฺฤษฺณ ข้าพเจ้ายอมรับโดยดุษฎีว่าทั้งหมดที่พระองค์ตรัสต่อข้าเป็นความจริง โอ้ องค์ภควาน ทั้งเหล่าเทวดาหรือมารก็ไม่สามารถเข้าใจบุคลิกภาพแห่งพระองค์

คำอธิบาย

ที่นี้ อรฺชุน ทรงยืนยันว่าบุคคลที่ไม่มีศรัทธาและมีธรรมชาติเป็นมารจะไม่สามารถเข้าใจองค์กฺฤษฺณได้ แม้แต่เหล่าเทวดายังไม่รู้จักพระองค์แล้วพวกที่สมมุติว่าเป็นนักวิชาการทางโลกสมัยปัจจุบันนี้จะรู้จักพระองค์ได้อย่างไรกัน ด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์ภควานฺทำให้ อรฺชุน เข้าใจว่าสัจธรรมสูงสุดคือองค์กฺฤษฺณผู้ทรงมีความสมบูรณ์ ฉะนั้นเราควรปฏิบัติตามวิถีทางของ อรฺชุน ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ที่เชื่อถือได้แห่ง ภควัท-คีตา ดังที่ได้อธิบายไว้ในบทที่สี่ว่าระบบ ปรมฺปรา เพื่อให้เข้าใจ ภควัท-คีตา ได้สูญหายไป ดังนั้นองค์กฺฤษฺณทรงสถาปนาระบบปรัมปราขึ้นมาใหม่ เริ่มต้นจาก อรฺชุน เพราะทรงพิจารณาว่า อรฺชุน เป็นทั้งเพื่อนและสาวกผู้ยิ่งใหญ่ของพระองค์ ฉะนั้นดังที่ได้กล่าวไว้ในคำนำ คีโตปนิษทฺ ของเราว่าควรเข้าใจ ภควัท-คีตา ตามสายระบบปรัมปรา เมื่อระบบปรัมปราสูญหายไป อรฺชุน ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ การที่ อรฺชุน ทรงยอมรับทุกสิ่งทุกอย่างที่องค์กฺฤษฺณตรัสนั้นเราควรรับเอาเป็นเยี่ยงอย่าง จากนั้นเราจึงจะสามารถเข้าใจเนื้อหาสาระสำคัญของ ภควัท-คีตา ได้ ด้วยวิธีนี้เท่านั้นที่เราสามารถเข้าใจว่าองค์กฺฤษฺณ คือองค์ภควานฺ

โศลก 15

svayam evātmanātmānaṁ
vettha tvaṁ puruṣottama
bhūta-bhāvana bhūteśa
deva-deva jagat-pate
สฺวยมฺ เอวาตฺมนาตฺมานํ
เวตฺถ ตฺวํ ปุรุโษตฺตม
ภูต-ภาวน ภูเตศ
เทว-เทว ชคตฺ-ปเต
สฺวยมฺ — โดยพระองค์เอง, เอว — แน่นอน, อาตฺมนา — ด้วยตัวพระองค์เอง, อาตฺมานมฺ — ตัวพระองค์, เวตฺถ — ทราบ, ตฺวมฺ — พระองค์, ปุรุษ-อุตฺตม — โอ้ ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาบุคคลทั้งหลาย, ภูต-ภาวน — โอ้ แหล่งกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่าง, ภูต-อีศ — โอ้ พระเจ้าของสรรพสิ่ง, เทว-เทว — โอ้ พระเจ้าของมวลเทวดา, ชคตฺ-ปเต — โอ้ พระเจ้าแห่งปวงจักรวาล

คำแปล

แน่นอนว่าพระองค์เท่านั้นที่ทราบตัวพระองค์เองด้วยพลังเบื้องสูงของพระองค์โอ้ องค์ภควาน แหล่งกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่าง พระเจ้าของมวลชีวิต พระเจ้าของเหล่าเทวดา พระเจ้าแห่งจักรวาล

คำอธิบาย

องค์ภควานฺ ศฺรี กฺฤษฺณทรงรู้ได้โดยบุคคลผู้มีความสัมพันธ์กับพระองค์โดยผ่านทางวิธีปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้เหมือนกับ อรฺชุน และเหล่าสาวกของ อรฺชุน บุคคลผู้มีความคิดเยี่ยงมารหรือไม่เชื่อในองค์ภควานฺจะไม่สามารถรู้ถึงองค์กฺฤษฺณได้ การคาดคะเนทางจิตใจซึ่งนำให้ออกห่างจากพระองค์เป็นบาปอันร้ายแรง และผู้ที่ไม่รู้จักองค์กฺฤษฺณไม่ควรพยายามวิจารณ์ ภควัท-คีตา ภควัท-คีตา เป็นคำดำรัสขององค์กฺฤษฺณเนื่องจากเป็นศาสตร์แห่งองค์กฺฤษฺณจึงควรเข้าใจจากองค์กฺฤษฺณดังที่ อรฺชุน เข้าใจ โดยไม่ควรรับมาจากบุคคลผู้ไม่เชื่อในองค์ภควานฺ

ดังที่ได้กล่าวไว้ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (1.2.11)

วทนฺติ ตตฺ ตตฺตฺว-วิทสฺ
ตตฺตฺวํ ยชฺ ชฺญานมฺ อทฺวยมฺ
พฺรเหฺมติ ปรมาตฺเมติ
ภควานฺ อิติ ศพฺทฺยเต
สัจธรรมสูงสุดรู้แจ้งได้ในสามระดับคือ พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ ปรมาตฺมา ภายในหัวใจของทุกคน และท้ายสุดคือองค์ภควานฺในระดับท้ายสุดแห่งการเข้าใจสัจธรรมจะมาถึงบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า มนุษย์ธรรมดาหรือแม้แต่ผู้ที่หลุดพ้นแล้วซึ่งรู้แจ้ง พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์หรือรู้แจ้ง ปรมาตฺมา ผู้ประทับภายในหัวใจของทุกคนอาจไม่เข้าใจองค์ภควานฺ ดังนั้นบุคคลเหล่านี้อาจพยายามเข้าใจองค์ภควานฺจากโศลกต่างๆใน ภควัท-คีตา ที่องค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้ตรัส บางครั้งพวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์จึงยอมรับว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นองค์ภควานฺ หรือยอมรับความเชื่อถือได้ของพระองค์ถึงกระนั้นยังมีบุคคลผู้หลุดพ้นแล้วมากมายที่ไม่สามารถเข้าใจองค์กฺฤษฺณว่าเป็น ปุรุโษตฺตม บุคลิกภาพสูงสุด ดังนั้น อรฺชุน เรียกพระองค์ว่า ปุรุโษตฺตม เช่นนี้ยังอาจไม่เข้าใจว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นพระบิดาของมวลชีวิต ฉะนั้น อรฺชุน เรียกพระองค์ว่า ภูต-ภาวน และถ้าหากใครทราบว่าพระองค์ทรงเป็นพระบิดาของมวลชีวิตแต่อาจไม่ทราบว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ควบคุมสูงสุด อรฺชุน จึงเรียกพระองค์ว่า ภูเตศ ผู้ควบคุมสูงสุดของทุกคน แม้หากทราบว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้ควบคุมสูงสุดของมวลชีวิตแต่อาจไม่ทราบว่าพระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของเทวดา ดังนั้นตรงนี้ได้เรียกพระองค์ว่า เทว-เทว พระเจ้าผู้ทรงได้รับการบูชาจากมวลเทวดา และแม้หากทราบว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าที่เคารพบูชาของมวลเทวดาแต่อาจไม่ทราบว่าพระองค์ทรงเป็นเจ้าของสูงสุดของทุกสิ่งทุกอย่างจึงเรียกพระองค์ว่า ชคตฺ-ปติ ฉะนั้นจากความรู้แจ้งของ อรฺชุน เรื่องความจริงเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณนั้นได้สถาปนาไว้ในโศลกนี้ และพวกเราควรเจริญรอยตามพระบาทของ อรฺชุน ในการที่จะเข้าใจองค์กฺฤษฺณตามความเป็นจริง

โศลก 16

vaktum arhasy aśeṣeṇa
divyā hy ātma-vibhūtayaḥ
yābhir vibhūtibhir lokān
imāṁs tvaṁ vyāpya tiṣṭhasi
วกฺตุมฺ อรฺหสฺยฺ อเศเษณ
ทิวฺยา หฺยฺ อาตฺม-วิภูตยห์
ยาภิรฺ วิภูติภิรฺ โลกานฺ
อิมำสฺ ตฺวํ วฺยาปฺย ติษฺฐสิ
วกฺตุมฺ — พูด, อรฺหสิ — พระองค์สมควรได้, อเศเษณ — รายละเอียด, ทิวฺยาห์ — ทิพย์, หิ — แน่นอน, อาตฺม — ตัวพระองค์เอง, วิภูตยห์ — ความมั่งคั่ง, ยาภิห์ — ซึ่ง, วิภูติภิห์ — ความมั่งคั่ง, โลกานฺ — ดาวเคราะห์ทั้งหลาย, อิมานฺ — เหล่านี้, ตฺวมฺ — พระองค์, วฺยาปฺย — แผ่กระจาย, ติษฺฐสิ — ยังคงอยู่

คำแปล

โปรดกรุณาบอกข้าพเจ้าในรายละเอียดเกี่ยวกับความมั่งคั่งทิพย์ของพระองค์ที่ทรงแผ่กระจายไปในโลกทั้งหลายเหล่านี้

คำอธิบาย

โศลกนี้ปรากฏว่า อรฺชุน พอใจกับการเข้าใจบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์กฺฤษฺณด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์กฺฤษฺณ อรฺชุน ได้รับประสบการณ์ส่วนตัวปัญญา ความรู้ และอะไรก็แล้วแต่ที่คนเราอาจมีหรือได้รับผ่านทางผู้แทนทั้งหลายเหล่านี้ อรฺชุน ทรงเข้าใจว่าองค์กฺฤษฺณคือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าโดยไม่มีข้อสงสัยใดๆทั้งสิ้น ถึงกระนั้นยังถามให้องค์กฺฤษฺณทรงอธิบายถึงธรรมชาติที่แผ่กระจายไปทั่วของพระองค์ผู้คนโดยทั่วไปและผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์โดยเฉพาะ ส่วนใหญ่จะสนใจเกี่ยวกับธรรมชาติที่แผ่กระจายไปทั่วขององค์ภควานฺ ดังนั้น อรฺชุน ทรงถามองค์กฺฤษฺณว่าพระองค์ทรงเป็นอยู่ในลักษณะที่แผ่กระจายไปทั่วผ่านทางพลังงานอันหลากหลายของพระองค์ได้อย่างไร เราควรรู้ว่าคำถามนี้ อรฺชุน ทรงถามแทนผู้คนโดยทั่วไป

โศลก 17

kathaṁ vidyām ahaṁ yogiṁs
tvāṁ sadā paricintayan
keṣu keṣu ca bhāveṣu
cintyo ’si bhagavan mayā
กถํ วิทฺยามฺ อหํ โยคึสฺ
ตฺวำ สทา ปริจินฺตยนฺ
เกษุ เกษุ จ ภาเวษุ
จินฺโตฺย ’สิ ภควนฺ มยา
กถมฺ — อย่างไร, วิทฺยามฺ อหมฺ — ข้าจะรู้, โยคินฺ — โอ้ ผู้มีอิทธิฤทธิ์สูงสุด, ตฺวามฺ — พระองค์, สทา — เสมอ, ปริจินฺตยนฺ — ระลึกถึง, เกษุ — ในซึ่ง, เกษุ — ในซึ่ง, — เช่นกัน, ภาเวษุ — ธรรมชาติ, จินฺตฺยห์ อสิ — จำพระองค์ได้, ภควนฺ — โอ้ องค์ภควาน, มยา — โดยข้า

คำแปล

โอ้ กฺฤษฺณ โอ้ ผู้มีอิทธิฤทธิ์สูงสุด ข้าพเจ้าจะระลึกถึงพระองค์ตลอดเวลาได้อย่างไร และจะรู้ถึงพระองค์ได้อย่างไร โอ้ องค์ภควานผู้ทรงมีรูปลักษณ์มากมาย ข้าพเจ้าควรระลึกถึงรูปลักษณ์ใดของพระองค์

คำอธิบาย

ดังที่ได้กล่าวไว้ในบทก่อนหน้านี้ว่าบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงถูกปกคลุมด้วย โยค - มายา ของพระองค์ดวงวิญญาณที่ศิโรราบและสาวกเท่านั้นที่สามารถเห็นพระองค์บัดนี้ อรฺชุน ทรงมั่นใจว่าสหาย กฺฤษฺณ คือองค์ภควานฺแต่ปรารถนาจะรู้ถึงวิธีการโดยทั่วไปที่คนธรรมดาสามารถเข้าใจพระองค์ผู้ทรงแผ่กระจายไปทั่ว คนธรรมดาทั่วไปรวมทั้งเหล่ามารและพวกไม่เชื่อในองค์ภควานฺไม่สามารถรู้ถึงองค์กฺฤษฺณ เพราะว่าพระองค์ทรงได้รับการปกป้องจากพลัง โยค-มายา ของพระองค์ อีกครั้งหนึ่งที่ อรฺชุน ทรงถามคำถามเหล่านี้เพื่อประโยชน์ของพวกเรา สาวกผู้เจริญแล้วไม่ห่วงเฉพาะความเข้าใจของตนเองเท่านั้นแต่ทำไปเพื่อความเข้าใจของมวลมนุษยชาติ ดังนั้นด้วยความเมตตากรุณา อรฺชุน ผู้เป็นสาวก ไวษฺณว ได้เปิดทางเพื่อให้คนธรรมดาสามัญเข้าใจการแผ่กระจายไปทั่วขององค์ภควานฺทรงเรียกองค์กฺฤษฺณ โดยเฉพาะว่า โยคินฺ เพราะว่าศฺรี กฺฤษฺณทรงเป็นเจ้านายของพลัง โยค-มายา ที่สามารถปกปิดและเปิดเผยตัวพระองค์แก่คนธรรมดาทั่วไป บุคคลธรรมดาสามัญที่ไม่มีความรักต่อองค์กฺฤษฺณไม่สามารถระลึกถึงองค์กฺฤษฺณได้ ดังนั้นจึงต้องมีแนวคิดทางวัตถุ อรฺชุน ทรงพิจารณาถึงระดับแห่งความคิดของนักวัตถุนิยมในโลกนี้คำว่า เกษุ เกษุ ภาเวษุ หมายถึงธรรมชาติวัตถุ (คำว่า ภาว หมายความว่า “สิ่งของที่เป็นวัตถุ”) เพราะว่านักวัตถุนิยมไม่สามารถเข้าใจองค์กฺฤษฺณในวิถีทิพย์จึงได้รับการแนะนำให้ทำสมาธิจิตอยู่ที่สิ่งของวัตถุ และพยายามดูว่าองค์กฺฤษฺณทรงปรากฏผ่านผู้แทนต่างๆทางวัตถุได้อย่างไร

โศลก 18

vistareṇātmano yogaṁ
vibhūtiṁ ca janārdana
bhūyaḥ kathaya tṛptir hi
śṛṇvato nāsti me ’mṛtam
วิสฺตเรณาตฺมโน โยคํ
วิภูตึ จ ชนารฺทน
ภูยห์ กถย ตฺฤปฺติรฺ หิ
ศฺฤณฺวโต นาสฺติ เม ’มฺฤตมฺ
วิสฺตเรณ — ในรายละเอียด, อาตฺมนห์ — ของพระองค์, โยคมฺ — พลังอินธิฤทธิ์, วิภูติมฺ — ความมั่งคั่ง, — เช่นกัน, ชน-อรฺทน — โอ้ ผู้สังหารคนไร้ศรัทธาในองค์ภควาน, ภูยห์ — อีกครั้งหนึ่ง, กถย — อธิบาย, ตฺฤปฺติห์ — พึงพอใจ, หิ — แน่นอน, ศฺฤณฺวตห์ — การสดับฟัง, น อสฺติ — ไม่มี, เม — ของข้า, อมฺฤตมฺ — น้ำทิพย์

คำแปล

โอ้ ชนารฺทน ได้โปรดอธิบายพลังทิพย์แห่งความมั่งคั่งของพระองค์อีกครั้งหนึ่งโดยละเอียด ข้าไม่เคยรู้สึกเพียงพอในการสดับฟังเกี่ยวกับพระองค์เพราะเมื่อได้สดับฟังมากยิ่งขึ้น ข้าพเจ้าก็ยิ่งอยากได้รับรสน้ำทิพย์จากคำดำรัสของพระองค์มากยิ่งขึ้น

คำอธิบาย

ข้อความในทำนองเดียวกันนี้ ฤษิ แห่ง ไนมิษารณฺย ซึ่งนำโดย เศานก กล่าวแก่ สูต โคสฺวามี ดังนี้

วยํ ตุ น วิตฺฤปฺยาม
อุตฺตม-โศฺลก-วิกฺรเม
ยจฺ ฉฺฤณฺวตำ รส-ชฺญานำ
สฺวาทุ สฺวาทุ ปเท ปเท
“บุคคลจะไม่มีวันเพียงพอแม้สดับฟังลีลาทิพย์ต่างๆขององค์กฺฤษฺณ ผู้ที่ทรงได้รับการสรรเสริญด้วยบทมนต์อันยอดเยี่ยมอยู่ตลอดเวลา พวกที่เข้าไปในความสัมพันธ์ทิพย์กับองค์กฺฤษฺณจะได้รับรสในการพรรณนาลีลาของพระองค์อยู่ตลอดเวลา” (ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ 1.1.19) ดังนั้น อรฺชุน ทรงสนใจในการสดับฟังเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณโดยเฉพาะที่ว่าพระองค์ทรงเป็นองค์ภควานฺที่แผ่กระจายไปทั่วได้อย่างไร

สำหรับ อมฺฤตมฺ หรือน้ำทิพย์ คำพรรณนาใดๆหรือข้อความใดๆที่เกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณเปรียบเหมือนกับน้ำทิพย์และน้ำทิพย์นี้สำเหนียกได้ด้วยประสบการณ์จากการปฏิบัติ เรื่องราวสมัยปัจจุบัน นวนิยาย และประวัติศาสตร์ ไม่เหมือนกับลีลาทิพย์ขององค์กฺฤษฺณเพราะว่าเราจะรู้สึกเบื่อในการฟังเรื่องราวทางโลกแต่เราไม่มีวันเบื่อที่จะสดับฟังเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณ ด้วยเหตุนี้เท่านั้นที่ประวัติศาสตร์ทั่วทั้งจักรวาลพรั่งพร้อมไปด้วยเรื่องอ้างอิงต่างๆเกี่ยวกับลีลาแห่งอวตารขององค์ภควานฺ ปุราณ เป็นประวัติศาสตร์ในยุคอดีตที่สัมพันธ์กับลีลาของอวตารอันหลากหลายขององค์ภควานฺ ดังนั้นเรื่องราวที่อ่านยังคงความสดใหม่อยู่เสมอแม้จะอ่านซ้ำแล้วซ้ำอีก

โศลก 19

śrī-bhagavān uvāca
hanta te kathayiṣyāmi
divyā hy ātma-vibhūtayaḥ
prādhānyataḥ kuru-śreṣṭha
nāsty anto vistarasya me
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
หนฺต เต กถยิษฺยามิ
ทิวฺยา หฺยฺ อาตฺม-วิภูตยห์
ปฺราธานฺยตห์ กุรุ-เศฺรษฺฐ
นาสฺตฺยฺ อนฺโต วิสฺตรสฺย เม
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัส, หนฺต — ใช่, เต — แด่เธอ, กถยิษฺยามิ — ข้าจะพูด, ทิวฺยาห์ — ทิพย์, หิ — แน่นอน, อาตฺม-วิภูตยห์ — ความมั่งคั่งส่วนตัว, ปฺราธานฺยตห์ — ที่สำคัญๆ, กุรุ-เศฺรษฺฐ — โอ้ ผู้ยอดเยี่ยมแห่งราชวงศ์ กุรุ, น อสฺติ — ไม่มี, อนฺตห์ — จำกัด, วิสฺตรสฺย — จนกระทั่ง, เม — ของข้า

คำแปล

บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัสว่า ตกลงข้าจะบอกเธอเกี่ยวกับปรากฎการณ์อันวิจิตรพิสดารของข้า แต่เฉพาะที่สำคัญๆเท่านั้น โอ้ อรฺชุน เพราะว่าความมั่งคั่งของข้านั้นไม่มีที่สิ้นสุด

คำอธิบาย

เป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าใจความยิ่งใหญ่และความมั่งคั่งขององค์กฺฤษฺณ ประสาทสัมผัสของปัจเจกวิญญาณมีขีดจำกัดจึงไม่เปิดโอกาสให้เข้าใจเรื่องราวทั้งหมดของพระองค์ถึงกระนั้นเหล่าสาวกพยายามเข้าใจองค์กฺฤษฺณไม่ใช่บนหลักการที่ว่าจะสามารถเข้าใจองค์กฺฤษฺณอย่างสมบูรณ์ในช่วงเวลาหนึ่งหรือในระดับหนึ่งของชีวิต แต่เรื่องราวขององค์กฺฤษฺณเป็นที่น่าชื่นชอบมาก ดูเหมือนจะเป็นน้ำทิพย์สำหรับสาวก ดังนั้นสาวกจึงรื่นเริงกับเรื่องราวขององค์กฺฤษฺณในการสนทนาเกี่ยวกับความมั่งคั่งและพลังงานอันหลากหลายขององค์กฺฤษฺณ สาวกผู้บริสุทธิ์จะได้รับความสุขทิพย์ดังนั้นจึงปรารถนาสดับฟังและสนทนาเกี่ยวกับพระองค์องค์กฺฤษฺณทรงรู้ว่าสิ่งมีชีวิตไม่เข้าใจความมั่งคั่งของพระองค์เท่าที่มีอยู่ ดังนั้นพระองค์ทรงตกลงจะกล่าวเฉพาะปรากฏการณ์ที่สำคัญๆเกี่ยวกับพลังงานต่างๆของพระองค์ คำว่า ปฺราธานฺยตห์ (“สำคัญ”) มีความสำคัญเพราะว่าเราสามารถเข้าใจรายละเอียดที่สำคัญไม่กี่อย่างขององค์ภควานฺเท่านั้น เพราะคุณลักษณะของพระองค์นั้นไม่มีที่สิ้นสุดเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าใจทั้งหมดและคำว่า วิภูติ ใช้ในโศลกนี้กล่าวถึงความมั่งคั่งที่พระองค์ทรงควบคุมปรากฏการณ์ทั้งหมด ในพจนานุกรม อมร-โกศ กล่าวไว้ว่า วิภูติ หมายความว่าความมั่งคั่งพิเศษ

ผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์หรือผู้นับถือผีสางเทวดาไม่สามารถเข้าใจความมั่งคั่งพิเศษขององค์ภควานฺ และไม่เข้าใจปรากฏการณ์แห่งพลังงานทิพย์ของพระองค์ทั้งในโลกวัตถุและในโลกทิพย์ พลังงานต่างๆของพระองค์แผ่กระจายไปในปรากฏการณ์อันหลากหลายทุกแห่ง ที่นี้องค์กฺฤษฺณทรงอธิบายว่ามีอะไรบ้างที่บุคคลธรรมดาสามารถสำเหนียกได้โดยตรง ดังนั้นส่วนหนึ่งของพลังงานอันหลากหลายของพระองค์จึงได้อธิบายไว้เช่นนี้

โศลก 20

aham ātmā guḍākeśa
sarva-bhūtāśaya-sthitaḥ
aham ādiś ca madhyaṁ ca
bhūtānām anta eva ca
อหมฺ อาตฺมา คุฑาเกศ
สรฺว-ภูตาศย-สฺถิตห์
อหมฺ อาทิศฺ จ มธฺยํ จ
ภูตานามฺ อนฺต เอว จ
อหมฺ — ข้า, อาตฺมา — ดวงวิญญาณ, คุฑาเกศ — โอ้ อรฺชุน, สรฺว-ภูต — ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด, อาศย-สฺถิตห์ — สถิตภายในหัวใจ, อหมฺ — ข้าเป็น, อาทิห์ — แหล่งกำเนิด, — เช่นกัน, มธฺยมฺ — ช่วงกลาง, — เช่นกัน, ภูตานามฺ — ของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย, อนฺตห์ — ตอนจบ, เอว — แน่นอน, — และ

คำแปล

ข้าคืออภิวิญญาณ โอ้ อรฺชุน ประทับอยู่ภายในหัวใจของมวลชีวิต ข้าคือจุดเริ่มต้น ช่วงกลาง และจุดจบของมวลชีวิต

คำอธิบาย

โศลกนี้ อรฺชุน ทรงถูกเรียกว่า คุฑาเกศ ซึ่งหมายความว่า “ผู้ที่เอาชนะความมืดแห่งการนอน” สำหรับพวกที่นอนหลับอยู่ในความมืดแห่งอวิชชาเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าใจว่า องค์ภควานฺทรงปรากฏพระวรกายหลากหลายวิธีทั้งในโลกทิพย์และโลกวัตถุได้อย่างไร องค์กฺฤษฺณทรงเรียก อรฺชุน เช่นนี้มีความสำคัญเพราะ อรฺชุน ทรงอยู่เหนือความมืดนี้ องค์กฺฤษฺณทรงตกลงที่จะอธิบายถึงความมั่งคั่งอันหลากหลายของพระองค์

ก่อนอื่นองค์กฺฤษฺณทรงให้ข้อมูลกับ อรฺชุน ว่าพระองค์ทรงเป็นดวงวิญญาณของปรากฏการณ์ในจักรวาลทั้งหมด โดยผ่านทางภาคที่แบ่งแยกเบื้องต้นของพระองค์ก่อนการสร้างโลกวัตถุนั้นภาคที่แบ่งแยกอันสมบูรณ์ขององค์ภควานฺทรงรับเอาอวตาร ปุรุษ และจากองค์นี้ทุกสิ่งทุกอย่างจึงเริ่มขึ้น ดังนั้นพระองค์ทรงเป็น อาตฺมา ดวงวิญญาณของ มหตฺ - ตตฺตฺว ธาตุต่างๆของจักรวาล พลังงานวัตถุทั้งหมดไม่ใช่แหล่งกำเนิดของการสร้าง อันที่จริง มหา-วิษฺณุ ทรงเข้าไปใน มหตฺ-ตตฺตฺว พลังงานวัตถุทั้งหมดพระองค์ทรงเป็นดวงวิญญาณ เมื่อ มหา-วิษฺณุ ทรงเข้าไปในจักรวาลต่างๆที่ปรากฏจากนั้นทรงปรากฏเป็นอภิวิญญาณประทับอยู่ในทุกๆชีวิต เราได้มีประสบการณ์ว่าร่างกายส่วนตัวของสิ่งมีชีวิตเป็นอยู่ได้ก็เนื่องมาจากประกายวิญญาณที่ปรากฏอยู่ หากประกายวิญญาณไม่อยู่ร่างกายจะไม่สามารถพัฒนาขึ้นมาได้นอกจากว่าดวงวิญญาณสูงสุดองค์กฺฤษฺณจะเสด็จเข้าไป ดังที่ได้กล่าวไว้ใน สุพาล อุปนิษทฺ ว่า ปฺรกฺฤตฺยฺ-อาทิ-สรฺว-ภูตานฺตรฺ-ยามี สรฺว-เศษี นารายณห์ “บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงปรากฏในฐานะอภิวิญญาณในจักรวาลทั้งหลายที่ปรากฏ”

ปุรุษ-อวตาร ทั้งสามอธิบายไว้ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ และได้อธิบายไว้ใน สาตฺวต-ตนฺตฺร เช่นกัน วิษฺโณสฺ ตุ ตฺรีณิ รูปาณิ ปุรุษาขฺยานฺยฺ อโถ วิทุห์ บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงปรากฏในสามลักษณะ การโณทก-ศายี วิษฺณุ, ครฺโภทก-ศายี วิษฺณุ และ กฺษีโรทก-ศายี วิษฺณุ ในปรากฏการณ์ทางวัตถุนี้ มหา-วิษฺณุ หรือ การโณทก-ศายี วิษฺณุ พฺรหฺม-สํหิตา (5.47) อธิบายว่า ยห์ การณารฺณว-ชเล ภชติ สฺม โยค-นิทฺรามฺ องค์ภควานฺ กฺฤษฺณแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวงทรงบรรทมอยู่ในมหาสมุทรจักรวาลในรูป มหา-วิษฺณุ ฉะนั้นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงเป็นจุดเริ่มต้นของจักรวาลนี้ ทรงเป็นผู้ดำรงรักษาปรากฏการณ์แห่งจักรวาล และทรงเป็นจุดจบของพลังงานทั้งหมด

โศลก 21

ādityānām ahaṁ viṣṇur
jyotiṣāṁ ravir aṁśumān
marīcir marutām asmi
nakṣatrāṇām ahaṁ śaśī
อาทิตฺยานามฺ อหํ วิษฺณุรฺ
โชฺยติษำ รวิรฺ อํศุมานฺ
มรีจิรฺ มรุตามฺ อสฺมิ
นกฺษตฺราณามฺ อหํ ศศี
อาทิตฺยานามฺ — ของ อาทิตฺย, อหมฺ — ข้าเป็น, วิษฺณุห์ — องค์ภควาน, โชฺยติษามฺ — ของดวงประทีปทั้งหลาย, รวิห์ — ดวงอาทิตย์, อํศุ-มานฺ — รัศมี, มรีจิห์มรีจิ, มรุตามฺ — ของ มรุตฺ, อสฺมิ — ข้าเป็น, นกฺษตฺราณามฺ — ของหมู่ดวงดาว, อหมฺ — ข้าเป็น, ศศี — ดวงจันทร์

คำแปล

ในหมู่ อาทิตฺย ข้าคือ วิษฺณุ ในหมู่ดวงประทีปข้าคือดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงเจิดจรัส ในหมู่ มรุตฺ ข้าคือ มรีจิ และในหมู่ดวงดาวข้าคือดวงจันทร์

คำอธิบาย

มีอยู่สิบสอง อาทิตฺย ซึ่งองค์กฺฤษฺณทรงเป็นประธาน ในหมู่ดวงประทีปทั้งหลายที่ระยิบระยับอยู่ในท้องฟ้าดวงอาทิตย์เป็นประธาน และ พฺรหฺม-สํหิตา ยอมรับว่าดวงอาทิตย์เป็นพระเนตรขององค์ภควานฺที่ส่องรัศมี มีลมห้าสิบชนิดที่พัดอยู่ในอวกาศและในหมู่ลมเหล่านี้ มรีจิ พระปฏิมาผู้ควบคุมเป็นผู้แทนขององค์กฺฤษฺณ

ในหมู่ดวงดาวนั้นดวงจันทร์โดดเด่นที่สุดในตอนกลางคืนดังนั้นดวงจันทร์จึงเป็นผู้แทนขององค์กฺฤษฺณ ปรากฏจากโศลกนี้ว่าดวงจันทร์เป็นหนึ่งในหมู่ดวงดาวดังนั้นหมู่ดวงดาวที่ส่องแสงระยิบระยับอยู่ในท้องฟ้าก็ได้รับแสงสะท้อนจากดวงอาทิตย์เช่นกัน ทฤษฎีที่ว่ามีดวงอาทิตย์อยู่หลายดวงในจักรวาลนั้นวรรณกรรมพระเวทไม่ยอมรับ ดวงอาทิตย์เป็นหนึ่งและด้วยแสงสะท้อนของดวงอาทิตย์ทำให้ดวงจันทร์และดวงดาวต่างๆส่องแสงสว่าง ภควัท-คีตา แสดงให้เห็น ที่นี้ว่าดวงจันทร์เป็นหนึ่งในหมู่ดวงดาว แสงระยิบระยับจากดวงดาวต่างๆไม่ใช่ดวงอาทิตย์แต่คล้ายกับดวงจันทร์

โศลก 22

vedānāṁ sāma-vedo ’smi
devānām asmi vāsavaḥ
indriyāṇāṁ manaś cāsmi
bhūtānām asmi cetanā
เวทานำ สาม-เวโท ’สฺมิ
เทวานามฺ อสฺมิ วาสวห์
อินฺทฺริยาณำ มนศฺ จาสฺมิ
ภูตานามฺ อสฺมิ เจตนา
เวทานามฺ — ของคัมภีร์พระเวททั้งหมด, สาม-เวทห์สาม เวท, อสฺมิ — ข้าเป็น, เทวานามฺ — ของเหล่าเทวดาทั้งหลาย, อสฺมิ — ข้าเป็น, วาสวห์ — เจ้าแห่งสวรรค์, อินฺทฺริยาณามฺ — ของประสาทสัมผัสทั้งหมด, มนห์ — จิตใจ, — เช่นกัน, อสฺมิ — ข้าเป็น, ภูตานามฺ — สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย, อสฺมิ — ข้าเป็น, เจตนา — พลังชีวิต

คำแปล

ในบรรดาคัมภีร์พระเวทข้าคือ สาม เวท ในเหล่าเทวดาข้าคือ พระอินทร์ เจ้าแห่งสวรรค์ ในบรรดาประสาทสัมผัสข้าคือ จิตใจ และในบรรดาสิ่งมีชีวิตข้าคือ พลังชีวิต (จิตสำนึก)

คำอธิบาย

ข้อแตกต่างระหว่างวัตถุและวิญญาณคือ วัตถุไม่มีจิตสำนึกเหมือนกับสิ่งมีชีวิต ฉะนั้นจิตสำนึกนี้คือสิ่งสูงสุดและเป็นอมตะ การผสมผสานของวัตถุจะไม่สามารถผลิตจิตสำนึกขึ้นมาได้

โศลก 23

rudrāṇāṁ śaṅkaraś cāsmi
vitteśo yakṣa-rakṣasām
vasūnāṁ pāvakaś cāsmi
meruḥ śikhariṇām aham
รุทฺราณำ ศงฺกรศฺ จาสฺมิ
วิตฺเตโศ ยกฺษ-รกฺษสามฺ
วสูนำ ปาวกศฺ จาสฺมิ
เมรุห์ ศิขริณามฺ อหมฺ
รุทฺราณามฺ — ของ รุทฺร ทั้งหมด, ศงฺกรห์ — พระศิวะ , — เช่นกัน, อสฺมิ — ข้าเป็น, วิตฺต-อีศห์ — ขุนคลังของเหล่าเทวดา, ยกฺษ-รกฺษสามฺ — ของ ยกฺษ และ รากฺษส, วสูนามฺ — ของ วสุ, ปาวกห์ — ไฟ, — เช่นกัน, อสฺมิ — ข้าเป็น, เมรุห์เมรุ, ศิขริณามฺ — ของภูเขาทั้งหลาย, อหมฺ — ข้าเป็น

คำแปล

ในบรรดา รุทฺร ทั้งหลายข้าคือ พระศิวะ ในบรรดา ยกฺษ และ รากฺษส ข้าคือ เจ้าแห่งทรัพย์สมบัติ (กุเวร) ในบรรดา วสุ ข้าคือ ไฟ (อคฺนิ) และในบรรดาภูเขาข้าคือ เมรุ

คำอธิบาย

มี รุทฺร สิบเอ็ดองค์ทั้งหมด ศงฺกร หรือพระศิวะโดดเด่นที่สุดจึงเป็นอวตารองค์ภควานฺซึ่งเป็นผู้ดูแลระดับแห่งอวิชชาในจักรวาล ผู้นำของ ยกฺษ และ รากฺษส คือ กุเวร เจ้าแห่งทรัพย์สมบัติของเหล่าเทวดาเป็นผู้แทนขององค์ภควานฺ เมรุ เป็นภูเขาที่มีชื่อเสียงในความมั่งคั่งทางทรัพยากรธรรมชาติ

โศลก 24

purodhasāṁ ca mukhyaṁ māṁ
viddhi pārtha bṛhaspatim
senānīnām ahaṁ skandaḥ
sarasām asmi sāgaraḥ
ปุโรธสำ จ มุขฺยํ มำ
วิทฺธิ ปารฺถ พฺฤหสฺปติมฺ
เสนานีนามฺ อหํ สฺกนฺทห์
สรสามฺ อสฺมิ สาครห์
ปุโรธสามฺ — ของพระทั้งหมด, — เช่นกัน, มุขฺยมฺ — หัวหน้า, มามฺ — ข้า, วิทฺธิ — เข้าใจ, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, พฺฤหสฺปติมฺพฺฤหสฺปติ, เสนานีนามฺ — ของขุนพลทั้งหลาย, อหมฺ — ข้าเป็น, สฺกนฺทห์การฺตฺติเกย, สรสามฺ — ของแหล่งกำเนิดของน้ำทั้งหลาย, อสฺมิ — ข้าเป็น, สาครห์ — มหาสมุทร

คำแปล

ในบรรดาพระ โอ้ อรฺชุน จงรู้ว่าข้าคือ ผู้นำ พฺฤหสฺปติ ในบรรดาขุนพลข้าคือ การฺตฺติเกย และในบรรดาแผ่นน้ำข้าคือ มหาสมุทร

คำอธิบาย

พระอิทร์หรือ อินฺทฺร ทรงเป็นเทวดาแห่งสรวงสวรรค์จึงได้ชื่อว่าเป็นเจ้าแห่งสวรรค์ ดาวเคราะห์ที่พระองค์ทรงเป็นใหญ่เรียกว่า อินฺทฺรโลก พฺฤหสฺปติ เป็นพระของพระอินทร์ เนื่องจากพระอินทร์ทรงเป็นผู้นำของ กฺษตฺริย พฺฤหสฺปติ จึงเป็นประธานของคณะพระทั้งหมด ขณะที่พระอิทร์ทรงเป็นผู้นำของ กฺษตฺริย ทั้งหมด ในทำนองเดียวกัน สฺกนฺท หรือ การฺตฺติเกย โอรสของพระนาง ปารฺวตี และพระศิวะก็เป็นหัวหน้าของขุนพลในกองทัพทั้งหมด และในบรรดาแผ่นน้ำนั้นมหาสมุทรยิ่งใหญ่ที่สุดจึงเป็นผู้แทนขององค์กฺฤษฺณเหล่านี้เพียงแต่เปรียบเปรยเพื่อให้พอได้เห็นความยิ่งใหญ่ของพระองค์เท่านั้น

โศลก 25

maharṣīṇāṁ bhṛgur ahaṁ
girām asmy ekam akṣaram
yajñānāṁ japa-yajño ’smi
sthāvarāṇāṁ himālayaḥ
มหรฺษีณำ ภฺฤคุรฺ อหํ
คิรามฺ อสฺมฺยฺ เอกมฺ อกฺษรมฺ
ยชฺญานำ ชป-ยชฺโญ ’สฺมิ
สฺถาวราณำ หิมาลยห์
มหา-ฤษีณามฺ — ในหมู่นักบวชผู้ยิ่งใหญ่, ภฺฤคุห์ภฺฤคุ, อหมฺ — ข้าเป็น, คิรามฺ — ของคลื่นเสียง, อสฺมิ — ข้าเป็น, เอกมฺ อกฺษรมฺปฺรณว ยชฺญานามฺ — ของพิธีบูชาต่างๆ, ชป-ยชฺญห์ — การสวดภาวนา, อสฺมิ — ข้าเป็น, สฺถาวราณามฺ — ของสิ่งที่ไม่เคลื่อนที่, หิมาลยห์ — เทือกเขาหิมาลัย

คำแปล

ในบรรดานักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ข้าคือ ภฺฤคุ ในบรรดาคลื่นเสียงข้าคือ เสียงทิพย์ โอํ ในบรรดาพิธีบูชาต่างๆข้าคือ การสวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ (ชป) และในบรรดาสิ่งที่ไม่เคลื่อนที่ข้าคือ หิมาลย (หิมาลัย)

คำอธิบาย

พระพรหมทรงเป็นชีวิตแรกภายในจักรวาลได้ให้กำเนิดบุตรหลายคนเพื่อแพร่พันธ์ในเผ่าพันธุ์อันหลากหลาย ในบรรดาบุตรเหล่านี้ ภฺฤคุ เป็นนักปราชญ์ผู้มีพลังอำนาจมากที่สุด ในบรรดาคลื่นเสียงทิพย์ทั้งหลายนั้น โอํ (โอํ-การ) เป็นผู้แทนขององค์กฺฤษฺณ ในบรรดาพิธีบูชาทั้งหลายนั้นการสวดภาวนา หเร กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ หเร หเร / หเร ราม หเร ราม ราม ราม หเร หเร เป็นผู้แทนที่บริสุทธิ์ที่สุดขององค์กฺฤษฺณ บางครั้งได้มีการแนะนำพิธีบูชาสัตว์แต่ในพิธีบูชาของ หเร กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ นั้นจะไม่มีการเบียดเบียนและเป็นวิธีที่ง่ายและบริสุทธิ์ที่สุด สิ่งใดที่ประเสริฐในโลกคือผู้แทนขององค์กฺฤษฺณ ฉะนั้น หิมาลย (หิมาลัย) เทือกเขาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกก็เป็นผู้แทนของพระองค์ได้กล่าวถึงภูเขาชื่อ เมรุ ในโศลกก่อนหน้านี้แต่บางครั้งภูเขา เมรุ เคลื่อนที่ในขณะที่ภูเขาหิมาลัยไม่เคลื่อนที่ ดังนั้น หิมาลย จึงยิ่งใหญ่กว่า เมรุ

โศลก 26

aśvatthaḥ sarva-vṛkṣāṇāṁ
devarṣīṇāṁ ca nāradaḥ
gandharvāṇāṁ citrarathaḥ
siddhānāṁ kapilo muniḥ
อศฺวตฺถห์ สรฺว-วฺฤกฺษาณำ
เทวรฺษีณำ จ นารทห์
คนฺธรฺวาณำ จิตฺรรถห์
สิทฺธานำ กปิโล มุนิห์
อศฺวตฺถห์ — ต้นไทร, สรฺว-วฺฤกฺษาณามฺ — ของต้นไม้ทั้งหลาย, เทว-ฤษีณามฺ — ของนักปราชญ์ทั้งหลายในหมู่เทวดา, — และ, นารทห์นารท, คนฺธรฺวาณามฺ — ของประชากรแห่งดาวเคราะห์ คนฺธรฺว, จิตฺรรถห์จิตฺรรถ, สิทฺธานามฺ — ของพวกที่มีความสมบูรณ์ทั้งหลาย, กปิลห์ มุนิห์กปิล มุนิ

คำแปล

ในบรรดาต้นไม้ทั้งหลายข้าคือ ต้นไทร และบรรดานักปราชญ์ในหมู่เทวดาข้าคือ นารท ในบรรดา คนฺธรฺว ข้าคือ จิตฺรรถ และในบรรดามนุษย์ผู้สมบูรณ์ข้าคือ นักปราชญ์ กปิล

คำอธิบาย

ต้นไทร (อศฺวตฺถ) เป็นหนึ่งในจำนวนต้นไม้ที่สูงที่สุดและสวยงามมากที่สุด ผู้คนในประเทศอินเดียบ่อยครั้งที่บูชาต้นไทรเสมือนหนึ่งในพิธีทำวัตรประจำวันตอนเช้า ในหมู่เทวดา นารท พิจารณาว่าเป็นสาวกผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในจักรวาลและได้รับการบูชา ดังนั้นท่านจึงเป็นผู้แทนขององค์กฺฤษฺณในฐานะที่เป็นสาวก โลก คนฺธรฺว เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตที่ร้องเพลงได้ไพเราะมาก นักร้องที่ยอดเยี่ยมที่สุดในบรรดานักร้องเหล่านี้คือ จิตฺรรถ ในหมู่สิ่งมีชีวิตที่สมบูรณ์ กปิล บุตรของ เทวหูติ เป็นผู้แทนขององค์กฺฤษฺณพิจารณาว่าเป็นอวตารขององค์กฺฤษฺณ ปรัชญาของท่านได้กล่าวไว้ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ ต่อมามี กปิล อีกรูปหนึ่งที่มีชื่อเสียงแต่ปรัชญาของ กปิล รูปนี้ไม่เชื่อในองค์ภควานฺ ดังนั้นจึงมีข้อแตกต่างอย่างมหาศาลระหว่าง กปิล ทั้งสองรูปนี้

โศลก 27

uccaiḥśravasam aśvānāṁ
viddhi mām amṛtodbhavam
airāvataṁ gajendrāṇāṁ
narāṇāṁ ca narādhipam
อุจฺไจห์ศฺรวสมฺ อศฺวานำ
วิทฺธิ มามฺ อมฺฤโตทฺภวมฺ
ไอราวตํ คเชนฺทฺราณำ
นราณำ จ นราธิปมฺ
อุจฺไจห์ศฺรวสมฺอุจฺไจห์ศฺรวา, อศฺวานามฺ — ในบรรดาม้า, วิทฺธิ — รู้, มามฺ — ข้า, อมฺฤต-อุทฺภวมฺ — ผลิตจากการกวนมหาสมุทร, ไอราวตมฺไอราวต, คช-อินฺทฺราณามฺ — เจ้าแห่งพญาช้างสาร, นราณามฺ — ในหมู่มนุษย์, — และ, นร-อธิปมฺ — พระราชา

คำแปล

ในบรรดาม้ารู้ว่าข้าคือ อุจฺไจห์ศฺรวา กำเนิดออกมาในขณะที่มีการกวนเกษียรสมุทร ในบรรดาพญาช้างสารข้าคือ ไอราวต (ช้างเอราวัณ) และในหมู่มนุษย์ข้าคือ พระราชา

คำอธิบาย

เหล่าเทวดา (สาวก) และเหล่ามาร (อสุร) ครั้งหนึ่งได้มีการกวนเกษียรสมุทร ผลจากการกวนในครั้งนั้นได้ผลิตทั้งน้ำทิพย์และยาพิษ พระศิวะทรงดื่มยาพิษ จากน้ำทิพย์นั้นได้ผลิตหลายชีวิตขึ้นมา ในจำนวนนั้นมีม้า อุจฺไจห์ศฺรวา และมีสัตว์อีกตัวหนึ่งที่ผลิตมาจากน้ำทิพย์นี้คือ พญาช้างชื่อ ไอราวต (ช้างเอราวัณ) เนื่องจากสัตว์สองตัวนี้ผลิตมาจากน้ำทิพย์จึงมีความสำคัญเป็นพิเศษ และทั้งคู่ก็เป็นผู้แทนขององค์กฺฤษฺณ

ในบรรดามนุษย์ กฺษตฺริย คือผู้แทนขององค์กฺฤษฺณเพราะว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้บำรุงรักษาจักรวาล กฺษตฺริย ผู้ได้รับการแต่งตั้งจากคุณสมบัติเทพทรงเป็นผู้บำรุงรักษาราชอาณาจักร กฺษตฺริย เช่น มหาราช ยุธิษฺฐิร มหาราช ปรีกฺษิตฺ และพระราม ทุกพระองค์ทรงเป็น กฺษตฺริย ผู้มีคุณธรรมสูงส่ง ทรงคิดถึงแต่ความอยู่เย็นเป็นสุขของประชากรเสมอ ในวรรณกรรมพระเวทพิจารณาว่าพระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นผู้แทนขององค์ภควานฺ อย่างไรก็ดีในยุคนี้จากการทุจริตในหลักธรรมแห่งศาสนาราชาธิปไตยจึงเสื่อมลงและในที่สุดก็ยกเลิกไป ถึงกระนั้นควรเข้าใจไว้ว่าในอดีตนั้นการอยู่ภายใต้การปกครองของบรรดา กฺษตฺริย ผู้ทรงธรรมประชาชนจะมีความสงบสุขมากกว่า

โศลก 28

āyudhānām ahaṁ vajraṁ
dhenūnām asmi kāma-dhuk
prajanaś cāsmi kandarpaḥ
sarpāṇām asmi vāsukiḥ
อายุธานามฺ อหํ วชฺรํ
เธนูนามฺ อสฺมิ กาม-ธุกฺ
ปฺรชนศฺ จาสฺมิ กนฺทรฺปห์
สรฺปาณามฺ อสฺมิ วาสุกิห์
อายุธานามฺ — ของอาวุธทั้งหลาย, อหมฺ — ข้าเป็น, วชฺรมฺ — สายฟ้า, เธนูนามฺ — ของฝูงวัว, อสฺมิ — ข้าเป็น, กาม-ธุกฺ — วัว สุรภิ, ปฺรชนห์ — ต้นเหตุที่ก่อให้เกิดบุตรธิดา, — และ, อสฺมิ — ข้าเป็น, กนฺทรฺปห์ — กามเทพ, สรฺปาณามฺ — ของพวกงู, อสฺมิ — ข้าเป็น, วาสุกิห์ — วา-สุคิ

คำแปล

ในบรรดาอาวุธข้าคือ สายฟ้า ในหมู่ฝูงโคข้าคือ สุรภิ ในบรรดาต้นเหตุแห่งการสืบพันธุ์ข้าคือ กนฺทรฺป เทพเจ้าแห่งความรัก และในบรรดางูข้าคือ วาสุกิ

คำอธิบาย

แน่นอนว่าสายฟ้านั้นเป็นอาวุธสุดยอดจึงเป็นผู้แทนพลังอำนาจขององค์กฺฤษฺณในท้องฟ้าทิพย์ กฺฤษฺณโลก มีฝูงโคซึ่งรีดนมได้ทุกเวลา โคเหล่านั้นให้นมมากมายตามที่เราปรารถนาเป็นที่แน่นอนว่าไม่มีโคเช่นนี้ในโลกวัตถุ ได้กล่าวถึงโคเหล่านี้ใน กฺฤษฺณโลก องค์ภควานฺทรงเลี้ยงโคเหล่านี้ไว้มากมายชื่อว่า สุรภิ พระองค์ทรงเป็นผู้พาฝูงโค สุรภิ ไปเลี้ยง กนฺทรฺป คือความต้องการทางเพศเพื่อให้กำเนิดบุตรธิดาที่ดี ฉะนั้น กนฺทรฺป จึงเป็นผู้แทนขององค์กฺฤษฺณ บางครั้งเพศสัมพันธ์กระทำไปเพื่อสนองประสาทสัมผัสเท่านั้นเช่นนี้ไม่ใช่ผู้แทนขององค์กฺฤษฺณ แต่เพศสัมพันธ์เพื่อให้กำเนิดบุตรธิดาที่ดีเรียกว่า กนฺทรฺป จึงเป็นผู้แทนขององค์กฺฤษฺณ

โศลก 29

anantaś cāsmi nāgānāṁ
varuṇo yādasām aham
pitṝṇām aryamā cāsmi
yamaḥ saṁyamatām aham
อนนฺตศฺ จาสฺมิ นาคานำ
วรุโณ ยาทสามฺ อหมฺ
ปิตฺฤๅณามฺ อรฺยมา จาสฺมิ
ยมห์ สํยมตามฺ อหมฺ
อนนฺตห์อนนฺต, — เช่นกัน, อสฺมิ — ข้าเป็น, นาคานามฺ — ของงูหลายหัว, วรุณห์ — เทพผู้ควบคุมน้ำ, ยาทสามฺ — ของผู้อาศัยในน้ำทั้งหมด, อหมฺ — ข้าเป็น, ปิตฺฤๅณามฺ — ของบรรพบุรุษ, อรฺยมาอรฺยมา, — เช่นกัน, อสฺมิ — ข้าเป็น, ยมห์ — ผู้ควบคุมความตาย, สํยมตามฺ — ของผู้บริหารทั้งหลาย, อหมฺ — ข้าเป็น

คำแปล

ในบรรดาพยาญานาคหลายหัวข้าคือ อนนฺต ในบรรดาผู้อาศัยในน้ำข้าคือ วรุณ ในบรรดาบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วข้าคือ อรฺยมา และในบรรดาผู้รักษากฎหมายข้าคือ ยม เจ้าแห่งความตาย

คำอธิบาย

ในจำพวกพยาญานาคหลายหัวนั้น อนนฺต ยิ่งใหญ่ที่สุด เหมือนกับเทพ วรุณ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาผู้อาศัยอยู่ในน้ำ ทั้งคู่เป็นผู้แทนขององค์กฺฤษฺณ บรรพบุรุษมีดาวเคราะห์เช่นกันชื่อ ปิตา ซึ่งควบคุมโดย อรฺยมา ผู้แทนขององค์กฺฤษฺณมีสิ่งมีชีวิตมากมายที่ลงโทษคนสารเลว ในบรรดาสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ ยม เป็นหัวหน้า ยม ประทับอยู่ที่ดาวเคราะห์ใกล้ๆกับโลกใบนี้ หลังจากตายไปพวกที่มีบาปมากจะถูกส่งไปที่นั่นและ ยม (ยมบาล จะจัดการลงโทษพวกเขาแตกต่างกันไป

โศลก 30

prahlādaś cāsmi daityānāṁ
kālaḥ kalayatām aham
mṛgāṇāṁ ca mṛgendro ’haṁ
vainateyaś ca pakṣiṇām
ปฺรหฺลาทศฺ จาสฺมิ ไทตฺยานำ
กาลห์ กลยตามฺ อหมฺ
มฺฤคาณำ จ มฺฤเคนฺโทฺร ’หํ
ไวนเตยศฺ จ ปกฺษิณามฺ
ปฺรหฺลาทห์ปฺรหฺลาท, — เช่นกัน, อสฺมิ — ข้าเป็น, ไทตฺยานามฺ — ของเหล่ามาร, กาลห์ — เวลา, กลยตามฺ — ของผู้ปราม, อหมฺ — ข้าเป็น, มฺฤคาณามฺ — ของหมู่สัตว์, — และ, มฺฤค-อินฺทฺรห์ — สิงโต, อหมฺ — ข้าเป็น, ไวนเตยห์ครุฑ, — เช่นกัน, ปกฺษิณามฺ — ของหมู่นก

คำแปล

ในหมู่มาร ไทตฺย ข้าคือ ปฺรหฺลาท ผู้อุทิศตนเสียสละ ในหมู่ผู้ปรามให้เชื่องช้าคือ กาลเวลา ในหมู่สัตว์ข้าคือ พญาราชสีห์ และในหมู่นกข้าคือ ครุฑ (พญาครุฑ)

คำอธิบาย

ทิติ และ อทิติ เป็นพี่สาวและน้องสาว ลูกๆของ อทิติ เรียกว่า อาทิตฺย และลูกๆของ ทิติ เรียกว่า ไทตฺย อาทิตฺย ทั้งหมดเป็นสาวกขององค์ภควานฺ และ ไทตฺย ทั้งหมดเป็นผู้ไม่เชื่อในองค์ภควานฺ ถึงแม้ ปฺรหฺลาท เกิดในครอบครัว ไทตฺย แต่เป็นสาวกผู้ยิ่งใหญ่ตั้งแต่ในวัยเด็ก เนื่องจากการอุทิศตนเสียสละรับใช้และธรรมชาติที่บริสุทธิ์จึงพิจารณาว่าเป็นผู้แทนขององค์กฺฤษฺณ

มีหลักในปรามมากมายแต่กาลเวลาจะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างสึกหรอหรือเสื่อมลงในจักรวาลวัตถุ ดังนั้นจึงเป็นผู้แทนขององค์กฺฤษฺณ ในบรรดาสัตว์จำนวนมากมายสิงโตมีอำนาจและดุร้ายที่สุด และในบรรดานกเป็นล้านๆนั้นพวก ครุฑ หรือพญาครุฑ ผู้เป็นพาหนะของพระวิษฺณุนั้นยิ่งใหญ่ที่สุด

โศลก 31

pavanaḥ pavatām asmi
rāmaḥ śastra-bhṛtām aham
jhaṣāṇāṁ makaraś cāsmi
srotasām asmi jāhnavī
ปวนห์ ปวตามฺ อสฺมิ
รามห์ ศสฺตฺร-ภฺฤตามฺ อหมฺ
ฌษาณำ มกรศฺ จาสฺมิ
โสฺรตสามฺ อสฺมิ ชาหฺนวี
ปวนห์ — ลม, ปวตามฺ — ของสิ่งที่ทำให้บริสุทธิ์ทั้งหลาย, อสฺมิ — ข้าเป็น, รามห์ — พระราม, ศสฺตฺร-ภฺฤตามฺ — ของบรรดาผู้ถืออาวุธ, อหมฺ — ข้าเป็น, ฌษาณามฺ — ของปลาทั้งหลาย, มกรห์ — ปลาฉลาม, — เช่นกัน, อสฺมิ — ข้าเป็น, โสฺรตสามฺ — ของบรรดาแม่น้ำที่ไหลผ่าน, อสฺมิ — ข้าเป็น, ชาหฺนวี — แม่น้ำคงคา

คำแปล

ในบรรดาสิ่งที่ทำให้บริสุทธิ์ข้าคือ ลม ในบรรดาผู้ปล่อยอาวุธข้าคือ พระราม ในบรรดาปลาข้าคือ ปลาฉลาม และในบรรดาแม่น้ำที่ไหลผ่านข้าคือ แม่น้ำคงคา

คำอธิบาย

ในบรรดาสัตว์น้ำทั้งหลายปลาฉลามเป็นหนึ่งในสัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดและแน่นอนว่าเป็นอันตรายที่สุดสำหรับมนุษย์ ดังนั้นปลาฉลามจึงเป็นผู้แทนขององค์กฺฤษฺณ

โศลก 32

sargāṇām ādir antaś ca
madhyaṁ caivāham arjuna
adhyātma-vidyā vidyānāṁ
vādaḥ pravadatām aham
สรฺคาณามฺ อาทิรฺ อนฺตศฺ จ
มธฺยํ ไจวาหมฺ อรฺชุน
อธฺยาตฺม-วิทฺยา วิทฺยานำ
วาทห์ ปฺรวทตามฺ อหมฺ
สรฺคาณามฺ — ของการสร้างทั้งหลาย, อาทิห์ — เริ่มต้น, อนฺตห์ — จบ, — และ, มธฺยมฺ — ตรงกลาง, — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, อหมฺ — ข้าเป็น, อรฺชุน — โอ้ อรฺชุน, อธฺยาตฺม-วิทฺยา — ความรู้ทิพย์, วิทฺยานามฺ — ของการศึกษาทั้งหลาย, วาทห์ — บทสรุปโดยธรรมชาติ, ปฺรวทตามฺ — ของข้อถกเถียง, อหมฺ — ข้าเป็น

คำแปล

ในการสร้างทั้งหมดข้าคือจุดเริ่มต้น ช่วงกลาง และจุดจบ โอ้ อรฺชุน ในบรรดาศาสตร์ทั้งหลายข้าคือ ศาสตร์ทิพย์แห่งชีวิต และในหมู่นักตรรกวิทยาข้าคือ ข้อสรุปแห่งความจริง

คำอธิบาย

ในปรากฏการณ์แห่งการสร้างนั้นการสร้างครั้งแรกคือการสร้างธาตุวัตถุทั้งหมดดังที่ได้อธิบายไว้ก่อนหน้านี้ ปรากฏการณ์ในจักรวาล มหา-วิษฺณุ, ครฺโภทก-ศายี วิษฺณุ และ กฺษีโรทก-ศายี วิษฺณุ ทรงเป็นผู้สร้างและควบคุม จากนั้นพระศิวะทรงเป็นผู้ทำลาย พระพรหมทรงเป็นผู้สร้างระดับที่สอง ผู้แทนในการสร้าง การอนุรักษ์ และการทำลายทั้งหลายเหล่านี้เป็นอวตารในคุณสมบัติทางวัตถุขององค์ภควานฺ ดังนั้นพระองค์ทรงเป็นจุดเริ่มต้น ช่วงกลาง และจุดจบของการสร้างทั้งหมด

สำหรับการศึกษาชั้นสูงมีหนังสือแห่งความรู้มากมาย เช่น พระเวททั้งสี่เล่ม และภาคผนวกอีกหกเล่ม เวทานฺต-สูตฺร หนังสือตรรกวิทยา หนังสือศาสนา และ ปุราณ ดังนั้นทั้งหมดรวมกันเป็นสิบสี่ส่วนของหนังสือแห่งการศึกษา ในบรรดาหนังสือเหล่านี้หนังสือที่เสนอ อธฺยาตฺม-วิทฺยา หรือความรู้ทิพย์โดยเฉพาะคือ เวทานฺต-สูตฺร เป็นผู้แทนขององค์กฺฤษฺณ

ในหมู่นักตรรกวิทยามีการถกเถียงกันต่างๆนานา มีการสนับสนุนข้อโต้เถียงของตนเองด้วยพยานหลักฐานละยังมีการสนับสนุนฝ่ายตรงข้ามด้วยเรียกว่า ชลฺป หากพยายามเอาชนะคู่ต่อสู้เรียกว่า วิตณฺฑา แต่ข้อสรุปที่แท้จริงเรียก วาท ข้อสรุปแห่งความจริงนี้เป็นผู้แทนขององค์กฺฤษฺณ

โศลก 33

akṣarāṇām a-kāro ’smi
dvandvaḥ sāmāsikasya ca
aham evākṣayaḥ kālo
dhātāhaṁ viśvato-mukhaḥ
อกฺษราณามฺ อ-กาโร ’สฺมิ
ทฺวนฺทฺวห์ สามาสิกสฺย จ
อหมฺ เอวากฺษยห์ กาโล
ธาตาหํ วิศฺวโต-มุขห์
อกฺษราณามฺ — ของตัวอักษร, อ-การห์ — ตัวอักษรแรก, อสฺมิ — ข้าเป็น, ทฺวนฺทฺวห์ — คู่, สามาสิกสฺย — ของผสม, — และ, อหมฺ — ข้าเป็น, เอว — แน่นอน, อกฺษยห์ — อมตะ, กาลห์ — กาลเวลา, ธาตา — ผู้สร้าง, อหมฺ — ข้าเป็น, วิศฺวตห์-มุขห์ — พระพรหม

คำแปล

ในบรรดาตัวอักษรข้าคือ อักษร ในบรรดาคำผสมข้าคือ คำผสมคู่ ข้าคือ กาลเวลาที่ไม่มีวันสิ้นสุดด้วยเช่นกัน และในบรรดาผู้สร้างข้าคือ พระพรหม

คำอธิบาย

อ-การ อักษรตัวแรกในภาษาสันสกฤตเป็นจุดเริ่มต้นของวรรณกรรมพระเวท ปราศจาก อ-การ ไม่มีอะไรทำเสียงขึ้นมาได้ ฉะนั้นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของเสียงในภาษาสันสกฤตมีคำผสมมากมายเช่นกันซึ่งคำผสมคู่ เช่น ราม-กฺฤษฺณ เรียกว่า ทฺวนฺทฺว ในคำผสมนี้คำว่า ราม และ กฺฤษฺณ มีรูปเดียวกันดังนั้นคำผสมจึงเรียกว่าคู่

ในบรรดานักสังหารทั้งหลาย กาลเวลานั้นสูงสุดเพราะว่ากาลเวลาจะสังหารทุกสิ่งทุกอย่าง กาลเวลาเป็นผู้แทนขององค์กฺฤษฺณเพราะว่าตามกาลเวลาจะมีไฟบัลลัยกัลป์ และทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกทำลายลง

ในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้สร้างพระพรหมสี่เศียรทรงเป็นผู้นำ ฉะนั้นพระพรหมจึงทรงเป็นผู้แทนขององค์ภควานฺ กฺฤษฺณ

โศลก 34

mṛtyuḥ sarva-haraś cāham
udbhavaś ca bhaviṣyatām
kīrtiḥ śrīr vāk ca nārīṇāṁ
smṛtir medhā dhṛtiḥ kṣamā
มฺฤตฺยุห์ สรฺว-หรศฺ จาหมฺ
อุทฺภวศฺ จ ภวิษฺยตามฺ
กีรฺติห์ ศฺรีรฺ วากฺ จ นารีณำ
สฺมฺฤติรฺ เมธา ธฺฤติห์ กฺษมา
มฺฤตฺยุห์ — ความตาย, สรฺว-หรห์ — เผาผลาญทั้งหมด, — เช่นกัน, อหมฺ — ข้าเป็น, อุทฺภวห์ — การให้กำเนิด, — เช่นกัน, ภวิษฺยตามฺ — ของปรากฏการณ์ในอนาคต, กีรฺติห์ — ชื่อเสียง, ศฺรีห์ — ความมั่งคั่งหรือความสวยงาม, วากฺ — การพูดดี, — เช่นกัน, นารีณามฺ — ของสตรี, สฺมฺฤติห์ — ความจำ, เมธา — ปัญญา, ธฺฤติห์ — ความมั่งคง, กฺษมา — ความอดทน

คำแปล

ข้าคือความตายที่สังหารทุกสิ่งทุกอย่าง ข้าคือหลักแห่งการให้กำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นไป ในบรรดาสตรีข้าคือ ชื่อเสียง โชคลาภ คำพูดที่ดี ความจำ ปัญญา ความมั่นคง และความอดทน

คำอธิบาย

ทันทีที่มนุษย์เกิดมาเขากำลังตายลงทุกๆนาที ฉะนั้นความตายกำลังกลืนกินทุกชีวิตอยู่ทุกขณะ จุดสุดท้ายจึงเรียกว่าความตาย และความตายนั้นคือองค์กฺฤษฺณ สำหรับการพัฒนาในอนาคตนั้นสิ่งมีชีวิตทั้งหมดต้องผ่านการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานหกขั้นตอน คือ มีการเกิด การเจริญเติบโต การคงอยู่สักพักหนึ่ง การสืบพันธุ์ การหดตัวลง และในที่สุดก็สูญสลายไป (การตาย) ในบรรดาการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สิ่งแรกคือการคลอดออกมาจากครรภ์และนั่นคือองค์กฺฤษฺณ การให้กำเนิดคือจุดเริ่มต้นของกิจกรรมทั้งหมดในอนาคต

ความมั่งคั่งทั้งเจ็ดประการที่กล่าวไว้คือ ชื่อเสียง โชคลาภ การพูดดี ความจำ ปัญญา ความมั่นคง และความอดทนนั้นพิจารณาว่าเป็นสตรี หากผู้ใดเป็นเจ้าของทั้งหมดนี้หรือเป็นเจ้าของบางส่วนผู้นั้นจะได้รับการสรรเสริญ หากผู้ใดมีชื่อเสียงว่าเป็นผู้มีคุณธรรมจะทำให้เขาได้รับการสรรเสริญ สันสกฤตเป็นภาษาที่สมบูรณ์ดังนั้นจึงได้รับการสรรเสริญเป็นอย่างมาก หากหลังจากการศึกษาแล้วและสามารถจำเรื่องราวได้เขาได้รับพรสวรรค์ที่มีความจำดีหรือ สฺมฺฤติ ไม่ใช่เพียงแต่สามารถอ่านหนังสือหลายๆเล่มและหลายๆเรื่องเท่านั้น แต่ยังสามารถเข้าใจและนำไปใช้ได้เมื่อถึงคราวจำเป็นเรียกว่าปัญญา (เมธา) ซึ่งเป็นความมั่งคั่งอีกประการหนึ่ง ความสามารถในการเอาชนะความไม่แน่นอนนั้นเรียกว่าความมั่นคงหรือความแน่วแน่ (ธฺฤติ) เมื่อผู้ใดมีคุณสมบัติโดยสมบูรณ์แต่ยังถ่อมตนและสุภาพ และเมื่อสามารถรักษาดุลยภาพของตนเองทั้งในความโศกเศร้าและความปลื้มปีติสุขเขามีความมั่งคั่งที่เรียกว่าความอดทน (กฺษมา)

โศลก 35

bṛhat-sāma tathā sāmnāṁ
gāyatrī chandasām aham
māsānāṁ mārga-śīrṣo ’ham
ṛtūnāṁ kusumākaraḥ
พฺฤหตฺ-สาม ตถา สามฺนำ
คายตฺรี ฉนฺทสามฺ อหมฺ
มาสานำ มารฺค-ศีรฺโษ ’หมฺ
ฤตูนำ กุสุมากรห์
พฺฤหตฺ-สามพฺฤหตฺ-สาม, ตถา — เช่นกัน, สามฺนามฺ — ของบทเพลงสามเวท, คายตฺรี — บทมนต์ คายตฺรี, ฉนฺทสามฺ — ของบทกวีทั้งหลาย, อหมฺ — ข้าเป็น, มาสานามฺ — ของเดือน, มารฺค-ศีรฺษห์ — เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม, อหมฺ — ข้าเป็น, ฤตูนามฺ — ของฤดูทั้งหลาย, กุสุม-อากรห์ — ฤดูใบไม้ผลิ

คำแปล

ในบรรดาบทมนต์ใน สาม เวท ข้าคือ พฺฤหตฺ - สาม และในบรรดาบทกวีข้าคือ คายตฺรี ในบรรดาเดือนข้าคือ มารฺคศีรฺษ (พฤศจิกายน-ธันวาคม) และในบรรดาฤดูข้าคือ ฤดูใบไม้ผลิ

คำอธิบาย

องค์ภควานฺทรงอธิบายแล้วว่าในบรรดาพระเวททั้งหมดพระองค์คือ สาม เวท สาม เวท มีความมั่งคั่งเกี่ยวกับบทเพลงอันไพเราะเพราะพริ้งที่เทวดาต่างบรรเลง หนึ่งในบทเพลงเหล่านั้นคือ พฺฤหตฺ-สาม ซึ่งมีทำนองไพเราะมากและจะร้องในเวลาเที่ยงคืน

ในภาษาสันสกฤตมีลักษณะบังคับแน่นอนที่บัญญัติบทกวี สัมผัส และวรรคตอน ไม่ใช่เขียนตามอำเภอใจเหมือนกับบทกวีสมัยปัจจุบันส่วนมากทำกัน ในบรรดาบัญญัติบทกวี คายตฺรี มนฺตฺร ซึ่ง พฺราหฺมณ ผู้มีคุณสมบัติสวดภาวนากันนั้นโดดเด่นที่สุด คายตฺรี มนฺตฺร ได้กล่าวไว้ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ เพราะว่า คายตฺรี มนฺตฺร หมายไว้เพื่อความรู้แจ้งแห่งองค์ภควานฺโดยเฉพาะจึงเป็นผู้แทนขององค์ภควานฺ มนฺตฺร นี้มีไว้สำหรับพวกที่มีความเจริญก้าวหน้าในวิถีทิพย์ เมื่อประสบความสำเร็จในการสวดภาวนา คายตฺรี มนฺตฺร จะสามารถบรรลุถึงสถานภาพทิพย์แห่งองค์ภควานฺก่อนอื่นเขาต้องมีคุณสมบัติของบุคคลผู้สถิตอยู่อย่างสมบูรณ์คือ อยู่ในคุณสมบัติแห่งความดีตามกฎแห่งธรรมชาติวัตถุเพื่อสวดภาวนา คายตฺรี มนฺตฺร คายตฺรี มนฺตฺร มีความสำคัญมากในวัฒนธรรมพระเวทและพิจารณาว่าเป็นเสียงอวตารของ พฺรหฺมนฺ พระพรหมทรงเป็นอุปัชฌาย์ และ คายตฺรี มนฺตฺร ถูกส่งลงมาจากพระพรหมในสาย ปรมฺปรา

เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมพิจารณาว่าเป็นเดือนที่ดีที่สุดเพราะว่าในประเทศอินเดียเป็นฤดูเก็บเกี่ยวทุกคนมีความสุขมาก ฤดูใบไม้ผลินั้นเป็นฤดูที่คนชอบกันมากอย่างแน่นอนเพราะว่าไม่ร้อนและไม่หนาวจนเกินไป ทั้งดอกไม้และต้นไม้ก็เบ่งบานอย่างสมบูรณ์ ในฤดูใบไม้ผลิมีพิธีหลายพิธีที่ระลึกถึงลีลาขององค์กฺฤษฺณ ดังนั้นจึงพิจารณาว่าฤดูนี้เป็นฤดูที่รื่นเริงที่สุดและเป็นผู้แทนขององค์ภควานฺ ศฺรี กฺฤษฺณ

โศลก 36

dyūtaṁ chalayatām asmi
tejas tejasvinām aham
jayo ’smi vyavasāyo ’smi
sattvaṁ sattvavatām aham
ทฺยูตํ ฉลยตามฺ อสฺมิ
เตชสฺ เตชสฺวินามฺ อหมฺ
ชโย ’สฺมิ วฺยวสาโย ’สฺมิ
สตฺตฺวํ สตฺตฺววตามฺ อหมฺ
ทฺยูตมฺ — การพนัน, ฉลยตามฺ — ในบรรดากลโกงทั้งหมด, อสฺมิ — ข้าเป็น, เตชห์ — วิเศษงดงาม, เตชสฺวินามฺ — ของทุกสิ่งที่งดงาม, อหมฺ — ข้าเป็น, ชยห์ — ชัยชนะ, อสฺมิ — ข้าเป็น, วฺยวสายห์ — เสี่ยงโชคหรือผจญภัย, อสฺมิ — ข้าเป็น, สตฺตฺวมฺ — พลัง, สตฺตฺว-วตามฺ — ของผู้แข็งแรง, อหมฺ — ข้าเป็น

คำแปล

ข้าคือการพนันแห่งกลโกงด้วยเช่นกัน และในบรรดาความสวยงามข้าคือ ความวิเศษงดงาม ข้าคือชัยชนะ ข้าคือการผจญภัย และข้าคือ พลังของคนแข็งแรง

คำอธิบาย

มีคนโกงมากมายหลายประเภททั่วจักรวาลทั้งหมด ในบรรดาวิธีการโกงทั้งหลายการพนันถือว่าสุดยอด ดังนั้นจึงเป็นผู้แทนขององค์กฺฤษฺณในฐานะที่เป็นองค์ภควานฺ องค์กฺฤษฺณทรงสามารถหลอกลวงได้เก่งกว่าคนธรรมดาสามัญ ในเรื่องการหลอกลวงนั้นหากองค์กฺฤษฺณทรงเลือกที่จะหลอกลวงใครจะไม่มีผู้ใดทำได้เกินกว่าพระองค์ความยิ่งใหญ่ของพระองค์ไม่เพียงด้านเดียวเท่านั้นแต่เป็นไปทุกๆด้าน

ในบรรดาชัยชนะทั้งหลายพระองค์คือผู้มีชัยชนะ พระองค์คือความวิเศษงดงามของสิ่งที่วิเศษงดงาม ในเรื่องของธุรกิจและอุตสาหกรรมพระองค์ทรงยอดเยี่ยมที่สุดทั้งในธุรกิจและอุตสาหกรรม ในบรรดาการผจญภัยพระองค์ทรงเป็นสุดยอดของนักผจญภัย และในหมู่ผู้แข็งแรงพระองค์คือผู้ที่มีพลังสูงสุด เมื่อองค์กฺฤษฺณทรงปรากฏอยู่บนโลกไม่มีผู้ใดเกินพระองค์ในเรื่องของพละกำลัง แม้ในขณะที่เป็นเด็กพระองค์ทรงยกภูเขา โควรฺธน ไม่มีผู้ใดจะทำได้เกินกว่าพระองค์ในเรื่องการโกง ไม่มีผู้ใดดีกว่าพระองค์ในเรื่องของความสง่างาม ไม่มีผู้ใดเก่งเกินพระองค์ในเรื่องของชัยชนะ ไม่มีผู้ใดเก่งเกินพระองค์ในเรื่องของธุรกิจ และไม่มีผู้ใดสามารถเก่งเกินกว่าพระองค์ในเรื่องพละกำลัง

โศลก 37

vṛṣṇīnāṁ vāsudevo ’smi
pāṇḍavānāṁ dhanañ-jayaḥ
munīnām apy ahaṁ vyāsaḥ
kavīnām uśanā kaviḥ
วฺฤษฺณีนำ วาสุเทโว ’สฺมิ
ปาณฺฑวานำ ธนญฺ-ชยห์
มุนีนามฺ อปฺยฺ อหํ วฺยาสห์
กวีนามฺ อุศนา กวิห์
วฺฤษฺณีนามฺ — ของผู้สืบสกุล วฺฤษฺณิ, วาสุเทวห์กฺฤษฺณ ที่ ทฺวารกา, อสฺมิ — ข้าเป็น, ปาณฺฑวานามฺ — ของ ปาณฺฑว, ธนมฺ-ชยห์อรฺชุน มุนีนามฺ — ของเหล่านักปราชญ์, อปิ — เช่นกัน, อหมฺ — ข้าเป็น, วฺยาสห์วฺยาส ผู้รวบรวมวรรณกรรมพระเวททั้งหมด, กวีนามฺ — ของนักคิดผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย, อุศนาอุศนา, กวิห์ — นักคิด

คำแปล

ในบรรดาผู้สืบราชวงศ์ วฺฤษฺณิ ข้าคือ วาสุเทว และในหมู่ ปาณฺฑว ข้าคือ อรฺชุน ในบรรดานักปราชญ์ข้าคือ วฺยาส และในหมู่นักคิดผู้ยิ่งใหญ่ข้าคือ อุศนา

คำอธิบาย

องค์กฺฤษฺณทรงเป็น ภควานฺ องค์แรกและ วิทฺยาภูษณ ทรงเป็นภาคที่แบ่งแยกจากองค์กฺฤษฺณโดยตรง ทั้งองค์กฺฤษฺณ และ วิทฺยาภูษณ ทรงปรากฏเป็นบุตรของ วสุเทว ดังนั้นทั้งคู่อาจถูกเรียกว่า วาสุเทว จากอีกมุมมองหนึ่ง เนื่องจากองค์กฺฤษฺณทรงไม่เคยออกจาก วฺฤนฺทาวน รูปลักษณ์ทั้งหลายขององค์กฺฤษฺณที่ทรงปรากฏที่อื่นเป็นภาคแบ่งแยกของพระองค์วาสุเทว ทรงเป็นภาคที่แบ่งแยกจากองค์กฺฤษฺณโดยตรงดังนั้น วาสุเทว ไม่ได้แตกต่างไปจากองค์กฺฤษฺณ เข้าใจว่า วาสุเทว ที่กล่าวถึงใน ภควัท-คีตา โศลกนี้คือ วิทฺยาภูษณ หรือ พลราม เพราะว่าพระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดเดิมแท้ของอวตารทั้งหลาย ดังนั้นพระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของ วาสุเทว แต่ผู้เดียว ภาคที่แบ่งแยกจากองค์ภควานฺโดยตรงเรียกว่า สฺวำศ (ภาคที่แบ่งแยกส่วนพระองค์) และยังมีภาคที่แบ่งแยกเรียกว่า วิภินฺนำศ (ภาคแบ่งแยกที่แยกออกไป)

ในบรรดาโอรสของ ปาณฺฑุ นั้น อรฺชุน ทรงมีชื่อเสียง ในนาม ธนญฺชย และเป็นผู้ที่ดีที่สุดในหมู่มนุษย์ ดังนั้นจึงเป็นผู้แทนขององค์กฺฤษฺณในหมู่ มุนิ หรือผู้คงแก่เรียนเชี่ยวชาญในความรู้พระเวท วฺยาส ยิ่งใหญ่ที่สุดเนื่องจากทรงอธิบายความรู้พระเวทในหลายวิธีเพื่อให้คนธรรมดาสามัญส่วนใหญ่ใน กลิ ยุคนี้สามารถเข้าใจได้ และเป็นที่ทราบกันว่า วฺยาส เป็นอวตารขององค์กฺฤษฺณ ดังนั้น วฺยาส เป็นผู้แทนองค์กฺฤษฺณ กวิ คือพวกที่สามารถคิดได้ทะลุปรุโปร่งในทุกๆเรื่อง ในบรรดา กวิ อุศนา ศุกฺราจารฺย เป็นพระอาจารย์ทิพย์ของเหล่ามาร ท่านเป็นผู้ที่มีความเฉลียวฉลาดมากและเป็นนักการเมืองที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล จึงเป็นผู้แทนอีกท่านหนึ่งแห่งความมั่งคั่งขององค์กฺฤษฺณ

โศลก 38

daṇḍo damayatām asmi
nītir asmi jigīṣatām
maunaṁ caivāsmi guhyānāṁ
jñānaṁ jñānavatām aham
ทณฺโฑ ทมยตามฺ อสฺมิ
นีติรฺ อสฺมิ ชิคีษตามฺ
เมานํ ไจวาสฺมิ คุหฺยานำ
ชฺญานํ ชฺญานวตามฺ อหมฺ
ทณฺฑห์ — การลงโทษ, ทมยตามฺ — ในวิธีการปราบทั้งหลาย, อสฺมิ — ข้าเป็น, นีติห์ — ศีลธรรม, อสฺมิ — ข้าเป็น, ชิคีษตามฺ — ของพวกที่แสวงหาชัยชนะ, เมานมฺ — เงียบ, — และ, เอว — เช่นกัน, อสฺมิ — ข้าเป็น, คุหฺยานามฺ — ของบรรดาความลับ, ชฺญานมฺ — ความรู้, ชฺญาน-วตามฺ — ของคนมีปัญญา, อหมฺ — ข้าเป็น

คำแปล

ในบรรดาวิธีการปราบผู้ทำผิดกฎหมายทั้งหลายข้าคือ การลงโทษ และในบรรดาผู้แสวงหาชัยชนะข้าคือ หลักศีลธรรม ในบรรดาสิ่งที่เป็นความลับข้าคือ ความเงียบสงบ และในบรรดาคนฉลาดข้าคือ ปัญญา

คำอธิบาย

มีผู้แทนในการปราบปรามมากมาย สิ่งสำคัญก็คือการตัดจำนวนคนสารเลว เมื่อพวกคนสารเลวถูกลงโทษแล้วนั้นผู้แทนในการลงโทษนั้นถือเป็นผู้แทนขององค์กฺฤษฺณ ในบรรดาผู้ที่พยายามได้รับชัยชนะจากกิจกรรมบางอย่างนั้นสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สุดแห่งชัยชนะคือหลักศีลธรรม ในบรรดากิจกรรมแห่งความลับในการฟัง การคิด และการทำสมาธิ ความเงียบสงบสำคัญที่สุดเพราะว่าจากความเงียบสงบเราจึงสามารถเจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว คนมีปัญญาคือผู้ที่สามารถแยกแยะระหว่างวัตถุและวิญญาณ ระหว่างธรรมชาติเบื้องสูงและธรรมชาติเบื้องต่ำขององค์ภควานฺความรู้เช่นนี้คือองค์ศฺรี กฺฤษฺณเอง

โศลก 39

yac cāpi sarva-bhūtānāṁ
bījaṁ tad aham arjuna
na tad asti vinā yat syān
mayā bhūtaṁ carācaram
ยจฺ จาปิ สรฺว-ภูตานำ
พีชํ ตทฺ อหมฺ อรฺชุน
น ตทฺ อสฺติ วินา ยตฺ สฺยานฺ
มยา ภูตํ จราจรมฺ
ยตฺ — อะไรก็แล้วแต่, — เช่นกัน, อปิ — อาจ, สรฺว-ภูตานามฺ — ของการสร้างทั้งหลาย, พีชมฺ — เมล็ดพันธุ์, ตตฺ — นั้น, อหมฺ — ข้าเป็น, อรฺชุน — โอ้ อรฺชุน, — ไม่, ตตฺ — นั้น, อสฺติ — มี, วินา — ปราศจาก, ยตฺ — ซึ่ง, สฺยาตฺ — มีอยู่, มยา — ข้า, ภูตมฺ — สิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นมา, จร-อจรมฺ — เคลื่อนที่และไม่เคลื่อนที่

คำแปล

ยิ่งไปกว่านั้น โอ้ อรฺชุน ข้าคือเมล็ดพันธุ์ที่ให้กำเนิดทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ ไม่มีชีวิตใดไม่ว่าเคลื่อนที่หรือไม่เคลื่อนที่จะสามารถดำรงอยู่ได้โดยปราศจากข้า

คำอธิบาย

ทุกสิ่งทุกอย่างมีต้นกำเนิดและต้นกำเนิดหรือเมล็ดพันธุ์แห่งปรากฏการณ์นั้นๆคือองค์กฺฤษฺณ หากปราศจากซึ่งพลังงานขององค์กฺฤษฺณแล้วนั้นจะไม่มีสิ่งใดมีอยู่ได้ ดังนั้นองค์ภควานฺทรงได้ชื่อว่าเป็นผู้มีอำนาจทั้งปวง หากปราศจากพลังอำนาจของพระองค์ทั้งสิ่งที่เคลื่อนที่และไม่เคลื่อนที่จะไม่สามารถดำรงอยู่ได้ สิ่งใดที่มีอยู่และไม่พบอยู่ในพลังงานขององค์กฺฤษฺณ เรียกว่า มายา หรือ “สิ่งที่ไม่ใช่”

โศลก 40

nānto ’sti mama divyānāṁ
vibhūtīnāṁ paran-tapa
eṣa tūddeśataḥ prokto
vibhūter vistaro mayā
นานฺโต ’สฺติ มม ทิวฺยานำ
วิภูตีนำ ปรนฺ-ตป
เอษ ตูทฺเทศตห์ โปฺรกฺโต
วิภูเตรฺ วิสฺตโร มยา
— ไม่, อนฺตห์ — จำกัด, อสฺติ — มี, มม — ของข้า, ทิวฺยานามฺ — ของความเป็นทิพย์, วิภูตีนามฺ — ความมั่งคั่ง, ปรมฺ-ตป — โอ้ ผู้ชนะศัตรู, เอษห์ — ทั้งหมดนี้, ตุ — แต่, อุทฺเทศตห์ — เป็นตัวอย่าง, โปฺรกฺตห์ — พูด, วิภูเตห์ — ของความมั่งคั่ง, วิสฺตรห์ — อันกว้างใหญ่, มยา — โดยข้า

คำแปล

โอ้ ผู้ปราบศัตรูที่ยิ่งใหญ่ ไม่มีจุดจบสำหรับปรากฏการณ์ทิพย์ของข้า สิ่งที่ข้าได้พูดกับเธอนั้นเป็นเพียงการแสดงให้เห็นถึงความมั่งคั่งอันหาที่สุดไม่ได้ของข้า

คำอธิบาย

ดังที่ได้กล่าวไว้ในวรรณกรรมพระเวทว่า ถึงแม้ว่าความมั่งคั่งและพลังงานขององค์ภควานฺสามารถเข้าใจได้หลายๆทาง ไม่มีขีดจำกัดในความมั่งคั่งเหล่านี้ ฉะนั้นไม่ใช่ว่าความมั่งคั่งและพลังงานทั้งหมดของพระองค์สามารถอธิบายได้ เพียงไม่กี่ตัวอย่างเท่านั้นที่อธิบายให้ อรฺชุน เพื่อให้ความอยากรู้อยากเห็นสงบลง

โศลก 41

yad yad vibhūtimat sattvaṁ
śrīmad ūrjitam eva vā
tat tad evāvagaccha tvaṁ
mama tejo-’ṁśa-sambhavam
ยทฺ ยทฺ วิภูติมตฺ สตฺตฺวํ
ศฺรีมทฺ อูรฺชิตมฺ เอว วา
ตตฺ ตทฺ เอวาวคจฺฉ ตฺวํ
มม เตโช-’ํศ-สมฺภวมฺ
ยตฺ ยตฺ — อะไรก็แล้วแต่, วิภูติ — ความมั่งคั่ง, มตฺ — มี, สตฺตฺวมฺ — มีอยู่, ศฺรี-มตฺ — ความสวยงาม, อูรฺชิตมฺ — น่าสรรเสริญ, เอว — แน่นอน, วา — หรือ, ตตฺ ตตฺ — ทั้งหมดนั้น, เอว — แน่นอน, อวคจฺฉ — ต้องรู้, ตฺวมฺ — เธอ, มม — ของข้า, เตชห์ — ของความวิเศษงดงาม, อํศ — ส่วนหนึ่ง, สมฺภวมฺ — เกิดจาก

คำแปล

จงรู้ด้วยว่าสิ่งที่สร้างขึ้นมาทั้งหมดที่มีความมั่งคั่ง ความสวยงามและน่าสรรเสริญ กำเนิดมาจากประกายเพียงนิดเดียวแห่งความวิเศษงดงามของข้า

คำอธิบาย

สิ่งใดที่มีอยู่ซึ่งมีความสวยงามหรือน่าสรรเสริญควรจะเข้าใจว่ามันเป็นเพียงปรากฏการณ์เพียงเล็กน้อยแห่งความมั่งคั่งขององค์กฺฤษฺณไม่ว่าในโลกทิพย์หรือโลกวัตถุ ความมั่งคั่งพิเศษใดๆควรพิจารณาว่าเป็นผู้แทนแห่งความมั่งคั่งขององค์กฺฤษฺณ

โศลก 42

atha vā bahunaitena
kiṁ jñātena tavārjuna
viṣṭabhyāham idaṁ kṛtsnam
ekāṁśena sthito jagat
อถ วา พหุไนเตน
กึ ชฺญาเตน ตวารฺชุน
วิษฺฏภฺยาหมฺ อิทํ กฺฤตฺสฺนมฺ
เอกำเศน สฺถิโต ชคตฺ
อถ วา — หรือ, พหุนา — หลาย, เอเตน — ด้วยชนิดนี้, กิมฺ — อะไร, ชฺญาเตน — ด้วยความรู้, ตว — ของเธอ, อรฺชุน — โอ้ อรฺชุน, วิษฺฏภฺย — แผ่กระจาย, อหมฺ — ข้า, อิทมฺ — นี้, กฺฤตฺสฺนมฺ — ทั้งหมด, เอก — โดยหนึ่ง, อํเศน — ส่วน, สฺถิตห์ — สถิต, ชคตฺ — จักรวาล

คำแปล

แต่จะมีประโยชน์อันใดเล่า โอ้ อรฺชุน กับรายละเอียดความรู้ทั้งหมดนี้ ด้วยเพียงส่วนนิดเดียวของตัวข้า ข้าได้แผ่กระจายและค้ำจุนทั่วทั้งจักรวาลนี้

คำอธิบาย

องค์ภควานฺทรงมีผู้แทนทั่วทุกจักรวาลวัตถุด้วยการเสด็จเข้าไปทุกสิ่งทุกอย่างในรูปอภิวิญญาณ ที่นี้พระองค์ตรัสแด่ อรฺชุน ว่าไม่มีประโยชน์อันใดที่จะเข้าใจว่าสิ่งต่างๆมีอยู่ได้อย่างไรในความมั่งคั่งและความยิ่งใหญ่อลังการที่แบ่งแยกออกไป อรฺชุน ควรทราบว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีอยู่ได้เนื่องจากองค์กฺฤษฺณเสด็จเข้าไปในฐานะอภิวิญญาณ จากพระพรหมชีวิตที่ใหญ่โตมโหฬารที่สุดลงไปจนถึงมดตัวเล็กที่สุดทั้งหมดดำรงอยู่ได้เพราะองค์กฺฤษฺณทรงเสด็จเข้าไปในแต่ละชีวิตและทุกชีวิต พระองค์ทรงค้ำจุนทุกชีวิต

มีกลุ่มเผยแพร่ศาสนาที่แสดงอยู่เสมอว่าการบูชาเทวดาองค์ใดก็แล้วแต่จะนำเราไปถึงองค์ภควานฺหรือเป้าหมายสูงสุด แต่ตรงนี้การบูชาเทวดาไม่ได้รับการสนับสนุนเพราะแม้แต่เทวดาผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด เช่น พระพรหมและพระศิวะทรงเป็นเพียงตัวแทนส่วนหนึ่งแห่งความมั่งคั่งขององค์ภควานฺเท่านั้น พระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของทุกๆ คนที่เกิดมาไม่มีผู้ใดจะยิ่งใหญ่ไปกว่าพระองค์พระองค์ทรงเป็น อสเมารฺธฺว ซึ่งหมายความว่าไม่มีผู้ใดยิ่งใหญ่ไปกว่าและไม่มีผู้ใดเทียบเท่าพระองค์ได้ ใน ปทฺม ปุราณ กล่าวไว้ว่าผู้พิจารณาว่าองค์ภควานฺ ศฺรี กฺฤษฺณทรงอยู่ในระดับเดียวกันกับเทวดา เช่น พระพรหม หรือพระศิวะ ทันทีที่คิดเช่นนี้ผู้นั้นจะกลายเป็นผู้ที่ไม่เชื่อในองค์ภควานฺ อย่างไรก็ดีหากผู้ใดศึกษารายละเอียดในความมั่งคั่งต่างๆและภาคที่แบ่งแยกต่างๆแห่งพลังงานขององค์กฺฤษฺณจะเข้าใจสถานภาพของศฺรี กฺฤษฺณได้อย่างไม่ต้องสงสัย และสามารถตั้งมั่นจิตใจในการบูชาองค์กฺฤษฺณโดยไม่เบี่ยงเบน องค์ภควานฺทรงแผ่กระจายไปทั่วด้วยภาคที่แบ่งแยกแห่งผู้แทนอันสมบูรณ์ของพระองค์นั่นคืออภิวิญญาณผู้เสด็จเข้าไปในทุกสิ่งทุกอย่าง ฉะนั้นสาวกผู้บริสุทธิ์ตั้งสมาธิจิตในกฺฤษฺณจิตสำนึกด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่างเต็มที่จึงสถิตในสถานภาพทิพย์เสมอ การอุทิศตนเสียสละรับใช้และการบูชาองค์กฺฤษฺณได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนมากในโศลกแปดถึงโศลกสิบเอ็ดของบทนี้ นี่คือวิธีแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์ เราจะบรรลุถึงความสมบูรณ์แห่งการอุทิศตนเสียสละที่สูงสุดในการไปอยู่ใกล้ชิดกับบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าได้อย่างไรนั้นได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนในบทนี้ ศฺรีล วิทฺยาภูษณ วิทฺยาภูษณ อาจารฺย ผู้ยิ่งใหญ่ในสายปรัมปราจากองค์กฺฤษฺณได้สรุปคำบรรยายในบทนี้ด้วยการกล่าวว่า

ยจฺ-ฉกฺติ-เลศาตฺ สูรฺยาทฺยา
ภวนฺตฺยฺ อตฺยฺ-อุคฺร-เตชสห์
ยทฺ-อํเศน ธฺฤตํ วิศฺวํ
ส กฺฤษฺโณ ทศเม ’รฺจฺยเต
แม้แต่พระอาทิตย์ผู้ทรงพลังยังได้รับพลังจากพลังอันมหาศาลขององค์กฺฤษฺณ และจากภาคที่แบ่งแยกจากส่วนขององค์กฺฤษฺณโลกทั้งโลกจึงได้รับการค้ำจุน ดังนั้นองค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงเป็นที่สักการะบูชา

ดังนั้นได้จบคำอธิบายโดย ภักดีเวดานตะ บทที่สิบ ของหนังสือ ศฺรีมทฺ ภควัท-คีตา ในหัวข้อเรื่อง ความมั่งคั่งแห่งสัจธรรม