ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบเอ็ด

รูปลักษณ์จักรวาล

SIMPLE

โศลก 1

arjuna uvāca
mad-anugrahāya paramaṁ
guhyam adhyātma-saṁjñitam
yat tvayoktaṁ vacas tena
moho ’yaṁ vigato mama
อรฺชุน อุวาจ
มทฺ-อนุคฺรหาย ปรมํ
คุหฺยมฺ อธฺยาตฺม-สํชฺญิตมฺ
ยตฺ ตฺวโยกฺตํ วจสฺ เตน
โมโห ’ยํ วิคโต มม
อรฺชุนห์ อุวาจ - อรฺชุน ตรัส, มตฺ-อนุคฺรหาย — เพื่อแสดงความอนุเคราะห์ต่อข้า, ปรมมฺ — สูงสุด, คุหฺยมฺ — เรื่องลับ, อธฺยาตฺม — ทิพย์, สํชฺญิตมฺ — ในเรื่องของ, ยตฺ — อะไร, ตฺวยา — โดยพระองค์, อุกฺตมฺ — ตรัส, วจห์ — คำพูด, เตน — ด้วยนั้น, โมหห์ — ความหลง, อยมฺ — นี้, วิคตห์ — ขจัดออกไป, มม — ของข้า

คำแปล

อรฺชุน ตรัสว่า จากการสดับฟังคำสั่งสอนที่พระองค์ทรงกรุณาประทานแก่ข้าเกี่ยวกับเรื่องราวทิพย์ที่ลับที่สุดเหล่านี้ บัดนี้ความหลงของข้าพเจ้าได้ถูกขจัดออกไปแล้ว

คำอธิบาย

บทนี้เปิดเผยว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของ มหา-วิษฺณุ ผู้ให้กำเนิดจักรวาลวัตถุทั้งหมด องค์กฺฤษฺณทรงไม่ใช่อวตารแต่ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของมวลอวตารซึ่งได้อธิบายไว้อย่างสมบูรณ์ในบทที่แล้ว

บัดนี้ อรฺชุน กล่าวว่าความหลงของท่านได้มลายหายไปสิ้นแล้ว เช่นนี้หมายความว่า อรฺชุน ทรงมิได้คิดว่าองค์กฺฤษฺณเป็นเพียงมนุษย์ปุถุชนธรรมดาหรือเป็นเพียงเพื่อนเท่านั้น แต่ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่าง อรฺชุน ได้รับแสงสว่าง และดีใจที่มีสหายที่ยิ่งใหญ่อย่างองค์กฺฤษฺณ แต่บัดนี้ถึงแม้จะยอมรับองค์กฺฤษฺณว่าเป็นแหล่งกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งผู้อื่นอาจไม่ยอมรับ ดังนั้นพื่อสถาปนาความเป็นทิพย์ขององค์กฺฤษฺณให้ทุกๆคน อรฺชุน จึงขอร้องให้องค์กฺฤษฺณทรงแสดงรูปลักษณ์จักรวาลในบทนี้ อันที่จริงเมื่อผู้ใดเห็นรูปลักษณ์จักรวาลขององค์กฺฤษฺณผู้นั้นจะตกใจเช่นเดียวกับ อรฺชุน แต่องค์กฺฤษฺณทรงมีพระเมตตามากเพราะหลังจากที่แสดงรูปลักษณ์จักรวาลแล้วทรงเปลี่ยนพระวรกายของพระองค์ให้มาอยู่ในรูปลักษณ์เดิมอีกครั้งหนึ่ง อรฺชุน ทรงยอมรับสิ่งที่องค์กฺฤษฺณตรัสมาแล้วหลายครั้ง องค์กฺฤษฺณตรัสเพื่อผลประโยชน์ของ อรฺชุน ดังนั้น อรฺชุน ทรงทราบดีว่าสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับตัวท่านนี้ก็ด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์กฺฤษฺณ บัดนี้ อรฺชุน มั่นใจว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวงและทรงประทับอยู่ภายในหัวใจของทุกชีวิตในรูปองค์อภิวิญญาณ

โศลก 2

bhavāpyayau hi bhūtānāṁ
śrutau vistaraśo mayā
tvattaḥ kamala-patrākṣa
māhātmyam api cāvyayam
ภวาปฺยเยา หิ ภูตานำ
ศฺรุเตา วิสฺตรโศ มยา
ตฺวตฺตห์ กมล-ปตฺรากฺษ
มาหาตฺมฺยมฺ อปิ จาวฺยยมฺ
ภว — การปรากฏ, อปฺยเยา — การไม่ปรากฏ, หิ — แน่นอน, ภูตานามฺ — ของมวลชีวิต, ศฺรุเตา — ได้ยินแล้ว, วิสฺตรศห์ — โดยละเอียด, มยา — โดยข้า, ตฺวตฺตห์ — จากพระองค์, กมล-ปตฺร-อกฺษ — โอ้ ผู้มีพระเนตรคล้ายดอกบัว, มาหาตฺมฺยมฺ — บารมี, อปิ — เช่นกัน, — และ, อวฺยยมฺ — ไม่มีสิ้นสุด

คำแปล

โอ้ ผู้มีพระเนตรเหมือนดอกบัว ข้าพเจ้าสดับฟังจากพระองค์โดยละเอียดเกี่ยวกับการปรากฏและการไม่ปรากฏของทุกๆชีวิต และได้รู้แจ้งถึงพระบารมีอันหาที่สุดมิได้ของพระองค์

คำอธิบาย

อรฺชุน ทรงเรียกองค์ศฺรี กฺฤษฺณว่า “พระเนตรรูปดอกบัว” (ดวงตาขององค์กฺฤษฺณเหมือนกับกลีบดอกบัว) ด้วยความยินดีที่องค์กฺฤษฺณทรงให้ความมั่นใจแก่ท่านในบทที่แล้วโดยตรัสว่า อหํ กฺฤตฺสฺนสฺย ชคตห์ ปฺรภวห์ ปฺรลยสฺ ตถา “ข้าคือแหล่งกำเนิดของสิ่งที่ปรากฏและสิ่งที่ไม่ปรากฏในปรากฏการณ์ทางวัตถุทั้งหมด” อรฺชุน ทรงได้ยินเช่นนี้จากองค์ภควานฺโดยละเอียด อรฺชุน ยังทราบอีกว่าถึงแม้องค์กฺฤษฺณทรงเป็นแหล่งกำเนิดของสิ่งที่ปรากฏและสิ่งไม่ปรากฏทั้งหลาย พระองค์ยังทรงอยู่ห่างจากสิ่งเหล่านั้น ดังที่ได้ตรัสไว้ในบทที่เก้าว่าพระองค์ทรงแผ่กระจายไปทั่ว ถึงกระนั้นพระองค์ทรงมิได้ปรากฏอยู่ทุกหนทุกแห่งด้วยพระองค์เอง นั่นคือความมั่งคั่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ขององค์กฺฤษฺณซึ่ง อรฺชุน ทรงยอมรับว่าตัวท่านเข้าใจเป็นอย่างดี

โศลก 3

evam etad yathāttha tvam
ātmānaṁ parameśvara
draṣṭum icchāmi te rūpam
aiśvaraṁ puruṣottama
เอวมฺ เอตทฺ ยถาตฺถ ตฺวมฺ
อาตฺมานํ ปรเมศฺวร
ทฺรษฺฏุมฺ อิจฺฉามิ เต รูปมฺ
ไอศฺวรํ ปุรุโษตฺตม
เอวมฺ — ดังนั้น, เอตตฺ — นี้, ยถา — ตามความเป็นจริง, อาตฺถ — ได้ตรัสแล้ว, ตฺวมฺ — พระองค์, อาตฺมานมฺ — ตัวพระองค์เอง, ปรม-อีศฺวร — โอ้ พระผู้เป็นเจ้าสูงสุด, ทฺรษฺฏุมฺ — เห็น, อิจฺฉามิ — ข้าพเจ้าปรารถนา, เต — ของพระองค์, รูปมฺ — รูปลักษณ์, ไอศฺวรมฺ — ทิพย์, ปุรุษ-อุตฺตม — โอ้ บุคลิกภาพผู้ยอดเยี่ยมที่สุด

คำแปล

โอ้ ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาบุคลิกภาพทั้งหลาย โอ้ รูปลักษณ์สูงสุด ถึงแม้ข้าพเจ้าเห็นอยู่ต่อหน้า ที่นี้ ในสถานภาพอันแท้จริงของพระองค์ดังที่ทรงอธิบายเกี่ยวกับตัวพระองค์เอง ข้าพเจ้าปรารถนาจะเห็นว่าพระองค์ทรงสด็จเข้าไปในปรากฏการณ์ทางจักรวาลได้อย่างไร ข้าพเจ้าปรารถนาจะเห็นรูปลักษณ์นั้น

คำอธิบาย

องค์ภควานฺตรัสว่าเนื่องจากเสด็จเข้าไปในจักรวาลวัตถุโดยผู้แทนส่วนพระองค์ปรากฏการณ์ในจักรวาลจึงบังเกิดขึ้นและดำเนินต่อไป อรฺชุน ทรงได้รับแรงดลใจจากคำดำรัสขององค์กฺฤษฺณ แต่เพื่อให้ผู้อื่นมีความมั่นใจว่าในอนาคตอาจมีผู้คิดว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นบุคคลธรรมดาสามัญ อรฺชุน จึงปรารถนาที่จะเห็นพระองค์ในรูปลักษณ์จักรวาลโดยแท้จริง เพื่อให้เห็นว่าพระองค์ทรงปฏิบัติตนอย่างไรภายในจักรวาล ถึงแม้ทรงอยู่ห่าง อรฺชุน เรียกองค์ภควานฺว่า ปุรุโษตฺตม มีความสำคัญเช่นกัน เนื่องจากทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า และทรงปรากฏอยู่ภายในร่างกายของ อรฺชุน เอง แม้ว่าพระองค์ทรงทราบถึงความปรารถนาของ อรฺชุน และเข้าใจว่า อรฺชุน ไม่มีความปรารถนาเป็นพิเศษที่จะเห็นพระองค์ในรูปลักษณ์จักรวาล เพราะ อรฺชุน มีความพึงพอใจโดยสมบูรณ์ที่ได้เห็นรูปลักษณ์ส่วนพระองค์ในรูปลักษณ์ กฺฤษฺณ แต่พระองค์ทรงเข้าใจเช่นกันว่า อรฺชุน ปรารถนาจะเห็นรูปลักษณ์จักรวาลเพื่อให้ผู้อื่นมีความมั่นใจ อรฺชุน ทรงไม่มีความปรารถนาส่วนตัวที่จะต้องยืนยัน องค์กฺฤษฺณทรงเข้าใจเช่นเดียวกันว่า อรฺชุน ปรารถนาจะเห็นรูปลักษณ์จักรวาลเพื่อวางเป็นบรรทัดฐาน เพราะในอนาคตจะมีคนหลอกลวงมากมายที่อ้างตนเองว่าเป็นอวตารขององค์ภควานฺ ฉะนั้นผู้คนควรระมัดระวังคนที่จะมาอ้างตนเองว่าเป็นองค์กฺฤษฺณ และเขาควรเตรียมพร้อมที่จะแสดงรูปลักษณ์จักรวาลของตนเพื่อยืนยันกับสิ่งที่ได้อวดอ้างไว้

โศลก 4

manyase yadi tac chakyaṁ
mayā draṣṭum iti prabho
yogeśvara tato me tvaṁ
darśayātmānam avyayam
มนฺยเส ยทิ ตจฺ ฉกฺยํ
มยา ทฺรษฺฏุมฺ อิติ ปฺรโภ
โยเคศฺวร ตโต เม ตฺวํ
ทรฺศยาตฺมานมฺ อวฺยยมฺ
มนฺยเส — พระองค์ทรงคิด, ยทิ — อาจ, ตตฺ — นั้น, ศกฺยมฺ — สามารถ, มยา — โดยข้า, ทฺรษฺฏุมฺ — ได้เห็น, อิติ — ดังนั้น, ปฺรโภ — โอ้ องค์ภควานฺ, โยค-อีศฺวร — โอ้ เจ้าแห่งพลังอิทธิฤทธิ์ทั้งหลาย, ตตห์ — จากนั้น, เม — แด่ข้า, ตฺวมฺ — พระองค์, ทรฺศย — แสดง, อาตฺมานมฺ — ตัวพระองค์เอง, อวฺยยมฺ — อมตะ

คำแปล

หากทรงคิดว่าข้าพเจ้าสามารถเห็นรูปลักษณ์จักรวาลของพระองค์โอ้ องค์ภควานฺ โอ้ เจ้าแห่งพลังอิทธิฤทธิ์ทั้งปวง โปรดกรุณาแสดงรูปลักษณ์จักรวาลอันหาที่สุดมิได้ของพระองค์แด่ข้าพเจ้าด้วย

คำอธิบาย

ได้กล่าวไว้ว่าเราไม่สามารถเห็น ได้ยิน เข้าใจ หรือสำเหนียกองค์ภควานฺ กฺฤษฺณด้วยประสาทสัมผัสวัตถุ แต่หากเราปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยความรักทิพย์ต่อพระองค์ตั้งแต่ต้นเราจะสามารถเห็นองค์ภควานฺจากการเปิดเผยของพระองค์ทุกๆชีวิตเป็นเพียงแค่ละอองอณูทิพย์ฉะนั้นเป็นไปไม่ได้ที่จะเห็นหรือเข้าใจองค์ภควานฺ อรฺชุน ในฐานะที่ทรงเป็นสาวกจึงมิได้ขึ้นอยู่กับพลังแห่งการคาดคะเนของตนเอง แต่ยอมรับขีดจำกัดในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิตและเข้าใจถึงสถานภาพขององค์กฺฤษฺณที่ไม่สามารถประเมินได้ อรฺชุน ทรงเข้าใจว่าเป็นไปไม่ได้ที่สิ่งมีชีวิตจะเข้าใจผู้ที่ไร้ขอบเขตอันหาที่สิ้นสุดไม่ได้หากว่าผู้ไร้ขอบเขตทรงเปิดเผยตัวพระองค์จึงเป็นไปได้ที่เราจะเข้าใจธรรมชาติแห่งความไร้ขอบเขตด้วยพระกรุณาธิคุณของพระองค์ คำว่า โยเคศฺวร มีความสำคัญมากในที่นี้เพราะองค์ภควานฺทรงมีพลังอำนาจที่ไม่สามารถมองเห็นได้ หากปรารถนาก็จะทรงสามารถเปิดเผยตนเองด้วยพระกรุณาธิคุณของพระองค์แม้ไร้ขีดจำกัดก็ตาม ฉะนั้น อรฺชุน ทรงอ้อนวอนพระกรุณาธิคุณขององค์กฺฤษฺณที่ไม่สามารถมองเห็นได้ ท่านมิได้สั่งองค์กฺฤษฺณ องค์กฺฤษฺณทรงไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตนเองเว้นแต่ว่าเราจะศิโรราบในกฺฤษฺณจิตสำนึกและปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ที่ขึ้นอยู่กับพลังแห่งการคาดคะเนทางจิตใจของตนเองจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเห็นองค์กฺฤษฺณ

โศลก 5

śrī-bhagavān uvāca
paśya me pārtha rūpāṇi
śataśo ’tha sahasraśaḥ
nānā-vidhāni divyāni
nānā-varṇākṛtīni ca
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
ปศฺย เม ปารฺถ รูปาณิ
ศตโศ ’ถ สหสฺรศห์
นานา-วิธานิ ทิวฺยานิ
นานา-วรฺณากฺฤตีนิ จ
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — องค์ภควานฺตรัส, ปศฺย — จงดู, เม — ของข้า, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, รูปาณิ — รูปลักษณ์ต่างๆ, ศตศห์ — เป็นร้อยๆ, อถ — เช่นกัน, สหสฺรศห์ — เป็นพันๆ, นานา-วิธานิ — หลากหลาย, ทิวฺยานิ — ทิพย์, นานา — หลากหลาย, วรฺณ — หลากสี, อากฺฤตีนิ — รูปลักษณ์ต่างๆ, — เช่นกัน

คำแปล

องค์ภควานฺตรัสว่า อรฺชุน ที่รัก โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา บัดนี้จงดูความมั่งคั่งของข้า รูปลักษณ์ทิพย์ที่มีสีสันหลากหลายเป็นจำนวนร้อยๆพันๆรูป

คำอธิบาย

อรฺชุน ทรงปรารถนาที่จะเห็นองค์กฺฤษฺณในรูปลักษณ์จักรวาล ถึงแม้ว่าเป็นรูปลักษณ์ทิพย์แต่ทรงปรากฏเพื่อปรากฏการณ์ในจักรวาลจึงอยู่ภายใต้การกำหนดของกาลเวลาที่ไม่ถาวรแห่งธรรมชาติวัตถุนี้เช่นเดียวกับธรรมชาติวัตถุที่ปรากฏและไม่ปรากฏ รูปลักษณ์จักรวาลขององค์กฺฤษฺณนี้ก็ทรงปรากฏและไม่ปรากฏ รูปลักษณ์นี้มิได้สถิตในท้องฟ้าทิพย์ชั่วนิรันดรเหมือนกับรูปลักษณ์อื่นๆขององค์กฺฤษฺณ สาวกไม่มีความปรารถนาที่จะเห็นรูปลักษณ์จักรวาล แต่เนื่องจาก อรฺชุน ทรงปรารถนาที่จะเห็นองค์กฺฤษฺณในรูปนี้องค์กฺฤษฺณจึงทรงเปิดเผยให้เห็น รูปลักษณ์จักรวาลนี้เป็นรูปลักษณ์ที่ปุถุชนคนธรรมดาไม่สามารถเห็นได้ องค์กฺฤษฺณทรงต้องเป็นผู้ประทานพลังในการเห็นแก่ผู้นั้นจึงจะสามารถเห็นได้

โศลก 6

paśyādityān vasūn rudrān
aśvinau marutas tathā
bahūny adṛṣṭa-pūrvāṇi
paśyāścaryāṇi bhārata
ปศฺยาทิตฺยานฺ วสูนฺ รุทฺรานฺ
อศฺวิเนา มรุตสฺ ตถา
พหูนฺยฺ อทฺฤษฺฏ-ปูรฺวาณิ
ปศฺยาศฺจรฺยาณิ ภารต
ปศฺย — เห็น, อาทิตฺยานฺ — บุตรสิบสองคนของอดิทิ, วสูนฺวสุ ทั้งแปด, รุทฺรานฺ — รูปลักษณ์สิบเอ็ดรูปของรุดระ, อศฺวิเนาอศฺวินี ทั้งสอง, มรุตห์มรุตฺ ทั้งสี่สิบเก้า (เทพเจ้า แห่งลม), ตถา — เช่นกัน, พหูนิ — มากมาย, อทฺฤษฺฏ — ที่เธอยังไม่เห็น, ปูรฺวาณิ — ก่อนหน้านี้, ปศฺย — เห็น, อาศฺจรฺยาณิ — ความอัศจรรย์ทั้งหลาย, ภารต — โอ้ ผู้ยอดเยี่ยมแห่ง ภารต

คำแปล

โอ้ ผู้ยอดเยี่ยมแห่ง ภารต ที่นี้จงดูปรากฏการณ์ต่างๆของ อาทิตฺย, วสุ, รุทฺร, อศฺวินี กุมาร และเทวดาองค์อื่นๆทั้งหมด จงดูสิ่งมหัศจรรย์มากมายนี้ซึ่งไม่มีผู้ใดเคยเห็นหรือได้ยินมาก่อน

คำอธิบาย

แม้ว่า อรฺชุน ทรงเป็นเพื่อนสนิทขององค์กฺฤษฺณและยังเป็นผู้มีความรู้ที่สูงสุดถึงกระนั้นก็ยังเป็นไปไม่ได้ที่ อรฺชุน จะรู้ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณ ได้กล่าวไว้ตรงนี้ว่ามนุษย์ไม่เคยได้ยินหรือรู้รูปลักษณ์และปรากฏการณ์ต่างๆทั้งหมดนี้มาก่อน บัดนี้องค์กฺฤษฺณจะทรงเปิดเผยรูปลักษณ์อันน่าอัศจรรย์เหล่านี้

โศลก 7

ihaika-sthaṁ jagat kṛtsnaṁ
paśyādya sa-carācaram
mama dehe guḍākeśa
yac cānyad draṣṭum icchasi
อิไหก-สฺถํ ชคตฺ กฺฤตฺสฺนํ
ปศฺยาทฺย ส-จราจรมฺ
มม เทเห คุฑาเกศ
ยจฺ จานฺยทฺ ทฺรษฺฏุมฺ อิจฺฉสิ
อิห — ในนี้, เอก-สฺถมฺ — ในที่หนึ่ง, ชคตฺ — จักรวาล, กฺฤตฺสฺนมฺ — สมบูรณ์, ปศฺย — เห็น, อทฺย — ทันที, — กับ, จร — เคลื่อนที่, อจรมฺ — ไม่เคลื่อนที่, มม — ของข้า, เทเห — ในร่างกายนี้, คุฑาเกศ — โอ้ อรฺชุน, ยตฺ — ซึ่ง, — เช่นกัน, อนฺยตฺ — ผู้อื่น, ทฺรษฺฏุมฺ — เห็น, อิจฺฉสิ — เธอปรารถนา

คำแปล

โอ้ อรฺชุน สิ่งใดที่เธอปรารถนาจะเห็น จงดูในร่างนี้ของข้าได้ทันที รูปลักษณ์จักรวาลนี้สามารถที่จะแสดงทุกสิ่งทุกอย่างที่เธอปรารถนาจะเห็น และทุกสิ่งทุกอย่างที่เธอปรารถนาจะเห็นในอนาคต บัดนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งเคลื่อนที่และไม่เคลื่อนที่ได้มาอยู่ตรงนี้ อยู่ในสถานที่เดียวกันอย่างสมบูรณ์

คำอธิบาย

ไม่มีผู้ใดสามารถเห็นจักรวาลทั้งหมดขณะที่นั่งอยู่ที่เดียวได้ แม้นักวิทยาศาสตร์ผู้ก้าวหน้าที่สุดก็ไม่สามารถเห็นสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในส่วนอื่นของจักรวาลได้แต่สาวกเช่น อรฺชุน ทรงสามารถเห็นทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในส่วนต่างๆของจักรวาล องค์กฺฤษฺณทรงให้พลังอำนาจในการเห็นทุกสิ่งทุกอย่างที่ อรฺชุน ทรงปรารถนาจะเห็นทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ดังนั้นด้วยพระเมตตาธิคุณขององค์กฺฤษฺณ อรฺชุน จึงทรงสามารถเห็นทุกสิ่งทุกอย่างได้

โศลก 8

na tu māṁ śakyase draṣṭum
anenaiva sva-cakṣuṣā
divyaṁ dadāmi te cakṣuḥ
paśya me yogam aiśvaram
น ตุ มำ ศกฺยเส ทฺรษฺฏุมฺ
อเนไนว สฺว-จกฺษุษา
ทิวฺยํ ททามิ เต จกฺษุห์
ปศฺย เม โยคมฺ ไอศฺวรมฺ
— ไม่เคย, ตุ — แต่, มามฺ — ข้า, ศกฺยเส — สามารถ, ทฺรษฺฏุมฺ — เห็น, อเนน — ด้วยสิ่งเหล่านี้, เอว — แน่นอน, สฺว-จกฺษุษา — จักษุของเธอ, ทิวฺยมฺ — ทิพย์, ททามิ — ข้าให้, เต — แก่เธอ, จกฺษุห์ — จักษุ, ปศฺย — เห็น, เม — ของข้า, โยคมฺ ไอศฺวรมฺ — พลังอิทธิฤทธิ์ที่ไม่สามารถมองเห็นได้

คำแปล

แต่เธอไม่สามารถเห็นข้าด้วยดวงตาปัจจุบันของเธอ ดังนั้นข้าจะให้จักษุทิพย์แก่เธอ จงดูอิทธิฤทธิ์ความมั่งคั่งของข้า

คำอธิบาย

สาวกผู้บริสุทธิ์ไม่ชอบที่จะเห็นองค์กฺฤษฺณในรูปลักษณ์อื่นใดนอกจากรูปลักษณ์สองกรของพระองค์สาวกจะเห็นรูปลักษณ์จักรวาลขององค์ภควานฺด้วยพระกรุณาธิคุณของพระองค์ไม่ใช่ด้วยจิตใจแต่ด้วยจักษุทิพย์ ในการเห็นรูปลักษณ์จักรวาลขององค์กฺฤษฺณ อรฺชุน ทรงถูกสั่งไม่ให้เปลี่ยนจิตใจแต่ให้เปลี่ยนจักษุ รูปลักษณ์จักรวาลขององค์กฺฤษฺณไม่สำคัญเท่าใดนัก ประเด็นนี้จะทำให้กระจ่างขึ้นในโศลกต่อๆไป แต่เนื่องจาก อรฺชุน ทรงปรารถนาที่จะเห็นองค์กฺฤษฺณจึงทรงให้จักษุแก่ อรฺชุน โดยเฉพาะเท่าที่จำเป็นเพื่อที่จะได้เห็นรูปลักษณ์จักรวาล

เหล่าสาวกผู้สถิตอย่างถูกต้องในความสัมพันธ์ทิพย์กับองค์กฺฤษฺณทำการยึดมั่นอยู่กับรูปลักษณ์อันน่ารักของพระองค์ไม่ใช่ไปยึดติดอยู่กับการแสดงความมั่งคั่งโดยปราศจากองค์ภควานฺ เพื่อนๆและผู้ปกครองขององค์กฺฤษฺณไม่เคยปรารถนาที่จะให้องค์กฺฤษฺณแสดงความมั่งคั่งแต่หมกมุ่นอยู่ในความรักอันบริสุทธิ์จนกระทั่งไม่รู้ว่าองค์กฺฤษฺณคือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ในการแลกเปลี่ยนความรักนั้นพวกเขาลืมไปว่าองค์กฺฤษฺณเป็นองค์ภควานฺ ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ ได้กล่าวไว้ว่าเด็กๆทั้งหมดที่เล่นกับองค์กฺฤษฺณเป็นดวงวิญญาณที่มีบุญบารมีสูงส่งมาก หลังจากหลายต่อหลายชาติจึงจะมีโอกาศมาเล่นกับองค์กฺฤษฺณได้ เด็กๆเหล่านี้ไม่รู้ว่าองค์กฺฤษฺณคือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าจึงได้แต่ปฏิบัติต่อองค์กฺฤษฺณเสมือนเป็นเพื่อนสนิท ศุกเทว โคสฺวามี กล่าวโศลกต่อไปนี้

อิตฺถํ สตำ พฺรหฺม-สุขานุภูตฺยา
ทาสฺยํ คตานำ ปร-ไทวเตน
มายาศฺริตานำ นร-ทารเกณ
สากํ วิชหฺรุห์ กฺฤต-ปุณฺย-ปุญฺชาห์
“นี่คือบุคคลสูงสุดที่นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่พิจารณาว่าเป็น พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์สาวกพิจารณาว่าเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า และมนุษย์ปุถุชนธรรมดาพิจารณาว่าเป็นผลผลิตของธรรมชาติวัตถุ บัดนี้เด็กๆผู้ทำบุญมาหลายต่อหลายชาติเหล่านี้ได้มาเล่นอยู่กับองค์ภควานฺ” (ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ 10.12.11)

ความจริงก็คือสาวกจะไม่สนใจกับการเห็น วิศฺว-รูป หรือรูปลักษณ์จักรวาลแต่ อรฺชุน ทรงปรารถนาจะเห็นเพื่อยืนยันคำดำรัสขององค์กฺฤษฺณ เพื่อในอนาคตผู้คนสามารถเข้าใจว่าองค์กฺฤษฺณทรงไม่ใช่แสดงตนเองว่าเป็นองค์ภควานฺในทางทฤษฎีหรือทางปรัชญาเท่านั้น แต่พระองค์ทรงแสดงให้ อรฺชุน เห็นจริง อรฺชุน ทรงต้องยืนยันเช่นนี้เพราะเป็นผู้เริ่มต้นระบบ ปรมฺปรา พวกที่สนใจจะเข้าใจองค์ภควานฺ กฺฤษฺณโดยแท้จริง และผู้ที่ปฏิบัติตามรอยพระบาทของ อรฺชุน ควรเข้าใจว่าองค์กฺฤษฺณทรงไม่ได้เป็นองค์ภควานฺในทางทฤษฏีเท่านั้น แต่ทรงเปิดเผยรูปลักษณ์ในฐานะที่เป็นองค์ภควานฺโดยแท้จริง

พระองค์ทรงให้พลังอำนาจที่จำเป็นแด่ อรฺชุน ในการเห็นรูปลักษณ์จักรวาล เพราะทราบดีว่า อรฺชุน ทรงมิได้ปรารถนาเจาะจงที่จะเห็นดังที่ได้อธิบายไว้แล้ว

โศลก 9

sañjaya uvāca
evam uktvā tato rājan
mahā-yogeśvaro hariḥ
darśayām āsa pārthāya
paramaṁ rūpam aiśvaram
สญฺชย อุวาจ
เอวมฺ อุกฺตฺวา ตโต ราชนฺ
มหา-โยเคศฺวโร หริห์
ทรฺศยามฺ อาส ปารฺถาย
ปรมํ รูปมฺ ไอศฺวรมฺ
สญฺชยห์ อุวาจสญฺชย กล่าว, เอวมฺ — ดังนั้น, อุกฺตฺวา — กล่าว, ตตห์ — หลังจากนั้น, ราชนฺ — โอ้ กษัตริย์, มหา-โยค-อีศฺวรห์ — ผู้มีพลังอิทธิฤทธิ์สูงสุด, หริห์ — องค์ภควานฺ กฺฤษฺณ, ทรฺศยามฺ อาส — แสดง, ปารฺถาย — แด่ อรฺชุน, ปรมมฺ — ทิพย์, รูปมฺ ไอศฺวรมฺ — รูปลักษณ์จักรวาล

คำแปล

สญฺชย กล่าวว่า โอ้ กษัตริย์ หลังจากดำรัสเช่นนั้นแล้ว พระผู้เป็นเจ้าสูงสุดแห่งพลังอิทธิฤทธิ์ทั้งหลาย องค์ภควานฺทรงแสดงรูปลักษณ์จักรวาลแด่ อรฺชุน

โศลก 10-11

aneka-vaktra-nayanam
anekādbhuta-darśanam
aneka-divyābharaṇaṁ
divyānekodyatāyudham
อเนก-วกฺตฺร-นยนมฺ
อเนกาทฺภุต-ทรฺศนมฺ
อเนก-ทิวฺยาภรณํ
ทิวฺยาเนโกทฺยตายุธมฺ
divya-mālyāmbara-dharaṁ
divya-gandhānulepanam
sarvāścarya-mayaṁ devam
anantaṁ viśvato-mukham
ทิวฺย-มาลฺยามฺพร-ธรํ
ทิวฺย-คนฺธานุเลปนมฺ
สรฺวาศฺจรฺย-มยํ เทวมฺ
อนนฺตํ วิศฺวโต-มุขมฺ
อเนก — มากมาย, วกฺตฺร — พระโอษฐ์, นยนมฺ — พระเนตร, อเนก — มากมาย, อทฺภุต — น่าอัศจรรย์, ทรฺศนมฺ — ทัศนียภาพ, อเนก — มากมาย, ทิวฺย — ทิพย์, อาภรณมฺ — เครื่องประดับต่างๆ, ทิวฺย — ทิพย์, อเนก — มากมาย, อุทฺยต — ยกขึ้น, อายุธมฺ — อาวุธต่างๆ, ทิวฺย — ทิพย์, มาลฺย — พวงมาลัยต่างๆ, อมฺพร — อาภรณ์ต่างๆ, ธรมฺ — สวม, ทิวฺย — ทิพย์, คนฺธ — กลิ่นหอม, อนุเลปนมฺ — ทาด้วย, สรฺว — ทั้งหมด, อาศฺจรฺย-มยมฺ — น่าอัศจรรย์, เทวมฺ — ส่องแสง, อนนฺตมฺ — ไม่สิ้นสุด, วิศฺวตห์-มุขมฺ — แผ่กระจายไปทั่ว

คำแปล

อรฺชุน ทรงเห็นภายในรูปลักษณ์จักรวาลนั้นว่ามีพระโอษฐ์ไม่มีที่สิ้นสุด พระเนตรไม่มีที่สิ้นสุด ภาพอัศจรรย์ไม่มีที่สิ้นสุด รูปลักษณ์ที่ประดับไปด้วยเครื่องประดับสวรรค์มากมาย และทรงถืออาวุธทิพย์มากมาย ทรงคล้องพวกมาลัยและอาภรณ์สวรรค์มากมาย มีน้ำหอมมากมายที่ชโลมไปทั่วพระวรกายของพระองค์ทั้งหมดนั้นน่าอัศจรรย์ สว่างไสว ไม่มีที่สิ้นสุด และแผ่กระจายไปทั่ว

คำอธิบาย

สองโศลกนี้ได้ใช้คำว่ามากมายหลายครั้งด้วยกัน แสดงให้เห็นว่าไม่มีขีดจำกัดในจำนวนของพระหัตถ์ พระโอษฐ์ พระเพลา และปรากฏการณ์อื่นๆที่ อรฺชุน ทรงได้เห็น ปรากฏการณ์เหล่านี้แจกจ่ายไปทั่วทั้งจักรวาล แต่ด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์ภควานฺทำให้ อรฺชุน ทรงสามารถเห็นสิ่งเหล่านี้ขณะที่นั่งอยู่ที่เดียว ที่เป็นเช่นนี้ได้ก็เนื่องมาจากพลังอำนาจที่ไม่สามารถมองเห็นได้ขององค์กฺฤษฺณ

โศลก 12

divi sūrya-sahasrasya
bhaved yugapad utthitā
yadi bhāḥ sadṛśī sā syād
bhāsas tasya mahātmanaḥ
ทิวิ สูรฺย-สหสฺรสฺย
ภเวทฺ ยุคปทฺ อุตฺถิตา
ยทิ ภาห์ สทฺฤศี สา สฺยาทฺ
ภาสสฺ ตสฺย มหาตฺมนห์
ทิวิ — ในท้องฟ้า, สูรฺย — หมู่ดวงอาทิตย์, สหสฺรสฺย — หลายๆพัน, ภเวตฺ — มี, ยุคปตฺ — พร้อมๆกัน, อุตฺถิตา — ปรากฏ, ยทิ — ถ้า, ภาห์ — แสง, สทฺฤศี — เหมือนเช่นนั้น, สา — นั้น, สฺยาตฺ — อาจเป็น, ภาสห์ — รัศมี, ตสฺย — ของพระองค์, มหา-อาตฺมนห์ — องค์ภควานฺผู้ยิ่งใหญ่

คำแปล

หากดวงอาทิตย์เป็นร้อยๆพันๆดวงขึ้นบนท้องฟ้าในบัดดล แสงของดวงอาทิตย์เหล่านี้อาจคล้ายกับรัศมีขององค์ภควานฺในรูปลักษณ์จักรวาลนั้น

คำอธิบาย

สิ่งที่ อรฺชุน ทรงได้เห็นอธิบายไม่ได้ ถึงกระนั้น สญฺชย พยายามให้เห็นจินตนาการแห่งการเปิดเผยอันยิ่งใหญ่นั้นแด่ ธฺฤตราษฺฏฺร ทั้ง สญฺชย และ ธฺฤตราษฺฏฺร ไม่ได้อยู่ที่นั้นแต่ด้วยพระกรุณาธิคุณของ วฺยาส สญฺชย จึงสามารถเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บัดนี้ สญฺชย เปรียบเทียบสถานการณ์กับปรากฏการณ์ทางจินตนาการ (ตัวอย่างเช่น ดวงอาทิตย์ขึ้นเป็นพันๆดวง) เท่าที่พอจะเข้าใจได้

โศลก 13

tatraika-sthaṁ jagat kṛtsnaṁ
pravibhaktam anekadhā
apaśyad deva-devasya
śarīre pāṇḍavas tadā
ตไตฺรก-สฺถํ ชคตฺ กฺฤตฺสฺนํ
ปฺรวิภกฺตมฺ อเนกธา
อปศฺยทฺ เทว-เทวสฺย
ศรีเร ปาณฺฑวสฺ ตทา
ตตฺร — ที่นั่น, เอก-สฺถมฺ — ในที่เดียว, ชคตฺ — จักรวาล, กฺฤตฺสฺนมฺ — สมบูรณ์, ปฺรวิภกฺตมฺ — แบ่งออก, อเนกธา — เป็นหลายๆ, อปศฺยตฺ — สามารถเห็น, เทว-เทวสฺย — องค์ภควานฺ, ศรีเร — ในรูปลักษณ์จักรวาล, ปาณฺฑวห์อรฺชุน, ตทา — ในขณะนั้น

คำแปล

ในขณะนั้น อรฺชุน ทรงสามารถเห็นรูปลักษณ์จักรวาลขององค์ภควานฺ ภาคที่แบ่งแยกอันไม่สิ้นสุดของจักรวาลสถิต ที่เดียว ถึงแม้ว่าแบ่งแยกออกไปเป็นหลายๆพัน

คำอธิบาย

คำว่า ตตฺร (“ที่นั่น”) นั้นมีความสำคัญมาก แสดงให้เห็นว่าทั้ง อรฺชุน และองค์กฺฤษฺณทรงประทับอยู่บนราชรถ ขณะที่ อรฺชุน ทรงได้เห็นรูปลักษณ์จักรวาลบุคคลอื่นๆในสมรภูมิไม่สามารถเห็นรูปลักษณ์นี้เพราะว่าองค์กฺฤษฺณทรงให้จักษุแด่ อรฺชุน เท่านั้น อรฺชุน ทรงสามารถเห็นดาวเคราะห์เป็นจำนวนพันๆดวงภายในพระวรกายขององค์กฺฤษฺณ ดังที่เราได้เรียนรู้จากคัมภีร์พระเวทว่ามีจักรวาลและมีดาวเคราะห์มากมายบางดวงทำมาจากดิน บางดวงทำมาจากทองคำ บางดวงทำมาจากอัญมณี บางดวงยิ่งใหญ่มาก บางดวงไม่ยิ่งใหญ่เท่าใดนัก ฯลฯ ขณะที่ทรงประทับอยู่บนราชรถ อรฺชุน ทรงเห็นทั้งหมดนี้ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถเข้าใจว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นระหว่าง อรฺชุน และองค์กฺฤษฺณ

โศลก 14

tataḥ sa vismayāviṣṭo
hṛṣṭa-romā dhanañ-jayaḥ
praṇamya śirasā devaṁ
kṛtāñjalir abhāṣata
ตตห์ ส วิสฺมยาวิษฺโฏ
หฺฤษฺฏ-โรมา ธนญฺ-ชยห์
ปฺรณมฺย ศิรสา เทวํ
กฺฤตาญฺชลิรฺ อภาษต
ตตห์ — หลังจากนั้น, สห์ — เขา, วิสฺมย-อาวิษฺฏห์ — ปลาบปลื้มด้วยความอัศจรรย์ใจ, หฺฤษฺฏ-โรมา — ขนบนผิวหนังลุกชันเนื่องจากความปลื้มปีติสุขอย่างใหญ่หลวง, ธนมฺ-ชยห์อรฺชุน, ปฺรณมฺย — ถวายความเคารพ, ศิรสา — ด้วยศรีษะ, เทวมฺ — แด่องค์ภควานฺ, กฺฤต-อญฺชลิห์ — ด้วยสองมือพนม, อภาษต — เริ่มตรัส

คำแปล

จากนั้นด้วยความสับสนและอัศจรรย์ใจ อรฺชุน ขนลุกตั้งชัน ทรงก้มศีรษะแสดงความเคารพด้วยสองมือพนม อรฺชุน ทรงเริ่มถวายบทมนต์แด่องค์ภควานฺ

คำอธิบาย

เมื่อจักษุทิพย์เปิดเผยขึ้นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กฺฤษฺณและ อรฺชุน ได้เปลี่ยนไปทันที ก่อนหน้านี้องค์กฺฤษฺณและ อรฺชุน ทรงมีความสัมพันธ์กันในฐานะเพื่อน แต่บัดนี้หลังจากได้เปิดเผยรูปลักษณ์จักรวาลแล้ว อรฺชุน ทรงแสดงความเคารพด้วยความเคารพบูชาอย่างยิ่งและด้วยสองมือพนม อรฺชุน ทรงถวายบทมนต์แด่องค์กฺฤษฺณ สรรเสริญรูปลักษณ์จักรวาล ดังนั้นความสัมพันธ์ของ อรฺชุน กลายมาเป็นความน่าอัศจรรย์มากกว่าความเป็นเพื่อน เหล่าสาวกผู้ยิ่งใหญ่เห็นองค์กฺฤษฺณในฐานะที่เป็นแหล่งกำเนิดของความสัมพันธ์ทั้งหลายทั้งปวง ในพระคัมภีร์ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์พื้นฐานสิบสองประเภทและทั้งหมดนั้นมีอยู่ในองค์กฺฤษฺณ ได้กล่าวไว้ว่าพระองค์ทรงเป็นมหาสมุทรแห่งความสัมพันธ์ทั้งหลายที่แลกเปลี่ยนกันระหว่างสองชีวิตระหว่างเทวดา หรือระหว่างองค์ภควานฺและสาวกของพระองค์

ที่นี้ อรฺชุน ทรงได้รับแรงดลใจด้วยความสัมพันธ์แห่งความอัศจรรย์ และภายในความอัศจรรย์นั้นถึงแม้โดยธรรมชาติ อรฺชุน ทรงเป็นผู้ที่มีความสุขุม สงบและเงียบมาก แต่ อรฺชุน ได้กลายมาเป็นผู้ที่มีความปลื้มปีติสุข ขนลุกตั้งชัน และทรงเริ่มถวายความเคารพแด่องค์ภควานฺด้วยมือทั้งสองพนม แน่นอนว่า อรฺชุน ทรงมิได้กลัวแต่ได้รับผลกระทบจากความอัศจรรย์ของพระองค์สภาพแวดล้อมในขณะนั้นคือความอัศจรรย์ ธรรมชาติความสัมพันธ์แห่งความรักฉันเพื่อนของเขาเต็มไปด้วยความอัศจรรย์ ดังนั้น อรฺชุน จึงทรงแสดงออกไปเช่นนั้น

โศลก 15

arjuna uvāca
paśyāmi devāṁs tava deva dehe
sarvāṁs tathā bhūta-viśeṣa-saṅghān
brahmāṇam īśaṁ kamalāsana-stham
ṛṣīṁś ca sarvān uragāṁś ca divyān
อรฺชุน อุวาจ
ปศฺยามิ เทวำสฺ ตว เทว เทเห
สรฺวำสฺ ตถา ภูต-วิเศษ-สงฺฆานฺ
พฺรหฺมาณมฺ อีศํ กมลาสน-สฺถมฺ
ฤษีํศฺ จ สรฺวานฺ อุรคำศฺ จ ทิวฺยานฺ
อรฺชุนห์ อุวาจอรฺชุน ตรัส, ปศฺยามิ — ข้าพเจ้าเห็น, เทวานฺ — เทวดาทั้งหลาย, ตว — ของพระองค์, เทว — องค์ภควานฺ, เทเห — ในร่าง, สรฺวานฺ — ทั้งหมด, ตถา — เช่นกัน, ภูต — สิ่งมีชีวิต, วิเศษ-สงฺฆานฺ — มารวมกันโดยเฉพาะ, พฺรหฺมาณมฺ — พระพรหม, อีศมฺ — พระศิวะ, กมล-อาสน-สฺถมฺ — ประทับอยู่บนดอกบัว, ฤษีนฺ — เหล่านักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่, — เช่นกัน, สรฺวานฺ — ทั้งหมด, อุรคานฺ — พวกนาค, — เช่นกัน, ทิวฺยานฺ — ทิพย์

คำแปล

อรฺชุน ตรัสว่า ศฺรี กฺฤษฺณที่รัก ข้าพเจ้าเห็นมวลเทวดาและมวลสิ่งมีชีวิตมารวมกันอยู่ในพระวรกายของพระองค์ข้าพเจ้าเห็นพระพรหมทรงประทับอยู่บนดอกบัว พร้อมทั้งพระศิวะ เหล่านักปราชญ์ และนาคทิพย์ทั้งหลาย

คำอธิบาย

อรฺชุน ทรงเห็นทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลดังนั้นจึงทรงเห็นพระพรหมผู้ทรงเป็นชีวิตแรกในจักรวาล และพญานาคทิพย์ที่ ครฺโภทก-ศายี วิษฺณุ ทรงบรรทมอยู่ในช่วงล่างของจักรวาล แท่นบรรทมนาคราชนี้เรียกว่า วาสุกิ ยังมีนาคอื่นๆที่ชื่อว่า วาสุกิ อรฺชุน ทรงสามารถเห็นเริ่มต้นจาก ครฺโภทก-ศายี วิษฺณุ ไปจนถึงส่วนสูงสุดของจักรวาลบนโลกรูปดอกบัวที่ที่พระพรหมผู้ทรงเป็นชีวิตแรกในจักรวาลประทับอยู่ เช่นนี้หมายความว่าจากจุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดจบ อรฺชุน ผู้ทรงประทับอยู่บนราชรถเพียงที่เดียวสามารถเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เป็นเช่นนี้ได้ก็เนื่องมาจากพระกรุณาธิคุณขององค์ภควานฺ กฺฤษฺณ

โศลก 16

aneka-bāhūdara-vaktra-netraṁ
paśyāmi tvāṁ sarvato ’nanta-rūpam
nāntaṁ na madhyaṁ na punas tavādiṁ
paśyāmi viśveśvara viśva-rūpa
อเนก-พาหูทร-วกฺตฺร-เนตฺรํ
ปศฺยามิ ตฺวำ สรฺวโต ’นนฺต-รูปมฺ
นานฺตํ น มธฺยํ น ปุนสฺ ตวาทึ
ปศฺยามิ วิเศฺวศฺวร วิศฺว-รูป
อเนก — มากมาย, พาหุ — พระกร, อุทร — พระนาภี, วกฺตฺร — พระโอษฐ์, เนตฺรมฺ — พระเนตร, ปศฺยามิ — ข้าพเจ้าเห็น, ตฺวามฺ — พระองค์, สรฺวตห์ — จากทุกๆด้าน, อนนฺต-รูปมฺ — รูปลักษณ์ที่ไม่มีที่สิ้นสุด, น อนฺตมฺ — ไม่มีจุดจบ, น มธฺยมฺ — ไม่มีตรงกลาง, น ปุนห์ — ไม่มีอีกครั้งหนึ่ง, ตว — ของพระองค์, อาทิมฺ — จุดเริ่มต้น, ปศฺยามิ — ข้าพเจ้าเห็น, วิศฺว-อีศฺวร — โอ้ พระผู้เป็นเจ้าแห่งจักรวาล, วิศฺว-รูป — ในรูปของจักรวาล

คำแปล

โอ้ พระผู้เป็นเจ้าแห่งจักรวาล โอ้ รูปลักษณ์จักรวาล ข้าพเจ้าทรงเห็นพระกร พระนาภี พระโอษฐ์ และพระเนตรมากมายในพระวรกายของพระองค์แผ่ขยายไปทุกหนทุกแห่ง ไม่มีที่สิ้นสุด ข้าพเจ้าทรงไม่เห็นจุดจบ จุดตรงกลาง และจุดเริ่มต้นในพระองค์

คำอธิบาย

องค์กฺฤษฺณคือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าผู้ทรงไร้ขอบเขตไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นเราจึงสามารถเห็นทุกสิ่งทุกอย่างได้โดยผ่านทางพระองค์

โศลก 17

kirīṭinaṁ gadinaṁ cakriṇaṁ ca
tejo-rāśiṁ sarvato dīptimantam
paśyāmi tvāṁ durnirīkṣyaṁ samantād
dīptānalārka-dyutim aprameyam
กิรีฏินํ คทินํ จกฺริณํ จ
เตโช-ราศึ สรฺวโต ทีปฺติมนฺตมฺ
ปศฺยามิ ตฺวำ ทุรฺนิรีกฺษฺยํ สมนฺตาทฺ
ทีปฺตานลารฺก-ทฺยุติมฺ อปฺรเมยมฺ
กิรีฏินมฺ — ด้วยมงกุฎ, คทินมฺ — ด้วยคทา, จกฺริณมฺ — ด้วยกงจักร, — และ, เตชห์-ราศิมฺ — รัศมี, สรฺวตห์ — ในทุกๆด้าน, ทีปฺติ-มนฺตมฺ — ส่องแสง, ปศฺยามิ — ข้าพเจ้าเห็น, ตฺวามฺ — พระองค์, ทุรฺนิรีกฺษฺยมฺ — ยากที่จะเห็น, สมนฺตาตฺ — ทุกหนทุกแห่ง, ทีปฺต-อนล — ไฟที่โชติช่วง, อรฺก — ของดวงอาทิตย์, ทฺยุติมฺ — แสงอาทิตย์, อปฺรเมยมฺ — วัดไม่ได้

คำแปล

รูปลักษณ์ของพระองค์นั้นเห็นได้ยากเนื่องจากรัศมีอันโชติช่วงที่แผ่ขยายไปทุกๆด้านเหมือนกับไฟอันโชติช่วงหรือแสงรัศมีของดวงอาทิตย์ที่วัดไม่ได้ ถึงกระนั้นข้าพเจ้ายังเห็นรูปลักษณ์อันโชติช่วงนี้ทุกหนทุกแห่ง ทรงประดับไปด้วยมงกุฎ คทา และกงจักร

โศลก 18

tvam akṣaraṁ paramaṁ veditavyaṁ
tvam asya viśvasya paraṁ nidhānam
tvam avyayaḥ śāśvata-dharma-goptā
sanātanas tvaṁ puruṣo mato me
ตฺวมฺ อกฺษรํ ปรมํ เวทิตวฺยํ
ตฺวมฺ อสฺย วิศฺวสฺย ปรํ นิธานมฺ
ตฺวมฺ อวฺยยห์ ศาศฺวต-ธรฺม-โคปฺตา
สนาตนสฺ ตฺวํ ปุรุโษ มโต เม
ตฺวมฺ — พระองค์, อกฺษรมฺ — ผู้ไม่มีความผิดพลาด, ปรมมฺ — สูงสุด, เวทิตวฺยมฺ — เข้าใจ, ตฺวมฺ — พระองค์, อสฺย — ของสิ่งนี้, วิศฺวสฺย — จักรวาล, ปรมฺ — สูงสุด, นิธานมฺ — พื้นฐาน, ตฺวมฺ — พระองค์, อวฺยยห์ — ผู้ไม่รู้จักหมด, ศาศฺวต-ธรฺม-โคปฺตา — ผู้บำรุงรักษาศาสนานิรันดร, สนาตนห์ — นิรันดร, ตฺวมฺ — พระองค์, ปุรุษห์ — องค์ภควานฺ, มตห์ เม — นี่คือความเห็นของข้าพเจ้า

คำแปล

พระองค์ทรงเป็นจุดมุ่งหมายแรกที่สูงสุด ทรงเป็นที่พำนักพักพิงสุดท้ายของจักรวาลทั้งหมดนี้ ทรงไม่รู้จักหมดสิ้น และทรงเป็นผู้อาวุโสที่สุด พระองค์ทรงเป็นผู้ทะนุบำรุงศาสนานิรันดร องค์ภควานฺนี่คือความเห็นของข้าพเจ้า

โศลก 19

anādi-madhyāntam ananta-vīryam
ananta-bāhuṁ śaśi-sūrya-netram
paśyāmi tvāṁ dīpta-hutāśa-vaktraṁ
sva-tejasā viśvam idaṁ tapantam
อนาทิ-มธฺยานฺตมฺ อนนฺต-วีรฺยมฺ
อนนฺต-พาหุํ ศศิ-สูรฺย-เนตฺรมฺ
ปศฺยามิ ตฺวำ ทีปฺต-หุตาศ-วกฺตฺรํ
สฺว-เตชสา วิศฺวมฺ อิทํ ตปนฺตมฺ
อนาทิ — ปราศจากจุดเริ่มต้น, มธฺย — ตรงกลาง, อนฺตมฺ — หรือจุดจบ, อนนฺต — ไม่มีที่สิ้นสุด, วีรฺยมฺ — พระบารมี, อนนฺต — ไม่มีที่สิ้นสุด, พาหุมฺ — พระกร, ศศิ — ดวงจันทร์, สูรฺย — ดวงอาทิตย์, เนตฺรมฺ — พระเนตร, ปศฺยามิ — ข้าพเจ้าเห็น, ตฺวามฺ — พระองค์, ทีปฺต — โชติช่วง, หุตาศ-วกฺตฺรมฺ — ไฟออกมาจากพระโอษฐ์ของพระองค์, สฺว-เตชสา — ด้วยรัศมีของพระองค์, วิศฺวมฺ — จักรวาล, อิทมฺ — นี้, ตปนฺตมฺ — ความร้อน

คำแปล

พระองค์ทรงปราศจากจุดเริ่มต้น จุดตรงกลาง และจุดจบ พระบารมีของพระองค์นั้นไม่มีที่สิ้นสุด พระองค์ทรงมีพระกรจำนวนนับไม่ถ้วน ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์คือพระเนตรของพระองค์ข้าพเจ้าทรงเห็นพระองค์พร้อมกับไฟอันโชติช่วงออกมาจากพระโอษฐ์ได้เผาไหม้จักรวาลทั้งหมดนี้ด้วยรัศมีของพระองค์

คำอธิบาย

ความมั่งคั่งหกประการของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงไม่มีขีดจำกัด ได้มีการกล่าวซ้ำ ที่นี้และอีกหลายแห่ง พระคัมภีร์กล่าวว่าการกล่าวซ้ำถึงพระบารมีขององค์กฺฤษฺณนั้นมิใช่เป็นความอ่อนแอของวรรณกรรม ในขณะที่สับสน แปลกใจ หรือมีความปลื้มปีติสุขอย่างใหญ่หลวงจะกล่าวประโยคซ้ำๆออกมา แบบนี้ไม่ถือเป็นข้อบกพร่องอันใด

โศลก 20

dyāv ā-pṛthivyor idam antaraṁ hi
vyāptaṁ tvayaikena diśaś ca sarvāḥ
dṛṣṭvādbhutaṁ rūpam ugraṁ tavedaṁ
loka-trayaṁ pravyathitaṁ mahātman
ทฺยาวฺ อา-ปฺฤถิโวฺยรฺ อิทมฺ อนฺตรํ หิ
วฺยาปฺตํ ตฺวไยเกน ทิศศฺ จ สรฺวาห์
ทฺฤษฺฏฺวาทฺภุตํ รูปมฺ อุคฺรํ ตเวทํ
โลก-ตฺรยํ ปฺรวฺยถิตํ มหาตฺมนฺ
เทฺยา — จากนอกอวกาศ, อา-ปฺฤถิโวฺยห์ — มาถึงโลก, อิทมฺ — นี้, อนฺตรมฺ — ระหว่าง, หิ — แน่นอน, วฺยาปฺตมฺ — แผ่กระจาย, ตฺวยา — โดยพระองค์, เอเกน — ผู้เดียว, ทิศห์ — ทิศทางต่างๆ, — และ, สรฺวาห์ — ทั้งหมด, ทฺฤษฺฏฺวา — ด้วยการเห็น, อทฺภุตมฺ — น่าอัศจรรย์, รูปมฺ — รูปลักษณ์, อุคฺรมฺ — น่าสะพรึงกลัว, ตว — ของพระองค์, อิทมฺ — นี้, โลก — ระบบดาวเคราะห์ต่างๆ, ตฺรยมฺ — สาม, ปฺรวฺยถิตมฺ — ยุ่งเหยิง, มหา-อาตฺมนฺ — โอ้ ผู้ยิ่งใหญ่

คำแปล

ถึงแม้ทรงเป็นหนึ่ง พระองค์ยังทรงแผ่กระจายไปทั่วนภากาศ ดาวเคราะห์ต่างๆและช่องว่างระหว่างสิ่งทั้งหลาย โอ้ ผู้ยิ่งใหญ่ เมื่อได้เห็นรูปลักษณ์อันน่าอัศจรรย์และน่าสะพรึงกลัวนี้ ระบบดาวเคราะห์ทั้งหลายยุ่งเหยิงไปหมด

คำอธิบาย

คำว่า ทฺยาวฺ อา-ปฺฤถิโวฺยห์ (“อวกาศหรือช่องว่างระหว่างสวรรค์และโลก”) และ โลก-ตฺรยมฺ (“สามโลก”) มีความสำคัญในโศลกนี้ เพราะปรากฏว่าไม่เพียงแต่ อรฺชุน เท่านั้นที่ทรงเห็นรูปลักษณ์จักรวาลขององค์ภควานฺแต่บุคคลอื่นๆในระบบดาวเคราะห์อื่นก็ได้เห็นด้วยเช่นกัน การที่ อรฺชุน ได้เห็นรูปลักษณ์จักรวาลนั้นไม่ใช่เป็นความฝัน ทุกคนที่พระองค์ทรงประทานจักษุทิพย์ให้จะได้เห็นรูปลักษณ์จักรวาลที่สมรภูมินี้

โศลก 21

amī hi tvāṁ sura-saṅghā viśanti
kecid bhītāḥ prāñjalayo gṛṇanti
svastīty uktvā maharṣi-siddha-saṅghāḥ
stuvanti tvāṁ stutibhiḥ puṣkalābhiḥ
อมี หิ ตฺวำ สุร-สงฺฆา วิศนฺติ
เกจิทฺ ภีตาห์ ปฺราญฺชลโย คฺฤณนฺติ
สฺวสฺตีตฺยฺ อุกฺตฺวา มหรฺษิ-สิทฺธ-สงฺฆาห์
สฺตุวนฺติ ตฺวำ สฺตุติภิห์ ปุษฺกลาภิห์
อมี — ทั้งหมดเหล่านั้น, หิ — แน่นอน, ตฺวามฺ — พระองค์, สุร-สงฺฆาห์ — เทวดากลุ่มต่างๆ, วิศนฺติ — เข้าไป, เกจิตฺ — บางท่าน, ภีตาห์ — เนื่องจากความกลัว, ปฺราญฺชลยห์ — ด้วยมือที่พนม, คฺฤณนฺติ — ถวายบทมนต์, สฺวสฺติ — ความสงบทั้งหมด, อิติ — ดังนั้น, อุกฺตฺวา — พูด, มหา-ฤษิ — นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่, สิทฺธ-สงฺฆาห์ — สิ่งมีชีวิตที่สมบูรณ์, สฺตุวนฺติ — ร้องเพลงบทมนต์, ตฺวามฺ — แด่พระองค์, สฺตุติภิห์ — ด้วยบทมนต์, ปุษฺกลาภิห์ — บทมนต์ เวทิจฺ

คำแปล

กองทัพเทวดาทั้งหลายศิโรราบต่อหน้าพระองค์และเสด็จเข้าไปในพระองค์บางองค์กลัวมากทรงถวายบทมนต์ด้วยมือพนม กลุ่มนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่และมนุษย์ผู้สมบูรณ์ร้องว่า “สันติภาพทั้งปวง!” ภาวนาแด่พระองค์ด้วยการร้องเพลงจากบทมนต์พระเวท

คำอธิบาย

เหล่าเทวดาในระบบดาวเคราะห์ทั้งหลายทรงกลัวปรากฏการณ์อันน่าสะพรึงกลัวแห่งรูปลักษณ์จักรวาลและรัศมีอันเจิดจรัสนี้ ดังนั้นจึงทรงภาวนาเพื่อให้ช่วยคุ้มครอง

โศลก 22

rudrādityā vasavo ye ca sādhyā
viśve ’śvinau marutaś coṣmapāś ca
gandharva-yakṣāsura-siddha-saṅghā
vīkṣante tvāṁ vismitāś caiva sarve
รุทฺราทิตฺยา วสโว เย จ สาธฺยา
วิเศฺว ’ศฺวิเนา มรุตศฺ โจษฺมปาศฺ จ
คนฺธรฺว-ยกฺษาสุร-สิทฺธ-สงฺฆา
วีกฺษนฺเต ตฺวำ วิสฺมิตาศฺ ไจว สเรฺว
รุทฺร — ปรากฏการณ์ของพระศิวะ, อาทิตฺยาห์ — เหล่า อาทิตฺย, วสวห์ — เหล่า วสุ, เย — ทั้งหมดนั้น, — และ, สาธฺยาห์ — เหล่า สาธฺย, วิเศฺว — เหล่า วิเศฺวเทว, อศฺวิเนา — อัชวินี-คุมาระ, มรุตห์ — เหล่ มรุตฺ, — และ, อุษฺม-ปาห์ — เหล่าบรรพบุรุษ, — และ, คนฺธรฺว — ของเหล่า คนฺธรฺว, ยกฺษ — เหล่า ยกฺษ, อสุร — เหล่ามาร, สิทฺธ — และเหล่าเทวดาที่สมบูรณ์, สงฺฆาห์ — ที่มาชุมนุมกัน, วีกฺษนฺเต — ได้เห็น, ตฺวามฺ — พระองค์, วิสฺมิตาห์ — ในความอัศจรรย์, — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, สเรฺว — ทั้งหมด

คำแปล

ปรากฏการณ์ต่างๆของพระศิวะ บรรดา อาทิตฺย, เหล่า วสุ, เหล่า สาธฺย, เหล่า วิเศฺวเทว, อศฺวี ทั้งสอง, เหล่า มรุตฺ, เหล่าบรรพบุรุษ, เหล่า คนฺธรฺว, เหล่า ยกฺษ, เหล่า อสุร และเหล่าเทวดาที่สมบูรณ์ ต่างมองดูพระองค์ด้วยความมหัศจรรย์ใจ

โศลก 23

rūpaṁ mahat te bahu-vaktra-netraṁ
mahā-bāho bahu-bāhūru-pādam
bahūdaraṁ bahu-daṁṣṭrā-karālaṁ
dṛṣṭvā lokāḥ pravyathitās tathāham
รูปํ มหตฺ เต พหุ-วกฺตฺร-เนตฺรํ
มหา-พาโห พหุ-พาหูรุ-ปาทมฺ
พหูทรํ พหุ-ทํษฺฏฺรา-กราลํ
ทฺฤษฺฏฺวา โลกาห์ ปฺรวฺยถิตาสฺ ตถาหมฺ
รูปมฺ — รูปลักษณ์, มหตฺ — ยิ่งใหญ่มาก, เต — ของพระองค์, พหุ — มากมาย, วกฺตฺร — พระพักตร์, เนตฺรมฺ — พระเนตร, มหา-พาโห — โอ้ นักรบผู้ยิ่งใหญ่, พหุ — มากมาย, พาหุ — พระกร, อูรุ — พระอุรุ, ปาทมฺ — พระเพลา, พหุ-อุทรมฺ — พระนาภีมากมาย, พหุ-ทํษฺฏฺรา — พระทนต์มากมาย, กราลมฺ — น่ากลัว, ทฺฤษฺฏฺวา — เห็น, โลกาห์ — โลกทั้งหมด, ปฺรวฺยถิตาห์ — ยุ่งเหยิง, ตถา — คล้ายๆกัน, อหมฺ — ข้าพเจ้า

คำแปล

โอ้ นักรบผู้ยิ่งใหญ่ ดาวเคราะห์ทั้งหมดรวมทั้งเหล่าเทวดาทรงตกใจที่ได้เห็นรูปลักษณ์อันยิ่งใหญ่ของพระองค์ที่ทรงมีพระพักตร์ พระเนตร พระกร พระเพลา พระนาภี และพระทนต์อันน่ากลัวมากมาย ขณะที่ทั้งหมดตกใจ ข้าพเจ้าก็ตกใจด้วยเช่นเดียวกัน

โศลก 24

nabhaḥ-spṛśaṁ dīptam aneka-varṇaṁ
vyāttānanaṁ dīpta-viśāla-netram
dṛṣṭvā hi tvāṁ pravyathitāntar-ātmā
dhṛtiṁ na vindāmi śamaṁ ca viṣṇo
นภห์-สฺปฺฤศํ ทีปฺตมฺ อเนก-วรฺณํ
วฺยาตฺตานนํ ทีปฺต-วิศาล-เนตฺรมฺ
ทฺฤษฺฏฺวา หิ ตฺวำ ปฺรวฺยถิตานฺตรฺ-อาตฺมา
ธฺฤตึ น วินฺทามิ ศมํ จ วิษฺโณ
นภห์-สฺปฺฤศมฺ — จรดท้องฟ้า, ทีปฺตมฺ — ส่องแสง, อเนก — มากมาย, วรฺณมฺ — หลากสี, วฺยาตฺต — เปิด, อานนมฺ — พระโอษฐ์, ทีปฺต — ส่องแสง, วิศาล — ยิ่งใหญ่มาก, เนตฺรมฺ — พระเนตร, ทฺฤษฺฏฺวา — เห็น, หิ — แน่นอน, ตฺวามฺ — พระองค์, ปฺรวฺยถิต — ยุ่งเหยิง, อนฺตห์ — ภายใน, อาตฺมา — วิญญาณ, ธฺฤติมฺ — มั่นคง, — ไม่, วินฺทามิ — ข้าพเจ้ามี, ศมมฺ — จิตใจที่สงบ, — เช่นกัน, วิษฺโณ — โอ้ พระวิษฺณุ

คำแปล

โอ้ พระวิษณุผู้ทรงแผ่กระจายไปทั่ว การที่ได้เห็นพระองค์พร้อมทั้งรัศมีที่มีสีสันเจิดจรัสมากมายจรดท้องฟ้า ช่องว่างระหว่างพระโอษฐ์ของพระองค์และพระเนตรที่แวววาวมาก จิตใจของข้ายุ่งเหยิงด้วยความกลัว ข้าพเจ้าไม่สามารถรักษาความมั่นคงหรือความสงบของจิตใจไว้ได้

โศลก 25

daṁṣṭrā-karālāni ca te mukhāni
dṛṣṭvaiva kālānala-sannibhāni
diśo na jāne na labhe ca śarma
prasīda deveśa jagan-nivāsa
ทํษฺฏฺรา-กราลานิ จ เต มุขานิ
ทฺฤษฺไฏฺวว กาลานล-สนฺนิภานิ
ทิโศ น ชาเน น ลเภ จ ศรฺม
ปฺรสีท เทเวศ ชคนฺ-นิวาส
ทํษฺฏฺรา — พระทนต์, กราลานิ — น่ากลัว, — เช่นกัน, เต — ของพระองค์, มุขานิ — พระพักตร์, ทฺฤษฺฏฺวา — เห็น, เอว — ดังนั้น, กาล-อนล — ไฟแห่งความตาย, สนฺนิภานิ — ประหนึ่ง, ทิศห์ — ทิศทางต่างๆ, — ไม่, ชาเน — ข้าพเจ้าทราบ, — ไม่, ลเภ — ข้าพเจ้าได้รับ, — และ, ศรฺม — พระกรุณาธิคุณ, ปฺรสีท — ได้โปรดยินดี, เทว-อีศ — โอ้ พระผู้เป็นเจ้าของมวลเทวดา, ชคตฺ-นิวาส — โอ้ ที่พักพิงของโลกต่างๆ

คำแปล

โอ้ ภควานฺของปวงเทวดา โอ้ ที่พักพิงของหมู่ดาวเคราะห์ทรงโปรดเมตตาต่อข้าพเจ้า ผู้ไม่สามารถรักษาความสมดุลไว้ได้เมื่อได้เห็นพระพักตร์อันเจิดจรัส และพระทนต์อันน่ากลัวเสมือนดั่งพญายมของพระองค์ข้ารู้สึกสับสนในทุกๆทิศทาง

โศลก 26-27

amī ca tvāṁ dhṛtarāṣṭrasya putrāḥ
sarve sahaivāvani-pāla-saṅghaiḥ
bhīṣmo droṇaḥ sūta-putras tathāsau
sahāsmadīyair api yodha-mukhyaiḥ
อมี จ ตฺวำ ธฺฤตราษฺฏฺรสฺย ปุตฺราห์
สเรฺว สไหวาวนิ-ปาล-สงฺไฆห์
ภีษฺโม โทฺรณห์ สูต-ปุตฺรสฺ ตถาเสา
สหาสฺมทีไยรฺ อปิ โยธ-มุไขฺยห์
vaktrāṇi te tvaramāṇā viśanti
daṁṣṭrā-karālāni bhayānakāni
kecid vilagnā daśanāntareṣu
sandṛśyante cūrṇitair uttamāṅgaiḥ
วกฺตฺราณิ เต ตฺวรมาณา วิศนฺติ
ทํษฺฏฺรา-กราลานิ ภยานกานิ
เกจิทฺ วิลคฺนา ทศนานฺตเรษุ
สนฺทฺฤศฺยนฺเต จูรฺณิไตรฺ อุตฺตมางฺไคห์
อมี — เหล่านี้, — เช่นกัน, ตฺวามฺ — พระองค์, ธฺฤตราษฺฏฺรสฺย — ของ ธฺฤตราษฺฏฺร, ปุตฺราห์ — บรรดาบุตร, สเรฺว — ทั้งหมด, สห — กับ, เอว — แน่นอน, อวนิ-ปาล — กษัตริย์ นักรบ, สงฺไฆห์ — กลุ่มต่าง, ภีษฺมห์ — บีชมะเดวะ, โทฺรณห์ — โดรณาชารยะ, สูต-ปุตฺรห์กรฺณ, ตถา — เช่นกัน, อเสา — นั้น, สห — กับ, อสฺมทีไยห์ — ของเรา, อปิ — เช่นกัน, โยธ-มุไขฺยห์ — ผู้นำในหมู่นักรบ, วกฺตฺราณิ — พระโอษฐ์, เต — ของพระองค์, ตฺวรมาณาห์ — รีบเร่ง, วิศนฺติ — เข้าไป, ทํษฺฏฺรา — พระทนต์, กราลานิ — น่ากลัว, ภยานกานิ — น่ากลัวมาก, เกจิตฺ — บ้าง, วิลคฺนาห์ — ยึดติดอยู่, ทศน-อนฺตเรษุ — ระหว่างพระทนต์, สนฺทฺฤศฺยนฺเต — ได้เห็น, จูรฺณิไตห์ — ด้วยการฟาด, อุตฺตม-องฺไคห์ — ศีรษะ

คำแปล

บุตรของ ธฺฤตราษฺฏฺร ทั้งหมด และเหล่ากษัตริย์พันธมิตร รวมทั้ง ภีษฺม โทฺรณ กรฺณ พร้อมทั้งผู้นำทหารของพวกเราด้วย ทั้งหมดรีบเร่งเข้าไปในพระโอษฐ์อันน่าสะพรึงกลัวของพระองค์ข้าพเจ้าเห็นบางคนศีรษะฟาดไปติดอยู่ที่ระหว่างพระทนต์ของพระองค์

คำอธิบาย

โศลกก่อนหน้านี้องค์กฺฤษฺณทรงสัญญากับ อรฺชุน ว่าจะแสดงสิ่งที่ อรฺชุน ทรงสนใจมาก บัดนี้ อรฺชุน ทรงเห็นผู้นำของฝ่ายตรงข้าม (ภีษฺม โทฺรณ กรฺณ และบุตรทั้งหมดของ ธฺฤตราษฺฏฺร) และกองกำลังทหารของทั้งสองฝ่าย ทั้งหมดนั้นกำลังถูกทำลายเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าหลังจากผู้ที่มาชุมนุมกันที่ กุรุกฺเษตฺร เกือบทั้งหมดตายไป อรฺชุน จะทรงได้รับชัยชนะ ได้กล่าวไว้ที่นี้ด้วยว่า ภีษฺม ผู้ที่ไม่มีผู้ใดสามารถเอาชนะได้จะถูกบดขยี้ และ กรฺณ ก็จะถูกทำลายเช่นเดียวกัน ไม่เพียงแต่นักรบผู้ยิ่งใหญ่ของฝ่ายตรงข้าม เช่น ภีษฺม ถูกทำลายแม้แต่ยอดนักรบของฝ่าย อรฺชุน เองบางคนจะถูกทำลายเช่นเดียวกัน

โศลก 28

yathā nadīnāṁ bahavo ’mbu-vegāḥ
samudram evābhimukhā dravanti
tathā tavāmī nara-loka-vīrā
viśanti vaktrāṇy abhivijvalanti
ยถา นทีนำ พหโว ’มฺพุ-เวคาห์
สมุทฺรมฺ เอวาภิมุขา ทฺรวนฺติ
ตถา ตวามี นร-โลก-วีรา
วิศนฺติ วกฺตฺราณฺยฺ อภิวิชฺวลนฺติ
ยถา — ดังที่, นทีนามฺ — ของแม่น้ำ, พหวห์ — มากมาย, อมฺพุ-เวคาห์ — คลื่นของน้ำ, สมุทฺรมฺ — มหาสมุทร, เอว — แน่นอน, อภิมุขาห์ — ไปสู่, ทฺรวนฺติ — ไหล, ตถา — เช่นเดียวกัน, ตว — ของพระองค์, อมี — ทั้งหมดนี้, นร-โลก-วีราห์ — เหล่ากษัตริย์ของสังคมมนุษย์, วิศนฺติ — เข้าไป, วกฺตฺราณิ — พระโอษฐ์, อภิวิชฺวลนฺติ — และกำลังโชติช่วง

คำแปล

เหมือนกับคลื่นในแม่น้ำมากมายที่ไหลลงสู่มหาสมุทรฉันใด นักรบผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลายเหล่านี้ก็ไหลเข้าไปในพระโอษฐ์อันร้อนโชติช่วงของพระองค์ฉันนั้น

โศลก 29

yathā pradīptaṁ jvalanaṁ pataṅgā
viśanti nāśāya samṛddha-vegāḥ
tathaiva nāśāya viśanti lokās
tavāpi vaktrāṇi samṛddha-vegāḥ
ยถา ปฺรทีปฺตํ ชฺวลนํ ปตงฺคา
วิศนฺติ นาศาย สมฺฤทฺธ-เวคาห์
ตไถว นาศาย วิศนฺติ โลกาสฺ
ตวาปิ วกฺตฺราณิ สมฺฤทฺธ-เวคาห์
ยถา — เหมือนดัง, ปฺรทีปฺตมฺ — โชติช่วง, ชฺวลนมฺ — ไฟ, ปตงฺคาห์ — พระโอษฐ์, วิศนฺติ — เข้าไป, นาศาย — เพื่อทำลาย, สมฺฤทฺธ — สูงสุด, เวคาห์ — ความเร็ว, ตถา เอว — ในทำนองเดียวกัน, นาศาย — เพื่อการทำลาย, วิศนฺติ — เข้าไป, โลกาห์ — ผู้คนทั้งหมด, ตว — พระองค์, อปิ — เช่นกัน, วกฺตฺราณิ — พระโอษฐ์, สมฺฤทฺธ-เวคาห์ — ด้วยความเร็วสูงสุด

คำแปล

ข้าพเจ้าเห็นผู้คนทั้งหลายรีบเร่งด้วยความเร็วสูงเข้าไปในพระโอษฐ์ของพระองค์เหมือนกับแมลงเม่าพุ่งเข้าสู่ความตายในกองไฟที่ลุกโชติช่วง

โศลก 30

lelihyase grasamānaḥ samantāl
lokān samagrān vadanair jvaladbhiḥ
tejobhir āpūrya jagat samagraṁ
bhāsas tavogrāḥ pratapanti viṣṇo
เลลิหฺยเส คฺรสมานห์ สมนฺตาลฺ
โลกานฺ สมคฺรานฺ วทไนรฺ ชฺวลทฺภิห์
เตโชภิรฺ อาปูรฺย ชคตฺ สมคฺรํ
ภาสสฺ ตโวคฺราห์ ปฺรตปนฺติ วิษฺโณ
เลลิหฺยเส — พระองค์ทรงเลีย, คฺรสมานห์ — กลืน, สมนฺตาตฺ — จากทั่วทุกสารทิศ, โลกานฺ — ผู้คน, สมคฺรานฺ — ทั้งหมด, วทไนห์ — ด้วยพระโอษฐ์มากมาย, ชฺวลทฺภิห์ — โชติช่วง, เตโชภิห์ — ด้วยรัศมี, อาปูรฺย — ปกคลุม, ชคตฺ — จักรวาล, สมคฺรมฺ — ทั้งหมด, ภาสห์ — แสง, ตว — ของพระองค์, อุคฺราห์ — น่ากลัว, ปฺรตปนฺติ — แผดจ้า, วิษฺโณ — โอ้ องค์ภควานฺผู้ทรงแผ่กระจายไปทั่ว

คำแปล

โอ้ พระวิษณุข้าพเจ้าเห็นพระองค์ทรงกลืนผู้คนทั้งหมดจากทั่วทุกสารทิศด้วยพระโอษฐ์มากมายที่ลุกเป็นไฟของพระองค์ทรงปกคลุมจักรวาลทั้งหมดด้วยรัศมีของพระองค์พระองค์ทรงปรากฏด้วยแสงรัศมีที่ร้อนแผดเผาอย่างน่ากลัว

โศลก 31

ākhyāhi me ko bhavān ugra-rūpo
namo ’stu te deva-vara prasīda
vijñātum icchāmi bhavantam ādyaṁ
na hi prajānāmi tava pravṛttim
อาขฺยาหิ เม โก ภวานฺ อุคฺร-รูโป
นโม ’สฺตุ เต เทว-วร ปฺรสีท
วิชฺญาตุมฺ อิจฺฉามิ ภวนฺตมฺ อาทฺยํ
น หิ ปฺรชานามิ ตว ปฺรวฺฤตฺติมฺ
อาขฺยาหิ — ทรงโปรดกรุณาอธิบาย, เม — แด่ข้าพเจ้า, กห์ — ผู้ซึ่ง, ภวานฺ — พระองค์, อุคฺร-รูปห์ — รูปลักษณ์อันดุร้าย, นมห์ อสฺตุ — ความเคารพ, เต — แด่พระองค์, เทว-วร — โอ้ ผู้ยิ่งใหญ่ในหมู่เทวดา, ปฺรสีท — ได้โปรดกรุณา, วิชฺญาตุมฺ — ทราบ, อิจฺฉามิ — ข้าพเจ้าปรารถนา, ภวนฺตมฺ — พระองค์, อาทฺยมฺ — องค์เดิม, — ไม่, หิ — แน่นอน, ปฺรชานามิ — ข้าพเจ้าทราบ, ตว — ของพระองค์, ปฺรวฺฤตฺติมฺ — พระภารกิจ

คำแปล

โอ้ พระผู้เป็นเจ้าของปวงเทวดา ผู้ทรงมีรูปลักษณ์ที่ดุร้ายมาก ได้โปรดบอกข้าว่าพระองค์คือใคร ข้าขอแสดงความเคารพแด่พระองค์ผู้ทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้าองค์แรก ได้โปรดกรุณาต่อข้า ข้าปรารถนาที่จะทราบเกี่ยวกับพระองค์เนื่องจากข้าพเจ้าไม่ทราบว่าอะไรคือพระภารกิจของพระองค์

โศลก 32

śrī-bhagavān uvāca
kālo ’smi loka-kṣaya-kṛt pravṛddho
lokān samāhartum iha pravṛttaḥ
ṛte ’pi tvāṁ na bhaviṣyanti sarve
ye ’vasthitāḥ praty-anīkeṣu yodhāḥ
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
กาโล ’สฺมิ โลก-กฺษย-กฺฤตฺ ปฺรวฺฤทฺโธ
โลกานฺ สมาหรฺตุมฺ อิห ปฺรวฺฤตฺตห์
ฤเต ’ปิ ตฺวำ น ภวิษฺยนฺติ สเรฺว
เย ’วสฺถิตาห์ ปฺรตฺยฺ-อนีเกษุ โยธาห์
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัส, กาลห์ — กาลเวลา, อสฺมิ — ข้าเป็น, โลก — ของหมู่โลก, กฺษย-กฺฤตฺ — ผู้ทำลาย, ปฺรวฺฤทฺธห์ — ยิ่งใหญ่, โลกานฺ — ผู้คนทั้งหมด, สมาหรฺตุมฺ — ในการทำลาย, อิห — ในโลกนี้, ปฺรวฺฤตฺตห์ — ปฏิบัติ, ฤเต — ปราศจาก, ยกเว้น, อปิ — แม้, ตฺวามฺ — เธอ, — ไม่เคย, ภวิษฺยนฺติ — จะเป็น, สเรฺว — ทั้งหมด, เย — ใคร, อวสฺถิตาห์ — สถิต, ปฺรติ-อนีเกษุ — ฝ่ายตรงข้าม, โยธาห์ — เหล่าทหาร

คำแปล

บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัสว่า ข้าคือกาลเวลาอันยิ่งใหญ่ที่ทำลายโลกทั้งหลาย ข้ามาที่นี่เพื่อทำลายผู้คนทั้งหมด ยกเว้นแต่เธอ (พวก ปาณฺฑว) ทหารทั้งสองฝ่ายที่นี้จะถูกสังหารหมด

คำอธิบาย

ถึงแม้ อรฺชุน ทรงทราบดีว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นสหายและทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า แต่ยังรู้สึกงุนงงจากรูปลักษณ์ต่างๆที่องค์กฺฤษฺณทรงแสดงให้เห็น ดังนั้น อรฺชุน จึงทรงถามต่อถึงพระภารกิจอันแท้จริงของพลังแห่งการทำลายล้างนี้ ได้เขียนไว้ในคัมภีร์พระเวทว่าสัจธรรมสูงสุดจะทำลายทุกสิ่งอย่างแม้แต่พวก พฺราหฺมณ ดังที่ได้กล่าวไว้ใน กฐ อุปนิษทฺ (1.2.25) ว่า

ยสฺย พฺรหฺม จ กฺษตฺรํ จ
อุเภ ภวต โอทนห์
มฺฤตฺยุรฺ ยโสฺยปเสจนํ
ก อิตฺถา เวท ยตฺร สห์
ในอนาคตทั้ง พฺราหฺมณ กฺษตฺริย ทั้งหมด และทุกๆคนจะถูกองค์ภควานฺกลืนเข้าไปเหมือนกับอาหาร รูปลักษณ์ขององค์ภควานฺนี้คือยักษ์ใหญ่ที่กลืนกินทุกสิ่งทุกอย่าง ที่นี้องค์กฺฤษฺณทรงแสดงพระองค์เองในรูปลักษณ์ของกาลเวลาที่กลืนกินทุกสิ่งทุกอย่าง ยกเว้น ปาณฺฑว ไม่กี่คนนอกนั้นที่อยู่ที่มรภูมินี้ก็จะถูกพระองค์กลืนเข้าไปหมด อรฺชุน ทรงไม่ชอบสงครามครั้งนี้ และคิดว่าไม่รบดีกว่าจะได้ไม่ต้องหนักใจ องค์ภควานฺทรงตอบด้วยการกล่าวว่าถึงแม้ว่า อรฺชุน จะไม่ต่อสู้ทุกๆคนก็จะถูกทำลายอยู่ดี เพราะนั่นคือแผนของพระองค์หาก อรฺชุน หยุดการต่อสู้พวกเขาก็จะตายด้วยวิธีอื่น ถึงแม้ว่า อรฺชุน จะไม่รบก็หยุดความตายไม่ได้ อันที่จริงพวกนี้ได้ตายไปแล้ว กาลเวลาคือการทำลาย ปรากฏการณ์ทั้งหมดจะถูกทำลายไปด้วยความปรารถนาขององค์ภควานฺ นั่นคือกฎแห่งธรรมชาติ

โศลก 33

tasmāt tvam uttiṣṭha yaśo labhasva
jitvā śatrūn bhuṅkṣva rājyaṁ samṛddham
mayaivaite nihatāḥ pūrvam eva
nimitta-mātraṁ bhava savya-sācin
ตสฺมาตฺ ตฺวมฺ อุตฺติษฺฐ ยโศ ลภสฺว
ชิตฺวา ศตฺรูนฺ ภุงฺกฺษฺว ราชฺยํ สมฺฤทฺธมฺ
มไยไวเต นิหตาห์ ปูรฺวมฺ เอว
นิมิตฺต-มาตฺรํ ภว สวฺย-สาจินฺ
ตสฺมาตฺ — ดังนั้น, ตฺวมฺ — เธอ, อุตฺติษฺฐ — ลุกขึ้น, ยศห์ — เกียรติยศ, ลภสฺว — ได้รับ, ชิตฺวา — ชัยชนะ, ศตฺรูนฺ — เหล่าศัตรู, ภุงฺกฺษฺว — รื่นเริง, ราชฺยมฺ — อาณาจักร, สมฺฤทฺธมฺ — ความเจริญรุ่งเรือง, มยา — โดยข้า, เอว — แน่นอน, เอเต — ทั้งหมดนี้, นิหตาห์ — ถูกสังหาร, ปูรฺวมฺ เอว — จากการตระเตรียมในอดีต, นิมิตฺต-มาตฺรมฺ — เพียงเป็นเหตุ, ภว — กลายเป็น, สวฺย-สาจินฺ — โอ้ สวฺยสาจี

คำแปล

ดังนั้นจงลุกขึ้น เตรียมตัวสู้แล้วเธอจะได้รับการสรรเสริญ เอาชนะศัตรูและมีความสุขกับอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรือง จากการตระเตรียมของข้าพวกเขาได้ตายไปแล้ว และเธอ โอ้ สวฺยสาจี เป็นเครื่องมือในการต่อสู้

คำอธิบาย

สวฺย-สาจินฺ หมายถึงผู้ที่สามารถยิงธนูชำนาญมากในสนามรบ ดังนั้น อรฺชุน ทรงถูกเรียกว่าเป็นนักรบผู้ชำนาญในการยิงธนูเพื่อสังหารศัตรู “เพียงแต่มาเป็นเครื่องมือ” นิมิตฺต-มาตฺรมฺ คำนี้มีความสำคัญมากเช่นกัน โลกทั้งโลกเคลื่อนไหวไปตามแผนขององค์ภควานฺ คนโง่เขลาที่ไม่มีความรู้เพียงพอคิดว่าธรรมชาติเคลื่อนไหวไปโดยปราศจากแผนการ และปรากฏการณ์ทั้งหลายเป็นเพียงอุบัติเหตุของขบวนการสร้าง มีพวกที่สมมติว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์มากมายแนะนำว่าบางทีเป็นอย่างนี้หรือบางทีก็เป็นอย่างนั้น แต่อันที่จริงไม่มีคำว่า “บางที” หรือ “อาจจะ” เพราะมีแผนการเฉพาะเจาะจงที่ดำเนินไปในโลกวัตถุนี้ แผนนี้คืออะไร ปรากฏการณ์ในจักรวาลเปิดโอกาสสำหรับพันธวิญญาณที่จะกลับคืนสู่องค์ภควานฺ คืนสู่เหย้า ตราบใดที่ยังมีความคิดโอหังพยายามที่จะเป็นเจ้าเหนือธรรมชาติวัตถุพวกเขาต้องถูกพันธนาการ หากผู้ใดเข้าใจแผนขององค์ภควานฺและพัฒนากฺฤษฺณจิตสำนึกจะเป็นผู้ที่มีปัญญาสูงสุด การสร้างและการทำลายของปรากฏการณ์ในจักรวาลอยู่ภายใต้การนำที่สูงกว่าขององค์ภควานฺ ดังนั้นสงครามในสนามรบ กุรุกฺเษตฺร เป็นไปตามแผนของพระองค์อรฺชุน ทรงปฏิเสธที่จะต่อสู้แต่ได้รับคำแนะนำให้สู้ตามความปรารถนาขององค์ภควานฺแล้วชีวิตจะมีความสุข หากผู้ใดอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์และอุทิศชีวิตในการรับใช้ทิพย์ต่อพระองค์ผู้นั้นจะเป็นบุคคลที่บริบูรณ์

โศลก 34

droṇaṁ ca bhīṣmaṁ ca jayadrathaṁ ca
karṇaṁ tathānyān api yodha-vīrān
mayā hatāṁs tvaṁ jahi mā vyathiṣṭhā
yudhyasva jetāsi raṇe sapatnān
โทฺรณํ จ ภีษฺมํ จ ชยทฺรถํ จ
กรฺณํ ตถานฺยานฺ อปิ โยธ-วีรานฺ
มยา หตำสฺ ตฺวํ ชหิ มา วฺยถิษฺฐา
ยุธฺยสฺว เชตาสิ รเณ สปตฺนานฺ
โทฺรณมฺ จโทฺรณ ก็เช่นกัน, ภีษฺมมฺ จภีษฺม ก็เช่นกัน, ชยทฺรถมฺ จชยทฺรถ ก็เช่นกัน, กรฺณมฺกรฺณ, ตถา — เช่นกัน, อนฺยานฺ — บุคคลอื่นๆ, อปิ — แน่นอน, โยธ-วีรานฺ — เหล่านักรบผู้ยิ่งใหญ่, มยา — โดยข้า, หตานฺ — ถูกสังหารแล้ว, ตฺวมฺ — เธอ, ชหิ — ทำลาย, มา — ไม่, วฺยถิษฺฐาห์ — กังวลใจ, ยุธฺยสฺว — เพียงแต่สู้, เชตา อสิ — เธอจะได้รับชัยชนะ, รเณ — ในการต่อสู้, สปตฺนานฺ — เหล่าศัตรู

คำแปล

โทฺรณ, ภีษฺม, ชยทฺรถ, กรฺณ และนักรบผู้ยิ่งใหญ่อื่นๆข้าได้ทำลายไปเรียบร้อยแล้ว ฉะนั้นจงสังหารพวกเขา และไม่ต้องกังวลใจ เพียงแต่สู้ แล้วเธอจะกำราบเหล่าศัตรูในสนามรบ

คำอธิบาย

บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงเป็นผู้กำหนดทุกๆแผนการ แต่พระองค์ทรงมีพระเมตตากรุณาต่อสาวกของพระองค์มาก จึงทรงอยากให้สาวกผู้ปฏิบัติตามแผนการที่พระองค์ปรารถนานั้นได้รับชื่อเสียง ฉะนั้นชีวิตควรขับเคลื่อนไปในวิถีทางที่ทุกๆคนควรปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก และเข้าใจองค์ภควานฺผ่านทางสื่อแห่งพระอาจารย์ทิพย์ แผนการต่างๆขององค์ภควานฺเข้าใจได้ด้วยพระเมตตาธิคุณของพระองค์และแผนการต่างๆของสาวกก็ดีเท่ากับแผนการขององค์ภควานฺ ดังนั้นเราจึงควรปฏิบัติตามแผนเหล่านี้และได้รับชัยชนะในการดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอด

โศลก 35

sañjaya uvāca
etac chrutvā vacanaṁ keśavasya
kṛtāñjalir vepamānaḥ kirīṭī
namaskṛtvā bhūya evāha kṛṣṇaṁ
sa-gadgadaṁ bhīta-bhītaḥ praṇamya
สญฺชย อุวาจ
เอตจฺ ฉฺรุตฺวา วจนํ เกศวสฺย
กฺฤตาญฺชลิรฺ เวปมานห์ กิรีฏี
นมสฺกฺฤตฺวา ภูย เอวาห กฺฤษฺณํ
ส-คทฺคทํ ภีต-ภีตห์ ปฺรณมฺย
สญฺชยห์ อุวาจสญฺชย กล่าว, เอตตฺ — ดังนั้น, ศฺรุตฺวา — ได้ยิน, วจนมฺ — คำพูด, เกศวสฺย — ของกฺฤษฺณ, กฺฤต-อญฺชลิห์ — ด้วยสองมือพนม, เวปมานห์ — สั่น, กิรีฏีอรฺชุน, นมสฺกฺฤตฺวา — ถวายความเคารพ, ภูยห์ — อีกครั้ง, เอว — เช่นกัน, อาห — กล่าว, กฺฤษฺณมฺ — แด่องค์กฺฤษฺณ, ส-คทฺคทมฺ — ด้วยเสียงที่ตะกุกตะกัก, ภีต-ภีตห์ — ความกลัว, ปฺรณมฺย — ถวายความเคารพ

คำแปล

สญฺชย กล่าวแด่ ธฺฤตราษฺฏฺร ว่า โอ้ พระราชา หลังจากทรงได้ยินคำพูดเหล่านี้จากบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าแล้ว อรฺชุน ผู้ที่ตัวสั่นไปหมดทรงถวายความเคารพด้วยสองมือพนมหลายต่อหลายครั้ง อรฺชุน ตรัสต่อองค์กฺฤษฺณด้วยความกลัวและด้วยเสียงที่ตะกุกตะกักดังต่อไปนี้

คำอธิบาย

ดังที่ได้อธิบายไว้แล้วว่าเนื่องจากสถานการณ์ที่เกิดจากรูปลักษณ์จักรวาลขององค์ภควานฺนั้นทำให้ อรฺชุน ทรงรู้สึกตกตะลึงในความอัศจรรย์จึงเริ่มถวายความเคารพอย่างสูงแด่องค์กฺฤษฺณหลายต่อหลายครั้ง และด้วยเสียงที่ตะกุกตะกัก อรฺชุน ทรงเริ่มสวดมนต์มิใช่ในฐานะเพื่อนแต่ในฐานะสาวกผู้ทรงอยู่ในความอัศจรรย์ใจ

โศลก 36

arjuna uvāca
sthāne hṛṣīkeśa tava prakīrtyā
jagat prahṛṣyaty anurajyate ca
rakṣāṁsi bhītāni diśo dravanti
sarve namasyanti ca siddha-saṅghāḥ
อรฺชุน อุวาจ
สฺถาเน หฺฤษีเกศ ตว ปฺรกีรฺตฺยา
ชคตฺ ปฺรหฺฤษฺยตฺยฺ อนุรชฺยเต จ
รกฺษำสิ ภีตานิ ทิโศ ทฺรวนฺติ
สเรฺว นมสฺยนฺติ จ สิทฺธ-สงฺฆาห์
อรฺชุนห์ อุวาจอรฺชุน ตรัส, สฺถาเน — ถูกต้อง, หฺฤษีก-อีศ — โอ้ เจ้าแห่งประสาทสัมผัสทั้งหลาย, ตว — ของพระองค์, ปฺรกีรฺตฺยา — ด้วยพระบารมี, ชคตฺ — ทั่วทั้งโลก, ปฺรหฺฤษฺยติ — รื่นเริง, อนุรชฺยเต — ยึดมั่น, — และ, รกฺษำสิ — เหล่ามาร, ภีตานิ — จากความกลัว, ทิศห์ — ในทุกๆสารทิศ, ทฺรวนฺติ — หนี, สเรฺว — ทั้งหมด, นมสฺยนฺติ — ถวายความเคารพ, — เช่นกัน, สิทฺธ-สงฺฆาห์ — มนุษย์ที่สมบูรณ์

คำแปล

อรฺชุน ตรัสว่า โอ้ เจ้าแห่งประสาทสัมผัส ทั้งโลกรื่นเริงยินดีที่ได้ยินพระนามของพระองค์ดังนั้น ทุกคนจึงมายึดมั่นอยู่ที่พระองค์แม้ว่ามนุษย์ผู้สมบูรณ์ถวายความเคารพแด่พระองค์แต่เหล่ามารกลัวและหลบหนีไปที่นั่นที่นี่ สิ่งเหล่านี้ได้มีการกระทำลงไปอย่างถูกต้อง

คำอธิบาย

หลังจากได้ยินเกี่ยวกับผลสรุปของสนามรบ กุรุกฺเษตฺร อรฺชุน ทรงได้รับแสงสว่างในฐานะที่เป็นสาวกผู้ยิ่งใหญ่และเป็นสหายขององค์ภควานฺ อรฺชุน ทรงกล่าวว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่องค์กฺฤษฺณทรงกระทำไปนั้นเหมาะสมถูกต้อง และยืนยันว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้ค้ำจุน ทรงเป็นจุดมุ่งหมายแห่งการบูชาของสาวก และทรงเป็นผู้ทำลายสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา การกระทำของพระองค์นั้นดีเท่าๆกันสำหรับทุกๆคน ตรงนี้ อรฺชุน ทรงเข้าใจว่าขณะที่กำลังสรุปเหตุการณ์ที่สมรภูมิ กุรุกฺเษตฺร ในอวกาศมีเทวดามากมาย เช่น สิดดะและพวกมีปัญญาจากดาวเคราะห์ที่สูงกว่าได้มาสังเกตการสู้รบเพราะว่าองค์กฺฤษฺณทรงอยู่ ที่นั้น เมื่อ อรฺชุน ทรงได้เห็นรูปลักษณ์จักรวาลขององค์ภควานฺเหล่าเทวดาชื่นชมยินดีไปด้วย แต่พวกมารและพวกที่ไม่เชื่อในองค์ภควานฺทนไม่ได้ที่เห็นพระองค์ได้รับการสรรเสริญ จากความกลัวรูปลักษณ์แห่งการทำลายของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้ามารจึงวิ่งหนีไปโดยธรรมชาติ อรฺชุน ทรงสรรเสริญองค์กฺฤษฺณที่ทรงปฏิบัติต่อเหล่าสาวกและพวกที่ไม่เชื่อในพระองค์ในทุกๆกรณีสาวกนั้นจะสรรเสริญพระองค์เพราะทราบดีว่าทุกสิ่งที่องค์กฺฤษฺณทรงกระทำจะเป็นผลดีสำหรับทุกๆคน

โศลก 37

kasmāc ca te na nameran mahātman
garīyase brahmaṇo ’py ādi-kartre
ananta deveśa jagan-nivāsa
tvam akṣaraṁ sad-asat tat paraṁ yat
กสฺมาจฺ จ เต น นเมรนฺ มหาตฺมนฺ
ครียเส พฺรหฺมโณ ’ปฺยฺ อาทิ-กรฺเตฺร
อนนฺต เทเวศ ชคนฺ-นิวาส
ตฺวมฺ อกฺษรํ สทฺ-อสตฺ ตตฺ ปรํ ยตฺ
กสฺมาตฺ — ทำไม, — เช่นกัน, เต — แด่พระองค์, — ไม่, นเมรนฺ — พวกเขาควรถวายความเคารพอย่างเหมาะสม, มหา-อาตฺมนฺ — โอ้ ผู้ยิ่งใหญ่, ครียเส — ผู้ที่ดีกว่า, พฺรหฺมณห์ — กว่าพระพรหม, อปิ — ถึงแม้ว่า, อาทิ-กรฺเตฺร — แด่ผู้สร้างสูงสุด, อนนฺต — โอ้ ผู้ไม่มีที่สิ้นสุด, เทว-อีศ — โอ้ พระผู้เป็นเจ้าของปวงเทวดา, ชคตฺ-นิวาส — โอ้ ที่พักพิงของจักรวาล, ตฺวมฺ — พระองค์ทรงเป็น, อกฺษรมฺ — ผู้ไม่มีวันถูกทำลาย, สตฺ-อสตฺ — เหตุและผล, ตตฺ ปรมฺ — ทิพย์, ยตฺ — เพราะว่า

คำแปล

โอ้ ผู้ยิ่งใหญ่ ยิ่งใหญ่กว่าแม้แต่พระพรหม พระองค์ทรงเป็นผู้สร้างองค์แรก แล้วเหตุไฉนพวกเขาจึงไม่ถวายความเคารพแด่พระองค์เล่า โอ้ ผู้ไร้ขีดจำกัด พระผู้เป็นเจ้าของปวงเทวดา ที่พักพิงของจักรวาล พระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดที่อยู่ยงคงกระพัน เป็นแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง เป็นทิพย์เหนือปรากฏการณ์ทางวัตถุนี้

คำอธิบาย

จากการถวายความเคารพนี้ อรฺชุน ทรงแสดงให้เห็นว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นที่เคารพบูชาสำหรับทุกๆคน พระองค์ทรงแผ่กระจายไปทั่ว และทรงเป็นวิญญาณของทุกดวงวิญญาณ อรฺชุน ทรงเรียกองค์กฺฤษฺณว่า มหาตฺมา ซึ่งหมายความว่าพระองค์ทรงมีใจกว้างขวางและไม่มีขีดจำกัด อนนฺต แสดงว่าไม่มีสิ่งใดที่ไม่ถูกปกคลุมด้วยอิทธิพลและพลังงานขององค์ภควานฺ และ เทเวศ หมายความว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ควบคุมและอยู่เหนือเทวดาทั้งหลาย พระองค์ทรงเป็นที่พักพิงของจักรวาลทั้งหมด อรฺชุน ทรงคิดเช่นกันว่าเป็นการเหมาะสมที่สิ่งมีชีวิตผู้สมบูรณ์ และเทวดาผู้มีอำนาจทั้งหลายควรถวายความเคารพแด่องค์ภควานฺเพราะว่าไม่มีผู้ใดยิ่งใหญ่ไปกว่าพระองค์อรฺชุน ทรงกล่าวโดยเฉพาะว่าองค์กฺฤษฺณทรงยิ่งใหญ่กว่าพระพรหมเพราะองค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้สร้างพระพรหม พระพรหมทรงถือกำเนิดมาจากก้านดอกบัวที่เจริญเติบโตมาจากพระนาภีของ ครฺโภทก-ศายี วิษฺณุ ผู้ทรงเป็นภาคที่แบ่งแยกอันสมบูรณ์ขององค์กฺฤษฺณ ดังนั้นพระพรหมและพระศิวะ ผู้ที่กำเนิดมากจากพระพรหม และจากเทวดาองค์อื่นๆทั้งหลายต้องถวายความเคารพแด่พระองค์ ได้กล่าวไว้ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ ว่าพระศิวะ พระพรหม และเทวดาองค์อื่นๆที่คล้ายกันนี้เคารพบูชาองค์ภควานฺ คำว่า อกฺษรมฺ มีความสำคัญมาก เพราะว่าการสร้างทางวัตถุนี้จะหนีไม่พ้นการทำลายแต่พระองค์ทรงอยู่เหนือการสร้างทางวัตถุ ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง เมื่อเป็นเช่นนี้ทรงเหนือกว่าพันธวิญญาณทั้งหลายภายในธรรมชาติวัตถุนี้รวมทั้งปรากฏการณ์ทางจักรวาลวัตถุเอง ดังนั้นพระองค์ทรงเป็นผู้ยิ่งใหญ่สูงสุด

โศลก 38

tvam ādi-devaḥ puruṣaḥ purāṇas
tvam asya viśvasya paraṁ nidhānam
vettāsi vedyaṁ ca paraṁ ca dhāma
tvayā tataṁ viśvam ananta-rūpa
ตฺวมฺ อาทิ-เทวห์ ปุรุษห์ ปุราณสฺ
ตฺวมฺ อสฺย วิศฺวสฺย ปรํ นิธานมฺ
เวตฺตาสิ เวทฺยํ จ ปรํ จ ธาม
ตฺวยา ตตํ วิศฺวมฺ อนนฺต-รูป
ตฺวมฺ — พระองค์, อาทิ-เทวห์ — ภควานองค์แรก, ปุรุษห์ — บุคลิกภาพ, ปุราณห์ — โบราณ, ตฺวมฺ — พระองค์, อสฺย — ของสิ่งนี้, วิศฺวสฺย — จักรวาล, ปรมฺ — ทิพย์, นิธานมฺ — ที่พักพิง, เวตฺตา — ผู้รู้, อสิ — พระองค์ทรงเป็น, เวทฺยมฺ — รู้, — และ, ปรมฺ — ทิพย์, — และ, ธาม — ที่พักพิง, ตฺวยา — โดยพระองค์, ตตมฺ — แผ่กระจาย, วิศฺวมฺ — จักรวาล, อนนฺต-รูป — โอ้ รูปลักษณ์ที่ไม่มีที่สิ้นสุด

คำแปล

พระองค์ทรงเป็นภควานองค์เดิม ทรงอาวุโสที่สุด ทรงเป็นร่มบรมโพธิสมภารของโลกจักรวาลที่ประจักษ์นี้ ทรงเป็นผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง และทรงเป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่ควรรู้ พระองค์ทรงเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรสูงสุด ทรงอยู่เหนือระดับต่างๆทางวัตถุ โอ้ รูปลักษณ์ที่ไร้ขอบเขตปรากฏการณ์ทางจักรวาลทั้งหมดนี้แผ่กระจายออกมาจากพระองค์

คำอธิบาย

ทุกสิ่งทุกอย่างพำนักอยู่ที่องค์ภควานฺฉะนั้นพระองค์ทรงเป็นที่พักพิงสูงสุด นิธานมฺ หมายความว่าทุกสิ่งทุกอย่างแม้แต่รัศมี พฺรหฺมนฺ ยังพำนักอยู่ที่บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์กฺฤษฺณ พระองค์ทรงเป็นผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโลกนี้ และหากความรู้มีจุดจบพระองค์ก็ทรงเป็นที่สุดของความรู้นั้นทั้งหมด ดังนั้นพระองค์ทรงเป็นผู้รู้และเป็นผู้ที่เราควรรู้ พระองค์ทรงเป็นจุดมุ่งหมายแห่งความรู้เพราะทรงแผ่กระจายไปทั่ว เนื่องจากทรงเป็นแหล่งกำเนิดในโลกทิพย์พระองค์ทรงเป็นทิพย์ พระองค์ยังทรงเป็นประธานผู้นำในโลกทิพย์

โศลก 39

vāyur yamo ’gnir varuṇaḥ śaśāṅkaḥ
prajāpatis tvaṁ prapitāmahaś ca
namo namas te ’stu sahasra-kṛtvaḥ
punaś ca bhūyo ’pi namo namas te
วายุรฺ ยโม ’คฺนิรฺ วรุณห์ ศศางฺกห์
ปฺรชาปติสฺ ตฺวํ ปฺรปิตามหศฺ จ
นโม นมสฺ เต ’สฺตุ สหสฺร-กฺฤตฺวห์
ปุนศฺ จ ภูโย ’ปิ นโม นมสฺ เต
วายุห์ — ลม, ยมห์ — ผู้ควบคุม, อคฺนิห์ — ไฟ, วรุณห์ — น้ำ, ศศ-องฺกห์ — พระจันทร์, ปฺรชาปติห์ — พระ พฺรหฺมา, ตฺวมฺ — พระองค์, ปฺรปิตามหห์ — พระปัยกา, — เช่นกัน, นมห์ — ความเคารพของข้าพเจ้า, นมห์ — ความเคารพของข้าพเจ้าอีกครั้งหนึ่ง, เต — แด่พระองค์, อสฺตุ — ให้เป็นไป, สหสฺร-กฺฤตฺวห์ — พันครั้ง, ปุนห์ จ — และอีกครั้งหนึ่ง, ภูยห์ — อีกครั้งหนึ่ง, อปิ — เช่นกัน, นมห์ — ถวายความเคารพของข้า, นมห์ เต — ข้าขอถวายความเคารพแด่พระองค์

คำแปล

พระองค์ทรงเป็นลมและทรงเป็นผู้ควบคุมสูงสุด ทรงเป็นไฟ ทรงเป็นน้ำ และทรงเป็นพระจันทร์ พระองค์ทรงเป็นพระพรหมผู้ทรงเป็นชีวิตแรก และทรงเป็นพระปัยกา ดังนั้นข้าพเจ้าขอแสดงความเคารพอย่างสูงแด่พระองค์หนึ่งพันครั้ง ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

คำอธิบาย

ที่นี้ ทรงเรียกองค์ภควานฺว่าเป็นลม เพราะว่าลมเป็นผู้แทนที่สำคัญที่สุดของมวลเทวดาซึ่งแผ่กระจายไปทั่ว อรฺชุน ทรงเรียกองค์กฺฤษฺณว่าเป็นพระปัยกาเพราะว่าพระองค์ทรงเป็นพระบิดาของพระพรหม ผู้ทรงเป็นชีวิตแรกในจักรวาล

โศลก 40

namaḥ purastād atha pṛṣṭhatas te
namo ’stu te sarvata eva sarva
ananta-vīryāmita-vikramas tvaṁ
sarvaṁ samāpnoṣi tato ’si sarvaḥ
นมห์ ปุรสฺตาทฺ อถ ปฺฤษฺฐตสฺ เต
นโม ’สฺตุ เต สรฺวต เอว สรฺว
อนนฺต-วีรฺยามิต-วิกฺรมสฺ ตฺวํ
สรฺวํ สมาปฺโนษิ ตโต ’สิ สรฺวห์
นมห์ — ถวายความเคารพ, ปุรสฺตาตฺ — จากด้านหน้า, อถ — เช่นกัน, ปฺฤษฺฐตห์ — จากด้านหลัง, เต — แด่พระองค์, นมห์ อสฺตุ — ข้าพเจ้าถวายความเคารพ, เต — แด่พระองค์, สรฺวตห์ — จากทุกๆด้าน, เอว — แน่นอน, สรฺว — เพราะว่าพระองค์ทรงเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง, อนนฺต-วีรฺย — พลังที่ไร้ขอบเขต, อมิต-วิกฺรมห์ — และอำนาจที่ไร้ขอบเขต, ตฺวมฺ — พระองค์, สรฺวมฺ — ทุกสิ่งทุกอย่าง, สมาปฺโนษิ — พระองค์ทรงปกคลุม, ตตห์ — ดังนั้น, อสิ — พระองค์ทรงเป็น, สรฺวห์ — ทุกสิ่งทุกอย่าง

คำแปล

ขอถวายความเคารพแด่พระองค์จากด้านหน้า จากด้านหลังและจากทุกๆด้าน โอ้ พลังที่ไร้ขีดจำกัด พระองค์ทรงเป็นเจ้าของอำนาจที่ไร้ขอบเขต พระองค์ทรงแผ่กระจายไปทั่ว ดังนั้นพระองค์ทรงเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง

คำอธิบาย

ด้วยความรักอันปลาบปลื้มที่มีต่อองค์กฺฤษฺณ สหาย อรฺชุน ทรงถวายความเคารพจากทุกๆด้าน โดยยอมรับว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นเจ้าของพลังและอำนาจทั้งหมด และทรงยิ่งใหญ่กว่านักรบผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลายที่มาชุมนุมกันที่สมรภูมิ ได้กล่าวไว้ใน วิษฺณุ ปุราณ (1.9.69)ดังนี้

โย ’ยํ ตวาคโต เทว
สมีปํ เทวตา-คณห์
ส ตฺวมฺ เอว ชคตฺ-สฺรษฺฏา
ยตห์ สรฺว-คโต ภวานฺ
“โอ้ ภควานฺ พระองค์ทรงเป็นผู้สร้างทุกชีวิตที่มาอยู่ต่อหน้าพระองค์แม้แต่เทวดา”

โศลก 41-42

sakheti matvā prasabhaṁ yad uktaṁ
he kṛṣṇa he yādava he sakheti
ajānatā mahimānaṁ tavedaṁ
mayā pramādāt praṇayena vāpi
สเขติ มตฺวา ปฺรสภํ ยทฺ อุกฺตํ
เห กฺฤษฺณ เห ยาทว เห สเขติ
อชานตา มหิมานํ ตเวทํ
มยา ปฺรมาทาตฺ ปฺรณเยน วาปิ
yac cāvahāsārtham asat-kṛto ’si
vihāra-śayyāsana-bhojaneṣu
eko ’tha vāpy acyuta tat-samakṣaṁ
tat kṣāmaye tvām aham aprameyam
ยจฺ จาวหาสารฺถมฺ อสตฺ-กฺฤโต ’สิ
วิหาร-ศยฺยาสน-โภชเนษุ
เอโก ’ถ วาปฺยฺ อจฺยุต ตตฺ-สมกฺษํ
ตตฺ กฺษามเย ตฺวามฺ อหมฺ อปฺรเมยมฺ
สขา — เพื่อน, อิติ — ดังนั้น, มตฺวา — คิด, ปฺรสภมฺ — ถือเอา, ยตฺ — อะไรก็แล้วแต่, อุกฺตมฺ — กล่าว, เห กฺฤษฺณ — โอ้ กฺฤษฺณ, เห ยาทว — โอ้ ยาทว, เห สเข — โอ้ เพื่อนรักของข้า, อิติ — ดังนั้น, อชานตา — โดยไม่รู้, มหิมานมฺ — พระบารมี, ตว — ของพระองค์, อิทมฺ — นี้, มยา — โดยข้า, ปฺรมาทาตฺ — จากความโง่เขลา, ปฺรณเยน — จากความรัก, วา อปิ — ไม่ว่าสิ่งใด, ยตฺ — อะไรก็แล้วแต่, — เช่นกัน, อวหาส-อรฺถมฺ — เพื่อความขบขัน, อสตฺ-กฺฤตห์ — ไม่ให้เกียรติ, อสิ — พระองค์ทรงเป็น, วิหาร — ในการพักผ่อนหย่อนใจ, ศยฺยา — ในขณะนอนอยู่, อาสน — ในขณะนั่งอยู่, โภชเนษุ — หรือขณะที่รับประทานอาหารด้วยกัน, เอกห์ — คนเดียว, อถ วา — หรือ, อปิ — เช่นกัน, อจฺยุต — โอ้ ผู้ไม่มีความผิดพลาด, ตตฺ-สมกฺษมฺ — ในระหว่างเพื่อนๆ, ตตฺ — ทั้งหมดนั้น, กฺษามเย — ขออภัยโทษ, ตฺวามฺ — จากพระองค์, อหมฺ — ข้าพเจ้า, อปฺรเมยมฺ — โดยวัดไม่ได้

คำแปล

ด้วยความคิดว่าพระองค์ทรงเป็นพระสหาย ข้าเรียกพระองค์อย่างไม่ใคร่ครวญว่า “โอ้ กฺฤษฺณ” “โอ้ ยาทว” “โอ้ เพื่อนข้า” โดยไม่ทราบถึงพระบารมีของพระองค์ได้โปรดให้อภัยโทษแก่ข้าที่กระทำต่อพระองค์ด้วยความบ้าคลั่งหรือด้วยความรัก ข้าพเจ้าไม่ให้เกียรติต่อพระองค์หลายครั้ง ได้ล้อเล่นกับพระองค์ขณะที่เราพักผ่อนหย่อนใจ นอนบนเตียงเดียวกัน นั่งหรือรับประทานอาหารด้วยกัน บางครั้งอยู่ด้วยกันสองคนและบางครั้งอยู่ต่อหน้าเพื่อนๆหลายคน โอ้ ผู้ไม่มีความผิดพลาดได้โปรดกรุณายกโทษแก่ข้าพเจ้ากับความผิดพลาดทั้งหลาย

คำอธิบาย

ถึงแม้ว่าองค์กฺฤษฺณทรงปรากฏต่อหน้า อรฺชุน ในรูปลักษณ์จักรวาล อรฺชุน ทรงระลึกถึงความสัมพันธ์ฉันเพื่อนที่มีต่อองค์กฺฤษฺณ ดังนั้นจึงขออภัยโทษและทรงขอร้ององค์กฺฤษฺณเพื่อยกโทษให้ในการที่ปฏิบัติตัวเป็นกันเองหลายครั้ง ด้วยความสนิทสนม อรฺชุน ทรงยอมรับว่าในอดีตไม่รู้ว่าองค์กฺฤษฺณทรงสามารถแสดงรูปลักษณ์จักรวาลนี้ ถึงแม้ว่าองค์กฺฤษฺณทรงอธิบายในฐานะที่เป็นเพื่อนสนิท อรฺชุน ไม่ทราบว่ากี่ครั้งต่อกี่ครั้งที่ไม่ให้เกียรติองค์กฺฤษฺณด้วยการเรียกพระองค์ว่า “โอ้ สหายข้า” “โอ้ กฺฤษฺณ” “โอ้ ยาทว ฯลฯ โดยไม่ทราบถึงความมั่งคั่งของพระองค์แต่องค์กฺฤษฺณทรงมีพระเมตตากรุณามาก ถึงแม้ว่าจะมีความมั่งคั่งเช่นนี้พระองค์ก็ยังคงล้อเล่นกับ อรฺชุน เสมือนเพื่อน นี่คือการสนองตอบในความรักทิพย์ระหว่างสาวกและองค์ภควานฺ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับองค์กฺฤษฺณนั้นมีความมั่นคงนิรันดรโดยไม่มีวันที่จะลืมเลือนไปได้ ดังที่เราได้เห็นจากพฤติกรรมของ อรฺชุน ถึงแม้ว่า อรฺชุน ทรงเห็นความมั่งคั่งในรูปลักษณ์จักรวาลก็ยังไม่สามารถลืมความสัมพันธ์ฉันเพื่อนที่มีต่อองค์กฺฤษฺณได้

โศลก 43

pitāsi lokasya carācarasya
tvam asya pūjyaś ca gurur garīyān
na tvat-samo ’sty abhyadhikaḥ kuto ’nyo
loka-traye ’py apratima-prabhāva
ปิตาสิ โลกสฺย จราจรสฺย
ตฺวมฺ อสฺย ปูชฺยศฺ จ คุรุรฺ ครียานฺ
น ตฺวตฺ-สโม ’สฺตฺยฺ อภฺยธิกห์ กุโต ’โนฺย
โลก-ตฺรเย ’ปฺยฺ อปฺรติม-ปฺรภาว
ปิตา — พระบิดา, อสิ — พระองค์ทรงเป็น, โลกสฺย — ของโลกทั้งหลาย, จร — เคลื่อนที่, อจรสฺย — และไม่เคลื่อนที่, ตฺวมฺ — พระองค์ทรงเป็น, อสฺย — ของสิ่งนี้, ปูชฺยห์ — บูชา, — เช่นกัน, คุรุห์ — พระอาจารย์, ครียานฺ — พระบารมี, — ไม่เคย, ตฺวตฺ-สมห์ — เทียบเท่าพระองค์, อสฺติ — มี, อภฺยธิกห์ — ยิ่งใหญ่กว่า, กุตห์ — เป็นไปได้อย่างไร, อนฺยห์ — ผู้อื่น, โลก-ตฺรเย — ในระบบดาวเคราะห์ทั้งสาม, อปิ — เช่นกัน, อปฺรติม-ปฺรภาว — โอ้ พลังที่วัดไม่ได้

คำแปล

พระองค์ทรงเป็นพระบิดาแห่งปรากฏการณ์ทางจักรวาลที่สมบูรณ์ของสิ่งที่เคลื่อนไหวและไม่เคลื่อนไหวนี้ พระองค์ทรงเป็นผู้นำที่ควรเคารพบูชา ทรงเป็นพระอาจารย์ทิพย์สูงสุด ไม่มีผู้ใดเทียบเท่าพระองค์และไม่มีผู้ใดสามารถมาเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์แล้วจะมีผู้ใดภายในสามโลกยิ่งใหญ่ไปกว่าพระองค์ได้อย่างไร โอ้ พระผู้เป็นเจ้าแห่งพลังที่วัดไม่ได้

คำอธิบาย

องค์ภควานฺ ศฺรี กฺฤษฺณทรงเป็นที่เคารพบูชาในฐานะที่เป็นพระบิดาสำหรับบุตร พระองค์ทรงเป็นพระอาจารย์ทิพย์เนื่องจากเดิมทีพระองค์ทรงให้คำสอนพระเวทนี้แก่พระพรหม และมาถึงบัดนี้ยังทรงให้คำสอน ภควัท-คีตา แก่ อรฺชุน ฉะนั้นพระองค์ทรงเป็นพระอาจารย์ทิพย์องค์แรกและพระอาจารย์ทิพย์ผู้ที่เชื่อถือได้องค์ใดในปัจจุบันนี้จะต้องสืบทอดมาจากสาย ปรมฺปรา ที่เริ่มมาจากองค์กฺฤษฺณ หากผู้ใดไม่ใช่ผู้แทนขององค์กฺฤษฺณจะไม่สามารถมาเป็นครูหรือพระอาจารย์เกี่ยวกับวิชาทิพย์เหนือโลกนี้ได้

องค์ภควานฺทรงได้รับการถวายความเคารพในทุกๆด้าน พระองค์ทรงเป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่ไม่สามารถประมาณได้ ไม่มีผู้ใดยิ่งใหญ่ไปกว่าองค์ภควานฺ ศฺรี กฺฤษฺณเพราะว่าไม่มีผู้ใดเทียบเท่าหรือสูงกว่าองค์กฺฤษฺณภายในปรากฏการณ์ ไม่ว่าในโลกทิพย์หรือโลกวัตถุทุกๆชีวิตด้อยกว่า ไม่มีผู้ใดเกินไปกว่าพระองค์ได้กล่าวไว้ใน เศฺวตาศฺวตร อุปนิษทฺ (6.8) ว่า

น ตสฺย การฺยํ กรณํ จ วิทฺยเต
น ตตฺ-สมศฺ จาภฺยธิกศฺ จ ทฺฤศฺยเต
องค์ภควานฺ ศฺรี กฺฤษฺณทรงมีประสาทสัมผัสและร่างกายเหมือนมนุษย์ธรรมดา แต่สำหรับพระองค์จะไม่มีข้อแตกต่างระหว่างประสาทสัมผัส ร่างกาย จิตใจ และตัวพระองค์เอง คนโง่เขลาผู้ไม่รู้จักพระองค์อย่างสมบูรณ์จะกล่าวว่าองค์กฺฤษฺณทรงแตกต่างไปจากดวงวิญญาณของพระองค์จิตใจ หัวใจและทุกสิ่งทุกอย่างของพระองค์กฺฤษฺณทรงมีความสมบูรณ์บริบูรณ์ ดังนั้นกิจกรรมและพลังอำนาจของพระองค์จึงสูงสุด ได้กล่าวไว้ว่าถึงแม้ว่าทรงไม่มีประสาทสัมผัสเหมือนพวกเราพระองค์ทรงสามารถปฏิบัติกิจกรรมทางประสาทสัมผัสทั้งหมดได้ ดังนั้นประสาทสัมผัสของพระองค์ทรงมิใช่ไม่สมบูรณ์หรือมีขีดจำกัด ไม่มีผู้ใดยิ่งใหญ่ไปกว่าพระองค์ไม่มีผู้ใดสามารถเทียบเท่าพระองค์และทุกๆคนต่ำกว่าพระองค์

ความรู้ พละกำลัง และกิจกรรมทั้งหมดขององค์ภควานฺทรงเป็นทิพย์ ดังที่ได้กล่าวไว้ใน ภควัท-คีตา (4.9) ดังนี้

ชนฺม กรฺม จ เม ทิวฺยมฺ
เอวํ โย เวตฺติ ตตฺตฺวตห์
ตฺยกฺตฺวา เทหํ ปุนรฺ ชนฺม
ไนติ มามฺ เอติ โส ’รฺชุน
ผู้ใดรู้ร่างทิพย์ กิจกรรมทิพย์ และความสมบูรณ์ทิพย์ขององค์กฺฤษฺณหลังจากออกจากร่างนี้ไปจะกลับไปหาพระองค์และไม่ต้องกลับมายังโลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์นี้อีกต่อไป ฉะนั้นเราจึงควรรู้ว่ากิจกรรมขององค์กฺฤษฺณทรงไม่เหมือนกับผู้ใด นโยบายที่ดีที่สุดคือเราควรปฏิบัติตามหลักธรรมขององค์กฺฤษฺณเพราะเช่นนี้จะทำให้เราสมบูรณ์ ยังได้กล่าวไว้ว่าไม่มีผู้ใดเป็นเจ้านายขององค์กฺฤษฺณทุกคนเป็นผู้รับใช้ของพระองค์ไจตนฺย-จริตามฺฤต (อาทิ 5.142) ยืนยันไว้ว่า เอกเล อีศฺวร กฺฤษฺณ, อาร สพ ภฺฤตฺย กฺฤษฺณ เพียงพระองค์เดียวเท่านั้นที่ทรงเป็นองค์ภควานฺและทุกคนเป็นผู้รับใช้ของพระองค์ทุกคนปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์ไม่มีผู้ใดสามารถปฏิเสธคำสั่งของพระองค์ได้ ทุกคนปฏิบัติตามคำแนะนำขององค์กฺฤษฺณในฐานะที่อยู่ภายใต้การดูแลของพระองค์ดังที่ได้กล่าวไว้ใน พฺรหฺม-สํหิตา ว่าพระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง

โศลก 44

tasmāt praṇamya praṇidhāya kāyaṁ
prasādaye tvām aham īśam īḍyam
piteva putrasya sakheva sakhyuḥ
priyaḥ priyāyārhasi deva soḍhum
ตสฺมาตฺ ปฺรณมฺย ปฺรณิธาย กายํ
ปฺรสาทเย ตฺวามฺ อหมฺ อีศมฺ อีฑฺยมฺ
ปิเตว ปุตฺรสฺย สเขว สขฺยุห์
ปฺริยห์ ปฺริยายารฺหสิ เทว โสฒุมฺ
ตสฺมาตฺ — ฉะนั้น, ปฺรณมฺย — ถวายความเคารพ, ปฺรณิธาย — นอนลง, กายมฺ — ร่างกาย, ปฺรสาทเย — เพื่อขอพระเมตตา, ตฺวามฺ — แด่พระองค์, อหมฺ — ข้าพเจ้า, อีศมฺ — แด่องค์ภควาน, อีฑฺยมฺ — ที่เคารพบูชา, ปิตา อิว — เหมือนพระบิดา, ปุตฺรสฺย — กับบุตร, สขา อิว — เหมือนกับเพื่อน, สขฺยุห์ — กับเพื่อน, ปฺริยห์ — คู่รัก, ปฺริยายาห์ — กับคนที่รักที่สุด, อรฺหสิ — พระองค์ควร, เทว — พระผู้เป็นเจ้าของข้า, โสฒุมฺ — อดทน

คำแปล

พระองค์ทรงเป็นองค์ภควานฺที่ทุกๆชีวิตเคารพบูชา ดังนั้นข้าพเจ้าขอก้มลงกราบแสดงความเคารพอย่างสูง และขอพระเมตตาจากพระองค์เหมือนกับบิดาอดทนต่อความอวดดีของบุตร เพื่อนอดทนต่อความทะลึ่งของเพื่อน หรือสามีอดทนต่อความสนิทสนมของภรรยา ได้โปรดกรุณาอดทนต่อความผิดพลาดที่ข้าพเจ้าอาจล่วงเกินต่อพระองค์

คำอธิบาย

บรรดาสาวกขององค์กฺฤษฺณเชื่อมกับพระองค์ในความสัมพันธ์หลายรูปแบบ บางคนอาจดูแลองค์กฺฤษฺณในฐานะที่เป็นบุตร บางคนอาจดูแลองค์กฺฤษฺณในฐานะที่เป็นสามี ในฐานะที่เป็นเพื่อน หรือในฐานะที่เป็นอาจารย์ องค์กฺฤษฺณและ อรฺชุน มีความสัมพันธ์กันฉันเพื่อน เสมือนดังบิดา สามี หรืออาจารย์ที่มีความอดทน องค์กฺฤษฺณก็ทรงมีความอดทนในลักษณะเดียวกัน

โศลก 45

adṛṣṭa-pūrvaṁ hṛṣito ’smi dṛṣṭvā
bhayena ca pravyathitaṁ mano me
tad eva me darśaya deva rūpaṁ
prasīda deveśa jagan-nivāsa
อทฺฤษฺฏ-ปูรฺวํ หฺฤษิโต ’สฺมิ ทฺฤษฺฏฺวา
ภเยน จ ปฺรวฺยถิตํ มโน เม
ตทฺ เอว เม ทรฺศย เทว รูปํ
ปฺรสีท เทเวศ ชคนฺ-นิวาส
อทฺฤษฺฏ-ปูรฺวมฺ — ไม่เคยเห็นมาก่อน, หฺฤษิตห์ — ดีใจ, อสฺมิ — ข้าพเจ้าเป็น, ทฺฤษฺฏฺวา — ด้วยการเห็น, ภเยน — จากความกลัว, — เช่นกัน, ปฺรวฺยถิตมฺ — ยุ่งเหยิง, มนห์ — จิตใจ, เม — ของข้าพเจ้า, ตตฺ — นั้น, เอว — แน่นอน, เม — แด่ข้าพเจ้า, ทรฺศย — แสดง, เทว — โอ้ องค์ภควานฺ, รูปมฺ — รูปลักษณ์, ปฺรสีท — ได้โปรดกรุณา, เทว-อีศ — โอ้ พระผู้เป็นเจ้าของปวงเทวดา, ชคตฺ-นิวาส — โอ้ ที่พักพิงของจักรวาล

คำแปล

หลังจากได้เห็นรูปลักษณ์จักรวาลที่ไม่เคยเห็นมาก่อนนี้ ข้าพเจ้ารู้สึกดีใจ แต่ในขณะเดียวกันจิตใจของข้าสับสนด้วยความกลัว ฉะนั้น ได้โปรดกรุณาเปิดเผยรูปลักษณ์องค์ภควานฺอีกครั้ง โอ้ พระเจ้าของปวงเทวดา โอ้ ที่พักพิงแห่งจักรวาล

คำอธิบาย

อรฺชุน ทรงมีความมั่นใจต่อองค์กฺฤษฺณเสมอเพราะว่าพระองค์ทรงเป็นเพื่อนที่รักมาก และในฐานะเพื่อนรักที่ดีใจกับความมั่งคั่งของเพื่อน อรฺชุน ทรงมีความยินดีมากที่เห็นว่าสหายกฺฤษฺณ ทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า และทรงสามารถแสดงรูปลักษณ์จักรวาลอันน่าอัศจรรย์เช่นนี้ แต่ในขณะเดียวกันหลังจากที่ได้เห็นรูปลักษณ์จักรวาลแล้วมีความรู้สึกกลัวว่าตนเองได้กระทำผิดมากมายต่อองค์กฺฤษฺณเนื่องจากความสัมพันธ์ฉันเพื่อนสนิท ดังนั้นจิตใจของ อรฺชุน สับสนเนื่องจากความกลัวถึงแม้ว่าจะไม่มีเหตุผลที่จะต้องกลัว ฉะนั้น อรฺชุน ทรงขอร้องให้องค์กฺฤษฺณแสดงรูปลักษณ์พระนารายณ์ เนื่องจากองค์กฺฤษฺณทรงสามารถแสดงรูปลักษณ์ใดก็ได้ รูปลักษณ์จักรวาลนี้เป็นวัตถุและไม่ถาวรเช่นเดียวกับโลกวัตถุที่ไม่ถาวร แต่ที่ดาวเคราะห์ ไวกุณฺฐ พระองค์ทรงมีรูปลักษณ์ทิพย์ พระนารายณ์สี่กร มีดาวเคราะห์จำนวนนับไม่ถ้วนในท้องฟ้าทิพย์ แต่ละดวงองค์กฺฤษฺณทรงปรากฏด้วยภาคแบ่งแยกที่สมบูรณ์ของพระองค์ในพระนามต่างๆ ดังนั้น อรฺชุน ปรารถนาจะเห็นหนึ่งในรูปลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ในดาวเคราะห์ ไวกุณฺฐ แน่นอนว่าในแต่ละดาวเคราะห์ ไวกุณฺฐ พระนารายณ์ทรงมีสี่กร แต่ละองค์ทรงหอยสังข์ คทา ดอกบัว และกงจักรในตำแหน่งที่ไม่เหมือนกัน เนื่องจากสี่สิ่งนี้อยู่ที่พระกรต่างกันพระนารายณ์จึงทรงมีพระนามที่ไม่เหมือนกัน รูปลักษณ์ทั้งหมดเหล่านี้เป็นหนึ่งเดียวกับองค์กฺฤษฺณ ดังนั้น อรฺชุน จึงทรงขอดูรูปลักษณ์สี่กรของพระองค์

โศลก 46

kirīṭinaṁ gadinaṁ cakra-hastam
icchāmi tvāṁ draṣṭum ahaṁ tathaiva
tenaiva rūpeṇa catur-bhujena
sahasra-bāho bhava viśva-mūrte
กิรีฏินํ คทินํ จกฺร-หสฺตมฺ
อิจฺฉามิ ตฺวำ ทฺรษฺฏุมฺ อหํ ตไถว
เตไนว รูเปณ จตุรฺ-ภุเชน
สหสฺร-พาโห ภว วิศฺว-มูรฺเต
กิรีฏินมฺ — พร้อมทั้งมงกุฎ, คทินมฺ — กับคทา, จกฺร-หสฺตมฺ — กงจักรในมือ, อิจฺฉามิ — ข้าพเจ้าปรารถนา, ตฺวามฺ — พระองค์, ทฺรษฺฏุมฺ — เห็น, อหมฺ — ข้าพเจ้า, ตถา เอว — ในตำแหน่งนั้น, เตน เอว — ในสิ่งนั้น, รูเปณ — รูปลักษณ์, จตุห์-ภุเชน — สี่กร, สหสฺร-พาโห — โอ้ ผู้ทรงมีพันกร, ภว — กลายมาเป็น, วิศฺว-มูรฺเต — โอ้ รูปลักษณ์จักรวาล

คำแปล

โอ้ รูปลักษณ์จักรวาล โอ้ พระเจ้าพันกร ข้าพเจ้าทรงปรารถนาเห็นพระองค์ในรูปลักษณ์สี่กรที่ทรงมงกุฏพร้อมทั้งคทา กงจักร สังข์ และดอกบัวที่พระกร ข้าพเจ้าปรารถนาจะเห็นพระองค์ในรูปลักษณ์นั้น

คำอธิบาย

ใน พฺรหฺม-สํหิตา (5.39) กล่าวไว้ว่า รามาทิ-มูรฺติษุ กลา-นิยเมน ติษฺฐนฺ องค์ภควานฺทรงสถิตชั่วกัลปวสานในรูปลักษณ์นับจำนวนเป็นร้อยๆพันๆ และรูปลักษณ์ที่สำคัญๆคือ ราม, นฺฤสึห, นารายณ ฯลฯ มีรูปลักษณ์ที่นับจำนวนไม่ถ้วนแต่ อรฺชุน ทรงทราบว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็น ภควานฺ องค์เดิมและทรงแสดงรูปลักษณ์จักรวาลชั่วคราว บัดนี้ อรฺชุน ทรงปรารถนาที่จะเห็นรูปลักษณ์ทิพย์แห่งองค์นารายณ์ โศลกนี้ได้สถาปนาข้อความของ ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ โดยปราศจากความสงสัยว่าองค์กฺฤษฺณ คือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์แรก และรูปลักษณ์อื่นๆทั้งหมดกำเนิดมาจากพระองค์องค์กฺฤษฺณทรงไม่แตกต่างจากภาคแบ่งแยกอันสมบูรณ์ของพระองค์และทรงเป็นองค์ภควานฺไม่ว่าจะอยู่ในรูปลักษณ์ใด ในรูปลักษณ์ทั้งหมดเหล่านี้พระองค์ทรงมีความสดชื่นเหมือนกับเด็กหนุ่ม นี่คือลักษณะนิรันดรของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ผู้ที่รู้จักองค์กฺฤษฺณจะเป็นผู้มีอิสระภาพจากมลทินทั้งหมดแห่งโลกวัตถุทันที

โศลก 47

śrī-bhagavān uvāca
mayā prasannena tavārjunedaṁ
rūpaṁ paraṁ darśitam ātma-yogāt
tejo-mayaṁ viśvam anantam ādyaṁ
yan me tvad anyena na dṛṣṭa-pūrvam
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
มยา ปฺรสนฺเนน ตวารฺชุเนทํ
รูปํ ปรํ ทรฺศิตมฺ อาตฺม-โยคาตฺ
เตโช-มยํ วิศฺวมฺ อนนฺตมฺ อาทฺยํ
ยนฺ เม ตฺวทฺ อเนฺยน น ทฺฤษฺฏ-ปูรฺวมฺ
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัส, มยา — โดยข้า, ปฺรสนฺเนน — ความสุข, ตว — แด่เธอ, อรฺชุน — โอ้ อรฺชุน, อิทมฺ — นี้, รูปมฺ — รูป, ปรมฺ — ทิพย์, ทรฺศิตมฺ — แสดง, อาตฺม-โยคาตฺ — ด้วยพลังเบื้องสูงของข้า, เตชห์-มยมฺ — เต็มไปด้วยรัศมี, วิศฺวมฺ — ทั่วทั้งจักรวาล, อนนฺตมฺ — ไม่มีที่สิ้นสุด, อาทฺยมฺ — องค์แรก, ยตฺ — ซึ่ง, เม — ของข้า, ตฺวตฺ อเนฺยน — นอกจากเธอ, น ทฺฤษฺฏ-ปูรฺวมฺ — ไม่มีผู้ใดเคยเห็นมาก่อน

คำแปล

บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัสว่า อรฺชุน ที่รัก ด้วยพลังเบื้องสูงของข้า ข้ายินดีจะแสดงให้เธอเห็นรูปลักษณ์จักรวาลที่สูงสุดภายในโลกวัตถุนี้ ไม่มีผู้ใดเคยเห็นรูปลักษณ์เดิมนี้มาก่อน ซึ่งไร้ขอบเขตและเต็มไปด้วยรัศมีที่เจิดจรัส

คำอธิบาย

อรฺชุน ทรงปรารถนาที่จะเห็นรูปลักษณ์จักรวาลขององค์ภควานฺ ดังนั้นด้วยพระเมตตาที่องค์กฺฤษฺณทรงมีต่อสาวกจึงทรงแสดงรูปลักษณ์จักรวาลของพระองค์ที่เต็มไปด้วยรัศมีและความมั่งคั่ง รูปลักษณ์นี้ส่องแสงเหมือนกับดวงอาทิตย์ พระพักตร์มากมายเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว องค์กฺฤษฺณทรงแสดงรูปลักษณ์ที่มาจากพลังเบื้องสูงของพระองค์เพื่อสนองตอบความปรารถนาของสหาย อรฺชุน การคาดคะเนของมนุษย์ไม่สามารถเข้าใจได้ ไม่เคยมีผู้ใดเห็นรูปลักษณ์จักรวาลนี้ก่อน อรฺชุน เนื่องจากรูปลักษณ์นี้ได้แสดงให้ อรฺชุน ทรงเห็นเหล่าสาวกบนสรวงสวรรค์และดาวเคราะห์อื่นๆในอวกาศไม่เคยเห็นมาก่อน อีกนัยหนึ่งด้วยพระเมตตาขององค์กฺฤษฺณสาวกทั้งหลายขององค์ภควานฺในสาย ปรมฺปรา จึงสามารถเห็นรูปลักษณ์จักรวาลที่ได้แสดงให้ อรฺชุน บางคนวิจารณ์ว่ารูปลักษณ์นี้ได้แสดงให้ ทุโรฺยธน แต่ด้วยความอับโชค ทุโรฺยธน ไม่ยอมรับข้อเสนอเพื่อสันติภาพ ตอนนั้นองค์กฺฤษฺณทรงแสดงรูปลักษณ์จักรวาลแต่รูปลักษณ์เหล่านั้นแตกต่างไปจากรูปลักษณ์ที่ทรงแสดงให้ อรฺชุน ขณะนี้ ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าไม่เคยมีผู้ใดเห็นรูปลักษณ์นี้มาก่อน

โศลก 48

na veda-yajñādhyayanair na dānair
na ca kriyābhir na tapobhir ugraiḥ
evaṁ-rūpaḥ śakya ahaṁ nṛ-loke
draṣṭuṁ tvad anyena kuru-pravīra
น เวท-ยชฺญาธฺยยไนรฺ น ทาไนรฺ
น จ กฺริยาภิรฺ น ตโปภิรฺ อุไคฺรห์
เอวํ-รูปห์ ศกฺย อหํ นฺฤ-โลเก
ทฺรษฺฏุํ ตฺวทฺ อเนฺยน กุรุ-ปฺรวีร
— ไม่เคย, เวท-ยชฺญ — ด้วยการบูชา, อธฺยยไนห์ — หรือการศึกษาคัมภีร์พระเวท, — ไม่เคย, ทาไนห์ — ด้วยการทำบุญ, — ไม่เคย, — เช่นกัน, กฺริยาภิห์ — ด้วยการทำบุญ, — ไม่เคย, ตโปภิห์ — ด้วยการบำเพ็ญเพียรอย่างจริงจัง, อุไคฺรห์ — อย่างเคร่งครัด, เอวมฺ-รูปห์ — ในรูปลักษณ์นี้, ศกฺยห์ — สามารถ, อหมฺ — ข้า, นฺฤ-โลเก — ในโลกวัตถุนี้, ทฺรษฺฏุมฺ — ได้เห็น, ตฺวตฺ — กว่าเธอ, อเนฺยน — โดยผู้อื่น, กุรุ-ปฺรวีร — โอ้ ผู้ยอดเยี่ยมในหมู่นักรบ กุรุ

คำแปล

โอ้ ผู้ยอดเยี่ยมในหมู่นักรบแห่ง กุรุ ไม่เคยมีผู้ใดก่อนหน้าเธอได้เห็นรูปลักษณ์จักรวาลของข้านี้ ไม่ว่าจากการศึกษาคัมภีร์พระเวท จากการปฏิบัติพิธีบูชาต่างๆ จากการให้ทาน จากการทำบุญ หรือจากการบำเพ็ญเพียรอย่างเคร่งครัดก็ยังไม่มีผู้ใดที่สามารถเห็นรูปลักษณ์นี้ในโลกวัตถุได้

คำอธิบาย

จักษุทิพย์ในความสัมพันธ์กับประเด็นนี้ควรทำความเข้าใจอย่างชัดเจนว่าผู้ใดสามารถมีจักษุทิพย์ ทิพย์หมายความว่า แห่งเทพ นอกเสียจากว่าเราจะบรรลุถึงระดับทิพย์เหมือนกับเทพมิเช่นนั้นเราก็จะไม่สามารถมีจักษุทิพย์ได้ และเทพคือใคร ได้กล่าวไว้ในคัมภีร์พระเวทว่าพวกที่เป็นสาวกของพระวิษณุ คือ เทพ (วิษฺณุ-ภกฺตห์ สฺมฺฤโต ไทวห์) พวกที่ไม่เชื่อในองค์ภควานฺ หรือพวกที่ไม่เชื่อในพระวิษณุ หรือพวกที่รู้เพียงส่วนที่ไร้รูปลักษณ์ขององค์กฺฤษฺณไม่สามารถมีจักษุทิพย์ เป็นไปไม่ได้ที่จะมีการประณามองค์กฺฤษฺณแล้วจะมีจักษุทิพย์ ในขณะเดียวกันแล้วเราไม่สามารถมีจักษุทิพย์ได้หากไม่มาเป็นบุคคลทิพย์ อีกนัยหนึ่งพวกที่มีจักษุทิพย์จะสามารถเห็นสิ่งที่ อรฺชุน ทรงเห็นได้

ภควัท-คีตา ได้พรรณนาถึงรูปลักษณ์จักรวาลถึงแม้การพรรณนานี้ไม่เคยมีผู้ใดรู้มาก่อน อรฺชุน บัดนี้เรามีแนวความคิดบางอย่างเกี่ยวกับ วิศฺว-รูป หลังจากเหตุการณ์นี้ บุคคลที่เป็นทิพย์จริงๆสามารถเห็นรูปลักษณ์จักรวาลขององค์ภควานฺ แต่เราไม่สามารถเป็นทิพย์หากไม่ได้เป็นสาวกผู้บริสุทธิ์ขององค์กฺฤษฺณ อย่างไรก็ดีสาวกผู้ที่อยู่ในธรรมชาติทิพย์จริงและมีจักษุทิพย์จะไม่สนใจในการเห็นรูปลักษณ์จักรวาลขององค์ภควานฺเท่าใดนัก ดังที่ได้อธิบายในโศลกก่อนหน้านี้ อรฺชุน ทรงปรารถนาที่จะเห็นรูปลักษณ์สี่กรขององค์กฺฤษฺณในรูปพระวิษณุ อันที่จริงท่านทรงกลัวรูปลักษณ์จักรวาล

โศลกนี้มีคำพูดสำคัญๆ เช่น เวท-ยชฺญาธฺยยไนห์ ซึ่งหมายถึงการศึกษาวรรณกรรมพระเวทและเรื่องราวกฎเกณฑ์ในพิธีบูชา พระเวทหมายถึง วรรณกรรมพระเวททั้งหมด เช่น พระเวททั้งสี่เล่ม (ฤคฺ, ยชุรฺ, สาม และ อถรฺว) และ ปุราณ ทั้งสิบแปดเล่ม อุปนิษทฺ และ เวทานฺต-สูตฺร เราสามารถศึกษาคัมภีร์เหล่านี้ที่บ้านหรือที่ใดก็ได้ ในทำนองเดียวกันมี สูตฺร เช่น กลฺป-สูตฺร และ มีมำสา-สูตฺร เพื่อศึกษาพิธีกรรมบวงสรวงบูชา ทาไนห์ หมายถึงการให้ทานซึ่งถวายให้แก่ผู้ที่เหมาะสมเช่นบุคคลผู้ที่ปฏิบัติรับใช้ด้วยความรักทิพย์ต่อองค์ภควานฺ เช่น พฺราหฺมณ ไวษฺณว ในทำนองเดียวกัน “การทำบุญ” หมายถึง อคฺนิ-โหตฺร และหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้สำหรับวรรณะต่างๆ การอาสายอมทำให้ร่างกายเจ็บปวดบ้างเรียกว่า ตปสฺย ดังนั้นเราสามารถปฏิบัติตามรายการทั้งหมดนี้ ยอมรับการบำเพ็ญเพียรทางร่างกาย การให้ทาน การศึกษาคัมภีร์พระเวท ฯลฯ แต่นอกเสียจากว่าจะมาเป็นสาวกเหมือนกับ อรฺชุน มิฉะนั้นก็เป็นไปไม่ได้ที่จะได้เห็นรูปลักษณ์จักรวาล พวกที่ไม่เชื่อในรูปลักษณ์จินตนาการว่าได้เห็นรูปลักษณ์จักรวาลขององค์ภควานฺ แต่จาก ภควัท-คีตา เราเข้าใจว่าพวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์ไม่ใช่สาวก ดังนั้นจึงไม่สามารถเห็นรูปลักษณ์จักรวาลของพระองค์ได้

มีหลายคนสร้างอวตารต่างๆและอวดอ้างอย่างผิดๆว่ามนุษย์ธรรมดาเป็นองค์อวตาร แต่นั้นเป็นความโง่เขลาเบาปัญญาทั้งสิ้น เราควรปฏิบัติตามหลักธรรมของ ภควัท-คีตา มิฉะนั้นจะเป็นไปไม่ได้ที่จะบรรลุถึงความรู้ทิพย์อย่างสมบูรณ์ แม้จะถือว่า ภควัท-คีตา เป็นระดับประถมศึกษาของศาสตร์แห่งองค์ภควานฺ แต่ก็ยังมีความสมบูรณ์พอที่จะทำให้เราแยกแยะว่าอะไรคืออะไร เหล่าสาวกของอวตารจอมปลอมอาจกล่าวว่าพวกตนก็เห็นอวตารทิพย์รูปลักษณ์จักรวาลขององค์ภควานฺเช่นกัน แต่เช่นนี้ไม่เป็นที่ยอมรับเพราะได้กล่าวไว้อย่างชัดเจน ที่นี้ว่านอกเสียจากว่าจะมาเป็นสาวกขององค์กฺฤษฺณมิฉะนั้นก็จะไม่สามารถเห็นรูปลักษณ์จักรวาลขององค์ภควานฺได้ ดังนั้นก่อนอื่นเขาต้องมาเป็นสาวกผู้บริสุทธิ์ขององค์กฺฤษฺณ จากนั้นจึงอ้างได้ว่าตนสามารถแสดงรูปลักษณ์จักรวาลที่ได้เห็นมา สาวกขององค์กฺฤษฺณไม่ยอมรับอวตารจอมปลอมหรือบรรดาสาวกของอวตารจอมปลอม

โศลก 49

mā te vyathā mā ca vimūḍha-bhāvo
dṛṣṭvā rūpaṁ ghoram īdṛṅ mamedam
vyapeta-bhīḥ prīta-manāḥ punas tvaṁ
tad eva me rūpam idaṁ prapaśya
มา เต วฺยถา มา จ วิมูฒ-ภาโว
ทฺฤษฺฏฺวา รูปํ โฆรมฺ อีทฺฤงฺ มเมทมฺ
วฺยเปต-ภีห์ ปฺรีต-มนาห์ ปุนสฺ ตฺวํ
ตทฺ เอว เม รูปมฺ อิทํ ปฺรปศฺย
มา — จงอย่าเป็นเช่นนั้น, เต — แด่เธอ, วฺยถา — ปัญหา, มา — จงอย่าเป็นเช่นนั้น, — เช่นกัน, วิมูฒ-ภาวห์ — สับสน, ทฺฤษฺฏฺวา — จากการเห็น, รูปมฺ — รูปลักษณ์, โฆรมฺ — น่ากลัว, อีทฺฤกฺ — ตามความจริง, มม — ของข้า, อิทมฺ — นี้, วฺยเปต-ภีห์ — ปราศจากความกลัวทั้งหมด, ปฺรีต-มนาห์ — ทำให้จิตใจยินดี, ปุนห์ — อีกครั้งหนึ่ง, ตฺวมฺ — เธอ, ตตฺ — นั้น, เอว — ดังนั้น, เม — ของข้า, รูปมฺ — รูปลักษณ์, อิทมฺ — นี้, ปฺรปศฺย — จงดู

คำแปล

จากการเห็นรูปลักษณ์อันน่ากลัวของข้านี้ทำให้เธอยุ่งเหยิงและสับสน บัดนี้ขอให้จบลง สาวกของข้าเป็นอิสระจากสิ่งรบกวนทั้งหลายอีกครั้ง ด้วยจิตที่สงบ เธอจะสามารถเห็นรูปลักษณ์ที่เธอปรารถนา บัดนี้

คำอธิบาย

ในตอนต้นของ ภควัท-คีตา อรฺชุน ทรงรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับการสังหาร ภีษฺม และ โทฺรณ ผู้เป็นเสด็จปู่และอาจารย์ที่เคารพบูชา แต่องค์กฺฤษฺณตรัสว่าไม่จำเป็นต้องกลัวการสังหารเสด็จปู่เพราะเมื่อตอนที่โอรสของ ธฺฤตราษฺฏฺร พยายามเปลื้องผ้าพระนาง เทฺราปที ในที่ชุมนุมของเหล่า กุรุ ภีษฺม และ โทฺรณ มิได้ปริปากเลย จากการละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่เช่นนี้ทั้งคู่สมควรถูกสังหาร องค์กฺฤษฺณทรงแสดงรูปลักษณ์จักรวาลแด่ อรฺชุน เพื่อแสดงให้เห็นว่าบุคคลเหล่านี้ถูกสังหารเรียบร้อยแล้วจากการกระทำที่ผิดกฎหมาย ที่แสดงเหตุการณ์นั้นให้ อรฺชุน เห็นเพราะว่าสาวกมีความสงบอยู่เสมอและไม่สามารถกระทำสิ่งที่ร้ายกาจเช่นนี้ จุดมุ่งหมายในการเปิดเผยรูปลักษณ์จักรวาลแสดงให้เห็นว่าบัดนี้ อรฺชุน ทรงปรารถนาที่จะเห็นรูปลักษณ์สี่กรและองค์กฺฤษฺณจะทรงแสดงให้เห็น สาวกไม่สนใจกับรูปลักษณ์จักรวาลเท่าใดนักเพราะไม่สามารถแลกเปลี่ยนความรู้สึกในความรักได้ สาวกปรารถนาจะถวายความเคารพบูชาด้วยความรู้สึกหรือปรารถนาจะเห็นรูปลักษณ์สองกรขององค์กฺฤษฺณก็เพื่อที่จะสามารถแลกเปลี่ยนในการรับใช้ด้วยความรักต่อองค์ภควานฺ

โศลก 50

sañjaya uvāca
ity arjunaṁ vāsudevas tathoktvā
svakaṁ rūpaṁ darśayām āsa bhūyaḥ
āśvāsayām āsa ca bhītam enaṁ
bhūtvā punaḥ saumya-vapur mahātmā
สญฺชย อุวาจ
อิตฺยฺ อรฺชุนํ วาสุเทวสฺ ตโถกฺตฺวา
สฺวกํ รูปํ ทรฺศยามฺ อาส ภูยห์
อาศฺวาสยามฺ อาส จ ภีตมฺ เอนํ
ภูตฺวา ปุนห์ เสามฺย-วปุรฺ มหาตฺมา
สญฺชยห์ อุวาจสญฺชย กล่าว, อิติ — ดังนั้น, อรฺชุนมฺ — แด่ อรฺชุน, วาสุเทวห์กฺฤษฺณ, ตถา — เช่นนั้น, อุกฺตฺวา — ตรัส, สฺวกมฺ — ด้วยพระองค์เอง, รูปมฺ — รูปลักษณ์, ทรฺศยามฺ อาส — แสดง, ภูยห์ — อีกครั้ง, อาศฺวาสยามฺ อาส — ส่งเสริม, — เช่นกัน, ภีตมฺ — น่ากลัว, เอนมฺ — เขา, ภูตฺวา — มาเป็น, ปุนห์ — อีกครั้ง, เสามฺย-วปุห์ — รูปลักษณ์ที่ สง่างาม, มหา-อาตฺมา — ผู้ยิ่งใหญ่

คำแปล

สญฺชย กล่าวต่อ ธฺฤตราษฺฏฺร ว่า องค์ภควานฺ ศฺรีกฺฤษฺณหลังจากตรัสกับ อรฺชุน แล้วทรงแสดงรูปลักษณ์สี่กรอันแท้จริงของพระองค์และในที่สุดทรงแสดงรูปลักษณ์สองกรเพื่อเป็นการให้กำลังใจ อรฺชุน ที่ทรงกำลังกลัวอยู่

คำอธิบาย

เมื่อองค์กฺฤษฺณทรงปรากฏเป็นบุตรของ วสุเทว และ เทวกี ตอนแรกพระองค์ทรงปรากฏในรูปนารายณ์สี่กร เมื่อพระบิดาและพระมารดาขอร้องพระองค์ก็ทรงเปลี่ยนร่างมาเป็นทารกน้อยธรรมดา ลักษณะเดียวกันองค์กฺฤษฺณทรงทราบว่า อรฺชุน ไม่สนใจที่จะเห็นรูปลักษณ์สี่กร แต่เนื่องจาก อรฺชุน ขอร้องที่จะได้เห็นรูปลักษณ์สี่กรนี้องค์กฺฤษฺณจึงทรงแสดงรูปลักษณ์นี้อีกครั้งหนึ่ง จากนั้นพระองค์ก็ทรงแสดงรูปลักษณ์สองกร คำว่า เสามฺย-วปุห์ มีความสำคัญมาก เสามฺย-วปุห์ เป็นรูปลักษณ์ที่สง่างามมาก เป็นที่รู้กันว่าสง่างามที่สุด เมื่อพระองค์ทรงปรากฏทุกคนได้แต่หลงรักรูปลักษณ์นี้ เนื่องจากองค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้กำกับจักรวาลจึงทรงจำกัดความกลัวของสาวก อรฺชุน และทรงแสดงรูปลักษณ์ขององค์กฺฤษฺณที่สง่างามอีกครั้งหนึ่ง ใน พฺรหฺม-สํหิตา (5.38) กล่าวไว้ว่า เปฺรมาญฺชน-จฺฉุริต-ภกฺติ-วิโลจเนน บุคคลผู้มีดวงตาที่ชโลมไปด้วยสายใยแห่งความรักเท่านั้นจึงสามารถเห็นรูปลักษณ์อันสง่างามของศฺรี กฺฤษฺณได้

โศลก 51

arjuna uvāca
dṛṣṭvedaṁ mānuṣaṁ rūpaṁ
tava saumyaṁ janārdana
idānīm asmi saṁvṛttaḥ
sa-cetāḥ prakṛtiṁ gataḥ
อรฺชุน อุวาจ
ทฺฤษฺเฏฺวทํ มานุษํ รูปํ
ตว เสามฺยํ ชนารฺทน
อิทานีมฺ อสฺมิ สํวฺฤตฺตห์
ส-เจตาห์ ปฺรกฺฤตึ คตห์
อรฺชุนห์ อุวาจอรฺชุน ตรัส, ทฺฤษฺฏฺวา — เห็น, อิทมฺ — นี้, มานุษมฺ — มนุษย์, รูปมฺ — รูปลักษณ์, ตว — ของพระองค์, เสามฺยมฺ — สง่างามมาก, ชนารฺทน — โอ้ ผู้กำราบศัตรู, อิทานีมฺ — บัดนี้, อสฺมิ — ข้าเป็น, สํวฺฤตฺตห์ — สงบลง, ส-เจตาห์ — ในจิตสำนึกของข้าพเจ้า, ปฺรกฺฤติมฺ — ธรรมชาติของตัวข้าพเจ้า, คตห์ — กลับคืน

คำแปล

ดังนั้น เมื่อ อรฺชุน ทรงเห็นองค์กฺฤษฺณในรูปลักษณ์เดิมของพระองค์แล้วจึงตรัสว่า โอ้ ชนารฺทน เมื่อได้เห็นรูปลักษณ์คล้ายมนุษย์ที่มีความสง่างามมากนี้ บัดนี้ข้าตั้งสติได้แล้ว และได้กลับคืนสู่สภาพตามธรรมชาติเดิมของข้าพเจ้า

คำอธิบาย

ที่นี้คำว่า มานุษํ รูปมฺ แสดงให้เห็นถึงบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้ารูปเดิมที่มีสองกรอย่างชัดเจน พวกที่เยาะเย้ยองค์กฺฤษฺณประหนึ่งว่าพระองค์ทรงเป็นบุคคลธรรมดาแสดงให้เห็นถึงความโง่เขลาเบาปัญญาของตนเกี่ยวกับธรรมชาติทิพย์ของพระองค์ ที่นี้หากองค์กฺฤษฺณทรงเหมือนกับมนุษย์ธรรมดาแล้วเป็นไปได้อย่างไรที่ทรงแสดงรูปลักษณ์จักรวาล ทรงแสดงรูปลักษณ์พระนารายณ์สี่กร ดังนั้นจึงได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนมากใน ภควัท-คีตา ว่าผู้ที่คิดว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นบุคคลธรรมดา และนำพาผู้อ่านไปในทางที่ผิดโดยอ้างว่า พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ที่อยู่ภายในองค์กฺฤษฺณเป็นผู้ตรัสบุคคลนี้กำลังกระทำผิดอย่างมหันต์ องค์กฺฤษฺณทรงแสดงรูปลักษณ์จักรวาลและทรงแสดงรูปลักษณ์ วิษฺณุ สี่กรจริง เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วพระองค์จะทรงเป็นมนุษย์ธรรมดาสามัญได้อย่างไร สาวกผู้บริสุทธิ์ไม่สับสนกับคำวิจารณ์ ภควัท-คีตา ที่นำพาไปในทางที่ผิดเพราะทราบดีว่าอะไรเป็นอะไร โศลกเดิมแท้ของ ภควัท-คีตา นั้นสว่างไสวชัดเจนเหมือนกับดวงอาทิตย์ที่ไม่จำเป็นต้องใช้แสงตะเกียงจากนักตีความผู้เบาปัญญา

โศลก 52

śrī-bhagavān uvāca
su-durdarśam idaṁ rūpaṁ
dṛṣṭavān asi yan mama
devā apy asya rūpasya
nityaṁ darśana-kāṅkṣiṇaḥ
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
สุ-ทุรฺทรฺศมฺ อิทํ รูปํ
ทฺฤษฺฏวานฺ อสิ ยนฺ มม
เทวา อปฺยฺ อสฺย รูปสฺย
นิตฺยํ ทรฺศน-กางฺกฺษิณห์
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัส, สุ-ทุรฺทรฺศมฺ — เห็นได้ยากมาก, อิทมฺ — นี้, รูปมฺ — รูปลักษณ์, ทฺฤษฺฏวานฺ อสิ — ดังที่เธอได้เห็น, ยตฺ — ซึ่ง, มม — ของข้า, เทวาห์ — เหล่าเทวดา, อปิ — เช่นกัน, อสฺย — นี้, รูปสฺย — รูปลักษณ์, นิตฺยมฺ — อมตะ, ทรฺศน-กางฺกฺษิณห์ — ปรารถนาที่จะได้เห็น

คำแปล

บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัสว่า อรฺชุน ที่รัก รูปลักษณ์ของข้าที่เธอกำลังเห็นอยู่นี้เป็นสิ่งยากมากที่จะเห็นได้ แม้แต่เหล่าเทวดายังแสวงหาโอกาสเสมอที่จะได้เห็นรูปลักษณ์อันเป็นที่รักยิ่งนี้

คำอธิบาย

โศลกที่สี่สิบแปดของบทนี้องค์กฺฤษฺณทรงสรุปการเปิดเผยรูปลักษณ์จักรวาลของพระองค์และตรัสแก่ อรฺชุน ว่าจากการทำบุญมากๆและการทำพิธีบูชาจะไม่สามารถเห็นรูปลักษณ์นี้ได้ ที่นี้ได้ใช้คำว่า สุ-ทุรฺทรฺศมฺ แสดงให้เห็นว่ารูปลักษณ์สองกรขององค์กฺฤษฺณเป็นความลับยิ่งขึ้นไปอีก เราอาจสามารถเห็นรูปลักษณ์จักรวาลขององค์กฺฤษฺณด้วยการบวกการอุทิศตนเสียสละรับใช้เข้าไปอีกนิดหนึ่งกับกิจกรรมต่างๆเช่น การบำเพ็ญเพียร การศึกษาคัมภีร์พระเวท และการคาดคะเนทางปรัชญาซึ่งอาจจะเป็นไปได้ แต่หากปราศจากการผสมผสาน ภกฺติ เข้าไปเราก็จะไม่สามารถเห็นดังที่ได้อธิบายไว้แล้ว แต่เหนือไปกว่ารูปลักษณ์จักรวาลรูปลักษณ์องค์กฺฤษฺณสองกรนั้นยิ่งเห็นได้ยากขึ้นไปอีก แม้แต่เทวดา เช่น พระพรหมและพระศิวะก็ทรงปรารถนาที่จะเห็นองค์กฺฤษฺณ เรามีหลักฐานใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ ว่าขณะที่องค์กฺฤษฺณทรงประทับอยู่ในครรภ์ของพระมารดา เทวกี เหล่าเทวดาทั้งหลายจากสรวงสวรรค์มาดูความอัศจรรย์ขององค์กฺฤษฺณ และได้ถวายบทมนต์อันไพเราะแด่องค์ภควานฺ ถึงแม้ว่าขณะนั้นพระองค์ยังไม่ทรงปรากฏให้เห็นแต่เหล่าเทวดาก็รอที่จะได้เห็นพระองค์คนโง่เขลาอาจเยาะเย้ยองค์ภควานฺคิดว่าพระองค์ทรงเป็นบุคคลธรรมดาและอาจถวายความเคารพต่อ “บางสิ่งบางอย่าง” ที่ไร้รูปลักษณ์ภายในพระองค์ซึ่งไม่ใช่เป็นการเคารพพระองค์เช่นนี้เป็นลักษณะที่ไร้สาระทั้งสิ้น เหล่าเทวดา เช่น พระพรหมและพระศิวะทรงปรารถนาจะเห็นองค์กฺฤษฺณในรูปลักษณ์สองกรของพระองค์จริงๆ

ใน ภควัท-คีตา (9.11) ได้ยืนยันไว้ว่า อวชานนฺติ มำ มูฒา มานุษีํ ตนุมฺ อาศฺริตมฺ พระองค์ทรงไม่ปรากฏให้คนโง่เขลาที่เยาะเย้ยพระองค์ได้เห็น ดังที่ได้ยืนยันไว้โดย พฺรหฺม-สํหิตา และโดยองค์กฺฤษฺณเองใน ภควัท-คีตา ว่าพระวรกายขององค์กฺฤษฺณทรงเป็นทิพย์โดยสมบูรณ์ เปี่ยมไปด้วยความสุขเกษมสำราญ และเป็นอมตะนิรันดร พระวรกายของพระองค์ทรงไม่เหมือนกับร่างกายวัตถุ แต่สำหรับบางคนที่ศึกษาเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณด้วยการอ่าน ภควัท-คีตา หรือคัมภีร์พระเวทคล้ายๆกันนี้แล้วนั้นองค์กฺฤษฺณทรงเป็นปัญหา เพราะเขาใช้กรรมวิธีทางวัตถุพิจารณาว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นบุคลิกภาพผู้ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์และเป็นนักปราชญ์ผู้มีปัญญาเลอเลิศ แต่พระองค์ทรงเป็นมนุษย์ธรรมดา ถึงแม้พระองค์ทรงมีพลังอำนาจมากก็ยังต้องยอมรับร่างวัตถุ ในที่สุดพวกเขาคิดว่าสัจธรรมที่สมบูรณ์เป็นสิ่งที่ไม่มีรูปลักษณ์และยึดติดอยู่กับธรรมชาติวัตถุ เช่นนี้เป็นการคำนวณทางวัตถุเกี่ยวกับองค์ภควานฺ การคำนวณอีกแบบหนึ่งคือการคาดคะเน พวกที่แสวงหาความรู้จึงคาดคะเนเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณ และพิจารณาว่าพระองค์ทรงมีความสำคัญน้อยกว่ารูปลักษณ์จักรวาลของพระองค์ดังนั้นบางคนคิดว่ารูปลักษณ์จักรวาลขององค์กฺฤษฺณที่ทรงปรากฏให้ อรฺชุน เห็นมีความสำคัญมากกว่ารูปลักษณ์ส่วนพระองค์ตามบุคคลเหล่านี้รูปลักษณ์ส่วนพระองค์ขององค์ภควานฺเป็นบางสิ่งบางอย่างที่จินตนาการขึ้นมา โดยเชื่อว่าในระดับสุดท้ายสัจธรรมที่สมบูรณ์ไม่ใช่เป็นบุคคล แต่กรรมวิธีทิพย์ได้อธิบายไว้ใน ภควัท-คีตา บทที่สี่ว่า ให้สดับฟังเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณจากบุคคลที่เชื่อถือได้เช่นนี้คือกรรมวิธีของพระเวทโดยแท้จริง พวกที่อยู่ในสายพระเวทโดยแท้จริงจะสดับฟังเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณจากผู้ที่เชื่อถือได้ ด้วยการสดับฟังเกี่ยวกับพระองค์รครั้งแล้วครั้งเล่าแล้วองค์กฺฤษฺณจะกลายมาเป็นที่รัก ดังที่เราได้กล่าวไว้หลายครั้งว่าองค์กฺฤษฺณทรงถูกปกคลุมด้วยพลัง โยค-มายา ของพระองค์ทรงไม่เปิดเผยหรือให้ผู้ใดเห็น คนที่พระองค์ทรงเปิดเผยให้เท่านั้นจึงสามารถเห็นพระองค์ ได้ยืนยันไว้เช่นนี้ในวรรณกรรมพระเวทว่า สำหรับดวงวิญญาณที่ศิโรราบจึงสามารถเข้าใจสัจธรรมโดยแท้จริง นักทิพย์นิยมผู้ปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างต่อเนื่องและด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์กฺฤษฺณจึงจะสามารถมีจักษุทิพย์ที่สว่างไสวขึ้นและสามารถเห็นองค์กฺฤษฺณจากการเปิดเผย การเปิดเผยเช่นนี้เป็นไปไม่ได้แม้แต่เทวดาดังนั้นจึงเป็นการยาก แม้แต่พวกเทวดาที่จะเข้าใจองค์กฺฤษฺณและเหล่าเทวดาที่เจริญแล้วหวังเสมอว่าจะได้เห็นองค์กฺฤษฺณในรูปลักษณ์สองกร โดยสรุปก็คือ การเห็นรูปลักษณ์จักรวาลขององค์กฺฤษฺณนั้นเป็นสิ่งที่ยากจึงเป็นไปไม่ได้สำหรับทุกๆคน และยากยิ่งขึ้นไปอีกที่จะเข้าใจรูปลักษณ์ของพระองค์ในรูป ศฺยามสุนฺทร

โศลก 53

nāhaṁ vedair na tapasā
na dānena na cejyayā
śakya evaṁ-vidho draṣṭuṁ
dṛṣṭavān asi māṁ yathā
นาหํ เวไทรฺ น ตปสา
น ทาเนน น เจชฺยยา
ศกฺย เอวํ-วิโธ ทฺรษฺฏุํ
ทฺฤษฺฏวานฺ อสิ มำ ยถา
— ไม่เคย, อหมฺ — ข้า, เวไทห์ — ด้วยการศึกษาคัมภีร์พระเวท, — ไม่เคย, ตปสา — ด้วยการบำเพ็ญเพียรอย่างเคร่งครัด, — ไม่เคย, ทาเนน — ด้วยการให้ทาน, — ไม่เคย, — เช่นกัน, อิชฺยยา — ด้วยการบูชา, ศกฺยห์ — เป็นไปได้, เอวมฺ-วิธห์ — เหมือนกัน, ทฺรษฺฏุมฺ — เห็น, ทฺฤษฺฏวานฺ — การเห็น, อสิ — เธอเป็น, มามฺ — ข้า, ยถา — ตามเป็นจริง

คำแปล

รูปลักษณ์ที่กำลังเห็นด้วยจักษุทิพย์ของเธอนั้น การศึกษาคัมภีร์พระเวท การปฏิบัติบำเพ็ญเพียรอย่างเคร่งครัด การให้ทาน หรือการบูชาไม่สามารถเข้าใจได้ มิใช่ว่าปฏิบัติตามวิธีเหล่านี้แล้วจะสามารถเห็นข้าตามความเป็นจริงได้

คำอธิบาย

ครั้งแรกองค์กฺฤษฺณทรงปรากฏต่อหน้าพระมารดา เทวกี และพระบิดา วสุเทว ในรูปลักษณ์สี่กร จากนั้นพระองค์ทรงเปลี่ยนพระวรกายมาเป็นรูปลักษณ์สองกร อิทธิฤทธิ์เช่นนี้เข้าใจได้ยากมากสำหรับพวกที่ไม่เชื่อในองค์ภควานฺ หรือพวกที่ปราศจากการอุทิศตนเสียสละรับใช้ สำหรับพวกนักวิชาการที่ได้แต่ศึกษาวรรณกรรมพระเวทโดยผ่านทางความรู้ไวยากรณ์ หรือมีแต่เพียงคุณสมบัติทางวิชาการเท่านั้นจะเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าใจองค์กฺฤษฺณ สำหรับบุคลลที่ไปวัดเพื่อถวายการบูชาแด่พระองค์ตามพิธีกรรมได้แต่ไปเยี่ยมเยียนพระองค์เท่านั้นแต่ไม่สามารถเข้าใจองค์กฺฤษฺณตามความเป็นจริง เราจะสามารถเข้าใจองค์กฺฤษฺณได้ด้วยวิถีแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้เท่านั้น ดังที่องค์กฺฤษฺณทรงอธิบายด้วยพระองค์เองในโศลกต่อไป

โศลก 54

bhaktyā tv ananyayā śakya
aham evaṁ-vidho ’rjuna
jñātuṁ draṣṭuṁ ca tattvena
praveṣṭuṁ ca paran-tapa
ภกฺตฺยา ตฺวฺ อนนฺยยา ศกฺย
อหมฺ เอวํ-วิโธ ’รฺชุน
ชฺญาตุํ ทฺรษฺฏุํ จ ตตฺเตฺวน
ปฺรเวษฺฏุํ จ ปรนฺ-ตป
ภกฺตฺยา — ด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้, ตุ — แต่, อนนฺยยา — โดยไม่ผสมกับกิจกรรมเพื่อหวังผลหรือความรู้จากการคาดคะเน, ศกฺยห์ — เป็นไปได้, อหมฺ — ข้า, เอวมฺ-วิธห์ — เหมือนนี้, อรฺชุน — โอ้ อรฺชุน, ชฺญาตุมฺ — รู้, ทฺรษฺฏุมฺ — เห็น, — และ, ตตฺเตฺวน — ความจริง, ปฺรเวษฺฏุมฺ — เข้าไปข้างใน, — และ, ปรมฺ-ตป — โอ้ นักรบผู้ยอดเยี่ยม

คำแปล

อรฺชุน ที่รัก การอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่ไม่แบ่งแยกเท่านั้นจึงสามารถเข้าใจข้าตามความเป็นจริง ซึ่งยืนอยู่ต่อหน้าเธอ และสามารถเห็นได้โดยตรง ด้วยวิธีนี้เท่านั้นที่เธอจะสามารถเข้าไปในความเร้นลับแห่งการเข้าใจข้าได้

คำอธิบาย

เราสามารถเข้าใจองค์กฺฤษฺณด้วยกรรมวิธีแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่ไม่แบ่งแยกเท่านั้น พระองค์ทรงอธิบายอย่างแจ่มแจ้งในโศลกนี้เพื่อบรรดานักตีความที่เชื่อถือไม่ได้พยายามเข้าใจ ภควัท-คีตา ด้วยวิธีการคาดคะเนจะได้รู้ว่าพวกตนได้แต่เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ไม่มีผู้ใดสามารถเข้าใจองค์กฺฤษฺณ ไม่เข้าใจว่าทรงมาจากพระบิดาพระมารดาในรูปลักษณ์สี่กรได้อย่างไร และเปลี่ยนพระวรกายมาเป็นรูปลักษณ์สองกรโดยทันทีได้อย่างไร สิ่งเหล่านี้เข้าใจได้ยากมากจากการศึกษาคัมภีร์พระเวทหรือจากการคาดคะเนทางปรัชญา ดังนั้นได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนตรงนี้ว่าไม่มีผู้ใดสามารถเห็นพระองค์หรือเข้าถึงการเข้าใจเรื่องราวเหล่านี้ อย่างไรก็ดีพวกที่เป็นนักศึกษาวรรณกรรมพระเวทที่มีประสบการณ์มากสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับพระองค์จากวรรณกรรมพระเวทได้หลายๆทาง มีกฏเกณฑ์มากมายหากเราปรารถนาจะเข้าใจองค์กฺฤษฺณ เราต้องปฏิบัติตามหลักกฎเกณฑ์ที่ได้ให้ไว้ในวรรณกรรมที่เชื่อถือได้ เราสามารถปฏิบัติการบำเพ็ญเพียรตามหลักธรรมเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น ปฏิบัติการบำเพ็ญเพียรอย่างเคร่งครัด เราอาจถือศีลอดอาหารในวัน ชนฺมาษฺฏมี วันที่องค์กฺฤษฺณทรงปรากฏและวัน เอกาทศี เดือนละสองวัน (วันขึ้นสิบเอ็ดค่ำและวันแรมสิบเอ็ดค่ำ) สำหรับการให้ทานได้กล่าวไว้อย่างเรียบง่ายว่าทานควรให้แก่สาวกขององค์กฺฤษฺณผู้ปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้แด่พระองค์เพื่อเผยแพร่ปรัชญาองค์กฺฤษฺณหรือกฺฤษฺณจิตสำนึกไปทั่วโลก กฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นพรสำหรับมนุษยชาติ รูป โคสฺวามี ได้ชื่นชมองค์ไจตนฺย ว่าทรงเป็นบุคคลผู้มีจิตใจกว้างขวางที่สุดในการให้ทาน เพราะความรักแด่องค์กฺฤษฺณเป็นสิ่งยากมากที่จะบรรลุถึง แต่องค์ไจตนฺย ทรงแจกจ่ายโดยไม่คิดมูลค่าใดๆทั้งสิ้น ดังนั้นหากผู้ใดให้เงินแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการแจกจ่ายกฺฤษฺณจิตสำนึก ทานนั้นให้ไปเพื่อเผยแพร่กฺฤษฺณจิตสำนึกจึงเป็นการให้ทานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก และหากผู้ใดปฏิบัติบูชาเหมือนที่กำหนดไว้ในวัด (วัดในประเทศอินเดียโดยทั่วไปจะมีพระปฏิมาของพระวิษณุหรือองค์กฺฤษฺณเสมอ) นั่นเป็นโอกาสที่จะก้าวหน้าด้วยการถวายการบูชาและถวายความเคารพแด่พระองค์สำหรับผู้ที่เริ่มต้นการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺการบูชาในวัดเป็นสิ่งสำคัญ ได้ยืนยันไว้ในวรรณกรรมพระเวท (เศฺวตาศฺวตร อุปนิษทฺ 6.23) ว่า

ยสฺย เทเว ปรา ภกฺติรฺ
ยถา เทเว ตถา คุเรา
ตไสฺยเต กถิตา หฺยฺ อรฺถาห์
ปฺรกาศนฺเต มหาตฺมนห์
ผู้ที่มีความแน่วแน่ในการอุทิศตนเสียสละเพื่อองค์ภควานฺและมีพระอาจารย์ทิพย์ที่มีศรัทธาอย่างแน่วแน่เช่นเดียวกันนี้เป็นผู้ชี้นำสามารถเห็นองค์ภควานฺด้วยการเปิดเผย เราไม่สามารถเข้าใจองค์กฺฤษฺณจากการคาดคะเนทางจิตใจ สำหรับผู้ที่ไม่ได้รับการฝึกฝนโดยตรงภายใต้การนำทางของพระอาจาร์ทิพย์ผู้ที่เชื่อถือได้เป็นไปไม่ได้แม้แต่ในการที่จะเริ่มเข้าใจองค์กฺฤษฺณ ได้ใช้คำว่า ตุ เป็นพิเศษตรงนี้เพื่อแสดงว่าไม่มีวิธีอื่นใดที่สามารถใช้ได้ แนะนำได้ หรือสามารถประสบผลสำเร็จในการเข้าใจองค์กฺฤษฺณ

รูปลักษณ์ส่วนพระองค์ขององค์กฺฤษฺณ เช่น รูปลักษณ์สองกรและสี่กรอธิบายด้วยคำว่า สุ-ทุรฺทรฺศมฺ หมายความว่า เห็นได้ยากมาก ซึ่งแตกต่างจากรูปลักษณ์จักรวาลชั่วคราวที่แสดงให้ อรฺชุน เห็นโดยสิ้นเชิง รูปลักษณ์สี่กรของ นารายณ และรูปลักษณ์สองกรขององค์กฺฤษฺณทรงเป็นอมตะและเป็นทิพย์ ในขณะที่รูปลักษณ์จักรวาลที่แสดงให้ อรฺชุน นั้นชั่วคราวไม่ถาวร คำว่า ตฺวทฺ อเนฺยน ทฺฤษฺฏ-ปูรฺวมฺ (โศลก47) กล่าวว่าก่อนหน้า อรฺชุน ไม่เคยมีผู้ใดเห็นรูปลักษณ์จักรวาลนั้นมาก่อน และยังแนะนำว่าในหมู่สาวกไม่มีความจำเป็นที่ต้องแสดงรูปลักษณ์นี้ที่องค์กฺฤษฺณทรงแสดงตามที่ อรฺชุน ขอร้อง เพื่อในอนาคตเมื่อมีคนอ้างว่าตนเองเป็นอวตารขององค์ภควานฺผู้คนจะได้ขอร้องให้แสดงรูปลักษณ์จักรวาลของเขาให้เห็น

คำว่า ได้ใช้หลายครั้งในโศลกก่อนหน้านี้ แสดงให้เห็นว่าเราไม่ควรภูมิใจมากกับประกาศณียบัตร ในฐานะที่เป็นนักศึกษาทางวิชาการในวรรณกรรมพระเวทเหล่านี้ เราต้องปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์กฺฤษฺณตรงนี้เท่านั้นจึงสามารถพยายามเขียนคำอธิบายเกี่ยวกับ ภควัท-คีตา

องค์กฺฤษฺณทรงเปลี่ยนรูปลักษณ์จักรวาลมาเป็นรูปลักษณ์นารายณ์สี่กร จากนั้นทรงเปลี่ยนมาเป็นรูปลักษณ์ตามธรรมชาติสองกรของพระองค์แสดงให้เห็นว่ารูปลักษณ์สี่กรและรูปลักษณ์อื่นๆที่กล่าวไว้ในวรรณกรรมพระเวททั้งหมดออกมาจากองค์กฺฤษฺณสองกรองค์แรกสุด องค์กฺฤษฺณทรงเป็นองค์แรกของอวตารที่ออกมาทั้งหมด องค์กฺฤษฺณทรงแตกต่างแม้จากรูปลักษณ์เหล่านี้จึงไม่จำเป็นต้องพูดถึงแนวคิดที่ไร้รูปลักษณ์ สำหรับรูปลักษณ์สี่กรขององค์กฺฤษฺณได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าแม้รูปลักษณ์สี่กรขององค์กฺฤษฺณที่คล้ายพระองค์มากที่สุด (ทรงมีพระนามว่า มหา-วิษฺณุ ที่บรรทมอยู่ในมหาสมุทรจักรวาล และจากการหายใจของพระองค์จักรวาลมากมายจนนับไม่ถ้วนปรากฏออกมาและเข้าไปในพระวรกายของพระองค์) ก็เป็นภาคที่แบ่งแยกขององค์ภควานฺ เช่นเดียวกัน ดังที่ได้กล่าวไว้ใน พฺรหฺม-สํหิตา (5.48) ว่า

ยไสฺยก-นิศฺวสิต-กาลมฺ อถาวลมฺพฺย
ชีวนฺติ โลม-วิล-ชา ชคทฺ-อณฺฑ-นาถาห์
วิษฺณุรฺ มหานฺ ส อิห ยสฺย กลา-วิเศโษ
โควินฺทมฺ อาทิ-ปุรุษํ ตมฺ อหํ ภชามิ
“องค์มหา-วิษฺณุ ที่จักรวาลอันนับไม่ถ้วนทั้งหลายได้เข้าไปและออกมาอีกครั้งจากพระวรกายของพระองค์ด้วยวิธีการหายใจของพระองค์มหา-วิษฺณุ ทรงเป็นภาคที่แบ่งแยกโดยสมบูรณ์ขององค์กฺฤษฺณ ฉะนั้นข้าขอบูชา โควินฺท กฺฤษฺณ แหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง” ดังนั้นโดยสรุปแล้วเราควรบูชารูปลักษณ์ส่วนพระองค์ขององค์กฺฤษฺณว่าเป็นองค์ภควานฺผู้ทรงมีความสุขเกษมสำราญนิรันดรและความรู้ พระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของรูปลักษณ์ วิษฺณุ ทั้งหมด ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของรูปลักษณ์อวตารทั้งหมด และทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดองค์แรก ดังที่ได้ยืนยันไว้ใน ภควัท-คีตา

ในวรรณกรรมพระเวท (โคปาล -ทาพะนี อุพะนิชัด 1.1) ข้อความนี้ปรากฏ

สจฺ-จิทฺ-อานนฺท-รูปาย
กฺฤษฺณายากฺลิษฺฏ-การิเณ
นโม เวทานฺต-เวทฺยาย
คุรเว พุทฺธิ-สากฺษิเณ
“ข้าขอแสดงความเคารพอย่างสูงแด่องค์กฺฤษฺณผู้ทรงมีรูปลักษณ์ทิพย์แห่งความสุขเกษมสำราญ เป็นอมตะ และความรู้ ข้าขอแสดงความเคารพแด่พระองค์เพราะว่าการเข้าใจพระองค์หมายถึงการเข้าใจคัมภีร์พระเวท ดังนั้นพระองค์ทรงเป็นพระอาจารย์ทิพย์สูงสุด” และได้กล่าวต่อไปว่า กฺฤษฺโณ ไว ปรมํ ไทวตมฺ “องค์กฺฤษฺณทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า” (โคปาล-ตาปนี อุปนิษทฺ 1.3) เอโก วศี สรฺว-คห์ กฺฤษฺณ อีฑฺยห์ “องค์กฺฤษฺณองค์เดียวเท่านั้นทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าและทรงเป็นที่เคารพบูชา” เอโก ’ปิ สนฺ พหุธา โย ’วภาติ “องค์กฺฤษฺณทรงเป็นหนึ่งแต่พระองค์ทรงปรากฏในรูปลักษณ์ที่ไม่จำกัดโดยอวตารที่แบ่งภาคออกไป” (โคปาล-ตาปนี อุปนิษทฺ 1.21)

พฺรหฺม-สํหิตา (5.1) กล่าวว่า

อีศฺวรห์ ปรมห์ กฺฤษฺณห์
สจฺ-จิทฺ-อานนฺท-วิคฺรหห์
อนาทิรฺ อาทิรฺ โควินฺทห์
สรฺว-การณ-การณมฺ
“บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าคือองค์กฺฤษฺณผู้ทรงมีพระวรกายแห่งความเป็นอมตะความรู้และความสุขเกษมสำราญ พระองค์ทรงไม่มีจุดเริ่มต้นเพราะทรงเป็นจุดเริ่มต้นของทุกสิ่งทุกอย่าง พระองค์ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของแหล่งกำเนิดทั้งปวง”

ได้กล่าวไว้ที่อื่นว่า ยตฺราวตีรฺณํ กฺฤษฺณาขฺยํ ปรํ พฺรหฺม นรากฺฤติ “สัจธรรมสูงสุดทรงเป็นบุคคลมีพระนามว่า กฺฤษฺณ และบางครั้งพระองค์เสด็จมาบนโลกนี้” ทำนองเดียวกันใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ เราพบการพรรณนาถึงอวตารต่างๆทั้งหลายของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าและในรายพระนามนี้ พระนาม กฺฤษฺณ ทรงปรากฏ แต่ได้กล่าวไว้ว่าองค์กฺฤษฺณองค์นี้ไม่ใช่อวตารขององค์ภควานฺ แต่ทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์เดิมด้วยพระองค์เอง (เอเต จำศ-กลาห์ ปุํสห์ กฺฤษฺณสฺ ตุ ภควานฺ สฺวยมฺ)

ทำนองเดียวกันใน ภควัท-คีตา องค์ภควานฺตรัสว่า มตฺตห์ ปรตรํ นานฺยตฺ “ไม่มีอะไรเหนือไปกว่ารูปลักษณ์ของข้าในรูปองค์ภควานฺ ศฺรี กฺฤษฺณ” พระองค์ตรัสใน ภควัท-คีตา อีกแห่งหนึ่งว่า อหมฺ อาทิรฺ หิ เทวานามฺ “ข้าคือแหล่งกำเนิดของมวลเทวดา” และหลังจากเข้าใจ ภควัท-คีตา จากองค์กฺฤษฺณ อรฺชุน ทรงยืนยันด้วยคำพูดเหล่านี้ ปรํ พฺรหฺม ปรํ ธาม ปวิตฺรํ ปรมํ ภวานฺ “บัดนี้ข้าพเจ้าเข้าใจโดยสมบูรณ์ว่าพระองค์คือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า พระองค์คือสัจธรรมที่สมบูรณ์ และพระองค์คือที่พักพิงของทุกสิ่งทุกอย่าง” ฉะนั้นรูปลักษณ์จักรวาลที่องค์กฺฤษฺณทรงแสดงให้ อรฺชุน เห็นไม่ใช่รูปลักษณ์เดิมแท้ของพระองค์รูปลักษณ์เดิมแท้คือองค์กฺฤษฺณรูปลักษณ์จักรวาลที่มีพระเศียรและพระกรเป็นพันๆ ทรงปรากฏเพื่อเรียกความสนใจของพวกที่ไม่มีความรักต่อองค์ภควานฺซึ่งไม่ใช่รูปลักษณ์เดิมแท้ของพระองค์

รูปลักษณ์จักรวาลไม่เป็นที่น่ารักสำหรับสาวกผู้บริสุทธิ์ที่อยู่ในความรักกับพระองค์ในความสัมพันธ์ทิพย์ที่แตกต่างกันไป องค์ภควานฺทรงแลกเปลี่ยนความรักทิพย์ในรูปลักษณ์เดิมคือองค์กฺฤษฺณ ฉะนั้นสำหรับ อรฺชุน ผู้มีความสัมพันธ์กับองค์กฺฤษฺณอย่างใกล้ชิดในฐานะเพื่อนรูปลักษณ์แห่งปรากฏการณ์ทางจักรวาลนี้ไม่เป็นที่น่ายินดีแต่น่ากลัว อรฺชุน ทรงเป็นเพื่อนสนิทขององค์กฺฤษฺณเสมอ หากจะต้องมีจักษุทิพย์ไม่ใช่บุคคลธรรมดา ดังนั้นท่านจึงไม่หลงอยู่กับรูปลักษณ์จักรวาล รูปลักษณ์นี้อาจดูน่าอัศจรรย์สำหรับบุคคลที่ยุ่งอยู่กับการพัฒนาตนเองในกิจกรรมทางวัตถุ แต่สำหรับผู้ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้รูปลักษณ์สองกรแห่งองค์ศฺรี กฺฤษฺณจะเป็นที่รักยิ่ง

โศลก 55

mat-karma-kṛn mat-paramo
mad-bhaktaḥ saṅga-varjitaḥ
nirvairaḥ sarva-bhūteṣu
yaḥ sa mām eti pāṇḍava
มตฺ-กรฺม-กฺฤนฺ มตฺ-ปรโม
มทฺ-ภกฺตห์ สงฺค-วรฺชิตห์
นิไรฺวรห์ สรฺว-ภูเตษุ
ยห์ ส มามฺ เอติ ปาณฺฑว
มตฺ-กรฺม-กฺฤตฺ — ปฏิบัติการทำงานให้ข้า, มตฺ-ปรมห์ — พิจารณาว่าข้าคือผู้สูงสุด, มตฺ-ภกฺตห์ — ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้แด่ข้า, สงฺค-วรฺชิตห์ — เป็นอิสระจากมลทินแห่งกิจกรรมทางวัตถุและการคาดคะเนทางจิต, นิไรฺวรห์ — ปราศจากศัตรู, สรฺว-ภูเตษุ — ในบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย, ยห์ — ผู้ซึ่ง, สห์ — เขา, มามฺ — แต่ข้า, เอติ — มา, ปาณฺฑว — โอ้ โอรสพาณดุ

คำแปล

อรฺชุน ที่รัก ผู้ปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ข้าด้วยความบริสุทธิ์ใจ เป็นอิสระจากมลทินแห่งกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ และการคาดคะเนทางจิต ผู้ที่ทำงานให้แก่ข้า มีข้าเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในชีวิต และเป็นมิตรกับทุกๆชีวิตแน่นอนว่าเขาจะมาหาข้า

คำอธิบาย

ผู้ใดปรารถนาที่จะเข้าพบบุคคลสูงสุดแห่งบุคลิกภาพของพระผู้เป็นเจ้าทั้งปวงที่ กฺฤษฺณโลก ในท้องฟ้าทิพย์ และเชื่อมสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดสนิทสนมกับองค์กฺฤษฺณ องค์ภควานฺต้องรับเอาสูตรนี้ไปปฏิบัติดังที่พระองค์ตรัส ฉะนั้นโศลกนี้พิจารณว่าเป็นเนื้อหาสาระสำคัญของ ภควัท-คีตา ภควัท-คีตา เป็นหนังสือที่นำทางให้พันธวิญญาณผู้ปฏิบัติอยู่ในโลกวัตถุด้วยจุดมุ่งหมายที่จะเป็นเจ้าแห่งธรรมชาติและไม่รู้ถึงชีวิตทิพย์อันแท้จริง ภควัท-คีตา มีไว้เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราสามารถเข้าใจความเป็นอยู่ทิพย์และความสัมพันธ์นิรันดรของเรากับบุคลิกภาพสูงสุดได้อย่างไรและสอนให้เรากลับคืนสู่เหย้าคืนสู่องค์ภควานฺได้อย่างไร โศลกนี้อธิบายอย่างชัดเจนถึงวิธีการที่เราสามารถประสบผลสำเร็จในกิจกรรมทิพย์หรือการอุทิศตนเสียสละรับใช้

สำหรับงานแล้วนั้นเราควรถ่ายโอนพลังงานทั้งหมดไปยังกิจกรรมเพื่อกฺฤษฺณจิตสำนึกดังที่กล่าวไว้ใน ภกฺติ-รสามฺฤต-สินฺธุ (1.2.255)

อนาสกฺตสฺย วิษยานฺ
ยถารฺหมฺ อุปยุญฺชตห์
นิรฺพนฺธห์ กฺฤษฺณ-สมฺพนฺเธ
ยุกฺตํ ไวราคฺยมฺ อุจฺยเต
ไม่มีผู้ใดควรทำงานอื่นใดนอกจากงานที่สัมพันธ์กับองค์กฺฤษฺณ เช่นนี้เรียกว่า กฺฤษฺณ-กรฺม เราอาจปฏิบัติกิจกรรมมากมายแต่ไม่ควรยึดติดกับผลงานของตน ผลของงานควรทำไปเพื่อองค์กฺฤษฺณ ตัวอย่างเช่น เราอาจทำธุรกิจแต่ควรเปลี่ยนกิจกรรมนั้นมาเป็นกฺฤษฺณจิตสำนึกเราต้องทำธุรกิจเพื่อองค์กฺฤษฺณ หากองค์กฺฤษฺณทรงเป็นเจ้าของธุรกิจองค์กฺฤษฺณก็ควรได้รับความสุขกับผลกำไรของธุรกิจ หากนักธุรกิจเป็นเจ้าของเงินเป็นจำนวนแสนๆล้านๆบาทและหากเราต้องถวายทั้งหมดนี้แด่องค์กฺฤษฺณเราสามารถกระทำได้ นี่คืองานเพื่อองค์กฺฤษฺณ แทนที่จะก่อสร้างอาคารสูงๆเพื่อสนองประสาทสัมผัสของตนเอง เราสามารถก่อสร้างวัดอันวิจิตรตระการตาเพื่อองค์กฺฤษฺณอัญเชิญพระปฏิมาขององค์กฺฤษฺณและบริหารจัดการเพื่อการรับใช้ต่อพระปฏิมา ดังที่ได้กำหนดไว้ในหนังสือแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่เชื่อถือได้ทั้งหมดนี้คือ กฺฤษฺณ-กรฺม เราไม่ควรยึดติดกับผลงานของตนแต่ผลงานควรถวายให้องค์กฺฤษฺณ และควรรับเอา ปฺรสาทมฺ หรือส่วนที่เหลือจากการถวายให้องค์กฺฤษฺณแล้ว หากผู้ใดก่อสร้างอาคารใหญ่ๆเพื่อองค์กฺฤษฺณและอัญเชิญพระปฏิมาขององค์กฺฤษฺณมาประทับผู้นั้นจะไม่ถูกห้ามให้มาอยู่ในอาคารแต่ต้องเข้าใจว่าเจ้าของอาคารคือองค์กฺฤษฺณ เช่นนี้เรียกว่ากฺฤษฺณจิตสำนึก อย่างไรก็ดีหากไม่สามารถสร้างวัดเพื่อองค์กฺฤษฺณเราสามารถทำความสะอาดวัดให้องค์กฺฤษฺณนั่นก็เป็น กฺฤษฺณ - กรฺม เช่นเดียวกัน หากมีที่ดินเราสามารถทำสวน ในประเทศอินเดียอย่างน้อยคนจนจะมีที่ดินหนึ่งแปลง สามารถใช้ประโยชน์ในผืนดินนั้นเพื่อองค์กฺฤษฺณด้วยการปลูกไม้ดอกเพื่อถวายให้องค์กฺฤษฺณ เราสามารถปลูกต้น ตุลสี เพราะว่าใบ ตุลสี มีความสำคัญมาก องค์กฺฤษฺณทรงแนะนำไว้ใน ภควัท-คีตา ว่า ปตฺรํ ปุษฺปํ ผลํ โตยมฺ องค์กฺฤษฺณทรงปรารถนาให้เราถวายใบไม้ ดอกไม้ ผลไม้ หรือน้ำเพียงเล็กน้อยแด่พระองค์และจากการถวายเช่นนี้พระองค์จะทรงพอพระทัย ใบไม้นี้หมายถึงใบ ตุลสี โดยเฉพาะ ดังนั้นเราจึงสามารถปลูกต้น ตุลสี และรดน้ำ ฉะนั้นแม้แต่คนที่ยากจนที่สุดก็สามารถปฏิบัติการรับใช้องค์กฺฤษฺณได้ นี่คือการยกตัวอย่างว่าเราสามารถปฏิบัติในการทำงานเพื่อองค์กฺฤษฺณได้อย่างไร

คำว่า มตฺ-ปรมห์ หมายถึงผู้พิจารณาว่าการได้มาอยู่ใกล้ชิดกับองค์กฺฤษฺณที่พระตำหนักสูงสุดของพระองค์เป็นความสมบูรณ์สูงสุดของชีวิต บุคคลเช่นนี้ไม่ปรารถนาพัฒนาไปยังดาวเคราะห์ที่สูงกว่า เช่น ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ หรือโลกสวรรค์ หรือแม้แต่โลกที่สูงสุดของจักรวาลนี้คือ พฺรหฺมโลก หรือพรหมโลก เขาไม่หลงใหลอยู่กับสิ่งเหล่านี้แต่ยึดมั่นเพียงที่จะย้ายไปยังท้องฟ้าทิพย์เท่านั้น และแม้ในท้องฟ้าทิพย์เขาก็ไม่พึงพอใจที่จะกลืนเข้าไปในรัศมี พฺรหฺม-โชฺยติรฺ อันเจิดจรัส เพราะปรารถนาที่จะเข้าไปในโลกทิพย์สูงสุดชื่อว่า กฺฤษฺณโลก โคโลก วฺฤนฺทาวน ซึ่งตนเองมีความรู้ที่สมบูรณ์เกี่ยวกับโลกนี้ดังนั้นจึงไม่สนใจโลกอื่นๆ ดังที่ได้แสดงไว้ด้วยคำว่า มทฺ-ภกฺตห์ เขาจะปฏิบัติอย่างเต็มที่ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้โดยเฉพาะในเก้าวิธีแห่งการปฏิบัติอุทิศตนเสียสละ เช่น การสดับฟัง การสวดภาวนา การระลึกถึง การบูชา การรับใช้พระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควานฺ การถวายบทมนต์ การปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์การเป็นมิตรกับพระองค์และการศิโรราบทุกสิ่งทุกอย่างแด่พระองค์เขาสามารถปฏิบัติในกระบวนการอุทิศตนเสียสละทั้งเก้าวิธีนี้หรือแปด หรือเจ็ด หรืออย่างน้อยหนึ่งวิธี เช่นนี้จะทำให้ชีวิตเขาสมบูรณ์อย่างแน่นอน

คำว่า สงฺค-วรฺชิตห์ มีความสำคัญมาก ชีวิตไม่ควรไปคบหาสมาคมกับบุคคลผู้ต่อต้านองค์กฺฤษฺณไม่เพียงแต่ผู้ที่ไม่เชื่อในองค์ภควานฺเท่านั้นที่ต่อต้านองค์กฺฤษฺณ แม้แต่พวกที่ยึดติดกับกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุและพวกที่คาดคะเนทางจิตก็เป็นผู้ต่อต้านองค์กฺฤษฺณเช่นกัน ดังนั้นการอุทิศตนเสียสละรับใช้ในรูปแบบที่บริสุทธิ์ได้อธิบายไว้ใน ภกฺติ-รสามฺฤต-สินฺธุ (1.1.11) ดังนี้

อนฺยาภิลาษิตา-ศูนฺยํ
ชฺญาน-กรฺมาทฺยฺ-อนาวฺฤตมฺ
อานุกูเลฺยน กฺฤษฺณานุ-
ศีลนํ ภกฺติรฺ อุตฺตมา
โศลกนี้ ศฺรีล รูป โคสฺวามี กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า หากผู้ใดปรารถนาการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์จะต้องเป็นอิสระจากมลทินทางวัตถุทั้งหมด และต้องเป็นอิสระจากการคบหาสมาคมกับบุคคลผู้ยึดติดอยู่กับกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุและยึดติดอยู่กับการคาดคะเนทางจิต เมื่อเป็นอิสระจากการคบหาสมาคมที่ไม่พึงปรารถนาและจากมลทินแห่งความปรารถนาทางวัตถุเช่นนี้เขาจะพัฒนาความรู้แห่งองค์กฺฤษฺณด้วยความชื่นชอบ เช่นนี้เรียกว่าการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์ อานุกูลฺยสฺย สงฺกลฺปห์ ปฺราติกูลฺยสฺย วรฺชนมฺ (หริ-ภกฺติ-วิลาส 11.676) เขาควรคิดถึงองค์กฺฤษฺณและปฏิบัติเพื่อพระองค์ด้วยความชื่นชอบไม่ใช่ในเชิงลบ กํส เป็นศัตรูขององค์กฺฤษฺณจากจุดเริ่มต้นแห่งการประสูติขององค์กฺฤษฺณ กํส ได้วางแผนมากมายหลายวิธีที่จะสังหารพระองค์และเนื่องจากล้มเหลวทุกครั้งเขาจึงคิดถึงองค์กฺฤษฺณอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นขณะที่ทำงาน ขณะที่รับประทานอาหาร และขณะที่นอนอยู่ กํส จะมีกฺฤษฺณจิตสำนึกตลอดเวลาในทุกๆด้าน แต่กฺฤษฺณจิตสำนึกเช่นนี้ไม่เป็นที่ชื่นชอบ ฉะนั้นถึงแม้ว่า กํส จะคิดถึงองค์กฺฤษฺณวันละยี่สิบสี่ชั่วโมงแต่ถือว่าเป็นมารและในที่สุดก็ถูกองค์กฺฤษฺณสังหาร แน่นอนว่าผู้ใดที่องค์กฺฤษฺณสังหารจะบรรลุถึงความหลุดพ้นทันทีแต่นั่นไม่ใช่จุดมุ่งหมายของสาวกผู้บริสุทธิ์ สาวกผู้บริสุทธิ์ไม่ต้องการแม้แต่ความหลุดพ้น ท่านไม่ต้องการแม้แต่จะโอนย้ายไปยังโลกที่สูงที่สุด โคโลก วฺฤนฺทาวน จุดมุ่งหมายเดียวของท่านคือ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ขอให้ได้รับใช้องค์กฺฤษฺณ

สาวกขององค์กฺฤษฺณเป็นมิตรกับทุกๆคน ดังนั้นได้กล่าวไว้ตรงนี้ว่าท่านไม่มีศัตรู (นิไรฺวรห์) เป็นเช่นนี้ได้อย่างไร สาวกสถิตในกฺฤษฺณจิตสำนึกทราบว่าการอุทิศตนเสียสละรับใช้แด่องค์กฺฤษฺณเท่านั้นที่สามารถปลดเปลื้องผู้คนจากปัญหาทั้งหลายทั้งปวงของชีวิตท่านมีประสบการณ์โดยตรงเช่นกัน ดังนั้นจึงปรารถนาจะแนะนำระบบกฺฤษฺณจิตสำนึกนี้แด่สังคมมนุษย์ มีตัวอย่างในประวัติสาวกขององค์ภควานฺมากมายที่เสี่ยงชีวิตเพื่อเผยแพร่พระเจ้าจิตสำนึก ตัวอย่างที่น่าชื่นชมคือ พระเยซูคริสต์ ทรงถูกพวกที่ไม่ใช่สาวกตรึงไว้บนไม้กางเขน แต่พระองค์ทรงยอมสละชีวิตเพื่อเผยแพร่พระเจ้าจิตสำนึก แน่นอนว่าเป็นเพียงผิวเผินเท่านั้นที่เข้าใจว่าพระองค์ทรงถูกสังหาร ที่ประเทศอินเดียมีตัวอย่างมากมายในทำนองเดียวกันนี้ เช่น ฐากุร หริทาส และ ปฺรหฺลาท มหาราช ทำไมจึงเสี่ยงเช่นนี้เพราะพวกท่านปรารถนาที่จะเผยแพร่กฺฤษฺณจิตสำนึกซึ่งเป็นงานที่ยาก บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกรู้ว่าหากมนุษย์ได้รับความทุกข์ก็เนื่องจากพวกเขาลืมความสัมพันธ์นิรันดรกับองค์กฺฤษฺณ ดังนั้นประโยชน์สูงสุดที่สามารถให้แก่สังคมมนุษย์คือปลดเปลื้องเพื่อนบ้านจากปัญหาทางวัตถุทั้งหลายทั้งปวง ด้วยวิธีนี้ที่สาวกผู้บริสุทธิ์ปฏิบัติในการรับใช้องค์ภควานฺ บัดนี้เราสามารถจินตานาการได้ว่าองค์กฺฤษฺณทรงมีพระเมตตาเพียงไรต่อพวกที่ปฏิบัติตนรับใช้พระองค์ยอมเสี่ยงทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อพระองค์ดังนั้นแน่นอนว่าบุคคลเช่นนี้ต้องบรรลุถึงโลกสูงสุดหลังจากออกจากร่างนี้ไป

โดยสรุปรูปลักษณ์จักรวาลขององค์กฺฤษฺณซึ่งเป็นปรากฏการณ์ไม่ถาวรและรูปลักษณ์แห่งกาลเวลาที่กลืนกินทุกสิ่งทุกอย่าง และแม้แต่รูปลักษณ์แห่งพระวิษฺณุสี่กรองค์กฺฤษฺณนั้นทรงเป็นผู้แสดงให้เห็นทั้งหมด ฉะนั้นองค์กฺฤษฺณทรงเป็นแหล่งกำเนิดของปรากฏการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ องค์กฺฤษฺณทรงมิใช่เป็นปรากฏการณ์ของ วิศฺว-รูป องค์เดิมหรือพระวิษณุเท่านั้นองค์กฺฤษฺณยังทรงเป็นแหล่งกำเนิดของรูปลักษณ์ทั้งหมด มีพระวิษณุเป็นร้อยๆพันๆองค์แต่สำหรับสาวกไม่มีรูปลักษณ์ใดขององค์กฺฤษฺณที่จะมีความสำคัญนอกจากรูปลักษณ์เดิมสองกร ศฺยามสุนฺทร ใน พฺรหฺม-สํหิตา ได้กล่าวไว้ว่าพวกที่ยึดมั่นอยู่กับรูปลักษณ์ ศฺยามสุนฺทร แห่งองค์กฺฤษฺณด้วยความรักและด้วยการอุทิศตนเสียสละจะสามารถเห็นพระองค์เสมอภายในหัวใจและสามารถเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง ดังนั้นเราควรเข้าใจว่าคำอธิบายของบทที่สิบเอ็ดนี้คือรูปลักษณ์แห่งองค์ศฺรี กฺฤษฺณเป็นเนื้อหาสาระสำคัญและสูงที่สุด

ดังนั้นได้จบคำอธิบายโดย ภักดีเวดานตะ บทที่สิบเอ็ด ของหนังสือศฺรีมทฺ ภควัท-คีตา ในหัวข้อเรื่อง รูปลักษณ์จักรวาล