ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบสอง

การอุทิศตนเสียสละรับใช้

SIMPLE

โศลก 1

arjuna uvāca
evaṁ satata-yuktā ye
bhaktās tvāṁ paryupāsate
ye cāpy akṣaram avyaktaṁ
teṣāṁ ke yoga-vittamāḥ
อรฺชุน อุวาจ
เอวํ สตต-ยุกฺตา เย
ภกฺตาสฺ ตฺวำ ปรฺยุปาสเต
เย จาปฺยฺ อกฺษรมฺ อวฺยกฺตํ
เตษำ เก โยค-วิตฺตมาห์
อรฺชุนห์ อุวาจอรฺชุน ตรัส, เอวมฺ — ดังนั้น, สตต — เสมอ, ยุกฺตาห์ — ปฏิบัติ, เย — ผู้ซึ่ง, ภกฺตาห์ — สาวก, ตฺวามฺ — พระองค์, ปรฺยุปาสเต — บูชาอย่างถูกต้อง, เย — ผู้ซึ่ง, — เช่นกัน, อปิ — อีกครั้ง, อกฺษรมฺ — เหนือประสาทสัมผัส, อวฺยกฺตมฺ — ที่ไม่ปรากฏ, เตษามฺ — ของพวกเขา, เก — ผู้ซึ่ง, โยค-วิตฺ-ตมาห์ — มีความสมบูรณ์มากที่สุดในความรู้แห่งโยคะ

คำแปล

อรฺชุน ทรงถามว่า ระหว่างพวกที่ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้แด่พระองค์อย่างถูกต้องเสมอ และพวกที่บูชา พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ที่ไม่ปรากฏ พิจารณาว่าพวกไหนสมบูรณ์กว่ากัน

คำอธิบาย

บัดนี้องค์กฺฤษฺณทรงอธิบายเกี่ยวกับเรื่องมีรูปลักษณ์ ไม่มีรูปลักษณ์ และรูปลักษณ์จักรวาล พร้อมทั้งอธิบายถึงสาวกและโยคีทั้งหลาย โดยทั่วไปนักทิพย์นิยมแบ่งออกเป็นสองพวก พวกหนึ่งไม่เชื่อในรูปลักษณ์และอีกพวกหนึ่งเชื่อในรูปลักษณ์ สาวกผู้เชื่อในรูปลักษณ์ปฏิบัติด้วยพลังงานทั้งหมดเพื่อรับใช้องค์ภควานฺ ผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์มีการปฏิบัติเช่นกันโดยการทำสมาธิอยู่ที่ พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ที่ไม่ปรากฏแต่จะไม่รับใช้องค์กฺฤษฺณโดยตรง

เราพบในบทนี้ว่าในวิธีการต่างๆเพื่อรู้แจ้งสัจธรรม ภกฺติ-โยค หรือการอุทิศตนเสียสละรับใช้เป็นวิธีที่สูงสุด หากผู้ใดปรารถนามาอยู่ใกล้ชิดกับบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าผู้นั้นจะต้องปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้

พวกที่บูชาองค์ภควานฺโดยตรงด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้เรียกว่าพวกเชื่อในรูปลักษณ์ พวกปฏิบัติสมาธิอยู่ที่ พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์เรียกว่าพวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์ ที่นี้ อรฺชุน ทรงถามว่าสถานภาพไหนดีกว่ากัน มีวิธีต่างๆเพื่อรู้แจ้งสัจธรรมแต่องค์กฺฤษฺณทรงแสดงในบทนี้ว่า ภกฺติ-โยค หรือการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อพระองค์เป็นสิ่งที่สูงสุดเป็นสิ่งที่โดยตรงที่สุดโดยตรงและเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดเพื่อมาอยู่ใกล้ชิดกับองค์ภควานฺ

ในบทที่สองของ ภควัท-คีตา องค์ภควานฺทรงอธิบายว่าสิ่งมีชีวิตไม่ใช่ร่างวัตถุ แต่เป็นละอองอณูทิพย์และสัจธรรมเป็นส่วนทิพย์ที่สมบูรณ์ ในบทที่เจ็ดองค์ภควานฺทรงแนะนำว่าสิ่งมีชีวิตในฐานะที่เป็นละอองอณูของส่วนที่สมบูรณ์สูงสุด จึงควรย้ายความสนใจทั้งหมดไปสู่ส่วนที่สมบูรณ์ จากนั้นในบทที่แปดได้กล่าวไว้ว่าหากผู้ใดระลึกถึงองค์กฺฤษฺณในขณะที่ออกจากร่างวัตถุจะย้ายไปสู่ท้องฟ้าทิพย์ที่พระตำหนักของพระองค์โดยทันที และในตอนท้ายของบทที่หกองค์ภควานฺตรัสอย่างชัดเจนว่าในบรรดาโยคีทั้งหลายผู้ที่ระลึกถึงองค์กฺฤษฺณภายในตนเองเสมอพิจารณาว่าเป็นผู้ที่สมบูรณ์สูงสุด ดังนั้นในทุกๆบทจะเห็นข้อสรุปว่าเราควรยึดมั่นอยู่ที่รูปลักษณ์ส่วนพระองค์ขององค์กฺฤษฺณ เพราะนั่นคือความรู้แจ้งทิพย์ที่สูงสุด

อย่างไรก็ดีมีพวกที่ไม่ยึดมั่นอยู่กับรูปลักษณ์ส่วนพระองค์ขององค์กฺฤษฺณ ไม่ยึดมั่นอย่างแน่วแน่แม้ในการเตรียมคำอธิบาย ภควัท-คีตา แต่ต้องการทำให้ผู้คนไขว้เขวไปจากองค์กฺฤษฺณเพื่อเปลี่ยนย้ายการอุทิศตนเสียสละทั้งหมดไปที่ พฺรหฺม-โชฺยติรฺ ซึ่งไร้รูปลักษณ์ และชอบทำสมาธิอยู่กับสิ่งที่ไม่มีรูปลักษณ์แห่งสัจธรรมมากกว่าซึ่งอยู่เกินเอื้อมของประสาทสัมผัสและไม่เป็นที่ปรากฏ

อันที่จริงมีนักทิพย์นิยมอยู่สองกลุ่ม บัดนี้ อรฺชุน ทรงพยายามสรุปคำถามว่าวิธีใดง่ายกว่ากันและกลุ่มไหนสมบูรณ์ที่สุด อีกนัยหนึ่งท่านทำให้สถานภาพของท่านเองกระจ่างขึ้นเนื่องจากท่านยึดมั่นอยู่กับรูปลักษณ์ส่วนพระองค์ขององค์กฺฤษฺณ อรฺชุน ทรงไม่ยึดติดอยู่กับ พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์และปรารถนาจะทราบว่าสถานภาพของท่านนั้นปลอดภัยหรือไม่ ปรากฏการณ์อันไร้รูปลักษณ์ไม่ว่าในโลกวัตถุนี้หรือในโลกทิพย์ขององค์ภควานฺจะเป็นปัญหาในการทำสมาธิ อันที่จริงเราไม่สามารถสำเหนียกเกี่ยวกับลักษณะอันไร้รูปลักษณ์แห่งสัจธรรมได้อย่างถ่องแท้ ดังนั้น อรฺชุน ทรงปรารถนาจะกล่าวว่า “จะมีประโยชน์อันใดกับการสูญเสียเวลาไปเช่นนี้” อรฺชุน ทรงอธิบายในบทที่สิบเอ็ดว่าการยึดมั่นอยู่กับรูปลักษณ์ส่วนพระองค์ขององค์กฺฤษฺณดีที่สุด เพราะทำให้ท่านเข้าใจรูปลักษณ์อื่นๆทั้งหมด ในขณะเดียวกันและไม่มารบกวนกับความรักที่ท่านมีต่อองค์กฺฤษฺณ อรฺชุน ทรงได้ถามคำถามสำคัญนี้ต่อองค์กฺฤษฺณจะทำให้ข้อแตกต่างระหว่างแนวคิดที่ไร้รูปลักษณ์ และแนวคิดที่มีรูปลักษณ์แห่งสัจธรรมกระจ่างขึ้น

โศลก 2

śrī-bhagavān uvāca
mayy āveśya mano ye māṁ
nitya-yuktā upāsate
śraddhayā parayopetās
te me yukta-tamā matāḥ
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
มยฺยฺ อาเวศฺย มโน เย มำ
นิตฺย-ยุกฺตา อุปาสเต
ศฺรทฺธยา ปรโยเปตาสฺ
เต เม ยุกฺต-ตมา มตาห์
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — องค์ภควานตรัส, มยิ — แด่ข้า, อาเวศฺย — ตั้งมั่น, มนห์ — จิตใจ, เย — พวกที่, มามฺ — ข้า, นิตฺย — เสมอ, ยุกฺตาห์ — ปฏิบัติ, อุปาสเต — บูชา, ศฺรทฺธยา — ด้วยศรัทธา, ปรยา — ทิพย์, อุเปตาห์ — ได้รับ, เต — พวกเขา, เม — จากข้า, ยุกฺต-ตมาห์ — สมบูรณ์ที่สุดในโยคะ, มตาห์ — พิจารณา

คำแปล

องค์ภควานตรัสว่า พวกที่ตั้งมั่นจิตอยู่ที่รูปลักษณ์ส่วนตัวของข้า และปฏิบัติในการบูชาข้าด้วยความศรัทธาทิพย์อันยิ่งใหญ่เสมอ ข้าพิจารณาว่าเป็นพวกที่สมบูรณ์ที่สุด

คำอธิบาย

ในการตอบคำถามของ อรฺชุน องค์กฺฤษฺณตรัสอย่างชัดเจนว่าผู้ที่ตั้งสมาธิอยู่ที่รูปลักษณ์ส่วนตัวของพระองค์บูชาพระองค์ด้วยความศรัทธาและอุทิศตนเสียสละพิจารณาว่าเป็นผู้สมบูรณ์สูงสุดในโยคะ สำหรับผู้ที่อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเช่นนี้จะไม่มีกิจกรรมทางวัตถุเพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างกระทำไปเพื่อองค์กฺฤษฺณสาวกผู้บริสุทธิ์ปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา บางครั้งสวดภาวนา บางครั้งสดับฟังหรืออ่านหนังสือเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณ บางครั้งปรุง ปฺรสาทมฺ หรือไปตลาดเพื่อซื้อสิ่งของให้องค์กฺฤษฺณ บางครั้งทำความสะอาดวัดหรือล้างจาน เขาจะทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อไม่ให้เวลาแม้แต่นาทีเดียวผ่านไปโดยไม่อุทิศตนเสียสละกิจกรรมให้องค์กฺฤษฺณ การกระทำเช่นนี้พิจารณาว่าอยู่ในสมาธิที่สมบูรณ์

โศลก 3-4

ye tv akṣaram anirdeśyam
avyaktaṁ paryupāsate
sarvatra-gam acintyaṁ ca
kūṭa-stham acalaṁ dhruvam
เย ตฺวฺ อกฺษรมฺ อนิรฺเทศฺยมฺ
อวฺยกฺตํ ปรฺยุปาสเต
สรฺวตฺร-คมฺ อจินฺตฺยํ จ
กูฏ-สฺถมฺ อจลํ ธฺรุวมฺ
sanniyamyendriya-grāmaṁ
sarvatra sama-buddhayaḥ
te prāpnuvanti mām eva
sarva-bhūta-hite ratāḥ
สนฺนิยเมฺยนฺทฺริย-คฺรามํ
สรฺวตฺร สม-พุทฺธยห์
เต ปฺราปฺนุวนฺติ มามฺ เอว
สรฺว-ภูต-หิเต รตาห์
เย — พวกที่, ตุ — แต่, อกฺษรมฺ — ซึ่งอยู่เหนือความเข้าใจของประสาทสัมผัส, อนิรฺเทศฺยมฺ — ไม่มีที่สิ้นสุด, อวฺยกฺตมฺ — ไม่ปรากฏ, ปรฺยุปาสเต — ปฏิบัติการบูชาอย่างสมบูรณ์, สรฺวตฺร-คมฺ — แผ่กระจายไปทั่ว, อจินฺตฺยมฺ — ไม่สามารถเห็นได้, — เช่นกัน, กูฏ-สฺถมฺ — ไม่เปลี่ยนแปลง, อจลมฺ — ไม่เคลื่อนที่, ธฺรุวมฺ — ตั้งมั่น, สนฺนิยมฺย — ควบคุม, อินฺทฺริย-คฺรามมฺ — ประสาทสัมผัสทั้งหมด, สรฺวตฺร — ทุกหนทุกแห่ง, สม-พุทฺธยห์ — ปฏิบัติเสมอภาค, เต — พวกเขา, ปฺราปฺนุวนฺติ — บรรลุ, มามฺ — ข้า, เอว — แน่นอน, สรฺว-ภูต-หิเต — เพื่อประโยชน์สุขของมวลชีวิต, รตาห์ — ปฏิบัติ

คำแปล

แต่พวกที่บูชาอย่างจริงจังกับสิ่งที่ไม่ปรากฏซึ่งอยู่เหนือความเข้าใจของประสาทสัมผัส แผ่กระจายไปทั่ว ไม่สามารถมองเห็นได้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง มั่นคง และไม่เคลื่อนที่ ซึ่งเป็นแนวคิดอันไร้รูปลักษณ์แห่งสัจธรรมด้วยการควบคุมประสาทสัมผัส และปฏิบัติเสมอภาคกับทุกๆคน บุคคลเช่นนี้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขของมวลชีวิต ในที่สุดจะบรรลุถึงข้า

คำอธิบาย

พวกที่ไม่บูชาองค์ภควานฺ กฺฤษฺณโดยตรงแต่พยายามบรรลุถึงเป้าหมายเดียวกันด้วยวิถีทางอ้อมในที่สุดจะบรรลุถึงเป้าหมายเช่นเดียวกันคือศฺรี กฺฤษฺณ “หลังจากหลายต่อหลายชาติ มนุษย์ผู้มีปัญญาจะแสวงหาที่พึ่งในข้า รู้แจ้งว่า วาสุเทว คือทุกสิ่งทุกอย่าง” เมื่อคนนั้นมีความรู้อย่างสมบูรณ์หลังจากหลายต่อหลายชาติเขาจะศิโรราบต่อองค์ศฺรี กฺฤษฺณ หากเข้าหาองค์ภควานฺด้วยวิธีที่กล่าวไว้ในโศลกนี้เขาต้องควบคุมประสาทสัมผัส รับใช้ทุกๆคนและปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขของมวลชีวิต สรุปแล้วว่าต้องเข้าพบองค์กฺฤษฺณมิฉะนั้นจะไม่รู้แจ้งอย่างสมบูรณ์ส่วนใหญ่จะปฏิบัติบำเพ็ญเพียรกันอย่างมากก่อนที่จะศิโรราบต่อพระองค์โดยสมบูรณ์

เพื่อสำเหนียกถึงองค์อภิวิญญาณภายในปัจเจกวิญญาณเขาต้องหยุดกิจกรรมทางประสาทสัมผัส เช่น การเห็น การสดับฟัง การลิ้มรส การทำงาน ฯลฯ จากนั้นจึงมาถึงจุดที่เข้าใจว่าอภิวิญญาณทรงปรากฏอยู่ทุกหนทุกแห่ง เมื่อรู้แจ้งเช่นนี้เขาจะไม่อิจฉาชีวิตใด จะเห็นมนุษย์และสัตว์เท่าเทียมกัน เพราะเห็นแต่ดวงวิญญาณเท่านั้นเขาไม่เห็นที่สิ่งปกคลุมภายนอก สำหรับบุคคลธรรมดาทั่วไปวิธีแห่งการรู้แจ้งที่ไร้รูปลักษณ์เช่นนี้ยากลำบากมาก

โศลก 5

kleśo ’dhika-taras teṣām
avyaktāsakta-cetasām
avyaktā hi gatir duḥkhaṁ
dehavadbhir avāpyate
เกฺลโศ ’ธิก-ตรสฺ เตษามฺ
อวฺยกฺตาสกฺต-เจตสามฺ
อวฺยกฺตา หิ คติรฺ ทุห์ขํ
เทหวทฺภิรฺ อวาปฺยเต
เกฺลศห์ — ปัญหา, อธิก-ตรห์ — มาก, เตษามฺ — ของพวกเขา, อวฺยกฺต — ต่อสิ่งที่ไม่ปรากฏ, อาสกฺต — ยึดติด, เจตสามฺ — จิตใจของพวกเขา, อวฺยกฺตา — ต่อสิ่งที่ไม่ปรากฏ, หิ — แน่นอน, คติห์ — ก้าวหน้า, ทุห์ขมฺ — ด้วยปัญหา, เทห-วทฺภิห์ — โดยร่างกาย, อวาปฺยเต — บรรลุ

คำแปล

สำหรับพวกที่จิตใจยึดติดอยู่กับลักษณะที่ไร้รูปลักษณ์อันไม่ปรากฏขององค์ภควานฺ ความเจริญก้าวหน้านั้นมีปัญหามาก การทำความเจริญก้าวหน้าในนิกายนี้ยากเสมอสำหรับผู้ที่อยู่ในร่างกาย

คำอธิบาย

กลุ่มนักทิพย์นิยมผู้ปฏิบัติตามวิถีทางที่มองไม่เห็น ไม่เป็นที่ปรากฏ ลักษณะไร้รูปลักษณ์ขององค์ภควานฺ เรียกว่า ชฺญาน-โยคี และบุคคลผู้อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยสมบูรณ์ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานฺ เรียกว่า ภกฺติ-โยคี บัดนี้ข้อแตกต่างระหว่าง ชฺญาน-โยค และ ภกฺติ-โยค ได้อธิบายอย่างชัดเจน วิธีการของ ชฺญาน-โยค ถึงแม้ว่าในที่สุดจะนำมาถึงเป้าหมายเดียวกันแต่มีปัญหามาก ขณะที่วิถีทางของ ภกฺติ-โยค วิธีการรับใช้บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าโดยตรงง่ายกว่า และเป็นธรรมชาติสำหรับวิญญาณที่อยู่ในร่างกาย ปัจเจกวิญญาณอยู่ภายในร่างกายตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์จึงเป็นสิ่งยากมากที่จะให้เข้าใจเพียงแค่ทฤษฎีว่าตัวเขาไม่ใช่ร่างกาย ดังนั้น ภกฺติ-โยค ยอมรับพระปฏิมาขององค์กฺฤษฺณเป็นที่สักการบูชา เพราะมีแนวความคิดทางร่างกายบางอย่างตั้งมั่นอยู่ในจิตใจซึ่งนำมาปฏิบัติได้ แน่นอนว่าการบูชาบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าในรูปลักษณ์ของพระองค์ภายในวัดมิใช่เป็นการบูชารูปปั้น มีหลักฐานในวรรณกรรมพระเวทว่าการบูชาอาจเป็น สคุณ องค์ภควานฺผู้ครอบครองและ นิรฺคุณ องค์ภควานฺในลักษณะไม่ครอบครอง การบูชาพระปฏิมาในวัดเป็นการบูชา สคุณ เพราะว่าองค์ภควานฺมีลักษณะทางวัตถุเป็นผู้แทน แต่รูปลักษณ์ขององค์ภควานฺถึงแม้ว่ามีลักษณะทางวัตถุเป็นผู้แทน เช่น หิน ไม้ หรือภาพวาดสีน้ำมันอันที่จริงไม่ใช่วัตถุ นั่นคือธรรมชาติอันสมบูรณ์บริบูรณ์ขององค์ภควานฺ

ตัวอย่างง่ายๆให้ไว้ ที่นี้คือ เราอาจพบตู้ไปรษณีย์ริมถนน หากเราหย่อนซองจดหมายลงไปในตู้ไปรษณีย์เหล่านั้น โดยธรรมชาติแล้วจดหมายจะไปถึงจุดหมายปลายทางโดยไม่ยากลำบาก แต่หากเป็นตู้เก่าหรือตู้ไปรษณีย์ปลอมที่เราอาจพบซึ่งกรมไปรษณีย์ไม่รับรอง การส่งจดหมายนี้จะไม่ประสบผลสำเร็จ ในทำนองเดียวกันองค์ภควานฺทรงมีผู้แทนที่รับรองได้ในรูปลักษณ์พระปฏิมาเรียกว่า อรฺจา-วิคฺรห อรฺจา-วิคฺรห นี้เป็นอวตารขององค์ภควานฺพระองค์จะทรงรับการรับใช้ผ่านรูปลักษณ์นั้น องค์ภควานฺผู้ทรงเดชมีพลังทั้งหมด ฉะนั้นอวตารในรูป อรฺจา-วิคฺรห ทรงสามารถรับการรับใช้ของสาวกเพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ในชีวิตที่อยู่ในสภาวะ

ดังนั้นสำหรับสาวกจะไม่มีความยากลำบากในการเข้าถึงองค์ภควานฺโดยตรงและรวดเร็ว แต่สำหรับพวกที่ปฏิบัติตามวิธีที่ไร้รูปลักษณ์เพื่อความรู้แจ้งทิพย์วิถีทางนั้นยาก เพราะต้องทำความเข้าใจกับผู้แทนที่ไม่ปรากฏของพระองค์ผ่านทางวรรณกรรมพระเวท เช่น อุปนิษทฺ และต้องเรียนภาษา ต้องเข้าใจความรู้สึกที่มองไม่เห็น และต้องรู้แจ้งถึงวิธีกรรมทั้งหลายเหล่านี้ซึ่งไม่ใช่ของง่ายสำหรับมนุษย์ธรรมดา บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้จากการชี้นำของพระอาจารย์ทิพย์ผู้ที่เชื่อถือได้ ถวายความเคารพต่อพระปฏิมาสม่ำเสมอ สดับฟังพระบารมีขององค์ภควานฺ และรับประทานอาหารส่วนที่เหลือหลังจากถวายให้พระองค์แล้ว เพียงแต่ทำสิ่งเหล่านี้ผู้นั้นจะสามารถรู้แจ้งถึงบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าโดยง่ายดาย พวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์รับเอาวิธีปฏิบัติที่มีปัญหาด้วยความเสี่ยงที่จะไม่รู้แจ้งถึงสัจธรรมในบั้นปลายโดยไม่ต้องสงสัย แต่ผู้ที่เชื่อในรูปลักษณ์โดยปราศจากความเสี่ยง ปัญหา หรือความยากลำบากจะเข้าถึงบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าโดยตรง มีข้อความในทำนองเดียวกันนี้ปรากฏใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ ว่าหากผู้ใดในที่สุดต้องศิโรราบต่อบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า (วิธีการศิโรราบนี้เรียกว่า ภกฺติ) แต่ไปรับเอาความยากลำบากในการเข้าใจว่าอะไรคือ พฺรหฺมนฺ และอะไรไม่ใช่ พฺรหฺมนฺ และได้ใช้เวลาของตนตลอดชีวิตปฏิบัติเช่นนี้ผลที่ได้ก็มีแต่ปัญหา ฉะนั้นจึงแนะนำไว้ ที่นี้ว่าเราไม่ควรรับเอาวิถีทางเพื่อการรู้แจ้งแห่งตนที่เป็นปัญหาเพราะว่าผลขั้นสุดท้ายจะไม่แน่นอน

สิ่งมีชีวิตเป็นปัจเจกวิญญาณชั่วกัลปวสานหากปรารถนาจะกลืนเข้าไปในส่วนทิพย์ เขาอาจบรรลุถึงความรู้แจ้งแง่มุมของความเป็นอมตะและความรู้ในธรรมชาติเดิมแท้ของตน แต่ส่วนที่เป็นความปลื้มปีติสุขจะไม่สามารถรู้แจ้ง ด้วยพระกรุณาธิคุณของสาวกบางรูปทำให้นักทิพย์นิยมผู้มีความรู้สูงในวิธีของ ชฺญาน-โยค นี้อาจมาถึงจุดแห่ง ภกฺติ-โยค หรือการอุทิศตนเสียสละรับใช้ เมื่อถึงเวลานั้นการฝึกปฏิบัติตามลัทธิไร้รูปลักษณ์เป็นเวลายาวนานจะกลายมาเป็นปัญหา เพราะไม่สามารถยกเลิกความคิดนั้นได้ ดังนั้นวิญญาณผู้อยู่ในร่างจะมีความยากลำบากกับสิ่งที่ไม่ปรากฏทั้งในขณะที่ปฏิบัติและในขณะที่รู้แจ้ง ทุกดวงวิญญาณมีเสรีภาพบางส่วนและควรรู้อย่างแน่ชัดว่าความรู้แจ้งที่ไม่เป็นที่ปรากฏนี้ฝืนต่อธรรมชาติของตนเอง ซึ่งเป็นทิพย์และมีความปลื้มปีติสุขจึงไม่ควรปฏิบัติตามวิธีนี้ สำหรับทุกๆปัจเจกชีวิตวิธีแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกจะนำมาซึ่งการปฏิบัติอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่างสมบูรณ์จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด หากละเลยการอุทิศตนเสียสละรับใช้นี้จะเป็นอันตรายในการกลับไปสู่ลัทธิที่ไม่เชื่อในองค์ภควานฺ ดังนั้นวิธีที่มุ่งความตั้งใจไปยังสิ่งที่ไม่เป็นที่ปรากฏ ไม่สามารถมองเห็นได้ อยู่เหนือการเข้าถึงของประสาทสัมผัสได้แสดงไว้ในโศลกนี้ว่า ไม่ควรได้รับการส่งเสริมไม่ว่าในเวลาใดโดยเฉพาะในยุคนี้ซึ่งองค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงไม่แนะนำ

โศลก 6-7

ye tu sarvāṇi karmāṇi
mayi sannyasya mat-parāḥ
ananyenaiva yogena
māṁ dhyāyanta upāsate
เย ตุ สรฺวาณิ กรฺมาณิ
มยิ สนฺนฺยสฺย มตฺ-ปราห์
อนเนฺยไนว โยเคน
มำ ธฺยายนฺต อุปาสเต
teṣām ahaṁ samuddhartā
mṛtyu-saṁsāra-sāgarāt
bhavāmi na cirāt pārtha
mayy āveśita-cetasām
เตษามฺ อหํ สมุทฺธรฺตา
มฺฤตฺยุ-สํสาร-สาคราตฺ
ภวามิ น จิราตฺ ปารฺถ
มยฺยฺ อาเวศิต-เจตสามฺ
เย — พวกซึ่ง, ตุ — แต่, สรฺวาณิ — ทั้งหมด, กรฺมาณิ — กิจกรรม, มยิ — แด่ข้า, สนฺนฺยสฺย — ยกเลิก, มตฺ-ปราห์ — ยึดมั่นต่อข้า, อนเนฺยน — โดยไม่แบ่งแยก, เอว — แน่นอน, โยเคน — จากการปฏิบัติ ภกฺติ-โยค เช่นนี้, มามฺ — แด่ข้า, ธฺยายนฺตห์ — ทำสมาธิ, อุปาสเต — บูชา, เตษามฺ — ของพวกเขา, อหมฺ — ข้า, สมุทฺธรฺตา — ผู้ส่ง, มฺฤตฺยุ — แห่งความตาย, สํสาร — ในความเป็นอยู่ทางวัตถุ, สาคราตฺ — จากมหาสมุทร, ภวามิ — ข้ามาเป็น, — ไม่, จิราตฺ — หลังจากเวลายาวนาน, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, มยิ — แด่ข้า, อาเวศิต — ตั้งมั่น, เจตสามฺ — จิตใจของพวกเขา

คำแปล

แต่พวกที่บูชาข้า ถวายกิจกรรมทั้งหมด และเสียสละแด่ข้าโดยไม่เบี่ยงเบน ปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ และทำสมาธิอยู่ที่ข้าเสมอ ตั้งจิตมั่นอยู่ที่ข้า โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา ข้าคือผู้จัดส่งพวกเขาให้ออกจากมหาสมุทรแห่งการเกิดและการตายโดยเร่งด่วน

คำอธิบาย

ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนตรงนี้ว่า สาวกโชคดีมากที่องค์ภควานฺทรงจัดส่งให้ออกจากความเป็นอยู่ทางวัตถุโดยเร็ว ด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์เรารู้แจ้งว่าองค์ภควานฺนั้นทรงยิ่งใหญ่ และปัจเจกวิญญาณเป็นผู้น้อยด้อยกว่าพระองค์หน้าที่ของเราคือถวายการรับใช้องค์ภควานฺ หากไม่กระทำเช่นนี้เราจะต้องรับใช้มายา

ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่าองค์ภควานฺทรงชื่นชมยินดีกับการอุทิศตนเสียสละรับใช้เท่านั้น ฉะนั้นเราควรอุทิศตนเสียสละอย่างเต็มที่ ควรตั้งมั่นจิตอยู่ที่องค์กฺฤษฺณอย่างสมบูรณ์เพื่อบรรลุถึงพระองค์เราควรทำงานเพื่อองค์กฺฤษฺณเท่านั้นและไม่สำคัญว่างานนั้นเป็นงานอะไร แต่งานนั้นควรทำไปเพื่อองค์กฺฤษฺณเท่านั้น นั่นคือมาตรฐานการอุทิศตนเสียสละรับใช้ สาวกไม่ปรารถนาจะบรรลุถึงเป้าหมายอื่นใดนอกจากทำให้บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงชื่นชมยินดี ภารกิจในชีวิตของเราคือทำให้องค์กฺฤษฺณทรงพอพระทัยจนเราสามารถเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความพึงพอพระทัยของพระองค์เหมือนกับ อรฺชุน ทรงกระทำที่สมรภูมิ กุรุกฺเษตฺร วิธีการนั้นง่ายมาก เราสามารถอุทิศตนเสียสละอยู่ในอาชีพของเราและในขณะเดียวกันสวดภาวนา หเร กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ หเร หเร / หเร ราม หเร ราม ราม ราม หเร หเร การสวดภาวนาทิพย์เช่นนี้จะดึงดูดสาวกมาที่องค์ภควานฺ

ที่นี้ องค์ภควานฺทรงสัญญาว่าโดยไม่ล่าช้าพระองค์จะจัดส่งสาวกผู้ปฏิบัติโดยบริสุทธิ์เช่นนี้จากมหาสมุทรแห่งความเป็นอยู่ทางวัตถุ พวกที่เจริญในการปฏิบัติโยคะสามารถโอนย้ายดวงวิญญาณตามความปรารถนาของตนไปยังโลกใดก็ได้ที่ตนชอบด้วยวิธีโยคะ บุคคลอื่นจะฉวยโอกาสจากหลายวิธี แต่สำหรับสาวกได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนตรงนี้ว่าองค์ภควานฺเองจะทรงมารับเขา สาวกไม่จำเป็นต้องรอให้มีประสบการณ์มากเพื่อย้ายโอนตนเองไปยังท้องฟ้าทิพย์

ใน วราห ปุราณ โศลกนี้ปรากฏ

นยามิ ปรมํ สฺถานมฺ
อรฺจิรฺ-อาทิ-คตึ วินา
ครุฑ-สฺกนฺธมฺ อาโรปฺย
ยเถจฺฉมฺ อนิวาริตห์
คำอธิบายคือ สาวกไม่จำเป็นต้องฝึกปฏิบัติ อษฺฏางฺค-โยค เพื่อโอนย้ายดวงวิญญาณของตนไปยังโลกทิพย์ องค์ภควานฺเองทรงเป็นผู้รับผิดชอบ โดยกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าพระองค์เองจะกลายมาเป็นผู้จัดส่ง เด็กน้อยที่อยู่ภายใต้การดูแลของผู้ปกครองโดยสมบูรณ์ สถานภาพของเขานั้นปลอดภัย ในทำนองเดียวกันสาวกไม่จำเป็นต้องพยายามโอนย้ายตนเองด้วยการฝึกปฏิบัติโยคะเพื่อไปยังโลกอื่นๆ แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณพระองค์เสด็จมาทันที ทรงประทับอยู่บนหลังพญาครุฑ (ครุฑ) และจัดส่งสาวกจากความเป็นอยู่ทางวัตถุโดยทันที แม้ว่ามนุษย์ผู้ตกลงไปในมหาสมุทรอาจดิ้นรนด้วยความยากลำบากมากอาจเป็นผู้ชำนาญในการว่ายน้ำแต่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ถ้าหากมีใครคนหนึ่งมาช่วยรับให้ขึ้นจากน้ำเขาจะได้รับความปลอดภัยโดยง่ายดาย ในทำนองเดียวกันพระองค์ทรงรับสาวกจากความเป็นอยู่ทางวัตถุนี้ เราเพียงแต่ต้องปฏิบัติวิธีง่ายๆของกฺฤษฺณจิตสำนึกและปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้โดยสมบูรณ์ ผู้มีปัญญาควรชอบวิธีแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้มากกว่าวิถีทางอื่นทั้งหมดเสมอ ใน นารายณีย ได้ยืนยันไว้ดังนี้

ยา ไว สาธน-สมฺปตฺติห์
ปุรุษารฺถ-จตุษฺฏเย
ตยา วินา ตทฺ อาปฺโนติ
นโร นารายณาศฺรยห์
คำอธิบายของโศลกนี้คือ เราไม่ควรปฏิบัติวิธีต่างๆในกิจกรรมเพื่อหวังผลทางวัตถุ หรือพัฒนาความรู้ด้วยวิธีการคาดคะเนทางจิต ผู้ที่อุทิศตนเสียสละแด่บุคลิกภาพสูงสุดสามารถได้รับประโยชน์ทั้งหลายที่ได้รับจากวิธีโยคะอื่นๆ เช่น จากการคาดคะเน จากพิธีบูชา จากการบวงสรวง จากการให้ทาน ฯลฯ นั่นคือพรโดยเฉพาะจากการอุทิศตนเสียสละรับใช้

เพียงแต่สวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ของศฺรี กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ หเร หเร / หเร ราม หเร ราม ราม ราม หเร หเร สาวกขององค์ภควานฺสามารถบรรลุถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดโดยง่ายดายอย่างมีความสุข แต่จุดมุ่งหมายนี้วิธีการทางศาสนาอื่นไม่สามารถบรรลุถึง

ข้อสรุปของ ภควัท-คีตา กล่าวไว้ในบทที่สิบแปด ดังนี้

สรฺว-ธรฺมานฺ ปริตฺยชฺย
มามฺ เอกํ ศรณํ วฺรช
อหํ ตฺวำ สรฺว-ปาเปโภฺย
โมกฺษยิษฺยามิ มา ศุจห์
เราควรยกเลิกวิธีการอื่นๆทั้งหมดเพื่อความรู้แจ้งแห่งตน และเพียงแต่ปฏิบัติอุทิศตนเสียสละรับใช้ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเท่านั้น เช่นนี้จะทำให้เราบรรลุถึงความสมบูรณ์สูงสุดแห่งชีวิต ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงบาปกรรมของตนในชาติปางก่อนเพราะว่าองค์ภควานฺทรงดูแลเราอย่างสมบูรณ์ ฉะนั้นเราไม่ควรพยายามจัดส่งตนเองในความรู้แจ้งทิพย์โดยไร้ประโยชน์ ทุกคนควรมาพึ่งศฺรี กฺฤษฺณองค์ภควานฺผู้ทรงเดชสูงสุดนั่นคือความสมบูรณ์สูงสุดแห่งชีวิต

โศลก 8

mayy eva mana ādhatsva
mayi buddhiṁ niveśaya
nivasiṣyasi mayy eva
ata ūrdhvaṁ na saṁśayaḥ
มยฺยฺ เอว มน อาธตฺสฺว
มยิ พุทฺธึ นิเวศย
นิวสิษฺยสิ มยฺยฺ เอว
อต อูรฺธฺวํ น สํศยห์
มยิ — แด่ข้า, เอว — แน่นอน, มนห์ — จิตใจ, อาธตฺสฺว — ตั้งมั่น, มยิ — แด่ข้า, พุทฺธิมฺ — ปัญญา, นิเวศย — ใช้, นิวสิษฺยสิ — เธอจะอยู่, มยิ — ในข้า, เอว — แน่นอน, อตห์ อูรฺธฺวมฺ — หลังจากนั้น, — ไม่เคย, สํศยห์ — สงสัย

คำแปล

เพียงแต่ตั้งมั่นจิตของเธออยู่ที่ข้า บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าและใช้ปัญญาของเธอทั้งหมดในข้า เช่นนี้เธอจะอยู่ในข้าเสมอโดยไม่ต้องสงสัย

คำอธิบาย

ผู้ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อศฺรี กฺฤษฺณมีชีวิตอยู่ในความสัมพันธ์โดยตรงกับพระองค์จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าสถานภาพของเขานั้นเป็นทิพย์ตั้งแต่ตอนเริ่มต้น สาวกมิได้อยู่ในระดับวัตถุแต่อยู่ในองค์กฺฤษฺณ พระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควานฺและองค์ภควานฺไม่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อสาวกภาวนา หเร กฺฤษฺณ ทั้งองค์กฺฤษฺณและพลังเบื้องสูงของพระองค์จะลีลาศอยู่บนลิ้นของสาวก เมื่อเราถวายอาหารให้องค์กฺฤษฺณพระองค์ทรงรับอาหารนั้นไปเสวยโดยตรง จากการรับประทานอาหารส่วนที่เหลือทำให้สาวกมีกฺฤษฺณจิตสำนึก ผู้ที่ไม่ปฏิบัติการรับใช้เช่นนี้จะไม่สามารถเข้าใจว่าเป็นไปได้อย่างไร ถึงแม้ว่าวิธีนี้ได้แนะนำไว้ใน ภควัท-คีตา และในวรรณกรรมพระเวทอื่นๆ

โศลก 9

atha cittaṁ samādhātuṁ
na śaknoṣi mayi sthiram
abhyāsa-yogena tato
mām icchāptuṁ dhanañ-jaya
อถ จิตฺตํ สมาธาตุํ
น ศกฺโนษิ มยิ สฺถิรมฺ
อภฺยาส-โยเคน ตโต
มามฺ อิจฺฉาปฺตุํ ธนญฺ-ชย
อถ — ถ้าหาก,ฉะนั้น, จิตฺตมฺ — จิต, สมาธาตุมฺ — ตั้งมั่น, — ไม่, ศกฺโนษิ — เธอสามารถ, มยิ — แด่ข้า, สฺถิรมฺ — มั่นคง, อภฺยาส-โยเคน — ด้วยการปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้, ตตห์ — จากนั้น, มามฺ — ข้า, อิจฺฉา — ปรารถนา, อาปฺตุมฺ — ได้รับ, ธนมฺ-ชย — โอ้ อรฺชุน ผู้ชนะความร่ำรวย

คำแปล

อรฺชุน ที่รัก โอ้ ผู้ชนะความร่ำรวย หากไม่สามารถตั้งจิตมั่นอยู่ที่ข้าโดยไม่เบี่ยงเบน เธอก็ปฏิบัติตามหลักธรรมของ ภกฺติ - โยค เช่นนี้ เธอจะพัฒนาความปรารถนาที่จะบรรลุถึงข้า

คำอธิบาย

โศลกนี้แสดงให้เห็น ภกฺติ-โยค สองวิธี วิธีแรกสำหรับผู้ที่ได้พัฒนาความยึดมั่นด้วยความรักทิพย์ต่อองค์กฺฤษฺณบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าแล้วอย่างแท้จริง และอีกวิธีหนึ่งสำหรับผู้ที่ยังไม่พัฒนาความยึดมั่นต่อองค์ภควานฺด้วยความรักทิพย์ สำหรับกลุ่มที่สองนี้มีกฎเกณฑ์ต่างๆที่กำหนดไว้ซึ่งสามารถนำไปปฏิบัติตามได้ และในที่สุดจะพัฒนามาถึงระดับแห่งความยึดมั่นต่อองค์กฺฤษฺณ

ภกฺติ-โยค เป็นวิธีทำให้ประสาทสัมผัสต่างๆบริสุทธิ์ขึ้น ในความเป็นอยู่ปัจจุบันประสาทสัมผัสไม่บริสุทธิ์เสมอเนื่องจากมาคลุกคลีอยู่ในการสนองประสาทสัมผัส แต่จากการปฏิบัติ ภกฺติ-โยค ประสาทสัมผัสเหล่านี้ถูกทำให้บริสุทธิ์ขึ้นได้ และในระดับที่บริสุทธิ์เราจะมาสัมผัสกับองค์ภควานฺโดยตรง ในความเป็นอยู่ทางวัตถุนี้เราอาจปฏิบัติรับใช้บางสิ่งบางอย่างให้เจ้านายบางคนแต่มิได้ทำไปด้วยความรักเจ้านายจริง เราเพียงแต่รับใช้เพื่อให้ได้เงินมาเท่านั้นเจ้านายก็ไม่มีความรักเช่นเดียวกัน ได้แต่รับการรับใช้จากเราและจ่ายเงินให้ ดังนั้นจึงไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับความรักเลย แต่สำหรับชีวิตทิพย์เราต้องพัฒนามาถึงระดับแห่งความรักที่บริสุทธิ์ ระดับแห่งความรักที่บริสุทธิ์นั้นบรรลุได้ด้วยการปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ซึ่งใช้ประสาทสัมผัสที่ปัจจุบันมีอยู่ปฏิบัติการ

ปัจจุบันความรักแห่งองค์ภควานฺนี้ซ่อนเร้นอยู่ภายในหัวใจของทุกๆคน ความรักแห่งพระองค์จึงปรากฏออกมาในรูปแบบต่างๆกัน แต่ที่ปรากฏมีมลทินเนื่องจากมาสัมพันธ์กับวัตถุ ดังนั้นต้องทำให้หัวใจที่เราได้คบหาสมาคมกับวัตถุนั้นบริสุทธิ์ขึ้น จากนั้นความรักองค์กฺฤษฺณที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในตามธรรมชาติของเราจะได้รับการฟื้นฟูขึ้นมา นี่คือวิธีการทั้งหมด

ในการปฏิบัติตามหลักธรรมของ ภกฺติ-โยค ภายใต้การแนะนำของพระอาจารย์ทิพย์ผู้มีความชำนาญ เราควรปฏิบัติตามหลักธรรมบางประการ เช่น ตื่นนอนแต่เช้าตรู่ อาบน้ำ เข้าวัด ถวายบทมนต์ และสวดภาวนา หเร กฺฤษฺณ จากนั้นไปเก็บดอกไม้มาถวายให้พระปฏิมา ปรุงอาหารและถวายให้พระปฏิมา รับประทานอาหารทิพย์ (ปฺรสาทมฺ) ฯลฯ มีกฎเกณฑ์ต่างๆที่ควรปฏิบัติตาม เราควรสดับฟัง ภควัท-คีตา และ ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ จากเหล่าสาวกผู้บริสุทธิ์เสมอ การปฏิบัติเช่นนี้จะช่วยทุกคนให้เจริญขึ้นมาถึงระดับแห่งความรักองค์ภควานฺ หลังจากนั้นเราจะมั่นใจในความเจริญก้าวหน้าไปสู่อาณาจักรทิพย์แห่งองค์ภควานฺ การปฏิบัติ ภกฺติ-โยค ภายใต้กฎเกณฑ์จากการนำทางของพระอาจารย์ทิพย์นี้จะนำให้เราไปถึงระดับแห่งความรักองค์ภควานฺอย่างแน่นอน

โศลก 10

abhyāse ’py asamartho ’si
mat-karma-paramo bhava
mad-artham api karmāṇi
kurvan siddhim avāpsyasi
อภฺยาเส ’ปฺยฺ อสมรฺโถ ’สิ
มตฺ-กรฺม-ปรโม ภว
มทฺ-อรฺถมฺ อปิ กรฺมาณิ
กุรฺวนฺ สิทฺธิมฺ อวาปฺสฺยสิ
อภฺยาเส — ในการปฏิบัติ, อปิ — ถึงแม้ว่า, อสมรฺถห์ — ไม่สามารถ, อสิ — เธอเป็น, มตฺ-กรฺม — งานของข้า, ปรมห์ — อุทิศตนเสียสละแด่, ภว — มาเป็น, มตฺ-อรฺถมฺ — เพื่อประโยชน์ของข้า, อปิ — แม้, กรฺมาณิ — งาน, กุรฺวนฺ — ปฏิบัติ, สิทฺธิมฺ — สมบูรณ์, อวาปฺสฺยสิ — เธอจะบรรลุ

คำแปล

หากไม่สามารถปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของ ภกฺติ - โยค เธอก็พยายามทำงานให้แก่ข้า เพราะจากการทำงานให้ข้าเธอจะมาถึงระดับที่สมบูรณ์

คำอธิบาย

ผู้ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักธรรมของ ภกฺติ-โยค ภายใต้การแนะนำของพระอาจารย์ทิพย์ยังถูกนำพาให้มาถึงระดับสมบูรณ์นี้ได้ด้วยการทำงานให้แด่องค์ภควานฺ เราจะทำงานนี้ได้อย่างไรนั้นได้อธิบายไว้แล้วในโศลกที่ห้าสิบห้าของบทที่สิบเอ็ด เราควรมีความเห็นใจในการเผยแพร่กฺฤษฺณจิตสำนึก มีสาวกมากมายปฏิบัติตนในการเผยแพร่กฺฤษฺณจิตสำนึกซึ่งต้องการความช่วยเหลือ ดังนั้นแม้เราไม่สามารถปฏิบัติตามหลักธรรมของ ภกฺติ-โยค โดยตรงเราอาจพยายามช่วยงานนี้ได้ การริเริ่มกระทำสิ่งใดจำเป็นต้องใช้ที่ดิน เงินทุน องค์กรและแรงงาน เช่นเดียวกับธุรกิจ เราจำเป็นต้องมีสถานที่อยู่อาศัย มีเงินทุนสำหรับใช้จ่าย มีแรงงานและมีองค์กรเพื่อขยาย สิ่งต่างๆเหล่านี้มีความจำเป็นในการรับใช้องค์กฺฤษฺณ ข้อแตกต่างก็คือในลัทธิวัตถุนิยมงานทำไปเพื่อสนองประสาทสัมผัส อย่างไรก็ดีงานที่คล้ายกันนี้สามารถกระทำได้เพื่อความพึงพอพระทัยขององค์กฺฤษฺณ และนั่นคือกิจกรรมทิพย์ หากมีเงินเพียงพอเราสามารถช่วยก่อสร้างสำนักงาน หรือสร้างวัดเพื่อเผยแพร่กฺฤษฺณจิตสำนึก หรืออาจช่วยในการพิมพ์หนังสือ ยังมีกิจกรรมอื่นๆอีกมากมายที่น่าสนใจหากเราไม่สามารถสละผลของกิจกรรมเราก็สามารถสละบางส่วนเพื่อเผยแพร่กฺฤษฺณจิตสำนึก การอาสาสมัครรับใช้เพื่อกฺฤษฺณจิตสำนึกนี้จะช่วยให้เราเจริญขึ้นไปถึงระดับแห่งความรักองค์ภควานฺที่สูงกว่าซึ่งจะทำให้เราสมบูรณ์

โศลก 11

athaitad apy aśakto ’si
kartuṁ mad-yogam āśritaḥ
sarva-karma-phala-tyāgaṁ
tataḥ kuru yatātmavān
อไถตทฺ อปฺยฺ อศกฺโต ’สิ
กรฺตุํ มทฺ-โยคมฺ อาศฺริตห์
สรฺว-กรฺม-ผล-ตฺยาคํ
ตตห์ กุรุ ยตาตฺมวานฺ
อถ — ถึงแม้ว่า, เอตตฺ — นี้, อปิ — เช่นกัน, อศกฺตห์ — ไม่สามารถ, อสิ — เธอเป็น, กรฺตุมฺ — ปฏิบัติ, มตฺ — แด่ข้า, โยคมฺ — ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้, อาศฺริตห์ — เป็นที่พึ่ง, สรฺว-กรฺม — กิจกรรมทั้งหลาย, ผล — ของผล, ตฺยาคมฺ — เสียสละ, ตตห์ — จากนั้น, กุรุ — ทำ, ยต-อาตฺม-วานฺ — ตั้งมั่นในตนเอง

คำแปล

อย่างไรก็ดี หากไม่สามารถทำงานในจิตสำนึกแห่งข้านี้ได้ ก็พยายามเสียสละผลงานของเธอทั้งหมด และพยายามตั้งมั่นอยู่ในตนเอง

คำอธิบาย

อาจเป็นไปได้ที่เราไม่สามารถแม้แต่จะเห็นอกเห็นใจกับกิจกรรมต่างๆในกฺฤษฺณจิตสำนึก อันเนื่องมาจากข้อพิจารณาทางสังคม ทางครอบครัว หรือทางศาสนา หรือเนื่องมาจากอุปสรรคอื่นๆ หากเรายึดมั่นกับกิจกรรมในกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยตรงอาจมีการคัดค้านจากสมาชิกในครอบครัวหรือมีความยุ่งยากอื่นๆมากมาย สำหรับผู้ที่มีปัญหาเช่นนี้ได้แนะนำไว้ว่าเขาควรสละผลแห่งกิจกรรมที่สะสมมาเพื่อทำคุณประโยชน์บางประการ ขั้นตอนเหล่านี้ได้อธิบายไว้ในกฎเกณฑ์พระเวทซึ่งอธิบายไว้มากมายเกี่ยวกับการเสียสละและพิธีกรรมพิเศษเพื่อผลบุญ (ปุณฺย) หรืองานพิเศษซึ่งผลกรรมในอดีตของเขาอาจใช้ได้เพื่ออาจค่อยๆพัฒนามาถึงระดับแห่งความรู้ ยังพบอีกว่าเมื่อไม่สนใจแม้ในกิจกรรมของกฺฤษฺณจิตสำนึกการให้ทานกับโรงพยาบาลหรือสถาบันเพื่อสังคมบางแห่งจะทำให้เขาสละผลงานที่ได้มาด้วยความเหนื่อยยากซึ่งแนะนำไว้ ที่นี้ เพราะเมื่อฝึกปฏิบัติการเสียสละผลจากกิจกรรมของตนเองจิตใจจะค่อยๆบริสุทธิ์ขึ้นอย่างแน่นอน ในระดับจิตที่บริสุทธิ์นั้นเขาจะสามารถเข้าใจกฺฤษฺณจิตสำนึก แน่นอนว่ากฺฤษฺณจิตสำนึกไม่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ใดๆทั้งสิ้น เพราะว่าในตัวของกฺฤษฺณจิตสำนึกเองสามารถทำให้จิตบริสุทธิ์ แต่หากมีอุปสรรคในการรับเอากฺฤษฺณจิตสำนึกมาปฏิบัติเขาอาจพยายามเสียสละผลของงาน ในกรณีนี้การรับใช้สังคม รับใช้ชุมชน รับใช้ประเทศชาติ การเสียสละเพื่อประเทศของตนเองอาจยอมรับได้เพื่อวันหนึ่งอาจมาถึงระดับแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้แด่องค์ภควานฺด้วยใจบริสุทธิ์ ใน ภควัท-คีตา (18.46) เราพบข้อความว่า ยตห์ ปฺรวฺฤตฺติรฺ ภูตานามฺ หากตัดสินใจเสียสละเพื่อแหล่งกำเนิดสูงสุด ถึงแม้ไม่รู้ว่าแหล่งกำเนิดสูงสุดคือองค์กฺฤษฺณเขาจะค่อยๆเข้าใจว่าองค์กฺฤษฺณคือแหล่งกำเนิดสูงสุดด้วยวิธีการเสียสละ

โศลก 12

śreyo hi jñānam abhyāsāj
jñānād dhyānaṁ viśiṣyate
dhyānāt karma-phala-tyāgas
tyāgāc chāntir anantaram
เศฺรโย หิ ชฺญานมฺ อภฺยาสาชฺ
ชฺญานาทฺ ธฺยานํ วิศิษฺยเต
ธฺยานาตฺ กรฺม-ผล-ตฺยาคสฺ
ตฺยาคาจฺ ฉานฺติรฺ อนนฺตรมฺ
เศฺรยห์ — ดีกว่า, หิ — แน่นอน, ชฺญานมฺ — ความรู้, อภฺยาสาตฺ — กว่าการปฏิบัติ, ชฺญานาตฺ — กว่าความรู้, ธฺยานมฺ — การทำสมาธิ, วิศิษฺยเต — พิจารณาว่าดีกว่า, ธฺยานาตฺ — กว่าการทำสมาธิ, กรฺม-ผล-ตฺยาคห์ — สละผลของงาน, ตฺยาคาตฺ — จากการเสียสละนี้, ศานฺติห์ — ความสงบ, อนนฺตรมฺ — หลังจากนั้น

คำแปล

หากไม่สามารถปฏิบัติเช่นนี้ เธอก็ไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาความรู้ อย่างไรก็ดีที่ดีกว่าความรู้คือ การทำสมาธิ และดีกว่าการทำสมาธิคือ การสละผลของงาน จากการเสียสละเช่นนี้เธอสามารถได้รับความสงบแห่งจิตใจ

คำอธิบาย

ดังที่ได้กล่าวไว้ในโศลกก่อนหน้านี้มีการอุทิศตนเสียสละรับใช้สองวิธีคือ วิธีปฏิบัติตามหลักธรรม และวิธีการยึดมั่นในความรักต่อองค์ภควานฺโดยสมบูรณ์ สำหรับพวกที่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักธรรมในกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยแท้จริง การไปพัฒนาความรู้จะดีกว่าเพราะว่าจากความรู้จะสามารถเข้าใจสถานภาพอันแท้จริงแล้วจะค่อยๆพัฒนาถึงจุดแห่งการทำสมาธิ และจากการทำสมาธิจะสามารถเข้าใจองค์ภควานฺโดยวิธีการที่ค่อยเป็นค่อยไป มีวิธีการอื่นๆที่ทำให้เข้าใจว่าตนเองคือองค์ภควานฺ วิธีทำสมาธิเช่นนี้เป็นทางเลือกก็ต่อเมื่อไม่สามารถปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ หากไม่สามารถทำสมาธิเช่นนี้ก็มีหน้าที่ที่กำหนดไว้ดังที่ได้กำหนดไว้ในวรรณกรรมพระเวท สำหรับ พฺราหฺมณ, กฺษตฺริย, ไวศฺย และ ศูทฺร ซึ่งจะพบในบทสุดท้ายของ ภควัท-คีตา แต่ในทุกๆกรณีเราควรสละผลงานของเรา เช่นนี้หมายความว่าใช้ผลกรรมหรือผลจากการกระทำของเราเพื่อสิ่งที่ดี

โดยสรุปก็คือในการบรรลุถึงองค์ภควานฺซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดมีสองวิธี วิธีหนึ่งค่อยๆพัฒนา และอีกวิธีหนึ่งโดยตรง การอุทิศตนเสียสละรับใช้ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นวิธีโดยตรง และวิธีอื่นๆเกี่ยวกับการเสียสละผลแห่งกิจกรรมของตนจะสามารถมาถึงระดับแห่งความรู้ จากนั้นก็มาถึงระดับแห่งการทำสมาธิ จากนั้นมาถึงระดับแห่งการเข้าใจองค์อภิวิญญาณ และจากนั้นก็มาถึงระดับแห่งองค์ภควานฺ เราอาจปฏิบัติตามวิธีทีละขั้นตอนหรือปฏิบัติตามวิธีโดยตรง วิธีโดยตรงไม่ใช่ว่าทุกคนจะทำได้ฉะนั้นวิธีทางอ้อมก็ดีเช่นกัน อย่างไรก็ดีต้องเข้าใจว่าวิธีทางอ้อมไม่ได้แนะนำไว้สำหรับ อรฺชุน เพราะทรงอยู่ในระดับแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยความรักต่อองค์กฺฤษฺณเรียบร้อยแล้ว วิธีทางอ้อมจึงมีไว้สำหรับบุคคลอื่นๆที่ไม่ได้อยู่ในระดับนี้ สำหรับพวกนี้ควรปฏิบัติตามวิธีที่ค่อยเป็นค่อยไปในการเสียสละ ความรู้ การทำสมาธิและการรู้แจ้งถึงองค์อภิวิญญาณและ พฺรหฺมนฺ แต่สำหรับ ภควัท-คีตา ได้เน้นวิธีโดยตรงทุกๆคนได้รับคำแนะนำให้รับเอาวิธีโดยตรงมาปฏิบัติและศิโรราบต่อองค์ภควานฺ ศฺรี กฺฤษฺณ

โศลก 13-14

adveṣṭā sarva-bhūtānāṁ
maitraḥ karuṇa eva ca
nirmamo nirahaṅkāraḥ
sama-duḥkha-sukhaḥ kṣamī
อเทฺวษฺฏา สรฺว-ภูตานำ
ไมตฺรห์ กรุณ เอว จ
นิรฺมโม นิรหงฺการห์
สม-ทุห์ข-สุขห์ กฺษมี
santuṣṭaḥ satataṁ yogī
yatātmā dṛḍha-niścayaḥ
mayy arpita-mano-buddhir
yo mad-bhaktaḥ sa me priyaḥ
สนฺตุษฺฏห์ สตตํ โยคี
ยตาตฺมา ทฺฤฒ-นิศฺจยห์
มยฺยฺ อรฺปิต-มโน-พุทฺธิรฺ
โย มทฺ-ภกฺตห์ ส เม ปฺริยห์
อเทฺวษฺฏา — ไม่อิจฉาริษยา, สรฺว-ภูตานามฺ — ต่อมวลชีวิต, ไมตฺรห์ — เป็นมิตร, กรุณห์ — กรุณา, เอว — แน่นอน, — เช่นกัน, นิรฺมมห์ — ไม่สำคัญตัวว่าเป็นเจ้าของ, นิรหงฺการห์ — ปราศจากอหังการ, สม — เสมอภาค, ทุห์ข — ในความทุกข์, สุขห์ — และความสุข, กฺษมี — ให้อภัย, สนฺตุษฺฏห์ — พึงพอใจ, สตตมฺ — เสมอ, โยคี — ผู้ปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละ, ยต-อาตฺมา — ควบคุมตนเอง, ทฺฤฒ-นิศฺจยห์ — ด้วยความมุ่งมั่น, มยิ — แด่ข้า, อรฺปิต — ปฏิบัติ, มนห์ — จิตใจ, พุทฺธิห์ — และปัญญา, ยห์ — ผู้ซึ่ง, มตฺ-ภกฺตห์ — สาวกของข้า, สห์ — เขา, เม — แก่ข้า, ปฺริยห์ — ที่รัก

คำแปล

ผู้ที่ไม่อิจฉาริษยาแต่เป็นเพื่อนผู้มีความกรุณาต่อมวลชีวิต ผู้ไม่คิดว่าตนเองเป็นเจ้าของ และเป็นอิสระจากอหังการ ผู้ที่มีความเสมอภาคทั้งในความสุขและความทุกข์ ผู้ที่มีความอดทน พึงพอใจเสมอ ควบคุมตนเองได้ และปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยความมุ่งมั่น จิตใจและปัญญาตั้งมั่นอยู่ที่ข้า สาวกเช่นนี้เป็นที่รักยิ่งของข้า

คำอธิบาย

เรามาถึงจุดแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์อีกครั้งหนึ่ง องค์ภควานฺทรงอธิบายคุณลักษณะทิพย์ของสาวกผู้บริสุทธิ์ด้วยสองโศลกนี้ สาวกผู้บริสุทธิ์ไม่เคยกังวลใจไม่ว่าในสถานการณ์ใดๆหรือว่าจะอิจฉาริษยาผู้ใด สาวกไม่เป็นศัตรูต่อศัตรูโดยคิดว่า “คนนี้ทำตัวเป็นศัตรูข้าก็เนื่องมาจากกรรมเก่าของข้าเอง ฉะนั้นจึงยอมรับทุกข์ดีกว่าที่จะต่อต้าน” ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (10.14.8) ได้กล่าวไว้ว่า ตตฺ เต ’นุกมฺปำ สุ-สมีกฺษมาโณ ภุญฺชาน เอวาตฺม-กฺฤตํ วิปากมฺ เมื่อใดที่สาวกมีความทุกข์หรือตกอยู่ในความยากลำบากจะคิดว่าเป็นพระเมตตาธิคุณขององค์ภควานฺที่มีต่อท่านโดยคิดว่า “ขอบคุณต่อกรรมเก่าของข้า ข้าควรได้รับทุกข์มากกว่าที่ได้รับในปัจจุบันนี้ นี่เป็นเพราะพระเมตตาขององค์ภควานฺจึงไม่ได้รับการลงโทษทั้งหมดที่ควรจะได้รับ ด้วยพระเมตตาธิคุณขององค์กฺฤษฺณข้าจึงได้รับโทษเพียงเล็กน้อยเท่านั้น” ดังนั้นจึงมีความสุขุม สงบ และอดทนเสมอ แม้จะอยู่ในสภาวะแห่งความทุกข์มากมายสาวกจะมีความกรุณาต่อทุกๆคนเสมอ แม้แต่ศัตรู นิรฺมม หมายถึงสาวกไม่ให้ความสำคัญกับความเจ็บปวดและปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับร่างกายมากนัก เพราะทราบดีว่าตัวท่านไม่ใช่ร่างกายวัตถุจึงไม่สำคัญตนเองว่าเป็นร่างกาย ดังนั้นจึงเป็นอิสระจากแนวคิดแห่งอหังการและเป็นกลางต่อความสุขและความทุกข์ มีความอดทน และพึงพอใจกับทุกสิ่งทุกอย่างที่มาสัมผัส ด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์ภควานฺท่านไม่พยายามมากจนเกินไปเพื่อให้ได้รับบางสิ่งบางอย่างที่ยากลำบากมาก ดังนั้นจึงมีความร่าเริงเสมอ ท่านเป็นโยคีที่สมบูรณ์เพราะยึดมั่นในคำสั่งสอนที่ได้รับจากพระอาจารย์ทิพย์ และเนื่องจากสามารถควบคุมประสาทสัมผัสได้จึงมีความมั่นใจไม่เอนเอียงไปกับการถกเถียงที่ผิด เพราะว่าไม่มีผู้ใดสามารถนำพาให้ออกไปจากการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่ท่านมีความมั่นใจอย่างแน่วแน่ ท่านมีจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นองค์ภควานฺนิรันดรจึงไม่มีผู้ใดสามารถรบกวนจิตใจได้ คุณลักษณะทั้งหลายเหล่านี้ทำให้มีจิตใจและปัญญาตั้งมั่นอยู่ที่พระองค์โดยสมบูรณ์ มาตรฐานแห่งการอุทิศตนเสียสละเช่นนี้หาได้ยากมากโดยไม่ต้องสงสัย แต่สาวกสถิตในระดับนี้ด้วยการปฏิบัติตามหลักธรรมแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ยิ่งไปกว่านั้นองค์ภควานฺตรัสว่าสาวกเช่นนี้เป็นที่รักยิ่งของพระองค์เพราะศฺรี กฺฤษฺณทรงชื่นชมยินดีเสมอกับกิจกรรมทั้งหมดของสาวกในกฺฤษฺณจิตสำนึกที่สมบูรณ์

โศลก 15

yasmān nodvijate loko
lokān nodvijate ca yaḥ
harṣāmarṣa-bhayodvegair
mukto yaḥ sa ca me priyaḥ
ยสฺมานฺ โนทฺวิชเต โลโก
โลกานฺ โนทฺวิชเต จ ยห์
หรฺษามรฺษ-ภโยเทฺวไครฺ
มุกฺโต ยห์ ส จ เม ปฺริยห์
ยสฺมาตฺ — จากผู้ซึ่ง, — ไม่เคย, อุทฺวิชเต — ร้อนใจ, โลกห์ — ผู้คน, โลกาตฺ — จากผู้คน, — ไม่เคย, อุทฺวิชเต — กระวนกระวายใจ, — เช่นกัน, ยห์ — ผู้ใดซึ่ง, หรฺษ — จากความสุข, อมรฺษ — ความทุกข์, ภย — ความกลัว, อุเทฺวไคห์ — และความวิตกกังวล, มุกฺตห์ — เป็นอิสระ, ยห์ — ผู้ซึ่ง, สห์ — ผู้ใด, — เช่นกัน, เม — แด่ข้า, ปฺริยห์ — เป็นที่รักยิ่ง

คำแปล

ผู้ที่ไม่มีผู้ใดสามารถทำให้เขาตกอยู่ในความลำบาก และไม่มีผู้ใดสามารถรบกวนจิตใจเขาได้ ผู้ที่มีความเป็นกลางทั้งในความสุขและความทุกข์ ทั้งความกลัวและความวิตกกังวล เป็นที่รักยิ่งของข้า

คำอธิบาย

คุณลักษณะบางประการของสาวกได้อธิบายต่อไปอีกคือ ไม่มีผู้ใดสามารถทำให้ท่านตกอยู่ในความยากลำบาก วิตกกังวล กลัว หรือไม่พึงพอใจ เนื่องจากสาวกมีความกรุณาต่อทุกคนจึงไม่ทำสิ่งใดที่จะทำให้ผู้อื่นมีความวิตกกังวล ในขณะเดียวกันหากผู้อื่นพยายามทำให้สาวกวิตกกังวล ท่านจะไม่เร่าร้อนใจด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์ภควานฺทำให้ท่านปฏิบัติจนไม่ได้รับความวุ่นวายใจจากสิ่งรบกวนภายนอก อันที่จริงเนื่องจากสาวกเพลินอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเสมอและปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ สถานการณ์ทางวัตถุเช่นนี้ไม่ทำให้ท่านหวั่นไหว โดยทั่วไปนักวัตถุนิยมจะมีความสุขมากเมื่อได้รับบางสิ่งบางอย่างที่มาสนองประสาทสัมผัส สนองร่างกาย และเมื่อเห็นว่าคนอื่นได้รับบางสิ่งบางอย่างเพื่อสนองประสาทสัมผัสแต่ตนเองไม่ได้รับจะเสียใจและอิจฉาริษยา เมื่อคาดว่าศัตรูจะมาแก้แค้นก็จะอยู่ในความกลัว และเมื่อไม่สามารถทำบางอย่างให้ประสบผลสำเร็จก็จะเศร้าสลด สาวกผู้เป็นทิพย์อยู่เหนือสิ่งรบกวนทั้งหลายเหล่านี้เสมอเป็นที่รักยิ่งขององค์กฺฤษฺณ

โศลก 16

anapekṣaḥ śucir dakṣa
udāsīno gata-vyathaḥ
sarvārambha-parityāgī
yo mad-bhaktaḥ sa me priyaḥ
อนเปกฺษห์ ศุจิรฺ ทกฺษ
อุทาสีโน คต-วฺยถห์
สรฺวารมฺภ-ปริตฺยาคี
โย มทฺ-ภกฺตห์ ส เม ปฺริยห์
อนเปกฺษห์ — เป็นกลาง, ศุจิห์ — บริสุทธิ์, ทกฺษห์ — ชำนาญ, อุทาสีนห์ — ไม่วิตกกังวล, คต-วฺยถห์ — ปราศจากความทุกข์ทั้งปวง, สรฺว-อารมฺภ — ความพยายามทั้งหมด, ปริตฺยาคี — ผู้เสียสละ, ยห์ — ผู้ใดซึ่ง, มตฺ-ภกฺตห์ — สาวกของข้า, สห์ — เขา, เม — แด่ข้า, ปฺริยห์ — ที่รักยิ่ง

คำแปล

สาวกของข้าผู้ไม่ขึ้นอยู่กับแนวคิดแห่งกิจกรรมทั่วไป มีความบริสุทธิ์ มีความชำนาญ ไม่วิตกกังวล ปราศจากความเจ็บปวดทั้งปวง และไม่ดิ้นรนเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง เป็นที่รักยิ่งของข้า

คำอธิบาย

สาวกอาจจะได้รับเงินแต่ก็ไม่ควรดิ้นรนมากเพื่อได้มันมา หากด้วยพระกรุณาขององค์ภควานฺเงินทองไหลมาตามครรลองก็ไม่รู้สึกหวั่นไหว สาวกมักจะอาบน้ำอย่างน้อยวันละสองครั้งและตื่นนอนแต่เช้าตรู่เพื่ออุทิศตนเสียสละรับใช้ ฉะนั้นจึงมีความสะอาดทั้งภายในและภายนอกโดยปริยาย สาวกมีความชำนาญเสมอเพราะทราบถึงสาระสำคัญของกิจกรรมแห่งชีวิตทั้งหมดเป็นอย่างดี และมั่นใจในพระคัมภีร์ที่เชื่อถือได้ สาวกไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดดังนั้นจึงไม่กังวลและไม่เคยได้รับความเจ็บปวดเนื่องจากท่านเป็นอิสระจากชื่อระบุทั้งปวง ทราบดีว่าร่างกายเป็นชื่อระบุดังนั้นหากมีความเจ็บปวดทางร่างกาย ตัวท่านเป็นอิสระ สาวกผู้บริสุทธิ์จะไม่พยายามทำสิ่งใดๆที่ละเมิดหลักธรรมแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ตัวอย่างเช่น การก่อสร้างอาคารใหญ่ๆจำเป็นต้องใช้พลังงานมาก สาวกจะไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับธุรกิจเช่นนี้หากไม่เป็นประโยชน์ที่จะเจริญก้าวหน้าในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ งานสร้างวัดให้องค์ภควานฺอาจมีความยุ่งยากนานัปการสาวกก็ยินดีและเต็มใจที่ทำ แต่จะไม่ไปสร้างบ้านใหญ่โตเพื่อตนเอง

โศลก 17

yo na hṛṣyati na dveṣṭi
na śocati na kāṅkṣati
śubhāśubha-parityāgī
bhaktimān yaḥ sa me priyaḥ
โย น หฺฤษฺยติ น เทฺวษฺฏิ
น โศจติ น กางฺกฺษติ
ศุภาศุภ-ปริตฺยาคี
ภกฺติมานฺ ยห์ ส เม ปฺริยห์
ยห์ — ผู้ซึ่ง, — ไม่เคย, หฺฤษฺยติ — ได้รับความสุข, — ไม่เคย, เทฺวษฺฏิ — ความทุกข์, — ไม่เคย, โศจติ — เสียใจ, — ไม่เคย, กางฺกฺษติ — ปรารถนา, ศุภ — ของความเป็นมงคล, อศุภ — และความอัปมงคล, ปริตฺยาคี — ผู้เสียสละ, ภกฺติ-มานฺ — สาวก, ยห์ — ผู้ซึ่ง, สห์ — ท่านเป็น, เม — แด่ข้า, ปฺริยห์ — ที่รัก

คำแปล

ผู้ที่ไม่ดีใจหรือทุกข์ใจ ผู้ที่ไม่เสียใจหรือปรารถนา และผู้ที่สละทั้งสิ่งที่เป็นมงคลหรือไม่เป็นมงคล สาวกเช่นนี้เป็นที่รักยิ่งของข้า

คำอธิบาย

สาวกผู้บริสุทธิ์ไม่เป็นสุขหรือเป็นทุกข์กับการได้มาหรือสูญเสียไปกับวัตถุ ท่านไม่วิตกกังวลกับการที่จะได้บุตรหรือสานุศิษย์ ท่านไม่กลุ้มใจเมื่อไม่ได้รับสิ่งเหล่านี้ หากสูญเสียบางสิ่งบางอย่างที่ท่านรักมากก็ไม่เสียใจ ในทำนองเดียวกันหากท่านไม่ได้รับสิ่งที่ปรารถนาก็ไม่กลุ้มใจ ท่านเป็นทิพย์อยู่เหนือสิ่งที่ต้องเผชิญหน้าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่เป็นมงคลหรือกิจกรรมบาปที่ไม่เป็นมงคล ท่านเตรียมพร้อมที่จะยอมรับความเสี่ยงทั้งหลายเพื่อความพึงพอพระทัยขององค์ภควานฺ ไม่มีสิ่งใดเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติอุทิศตนเสียสละรับใช้ของท่าน สาวกเช่นนี้เป็นที่รักยิ่งขององค์กฺฤษฺณ

โศลก 18-19

samaḥ śatrau ca mitre ca
tathā mānāpamānayoḥ
śītoṣṇa-sukha-duḥkheṣu
samaḥ saṅga-vivarjitaḥ
สมห์ ศเตฺรา จ มิเตฺร จ
ตถา มานาปมานโยห์
ศีโตษฺณ-สุข-ทุห์เขษุ
สมห์ สงฺค-วิวรฺชิตห์
tulya-nindā-stutir maunī
santuṣṭo yena kenacit
aniketaḥ sthira-matir
bhaktimān me priyo naraḥ
ตุลฺย-นินฺทา-สฺตุติรฺ เมานี
สนฺตุษฺโฏ เยน เกนจิตฺ
อนิเกตห์ สฺถิร-มติรฺ
ภกฺติมานฺ เม ปฺริโย นรห์
สมห์ — เสมอภาค, ศเตฺรา — ต่อศัตรู, — เช่นกัน, มิเตฺร — ต่อมิตร, — เช่นกัน, ตถา — ดังนั้น, มาน — ในการได้รับเกียรติ, อปมานโยห์ — และการเสียเกียรติ, ศีต — ในความเย็น, อุษฺณ — ความร้อน, สุข — ความสุข, ทุห์เขษุ — และความทุกข์, สมห์ — เป็นกลาง, สงฺค-วิวรฺชิตห์ — ปราศจากการคบหาสมาคมทั้งปวง, ตุลฺย — เสมอภาค, นินฺทา — ในการสบประมาท, สฺตุติห์ — และชื่อเสียง, เมานี — นิ่งเงียบ, สนฺตุษฺฏห์ — พึงพอใจ, เยน เกนจิตฺ — กับทุกสิ่งทุกอย่าง, อนิเกตห์ — ไม่มีบ้านพัก, สฺถิร — ตั้งมั่น, มติห์ — มั่นใจ, ภกฺติ-มานฺ — ปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละ, เม — แด่ข้า, ปฺริยห์ — ที่รัก, นรห์ — บุคคล

คำแปล

ผู้ที่เสมอภาคทั้งกับเพื่อนและศัตรู ผู้ที่เป็นกลางเมื่อได้รับเกียรติและเสียเกียรติ ทั้งในความร้อนและความเย็น ความสุขและความทุกข์ ได้รับชื่อเสียงและหมิ่นประมาท ผู้ที่มีอิสระจากการคบหาสมาคมที่เป็นมลทิน นิ่งสงบเสมอ และพึงพอใจต่อทุกสิ่ง ผู้ที่ไม่ห่วงใยกับที่พักอาศัย ตั้งมั่นอยู่ในความรู้ และเป็นผู้ที่ปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ บุคคลเช่นนี้เป็นที่รักยิ่งของข้า

คำอธิบาย

สาวกเป็นอิสระจากการคบเพื่อนไม่ดีทั้งหลาย บางครั้งท่านได้รับการสรรเสริญและบางครั้งถูกดูหมิ่น นั่นคือธรรมชาติของสังคมมนุษย์ แต่สาวกเป็นทิพย์เหนือเกียรติยศชื่อเสียงและการดูหมิ่นเหยียดหยาม รวมทั้งความทุกข์และความสุขที่เสแสร้งเหล่านี้ ท่านมีความอดทนสูง ไม่พูดสิ่งใดนอกจากเรื่องราวที่เกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณดังนั้นจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความสงบนิ่ง สงบนิ่งไม่ได้หมายความว่าไม่พูดเลยแต่สงบนิ่งหมายความว่าไม่ควรพูดสิ่งที่ไร้สาระ ควรพูดเฉพาะเนื้อหาสาระสำคัญเท่านั้น และการพูดเนื้อหาสาระสำคัญที่สุดของสาวกคือ พูดเพื่อประโยชน์ขององค์ภควานฺ สาวกมีความสุขในทุกสถานการณ์ บางครั้งเขาอาจได้รับอาหารที่น่ารับประทานมากมาย บางครั้งก็อาจไม่ได้รับแต่ก็พึงพอใจ และไม่เป็นห่วงกับสิ่งเอื้ออำนวยที่อยู่อาศัย บางครั้งท่านอาจนอนใต้ต้นไม้ และบางครั้งท่านอาจนอนในอาคารที่หรูหรา ทั้งสองสิ่งนี้ไม่ทำให้หลงใหล ท่านมีความมั่นคงเพราะว่าแน่วแน่ในความมุ่งมั่นและความรู้ เราอาจพบว่าได้กล่าวถึงคุณลักษณะของสาวกหลายครั้งแต่เพื่อเน้นความจริงที่ว่าสาวกต้องมีคุณลักษณะทั้งหลายเหล่านี้ หากปราศจากซึ่งคุณลักษณะที่ดีเหล่านี้เราก็จะไม่สามารถเป็นสาวกผู้บริสุทธิ์ได้ หราวฺ อภกฺตสฺย กุโต มหทฺ-คุณาห์ ผู้ไม่ใช่สาวกจะไม่มีคุณสมบัติที่ดี ผู้ปรารถนาให้คนจำได้ว่าเป็นสาวกควรพัฒนาคุณสมบัติที่ดี แน่นอนว่าเราไม่ต้องพยายามเป็นพิเศษเพื่อให้มีคุณสมบัติเหล่านี้ หากเราปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกและอุทิศตนเสียสละรับใช้คุณสมบัติที่ดีเหล่านี้ก็จะพัฒนาขึ้นมาโดยปริยาย

โศลก 20

ye tu dharmāmṛtam idaṁ
yathoktaṁ paryupāsate
śraddadhānā mat-paramā
bhaktās te ’tīva me priyāḥ
เย ตุ ธรฺมามฺฤตมฺ อิทํ
ยโถกฺตํ ปรฺยุปาสเต
ศฺรทฺทธานา มตฺ-ปรมา
ภกฺตาสฺ เต ’ตีว เม ปฺริยาห์
เย — ผู้ซึ่ง, ตุ — แต่, ธรฺม — ของศาสนา, อมฺฤตมฺ — น้ำทิพย์, อิทมฺ — นี้, ยถา — ประหนึ่ง, อุกฺตมฺ — กล่าว, ปรฺยุปาสเต — ปฏิบัติโดยสมบูรณ์, ศฺรทฺทธานาห์ — ด้วยศรัทธา, มตฺ-ปรมาห์ — ยอมรับองค์ภควานว่าเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง, ภกฺตาห์ — เหล่าสาวก, เต — พวกเขา, อตีว — มากๆ, เม — แด่ข้า, ปฺริยาห์ — ที่รัก

คำแปล

พวกที่ปฏิบัติตามวิธีที่ไม่มีวันสูญสลายแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้นี้ ปฏิบัติด้วยความศรัทธาอย่างสมบูรณ์ มีข้าเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุด เป็นที่รักยิ่งของข้า

คำอธิบาย

ในบทนี้จากโศลกสองถึงโศลกสุดท้ายเริ่มจาก มยฺยฺ อาเวศฺย มโน เย มามฺ (“ตั้งจิตมั่นอยู่ที่ข้า”) มาถึง เย ตุ ธรฺมามฺฤตมฺ อิทมฺ (“ศาสนาแห่งการปฏิบัตินิรันดรนี้”) องค์ภควานฺทรงอธิบายกรรมวิธีแห่งการรับใช้ทิพย์เพื่อบรรลุถึงพระองค์กรรมวิธีเหล่านี้เป็นที่รักยิ่งของพระองค์และพระองค์ทรงยอมรับบุคคลผู้ปฏิบัติตามกรรมวิธีเหล่านี้ คำถามคือใครดีกว่ากัน ผู้ปฏิบัติในวิธีของ พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ หรือผู้ปฏิบัติในการรับใช้ส่วนพระองค์ต่อองค์ภควานฺ คำถามนี้ อรฺชุน ทรงได้ยกขึ้นมาและองค์ภควานฺทรงตอบอย่างชัดเจนโดยไม่มีข้อสงสัยเลยว่า การอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อบุคลิกภาพแห่งพระเจ้าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในบรรดาวิธีแห่งความรู้แจ้งทิพย์ทั้งหลายทั้งปวง อีกนัยหนึ่งบทนี้อธิบายว่าจากการคบหากัลยาณมิตรเราจะพัฒนาความยึดมั่นในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยความบริสุทธิ์ และต่อมายอมรับพระอาจารย์ทิพย์ผู้ที่เชื่อถือได้ จากนั้นเริ่มสดับฟังและสวดภาวนาและถือปฏิบัติตามหลักธรรมแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยความศรัทธา ยึดมั่นและอุทิศตนเสียสละ ดังนั้นจึงมาปฏิบัติการรับใช้ทิพย์ต่อองค์ภควานฺ วิธีนี้ได้แนะนำไว้ในบทนี้อย่างไม่มีข้อสงสัยเลยว่าการอุทิศตนเสียสละรับใช้เป็นวิธีเดียวที่สมบูรณ์ที่สุด เพื่อความรู้แจ้งแห่งตน เพื่อบรรลุถึงองค์ภควานฺ ได้อธิบายไว้ในบทนี้ว่าแนวคิดที่ไร้รูปลักษณ์แห่งสัจธรรมสูงสุดจะนำมาถึงเพียงแค่จุดที่เราศิโรราบเพื่อความรู้แจ้งแห่งตน อีกนัยหนึ่งตราบใดที่ยังไม่มีโอกาสมาพบกับสาวกผู้บริสุทธิ์แนวคิดที่ไร้รูปลักษณ์อาจเป็นประโยชน์ เพราะแนะนำให้เราทำงานโดยไม่หวังผลทางวัตถุ ฝึกสมาธิ และพัฒนาความรู้เพื่อให้เข้าใจดวงวิญญาณและวัตถุ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นตราบเท่าที่เรายังไม่พบสาวกผู้บริสุทธิ์ หากโชคดีพอจนพัฒนาความต้องการมาปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยตรงด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่างบริสุทธิ์ก็ไม่จำเป็นต้องไปพัฒนาการรู้แจ้งทิพย์ทีละขั้นตอน ดังที่ได้อธิบายไว้ในหกบทกลางของ ภควัท-คีตา ว่าการอุทิศตนเสียสละรับใช้เป็นที่น่าพึงพอใจกว่า เราไม่จำเป็นต้องไปยุ่งเรื่องทางวัตถุเพื่อรักษาร่างกายและดวงวิญญาณให้อยู่ด้วยกัน เพราะด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์กฺฤษฺณทุกสิ่งทุกอย่างจะดำเนินไปด้วยดีโดยปริยาย

ดังนั้นได้จบคำอธิบายโดย ภักดีเวดานตะ บทที่สิบสอง ของหนังสือ ศฺรีมทฺ ภควัท-คีตา ในหัวข้อเรื่อง การอุทิศตนเสียสละรับใช้