ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ ห้า

กรฺม-โยค การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก

SIMPLE

โศลก 1

arjuna uvāca
sannyāsaṁ karmaṇāṁ kṛṣṇa
punar yogaṁ ca śaṁsasi
yac chreya etayor ekaṁ
tan me brūhi su-niścitam
อรฺชุน อุวาจ
สนฺนฺยาสํ กรฺมณำ กฺฤษฺณ
ปุนรฺ โยคํ จ ศํสสิ
ยจฺ เฉฺรย เอตโยรฺ เอกํ
ตนฺ เม พฺรูหิ สุ-นิศฺจิตมฺ
อรฺชุนห์ อุวาจอรฺชุน ตรัส, สนฺนฺยาสมฺ — สละ, กรฺมณามฺ — ของกิจกรรมทั้งหลาย, กฺฤษฺณ — โอ้ กฺฤษฺณ, ปุนห์ — อีกครั้ง, โยคมฺ — การอุทิศตนเสียสละรับใช้, — เช่นกัน, ศํสสิ — ท่านสรรเสริญ, ยตฺ — ซึ่ง, เศฺรยห์ — มีประโยชน์มากกว่า, เอตโยห์ — ทั้งสองสิ่งนี้, เอกมฺ — หนึ่ง, ตตฺ — นั้น, เม — แก่ข้าพเจ้า, พฺรูหิ — กรุณาบอก, สุ-นิศฺจิตมฺ — อย่างชัดเจน

คำแปล

อรฺชุน ตรัสว่า โอ้ กฺฤษฺณ เริ่มแรกพระองค์ทรงบอกให้ข้าพเจ้าสละงาน และจากนั้นก็ทรงแนะนำให้ทำงานด้วยการอุทิศตนเสียสละ ขอให้พระองค์ทรงโปรดกรุณาตรัสอย่างชัดเจนว่า ทั้งสองสิ่งนี้สิ่งไหนจะมีประโยชน์มากกว่ากัน

คำอธิบาย

ในบทที่ห้าของ ภควัท-คีตา นี้องค์ภควานฺทรงตรัสว่า งานในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ดีกว่าการคาดคะเนทางจิตใจอย่างลมๆแล้งๆ การอุทิศตนเสียสละรับใช้นั้นง่ายกว่า เพราะว่าเป็นทิพย์โดยธรรมชาติและทำให้เราเป็นอิสระจากวิบากกรรม ในบทที่สองได้อธิบายถึงความรู้พื้นฐานของดวงวิญญาณ และการที่ดวงวิญญาณถูกพันธนาการในร่างวัตถุ พร้อมทั้งอธิบายถึงความหลุดพ้นจากพันธนาการทางวัตถุนี้ด้วย พุทฺธิ-โยค หรือการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ในบทที่สามได้อธิบายถึงบุคคลผู้สถิตในระดับแห่งความรู้จะไม่มีหน้าที่ใดๆต้องปฏิบัติอีกต่อไป ในบทที่สี่พระองค์ตรัสแก่ อรฺชุน ว่างานบูชาทั้งหมดมาจบลงที่ความรู้ อย่างไรก็ดีในตอนท้ายของบทที่สี่องค์ภควานฺทรงแนะนำให้ อรฺชุน ตื่นขึ้นต่อสู้ และสถิตในความรู้อันสมบูรณ์ ดังนั้นจากการเน้นถึงความสำคัญพร้อมๆกันทั้งงานแห่งการอุทิศตนเสียสละ และการวางเฉยอยู่ในความรู้ได้สร้างความงุนงงและสับสนให้แก่ อรฺชุน ในการตัดสินใจ อรฺชุน ทรงเข้าใจว่าการเสียสละในความรู้คือหยุดการงานทั้งหมดที่เป็นกิจกรรมทางประสาทสัมผัส แต่ถ้าหากว่าเราปฏิบัติงานในการอุทิศตนเสียสละรับใช้แล้วงานจะหยุดลงได้อย่างไร หรืออีกนัยหนึ่ง อรฺชุน ทรงคิดว่า สนฺนฺยาส หรือการสละในความรู้ควรเป็นอิสระจากกิจกรรมทั้งมวล เพราะว่าการทำงานและการเสียสละไปด้วยกันไม่ได้ ปรากฏว่า อรฺชุน ทรงไม่เข้าใจว่าการทำงานที่เปี่ยมไปด้วยความรู้นั้นจะไม่มีวิบากกรรมจึงดูเหมือนว่าไม่ได้ทำอะไรเลย ดังนั้นจึงทรงถามว่าควรจะหยุดทำงานทั้งหมด หรือควรทำงานในแบบที่เปี่ยมไปด้วยความรู้

โศลก 2

śrī-bhagavān uvāca
sannyāsaḥ karma-yogaś ca
niḥśreyasa-karāv ubhau
tayos tu karma-sannyāsāt
karma-yogo viśiṣyate
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
สนฺนฺยาสห์ กรฺม-โยคศฺ จ
นิห์เศฺรยส-กราวฺ อุเภา
ตโยสฺ ตุ กรฺม-สนฺนฺยาสาตฺ
กรฺม-โยโค วิศิษฺยเต
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — องค์ภควานฺตรัส, สนฺนฺยาสห์ — การสละงาน, กรฺม-โยคห์ — งานในการอุทิศตนเสียสละ, — เช่นกัน, นิห์เศฺรยส-กเรา — นำไปสู่วิถีทางแห่งความหลุดพ้น, อุเภา — ทั้งสอง, ตโยห์ — ของทั้งสอง, ตุ — แต่, กรฺม-สนฺนฺยาสาตฺ — เมื่อเปรียบเทียบกับการสละงานเพื่อผลทางวัตถุ, กรฺม-โยคห์ — งานในการอุทิศตนเสียสละ, วิศิษฺยเต — ดีกว่า

คำแปล

องค์ภควานฺตรัสตอบว่า การสละงานและการทำงานด้วยการอุทิศตนเสียสละทั้งคู่ดีเพื่อความหลุดพ้น แต่เมื่อเปรียบเทียบสองสิ่งนี้การทำงานอุทิศตนเสียสละรับใช้ดีกว่าการสละงาน

คำอธิบาย

กิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ (แสวงหาการสนองประสาทสัมผัส) เป็นต้นเหตุแห่งพันธนาการทางวัตถุ ตราบที่เรายังปฏิบัติกิจกรรมเพื่อมุ่งพัฒนามาตรฐานความสะดวกของร่างกายแน่นอนว่าเราต้องเคลื่อนย้ายเข้าไปสู่ร่างต่างๆกัน และสืบสานการพันธนาการทางวัตถุชั่วกัลปวสาน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (5.5.4-6) ได้ยืนยันไว้ดังต่อไปนี้

นูนํ ปฺรมตฺตห์ กุรุเต วิกรฺม
ยทฺ อินฺทฺริย-ปฺรีตย อาปฺฤโณติ
น สาธุ มเนฺย ยต อาตฺมโน ’ยมฺ
อสนฺนฺ อปิ เกฺลศ-ท อาส เทหห์
ปราภวสฺ ตาวทฺ อโพธ-ชาโต
ยาวนฺ น ชิชฺญาสต อาตฺม-ตตฺตฺวมฺ
ยาวตฺ กฺริยาสฺ ตาวทฺ อิทํ มโน ไว
กรฺมาตฺมกํ เยน ศรีร-พนฺธห์
เอวํ มนห์ กรฺม-วศํ ปฺรยุงฺกฺเต
อวิทฺยยาตฺมนฺยฺ อุปธียมาเน
ปฺรีติรฺ น ยาวนฺ มยิ วาสุเทเว
น มุจฺยเต เทห-โยเคน ตาวตฺ
“บุคคลผู้บ้าคลั่งในการสนองประสาทสัมผัสโดยไม่รู้ว่าร่างกายวัตถุที่เต็มไปด้วยความทุกข์นี้เป็นผลพวงมาจากกิจกรรมเพื่อหวังผลทางวัตถุในอดีตของตนเอง ถึงแม้ว่าร่างกายนี้ไม่ถาวรแต่มันก็สร้างความเดือดร้อนให้เราอยู่เสมอในหลายๆด้าน ฉะนั้นการกระทำเพื่อสนองประสาทสัมผัสมิใช่สิ่งที่ดี ตราบเท่าที่เรายังไม่ตั้งคำถามเกี่ยวกับบุคลิกภาพอันแท้จริงของตัวเราเองก็ถือว่าชีวิตเราล้มเหลว เพราะตราบใดที่เรายังไม่รู้ถึงบุคลิกภาพอันแท้จริงของตัวเราเราก็จะทำงานเพื่อผลทางวัตถุเพื่อสนองประสาทสัมผัส และตราบใดที่เรายังหมกมุ่นอยู่ในจิตสำนึกแห่งการสนองประสาทสัมผัสเราจะต้องเคลื่อนย้ายออกจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่ง ถึงแม้ว่าจิตใจอาจหมกมุ่นอยู่ในกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุและถูกครอบงำโดยอวิชชา แต่ถ้าเราพัฒนาความรักเพื่อการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์วาสุเทว จากจุดนี้เท่านั้นที่เราจะสามารถได้รับโอกาสหลุดพ้นจากพันธนาการในความเป็นอยู่ทางวัตถุ”

ฉะนั้น ชฺญาน (หรือความรู้ที่ว่าตัวเราไม่ใช่ร่างวัตถุนี้แต่เป็นดวงวิญญาณ) นั้นไม่เพียงพอสำหรับความหลุดพ้น เราจะต้องปฏิบัติตนในสถานภาพของดวงวิญญาณ มิฉะนั้นแล้วจะไม่มีหนทางหลบหนีออกไปจากพันธนาการทางวัตถุ อย่างไรก็ดีการปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกมิใช่เป็นการปฏิบัติในระดับเพื่อผลทางวัตถุ แต่เป็นกิจกรรมที่ปฏิบัติด้วยความรู้อันสมบูรณ์จะช่วยให้เราเจริญขึ้นในความรู้ที่แท้จริง การสละผลของงานอย่างเดียวโดยปราศจากกฺฤษฺณจิตสำนึกมิได้ทำให้หัวใจของพันธวิญญาณบริสุทธิ์ขึ้นอย่างแท้จริง ตราบใดที่หัวใจยังไม่บริสุทธิ์เราจะต้องทำงานในระดับที่หวังผล แต่การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะช่วยเราให้หลบออกจากผลของการปฏิบัติเพื่อผลทางวัตถุโดยปริยาย เพื่อที่เราจะได้ไม่ตกลงมาสู่ระดับวัตถุ ฉะนั้นการปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงสูงกว่าการสละ หรือการปล่อยวางอย่างแน่นอน การสละหรือการปล่อยวางยังมีความเสี่ยงในการตกลงต่ำอยู่เสมอ การสละโดยปราศจากกฺฤษฺณจิตสำนึกนั้นไม่สมบูรณ์ ดังที่ ศฺรีล รูป โคสฺวามี ได้ยืนยันไว้ใน ภกฺติ-รสามฺฤต-สินฺธุ (1.2.258) ว่า

ปฺราปญฺจิกตยา พุทฺธฺยา
หริ-สมฺพนฺธิ-วสฺตุนห์
มุมุกฺษุภิห์ ปริตฺยาโค
ไวราคฺยํ ผลฺคุ กถฺยเต
“เมื่อบุคคลผู้มีความกระตือรือร้นที่จะบรรลุความหลุดพ้น สละสิ่งต่างๆที่สัมพันธ์กับบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า โดยคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นวัตถุ การสละเช่นนี้ถือว่าไม่สมบูรณ์” การเสียสละหรือการปล่อยวางที่สมบูรณ์จะเกิดขึ้นเมื่ออยู่ในความรู้ที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่เป็นขององค์ภควานฺ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่ควรมีผู้ใดอ้างความเป็นเจ้าของในสิ่งใดๆ เราควรเข้าใจว่าอันที่จริงไม่มีอะไรเป็นของใคร ดังนั้นจึงไม่มีผู้ใดจะต้องไปเสียสละอะไร ผู้ที่ทราบว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสมบัติขององค์กฺฤษฺณจะสถิตในความปล่อยวางหรือเสียสละอยู่เสมอ เนื่องจากทุกสิ่งอย่างเป็นขององค์กฺฤษฺณจึงควรถูกนำมาใช้เพื่อเป็นการรับใช้องค์กฺฤษฺณ การปฏิบัติที่สมบูรณ์แบบในกฺฤษฺณจิตสำนึกเช่นนี้ดีกว่าการเสียสละ หรือการปล่อยวางที่ฝืนธรรมชาติโดย สนฺนฺยาสี แห่งสถาบัน มายาวาที

โศลก 3

jñeyaḥ sa nitya-sannyāsī
yo na dveṣṭi na kāṅkṣati
nirdvandvo hi mahā-bāho
sukhaṁ bandhāt pramucyate
ชฺเญยห์ ส นิตฺย-สนฺนฺยาสี
โย น เทฺวษฺฏิ น กางฺกฺษติ
นิรฺทฺวนฺโทฺว หิ มหา-พาโห
สุขํ พนฺธาตฺ ปฺรมุจฺยเต
ชฺเญยห์ — ควรรู้, สห์ — เขา, นิตฺย — เสมอ, สนฺนฺยาสี — ผู้สละทางโลก, ยห์ — ผู้ซึ่ง, — ไม่เคย, เทฺวษฺฏิ — เกลียดชัง, — หรือไม่, กางฺกฺษติ — ปรารถนา, นิรฺทฺวนฺทฺวห์ — เป็นอิสระจากมวลสิ่งคู่, หิ — แน่นอน, มหา-พาโห — โอ้ ยอดนักรบ, สุขมฺ — มีความสุข, พนฺธาตฺ — จากพันธนาการ, ปฺรมุจฺยเต — หลุดพ้นอย่างสมบูรณ์

คำแปล

ผู้ที่ไม่รังเกียจกิจกรรม และไม่ปรารถนาผลตอบแทนจากกิจกรรมของตนเอง ได้ชื่อว่าเป็นผู้เสียสละอยู่เสมอ บุคคลเช่นนี้เป็นอิสระจากมวลสิ่งคู่ ข้ามพ้นจากพันธนาการทางวัตถุได้โดยง่ายดาย และได้รับความหลุดพ้นอย่างสมบูรณ์ โอ้ อรฺชุน ยอดนักรบ

คำอธิบาย

บุคคลที่อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นผู้เสียสละอยู่เสมอ เพราะไม่รู้สึกรังเกียจหรือต้องการผลตอบแทนจากการกระทำของตนเอง ผู้เสียสละเช่นนี้อุทิศตนรับใช้ด้วยความรักทิพย์ต่อองค์ภควานฺมีวุฒิภาวะที่สมบูรณ์ เพราะทราบดีถึงสถานภาพพื้นฐานของตนเองในความสัมพันธ์กับองค์กฺฤษฺณ ทราบเป็นอย่างดีว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นส่วนที่สมบูรณ์ และตนเองเป็นเพียงละอองอณูของพระองค์ความรู้เช่นนี้สมบูรณ์เพราะว่าถูกต้องทั้งคุณภาพและปริมาณ ทัศนคติที่มาเป็นหนึ่งเดียวกับองค์กฺฤษฺณไม่ถูกต้อง เพราะว่าละอองอณูจะมาเทียบเท่ากับส่วนที่สมบูรณ์บริบูรณ์สูงสุดไม่ได้ ความรู้ที่ว่าเป็นหนึ่งเดียวกันในคุณภาพแต่แตกต่างกันในปริมาณเป็นความรู้ทิพย์ที่ถูกต้อง ซึ่งจะนำเราไปสู่ความสมบูรณ์ในตนเอง ไม่มีอะไรที่ต้องปรารถนาหรือต้องเศร้าโศก ภายในจิตใจปราศจากสิ่งคู่เพราะว่าอะไรก็แล้วแต่ที่ทำจะทำไปเพื่อองค์กฺฤษฺณ เพราะท่านเป็นอิสระจากระดับของสิ่งคู่ ท่านจึงหลุดพ้นอยู่เสมอถึงแม้ว่าจะอยู่ในโลกวัตถุนี้

โศลก 4

sāṅkhya-yogau pṛthag bālāḥ
pravadanti na paṇḍitāḥ
ekam apy āsthitaḥ samyag
ubhayor vindate phalam
สางฺขฺย-โยเคา ปฺฤถคฺ พาลาห์
ปฺรวทนฺติ น ปณฺฑิตาห์
เอกมฺ อปฺยฺ อาสฺถิตห์ สมฺยคฺ
อุภโยรฺ วินฺทเต ผลมฺ
สางฺขฺย — การศึกษาวิเคราะห์โลกวัตถุ, โยเคา — ทำงานด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้, ปฺฤถกฺ — แตกต่าง, พาลาห์ — ผู้ด้อยปัญญา, ปฺรวทนฺติ — พูด, — ไม่เคย, ปณฺฑิตาห์ — บัณฑิต, เอกมฺ — ในหนึ่ง, อปิ — ถึงแม้, อาสฺถิตห์ — สถิต, สมฺยกฺ — สมบูรณ์, อุภโยห์ — ของทั้งสอง, วินฺทเต — ได้รับความสุข, ผลมฺ — ผล

คำแปล

คนโง่เท่านั้นที่พูดว่าการอุทิศตนเสียสละรับใช้ (กรฺม - โยค) แตกต่างจากการศึกษาวิเคราะห์โลกวัตถุ (สางฺขฺย) พวกบัณฑิตที่แท้จริงกล่าวว่าผู้ใดปฏิบัติตนดีหนึ่งในสองวิถีทางนี้จะบรรลุผลได้ทั้งสองทาง

คำอธิบาย

จุดมุ่งหมายของการศึกษาวิเคราะห์โลกวัตถุก็เพื่อที่จะค้นหาว่ามีดวงวิญญาณ ดวงวิญญาณของโลกวัตถุ คือ พระวิษฺณุ หรือ องค์อภิวิญญาณ การอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺนำมาซึ่งการรับใช้อภิวิญญาณ วิธีหนึ่งเป็นการค้นหารากของต้นไม้ และอีกวิธีหนึ่งเป็นการรดน้ำที่รากของต้นไม้ นักศึกษาที่แท้จริงของปรัชญา สางฺขฺย ค้นพบรากของโลกวัตถุ คือ พระวิษฺณุ และด้วยความรู้ที่สมบูรณ์เขาจะปฏิบัติรับใช้องค์ภควานฺ ดังนั้นในจุดสำคัญไม่มีข้อแตกต่างกันทั้งสองวิธีเพราะว่าจุดมุ่งหมายของทั้งสองเหมือนกันคือพระวิษณุ ผู้ที่ไม่รู้เป้าหมายสูงสุดกล่าวว่าจุดประสงค์ของ สางฺขฺย และ กรฺม-โยค ไม่เหมือนกัน แต่ผู้ที่เป็นบัณฑิตทราบว่าทั้งสองวิธีที่แตกต่างกันนี้มีจุดมุ่งหมายเหมือนกัน

โศลก 5

yat sāṅkhyaiḥ prāpyate sthānaṁ
tad yogair api gamyate
ekaṁ sāṅkhyaṁ ca yogaṁ ca
yaḥ paśyati sa paśyati
ยตฺ สางฺไขฺยห์ ปฺราปฺยเต สฺถานํ
ตทฺ โยไครฺ อปิ คมฺยเต
เอกํ สางฺขฺยํ จ โยคํ จ
ยห์ ปศฺยติ ส ปศฺยติ
ยตฺ — อะไร, สางฺไขฺยห์ — ด้วยวิธีของปรัชญา สางฺขฺย, ปฺราปฺยเต — บรรลุ, สฺถานมฺ — สถานที่, ตตฺ — นั้น, โยไคห์ — ด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้, อปิ — เช่นกัน, คมฺยเต — เราสามารถได้รับ, เอกมฺ — หนึ่ง, สางฺขฺยมฺ — การศึกษาวิเคราห์, — และ, โยคมฺ — ปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละ, — และ, ยห์ — ผู้ซึ่ง, ปศฺยติ — เห็น, สห์ — เขา, ปศฺยติ — เห็นโดยแท้จริง

คำแปล

ผู้ที่รู้ว่าสภาวะที่ไปถึงด้วยวิธีการศึกษาวิเคราะห์สามารถบรรลุถึงได้ด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้เช่นกัน ดังนั้นจึงเห็นว่าการศึกษาวิเคราะห์และการอุทิศตนเสียสละรับใช้อยู่ในระดับเดียวกัน ผู้นี้ได้เห็นสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง

คำอธิบาย

จุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการค้นคว้าทางปรัชญาคือ การค้นหาเป้าหมายสูงสุดของชีวิต เนื่องจากเป้าหมายสูงสุดของชีวิตคือการรู้แจ้งตนเองจึงไม่มีข้อแตกต่างระหว่างผลสรุปที่บรรลุได้ด้วยทั้งสองวิธี ด้วยการค้นคว้าทางปรัชญา สางฺขฺย เราสรุปได้ว่าสิ่งมีชีวิตไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของโลกวัตถุ แต่เป็นส่วนของดวงวิญญาณที่สมบูรณ์สูงสุด ดังนั้นดวงวิญญาณของเราจึงไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับโลกวัตถุ การปฏิบัติของเราจึงต้องมีความสัมพันธ์กับองค์ภควานฺ เมื่อปฏิบัติตนในกฺฤษฺณจิตสำนึกเราอยู่ในสถานภาพพื้นฐานอันแท้จริงของเรา ในวิธีแรกหรือ สางฺขฺย คือเราต้องไม่ยึดติดกับวัตถุ และในวิธีโยคะแห่งการอุทิศตนเสียสละเราต้องยึดมั่นอยู่กับงานในกฺฤษฺณจิตสำนึก อันที่จริงทั้งสองวิธีนี้เหมือนกันแม้ว่าโดยผิวเผินวิธีหนึ่งจะเกี่ยวกับการไม่ยึดติดและอีกวิธีหนึ่งเกี่ยวกับการยึดมั่น การไม่ยึดติดกับวัตถุและการยึดมั่นกับองค์กฺฤษฺณเป็นหนึ่งเดียวกัน ผู้ที่เห็นเช่นนี้เห็นสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง

โศลก 6

sannyāsas tu mahā-bāho
duḥkham āptum ayogataḥ
yoga-yukto munir brahma
na cireṇādhigacchati
สนฺนฺยาสสฺ ตุ มหา-พาโห
ทุห์ขมฺ อาปฺตุมฺ อโยคตห์
โยค-ยุกฺโต มุนิรฺ พฺรหฺม
น จิเรณาธิคจฺฉติ
สนฺนฺยาสห์ — ชีวิตสละโลกวัตถุ, ตุ — แต่, มหา-พาโห — โอ้ ยอดนักรบ, ทุห์ขมฺ — ความทุกข์, อาปฺตุมฺ — ซึ่งทำให้ตนลำบาก, อโยคตห์ — ปราศจากการอุทิศตนเสียสละรับใช้, โยค-ยุกฺตห์ — ผู้ปฏิบัติตนในการอุทิศตนเสียสละรับใช้, มุนิห์ — นักคิด, พฺรหฺม — สูงสุด, น จิเรณ — โดยไม่รอช้า, อธิคจฺฉติ — ได้รับ

คำแปล

หากเพียงแต่สละกิจกรรมทั้งหมดโดยไม่ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้แด่องค์ภควานฺจะไม่สามารถทำให้เรามีความสุข แต่ผู้ที่ใคร่ครวญรอบคอบปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้จะสามารถบรรลุถึงองค์ภควานได้โดยไม่ล่าช้า

คำอธิบาย

มี สนฺนฺยาสี หรือผู้ปฏิบัติตนสละโลกวัตถุอยู่สองประเภท มายาวาที สนฺนฺยาสี ปฏิบัติในการศึกษาปรัชญา สางฺขฺย ขณะที่ ไวษฺณว สนฺนฺยาสี ปฏิบัติในการศึกษาปรัชญา ภาควต ซึ่งให้คำอธิบาย เวทานฺต-สูตฺร อย่างถูกต้อง มายาวาที สนฺนฺยาสี ศึกษา เวทานฺต-สูตฺร เหมือนกันแต่ใช้คำอธิบายของพวกตนเรียกว่า ศารีรก-ภาษฺย เขียนโดย ศงฺกราจารฺย นักศึกษาของสถาบัน ภาควตมฺ ปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺตามกฎเกณฑ์ของ ปาญฺจราตฺริกี ดังนั้น ไวษฺณว สนฺนฺยาสี จึงมีการปฏิบัติรับใช้ทิพย์อย่างมากมายแด่องค์ภควานฺ ไวษฺณว สนฺนฺยาสี ไม่มีอะไรที่จะต้องทำเกี่ยวกับกิจกรรมทางวัตถุ แต่ยังปฏิบัติกิจกรรมมากมายในการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺ แต่ มายาวาที สนฺนฺยาสี ปฏิบัติในการศึกษา สางฺขฺย และ เวทานฺต และได้แต่คาดคะเน ไม่สามารถได้รับรสแห่งการรับใช้ทิพย์แด่องค์ภควานฺ เพราะว่าการศึกษาเช่นนี้น่าเบื่อมาก บางครั้งจะเบื่อหน่ายต่อการคาดคะเน พฺรหฺมนฺ แล้วจึงมาพึ่ง ภาควตมฺ โดยปราศจากความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังนั้นการศึกษา ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ ของพวกนี้จึงมีปัญหา การคาดคะเนอย่างลมๆแล้งๆและการตีความที่ไร้รูปลักษณ์ด้วยวิธีที่ผิดธรรมชาติเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิงสำหรับ มายาวาที สนฺนฺยาสี ในขณะที่ ไวษฺณว สนฺนฺยาสี ผู้ปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ได้รับความสุขอยู่ตลอดเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ทิพย์ และรับประกันได้ว่าในที่สุดจะบรรลุถึงอาณาจักรแห่งองค์ภควานฺ มายาวาที สนฺนฺยาสี บางครั้งตกต่ำลงจากวิถีแห่งความรู้แจ้งแห่งตน และเข้าไปร่วมกับกิจกรรมทางวัตถุ เช่น การทำทานช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และสละความเห็นแก่ตัวซึ่งเป็นกิจกรรมทางวัตถุ ดังนั้นผลสรุปคือ ผู้ที่ปฏิบัติในกิจกรรมของกฺฤษฺณจิตสำนึกสถิตในตำแหน่งที่ดีกว่าพวก สนฺนฺยาสี ที่ปฏิบัติเพียงแค่คาดคะเนว่าอะไรคือ พฺรหฺมนฺ และอะไรไม่ใช่ พฺรหฺมนฺ ถึงแม้ว่าหลังจากหลายต่อหลายชาติพวกนี้จะกลายมาเป็นกฺฤษฺณจิตสำนึก

โศลก 7

yoga-yukto viśuddhātmā
vijitātmā jitendriyaḥ
sarva-bhūtātma-bhūtātmā
kurvann api na lipyate
โยค-ยุกฺโต วิศุทฺธาตฺมา
วิชิตาตฺมา ชิเตนฺทฺริยห์
สรฺว-ภูตาตฺม-ภูตาตฺมา
กุรฺวนฺนฺ อปิ น ลิปฺยเต
โยค-ยุกฺตห์ — ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้, วิศุทฺธ-อาตฺมา — วิญญาณผู้บริสุทธิ์, วิชิต-อาตฺมา — ควบคุมตนเองได้, ชิต-อินฺทฺริยห์ — ได้ปรามประสาทสัมผัส, สรฺว-ภูต — แด่มวลชีวิต, อาตฺม-ภูต-อาตฺมา — เมตตากรุณา, กุรฺวนฺ อปิ — แม้ปฏิบัติงาน, — ไม่เคย, ลิปฺยเต — ถูกพันธนาการ

คำแปล

ผู้ที่ทำงานด้วยการอุทิศตนเสียสละ มีดวงวิญญาณบริสุทธิ์สามารถควบคุมจิตใจ และประสาทสัมผัสของตนเองได้จะเป็นที่รักของทุกคน และทุกคนก็เป็นที่รักของเขา แม้ทำงานอยู่ตลอดเวลาแต่บุคคลเช่นนี้จะไม่มีวันถูกพันธนาการ

คำอธิบาย

ผู้ที่อยู่บนหนทางแห่งความหลุดพ้นในกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นที่รักยิ่งของทุกๆชีวิต และทุกชีวิตก็เป็นที่รักของท่าน ที่เป็นเช่นนี้ได้ก็เนื่องมาจากมีกฺฤษฺณจิตสำนึก บุคคลนี้ไม่สามารถคิดว่าสิ่งมีชีวิตใดๆสามารถแยกออกจากองค์กฺฤษฺณได้ ดังเช่นใบไม้และกิ่งไม้ที่ไม่สามารถแยกออกจากต้นไม้ได้ฉันใด ท่านทราบดีว่าจากการรดน้ำที่รากของต้นไม้แล้วน้ำจะถูกแจกจ่ายไปที่ใบและกิ่งก้านทั้งหมด หรือจากการส่งอาหารไปที่กระเพาะอาหารพลังงานจะถูกส่งไปทั่วร่างกายโดยปริยาย เพราะผู้ที่ทำงานในกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นผู้รับใช้ของมวลชีวิตจึงเป็นที่รักยิ่งของทุกๆคน และเนื่องจากทุกคนได้รับความพึงพอใจจากงานของท่านจึงทำให้มีจิตสำนึกที่บริสุทธิ์ และเพราะว่ามีจิตสำนึกที่บริสุทธิ์จิตใจจึงอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างสมบูรณ์ และเนื่องจากจิตใจอยู่ภายใต้การควบคุม ประสาทสัมผัสจึงอยู่ภายใต้การควบคุมด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากจิตใจตั้งมั่นอยู่ที่องค์กฺฤษฺณเสมอท่านจึงไม่มีโอกาสที่จะเบี่ยงเบนไปจากองค์กฺฤษฺณ หรือเปิดโอกาสให้ประสาทสัมผัสของท่านปฏิบัติในสิ่งที่มิใช่เป็นการรับใช้องค์ภควานฺ ท่านจะไม่ชอบฟังอะไรนอกจากเรื่องราวที่เกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณ จะไม่ชอบรับประทานอะไรที่ไม่ได้ถวายให้องค์กฺฤษฺณ และจะไม่ปรารถนาจะไปไหนหากองค์กฺฤษฺณทรงไม่มีส่วนร่วม ดังนั้นประสาทสัมผัสของท่านอยู่ภายใต้การควบคุม บุคคลที่ประสาทสัมผัสอยู่ภายใต้การควบคุมไม่สามารถก้าวร้าวผู้ใด อาจมีคนถามว่า “แล้วทำไม อรฺชุน จึงทรงก้าวร้าวผู้อื่นในสนามรบ ท่านมีกฺฤษฺณจิตสำนึกอยู่ใช่หรือไม่” อรฺชุน ทรงก้าวร้าวโดยผิวเผินเท่านั้น (ดังที่ได้อธิบายไว้แล้วในบทที่สอง) เพราะว่าผู้ที่มารวมกันอยู่ในสนามรบจะยังคงมีปัจเจกชีวิตอยู่ต่อไป เนื่องจากดวงวิญญาณไม่สามารถถูกฆ่าได้ ฉะนั้นในวิถีทิพย์ไม่มีผู้ใดถูกฆ่าในสนามรบ กุรุกฺเษตฺร เพียงแต่เสื้อผ้าของพวกเขาเท่านั้นที่ได้ถูกเปลี่ยนไปโดยคำสั่งขององค์กฺฤษฺณผู้ทรงปรากฏพระวรกายด้วยพระองค์เอง ดังนั้นในขณะที่ อรฺชุน ทรงต่อสู้อยู่ที่สนามรบ กุรุกฺเษตฺร อรฺชุน ทรงมิได้ต่อสู้จริงๆ ท่านเพียงแต่ปฏิบัติตามคำสั่งขององค์กฺฤษฺณด้วยกฺฤษฺณจิตสำนึกที่สมบูรณ์ บุคคลเช่นนี้จะไม่มีวันถูกพันธนาการอยู่ในวิบากกรรม

โศลก 8-9

naiva kiñcit karomīti
yukto manyeta tattva-vit
paśyañ śṛṇvan spṛśañ jighrann
aśnan gacchan svapañ śvasan
ไนว กิญฺจิตฺ กโรมีติ
ยุกฺโต มเนฺยต ตตฺตฺว-วิตฺ
ปศฺยญฺ ศฺฤณฺวนฺ สฺปฺฤศญฺ ชิฆฺรนฺนฺ
อศฺนนฺ คจฺฉนฺ สฺวปญฺ ศฺวสนฺ
pralapan visṛjan gṛhṇann
unmiṣan nimiṣann api
indriyāṇīndriyārtheṣu
vartanta iti dhārayan
ปฺรลปนฺ วิสฺฤชนฺ คฺฤหฺณนฺนฺ
อุนฺมิษนฺ นิมิษนฺนฺ อปิ
อินฺทฺริยาณีนฺทฺริยารฺเถษุ
วรฺตนฺต อิติ ธารยนฺ
— ไม่, เอว — แน่นอน, กิญฺจิตฺ — สิ่งใดๆ, กโรมิ — ข้าพเจ้าทำ, อิติ — ดังนั้น, ยุกฺตห์ — ปฏิบัติอยู่ในจิตสำนึกทิพย์, มเนฺยต — คิด, ตตฺตฺว-วิตฺ — ผู้ที่ทราบความจริง, ปศฺยนฺ — เห็น, ศฺฤณฺวนฺ — ได้ยิน, สฺปฺฤศนฺ — สัมผัส, ชิฆฺรนฺ — กลิ่น, อศฺนนฺ — รับประทาน, คจฺฉนฺ — ไป, สฺวปนฺ — ฝัน, ศฺวสนฺ — หายใจ, ปฺรลปนฺ — พูด, วิสฺฤชนฺ — ยกเลิก, คฺฤหฺณนฺ — ยอมรับ, อุนฺมิษนฺ — เปิด, นิมิษนฺ — ปิด, อปิ — ถึงแม้ว่า, อินฺทฺริยาณิ — ประสาทสัมผัส, อินฺทฺริย-อรฺเถษุ — ในการสนองประสาทสัมผัส, วรฺตนฺเต — ปล่อยให้พวกเขาปฏิบัติ, อิติ — ดังนั้น, ธารยนฺ — พิจารณา

คำแปล

บุคคลผู้อยู่ในจิตสำนึกทิพย์ แม้ปฏิบัติอยู่ในการเห็น ได้ยิน สัมผัส ดมกลิ่น รับประทาน เคลื่อนไหวไปมา นอน และหายใจ ทราบดีอยู่ภายในตัวเสมอว่าอันที่จริงตนเองไม่ได้ทำอะไรเลย เพราะว่าขณะที่กำลังพูด กำลังถ่าย กำลังรับ หรือกำลังเปิด-ปิดตา เขาทราบเสมอว่าประสาทสัมผัสวัตถุเท่านั้นที่ปฏิบัติอยู่กับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และตัวเขาเองอยู่ห่างจากสิ่งเหล่านี้

คำอธิบาย

บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกมีความเป็นอยู่ที่บริสุทธิ์ ฉะนั้นท่านไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับงานใดๆที่ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยทั้งใกล้และไกลห้าประการคือ ผู้กระทำงาน สถานการณ์ ความพยายาม และโชคลาภ ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าท่านปฏิบัติในการรับใช้ทิพย์ด้วยความรักต่อองค์กฺฤษฺณ ถึงแม้ดูเหมือนว่าปฏิบัติด้วยร่างกายและประสาทสัมผัสท่านก็รู้สำนึกอยู่เสมอถึงสถานภาพอันแท้จริง ในการปฏิบัติทิพย์ในวัตถุจิตสำนึกประสาทสัมผัสปฏิบัติเพื่อสนองประสาทสัมผัสของตนเอง แต่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกประสาทสัมผัสปฏิบัติเพื่อสนองประสาทสัมผัสขององค์กฺฤษฺณให้ทรงพอพระทัย ดังนั้นบุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกจะเป็นอิสระอยู่เสมอ ถึงแม้จะดูเหมือนว่าตัวท่านปฏิบัติอยู่ในภารกิจของประสาทสัมผัส กิจกรรมต่างๆ เช่น การเห็นและได้ยินเป็นการปฏิบัติของประสาทสัมผัสเพื่อให้ได้ความรู้ขณะที่การเคลื่อนไหว การพูด การขับถ่าย ฯลฯ เป็นการปฏิบัติของประสาทสัมผัสเพื่อทำงาน บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่มีวันได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติของประสาทสัมผัส ท่านไม่สามารถปฏิบัติสิ่งใดนอกจากการรับใช้องค์ภควานฺ เพราะทราบดีว่าตัวท่านเป็นผู้รับใช้นิรันดรขององค์กฺฤษฺณ

โศลก 10

brahmaṇy ādhāya karmāṇi
saṅgaṁ tyaktvā karoti yaḥ
lipyate na sa pāpena
padma-patram ivāmbhasā
พฺรหฺมณฺยฺ อาธาย กรฺมาณิ
สงฺคํ ตฺยกฺตฺวา กโรติ ยห์
ลิปฺยเต น ส ปาเปน
ปทฺม-ปตฺรมฺ อิวามฺภสา
พฺรหฺมณิ — แด่องค์ภควาน, อาธาย — สละ, กรฺมาณิ — งานทั้งหมด, สงฺคมฺ — การยึดติด, ตฺยกฺตฺวา — ยกเลิก, กโรติ — ปฏิบัติ, ยห์ — ผู้ซึ่ง, ลิปฺยเต — มีผลกระทบ, — ไม่, สห์ — เขา, ปาเปน — ด้วยความบาป, ปทฺม-ปตฺรมฺ — ใบบัว, อิว — เหมือน, อมฺภสา — ด้วยน้ำ

คำแปล

ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยปราศจากการยึดติด ศิโรราบผลของงานแด่องค์ภควานจะไม่ได้รับผลกระทบจากการทำบาปฉันใด เปรียบเสมือนกับใบบัวที่น้ำไม่สามารถซึมเข้าไปได้ฉันนั้น

คำอธิบาย

ที่นี้คำว่า พฺรหฺมณิ หมายถึงในกฺฤษฺณจิตสำนึก โลกวัตถุคือปรากฏการณ์มวลรวมของสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ เรียกทางเทคนิคว่า ปฺรธาน บทมนต์พระเวท สรฺวํ หฺยฺ เอตทฺ พฺรหฺม (มาณฺฑูกฺย อุปนิษทฺ 2 ) ตสฺมาทฺ เอตทฺ พฺรหฺม นาม รูปมฺ อนฺนํ ชายเต (มาณฺฑูกฺย อุปนิษทฺ 1.2.10 ) และใน ภควัท-คีตา (14.3) มม โยนิรฺ มหทฺ พฺรหฺม แสดงให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกวัตถุคือปรากฏการณ์ของ พฺรหฺมนฺ แม้ว่าผลจะปรากฎออกมาแตกต่างกัน แต่มันไม่แตกต่างจากแหล่งกำเนิด ใน อีโศปนิษทฺ ได้กล่าวไว้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างสัมพันธ์กับ พฺรหฺมนฺ สูงสุดหรือองค์กฺฤษฺณ ฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างจึงเป็นของพระองค์เท่านั้น ผู้ที่ทราบดีว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นขององค์กฺฤษฺณ และพระองค์ทรงเป็นเจ้าของทุกสิ่งทุกอย่างดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างจึงควรนำมารับใช้องค์ภควานฺ โดยธรรมชาติตัวท่านไม่เกี่ยวข้องกับผลของกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นผลบุญหรือบาป ร่างวัตถุของทุกๆคนเป็นของขวัญจากองค์ภควานฺเพื่อปฏิบัติงานบางอย่างโดยเฉพาะ เราสามารถนำมาใช้ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกได้ หากเป็นเช่นนี้ก็อยู่เหนือมลทินจากผลแห่งบาป เช่นเดียวกับใบบัวถึงแม้จะอยู่ในน้ำแต่ไม่เปียก องค์ภควานฺทรงตรัสไว้ใน คีตา (3.30) เช่นกันว่า มยิ สรฺวาณิ กรฺมาณิ สนฺนฺยสฺย “จงสละงานทั้งหมดแด่ข้า (กฺฤษฺณ)” ข้อสรุปคือบุคคลผู้ปราศจากกฺฤษฺณจิตสำนึกปฏิบัติตามทัศนคติของร่างกายและประสาทสัมผัสวัตถุ แต่บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกปฏิบัติตามความรู้ที่ว่าร่างกายเป็นสมบัติขององค์กฺฤษฺณ ดังนั้นจึงควรใช้ไปในการรับใช้องค์กฺฤษฺณ

โศลก 11

kāyena manasā buddhyā
kevalair indriyair api
yoginaḥ karma kurvanti
saṅgaṁ tyaktvātma-śuddhaye
กาเยน มนสา พุทฺธฺยา
เกวไลรฺ อินฺทฺริไยรฺ อปิ
โยคินห์ กรฺม กุรฺวนฺติ
สงฺคํ ตฺยกฺตฺวาตฺม-ศุทฺธเย
กาเยน — ด้วยร่างกาย, มนสา — ด้วยจิตใจ, พุทฺธฺยา — ด้วยปัญญา, เกวไลห์ — บริสุทธิ์, อินฺทฺริไยห์ — ด้วยประสาทสัมผัส, อปิ — แม้แต่, โยคินห์ — บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึก, กรฺม — การกระทำ, กุรฺวนฺติ — พวกเขาปฏิบัติ, สงฺคมฺ — การยึดติด, ตฺยกฺตฺวา — สละ, อาตฺม — ของตนเอง, ศุทฺธเย — เพื่อจุดมุ่งหมายแห่งความบริสุทธิ์

คำแปล

โยคีผู้สละความยึดติด ปฏิบัติด้วยร่างกาย จิตใจ ปัญญา และแม้แต่ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเพื่อจุดมุ่งหมายแห่งความบริสุทธิ์เท่านั้น

คำอธิบาย

เมื่อเราปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยสนองประสาทสัมผัสขององค์กฺฤษฺณเพื่อให้พระองค์ทรงพอพระทัย การปฏิบัติไม่ว่าด้วยส่วนไหน เช่น ร่างกาย จิตใจ ปัญญา หรือแม้แต่ประสาทสัมผัสจะทำให้บริสุทธิ์จากมลทินทางวัตถุ และจะไม่มีวิบากกรรมทางวัตถุใดๆที่เป็นผลมาจากกิจกรรมของผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึก ฉะนั้นกิจกรรมบริสุทธิ์โดยทั่วไปเรียกว่า สทฺ-อาจาร สามารถปฏิบัติได้โดยง่ายด้วยการปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก ศฺรี รูป โคสฺวามี ใน ภกฺติ-รสามฺฤต-สินฺธุ (1.2.187) ได้อธิบายไว้ ดังนี้

อีหา ยสฺย หเรรฺ ทาเสฺย
กรฺมณา มนสา คิรา
นิขิลาสฺวฺ อปฺยฺ อวสฺถาสุ
ชีวนฺ-มุกฺตห์ ส อุจฺยเต
“บุคคลผู้ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก (หรืออีกนัยหนึ่งรับใช้องค์กฺฤษฺณ) ด้วยร่างกาย จิตใจ ปัญญา และคำพูดเป็นผู้หลุดพ้นแม้อยู่ในโลกวัตถุ ถึงแม้ท่านอาจปฏิบัติสิ่งที่เรียกว่ากิจกรรมทางวัตถุมากมาย” แต่ไม่มีอหังการเพราะท่านไม่เชื่อว่าตัวท่านคือร่างวัตถุนี้ หรือว่าตัวท่านเป็นเจ้าของร่างวัตถุ รู้ดีว่าตัวท่านไม่ใช่ร่างกายนี้และร่างกายนี้ไม่ใช่เป็นของท่าน ตัวท่านเองเป็นขององค์กฺฤษฺณ และร่างกายก็เช่นกันเป็นขององค์กฺฤษฺณ เมื่อนำทุกสิ่งทุกอย่างที่ผลิตโดยร่างกาย จิตใจ ปัญญา คำพูด ชีวิต ทรัพย์สมบัติ ฯลฯ และอะไรก็แล้วแต่ที่ท่านอาจเป็นเจ้าของจะนำมารับใช้องค์กฺฤษฺณ เช่นนี้ท่านจะประสานกับองค์กฺฤษฺณทันทีโดยเป็นหนึ่งเดียวกับองค์กฺฤษฺณ และปราศจากอหังการที่จะนำท่านให้เชื่อว่าตัวท่านคือร่างกาย เป็นต้น นี่คือระดับสมบูรณ์แห่งกฺฤษฺณจิตสำนึก

โศลก 12

yuktaḥ karma-phalaṁ tyaktvā
śāntim āpnoti naiṣṭhikīm
ayuktaḥ kāma-kāreṇa
phale sakto nibadhyate
ยุกฺตห์ กรฺม-ผลํ ตฺยกฺตฺวา
ศานฺติมฺ อาปฺโนติ ไนษฺฐิกีมฺ
อยุกฺตห์ กาม-กาเรณ
ผเล สกฺโต นิพธฺยเต
ยุกฺตห์ — ผู้ปฏิบัติอุทิศตนเสียสละรับใช้, กรฺม-ผลมฺ — ผลของกิจกรรมทั้งหมด, ตฺยกฺตฺวา — สละ, ศานฺติมฺ — ความสงบอันสมบูรณ์, อาปฺโนติ — ได้รับ, ไนษฺฐิกีมฺ — แน่วแน่, อยุกฺตห์ — ผู้ที่ไม่อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึก, กาม-กาเรณ — เพื่อความสุขกับผลของงาน, ผเล — ในผล, สกฺตห์ — ยึดติด, นิพธฺยเต — ถูกพันธนาการ

คำแปล

ดวงวิญญาณผู้อุทิศตนเสียสละอยู่เสมอได้รับความสงบที่บริสุทธิ์เพราะถวายผลของกิจกรรมทั้งหมดแด่ข้า ขณะที่ผู้ไม่ร่วมกับองค์ภควานฺโลภในผลแห่งแรงงานของตนเองจะถูกพันธนาการ

คำอธิบาย

ข้อแตกต่างระหว่างบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกและบุคคลในร่างกายจิตสำนึกคือ คนหนึ่งยึดมั่นกับองค์กฺฤษฺณ และอีกคนหนึ่งยึดติดกับผลของกิจกรรมของตนเอง บุคคลผู้ยึดมั่นต่อองค์กฺฤษฺณและทำงานเพื่อพระองค์เท่านั้นจะเป็นผู้หลุดพ้น และจะไม่มีความวิตกกังวลกับผลงานของตนเองอย่างแน่นอน ใน ภาควต อธิบายว่าสาเหตุแห่งความวิตกกังวลกับผลของกิจกรรมเกิดจาการทำหน้าที่ในทัศนคติของสิ่งคู่โดยไม่มีความรู้แห่งสัจธรรมที่สมบูรณ์ องค์กฺฤษฺณทรงเป็นสัจธรรมที่สมบูรณ์สูงสุด องค์ภควานฺในกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่มีสิ่งคู่ ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่เป็นผลผลิตจากพลังงานขององค์กฺฤษฺณ และองค์กฺฤษฺณทรงดีไปหมด ฉะนั้นกิจกรรมในกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงอยู่ในระดับที่สมบูรณ์นั้นเป็นทิพย์และไม่มีผลทางวัตถุ ผู้ปฏิบัติจึงเปี่ยมไปด้วยความสงบในกฺฤษฺณจิตสำนึก แต่ผู้ที่ถูกพันธนาการอยู่ในการคำนวณผลกำไรเพื่อสนองประสาทสัมผัสไม่สามารถได้รับความสงบเช่นนี้ นี่คือความลับของกฺฤษฺณจิตสำนึก ความรู้แจ้งที่ว่าไม่มีสิ่งอื่นใดมีอยู่นอกจากองค์กฺฤษฺณ คือฐานแห่งความสงบและความไม่กลัว

โศลก 13

sarva-karmāṇi manasā
sannyasyāste sukhaṁ vaśī
nava-dvāre pure dehī
naiva kurvan na kārayan
สรฺว-กรฺมาณิ มนสา
สนฺนฺยสฺยาเสฺต สุขํ วศี
นว-ทฺวาเร ปุเร เทหี
ไนว กุรฺวนฺ น การยนฺ
สรฺว — ทั้งหมด, กรฺมาณิ — กิจกรรม, มนสา — ด้วยจิตใจ, สนฺนฺยสฺย — สละ, อาเสฺต — คงอยู่, สุขมฺ — ในความสุข, วศี — ผู้ควบคุม, นว-ทฺวาเร — ในสถานที่ที่มีเก้าประตู, ปุเร — ในเมือง, เทหี — วิญญาณในร่าง, — ไม่, เอว — แน่นอน, กุรฺวนฺ — ทำอะไร, — ไม่, การยนฺ — เป็นต้นเหตุให้ทำ

คำแปล

เมื่อดวงชีวิตในร่างควบคุมธรรมชาติของตนเองได้ และด้วยจิตใจที่สละการกระทำทั้งหมด เขาเป็นผู้พำนักอยู่ในเมืองที่มีเก้าประตู (ร่างวัตถุ) อย่างมีความสุข ไม่ได้ทำงานหรือเป็นต้นเหตุให้งานสำเร็จ

คำอธิบาย

วิญญาณในร่างอาศัยอยู่ในเมืองที่มีเก้าประตู กิจกรรมของร่างกายหรือเมืองอุปมาแห่งร่างกายที่เป็นรูปร่างจะดำเนินการโดยอัตโนมัติ โดยระดับแห่งธรรมชาติวัตถุแบบเฉพาะ ถึงแม้ว่าดวงวิญญาณจะทำตัวมันเองให้ขึ้นอยู่กับสภาวะของร่างกายจะสามารถอยู่เหนือสภาวะเหล่านี้ได้หากตัวเขาต้องการ ที่เป็นเช่นนี้เพราะได้ลืมธรรมชาติที่สูงกว่าของตน และไปสำคัญตัวเองกับร่างวัตถุจึงต้องรับทุกข์ กฺฤษฺณจิตสำนึกจะสามารถฟื้นฟูสถานภาพอันแท้จริงและออกมาจากร่างกายนี้ เมื่อยอมรับ กฺฤษฺณจิตสำนึกเราจะออกห่างจากกิจกรรมทางร่างกายอย่างสมบูรณ์ทันที ในชีวิตที่ควบคุมได้เช่นนี้ที่เจตนารมณ์ได้เปลี่ยนไปเราจะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขในเมืองเก้าประตู ได้กล่าวถึงประตูทั้งเก้าไว้ดังนี้

นว-ทฺวาเร ปุเร เทหี
หํโส เลลายเต พหิห์
วศี สรฺวสฺย โลกสฺย
สฺถาวรสฺย จรสฺย จ
“บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงประทับอยู่ภายในร่างของสิ่งมีชีวิต และทรงเป็นผู้ควบคุมมวลชีวิตในมวลจักรวาล ร่างกายประกอบด้วยเก้าประตู (สองตา สองโพรงจมูก สองหู หนึ่งปาก หนึ่งทวาร และอวัยวะสืบพันธุ์) สิ่งมีชีวิตในระดับวัตถุสำคัญตนเองกับร่างกาย แต่เมื่อสำคัญตนเองกับองค์ภควานฺภายในร่างเขาจะมีอิสรภาพเท่าๆกับองค์ภควานฺ แม้ขณะอยู่ในร่างกายนี้” (เศฺวตาศฺวตร อุปนิษทฺ 3.18)

ฉะนั้นบุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงเป็นอิสระจากกิจกรรมทั้งภายนอกและภายในร่างวัตถุ

โศลก 14

na kartṛtvaṁ na karmāṇi
lokasya sṛjati prabhuḥ
na karma-phala-saṁyogaṁ
svabhāvas tu pravartate
น กรฺตฺฤตฺวํ น กรฺมาณิ
โลกสฺย สฺฤชติ ปฺรภุห์
น กรฺม-ผล-สํโยคํ
สฺวภาวสฺ ตุ ปฺรวรฺตเต
— ไม่, กรฺตฺฤตฺวมฺ — ความเป็นเจ้าของ, — ไม่, กรฺมาณิ — กิจกรรม, โลกสฺย — ของประชาชน, สฺฤชติ — สร้าง, ปฺรภุห์ — เจ้านายของนครแห่งร่างกาย, — ไม่, กรฺม-ผล — ด้วยผลของกิจกรรม, สํโยคมฺ — เชื่อม, สฺวภาวห์ — ระดับของธรรมชาติวัตถุ, ตุ — แต่, ปฺรวรฺตเต — ปฏิบัติ

คำแปล

วิญญาณในร่างเป็นเจ้าเมืองแห่งร่างกายของเขา มิได้เป็นผู้สร้างกิจกรรม หรือว่าชักนำให้ผู้คนกระทำ หรือว่าตัวเขาเป็นผู้สร้างผลของการกระทำ ทั้งหมดนี้บัญญัติโดยระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ

คำอธิบาย

สิ่งมีชีวิตซึ่งจะอธิบายในบทที่เจ็ดเป็นหนึ่งในพลังงานหรือธรรมชาติขององค์ภควานฺ แต่แตกต่างจากวัตถุซึ่งเป็นอีกธรรมชาติหนึ่งที่ต่ำกว่าขององค์ภควานฺ อย่างไรก็ดีสิ่งมีชีวิตหรือธรรมชาติที่สูงกว่าได้มาสัมผัสกับธรรมชาติวัตถุตั้งแต่โบราณกาล ร่างกายอันไม่ถาวรหรือสถานที่พำนักวัตถุที่เขาได้รับเป็นต้นเหตุของกิจกรรมและวิบากกรรมต่างๆนานา การมีชีวิตอยู่ในบรรยากาศวัตถุเช่นนี้เขาจึงได้รับความทุกข์จากผลกรรมของร่างกายเนื่องจากสำคัญตัวเองกับร่างกาย (ในอวิชชา) ความอวิชชาเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์และความเศร้าโศกทางร่างกายที่รับเอามาตั้งแต่โบราณกาล ทันทีที่สิ่งมีชีวิตตีตัวออกห่างจากกิจกรรมทางร่างกายก็จะมีอิสรเสรีจากวิบากกรรมด้วย ตราบใดที่ยังอยู่ในนครแห่งร่างกายอาจดูเหมือนว่าเป็นเจ้านาย แต่แท้ที่จริงไม่ได้เป็นทั้งเจ้าของหรือผู้ควบคุมการกระทำและผลกรรมของร่างกาย เขาเพียงแต่อยู่ในใจกลางมหาสมุทรวัตถุดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด คลื่นแห่งมหาสมุทรกำลังซัดพาไปและตัวเขาควบคุมมันไม่ได้ ผลสรุปที่ดีที่สุดของเขาคือออกจากมหาสมุทรนี้ด้วยกฺฤษฺณจิตสำนึกทิพย์ ซึ่งเป็นสิ่งเดียวเท่านั้นที่จะช่วยเขาให้พ้นจากความยุ่งยากทั้งปวง

โศลก 15

nādatte kasyacit pāpaṁ
na caiva sukṛtaṁ vibhuḥ
ajñānenāvṛtaṁ jñānaṁ
tena muhyanti jantavaḥ
นาทตฺเต กสฺยจิตฺ ปาปํ
น ไจว สุกฺฤตํ วิภุห์
อชฺญาเนนาวฺฤตํ ชฺญานํ
เตน มุหฺยนฺติ ชนฺตวห์
— ไม่, อาทตฺเต — รับ, กสฺยจิตฺ — ของผู้ใด, ปาปมฺ — บาป, — ไม่, — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, สุ-กฺฤตมฺ — กิจกรรมบุญ, วิภุห์ — องค์ภควาน, อชฺญาเนน — ด้วยอวิชชา, อาวฺฤตมฺ — ปกคลุม, ชฺญานมฺ — ความรู้, เตน — ด้วยสิ่งนั้น, มุหฺยนฺติ — สับสน, ชนฺตวห์ — สิ่งมีชีวิต

คำแปล

องค์ภควานทรงมิได้ถืออภิสิทธิ์เอากิจกรรมบาปหรือบุญของผู้ใด อย่างไรก็ดีดวงวิญญาณในร่างสับสนเนื่องมาจากอวิชชาที่ปกคลุมความรู้อันแท้จริงของพวกเขา

คำอธิบาย

คำสันสกฤษ วิภุ หมายความถึงองค์ภควานฺผู้ทรงเปี่ยมไปด้วยความรู้ ความร่ำรวย พลังอำนาจ ชื่อเสียง ความสง่างาม และความเสียสละ พระองค์ทรงพึงพอพระทัยในพระองค์เองอยู่เสมอ ไม่ทรงถูกรบกวนด้วยการทำบาปหรือทำบุญ พระองค์ทรงมิได้สร้างสถานการณ์เฉพาะสำหรับสิ่งมีชีวิตใดๆ แต่สิ่งมีชีวิตสับสนด้วยอวิชชาและต้องการให้ตนเองถูกส่งมาอยู่ในสภาวะชีวิตวัตถุบางแห่ง ดังนั้นโซ่ตรวนแห่งกรรมและวิบากกรรมจึงเริ่มขึ้น สิ่งมีชีวิตเป็นธรรมชาติที่สูงกว่าซึ่งเปี่ยมไปด้วยความรู้ อย่างไรก็ดีเขามีแนวโน้มที่จะถูกอวิชชาครอบงำอันเนื่องมาจากพลังอำนาจที่จำกัดในตนเอง องค์ภควานฺทรงมีพระเดชทั้งปวงแต่สิ่งมีชีวิตไม่มี พระองค์ทรงเป็น วิภุ หรือสัพพัญญู แต่สิ่งมีชีวิตเป็น อณุ หรือละอองเล็กๆ เนื่องจากเป็นวิญญาณที่มีชีวิตจึงมีความสามารถที่จะต้องการตามสิทธิของตน ความต้องการเช่นนี้องค์ภควานฺ ผู้ทรงมีพระเดชทั้งปวงเท่านั้นที่จะตอบสนองให้ได้ ฉะนั้นเมื่อสิ่งมีชีวิตสับสนอยู่ในความต้องการของตนเองพระองค์ทรงอนุญาตให้เขาตอบสนองความต้องการเหล่านั้น แต่ทรงมิได้รับผิดชอบต่อกรรมหรือผลกรรมของแต่ละสถานการณ์ที่แต่ละชีวิตอาจปรารถนา ดังนั้นขณะที่อยู่ในสภาวะสับสนชีวิตในร่างสำคัญตนเองกับสถานการณ์ร่างกายวัตถุ และจะถูกจำกัดอยู่ในความทุกข์และความสุขอันไม่ถาวรของชีวิต องค์ภควานฺทรงเป็นสหายของสิ่งมีชีวิตอยู่เสมอในฐานะ ปรมาตฺมา หรืออภิวิญญาณ ฉะนั้นพระองค์ทรงเข้าใจความต้องการของปัจเจกวิญญาณ เสมือนดั่งเช่นเราสามารถได้กลิ่นของดอกไม้เมื่อเข้าไปใกล้ ความต้องการเป็นรูปแบบที่ละเอียดอ่อนของสิ่งมีชีวิตในสภาวะวัตถุ พระองค์ทรงสนองตอบความต้องการตามที่เขาควรได้รับ มนุษย์เสนอและองค์ภควานฺทรงสนอง ดังนั้นปัจเจกชีวิตมิได้มีอำนาจทั้งหมดในการสนองตอบความต้องการของตนเอง อย่างไรก็ดีองค์ภควานฺทรงสามารถสนองตอบความต้องการทั้งหมด และทรงไม่มีอคติต่อผู้ใด พระองค์จึงทรงไม่รบกวนกับความต้องการของสิ่งมีชีวิตผู้มีเสรีภาพเพียงน้อยนิด เมื่อเขาปรารถนาองค์กฺฤษฺณจะทรงดูแลเป็นพิเศษ และสนับสนุนเขาให้ปรารถนาในหนทางที่สามารถบรรลุถึงพระองค์และมีความสุขนิรันดร ฉะนั้นบทมนต์พระเวท กล่าวว่า เอษ อุ หฺยฺ เอว สาธุ กรฺม การยติ ตํ ยมฺ เอโภฺย โลเกภฺย อุนฺนินีษเต เอษ อุ เอวาสาธุ กรฺม การยติ ยมฺ อโธ นินีษเต “องค์ภควานฺทรงให้สิ่งมีชีวิตทำบุญเพื่ออาจเจริญขึ้น ทรงให้สิ่งมีชีวิตทำบาปเพื่ออาจไปลงนรก” (เกาษีตกี อุปนิษทฺ 3.8)

อชฺโญ ชนฺตุรฺ อนีโศ ’ยมฺ
อาตฺมนห์ สุข-ทุห์ขโยห์
อีศฺวร-เปฺรริโต คจฺเฉตฺ
สฺวรฺคํ วาศฺวฺ อภฺรมฺ เอว จ
“สิ่งมีชีวิตมีเสรีภาพโดยสมบูรณ์ต่อความทุกข์หรือความสุขของตนเอง ด้วยความปรารถนาขององค์ภควานฺทำให้เขาสามารถไปสวรรค์หรือลงนรก เสมือนดั่งเมฆที่ลอยไปตามลม”

ฉะนั้นวิญญาณในร่างพร้อมทั้งความต้องการตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ปรารถนาจะหลีกเลี่ยงกฺฤษฺณจิตสำนึก จึงเป็นสาเหตุแห่งความสับสนของตนเอง ดังนั้นถึงแม้ว่าโดยพื้นฐานตัวเขาจะเป็นอมตะ มีความปลื้มปีติสุข และรอบรู้ แต่ด้วยความเป็นละอองอณูเล็กๆจึงถูกอวิชชาครอบงำจนลืมสถานภาพพื้นฐานว่าเป็นผู้รับใช้ขององค์ภควานฺ สิ่งมีชีวิตอ้างว่าพระองค์ทรงเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเป็นอยู่ทางสภาวะวัตถุของเขา เวทานฺต-สูตฺร (2.1.34) ได้ยืนยันเช่นกันว่า ไวษมฺย-ไนรฺฆฺฤเณฺย สาเปกฺษตฺวาตฺ ตถา หิ ทรฺศยติ “องค์ภควานฺทรงไม่เกลียดและไม่ชอบผู้ใด แม้ว่าพระองค์ทรงดูเหมือนว่าทรงจะเป็นเช่นนั้น”

โศลก 16

jñānena tu tad ajñānaṁ
yeṣāṁ nāśitam ātmanaḥ
teṣām āditya-vaj jñānaṁ
prakāśayati tat param
ชฺญาเนน ตุ ตทฺ อชฺญานํ
เยษำ นาศิตมฺ อาตฺมนห์
เตษามฺ อาทิตฺย-วชฺ ชฺญานํ
ปฺรกาศยติ ตตฺ ปรมฺ
ชฺญาเนน — ด้วยความรู้, ตุ — แต่, ตตฺ — นั้น, อชฺญานมฺ — อวิชชา, เยษามฺ — ของเขา, นาศิตมฺ — ถูกทำลาย, อาตฺมนห์ — ของสิ่งมีชีวิต, เตษามฺ — ของพวกเขา, อาทิตฺย-วตฺ — เหมือนกับดวงอาทิตย์ขึ้น, ชฺญานมฺ — ความรู้, ปฺรกาศยติ — เปิดเผย, ตตฺ ปรมฺ — กฺฤษฺณจิตสำนึก

คำแปล

อย่างไรก็ดี เมื่อเขาได้รับแสงสว่างจากความรู้ซึ่งอวิชชาถูกทำลายลง ความรู้จะเปิดเผยทุกสิ่งทุกอย่าง เสมือนดังดวงอาทิตย์ที่บันดาลให้ทุกสิ่งทุกอย่างสว่างไสวขึ้นในเวลากลางวัน

คำอธิบาย

บุคคลที่ลืมองค์กฺฤษฺณต้องเกิดความสับสนอย่างแน่นอน แต่บุคคลที่อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่สับสนเลย ได้กล่าวไว้ใน ภควัท-คีตา ว่า สรฺวํ ชฺญาน-ปฺลเวน, ชฺญานาคฺนิห์ สรฺว-กรฺมาณิ และ หิ ชฺญาเนน สทฺฤศมฺ ความรู้เป็นที่น่าสรรเสริญอย่างยิ่งเสมอ และความรู้นั้นคืออะไร ความรู้ที่สมบูรณ์ได้รับเมื่อเขาศิโรราบต่อองค์กฺฤษฺณ ดังที่ได้กล่าวไว้ในบทที่เจ็ด โศลกที่ 19 ว่า พหูนำ ชนฺมนามฺ อนฺเต ชฺญานวานฺ มำ ปฺรปทฺยเต หลังจากที่ได้ผ่านมาหลายต่อหลายชาติ เมื่อความรู้สมบูรณ์เขาจะศิโรราบต่อองค์กฺฤษฺณ หรือเมื่อมาถึงกฺฤษฺณจิตสำนึกทุกสิ่งทุกอย่างจะเปิดเผยต่อเขาเสมือนทุกสิ่งทุกอย่างเปิดเผยโดยพระอาทิตย์ในเวลากลางวัน สิ่งมีชีวิตสับสนในหลายๆด้าน ตัวอย่างเช่น เมื่อคิดอย่างไม่มีพิธีรีตองว่าตัวเขาเป็นองค์ภควานฺเขาได้ตกลงสู่หลุมพรางสุดท้ายแห่งอวิชชา ความจริงแล้วหากสิ่งมีชีวิตเป็นองค์ภควานฺแล้วจะสับสนด้วยอวิชชาได้อย่างไร องค์ภควานฺทรงสับสนด้วยอวิชชาได้เช่นนั้นหรือ หากเป็นเช่นนั้นอวิชชาหรือซาตานก็ยิ่งใหญ่ไปกว่าองค์ภควานฺ ความรู้ที่แท้จริงรับได้จากบุคคลผู้อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ ฉะนั้นเราต้องค้นหาพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้นี้และภายใต้การแนะนำของท่าน เราเรียนรู้ว่า กฺฤษฺณจิตสำนึกคืออะไรเพราะกฺฤษฺณจิตสำนึกจะผลักดันอวิชชาทั้งหมดให้ออกไปอย่างแน่นอน เหมือนกับดวงอาทิตย์ที่ผลักดันความมืดได้ฉันใด แม้ว่าบุคคลอาจมีความรู้อย่างสมบูรณ์ว่าตัวเขาไม่ใช่ร่างกายแต่เป็นทิพย์เหนือร่างกายนี้ เขาอาจจะไม่สามารถแยกแยะระหว่างอนุวิญญาณและอภิวิญญาณได้ อย่างไรก็ดีเขาสามารถรู้ทุกสิ่งทุกอย่างได้เป็นอย่างดีหากยินดีไปพึ่งพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้ที่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ เขาสามารถรู้ถึงองค์ภควานฺและความสัมพันธ์ของเขากับพระองค์ได้เมื่อมาพบผู้แทนของพระองค์จริงๆ ผู้แทนขององค์ภควานฺจะไม่อ้างตนเองว่าเป็น ภควานฺ แม้ว่าผู้คนจะให้ความเคารพบูชาท่านทุกอย่างเสมือนดัง ภควานฺ เพราะว่าท่านมีความรู้แห่งองค์ภควานฺ เราต้องเรียนรู้ถึงข้อแตกต่างระหว่างองค์ภควานและสิ่งมีชีวิต ดังนั้นองค์ศฺรี กฺฤษฺณตรัสไว้ในบทที่สอง (2.12) ว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหมดเป็นปัจเจกบุคคล และองค์ภควานฺก็ทรงเป็นปัจเจกบุคคลเช่นเดียวกัน พวกเขาเป็นปัจเจกบุคคลในอดีต เป็นปัจเจกบุคคลในปัจจุบัน และจะยังคงเป็นปัจเจกบุคคลต่อไปในอนาคตแม้หลังจากหลุดพ้นแล้ว ในเวลากลางคืนเราเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเป็นหนึ่งเดียวกันอยู่ในความมืด แต่ในเวลากลางวันเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นเราจะเห็นทุกสิ่งทุกอย่างตามรูปพรรณอันแท้จริงของทุกสิ่งทุกอย่าง รูปพรรณและความเป็นปัจเจก บุคคลในชีวิตทิพย์คือความรู้ที่แท้จริง

โศลก 17

tad-buddhayas tad-ātmānas
tan-niṣṭhās tat-parāyaṇāḥ
gacchanty apunar-āvṛttiṁ
jñāna-nirdhūta-kalmaṣāḥ
ตทฺ-พุทฺธยสฺ ตทฺ-อาตฺมานสฺ
ตนฺ-นิษฺฐาสฺ ตตฺ-ปรายณาห์
คจฺฉนฺตฺยฺ อปุนรฺ-อาวฺฤตฺตึ
ชฺญาน-นิรฺธูต-กลฺมษาห์
ตตฺ-พุทฺธยห์ — ผู้ที่ปัญญาอยู่ในองค์ภควานเสมอ, ตตฺ-อาตฺมานห์ — ผู้ที่จิตใจอยู่ในองค์ภควานเสมอ, ตตฺ-นิษฺฐาห์ — ผู้ที่มีความศรัทธาอยู่ในองค์ภควานเท่านั้น, ตตฺ-ปรายณาห์ — ผู้ที่รับเอาองค์ภควานเป็นที่พึ่งโดยสมบูรณ์, คจฺฉนฺติ — ไป, อปุนห์-อาวฺฤตฺติมฺ — สู่ความหลุดพ้น, ชฺญาน — ด้วยความรู้, นิรฺธูต — ทำให้บริสุทธิ์, กลฺมษาห์ — ความแคลงใจ

คำแปล

เมื่อปัญญา จิตใจ ศรัทธา และที่พึ่งของเขาทั้งหมดตั้งมั่นอยู่ในองค์ภควาน จากนั้นความสงสัยได้ถูกชะล้างไปจนหมดสิ้นด้วยความรู้ที่สมบูรณ์ เขาก็จะมุ่งหน้าไปสู่หนทางแห่งความหลุดพ้น

คำอธิบาย

สัจธรรมทิพย์สูงสุดคือองค์ศฺรี กฺฤษฺณ ภควัท-คีตา ทั้งเล่มมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่การประกาศว่าองค์กฺฤษฺณคือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า นั่นคือวิสัยทัศน์ของวรรณกรรมพระเวททั้งหมด ปร-ตตฺตฺว หมายถึงความจริงแท้ที่สูงสุด ผู้ที่ทราบว่าองค์ภควานฺทรงเป็น พฺรหฺมนฺ ปรมาตฺมา และ ภควานฺ เข้าใจว่า ภควานฺ หรือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าคือคำสุดท้ายแห่งความสมบูรณ์ที่แท้จริง ไม่มีอะไรที่มากไปกว่านี้ พระองค์ตรัสว่า มตฺตห์ ปรตรํ นานฺยตฺ กิญฺจิทฺ อสฺติ ธนญฺ-ชย องค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้ค้ำจุน พฺรหฺมนฺ ที่ไร้รูปลักษณ์ไว้เช่นเดียวกัน พฺรหฺมโณ หิ ปฺรติษฺฐาหมฺ ฉะนั้นในทุกๆทางองค์กฺฤษฺณทรงเป็นความจริงแท้ที่สูงสุด ผู้ที่จิตใจ ปัญญา ความศรัทธา และที่พึ่งอยู่ในองค์กฺฤษฺณเสมอ หรืออีกนัยหนึ่งคือผู้ที่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ ความเคลือบแคลงทั้งหมดได้ถูกชะล้างให้สะอาดอย่างไม่ต้องสงสัย และสถิตในความรู้อันสมบูรณ์ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับความเป็นทิพย์ บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกสามารถเข้าใจโดยตลอดว่ามีสิ่งคู่ (มีรูปพรรณและความเป็นปัจเจกบุคคลในขณะเดียวกัน) ในองค์กฺฤษฺณ และเพียบพร้อมไปด้วยความรู้ทิพย์ เช่นนี้เขาจะสามารถเจริญก้าวหน้าด้วยความมั่นคงบนหนทางแห่งความหลุดพ้น

โศลก 18

vidyā-vinaya-sampanne
brāhmaṇe gavi hastini
śuni caiva śva-pāke ca
paṇḍitāḥ sama-darśinaḥ
วิทฺยา-วินย-สมฺปนฺเน
พฺราหฺมเณ ควิ หสฺตินิ
ศุนิ ไจว ศฺว-ปาเก จ
ปณฺฑิตาห์ สม-ทรฺศินห์
วิทฺยา — ด้วยการศึกษา, วินย — และความอ่อนโยน, สมฺปนฺเน — เพียบพร้อมด้วย, พฺราหฺมเณ — ใน พฺราหฺมณ, ควิ — ในวัว, หสฺตินิ — ในช้าง, ศุนิ — ในสุนัข, — และ, เอว — แน่นอน, ศฺว-ปาเก — ในผู้กินเนื้อสุนัข (คนชั้นต่ำ), — โดยลำดับ, ปณฺฑิตาห์ — พวกที่มีสติปัญญา, สม-ทรฺศินห์ — ผู้เห็นด้วยสายตาที่เสมอภาค

คำแปล

ด้วยผลจากความรู้ที่แท้จริง นักปราชญ์ผู้ถ่อมตนมองเห็นพราหมณ์สุภาพผู้คงแก่เรียน วัว ช้าง สุนัข หรือคนกินสุนัข (คนชั้นต่ำ) ด้วยสายตาที่เสมอภาค

คำอธิบาย

บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่แบ่งแยกระหว่างเผ่าพันธุ์หรือชั้นวรรณะ พราหมณ์และคนชั้นต่ำอาจแตกต่างกันในมุมมองของสังคม หรือ สุนัข วัว และช้างอาจแตกต่างกันจากมุมมองของเผ่าพันธุ์ แต่ข้อแตกต่างของร่างกายเหล่านี้ไม่มีความหมายสำหรับมุมมองของนักปราชญ์ทิพย์ ที่เป็นเช่นนี้ได้ก็เนื่องจากความสัมพันธ์ที่มีต่อองค์ภควานฺ เพราะว่าภาคอวตารอภิวิญญาณขององค์ภควานฺทรงประทับอยู่ภายในหัวใจของทุกๆชีวิตความเข้าใจถึงองค์ภควานฺ เช่นนี้คือสัจธรรม เกี่ยวกับร่างกายในชั้นวรรณะหรือเผ่าพันธุ์ของชีวิตที่แตกต่างกัน องค์ภควานฺทรงมีพระเมตตาเสมอภาคต่อทุกๆชีวิตเพราะว่าพระองค์ทรงปฏิบัติต่อทุกชีวิตเสมือนดังสหายของพระองค์และยังทรงดำรงพระองค์เองเป็น ปรมาตฺมา ไม่ว่าสถานภาพของสิ่งมีชีวิตจะเป็นเช่นไร องค์ภควานฺในรูปของ ปรมาตฺมา ทรงประทับอยู่ทั้งในคนชั้นต่ำและในพราหมณ์แม้ว่าร่างของพราหมณ์และร่างของคนชั้นต่ำจะไม่เหมือนกัน ร่างกายเป็นผลผลิตทางวัตถุในระดับของธรรมชาติวัตถุที่แตกต่างกัน แต่ดวงวิญญาณและอภิวิญญาณภายในร่างกายมีคุณสมบัติทิพย์เท่าเทียมกัน คุณสมบัติของปัจเจกวิญญาณและอภิวิญญาณคล้ายคลึงกัน อย่างไรก็ดีคงมิได้ทำให้ปริมาณของทั้งสองเท่าเทียมกันเพราะว่าปัจเจกวิญญาณอาศัยอยู่ในเฉพาะร่างร่างหนึ่งเท่านั้น ในขณะที่อภิวิญญาณทรงประทับอยู่ในทุกๆร่างบุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกมีความรู้อย่างสมบูรณ์ในข้อนี้ ฉะนั้นจึงเป็นนักปราชญ์ที่แท้จริงและมีวิศัยทัศน์ที่เสมอภาค ลักษณะที่คล้ายคลึงกันของอนุวิญญาณและอภิวิญญาณคือทั้งคู่มีจิตสำนึกเป็นอมตะและมีความปลื้มปีติสุข แต่ข้อแตกต่างคือปัจเจกวิญญาณมีจิตสำนึกภายในอาณาเขตของร่างกายที่จำกัด ในขณะที่อภิวิญญาณทรงมีจิตสำนึกของร่างกายทั้งหมด องค์อภิวิญญาณทรงประทับอยู่ในทุกๆร่างกายโดยไม่มีการแบ่งแยก

โศลก 19

ihaiva tair jitaḥ sargo
yeṣāṁ sāmye sthitaṁ manaḥ
nirdoṣaṁ hi samaṁ brahma
tasmād brahmaṇi te sthitāḥ
อิไหว ไตรฺ ชิตห์ สรฺโค
เยษำ สาเมฺย สฺถิตํ มนห์
นิรฺโทษํ หิ สมํ พฺรหฺม
ตสฺมาทฺ พฺรหฺมณิ เต สฺถิตาห์
อิห — ในชีวิตนี้, เอว — แน่นอน, ไตห์ — โดยพวกเขา, ชิตห์ — ชัยชนะ, สรฺคห์ — การเกิดและตาย, เยษามฺ — ผู้ซึ่ง, สาเมฺย — ในความสงบใจ, สฺถิตมฺ — สถิต, มนห์ — จิตใจ, นิรฺโทษมฺ — ไม่มีมลทิน, หิ — แน่นอน, สมมฺ — ในความสงบใจ, พฺรหฺม — เหมือนองค์ภควาน, ตสฺมาตฺ — ดังนั้น, พฺรหฺมณิ — ในองค์ภควาน, เต — พวกเขา, สฺถิตาห์ — สถิต

คำแปล

พวกที่จิตใจสถิตในความมั่นคงและสงบเป็นผู้ที่ได้รับชัยชนะจากสภาวะแห่งการเกิดและการตายแล้ว พวกนี้ไม่มีมลทินเหมือน พฺรหฺมนฺ ฉะนั้น เท่ากับเขาได้สถิตใน พฺรหฺมนฺ เรียบร้อยแล้ว

คำอธิบาย

ความสงบของจิตใจที่ได้กล่าวข้างต้นนี้เป็นเครื่องหมายของความรู้แจ้งแห่งตน บุคคลที่บรรลุถึงระดับนี้อย่างแท้จริงควรได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้ที่ได้รับชัยชนะสภาวะทางวัตถุแล้ว โดยเฉพาะการเกิดและการตาย ตราบใดที่แสดงตัวกับร่างกายนี้พิจารณาได้ว่าเขาคือพันธวิญญาณ แต่ในทันทีที่พัฒนามาถึงระดับแห่งความสงบด้วยการรู้แจ้งตนเองเขาเป็นอิสระจากพันธชีวิต หรืออีกนัยหนึ่งเขาไม่ต้องเกิดในโลกวัตถุนี้อีกต่อไป แต่สามารถบรรลุถึงอาณาจักรทิพย์หลังจากตายไป องค์ภควานฺทรงไม่มีมลทินเพราะทรงปราศจากความยึดติดหรือความเกลียดชัง ในทำนองเดียวกันเมื่อสิ่งมีชีวิตปราศจากความยึดติดหรือความเกลียดชังตัวเขาก็ไร้มลทินได้เช่นเดียวกัน และมีสิทธิ์บรรลุถึงอาณาจักรทิพย์ บุคคลเช่นนี้พิจารณาได้ว่าเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว และลักษณะอาการเป็นเช่นไรจะได้อธิบายต่อไป

โศลก 20

na prahṛṣyet priyaṁ prāpya
nodvijet prāpya cāpriyam
sthira-buddhir asammūḍho
brahma-vid brahmaṇi sthitaḥ
น ปฺรหฺฤเษฺยตฺ ปฺริยํ ปฺราปฺย
โนทฺวิเชตฺ ปฺราปฺย จาปฺริยมฺ
สฺถิร-พุทฺธิรฺ อสมฺมูโฒ
พฺรหฺม-วิทฺ พฺรหฺมณิ สฺถิตห์
— ไม่เคย, ปฺรหฺฤเษฺยตฺ — รื่นเริง, ปฺริยมฺ — พอใจ, ปฺราปฺย — ได้รับ, — ไม่เคย, อุทฺวิเชตฺ — หงุดหงิด, ปฺราปฺย — ได้รับ, — เช่นกัน, อปฺริยมฺ — ไม่พอใจ, สฺถิร-พุทฺธิห์ — ปัญญาในตัว, อสมฺมูฒห์ — ไม่สับสน, พฺรหฺม-วิตฺ — ผู้รู้องค์ภควานโดยสมบูรณ์, พฺรหฺมณิ — ในความเป็นทิพย์, สฺถิตห์ — สถิต

คำแปล

บุคคลผู้ไม่ร่าเริงเมื่อได้รับสิ่งที่พึงพอใจ ไม่เสียใจเมื่อได้รับสิ่งที่ไม่พึงพอใจ เป็นผู้มีปัญญาอยู่ในตัว ไม่สับสน และรู้ศาสตร์แห่งองค์ภควานฺถือว่าเป็นผู้สถิตในความเป็นทิพย์เรียบร้อยแล้ว

คำอธิบาย

ลักษณะอาการของผู้รู้แจ้งตนเองได้ให้ไว้ที่นี้ ลักษณะอาการแรกคือเขาไม่อยู่ในความหลงผิดคิดว่าร่างกายนี้คือตัวจริงของเขา เขารู้ดีว่าตัวเขาไม่ใช่ร่างกายนี้แต่เป็นละอองอณูของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ฉะนั้นจึงไม่รื่นเริงเมื่อได้รับบางสิ่งบางอย่าง หรือไม่เสียใจเมื่อสูญเสียบางสิ่งบางอย่างที่สัมพันธ์กับร่างกาย จิตใจที่มั่นคงเช่นนี้เรียกว่า สฺถิร-พุทฺธิ หรือผู้มีปัญญาในตัว ฉะนั้นเขาจึงไม่สับสนด้วยความเข้าใจผิดว่าร่างกายอันหยาบนี้เป็นดวงวิญญาณของเขา และเขาไม่ยอมรับว่าร่างกายนี้ถาวรจนปฏิเสธความมีอยู่ของดวงวิญญาณ ความรู้นี้พัฒนาตัวเขามาถึงจุดที่รู้ศาสตร์แห่งสัจธรรมที่สมบูรณ์ เช่น พฺรหฺมนฺ ปรมาตฺมา และ ภควานฺ เขาจึงรู้สถานภาพพื้นฐานของตัวเองเป็นอย่างดี โดยปราศจากความพยายามผิดๆที่จะไปเป็นหนึ่งเดียวกับองค์ภควานฺในทุกๆด้าน เช่นนี้เรียกว่าความรู้แจ้ง พฺรหฺมนฺ หรือความรู้แจ้งแห่งตนจิตสำนึกที่มั่นคงเช่นนี้เรียกว่ากฺฤษฺณจิตสำนึก

โศลก 21

bāhya-sparśeṣv asaktātmā
vindaty ātmani yat sukham
sa brahma-yoga-yuktātmā
sukham akṣayam aśnute
พาหฺย-สฺปรฺเศษฺวฺ อสกฺตาตฺมา
วินฺทตฺยฺ อาตฺมนิ ยตฺ สุขมฺ
ส พฺรหฺม-โยค-ยุกฺตาตฺมา
สุขมฺ อกฺษยมฺ อศฺนุเต
พาหฺย-สฺปรฺเศษุ — ในความสุขของประสาทสัมผัสภายนอก, อสกฺต-อาตฺมา — ผู้ที่ไม่ยึดติด, วินฺทติ — เพลิดเพลิน, อาตฺมนิ — ในตัวเขา, ยตฺ — ที่ซึ่ง, สุขมฺ — ความสุข, สห์ — เขา, พฺรหฺม-โยค — ด้วยการตั้งสมาธิใน พฺรหฺมนฺ, ยุกฺต-อาตฺมา — เชื่อมตนเองกับ, สุขมฺ — ความสุข, อกฺษยมฺ — ไร้ขอบเขต, อศฺนุเต — เพลิดเพลิน

คำแปล

ผู้ที่หลุดพ้นเช่นนี้ไม่หลงใหลอยู่กับความสุขทางประสาทสัมผัสวัตถุ แต่จะอยู่ในสมาธิเสมอ เพลิดเพลินกับความสุขภายใน ด้วยเหตุนี้บุคคลผู้รู้แจ้งแห่งตนจะเพลิดเพลินอยู่กับความสุขอันหาที่สุดมิได้ เพราะเขาทำสมาธิอยู่ที่องค์ภควาน

คำอธิบาย

ศฺรี ยามุนาจารฺย สาวกผู้ยิ่งใหญ่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกกล่าวว่า

ยทฺ-อวธิ มม เจตห์ กฺฤษฺณ-ปาทารวินฺเท
นว-นว-รส-ธามนฺยฺ อุทฺยตํ รนฺตุมฺ อาสีตฺ
ตทฺ-อวธิ พต นารี-สงฺคเม สฺมรฺยมาเน
ภวติ มุข-วิการห์ สุษฺฐุ นิษฺฐีวนํ จ
“ตั้งแต่อาตมาปฏิบัติตนรับใช้ทิพย์แด่องค์กฺฤษฺณก็ได้รู้แจ้งถึงความปลื้มปีติสุขใหม่ๆในพระองค์เสมอ เมื่อใดที่อาตมาคิดถึงความสุขทางเพศสัมพันธ์จะถ่มน้ำลายให้กับความคิดเช่นนั้น และจะโบ้ยริมฝีปากแบบไม่ชอบใจ” บุคคลใน พฺรหฺม-โยค หรือกฺฤษฺณจิตสำนึกซึมซาบมากในการรับใช้ด้วยความรักต่อองค์ภควานฺจนตัวเองสูญเสียรสชาติแห่งความสุขทางประสาทสัมผัสวัตถุทั้งหมด ความสุขสูงสุดทางวัตถุคือเพศสัมพันธ์ โลกทั้งโลกเคลื่อนไหวไปภายใต้มนต์สะกดนี้ นักวัตถุนิยมไม่สามารถทำงานได้เลยหากขาดซึ่งแรงกระตุ้นจากเพศสัมพันธ์นี้ แต่บุคคลผู้ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกสามารถจะทำงานด้วยความกระปรี้กระเปร่ายิ่งขึ้นโดยปราศจากความสุขทางเพศสัมพันธ์ซึ่งเขาพยายามหลีกเลี่ยง นั่นคือรสชาติในความรู้แจ้งทิพย์ ความรู้แจ้งทิพย์และความสุขทางเพศสัมพันธ์ไปด้วยกันไม่ได้ บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่หลงใหลต่อความสุขทางประสาทสัมผัสใดๆทั้งสิ้น เนื่องจากตัวเขาเป็นดวงวิญญาณผู้หลุดพ้นแล้ว

โศลก 22

ye hi saṁsparśa-jā bhogā
duḥkha-yonaya eva te
ādy-antavantaḥ kaunteya
na teṣu ramate budhaḥ
เย หิ สํสฺปรฺศ-ชา โภคา
ทุห์ข-โยนย เอว เต
อาทฺยฺ-อนฺตวนฺตห์ เกานฺเตย
น เตษุ รมเต พุธห์
เย — พวกเขา, หิ — แน่นอน, สํสฺปรฺศ-ชาห์ — ด้วยการมาสัมผัสกับประสาทสัมผัสวัตถุ, โภคาห์ — ความเพลิดเพลิน, ทุห์ข — ความทุกข์, โยนยห์ — แหล่งกำเนิดของ, เอว — แน่นอน, เต — พวกเขาเป็น, อาทิ — เริ่มต้น, อนฺต — จบ, วนฺตห์ — อยู่ในอำนาจ, เกานฺเตย — โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี, — ไม่เคย, เตษุ — ในสิ่งเหล่านั้น, รมเต — ชื่นชมยินดี, พุธห์ — บุคคลผู้มีปัญญา

คำแปล

บุคคลผู้มีปัญญาจะไม่ไปมีส่วนร่วมกับต้นเหตุแห่งความทุกข์อันเนื่องมาจากการไปสัมผัสกับประสาทสัมผัสวัตถุ โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี ความสุขเช่นนี้มีจุดเริ่มต้นและมีจุดจบ ฉะนั้นคนฉลาดจะไม่ชื่นชมยินดีกับมัน

คำอธิบาย

ความสุขทางประสาทสัมผัสวัตถุอันเนื่องจากการมาสัมผัสกับวัตถุซึ่งทั้งหมดเป็นสิ่งชั่วคราว เพราะร่างกายเองก็เป็นสิ่งชั่วคราว ดวงวิญญาณผู้หลุดพ้นไม่สนใจสิ่งใดๆที่ไม่ถาวร รู้ดีถึงความปลื้มปีติแห่งความสุขทิพย์ แล้วดวงวิญญาณผู้หลุดพ้นจะยอมรับเอาความสุขจอมปลอมได้อย่างไร ใน ปทฺม ปุราณ กล่าวว่า

รมนฺเต โยคิโน ’นนฺเต
สตฺยานนฺเท จิทฺ-อาตฺมนิ
อิติ ราม-ปเทนาเสา
ปรํ พฺรหฺมาภิธียเต
“พวกโยคีได้รับความสุขทิพย์อย่างหาที่สุดมิได้จากสัจธรรมที่สมบูรณ์ ฉะนั้นสัจธรรมที่สมบูรณ์สูงสุดองค์ภควานฺจึงทรงมีอีกพระนามหนึ่งว่า ราม

ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (5.5.1) ได้มีกล่าวไว้เช่นกันว่า

นายํ เทโห เทห-ภาชำ นฺฤ-โลเก
กษฺฏานฺ กามานฺ อรฺหเต วิฑฺ-ภุชำ เย
ตโป ทิวฺยํ ปุตฺรกา เยน สตฺตฺวํ
ศุทฺเธฺยทฺ ยสฺมาทฺ พฺรหฺม-เสาขฺยํ ตฺวฺ อนนฺตมฺ
“โอ้ ลูกรัก ไม่มีเหตุผลอันใดที่จะต้องไปทำงานหนักเพื่อความสุขทางประสาทสัมผัสขณะที่มีชีวิตอยู่ในร่างมนุษย์นี้ ความสุขเช่นนี้พวกกินอุจจาระ (สุกร) ก็ยังหาได้โดยง่ายดาย ฉะนั้นเธอควรบำเพ็ญเพียรในชีวิตนี้ซึ่งจะทำให้ความเป็นอยู่ของเธอบริสุทธิ์ขึ้น และจากผลแห่งการกระทำเช่นนี้เธอจะสามารถเพลิดเพลินกับความปลื้มปีติสุขทิพย์อย่างหาที่สุดไม่ได้”

ฉะนั้นพวกที่เป็นโยคีหรือนักทิพย์นิยมผู้มีปัญญาโดยแท้จริงจะไม่หลงใหลอยู่กับความสุขทางประสาทสัมผัสอันเป็นต้นเหตุแห่งความเป็นอยู่ทางวัตถุ ผู้ที่เสพติดกับความสุขทางวัตถุมากเพียงใดเขาก็จะติดกับดักในความทุกข์ทางวัตถุมากยิ่งขึ้น

โศลก 23

śaknotīhaiva yaḥ soḍhuṁ
prāk śarīra-vimokṣaṇāt
kāma-krodhodbhavaṁ vegaṁ
sa yuktaḥ sa sukhī naraḥ
ศกฺโนตีไหว ยห์ โสฒุํ
ปฺรากฺ ศรีร-วิโมกฺษณาตฺ
กาม-โกฺรโธทฺภวํ เวคํ
ส ยุกฺตห์ ส สุขี นรห์
ศกฺโนติ — สามารถ, อิห เอว — ในร่างปัจจุบัน, ยห์ — ผู้ซึ่ง, โสฒุมฺ — อดทน, ปฺรากฺ — ก่อน, ศรีร — ร่างกาย, วิโมกฺษณาตฺ — ยกเลิก, กาม — ความต้องการ, โกฺรธ — และความโกรธ, อุทฺภวมฺ — เกิดขึ้นจาก, เวคมฺ — แรงกระตุ้น, สห์ — เขา, ยุกฺตห์ — ในสมาธิ, สห์ — เขา, สุขี — ความสุข, นรห์ — มนุษย์

คำแปล

ก่อนออกจากร่างปัจจุบันนี้หากผู้ใดสามารถอดทนต่อแรงกระตุ้นของประสาทสัมผัสวัตถุ พร้อมทั้งตรวจสอบอำนาจแห่งความต้องการและความโกรธได้ ผู้นั้นสถิตอย่างดีและมีความสุขอยู่ในโลกนี้

คำอธิบาย

หากผู้ใดต้องการพัฒนาบนหนทางแห่งความรู้แจ้งแห่งตนอย่างสม่ำเสมอต้องพยายามควบคุมอำนาจของประสาทสัมผัสวัตถุซึ่งมีอำนาจของการพูด อำนาจของความโกรธ อำนาจของจิตใจ อำนาจของท้อง อำนาจของอวัยวะเพศ และอำนาจของลิ้น ผู้ที่สามารถควบคุมอำนาจของประสาทสัมผัสต่างๆเหล่านี้ได้ทั้งหมดรวมทั้งจิตใจ เรียกว่า โคสฺวามี หรือ สฺวามี โคสฺวามี เหล่านี้ใช้ชีวิตอยู่แบบควบคุมได้อย่างดี และสลัดทิ้งซึ่งอำนาจของประสาทสัมผัสทั้งหมด ความต้องการทางวัตถุเมื่อไม่สมประสงค์จะทำให้เกิดความโกรธเช่นนี้จิตใจ ดวงตา และหน้าอกจะเกิดอาการเร่าร้อน ฉะนั้นเราต้องฝึกควบคุมประสาทสัมผัสก่อนที่จะออกจากร่างวัตถุนี้ ผู้ที่สามารถทำได้เช่นนี้เข้าใจได้ว่าเป็นผู้รู้แจ้งแห่งตน และมีความสุขอยู่ในระดับแห่งความรู้แจ้งแห่งตน เป็นหน้าที่ของนักทิพย์นิยมที่ต้องพยายามอย่างแข็งขันในการควบคุมความต้องการและความโกรธ

โศลก 24

yo ’ntaḥ-sukho ’ntar-ārāmas
tathāntar-jyotir eva yaḥ
sa yogī brahma-nirvāṇaṁ
brahma-bhūto ’dhigacchati
โย ’นฺตห์-สุโข ’นฺตรฺ-อารามสฺ
ตถานฺตรฺ-โชฺยติรฺ เอว ยห์
ส โยคี พฺรหฺม-นิรฺวาณํ
พฺรหฺม-ภูโต ’ธิคจฺฉติ
ยห์ — ผู้ซึ่ง, อนฺตห์-สุขห์ — ความสุขจากภายใน, อนฺตห์-อารามห์ — มีความตื่นตัวเพลิดเพลินภายใน, ตถา — พร้อมกับ, อนฺตห์-โชฺยติห์ — มีเป้าหมายภายใน, เอว — แน่นอน, ยห์ — ผู้ใด, สห์ — เขา, โยคี — โยคี, พฺรหฺม-นิรฺวาณมฺ — เสรีภาพในองค์ภควาน, พฺรหฺม-ภูตห์ — เป็นผู้รู้แจ้งแห่งตน, อธิคจฺฉติ — ได้รับ

คำแปล

พวกที่มีความสุขอยู่ภายใน มีความตื่นตัวและร่าเริงอยู่ภายใน และเป็นผู้ที่มีเป้าหมายอยู่ภายในเป็นโยคีที่สมบูรณ์โดยแท้จริง เขาหลุดพ้นอยู่ในองค์ภควาน และในที่สุดจะบรรลุถึงพระองค์

คำอธิบาย

เว้นแต่ว่าเราจะได้รับรสแห่งความสุขภายในมิฉะนั้นแล้วจะสามารถยกเลิกกิจกรรมภายนอกเพื่อความสุขเพียงผิวเผินได้อย่างไร บุคคลผู้หลุดพ้นรื่นเริงอยู่กับความสุขด้วยประสบการณ์จริง ดังนั้นจึงสามารถนั่งอย่างสงบเงียบได้ไม่ว่าในสถานที่ใด และร่าเริงกับกิจกรรมแห่งชีวิต ในบุคคลผู้มีอิสระเสรีเช่นนี้จะไม่ต้องการความสุขทางวัตถุภายนอกใดๆทั้งสิ้น ระดับนี้เรียกว่า พฺรหฺม-ภูต ซึ่งเมื่อบรรลุแล้วจะต้องกลับคืนสู่เหย้ากลับคืนสู่องค์ภควานฺอย่างแน่นอน

โศลก 25

labhante brahma-nirvāṇam
ṛṣayaḥ kṣīṇa-kalmaṣāḥ
chinna-dvaidhā yatātmānaḥ
sarva-bhūta-hite ratāḥ
ลภนฺเต พฺรหฺม-นิรฺวาณมฺ
ฤษยห์ กฺษีณ-กลฺมษาห์
ฉินฺน-ไทฺวธา ยตาตฺมานห์
สรฺว-ภูต-หิเต รตาห์
ลภนฺเต — บรรลุ, พฺรหฺม-นิรฺวาณมฺ — เสรีภาพในองค์ภควานฺ, ฤษยห์ — พวกที่ตื่นตัวภายใน, กฺษีณ-กลฺมษาห์ — ผู้ที่ปราศจากบาปทั้งมวล, ฉินฺน — ตัดขาด, ไทฺวธาห์ — สิ่งคู่, ยต-อาตฺมานห์ — ปฏิบัติในความรู้แจ้งแห่งตน, สรฺว-ภูต — เพื่อมวลชีวิต, หิเต — ในงานเพื่อบำรุงสุข, รตาห์ — ปฏิบัติ

คำแปล

บุคคลผู้ที่อยู่เหนือสิ่งคู่ซึ่งเกิดจากความสงสัย จิตใจปฏิบัติอยู่ภายใน มีภารกิจมากเสมอเพื่อบำรุงสุขต่อมวลชีวิต และเป็นอิสระจากความบาปทั้งปวงจะเป็นผู้บรรลุถึงความหลุดพ้นอยู่ในองค์ภควานฺ

คำอธิบาย

บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์เท่านั้นจึงจะกล่าวได้ว่าเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานเพื่อบำรุงสุขต่อมวลชีวิต เมื่อมีความรู้อย่างแท้จริงว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นแหล่งกำเนิดของสรรพสิ่งเขาจะปฏิบัติในสปิริตเช่นนี้เพื่อทุกๆคน ความทุกข์ของมนุษยชาติเกิดมาจากลืมว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้มีความสุขเกษมสำราญสูงสุด ทรงเป็นเจ้าของสูงสุดและทรงเป็นพระสหายสูงสุด ฉะนั้นการปฏิบัติเพื่อฟื้นฟูจิตสำนึกเช่นนี้ภายในมวลสังคมมนุษย์จึงเป็นงานเพื่อบำรุงสุขที่สูงสุด เราไม่สามารถปฏิบัติงานบำรุงสุขชั้นหนึ่งเช่นนี้ได้โดยปราศจากความหลุดพ้นอยู่ในองค์ภควานฺ บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่มีความสงสัยเกี่ยวกับความสูงสุดขององค์กฺฤษฺณ ที่ไม่สงสัยเพราะเขาปราศจากความบาปทั้งปวงโดยสมบูรณ์นี่คือระดับแห่งความรักทิพย์

บุคคลผู้ปฏิบัติเพียงเพื่อจัดการบำรุงสุขทางร่างกายของสังคมมนุษย์ไม่สามารถช่วยผู้ใดได้อย่างแท้จริง การบรรเทาทุกข์ชั่วคราวต่อร่างกายภายนอกรวมทั้งจิตใจจะไม่ทำให้เกิดความพึงพอใจ สาเหตุที่แท้จริงของความยากลำบากในการดิ้นรนต่อสู้เพื่อชีวิตอาจพบได้จากการที่เขาลืมความสัมพันธ์ที่มีต่อองค์ภควานฺ เมื่อมนุษย์มีจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ในความสัมพันธ์กับองค์กฺฤษฺณผู้นั้นคือดวงวิญญาณที่หลุดพ้นอย่างแท้จริง แม้อาจจะอยู่ในร่างวัตถุ

โศลก 26

kāma-krodha-vimuktānāṁ
yatīnāṁ yata-cetasām
abhito brahma-nirvāṇaṁ
vartate viditātmanām
กาม-โกฺรธ-วิมุกฺตานำ
ยตีนำ ยต-เจตสามฺ
อภิโต พฺรหฺม-นิรฺวาณํ
วรฺตเต วิทิตาตฺมนามฺ
กาม — จากความต้องการ, โกฺรธ — และความโกรธ, วิมุกฺตานามฺ — ของพวกที่หลุดพ้น, ยตีนามฺ — ของนักบุญ, ยต-เจตสามฺ — ผู้ควบคุมจิตใจได้เป็นอย่างดี, อภิตห์ — ในอนาคตอันใกล้นี้อย่างแน่นอน, พฺรหฺม-นิรฺวาณมฺ — หลุดพ้นอยู่ในองค์ภควาน, วรฺตเต — มี, วิทิต-อาตฺมนามฺ — ของบุคคลผู้ที่รู้แจ้งแห่งตน

คำแปล

ผู้ที่ปราศจากความโกรธและความต้องการทางวัตถุทั้งหมดเป็นผู้รู้แจ้งแห่งตนมีวินัยในตนเอง และพยายามเพื่อความสมบูรณ์อยู่เสมอ จะหลุดพ้นสู่องค์ภควานภายในอนาคตอันใกล้นี้แน่นอน

คำอธิบาย

ระหว่างนักบุญทั้งหลายผู้ปฏิบัติเพื่อพยายามบรรลุถึงความหลุดพ้นอยู่เสมอ ผู้อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกดีที่สุด ภาควตมฺ (4.22.39) ยืนยันความจริงนี้ ดังต่อไปนี้

ยตฺ-ปาท-ปงฺกช-ปลาศ-วิลาส-ภกฺตฺยา
กรฺมาศยํ คฺรถิตมฺ อุทฺคฺรถยนฺติ สนฺตห์
ตทฺวนฺ น ริกฺต-มตโย ยตโย ’ปิ รุทฺธ-
โสฺรโต-คณาสฺ ตมฺ อรณํ ภช วาสุเทวมฺ
“เพียงแต่พยายามบูชา วาสุเทว บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้ แม้แต่นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ยังไม่สามารถควบคุมพลังอำนาจของประสาทสัมผัสได้ผลดีเท่ากับบุคคลที่ปฏิบัติตนด้วยความปลื้มปีติสุขทิพย์ในการรับใช้พระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควานฺ และถอนความต้องการที่ฝังรากลึกในกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ”

ในพันธวิญญาณความต้องการเพื่อหาความสุขจากงานเพื่อผลทางวัตถุได้ฝังรากลึกมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากยิ่งแม้สำหรับนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ก็ต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมากในการควบคุมความต้องการเหล่านี้ สาวกขององค์ภควานฺปฏิบัติตนรับใช้ด้วยการอุทิศตนเสียสละอยู่เสมอในกฺฤษฺณจิตสำนึก มีความสมบูรณ์ในการรู้แจ้งตนเองจะได้รับความหลุดพ้นอย่างเร็วมากในองค์อภิวิญณาญ เนื่องจากความรู้ที่สมบูรณ์ในการรู้แจ้งแห่งตนท่านจะอยู่ในสมาธิเสมอ ดังจะกล่าวตัวอย่างเปรียบเทียบดังนี้

ทรฺศน-ธฺยาน-สํสฺปรฺไศรฺ
มตฺสฺย-กูรฺม-วิหงฺคมาห์
สฺวานฺยฺ อปตฺยานิ ปุษฺณนฺติ
ตถาหมฺ อปิ ปทฺม-ช
“ด้วยการมอง การทำสมาธิ และการสัมผัสที่ปลา เต่า และนกที่ดูแลลูกๆของพวกมัน ในลักษณะเดียวกันข้าพเจ้าก็ทำเช่นนี้เหมือนกัน โอ้ ปทฺมช !”

ปลาเลี้ยงลูกด้วยเพียงแต่มองไปที่ลูกของมันเท่านั้น เต่าเลี้ยงลูกด้วยเพียงแต่ทำสมาธิ เต่าวางไข่บนดินและตัวมันลงไปอยู่ในน้ำทำสมาธิที่ไข่ ลักษณะเดียวกันสาวกในกฺฤษฺณจิตสำนึกถึงแม้อยู่ห่างไกลจากพระตำหนักขององค์ภควานฺ แต่สามารถพัฒนาตนเองให้ไปถึงพระตำหนักนั้นได้ด้วยเพียงแต่ระลึกถึงพระองค์อยู่ตลอดเวลาด้วยการปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก ตัวท่านจะไม่รู้สึกเจ็บปวดในความทุกข์ทางวัตถุในระดับชีวิตเช่นนี้เรียกว่า พฺรหฺม-นิรฺวาณ หรือปราศจากความทุกข์ทางวัตถุเนื่องจากซึบซาบอยู่ในองค์ภควานฺเสมอ

โศลก 27-28

sparśān kṛtvā bahir bāhyāṁś
cakṣuś caivāntare bhruvoḥ
prāṇāpānau samau kṛtvā
nāsābhyantara-cāriṇau
สฺปรฺศานฺ กฺฤตฺวา พหิรฺ พาหฺยำศฺ
จกฺษุศฺ ไจวานฺตเร ภฺรุโวห์
ปฺราณาปาเนา สเมา กฺฤตฺวา
นาสาภฺยนฺตร-จาริเณา
yatendriya-mano-buddhir
munir mokṣa-parāyaṇaḥ
vigatecchā-bhaya-krodho
yaḥ sadā mukta eva saḥ
ยเตนฺทฺริย-มโน-พุทฺธิรฺ
มุนิรฺ โมกฺษ-ปรายณห์
วิคเตจฺฉา-ภย-โกฺรโธ
ยห์ สทา มุกฺต เอว สห์
สฺปรฺศานฺ — อายตนะภายนอก เช่น เสียง, กฺฤตฺวา — รักษา, พหิห์ — ภายนอก, พาหฺยานฺ — โดยไม่จำเป็น, จกฺษุห์ — ตา, — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, อนฺตเร — ระหว่าง, ภฺรุโวห์ — คิ้ว, ปฺราณ-อปาเนา — ลมที่เดินขึ้นและเดินลง, สเมา — หยุดพัก, กฺฤตฺวา — รักษา, นาส-อภฺยนฺตร — ภายในจมูก, จาริเณา — เป่า, ยต — ควบคุม, อินฺทฺริย — ประสาทสัมผัส, มนห์ — จิตใจ, พุทฺธิห์ — ปัญญา, มุนิห์ — นักทิพย์นิยม, โมกฺษ — เพื่อความหลุดพ้น, ปรายณห์ — กำหนดไว้เช่นนั้น, วิคต — ละทิ้ง, อิจฺฉา — ปรารถนา, ภย — ความกลัว, โกฺรธห์ — ความโกรธ, ยห์ — ผู้ซึ่ง, สทา — เสมอ, มุกฺตห์ — หลุดพ้น, เอว — แน่นอน, สห์ — เขาเป็น

คำแปล

ปิดกั้นอายตนะภายนอกทั้งหมด กำหนดดวงตาและสายตา ทำสมาธิระหว่างคิ้วทั้งสองข้าง หยุดลมหายใจเข้าออกภายในจมูก และควบคุมจิตใจ ประสาทสัมผัส และปัญญา นักทิพย์นิยมตั้งเป้าหมายอยู่ที่ความหลุดพ้น เป็นอิสระจากความต้องการ ความกลัว และความโกรธ ผู้ที่อยู่ในระดับนี้เสมอหลุดพ้นแน่นอน

คำอธิบาย

ผู้ปฏิบัติตนในกฺฤษฺณจิตสำนึกสามารถเข้าใจบุคลิกลักษณะทิพย์ของตนเองได้ในทันที จากนั้นก็จะสามารถเข้าใจองค์ภควานฺด้วยวิธีการอุทิศตนเสียสละรับใช้ เมื่อสถิตอย่างดีในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ท่านได้ไปถึงสถานภาพทิพย์ และมีคุณวุฒิพอที่จะรู้สึกว่าองค์ภควานฺทรงปรากฏอยู่ในโลกแห่งกิจกรรมของตัวท่าน สภาวะโดยเฉพาะเช่นนี้เรียกว่าความหลุดพ้นอยู่ในองค์ภควานฺ

หลังจากได้อธิบายหลักข้างต้นเกี่ยวกับการหลุดพ้นอยู่ในองค์ภควานฺพระองค์ทรงให้คำสั่งสอนแด่ อรฺชุน ว่าเราจะสามารถมาถึงสถานภาพนี้ด้วยการปฏิบัติการเข้าฌาน หรือโยคะที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า อษฺฏางฺค-โยค ซึ่งแยกออกไปเป็นแปดวิธีเรียกว่า ยม, นิยม, อาสน, ปฺราณายาม, ปฺรตฺยาหาร, ธารณา, ธฺยาน และ สมาธิ ในบทที่หกจะอธิบายเรื่องโยคะอย่างละเอียด และในท้ายบทที่ห้าจะอธิบายเฉพาะพื้นฐานเท่านั้น เราต้องนำพาตัวเองให้ออกจากอายตนะภายนอก เช่น เสียง สัมผัส รูป รส และกลิ่นด้วยวิธีโยคะของ ปฺรตฺยาหาร จากนั้นกำหนดสายตาและดวงตาระหว่างคิ้วทั้งสองข้างและตั้งสมาธิอยู่ที่ปลายจมูกพร้อมทั้งปิดเปลือกตามาครึ่งหนึ่ง ไม่มีประโยชน์ในการปิดตาทั้งหมดเพราะมีโอกาสที่จะหลับได้มาก และไม่มีประโยชน์อันใดในการเปิดตาทั้งหมดเพราะเสี่ยงที่จะไปหลงใหลกับอายตนะภายนอก การเคลื่อนไหวของลมหายใจควบคุมให้อยู่ภายในโพรงจมูกด้วยการปรับลมเดินขึ้นและลมเดินลงให้เข้ากันอยู่ภายในร่างกาย ด้วยการฝึกโยคะเช่นนี้จะสามารถควบคุมประสาทสัมผัส หลีกเลี่ยงจากอายตนะภายนอก และเตรียมตัวเองเพื่อความหลุดพ้นในองค์ภควานฺ

วิธีการโยคะนี้ช่วยให้เป็นอิสระจากความกลัวและความโกรธทุกชนิด จากนั้นจะรู้สึกว่าอภิวิญญาณทรงปรากฏอยู่ในสภาวะทิพย์ อีกนัยหนึ่งกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นวิธีง่ายที่สุดในการปฏิบัติตามหลักธรรมโยคะ เรื่องนี้จะมีการอธิบายโดยละเอียดในบทต่อไป อย่างไรก็ดีบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกปฏิบัติด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้อยู่เสมอจึงไม่ต้องเสี่ยงในการสูญเสียประสาทสัมผัสของตนไปในการปฏิบัติอย่างอื่น ซึ่งเป็นวิธีการควบคุมประสาทสัมผัสที่ดีกว่า อษฺฏางฺค-โยค

โศลก 29

bhoktāraṁ yajña-tapasāṁ
sarva-loka-maheśvaram
suhṛdaṁ sarva-bhūtānāṁ
jñātvā māṁ śāntim ṛcchati
โภกฺตารํ ยชฺญ-ตปสำ
สรฺว-โลก-มเหศฺวรมฺ
สุหฺฤทํ สรฺว-ภูตานำ
ชฺญาตฺวา มำ ศานฺติมฺ ฤจฺฉติ
โภกฺตารมฺ — ผู้ได้รับผลประโยชน์, ยชฺญ — ของการบูชา, ตปสามฺ — บำเพ็ญเพียรและสมถะ, สรฺว-โลก — โลกทั้งหมดและเหล่าเทวดา, มหา-อีศฺวรมฺ — องค์ภควาน, สุ-หฺฤทมฺ — ผู้อุปการะ, สรฺว — ของทั้งหมด, ภูตานามฺ — สิ่งมีชีวิต, ชฺญาตฺวา — ทราบ, มามฺ — ข้า (กฺฤษฺณ) , ศานฺติมฺ — บรรเทาจากความเจ็บปวดทางวัตถุ, ฤจฺฉติ — เขาบรรลุ

คำแปล

ผู้ที่มีจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ในข้า รู้ว่าในที่สุดข้าคือผู้ได้รับประโยชน์แห่งการบูชาและความสมถะทั้งหมด ข้าคือองค์ภควานสูงสุดของโลกและเทวดาทั้งปวง ข้าคือผู้อุปการะและผู้ปรารถนาดีของมวลชีวิต เขาผู้นี้จะได้รับความสงบจากความเจ็บปวดแห่งความทุกข์ทางวัตถุ

คำอธิบาย

พันธวิญญาณภายใต้เงื้อมมือของพลังงานแห่งความหลงมีความกระตือรือร้นที่จะได้รับความสงบในโลกวัตถุ แต่ไม่รู้สูตรแห่งความสงบซึ่งจะอธิบายในส่วนนี้ของ ภควัท-คีตา สูตรแห่งความสงบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดมีง่ายๆดังนี้คือ องค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์แห่งกิจกรรมของมวลมนุษย์ มนุษย์ควรถวายทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อรับใช้ทิพย์แด่พระองค์เพราะว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นเจ้าของโลกทั้งหมดและเทวดาทั้งปวง ไม่มีผู้ใดยิ่งใหญ่ไปกว่าพระองค์องค์กฺฤษฺณทรงยิ่งใหญ่กว่าเทวดาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เช่น พระศิวะ และพระพรหม ในคัมภีร์พระเวท (อุปนิษทฺ) ได้อธิบายถึงองค์ภควานฺว่า ตมฺ อีศฺวราณำ ปรมํ มเหศฺวรํ ภายใต้มนต์สะกดแห่งความหลงสิ่งมีชีวิตพยายามเป็นเจ้าของทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนเองสำรวจพบ แต่แท้ที่จริงพวกเขาถูกครอบงำโดยพลังงานวัตถุขององค์ภควานฺ พระองค์ทรงเป็นเจ้านายของธรรมชาติวัตถุ และพันธวิญญาณอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์อันเข้มงวดของธรรมชาติวัตถุ นอกเสียจากว่าจะเข้าใจความจริงง่ายๆนี้มิฉะนั้นก็จะเป็นไปไม่ได้ที่จะได้รับความสงบในโลกไม่ว่าโดยส่วนตัวหรือส่วนรวม นี่คือเหตุผลของกฺฤษฺณจิตสำนึก องค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดและมวลชีวิตรวมทั้งเทวดาผู้ยิ่งใหญ่เป็นรองจากพระองค์เราสามารถได้รับความสงบอย่างสมบูรณ์ในกฺฤษฺณจิตสำนึกที่บริบูรณ์เท่านั้น

ในบทที่ห้านี้เป็นการอธิบายภาคปฏิบัติของกฺฤษฺณจิตสำนึก โดยทั่วไปทราบกันว่าเป็น กรฺม-โยค คำถามจากการคาดคะเนทางจิตที่ว่า กรฺม-โยค สามารถให้ความหลุดพ้นได้อย่างไรนั้นได้ให้คำตอบไว้ที่นี้ การทำงานในกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นการทำงานด้วยความรู้ที่สมบูรณ์ว่าองค์ภควานฺทรงเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด งานเช่นนี้ไม่แตกต่างไปจากความรู้ทิพย์ กฺฤษฺณจิตสำนึกโดยตรงคือ ภกฺติ-โยค และ ชฺญาน-โยค เป็นวิถีทางที่จะนำเราไปสู่ ภกฺติ-โยค กฺฤษฺณจิตสำนึกหมายถึงการทำงานด้วยความรู้อันสมบูรณ์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสัจธรรมสูงสุด และความสมบูรณ์ของจิตสำนึกนี้คือความรู้อันสมบูรณ์แห่งองค์กฺฤษฺณ หรือบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ดวงวิญญาณผู้บริสุทธิ์เป็นผู้รับใช้นิรันดรขององค์ภควานฺเหมือนกันกับเศษละอองอณูของพระองค์ที่มาสัมผัสกับ มายา (ความหลง) เพราะต้องการเป็นเจ้าเหนือ มายา นี่คือต้นเหตุแห่งความทุกข์มากมาย ตราบใดที่ยังสัมผัสอยู่กับวัตถุเขาจะต้องปฏิบัติงานเนื่องจากความจำเป็นทางวัตถุ อย่างไรก็ดีกฺฤษฺณจิตสำนึกนำเขามาสู่ชีวิตทิพย์แม้ในขณะที่อยู่ในอาณาเขตของวัตถุ เป็นการปลุกความเป็นอยู่ในวิถีทิพย์ด้วยการปฏิบัติอยู่ในโลกวัตถุ เมื่อเจริญมากขึ้นก็จะมีอิสระมากขึ้นจากเงื้อมมือของวัตถุองค์ภควานฺทรงไม่ลำเอียงกับผู้ใด ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับการปฏิบัติหน้าที่ของตนเองในกฺฤษฺณจิตสำนึก ซึ่งช่วยให้เขาควบคุมประสาทสัมผัสได้ในทุกๆด้าน และได้รับชัยชนะจากอิทธิพลแห่งความต้องการและความโกรธ ผู้ที่ยืนอยู่อย่างมั่นคงในกฺฤษฺณจิตสำนึกสามารถควบคุมตัณหาดังที่กล่าวมาแล้ว ดำรงอยู่อย่างแท้จริงในระดับทิพย์หรือ พฺรหฺม-นิรฺวาณ เรื่องการเข้าฌานแปดวิธีของโยคะก็ปฏิบัติอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยปริยาย เพราะจุดมุ่งหมายสูงสุดได้รับการดูแล มีวิธีการค่อยๆพัฒนาในการฝึกปฏิบัติ ยม, นิยม, อาสน, ปฺราณายาม, ปฺรตฺยาหาร, ธารณา, ธฺยาน และ สมาธิ แต่ทั้งหมดนี้เป็นเพียงความสมบูรณ์เบื้องต้นของการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่สามารถให้รางวัลความสงบแก่มนุษย์ได้ อันเป็นความสมบูรณ์สูงสุดของชีวิต

ดังนั้นได้จบคำอธิบายโดย ภักดีเวดานตะ บทที่ห้า ของหนังสือ ศฺรีมทฺ ภควัท-คีตา ในหัวข้อเรื่อง กรฺม-โยค การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก