ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ หก

ธฺยาน-โยค

SIMPLE

โศลก 1

śrī-bhagavān uvāca
anāśritaḥ karma-phalaṁ
kāryaṁ karma karoti yaḥ
sa sannyāsī ca yogī ca
na niragnir na cākriyaḥ
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
อนาศฺริตห์ กรฺม-ผลํ
การฺยํ กรฺม กโรติ ยห์
ส สนฺนฺยาสี จ โยคี จ
น นิรคฺนิรฺ น จากฺริยห์
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — องค์ภควานฺตรัส, อนาศฺริตห์ — ปราศจากที่พึ่ง, กรฺม-ผลมฺ — ของผลแห่งงาน, การฺยมฺ — หน้าที่, กรฺม — งาน, กโรติ — ปฏิบัติ, ยห์ — ผู้ซึ่ง, สห์ — เขา, สนฺนฺยาสี — ในระดับสละโลก, — เช่นกัน, โยคี — โยคี, — เช่นกัน, — ไม่, นิห์ — ปราศจาก, อคฺนิห์ — ไฟ, — ไม่, — เช่นกัน, อกฺริยห์ — ปราศจากหน้าที่

คำแปล

องค์ภควานฺตรัสว่า ผู้ที่ไม่ยึดติดต่อผลงานของตน และทำงานไปตามหน้าที่เป็นผู้ที่อยู่ในระดับชีวิตสละโลก และเป็นโยคีที่แท้จริงมิใช่ผู้ที่ไม่ก่อไฟและไม่ปฏิบัติหน้าที่

คำอธิบาย

ในบทนี้องค์ภควานฺทรงอธิบายว่าวิธีของระบบโยคะแปดระดับเป็นวิถีทางเพื่อควบคุมจิตใจและประสาทสัมผัส อย่างไรก็ดีมันเป็นสิ่งยากมากสำหรับคนทั่วไปที่จะปฏิบัติได้โดยเฉพาะในกลียุค ถึงแม้ระบบโยคะแปดระดับได้แนะนำไว้ในบทนี้พระองค์ทรงเน้นว่าวิธีของ กรฺม - โยค หรือการปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกดีกว่า ทุกคนปฏิบัติตนในโลกนี้เพื่อค้ำจุนครอบครัวและทรัพย์สมบัติของตน ไม่มีผู้ใดทำงานโดยปราศจากความเห็นแก่ตัวหรือเพื่อสนองตอบส่วนตัวบางประการไม่ว่าในวงแคบหรือวงกว้าง บรรทัดฐานแห่งความสมบูรณ์คือการปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึก และไม่ใช่ด้วยแนวคิดที่จะหาความสุขกับผลของงาน การปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นหน้าที่ของทุกชีวิตเพราะว่าทุกชีวิตโดยพื้นฐานเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺ ส่วนต่างๆของร่างกายปฏิบัติงานเพื่อให้ทั่วทั้งเรือนร่างพึงพอใจ แขนและขามิได้ปฏิบัติเพื่อให้ส่วนของตนเองพึงพอใจแต่เพื่อความพึงพอใจของทั่วทั้งเรือนร่าง ในทำนองเดียวกันสิ่งมีชีวิตผู้ปฏิบัติเพื่อความพึงพอใจของส่วนรวมสูงสุด และไม่ใช่เพื่อความพึงพอใจของตนเองจึงเป็น สนฺนฺยาสี หรือโยคะที่สมบูรณ์

พวก สนฺนฺยาสี บางครั้งคิดอย่างผิดธรรมชาติว่าตนเองได้หลุดพ้นแล้วจากหน้าที่ทางวัตถุทั้งมวล ดังนั้นจึงหยุดการปฏิบัติ อคฺนิโหตฺร ยชฺญ (บูชาไฟ) แต่อันที่จริงพวกนี้เห็นแก่ตัวเพราะจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการมาเป็นหนึ่งเดียวกับ พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ ความต้องการเช่นนี้ยิ่งใหญ่กว่าความต้องการใดๆทางวัตถุแต่มิใช่ว่าปราศจากความเห็นแก่ตัว โยคีผู้มีฤทธิ์ก็เช่นเดียวกันได้ฝึกปฏิบัติตามระบบโยคะด้วยการลืมตาครึ่งหนึ่ง หยุดกิจกรรมทางวัตถุทั้งหมดต้องการที่จะได้รับความพึงพอใจบางอย่างสำหรับตนเอง แต่บุคคลผู้ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกทำงานเพื่อความพึงพอใจของส่วนรวมที่สมบูรณ์โดยไม่เห็นแก่ตัว บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่มีความปรารถนาเพื่อสนองความพึงพอใจของตนเอง บรรทัดฐานแห่งความสำเร็จของท่านจะอยู่ที่ความพึงพอใจขององค์กฺฤษฺณ ดังนั้นท่านจึงเป็น สนฺนฺยาสี หรือโยคีที่สมบูรณ์ องค์ไจตนฺย ผู้ทรงเป็นสัญลักษณ์ของความสมบูรณ์สูงสุดแห่งความเสียสละทรงภาวนา ดังนี้

น ธนํ น ชนํ น สุนฺทรีํ
กวิตำ วา ชคทฺ-อีศ กามเย
มม ชนฺมนิ ชนฺมนีศฺวเร
ภวตาทฺ ภกฺติรฺ อไหตุกี ตฺวยิ
“โอ้ องค์ภควานฺ ผู้ทรงเดช ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาสะสมทรัพย์ ไม่ปรารถนาหาความสุขกับหญิงงาม และไม่ปรารถนาสานุศิษย์มากมาย สิ่งเดียวที่ปรารถนาคือ พระเมตตาอันหาที่สุดมิได้ที่ให้ข้าพเจ้าได้อุทิศตนเสียสละรับใช้พระองค์ตลอดทุกๆชาติไป”

โศลก 2

yaṁ sannyāsam iti prāhur
yogaṁ taṁ viddhi pāṇḍava
na hy asannyasta-saṅkalpo
yogī bhavati kaścana
ยํ สนฺนฺยาสมฺ อิติ ปฺราหุรฺ
โยคํ ตํ วิทฺธิ ปาณฺฑว
น หฺยฺ อสนฺนฺยสฺต-สงฺกลฺโป
โยคี ภวติ กศฺจน
ยมฺ — อะไร, สนฺนฺยาสมฺ — การเสียสละ, อิติ — ดังนั้น, ปฺราหุห์ — พวกเขากล่าว, โยคมฺ — เชื่อมกับองค์ภควานฺ, ตมฺ — นั้น, วิทฺธิ — เธอต้องรู้, ปาณฺฑว — โอ้ โอรสของ ปาณฺฑุ, — ไม่เคย, หิ — แน่นอน, อสนฺนฺยสฺต — ปราศจากการยกเลิก, สงฺกลฺปห์ — ปรารถนาเพื่อความพึงพอใจแห่งตน, โยคี — นักทิพย์นิยมผู้มีฤทธิ์, ภวติ — มาเป็น, กศฺจน — ผู้ใด

คำแปล

เธอควรรู้ว่าสิ่งที่เรียกว่าการเสียสละเป็นสิ่งเดียวกับโยคะ หรือการเชื่อมสัมพันธ์ตนเองกับองค์ภควานฺ โอ้ โอรสแห่ง ปาณฺฑุ ไม่มีผู้ใดสามารถเป็นโยคีได้นอกจากว่าเขาผู้นั้นจะสละความต้องการเพื่อสนองประสาทสัมผัส

คำอธิบาย

สนฺนฺยาส-โยค หรือ ภกฺติ ที่แท้จริงหมายความว่า เขาควรรู้สถานภาพพื้นฐานของตนในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิตและควรปฏิบัติตามนั้น สิ่งมีชีวิตไม่มีบุคลิกอิสระที่แยกออกไปแต่เป็นพลังงานพรมแดนขององค์ภควานฺ เมื่อถูกกักขังโดยพลังงานวัตถุเขาจึงอยู่ในสภาวะวัตถุ และเมื่อมีกฺฤษฺณจิตสำนึกหรือตระหนักถึงพลังงานทิพย์ตอนนั้นเขาอยู่ในระดับธรรมชาติที่แท้จริงของชีวิต ฉะนั้นเมื่อมีความรู้ที่สมบูรณ์เขาจะหยุดสนองประสาทสัมผัสวัตถุทั้งหมด หรือสละกิจกรรมเพื่อสนองประสาทสัมผัสทั้งปวงเช่นนี้ โยคีผู้ควบคุมประสาทสัมผัสจากการยึดติดทางวัตถุปฏิบัติกัน แต่บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่มีโอกาสที่จะใช้ประสาทสัมผัสของตนไปในสิ่งอื่นใดที่ไม่ใช่จุดมุ่งหมายขององค์กฺฤษฺณ ดังนั้นบุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นทั้ง สนฺนฺยาสี และโยคีในเวลาเดียวกัน จุดมุ่งหมายของความรู้และการควบคุมประสาทสัมผัส ดังที่ได้อธิบายในวิธีการ ชฺญาน และโยคะก็บรรลุถึงได้โดยปริยายในกฺฤษฺณจิตสำนึก หากผู้ใดไม่สามารถยกเลิกกิจกรรมแห่งธรรมชาติความเห็นแก่ตัวของตนเอง ชฺญาน และโยคะก็ไม่มีประโยชน์อันใด จุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือเพื่อให้สิ่งมีชีวิตยกเลิกความพึงพอใจที่เห็นแก่ตัวทั้งหมด และเตรียมตัวเพื่อให้องค์ภควานฺทรงพอพระทัย บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่มีความปรารถนาเพื่อความสุขส่วนตัวใดๆทั้งสิ้น เขาจะปฏิบัติตนเพื่อความสุขขององค์ภควานฺอยู่เสมอ ฉะนั้นผู้ที่ไม่มีข้อมูลความรู้ขององค์ภควานฺจึงต้องปฏิบัติเพื่อความพึงพอใจของตนเอง เพราะว่าไม่มีผู้ใดสามารถยืนหยัดอยู่ในระดับที่ไร้กิจกรรมได้ จุดมุ่งหมายทั้งหมดบรรลุได้โดยสมบูรณ์ด้วยการปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึก

โศลก 3

ārurukṣor muner yogaṁ
karma kāraṇam ucyate
yogārūḍhasya tasyaiva
śamaḥ kāraṇam ucyate
อารุรุกฺโษรฺ มุเนรฺ โยคํ
กรฺม การณมฺ อุจฺยเต
โยคารูฒสฺย ตไสฺยว
ศมห์ การณมฺ อุจฺยเต
อารุรุกฺโษห์ — ผู้ที่เพิ่งเริ่มโยคะ, มุเนห์ — ของนักปราชญ์, โยคมฺ — ระบบโยคะแปดระดับ, กรฺม — งาน, การณมฺ — วิถีทาง, อุจฺยเต — กล่าวว่า, โยค — โยคะแปดระดับ, อารูฒสฺย — ของผู้ได้รับแล้ว, ตสฺย — ของเขา, เอว — แน่นอน, ศมห์ — หยุดกิจกรรมทางวัตถุทั้งหมด, การณมฺ — วิถีทาง, อุจฺยเต — กล่าวว่า

คำแปล

สำหรับผู้เริ่มต้นในระบบโยคะแปดระดับกล่าวไว้ว่า การทำงานคือวิถีทาง และสำหรับผู้ที่พัฒนาในโยคะแล้วกล่าวไว้ว่า การหยุดกิจกรรมทางวัตถุทั้งหมดคือวิถีทาง

คำอธิบาย

วิธีการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างตัวเรากับองค์ภควานฺเรียกว่า โยคะ อาจเปรียบเทียบได้กับขั้นบันไดเพื่อบรรลุถึงความรู้แจ้งทิพย์สูงสุด ขั้นบันไดนี้เริ่มต้นจากสภาวะวัตถุต่ำสุดของสิ่งมีชีวิต และสูงขึ้นไปจนถึงความรู้แจ้งแห่งตนอย่างสมบูรณ์ในชีวิตทิพย์ที่บริสุทธิ์ ตามระดับแห่งความเจริญก้าวหน้าส่วนต่างๆของขั้นบันไดมีชื่อเรียกต่างกัน แต่รวมกันทั้งหมดเป็นขั้นบันไดที่สมบูรณ์เรียกว่าโยคะ และอาจแบ่งออกเป็นสามส่วนคือ ชฺญาน-โยค, ธฺยาน-โยค และ ภกฺติ-โยค ขั้นแรกของบันไดเรียกว่าระดับ โยคารุรุกฺษุ และขั้นสูงสุดเรียกว่า โยคารูฒ

เกี่ยวกับระบบโยคะแปดระดับนั้นเป็นการพยายามขั้นต้นเพื่อเข้าไปสู่สมาธิด้วยหลักธรรมแห่งชีวิต และฝึกปฏิบัติท่านั่งต่างๆ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการบริหารร่างกาย) ถือว่าเป็นกิจกรรมทางวัตถุเพื่อหวังผล กิจกรรมเช่นนี้ทั้งหมดจะนำให้บรรลุความสมดุลทางจิตใจอย่างสมบูรณ์เพื่อควบคุมประสาทสัมผัส เมื่อประสบความสำเร็จในการฝึกสมาธิเขาจะหยุดกิจกรรมทั้งหมดที่รบกวนจิตใจ

อย่างไรก็ดีบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกสถิตในระดับสมาธิตั้งแต่ตอนเริ่มต้น เนื่องจากเขาระลึกถึงองค์กฺฤษฺณเสมอ และปฏิบัติรับใช้องค์กฺฤษฺณอยู่ตลอดเวลาซึ่งพิจารณาว่าหยุดกิจกรรมทางวัตถุทั้งหมดโดยปริยาย

โศลก 4

yadā hi nendriyārtheṣu
na karmasv anuṣajjate
sarva-saṅkalpa-sannyāsī
yogārūḍhas tadocyate
ยทา หิ เนนฺทฺริยารฺเถษุ
น กรฺมสฺวฺ อนุษชฺชเต
สรฺว-สงฺกลฺป-สนฺนฺยาสี
โยคารูฒสฺ ตโทจฺยเต
ยทา — เมื่อ, หิ — แน่นอน, — ไม่, อินฺทฺริย-อรฺเถษุ — ในการสนองประสาทสัมผัส, — ไม่เคย, กรฺมสุ — ในกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ, อนุษชฺชเต — ผู้จำเป็นปฏิบัติ, สรฺว-สงฺกลฺป — ของความต้องการทางวัตถุทั้งปวง, สนฺนฺยาสี — ผู้สละทางโลก, โยค-อารูฒห์ — เจริญในโยคะ, ตทา — ในเวลานั้น, อุจฺยเต — กล่าวว่า

คำแปล

กล่าวได้ว่าบุคคลผู้นี้เจริญในโยคะแล้วหากเขาได้สละความต้องการทางวัตถุทั้งปวง และไม่ปฏิบัติตนเพื่อสนองประสาทสัมผัส หรือได้ปฏิบัติในกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ

คำอธิบาย

เมื่อบุคคลปฏิบัติอย่างเต็มที่ในการรับใช้ทิพย์ด้วยความรักต่อองค์ภควานฺเขาจะมีความสุขอยู่ในตัว ดังนั้นจึงไม่ปฏิบัติเพื่อสนองประสาทสัมผัส หรือปฏิบัติในกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุอีกต่อไป มิเช่นนั้นเราต้องปฏิบัติเพื่อสนองประสาทสัมผัสเพราะว่าไม่มีผู้ใดสามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่มีกิจกรรมใดๆเลย หากปราศจากกฺฤษฺณจิตสำนึกเราต้องแสวงหากิจกรรมที่มีตนเองเป็นศูนย์กลาง หรือกิจกรรมที่เห็นแก่ตัวในวงกว้าง แต่บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกสามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความพึงพอพระทัยขององค์กฺฤษฺณ ดังนั้นจึงไม่ยึดติดกับการสนองประสาทสัมผัสโดยสมบูรณ์ ผู้ที่ไม่มีความรู้แจ้งเช่นนี้จะต้องพยายามหลบหนีความต้องการทางวัตถุอย่างผิดธรรมชาติก่อนที่จะพัฒนาไปถึงขั้นบันไดสูงสุดแห่งโยคะ

โศลก 5

uddhared ātmanātmānaṁ
nātmānam avasādayet
ātmaiva hy ātmano bandhur
ātmaiva ripur ātmanaḥ
อุทฺธเรทฺ อาตฺมนาตฺมานํ
นาตฺมานมฺ อวสาทเยตฺ
อาตฺไมว หฺยฺ อาตฺมโน พนฺธุรฺ
อาตฺไมว ริปุรฺ อาตฺมนห์
อุทฺธเรตฺ — เราต้องส่ง, อาตฺมนา — ด้วยจิตใจ, อาตฺมานมฺ — พันธวิญญาณ, — ไม่เคย, อาตฺมานมฺ — พันธวิญญาณ, อวสาทเยตฺ — ทำให้ตกต่ำลง, อาตฺมา — จิตใจ, เอว — แน่นอน, หิ — อันที่จริง, อาตฺมนห์ — ของพันธวิญญาณ, พนฺธุห์ — เพื่อน, อาตฺมา — จิตใจ, เอว — แน่นอน, ริปุห์ — ศัตรู, อาตฺมนห์ — ของพันธวิญญาณ

คำแปล

เราต้องจัดส่งตนเองด้วยความช่วยเหลือจากจิตใจของตัวเอง มิใช่ทำตัวให้ตกต่ำลง จิตใจเป็นได้ทั้งเพื่อนและศัตรูของพันธวิญญาณ

คำอธิบาย

คำว่า อาตฺมา หมายถึง ร่างกาย จิตใจ และวิญญาณ ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ในระบบโยคะนั้นจิตใจของพันธวิญญาณสำคัญมากเพราะว่าจิตใจเป็นศูนย์กลางของการฝึกปฏิบัติโยคะ ณ ที่นี้ อาตฺมา หมายถึง จิตใจ จุดมุ่งหมายของระบบโยคะก็เพื่อควบคุมจิตใจและดึงให้จิตใจออกห่างจากการยึดติดกับอายตนะภายนอก ได้เน้นไว้ที่นี้ว่าจิตใจจะต้องได้รับการฝึกฝนเพื่อจัดส่งพันธวิญญาณให้พ้นจากโคลนตมแห่งอวิชชา ในความเป็นอยู่ทางวัตถุเราอยู่ภายใต้อำนาจอิทธิพลของจิตใจและประสาทสัมผัส อันที่จริงดวงวิญญาณบริสุทธิ์ถูกพันธนาการอยู่ในโลกวัตถุ เพราะว่าจิตใจถูกอหังการพัวพันซึ่งทำให้ต้องการเป็นเจ้าครอบครองธรรมชาติวัตถุ ฉะนั้นจิตใจควรได้รับการฝึกฝนเพื่อไม่ให้ไปหลงใหลกับแสงสีของธรรมชาติวัตถุ ด้วยวิธีนี้พันธวิญญาณอาจได้รับความปลอดภัย เราไม่ควรทำตัวเองให้ตกต่ำลงด้วยการไปหลงใหลกับอายตนะภายนอก หากเราไปหลงใหลกับอายตนะภายนอกมากเท่าไรเราก็จะถูกพันธนาการในความเป็นอยู่ทางวัตถุมากเท่านั้น วิธีที่ดีที่สุดที่จะไม่ให้ตนเองถูกพันธนาการคือให้จิตใจปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกอยู่เสมอ คำว่า หิ ใช้เพื่อเน้นจุดนี้ ตัวอย่างเช่น เราต้องทำเช่นนี้ ได้กล่าวไว้เช่นกันว่า

มน เอว มนุษฺยาณำ
การณํ พนฺธ-โมกฺษโยห์
พนฺธาย วิษยาสงฺโค
มุกฺไตฺย นิรฺวิษยํ มนห์
“สำหรับมนุษย์นั้นจิตใจเป็นต้นเหตุแห่งพันธนาการ และจิตใจก็เป็นต้นเหตุแห่งความหลุดพ้น จิตใจที่ซึมซาบอยู่กับอายตนะภายนอกเป็นต้นเหตุแห่งพันธนาการ และจิตใจที่ไม่ยึดติดกับอายตนะภายนอกเป็นต้นเหตุแห่งความหลุดพ้น” (อมฺฤต-พินฺทุ อุปนิษทฺ 2) ฉะนั้นจิตใจที่ปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกอยู่เสมอเป็นต้นเหตุแห่งความหลุดพ้นสูงสุด

โศลก 6

bandhur ātmātmanas tasya
yenātmaivātmanā jitaḥ
anātmanas tu śatrutve
vartetātmaiva śatru-vat
พนฺธุรฺ อาตฺมาตฺมนสฺ ตสฺย
เยนาตฺไมวาตฺมนา ชิตห์
อนาตฺมนสฺ ตุ ศตฺรุเตฺว
วรฺเตตาตฺไมว ศตฺรุ-วตฺ
พนฺธุห์ — เพื่อน, อาตฺมา — จิตใจ, อาตฺมนห์ — ของสิ่งมีชีวิต, ตสฺย — ของเขา, เยน — ผู้ซึ่ง, อาตฺมา — จิตใจ, เอว — แน่นอน, อาตฺมนา — โดยสิ่งมีชีวิต, ชิตห์ — ได้รับชัยชนะ, อนาตฺมนห์ — ของผู้ที่ไม่สามารถควบคุมจิตใจได้, ตุ — แต่, ศตฺรุเตฺว — เพราะศัตรู, วรฺเตต — ยังคง, อาตฺมา เอว — จิตใจนั้น, ศตฺรุ-วตฺ — ในฐานะศัตรู

คำแปล

สำหรับผู้ที่เอาชนะจิตใจตนเองได้นั้นจิตใจถือเป็นเพื่อนที่ดีที่สุด แต่สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเอาชนะจิตใจของตนเองได้ จิตใจของเขายังคงเป็นศัตรูที่ร้ายกาจที่สุด

คำอธิบาย

จุดมุ่งหมายของการฝึกปฏิบัติโยคะแปดระดับก็เพื่อควบคุมจิตใจในการปฏิบัติภารกิจของมนุษย์ นอกจากว่าจิตใจจะอยู่ภายใต้การควบคุมมิฉะนั้นแล้วการฝึกปฏิบัติโยคะ (เพื่อโอ้อวด) นั้นเป็นการเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ผู้ที่ไม่สามารถควบคุมจิตใจของตนเองได้มีชีวิตอยู่กับศัตรูที่ร้ายกาจเสมอ ดังนั้นทั้งชีวิตและจุดมุ่งหมายของชีวิตของเขาจะถูกทำลายลง สถานภาพพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตคือการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ที่สูงกว่า ตราบใดที่จิตใจยังคงเป็นศัตรูที่เอาชนะไม่ได้เขาจะต้องรับใช้ตามคำสั่งของราคะ ความโกรธ ความโลภ ความหลง ฯลฯ แต่เมื่อเอาชนะจิตใจได้แล้วเขาอาสาที่จะปฏิบัติตามคำสั่งของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าผู้ทรงสถิตในหัวใจของทุกๆคนในรูปของ ปรมาตฺมา การปฏิบัติโยคะที่แท้จริงนั้นจะนำเราไปพบ ปรมาตฺมา ภายในหัวใจ จากนั้นก็ปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์สำหรับผู้ที่รับเอากฺฤษฺณจิตสำนึกไปปฏิบัติโดยตรง การศิโรราบอย่างสมบูรณ์ต่อคำสั่งขององค์ภควานฺจะตามตัวเขาไปด้วยโดยปริยาย

โศลก 7

jitātmanaḥ praśāntasya
paramātmā samāhitaḥ
śītoṣṇa-sukha-duḥkheṣu
tathā mānāpamānayoḥ
ชิตาตฺมนห์ ปฺรศานฺตสฺย
ปรมาตฺมา สมาหิตห์
ศีโตษฺณ-สุข-ทุห์เขษุ
ตถา มานาปมานโยห์
ชิต-อาตฺมนห์ — ของผู้ที่เอาชนะจิตใจตนเองได้แล้ว, ปฺรศานฺตสฺย — ผู้ได้รับความสงบด้วยการควบคุมจิตใจ, ปรม-อาตฺมา — อภิวิญญาณ, สมาหิตห์ — เข้าพบอย่างสมบูรณ์, ศีต — ในความเย็น, อุษฺณ — ความร้อน, สุข — ความสุข, ทุห์เขษุ — และความทุกข์, ตถา — เช่นกัน, มาน — ในเกียรติยศ, อปมานโยห์ — และไร้เกียรติยศ

คำแปล

สำหรับผู้ที่เอาชนะจิตใจตนเองได้นั้น ได้บรรลุถึงองค์อภิวิญญาณเรียบร้อยแล้ว และได้รับความสงบ สำหรับบุคคลเช่นนี้นั้นความสุขและความทุกข์ ความร้อนและความเย็น การได้เกียรติและการเสียเกียรติ ทั้งหมดมีค่าเท่ากัน

คำอธิบาย

อันที่จริงทุกชีวิตมีจุดมุ่งหมายเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าผู้ทรงประทับอยู่ภายในหัวใจของทุกคนในรูป ปรมาตฺมา เมื่อจิตใจได้ถูกพลังงานแห่งความหลงภายนอกนำไปในทางที่ผิดเขาจะถูกพันธนาการอยู่ในกิจกรรมทางวัตถุ ฉะนั้นทันทีที่ควบคุมจิตใจได้ด้วยหนึ่งในวิธีของระบบโยคะจึงพิจารณาได้ว่าเขาบรรลุถึงจุดหมายปลายทางแล้ว เขาต้องปฏิบัติตามคำสั่งจากผู้ที่สูงกว่า เมื่อจิตใจตั้งมั่นอยู่ที่ธรรมชาติที่สูงกว่าจะไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากปฏิบัติตามคำสั่งขององค์ภควานฺ จิตใจต้องยอมรับคำสั่งที่สูงกว่าและปฏิบัติตามนั้นผลแห่งการควบคุมจิตใจได้คือปฏิบัติตามคำสั่งของ ปรมาตฺมา หรือองค์อภิวิญญาณโดยปริยาย เพราะว่าผู้ที่อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกบรรลุถึงสถานภาพทิพย์นี้ได้โดยทันที สาวกขององค์ภควานฺไม่ได้รับผลกระทบจากสิ่งคู่ที่มีอยู่ทางวัตถุ เช่น ความทุกข์และความสุข ความเย็นและความร้อน เป็นต้น ระดับนี้คือการปฏิบัติ สมาธิ หรือซึมซาบอยู่ในองค์ภควานฺ

โศลก 8

jñāna-vijñāna-tṛptātmā
kūṭa-stho vijitendriyaḥ
yukta ity ucyate yogī
sama-loṣṭrāśma-kāñcanaḥ
ชฺญาน-วิชฺญาน-ตฺฤปฺตาตฺมา
กูฏ-โสฺถ วิชิเตนฺทฺริยห์
ยุกฺต อิตฺยฺ อุจฺยเต โยคี
สม-โลษฺฏฺราศฺม-กาญฺจนห์
ชฺญาน — ด้วยความรู้ที่เรียนมา, วิชฺญาน — และความรู้แจ้งจากการปฏิบัติ, ตฺฤปฺต — พึงพอใจ, อาตฺมา — สิ่งมีชีวิต, กูฏ-สฺถห์ — สถิตในระดับทิพย์, วิชิต-อินฺทฺริยห์ — ควบคุมประสาทสัมผัส, ยุกฺตห์ — สามารถรู้แจ้งตนเอง, อิติ — ดังนั้น, อุจฺยเต — กล่าวว่า, โยคี — โยคี, สม — เที่ยงตรง, โลษฺฏฺร — กรวด, อศฺม — หิน, กาญฺจนห์ — ทอง

คำแปล

ผู้ที่สถิตในความรู้แจ้งแห่งตนเรียกว่า โยคี (หรือผู้มีอิทฤทธิ์) เมื่อเขามีความพึงพอใจอย่างเต็มเปี่ยมในบุญบารมีแห่งความรู้และความรู้แจ้งที่ได้รับ บุคคลเช่นนี้สถิตในระดับทิพย์เป็นผู้ควบคุมตนเองได้ เขาเห็นทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นก้อนกรวด ก้อนหิน หรือทองคำมีค่าเท่ากัน

คำอธิบาย

ความรู้จากหนังสือโดยปราศจากความรู้แจ้งแห่งสัจธรรมสูงสุดนั้นไร้ประโยชน์ ได้กล่าวไว้ดังต่อไปนี้

อตห์ ศฺรี-กฺฤษฺณ-นามาทิ
น ภเวทฺ คฺราหฺยมฺ อินฺทฺริไยห์
เสโวนฺมุเข หิ ชิหฺวาเทา
สฺวยมฺ เอว สฺผุรตฺยฺ อทห์
“ไม่มีผู้ใดสามารถเข้าใจธรรมชาติทิพย์แห่งพระนาม พระวรกาย คุณสมบัติ และลีลาขององค์ศฺรี กฺฤษฺณด้วยประสาทสัมผัสวัตถุของตนที่มีมลทินได้ จะได้ก็ต่อเมื่อเขามีความอิ่มเอิบทิพย์ด้วยการรับใช้ทิพย์แด่องค์ภควานฺ พระนามทิพย์ พระวรกายทิพย์ คุณสมบัติทิพย์ และลีลาทิพย์ของพระองค์จึงจะปรากฏแก่เขา” (ภกฺติ-รสามฺฤต-สินฺธุ 1.2.234)

หนังสือ ภควัท-คีตา นี้เป็นศาสตร์แห่งกฺฤษฺณจิตสำนึก ไม่มีผู้ใดสามารถมาเป็นกฺฤษฺณจิตสำนึกได้ด้วยการศึกษาทางโลก เขาต้องโชคดีพอที่ได้มาคบหาสมาคมกับบุคคลผู้อยู่ในจิตสำนึกที่บริสุทธิ์ บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกมีความรู้แจ้งด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์กฺฤษฺณ เพราะเขาพึงพอใจต่อการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์ ด้วยความรู้แจ้งทำให้เขาสมบูรณ์ด้วยความรู้ทิพย์ทำให้เขาสามารถดำรงอยู่อย่างมั่นคงในความมุ่งมั่น หากเพียงแต่เป็นความรู้ทางวิชาการเพียงอย่างเดียวอาจทำให้หลงผิดได้โดยง่ายดาย และเกิดสับสนจากการปรากฏที่ขัดกัน ดวงวิญญาณผู้รู้แจ้งสามารถควบคุมตนเองได้อย่างแท้จริงเพราะเขาศิโรราบองค์กฺฤษฺณผู้ทรงอยู่ในระดับทิพย์ และเขาไม่มีอะไรไปเกี่ยวข้องกับการศึกษาทางโลก การศึกษาทางโลกและการคาดคะเนทางจิตอาจดีเท่ากับทองคำสำหรับผู้อื่น แต่ไม่มีคุณค่ามากไปกว่าก้อนกรวดหรือก้อนหินสำหรับบุคคลผู้นี้

โศลก 9

suhṛn-mitrāry-udāsīna-
madhyastha-dveṣya-bandhuṣu
sādhuṣv api ca pāpeṣu
sama-buddhir viśiṣyate
สุหฺฤนฺ-มิตฺรารฺยฺ-อุทาสีน-
มธฺยสฺถ-เทฺวษฺย-พนฺธุษุ
สาธุษฺวฺ อปิ จ ปาเปษุ
สม-พุทฺธิรฺ วิศิษฺยเต
สุ-หฺฤตฺ — แด่ผู้ปรารถนาดีโดยธรรมชาติ, มิตฺร — ผู้มีบุญคุณด้วยความรัก, อริ — ศัตรู, อุทาสีน — เป็นกลางระหว่างคู่ปรปักษ์, มธฺย-สฺถ — ผู้ปรองดองระหว่างคู่ปรปักษ์, เทฺวษฺย — ผู้อิจฉา, พนฺธุษุ — และญาติหรือผู้ปรารถนาดี, สาธุษุ — แด่นักบุญ, อปิ — รวมทั้ง, — และ, ปาเปษุ — แด่คนบาป, สม-พุทฺธิห์ — มีปัญญาเสมอภาค, วิศิษฺยเต — สูงขึ้นไปอีก

คำแปล

พิจารณาได้ว่าบุคคลเจริญสูงขึ้นไปอีก เมื่อเขาเห็นผู้ปรารถนาดีที่ซื่อสัตย์ ผู้มีบุญคุณด้วยความรัก ผู้เป็นกลาง ผู้ปรองดอง ผู้อิจฉา มิตรและศัตรู นักบุญและคนบาป ทั้งหมดนี้ด้วยจิตใจที่เสมอภาค

โศลก 10

yogī yuñjīta satatam
ātmānaṁ rahasi sthitaḥ
ekākī yata-cittātmā
nirāśīr aparigrahaḥ
โยคี ยุญฺชีต สตตมฺ
อาตฺมานํ รหสิ สฺถิตห์
เอกากี ยต-จิตฺตาตฺมา
นิราศีรฺ อปริคฺรหห์
โยคี — นักทิพย์นิยม, ยุญฺชีต — ต้องทำสมาธิในกฺฤษฺณจิตสำนึก, สตตมฺ — ตลอดเวลา, อาตฺมานมฺ — ตัวเขา (ด้วยร่างกาย จิตใจ และชีวิต), รหสิ — ในที่สันโดษ, สฺถิตห์ — สถิต, เอกากี — คนเดียว, ยต-จิตฺต-อาตฺมา — ระวังอยู่ในจิตใจเสมอ, นิราศีห์ — ไม่ถูกสิ่งใดยั่วยวน, อปริคฺรหห์ — ปราศจากความรู้สึกเป็นเจ้าของ

คำแปล

นักทิพย์นิยมควรปฏิบัติด้วยร่างกาย จิตใจ และชีวิตในความสัมพันธ์กับองค์ภควานฺเสมอ เขาควรอยู่คนเดียวในที่สันโดษ ควรควบคุมจิตใจของตนเองด้วยความระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา และควรเป็นอิสระจากความต้องการและความรู้สึกเป็นเจ้าของ

คำอธิบาย

ศฺรี กฺฤษฺณ ทรงรู้แจ้งได้ในระดับต่างๆกัน เช่น พฺรหฺมนฺ ปรมาตฺมา และ ภควานฺ กฺฤษฺณจิตสำนึกหมายความอย่างตรงประเด็นว่าปฏิบัติตนในการรับใช้ทิพย์ด้วยความรักแด่องค์ภควานฺอยู่เสมอ แต่พวกที่ยึดติดกับ พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ หรือองค์อภิวิญญาณผู้ทรงประทับอยู่ภายในหัวใจก็เป็นส่วนหนึ่งของกฺฤษฺณจิตสำนึกเช่นกัน เพราะ พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์เป็นรัศมีทิพย์ขององค์กฺฤษฺณ และอภิวิญญาณทรงเป็นส่วนที่แยกออกมาจากองค์กฺฤษฺณซึ่งแผ่กระจายไปทั่ว ดังนั้นผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์และนักปฏิบัติสมาธิก็มีกฺฤษฺณจิตสำนึกทางอ้อมเช่นกัน บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยตรงเป็นนักทิพย์นิยมสูงสุดเพราะสาวกเช่นนี้ทราบว่า พฺรหฺมนฺ และ ปรมาตฺมา หมายความว่าอย่างไร ความรู้แห่งสัจธรรมของเขานั้นสมบูรณ์ ในขณะที่ผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์และโยคีผู้ทำสมาธิมีกฺฤษฺณจิตสำนึกที่ไม่สมบูรณ์

อย่างไรก็ดีได้มีการแนะนำไว้ที่นี้ทั้งหมดว่าให้เราปฏิบัติในสายงานอาชีพของตนเองอยู่เสมอ เพื่อเราอาจไปถึงจุดสมบูรณ์สูงสุดได้ในไม่ช้าก็เร็ว ภารกิจข้อแรกของนักทิพย์นิยมคือตั้งจิตอยู่ที่องค์กฺฤษฺณเสมอ เขาควรระลึกถึงองค์กฺฤษฺณอยู่เสมอและไม่ลืมพระองค์แม้แต่เสี้ยววินาทีเดียว การตั้งจิตอยู่ที่องค์ภควานฺเรียกว่า สมาธิ เพื่อให้จิตตั้งมั่นเขาควรดำรงอยู่อย่างสันโดษเสมอและหลีกเลี่ยงการรบกวนจากอายตนะภายนอก เขาควรระมัดระวังอย่างยิ่งในการรับเอาสภาวะที่เอื้อประโยชน์ และปฏิเสธสภาวะที่ไม่เอื้อประโยชน์ที่จะมีผลกระทบต่อความรู้แจ้งแห่งตน และด้วยความมั่นใจอย่างสมบูรณ์เขาไม่ควรทะเยอทะยานกับสิ่งของวัตถุที่ไม่จำเป็น ซึ่งจะพันธนาการตนเองด้วยความรู้สึกเป็นเจ้าของ

ความสมบูรณ์และข้อควรระวังทั้งหมดนี้ปฏิบัติได้อย่างสมบูรณ์เมื่ออยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยตรง เพราะว่ากฺฤษฺณจิตสำนึกโดยตรงหมายถึงการสละทิ้งตนเอง เช่นนี้จึงเปิดโอกาสน้อยมากที่จะเป็นเจ้าของวัตถุ ศฺรีล รูป โคสฺวามี แสดงลักษณะของกฺฤษฺณจิตสำนึกไว้ดังนี้

อนาสกฺตสฺย วิษยานฺ ยถารฺหมฺ อุปยุญฺชตห์
นิรฺพนฺธห์ กฺฤษฺณ-สมฺพนฺเธ, ยุกฺตํ ไวราคฺยมฺ อุจฺยเต
ปฺราปญฺจิกตยา พุทฺธฺยา
หริ-สมฺพนฺธิ-วสฺตุนห์
มุมุกฺษุภิห์ ปริตฺยาโค
ไวราคฺยํ ผลฺคุ กถฺยเต
“เมื่อเขาไม่ยึดติดกับสิ่งใด แต่ในขณะเดียวกันยอมรับทุกสิ่งทุกอย่างในความสัมพันธ์กับองค์กฺฤษฺณ เขาสถิตอย่างถูกต้องเหนือความเป็นเจ้าของ อีกด้านหนึ่งผู้ที่ปฏิเสธทุกสิ่งทุกอย่างโดยไม่รู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างทุกสิ่งทุกอย่างกับองค์กฺฤษฺณนั้น การเสียสละของบุคคลนี้ถือว่าไม่สมบูรณ์” (ภกฺติ-รสามฺฤต-สินฺธุ 1.2.255-256)

บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกทราบดีว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นขององค์กฺฤษฺณ ดังนั้นเขาจึงเป็นอิสระจากความรู้สึกเป็นเจ้าของส่วนตัวอยู่เสมอ เขาไม่มีความทะเยอทะยานไม่ว่าสิ่งใดๆสำหรับส่วนตัว เขาทราบว่าควรรับเอาสิ่งต่างๆมาส่งเสริมในกฺฤษฺณจิตสำนึกได้อย่างไร และทราบว่าควรปฏิเสธกับสิ่งที่ไม่ส่งเสริมในกฺฤษฺณจิตสำนึก เขาปลีกตัวออกห่างจากสิ่งของวัตถุเสมอเพราะว่าเขาจะอยู่ในระดับทิพย์เสมอ เขาจะอยู่อย่างสันโดษเสมอโดยไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับบุคคลผู้ที่ไม่มีกฺฤษฺณจิตสำนึก ฉะนั้นบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงเป็นโยคีที่สมบูรณ์

โศลก 11-12

śucau deśe pratiṣṭhāpya
sthiram āsanam ātmanaḥ
nāty-ucchritaṁ nāti-nīcaṁ
cailājina-kuśottaram
ศุเจา เทเศ ปฺรติษฺฐาปฺย
สฺถิรมฺ อาสนมฺ อาตฺมนห์
นาตฺยฺ-อุจฺฉฺริตํ นาติ-นีจํ
ไจลาชิน-กุโศตฺตรมฺ
tatraikāgraṁ manaḥ kṛtvā
yata-cittendriya-kriyaḥ
upaviśyāsane yuñjyād
yogam ātma-viśuddhaye
ตไตฺรกาคฺรํ มนห์ กฺฤตฺวา
ยต-จิตฺเตนฺทฺริย-กฺริยห์
อุปวิศฺยาสเน ยุญฺชฺยาทฺ
โยคมฺ อาตฺม-วิศุทฺธเย
ศุเจา — ในความถูกต้อง, เทเศ — แผ่นดิน, ปฺรติษฺฐาปฺย — วาง, สฺถิรมฺ — มั่นคง, อาสนมฺ — ที่นั่ง, อาตฺมนห์ — ตัวเขา, — ไม่, อติ — เกินไป, อุจฺฉฺริตมฺ — สูง, — ไม่, อติ — เกินไป, นีจมฺ — ต่ำ, ไจล-อชิน — ผ้านุ่มและหนังกวาง, กุศ — และหญ้า กุศ, อุตฺตรมฺ — คลุม, ตตฺร — ข้างบน, เอก-อคฺรมฺ — ตั้งใจเป็นหนึ่ง, มนห์ — จิตใจ, กฺฤตฺวา — ทำ, ยต-จิตฺต — ควบคุมจิตใจ, อินฺทฺริย — ประสาทสัมผัส, กฺริยห์ — และกิจกรรม, อุปวิศฺย — นั่ง, อาสเน — บนที่นั่ง, ยุญฺชฺยาตฺ — ควรปฏิบัติ, โยคมฺ — ฝึกปฏิบัติโยคะ, อาตฺม — หัวใจ, วิศุทฺธเย — เพื่อให้บริสุทธิ์

คำแปล

ในการฝึกปฏิบัติโยคะเขาควรไปที่สถานที่สันโดษและควรวางหญ้า กุศ บนพื้น จากนั้นคลุมด้วยหนังกวางและผ้านุ่ม ที่นั่งไม่ควรสูงหรือต่ำเกินไป และควรอยู่ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ จากนั้นโยคีควรนั่งบนที่นั่งนี้ด้วยความแน่วแน่มั่นคง ฝึกปฏิบัติโยคะเพื่อให้หัวใจสะอาดบริสุทธิ์ด้วยการควบคุมจิตใจ ประสาทสัมผัส และกิจกรรมของตนเอง ตั้งมั่นจิตอยู่ที่จุดเดียว

คำอธิบาย

“สถานที่ศักดิ์สิทธิ์” หมายถึงสถานที่ที่ควรเคารพสักการะ ในประเทศอินเดียโยคีนักทิพย์นิยม หรือสาวกนั้นทั้งหมดจะออกจากบ้านและไปพำนักอยู่ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น ปฺรยาค, มถุรา, วฺฤนฺทาวน, หฺฤษีเกศ และ หรฺทฺวรฺ ในความสันโดษจะฝึกปฏิบัติโยคะ สถานที่ที่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เช่น ยะมุนาและคงคาไหลผ่าน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นไปไม่ได้โดยเฉพาะชาวตะวันตก สิ่งที่เรียกว่าสมาคมโยคะในเมืองใหญ่ๆอาจประสบความสำเร็จในผลกำไรทางวัตถุ แต่ว่าไม่เหมาะสมเลยในการฝึกปฏิบัติโยคะที่แท้จริง ผู้ที่ควบคุมตนเองไม่ได้และผู้ที่จิตใจไม่สงบไม่สามารถฝึกปฏิบัติสมาธิได้ ฉะนั้นใน พฺฤหนฺ-นารทีย ปุราณ ได้กล่าวไว้ว่าใน กลิ-ยุค (ยุคปัจจุบัน) เมื่อคนทั่วไปมีอายุสั้น เฉื่อยชาในความรู้ทิพย์ และถูกรบกวนจากความวิตกกังวลต่างๆอยู่เสมอ วิธีที่ดีที่สุดในการรู้แจ้งทิพย์คือ การสวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควานฺ

หเรรฺ นาม หเรรฺ นาม
หเรรฺ นาไมว เกวลมฺ
กเลา นาสฺตฺยฺ เอว นาสฺตฺยฺ เอว
นาสฺตฺยฺ เอว คติรฺ อนฺยถา
“ในยุคแห่งการทะเลาะวิวาทและมือถือสากปากถือศีลนี้ วิธีแห่งความหลุดพ้นคือ การร้องเพลงสวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควานฺ ไม่มีหนทางอื่นใด ไม่มีหนทางอื่นใด และไม่มีหนทางอื่นใด”

โศลก 13-14

samaṁ kāya-śiro-grīvaṁ
dhārayann acalaṁ sthiraḥ
samprekṣya nāsikāgraṁ svaṁ
diśaś cānavalokayan
สมํ กาย-ศิโร-คฺรีวํ
ธารยนฺนฺ อจลํ สฺถิรห์
สมฺเปฺรกฺษฺย นาสิกาคฺรํ สฺวํ
ทิศศฺ จานวโลกยนฺ
praśāntātmā vigata-bhīr
brahmacāri-vrate sthitaḥ
manaḥ saṁyamya mac-citto
yukta āsīta mat-paraḥ
ปฺรศานฺตาตฺมา วิคต-ภีรฺ
พฺรหฺมจาริ-วฺรเต สฺถิตห์
มนห์ สํยมฺย มจฺ-จิตฺโต
ยุกฺต อาสีต มตฺ-ปรห์
สมมฺ — ตรง, กาย — ร่างกาย, ศิรห์ — ศีรษะ, คฺรีวมฺ — และคอ, ธารยนฺ — รักษา, อจลมฺ — ไม่เคลื่อน, สฺถิรห์ — นิ่ง, สมฺเปฺรกฺษฺย — มอง, นาสิกา — ของจมูก, อคฺรมฺ — ที่ปลาย, สฺวมฺ — ตน, ทิศห์ — รอบด้าน, — เช่นกัน, อนวโลกยนฺ — ไม่มอง, ปฺรศานฺต — ไม่เร่าร้อน, อาตฺมา — จิตใจ, วิคต-ภีห์ — ปราศจากความกลัว, พฺรหฺมจาริ-วฺรเต — ในการปฏิญาณพรหมจรรย์, สฺถิตห์ — สถิต, มนห์ — จิตใจ, สํยมฺย — กำราบอย่างสมบูรณ์, มตฺ — แด่ข้า (องค์กฺฤษฺณ), จิตฺตห์ — ตั้งสมาธิจิต, ยุกฺตห์ — โยคีที่แท้จริง, อาสีต — ควรนั่ง, มตฺ — ข้า, ปรห์ — เป้าหมายสูงสุด

คำแปล

เขาควรตั้งร่างกาย คอ และศีรษะให้เป็นเส้นตรง จ้องไปที่ปลายจมูกอย่างแน่วแน่ และด้วยจิตใจที่สงบนิ่งไม่หวั่นไหว ปราศจากความกลัว เป็นอิสระจากชีวิตเพศสัมพันธ์โดยสมบูรณ์ ภายในหัวใจเขาควรทำสมาธิอยู่ที่ข้า และให้ข้าเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดแห่งชีวิต

คำอธิบาย

จุดมุ่งหมายแห่งชีวิตคือรู้จักองค์กฺฤษฺณ ผู้ทรงประทับอยู่ภายในหัวใจของทุกๆชีวิตในรูปของ ปรมาตฺมา หรือพระวิษณุสี่กร วิธีปฏิบัติโยคะก็เพื่อค้นหาและพบเห็นพระวิษณุภายในตัวเรานี้ มิใช่เพื่อจุดมุ่งหมายอย่างอื่น วิษฺณุ-มูรฺติ ภายในร่างกายทรงเป็นผู้แทนที่แยกมาจากองค์กฺฤษฺณ และทรงประทับอยู่ในหัวใจของทุกคน ผู้ที่ไม่มีแผนเพื่อรู้แจ้ง วิษฺณุ-มูรฺติ นี้ได้ฝึกปฏิบัติโยคะแบบหลอกๆ ไร้ประโยชน์ และสูญเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์อย่างแน่นอน องค์กฺฤษฺณทรงเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต และ วิษฺณุ-มูรฺติ ทรงสถิตภายในหัวใจของทุกคน ทรงเป็นเป้าหมายแห่งการฝึกปฏิบัติโยคะ การรู้แจ้ง วิษฺณุ-มูรฺติ ภายในหัวใจนี้ต้องถือเพศพรหมจรรย์อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นเขาต้องออกจากบ้านไปอยู่คนเดียวในสถานที่สันโดษและนั่งเหมือนดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เป็นไปไม่ได้ที่จะไปหาความสุขประจำวันกับเรื่องเพศสัมพันธ์ที่บ้านหรือที่ใดก็ตาม จากนั้นก็ไปห้องเรียนที่เขาเรียกว่าโยคะแล้วเขาจะกลายไปเป็นโยคี เขาต้องฝึกปฏิบัติควบคุมจิตใจและหลีกเลี่ยงการสนองประสาทสัมผัสทั้งหมดซึ่งมีเพศสัมพันธ์เป็นตัวนำ ในกฎแห่งเพศพรหมจรรย์นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ ยาชฺญวลฺกฺย ได้เขียนไว้ดังนี้

กรฺมณา มนสา วาจา
สรฺวาวสฺถาสุ สรฺวทา
สรฺวตฺร ไมถุน-ตฺยาโค
พฺรหฺมจรฺยํ ปฺรจกฺษเต
“คำปฏิญาณของ พฺรหฺมจรฺย เพื่อช่วยให้หลีกเลี่ยงการปล่อยตัวทางเพศ ในการทำงาน ในคำพูด และในจิตใจอย่างสมบูรณ์ตลอดเวลาภายใต้ทุกสถานการณ์และทุกสถานที่” ไม่มีใครสามารถฝึกปฏิบัติได้อย่างถูกต้องด้วยการไม่ควบคุมเรื่องเพศ ดังนั้น พฺรหฺมจรฺย ได้ถูกสั่งสอนตั้งแต่เด็กตอนที่เขายังไม่มีความรู้เกี่ยวกับชีวิตเพศสัมพันธ์ เด็กๆอายุห้าขวบจะถูกส่งไปที่ คุรุ-กุล หรือสถานที่ของพระอาจารย์ทิพย์ และพระอาจารย์จะฝึกฝนเด็กน้อยเหล่านี้ให้มีระเบียบวินัยเคร่งครัดมาเป็น พฺรหฺมจารี หากไม่ได้รับการฝึกปฏิบัติเช่นนี้ก็จะไม่มีผู้ใดสามารถทำความเจริญก้าวหน้าได้ไม่ว่าจะเป็นโยคะประเภท ธฺยาน, ชฺญาน หรือ ภกฺติ ก็ตาม อย่างไรก็ดีผู้ที่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ชีวิตสมรสจะมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาของตนเองเท่านั้น (และอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เช่นเดียวกัน) เรียกว่า พฺรหฺมจารี เหมือนกัน คฤหัสถ์ พฺรหฺมจารี ที่ควบคุมได้เช่นนี้สถาบัน ภกฺติ ยอมรับแต่สถาบัน ชฺญาน และ ธฺยาน ไม่ยอมรับ แม้แต่คฤหัสถ์ พฺรหฺมจารี พวกเขาต้องการพรหมจรรย์อย่างสมบูรณ์โดยไม่มีการประนีประนอม ในสถาบัน ภกฺติ อนุญาตคฤหัสถ์ พฺรหฺมจารี ที่ควบคุมชีวิตเพศสัมพันธ์ได้เพราะวัฒนธรรม ภกฺติ-โยค มีพลังอำนาจมาก ซึ่งจะทำให้สูญเสียความหลงใหลทางเพศสัมพันธ์ไปโดยปริยายด้วยการปฏิบัติรับใช้ต่อองค์ภควานฺที่สูงกว่า ได้กล่าวไว้ใน ภควัท-คีตา (2.59) ว่า

วิษยา วินิวรฺตนฺเต
นิราหารสฺย เทหินห์
รส-วรฺชํ รโส ’ปฺยฺ อสฺย
ปรํ ทฺฤษฺฏฺวา นิวรฺตเต
“ขณะที่ผู้อื่นถูกบังคับให้ควบคุมตนเองจากการสนองประสาทสัมผัส สาวกขององค์ภควานฺละเว้นได้โดยปริยาย เพราะได้รับรสที่สูงกว่า นอกจากสาวกแล้วไม่มีผู้ใดมีข้อมูลเกี่ยวกับรสที่สูงกว่านี้”

วิคต-ภีห์ บุคคลจะปราศจากความกลัวไม่ได้นอกจากเขานั้นจะมีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ พันธวิญญาณมีความกลัวเนื่องมาจากความจำที่กลับตาลปัตร หรือลืมความสัมพันธ์นิรันดรของตนกับองค์กฺฤษฺณ ภาควต (11.2.37) กล่าวว่า ภยํ ทฺวิตียาภินิเวศตห์ สฺยาทฺ อีศาทฺ อเปตสฺย วิปรฺยโย ’สฺมฺฤติห์ กฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นพื้นฐานเดียวที่ไร้ความกลัว ฉะนั้นการปฏิบัติที่สมบูรณ์จึงเป็นไปได้สำหรับบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึก เพราะว่าจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติโยคะก็เพื่อเห็นองค์ภควานฺอยู่ภายใน บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงเป็นโยคีที่ดีที่สุดในบรรดาโยคีทั้งหลาย หลักธรรมของระบบโยคะที่กล่าว ที่นี้แตกต่างจากสิ่งที่เรียกว่าสมาคมโยคะที่ได้รับความนิยมกันอยู่ในปัจจุบัน

โศลก 15

yuñjann evaṁ sadātmānaṁ
yogī niyata-mānasaḥ
śāntiṁ nirvāṇa-paramāṁ
mat-saṁsthām adhigacchati
ยุญฺชนฺนฺ เอวํ สทาตฺมานํ
โยคี นิยต-มานสห์
ศานฺตึ นิรฺวาณ-ปรมำ
มตฺ-สํสฺถามฺ อธิคจฺฉติ
ยุญฺชนฺ — ปฏิบัติ, เอวมฺ — ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว, สทา — อยู่เสมอ, อาตฺมานมฺ — ร่างกายจิตใจและวิญญาณ, โยคี — นักทิพย์นิยมผู้มีฤทธิ์, นิยต-มานสห์ — ด้วยจิตใจที่ประมาณได้, ศานฺติมฺ — ความสงบ, นิรฺวาณ-ปรมามฺ — หยุดความเป็นอยู่ทางวัตถุ, มตฺ-สํสฺถามฺ — ท้องฟ้าทิพย์ (อาณาจักรแห่งองค์ภควาน), อธิคจฺฉติ — บรรลุ

คำแปล

จากการฝึกปฏิบัติการควบคุมร่างกาย จิตใจ และกิจกรรมอยู่เสมอ นักทิพย์นิยมผู้มีฤทธิ์สามารถประมาณจิตใจของตนเองได้ และบรรลุถึงอาณาจักรแห่งองค์ภควานฺ (หรือพระตำหนักขององค์กฺฤษฺณ) ด้วยการยุติความเป็นอยู่ทางวัตถุ

คำอธิบาย

จุดมุ่งหมายสูงสุดในการฝึกปฏิบัติโยคะได้อธิบายอย่างชัดเจน ที่นี้ การฝึกปฏิบัติโยคะมิใช่เพื่อบรรลุผลประโยชน์ทางวัตถุใดๆ แต่เพื่อให้สามารถหยุดความเป็นอยู่ทางวัตถุทั้งปวง ตาม ภควัท-คีตา ผู้ที่แสวงหาการพัฒนาสุขภาพหรือมุ่งหวังความสมบูรณ์ทางวัตถุไม่ใช่โยคี การหยุดความเป็นอยู่ทางวัตถุก็มิใช่การนำให้เข้าไปสู่ “ความว่างเปล่า” ซึ่งเป็นเพียงความเร้นลับเท่านั้น ไม่มีความว่างเปล่าที่ใดภายในการสร้างขององค์ภควานฺ แต่การหยุดความเป็นอยู่ทางวัตถุจะนำให้เข้าไปสู่ท้องฟ้าทิพย์พระตำหนักขององค์ภควานฺ ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนใน ภควัท-คีตา เช่นกันว่าเป็นสถานที่ที่ไม่จำเป็นต้องมีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หรือไฟฟ้า ดาวเคราะห์ทั้งหลายในอาณาจักรทิพย์มีรัศมีในตัวเอง เหมือนดวงอาทิตย์ในท้องฟ้าวัตถุ อาณาจักรขององค์ภควานฺจะอยู่ทุกหนทุกแห่ง แต่ท้องฟ้าทิพย์และดาวเคราะห์ที่นั่นเรียกว่า ปรํ ธาม หรือที่พำนักพักพิงที่สูงกว่า

โยคีผู้บรรลุที่เข้าใจองค์ศฺรี กฺฤษฺณอย่างสมบูรณ์ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจน ที่นี้โดยองค์ภควานฺเองว่า (มตฺ-จิตฺตห์, มตฺ-ปรห์, มตฺ-สฺถานมฺ) เขาสามารถได้รับความสงบอย่างแท้จริง และในที่สุดจะสามารถบรรลุถึงพระตำหนักสูงสุดขององค์ภควานฺ กฺฤษฺณโลก มีนามว่า โคโลก วฺฤนฺทาวน ใน พฺรหฺม-สํหิตา (5.37) ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า โคโลก เอว นิวสตฺยฺ อขิลาตฺม-ภูตห์ ถึงแม้ว่าองค์ภควานฺ ทรงประทับอยู่ที่พระตำหนัก ไว มนห์ กฺฤษฺณ-ปทารวินฺทโยห์ ของพระองค์อยู่เสมอ แต่พระองค์ทรงเป็น พฺรหฺมนฺ ที่แผ่กระจายไปทั่วและทรงเป็น ปรมาตฺมา ผู้ทรงประทับอยู่ในทุกร่างเช่นกันด้วยพลังงานทิพย์ที่สูงกว่าของพระองค์ไม่มีใครสามารถบรรลุถึงท้องฟ้าทิพย์ (ไวกุณฺฐ) หรือเข้าไปในพระตำหนักอมตะของพระองค์(โคโลก วฺฤนฺทาวน) ได้โดยปราศจากความเข้าใจองค์กฺฤษฺณและอวตารในรูปพระวิษณุของพระองค์อย่างถูกต้อง ฉะนั้นบุคคลผู้ทำงานในกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงเป็นโยคีที่สมบูรณ์ เพราะว่าจิตใจของเขาซึบซาบอยู่ในกิจกรรมขององค์กฺฤษฺณเสมอ ( ไว มนห์ กฺฤษฺณ-ปทารวินฺทโยห์) ในคัมภีร์พระเวท (เศฺวตาศฺวตร อุปนิษทฺ 3.8) เราได้เรียนรู้เช่นกันว่า ตมฺ เอว วิทิตฺวาติ มฺฤตฺยุมฺ เอติ “เขาสามารถข้ามพ้นวิถีแห่งการเกิดและการตายด้วยการเข้าใจบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์กฺฤษฺณเท่านั้น” หรืออีกนัยหนึ่งความสมบูรณ์ของระบบโยคะก็คือการบรรลุถึงเสรีภาพจากความเป็นอยู่ทางวัตถุ ไม่ใช่มายากลหรือการแสดงท่ากายกรรมเพื่อหลอกลวงประชาชนผู้พาซื่อ

โศลก 16

nāty-aśnatas tu yogo ’sti
na caikāntam anaśnataḥ
na cāti-svapna-śīlasya
jāgrato naiva cārjuna
นาตฺยฺ-อศฺนตสฺ ตุ โยโค ’สฺติ
น ไจกานฺตมฺ อนศฺนตห์
น จาติ-สฺวปฺน-ศีลสฺย
ชาคฺรโต ไนว จารฺชุน
— ไม่เคย, อติ — มากไป, อศฺนตห์ — ของผู้รับประทาน, ตุ — แต่, โยคห์ — เชื่อมสัมพันธ์กับองค์ภควานฺ, อสฺติ — มี, — ไม่, — เช่นกัน, เอกานฺตมฺ — มากไป, อนศฺนตห์ — ไม่ฟุ่มเฟือยในการกิน, — ไม่, — เช่นกัน, อติ — มากไป, สฺวปฺน-ศีลสฺย — ของผู้นอน, ชาคฺรตห์ — หรือผู้ที่ตื่นตอนกลางคืนมากเกินไป, — ไม่, เอว — แน่นอน, — และ, อรฺชุน — โอ้ อรฺชุน

คำแปล

โอ้ อรฺชุน เป็นไปไม่ได้ที่บุคคลจะมาเป็นโยคี หากเขากินมากเกินไป หรือกินน้อยเกินไป นอนมากเกินไป หรือนอนไม่พอ

คำอธิบาย

การประมาณการกินและการนอนได้แนะนำไว้ ที่นี้ สำหรับโยคีการกินมากเกินไปนั้นหมายถึงกินเกินความจำเป็นที่จะดำรงรักษาร่างกายและวิญญาณไว้ด้วยกัน ไม่มีความจำเป็นที่มนุษย์ต้องกินสัตว์เพราะมีอาหารมากมาย เช่น เมล็ดข้าวต่างๆ ผัก ผลไม้ และนม อาหารง่ายๆเหล่านี้จัดอยู่ในระดับแห่งความดีตาม ภควัท-คีตา อาหารที่ทำจากสัตว์จัดอยู่ในระดับอวิชชา ฉะนั้นพวกที่ชอบกินเนื้อสัตว์ ชอบดื่มสุรา ชอบเสพสิ่งเสพติด และกินอาหารที่ไม่ถวายให้องค์กฺฤษฺณก่อนจะได้รับความทุกข์จากวิบากกรรม เพราะกินแต่ของที่เป็นพิษทั้งนั้น ภุญฺชเต เต ตฺวฺ อฆํ ปาปา เย ปจนฺตฺยฺ อาตฺม-การณาตฺ ผู้ใดที่กินเพื่อความสุขของประสาทสัมผัส หรือปรุงอาหารสำหรับตนเองไม่ถวายอาหารให้องค์กฺฤษฺณจะกินแต่ความบาปเท่านั้น ผู้ที่กินความบาปและกินเกินกว่าที่กำหนดไว้สำหรับตนไม่สามารถปฏิบัติโยคะได้อย่างสมบูรณ์ วิธีที่ดีที่สุดคือกินเฉพาะ ปฺรสาทมฺ อาหารที่เหลือหลังจากการถวายให้องค์กฺฤษฺณแล้ว บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่กินอะไรที่ไม่ถวายให้องค์กฺฤษฺณก่อน ฉะนั้นบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงสามารถบรรลุถึงความสมบูรณ์ในการปฏิบัติโยคะ ผู้ที่อดอาหารแบบฝืนธรรมชาติ คิดค้นวิธีการอดอาหารขึ้นมาเองไม่สามารถฝึกปฏิบัติโยคะได้ บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกอดอาหารตามที่พระคัมภีร์ได้แนะนำไว้ และไม่อดอาหารหรือกินมากเกินความจำเป็น ดังนั้นเขาจึงสามารถฝึกปฏิบัติโยคะได้ ผู้ที่กินมากเกินความจำเป็นจะฝันมากในขณะหลับ ดังนั้นจึงต้องนอนมากเกินความจำเป็น เราไม่ควรนอนมากกว่าหกชั่วโมงต่อวัน ผู้ที่นอนมากกว่าหกชั่วโมงในยี่สิบสี่ชั่วโมงแน่นอนว่าจะถูกอิทธิพลของระดับอวิชชาครอบงำ บุคคลผู้อยู่ในระดับอวิชชาจะมีความเกียจคร้านและชอบนอนมาก บุคคลเช่นนี้จะไม่สามารถปฏิบัติโยคะได้

โศลก 17

yuktāhāra-vihārasya
yukta-ceṣṭasya karmasu
yukta-svapnāvabodhasya
yogo bhavati duḥkha-hā
ยุกฺตาหาร-วิหารสฺย
ยุกฺต-เจษฺฏสฺย กรฺมสุ
ยุกฺต-สฺวปฺนาวโพธสฺย
โยโค ภวติ ทุห์ข-หา
ยุกฺต — ประมาณ, อาหาร — การกิน, วิหารสฺย — การพักผ่อนหย่อนใจ, ยุกฺต — ประมาณ, เจษฺฏสฺย — ของผู้ทำงานเพื่อการดำรงชีวิต, กรฺมสุ — ในการปฏิบัติหน้าที่, ยุกฺต — ประมาณ, สฺวปฺน-อวโพธสฺย — นอนและตื่น, โยคห์ — ฝึกปฏิบัติโยคะ, ภวติ — มาเป็น, ทุห์ข-หา — ความเจ็บปวดหายไป

คำแปล

ผู้ที่ประมาณนิสัยในการกิน การนอน การพักผ่อนหย่อนใจ และการทำงานจะสามารถขจัดความเจ็บปวดทางวัตถุทั้งปวงได้ด้วยการฝึกปฏิบัติตามระบบโยคะ

คำอธิบาย

ความสุรุ่ยสุร่ายในเรื่องของการกิน การนอน การป้องกันตัว และเพศสัมพันธ์ซึ่งเป็นความต้องการของร่างกายจะขวางกั้นความเจริญก้าวหน้าในการฝึกปฏิบัติโยคะ เกี่ยวกับการกินนั้นเราสามารถประมาณได้เมื่อเราฝึกยอมรับและกินเฉพาะ ปฺรสาทมฺ อาหารทิพย์เท่านั้น ตาม ภควัท-คีตา (9.26) องค์กฺฤษฺณทรงรับการถวายพวกผัก แป้ง ผลไม้ ข้าว นม ฯลฯ เช่นนี้บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกได้รับการฝึกฝนให้ไม่กินอาหารที่ไม่ใช่เป็นอาหารของมนุษย์ หรืออาหารที่ไม่อยู่ในประเภทแห่งความดีโดยปริยาย เกี่ยวกับการนอนนั้นบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะตื่นอยู่เสมอกับการปฏิบัติหน้าที่ในกฺฤษฺณจิตสำนึก ดังนั้นเวลาที่สูญเสียไปในการนอนโดยไม่จำเป็นถือว่าเป็นการสูญเสียอย่างใหญ่หลวง อวฺยรฺถ-กาลตฺวมฺ บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่สามารถทนได้ต่อเวลาแม้เพียงหนึ่งนาทีของชีวิตที่ผ่านไปโดยไม่ปฏิบัติตนรับใช้องค์ภควานฺ ฉะนั้นการนอนจึงจำกัดไว้ให้น้อยที่สุด ตัวอย่างที่ดีเลิศในเรื่องนี้ได้แก่ ศฺรีล รูป โคสฺวามี ผู้ปฏิบัติตนรับใช้แด่องค์กฺฤษฺณอยู่เสมอและไม่สามารถนอนเกินสองชั่วโมงต่อวันบางครั้งก็น้อยกว่านี้ ฐากุร หริทาส จะไม่รับประทาน ปฺรสาทมฺ และไม่นอนแม้แต่นาทีเดียวหากไม่เสร็จสิ้นการสวดมนต์ภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ประจำวันถึงสามแสนพระนามบนประคำ เกี่ยวกับเรื่องงานนั้นบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่ทำอะไรที่ไม่สัมพันธ์กับจุดประสงค์ขององค์กฺฤษฺณ ดังนั้นงานของเขาจึงพอประมาณอยู่เสมอและไร้มลทินจากการสนองประสาทสัมผัสเนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับการสนองประสาทสัมผัสบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงไม่มีเวลาปล่อยสบายทางวัตถุ เพราะว่าเขาประมาณในการทำงาน การพูด การนอน การตื่นและกิจกรรมอื่นๆของร่างกายทั้งหมด สำหรับเขาจึงไม่ได้รับความทุกข์ทางวัตถุ

โศลก 18

yadā viniyataṁ cittam
ātmany evāvatiṣṭhate
nispṛhaḥ sarva-kāmebhyo
yukta ity ucyate tadā
ยทา วินิยตํ จิตฺตมฺ
อาตฺมนฺยฺ เอวาวติษฺฐเต
นิสฺปฺฤหห์ สรฺว-กาเมโภฺย
ยุกฺต อิตฺยฺ อุจฺยเต ตทา
ยทา — เมื่อ, วินิยตมฺ — มีระเบียบวินัย, จิตฺตมฺ — จิตใจและกิจกรรมของจิต, อาตฺมนิ — ในความเป็นทิพย์, เอว — แน่นอน, อวติษฺฐเต — สถิต, นิสฺปฺฤหห์ — ปราศจากความต้องการ, สรฺว — สำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง, กาเมภฺยห์ — การสนองประสาทสัมผัสวัตถุ, ยุกฺตห์ — สถิตอย่างดีในโยคะ, อิติ — ดังนั้น, อุจฺยเต — กล่าวว่า, ตทา — ในขณะนั้น

คำแปล

เมื่อโยคีได้ฝึกปฏิบัติโยคะทำให้กิจกรรมจิตใจมีระเบียบวินัย และสถิตในความเป็นทิพย์ ปราศจากความต้องการทางวัตถุทั้งปวง กล่าวได้ว่าเขานั้นได้สถิตอย่างดีในโยคะ

คำอธิบาย

กิจกรรมของโยคีจะแตกต่างจากบุคคลธรรมดาทั่วไปด้วยลักษณะที่หยุดจากความต้องการทางวัตถุทั้งปวงซึ่งมีเพศสัมพันธ์เป็นตัวนำ โยคีผู้สมบูรณ์มีระเบียบวินัยอย่างดีในกิจกรรมของจิตใจที่ทำให้ตัวเขาไม่ถูกรบกวนจากความต้องการทางวัตถุใดๆทั้งสิ้น ระดับอันสมบูรณ์เช่นนี้บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกบรรลุได้โดยปริยาย ดังที่ได้กล่าวไว้ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (9.4.18-20)

ส ไว มนห์ กฺฤษฺณ-ปทารวินฺทโยรฺ
วจำสิ ไวกุณฺฐ-คุณานุวรฺณเน
กเรา หเรรฺ มนฺทิร-มารฺชนาทิษุ
ศฺรุตึ จการาจฺยุต-สตฺ-กโถทเย
มุกุนฺท-ลิงฺคาลย-ทรฺศเน ทฺฤเศา
ตทฺ-ภฺฤตฺย-คาตฺร-สฺปรฺเศ ’งฺค-สงฺคมมฺ
ฆฺราณํ จ ตตฺ-ปาท-สโรช-เสารเภ
ศฺรีมตฺ-ตุลสฺยา รสนำ ตทฺ-อรฺปิเต
ปาเทา หเรห์ เกฺษตฺร-ปทานุสรฺปเณ
ศิโร หฺฤษีเกศ-ปทาภิวนฺทเน
กามํ จ ทาเสฺย น ตุ กาม-กามฺยยา
ยโถตฺตม-โศฺลก-ชนาศฺรยา รติห์
“ครั้งแรกพระราชา อมฺพรีษ ทรงใช้พระจิตของพระองค์ตั้งอยู่ที่พระบาทรูปดอกบัวขององค์ศฺรี กฺฤษฺณ จากนั้นทรงใช้พระดำรัสในการอธิบายคุณสมบัติทิพย์ขององค์กฺฤษฺณ ทรงใช้พระหัตถ์ทำความสะอาดวัดขององค์กฺฤษฺณ ทรงใช้พระกรรณในการสดับฟังกิจกรรมขององค์กฺฤษฺณ ทรงใช้พระเนตรในการมองรูปลักษณ์ทิพย์ขององค์กฺฤษฺณ ทรงใช้พระวรกายในการสัมผัสร่างกายของสาวก ทรงใช้ประสาทสัมผัสในการดมกลิ่นหอมจากดอกบัวที่ถวายให้องค์กฺฤษฺณ ทรงใช้พระชิวหาในการลิ้มรสใบทุละสีที่ถวายแด่พระบาทรูปดอกบัวขององค์กฺฤษฺณ ทรงใช้พระบาทในการเสด็จไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และวัดขององค์กฺฤษฺณ ทรงใช้พระเศียรในการถวายความเคารพแด่องค์กฺฤษฺณ และทรงใช้พระราชดำริในการปฏิบัติพระภารกิจขององค์กฺฤษฺณ กิจกรรมทิพย์ทั้งหลายเหล่านี้เหมาะสมสำหรับสาวกผู้บริสุทธิ์”

ระดับทิพย์นี้ผู้ปฏิบัติตามวิถีทางที่ไร้รูปลักษณ์ไม่สามารถแสดงออกให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ แต่เป็นสิ่งที่ง่ายและปฏิบัติได้สำหรับบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นที่ มหาราช อมฺพรีษ ทรงปฏิบัติ นอกเสียจากว่าจิตเราจะตั้งมั่นอยู่ที่พระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควานฺด้วยการระลึกถึงพระองค์อยู่เสมอไม่เช่นนั้นการปฏิบัติทิพย์เช่นนี้ก็จะเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นในการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺกิจกรรมที่ได้กล่าวไว้เหล่านี้เรียกว่า อรฺจน หรือการใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมดไปในการรับใช้พระองค์ประสาทสัมผัสและจิตใจจำเป็นต้องทำงาน การทำเป็นละเลยไม่สนใจไม่ให้มันทำงานเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นสำหรับผู้คนทั่วไปโดยเฉพาะบุคคลที่ไม่อยู่ในระดับสละโลกวัตถุ การใช้ประสาทสัมผัสและจิตใจปฏิบัติรับใช้ทิพย์ดังที่ได้อธิบายแล้วข้างต้นจึงเป็นวิธีที่สมบูรณ์ในการบรรลุถึงวิถีทิพย์ ซึ่งเรียกว่า ยุกฺต ใน ภควัท-คีตา

โศลก 19

yathā dīpo nivāta-stho
neṅgate sopamā smṛtā
yogino yata-cittasya
yuñjato yogam ātmanaḥ
ยถา ทีโป นิวาต-โสฺถ
เนงฺคเต โสปมา สฺมฺฤตา
โยคิโน ยต-จิตฺตสฺย
ยุญฺชโต โยคมฺ อาตฺมนห์
ยถา — ดังเช่น, ทีปห์ — ตะเกียง, นิวาต-สฺถห์ — ในสถานที่ไม่มีลม, — ไม่, อิงฺคเต — แกว่งไกว, สา — นี้, อุปมา — เปรียบเทียบ, สฺมฺฤตา — พิจารณาว่า, โยคินห์ — ของโยคี, ยต-จิตฺตสฺย — ผู้ที่จิตใจควบคุมได้, ยุญฺชตห์ — ปฏิบัติอยู่เสมอ, โยคมฺ — ในสมาธิ, อาตฺมนห์ — ที่องค์ภควานฺ

คำแปล

ดังเช่นตะเกียงในสถานที่ที่ไม่มีลมจะไม่หวั่นไหว นักทิพย์นิยมผู้ควบคุมจิตใจของตนเองได้จะดำรงรักษาความมั่นคงในการทำสมาธิอยู่ที่รูปลักษณ์ทิพย์เสมอ

คำอธิบาย

บุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างแท้จริงจะซึมซาบอยู่ในความเป็นทิพย์ ด้วยการปฏิบัติสมาธิอย่างไม่หวั่นไหวอยู่ที่องค์ภควานฺ ผู้ทรงเป็นที่เคารพบูชาของเขาอยู่เสมอ และมีความมั่นคงเสมือนดังเช่นตะเกียงที่อยู่ในสถานที่ที่ไม่มีลม

โศลก 20-23

yatroparamate cittaṁ
niruddhaṁ yoga-sevayā
yatra caivātmanātmānaṁ
paśyann ātmani tuṣyati
ยโตฺรปรมเต จิตฺตํ
นิรุทฺธํ โยค-เสวยา
ยตฺร ไจวาตฺมนาตฺมานํ
ปศฺยนฺนฺ อาตฺมนิ ตุษฺยติ
sukham ātyantikaṁ yat tad
buddhi-grāhyam atīndriyam
vetti yatra na caivāyaṁ
sthitaś calati tattvataḥ
สุขมฺ อาตฺยนฺติกํ ยตฺ ตทฺ
พุทฺธิ-คฺราหฺยมฺ อตีนฺทฺริยมฺ
เวตฺติ ยตฺร น ไจวายํ
สฺถิตศฺ จลติ ตตฺตฺวตห์
yaṁ labdhvā cāparaṁ lābhaṁ
manyate nādhikaṁ tataḥ
yasmin sthito na duḥkhena
guruṇāpi vicālyate
ยํ ลพฺธฺวา จาปรํ ลาภํ
มนฺยเต นาธิกํ ตตห์
ยสฺมินฺ สฺถิโต น ทุห์เขน
คุรุณาปิ วิจาลฺยเต
taṁ vidyād duḥkha-saṁyoga-
viyogaṁ yoga-saṁjñitam
ตํ วิทฺยาทฺ ทุห์ข-สํโยค-
วิโยคํ โยค-สํชฺญิตมฺ
ยตฺร — ธุระในระดับนั้นที่, อุปรมเต — หยุด (เพราะเขารู้สึกได้รับความสุขทิพย์), จิตฺตมฺ — กิจกรรมทางจิต, นิรุทฺธมฺ — หักห้ามจากวัตถุ, โยค-เสวยา — ด้วยการปฏิบัติโยคะ, ยตฺร — ซึ่ง, — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, อาตฺมนา — ด้วยจิตที่บริสุทธิ์, อาตฺมานมฺ — ตัว, ปศฺยนฺ — รู้แจ้งสถานภาพของ, อาตฺมนิ — ในตัว, ตุษฺยติ — เขาพึงพอใจ, สุขมฺ — ความสุข, อาตฺยนฺติกมฺ — สูงสุด, ยตฺ — ซึ่ง, ตตฺ — นั้น, พุทฺธิ — ด้วยปัญญา, คฺราหฺยมฺ — เข้าถึงได้, อตีนฺทฺริยมฺ — ทิพย์, เวตฺติ — เขาทราบ, ยตฺร — ในที่, — ไม่เคย, — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, อยมฺ — เขา, สฺถิตห์ — สถิต, จลติ — เคลื่อน, ตตฺตฺวตห์ — จากความจริง, ยมฺ — ที่ซึ่ง, ลพฺธฺวา — ด้วยการบรรลุ, — เช่นกัน, อปรมฺ — ใดๆ, ลาภมฺ — กำไร, มนฺยเต — พิจารณา, — ไม่เคย, อธิกมฺ — มากกว่า, ตตห์ — กว่านั้น, ยสฺมินฺ — ซึ่งใน, สฺถิตห์ — สถิต, — ไม่เคย, ทุห์เขน — ด้วยความทุกข์, คุรุณา อปิ — ถึงแม้ว่ายากมาก, วิจาลฺยเต — สั่น, ตมฺ — นั้น, วิทฺยาตฺ — เธอต้องรู้, ทุห์ข-สํโยค — ของความทุกข์จากการมาสัมผัสกับวัตถุ, วิโยคมฺ — ถอนราก, โยค-สํชฺญิตมฺ — เรียกว่าสมาธิในโยคะ

คำแปล

ในระดับแห่งความสมบูรณ์เรียกว่าสมาธิ จิตของเขาจะถูกควบคุมอย่างสมบูรณ์ให้ออกจากกิจกรรมตามแนวคิดทางวัตถุด้วยการฝึกปฏิบัติโยคะ ความสมบูรณ์เช่นนี้มีลักษณะคือเขาสามารถเห็นตนเองด้วยจิตที่บริสุทธิ์ และมีความร่าเริงยินดีอยู่ในตนเอง ในระดับแห่งความร่าเริงนั้นเขาสถิตในความสุขทิพย์ที่ไร้ขอบเขต รู้แจ้งผ่านทางประสาทสัมผัสทิพย์ เมื่อสถิตเช่นนี้จะไม่มีวันออกห่างจากความจริง และจากการได้รับสิ่งนี้เขาคิดว่าไม่มีอะไรที่จะยิ่งใหญ่ไปกว่า เมื่อสถิตในสถานภาพนี้จะไม่มีวันสั่นคลอนแม้จะอยู่ท่ามกลางความยากลำบากอย่างใหญ่หลวง นี่คือเสรีภาพอันแท้จริงจากความทุกข์ทั้งปวงที่เกิดขึ้นจากการมาสัมผัสกับวัตถุ

คำอธิบาย

จากการฝึกปฏิบัติโยคะทำให้เริ่มไม่ยึดติดกับความคิดเห็นทางวัตถุทีละน้อย นี่คือลักษณะพื้นฐานของหลักโยคะ และหลังจากนี้เขาสถิตในสมาธิ ซึ่งหมายความว่าโยคีรู้แจ้งองค์อภิวิญญาณผ่านทางจิตและปัญญาทิพย์โดยปราศจากความเข้าใจผิดไปสำคัญตนเองว่าเป็นอภิวิญญาณ การฝึกปฏิบัติโยคะมีพื้นฐานอยู่ที่หลักธรรมของระบบ ปตญฺชลิ มีผู้อธิบายบางท่านที่เชื่อถือไม่ได้พยายามบอกว่าปัจเจกวิญญาณเหมือนกับอภิวิญญาณ พวกที่ไม่เชื่อในองค์ภควานฺคิดว่าสิ่งนี้คือความหลุดพ้นแต่ไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของโยคะ ระบบ ปตญฺชลิ มีการยอมรับความสุขทิพย์ในระบบ ปตญฺชลิ แต่พวกที่เชื่อว่าเป็นหนึ่งเดียวกันจะไม่ยอมรับความสุขทิพย์นี้เนื่องจากกลัวอันตรายที่จะมีต่อทฤษฏีความเป็นหนึ่งเดียวกัน ความเป็นสิ่งคู่ระหว่างความรู้และผู้รู้พวกนี้ไม่ยอมรับ แต่ในโศลกนี้ความสุขทิพย์ซึ่งรู้แจ้งผ่านทางประสาทสัมผัสทิพย์เป็นที่ยอมรับ และ ปตญฺชลิ มุนิ ผู้อธิบายระบบโยคะที่มีชื่อเสียงได้ยืนยันสนับสนุนจุดนี้ นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ได้ประกาศใน โยค-สูตฺร (4.34) ของท่านว่า ปุรุษารฺถ-ศูนฺยานำ คุณานำ ปฺรติปฺรสวห์ ไกวลฺยํ สฺวรูป-ปฺรติษฺฐา วา จิติ-ศกฺติรฺ อิติ

จิติ-ศกฺติ หรือกำลังภายในนี้เป็นทิพย์ ปุรุษารฺถ หมายถึงศาสนาวัตถุ การพัฒนาเศรษฐกิจ การสนองประสาทสัมผัส ในที่สุดจะพยายามมาเป็นหนึ่งเดียวกับองค์ภควานฺ “ความเป็นหนึ่งเดียวกับองค์ภควานฺ” นี้เรียกว่า ไกวลฺยมฺ โดยผู้ที่เชื่อว่าเป็นหนึ่งเดียวกัน แต่ ปตญฺชลิ กล่าวว่า ไกวลฺยมฺ นี้เป็นกำลังภายในหรือพลังทิพย์ซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตสำเหนียกถึงสถานภาพพื้นฐานของตน ในคำดำรัสขององค์ศฺรี ไจตนฺย ระดับของสภาวะนี้เรียกว่า เจโต-ทรฺปณ-มารฺชนมฺ หรือการทำความสะอาดกระจกแห่งจิตใจที่สกปรก “ความใสบริสุทธิ์” นี้อันที่จริงคือความหลุดพ้นหรือ ภว-มหา-ทาวาคฺนิ-นิรฺวาปณมฺ ทฤษฏี นิรฺวาณ โดยพื้นฐานมีลักษณะเช่นเดียวกันกับหลักนี้ ใน ภาควต (2.10.6) สิ่งนี้เรียกว่า สฺวรูเปณ วฺยวสฺถิติห์ โศลกใน ภควัท-คีตา ได้ยืนยันสถานการณ์นี้ไว้เช่นกัน

หลังจาก นิรฺวาณ หรือการจบสิ้นทางวัตถุจะมีปรากฏการณ์แห่งกิจกรรมทิพย์หรือการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺเรียกว่า กฺฤษฺณจิตสำนึก ในคำพูดของ ภาควตมฺ สฺวรูเปณ วฺยวสฺถิติห์ นี่คือ “ชีวิตอันแท้จริงของสิ่งมีชีวิต” มายา หรือความหลงคือสภาวะของชีวิตทิพย์ที่มีมลทินจากเชื้อโรคทางวัตถุ ความหลุดพ้นจากเชื้อโรคทางวัตถุนี้มิได้หมายความว่าทำลายสถานภาพพื้นฐานนิรันดรของสิ่งมีชีวิต ปตญฺชลิ ยอมรับเช่นเดียวกันนี้ด้วยคำพูดของท่านว่า ไกวลฺยํ สฺวรูป-ปฺรติษฺฐา วา จิติ-ศกฺติรฺ อิติ คำว่า จิติ-ศกฺติ หรือความสุขทิพย์นี้คือชีวิตที่แท้จริง ได้ยืนยันไว้ใน เวทานฺต-สูตฺร (1.1.12) ว่า อานนฺท-มโย ’ภฺยาสาตฺ ความสุขทิพย์ตามธรรมชาตินี้คือจุดมุ่งหมายสูงสุดของโยคะ และบรรลุได้โดยง่ายดายด้วยการปฏิบัติอุทิศตนเสียสละรับใช้หรือ ภกฺติ-โยค จะอธิบาย ภกฺติ-โยค อย่างชัดเจนในบทที่เจ็ดของ ภควัท-คีตา

ระบบโยคะที่อธิบายในบทนี้จะมี สมาธิ อยู่สองประเภทเรียกว่า สมฺปฺรชฺญาต - สมาธิ และ สมฺปฺรชฺญาต-สมาธิ เมื่อสถิตในตำแหน่งทิพย์ด้วยการศึกษาวิจัยทางปรัชญาต่างๆ กล่าวไว้ว่าเขาได้บรรลุ สมฺปฺรชฺญาต-สมาธิ ใน อสมฺปฺรชฺญาต-สมาธิ จะไม่มีความสัมพันธ์กับความสุขทางโลกอีกต่อไปเพราะอยู่เหนือความสุขต่างๆที่ได้รับจากประสาทสัมผัส เมื่อโยคีสถิตในสถานภาพนี้จะไม่มีวันสั่นคลอนนอกจากโยคะจะสามารถบรรลุถึงสถานภาพนี้ได้มิฉะนั้นจะถือว่าไม่สำเร็จ การปฏิบัติโยคะที่เรียกกันในปัจจุบันนี้ประกอบไปด้วยความสุขทางประสาทสัมผัสต่างๆนานาซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดกัน โยคีที่ปล่อยตัวไปในเพศสัมพันธ์และสิ่งเสพติดเป็นโยคีจอมปลอม แม้แต่พวกโยคีที่หลงใหลไปกับ สิทฺธิ (อิทธิฤทธิ์) ในระบบโยคะก็มิได้สถิตอย่างสมบูรณ์ หากโยคีหลงใหลไปกับผลข้างเคียงของโยคะจะไม่สามารถบรรลุถึงระดับแห่งความสมบูรณ์ดังที่ได้กล่าวไว้ในโศลกนี้ ฉะนั้นบุคคลที่ปล่อยตัวไปในการอวดวิธีปฏิบัติท่ากายกรรมต่างๆ หรือ สิทฺธิ ควรรู้ไว้ว่าจุดมุ่งหมายของโยคะได้สูญหายไปในทางนั้นแล้ว

การฝึกปฏิบัติโยคะที่ดีที่สุดในยุคนี้คือ กฺฤษฺณจิตสำนึกซึ่งไม่ยุ่งยาก บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกมีความสุขในอาชีพของตน และไม่ปรารถนาความสุขอื่นใด มีอุปสรรคมากมายในการปฏิบัติ หฐ-โยค, ธฺยาน-โยค และ ชฺญาน-โยค โดยเฉพาะในยุคแห่งความขัดแย้งนี้ แต่จะไม่มีปัญหาในการปฏิบัติ กรฺม-โยค หรือ ภกฺติ-โยค

ตราบเท่าที่ยังมีร่างวัตถุอยู่เราจะต้องสนองตอบอุปสงค์ของร่างกาย เช่น การกิน การนอน การป้องกันตัว และเพศสัมพันธ์ แต่ผู้ที่อยู่ใน ภกฺติ-โยค ที่บริสุทธิ์ หรือในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่กระตุ้นประสาทสัมผัสขณะที่สนองตอบความต้องการของร่างกาย แต่ยอมรับสิ่งจำเป็นที่สุดของชีวิตโดยพยายามจะใช้สิ่งไม่ดีที่ได้รับมาให้ได้ดีที่สุด และเพลิดเพลินกับความสุขทิพย์ในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะมีอุปสรรคต่อเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น อุบัติเหตุ โรคภัยไข้เจ็บ ความขาดแคลน แม้กระทั่งความตายของญาติสุดที่รัก แต่จะตื่นตัวอยู่เสมอในการปฏิบัติหน้าที่ของตนในกฺฤษฺณจิตสำนึกหรือ ภกฺติ-โยค อุบัติเหตุไม่เคยทำให้เขาบ่ายเบี่ยงไปจากหน้าที่ ดังที่กล่าวไว้ใน ภควัท-คีตา (2.14) อาคมาปายิโน ’นิตฺยาสฺ ตำสฺ ติติกฺษสฺว ภารต เขาอดทนต่อเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นเพราะทราบว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาแล้วจะดับไป มันไม่มีผลกระทบต่อหน้าที่ของตน ด้วยวิธีนี้จะทำให้บรรลุถึงความสมบูรณ์สูงสุดในการฝึกปฏิบัติโยคะ

โศลก 24

sa niścayena yoktavyo
yogo ’nirviṇṇa-cetasā
saṅkalpa-prabhavān kāmāṁs
tyaktvā sarvān aśeṣataḥ
ส นิศฺจเยน โยกฺตโวฺย
โยโค ’นิรฺวิณฺณ-เจตสา
สงฺกลฺป-ปฺรภวานฺ กามำสฺ
ตฺยกฺตฺวา สรฺวานฺ อเศษตห์
manasaivendriya-grāmaṁ
viniyamya samantataḥ
มนไสเวนฺทฺริย-คฺรามํ
วินิยมฺย สมนฺตตห์
สห์ — นั้น, นิศฺจเยน — ด้วยความมั่นใจอย่างแน่วแน่, โยกฺตวฺยห์ — ต้องฝึกปฏิบัติ, โยคห์ — ระบบโยคะ, อนิรฺวิณฺณ-เจตสา — ปราศจากการเบี่ยงเบน, สงฺกลฺป — การคาดคะเนทางจิตใจ, ปฺรภวานฺ — เกิดจาก, กามานฺ — ความปรารถนาทางวัตถุ, ตฺยกฺตฺวา — ยกเลิก, สรฺวานฺ — ทั้งหมด, อเศษตห์ — อย่างสมบูรณ์, มนสา — ด้วยจิตใจ, เอว — แน่นอน, อินฺทฺริย-คฺรามมฺ — ประสาทสัมผัสครบชุด, วินิยมฺย — ประมาณ, สมนฺตตห์ — จากรอบด้าน

คำแปล

เราควรปฏิบัติตนในการฝึกปฏิบัติโยคะด้วยความมั่นใจและศรัทธาโดยไม่เบี่ยงเบนจากวิถีทาง เราควรละทิ้งความปรารถนาทางวัตถุทั้งมวลอันเกิดมาจากการคาดคะเนทางจิตใจโดยไม่มีข้อยกเว้น และควบคุมประสาทสัมผัสทั้งหมดจากรอบด้านด้วยจิตใจ

คำอธิบาย

ผู้ฝึกปฏิบัติโยคะควรมีความมั่นใจ ควรฝึกปฏิบัติด้วยความอดทนโดยไม่เบี่ยงเบน เขาควรมั่นใจในความสำเร็จในขั้นสุดท้าย และดำเนินตามหลักการด้วยความพากเพียรอย่างมั่นคง ไม่มีการหมดกำลังใจหากบรรลุความสำเร็จล่าช้า ความสำเร็จนั้นแน่นอนสำหรับผู้ที่ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด รูป โคสฺวามี ได้กล่าวเกี่ยวกับ ภกฺติ-โยค ไว้ดังนี้

อุตฺสาหานฺ นิศฺจยาทฺ ไธรฺยาตฺ
ตตฺ-ตตฺ-กรฺม-ปฺรวรฺตนาตฺ
สงฺค-ตฺยาคาตฺ สโต วฺฤตฺเตห์
ษฑฺภิรฺ ภกฺติห์ ปฺรสิธฺยติ
“เราสามารถปฏิบัติตามวิธีของ ภกฺติ-โยค ให้สำเร็จได้ด้วยหัวใจที่เปี่ยมไปด้วยความกระตือรือร้น พากเพียร และมั่นใจ ด้วยการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ คบหาสมาคมกับสาวกด้วยการปฏิบัติกิจกรรมแห่งความดีโดยสมบูรณ์” (อุปเทศามฺฤต 3)

สำหรับความมั่นใจเราควรปฏิบัติตามตัวอย่างของนกกระจอกผู้สูญเสียไข่ของตนไปกับคลื่นในมหาสมุทร นกกระจอกน้อยวางไข่อยู่ที่ชายหาดมหาสมุทรแต่มหาสมุทรอันยิ่งใหญ่ได้พัดพาเอาไข่ไปกับคลื่น นกกระจอกน้อยโมโหมากและขอร้องให้มหาสมุทรคืนไข่ มหาสมุทรไม่สนใจแม้แต่จะพิจารณาคำร้องของเธอ นกกระจอกจึงน้อยตัดสินใจที่จะทำให้มหาสมุทรนี้แห้งลงจึงเริ่มตักน้ำด้วยจงอยปากอันน้อยนิดของมัน ทุกๆคนหัวเราะเยาะต่อความมุ่งมั่นที่เป็นไปไม่ได้ ข่าวการกระทำของนกกระจอกน้อยนี้ได้แพร่สะพัดไป ในที่สุด ครุฑ (พญาครุฑ) พญานกที่เป็นพาหนะของพระวิษณุได้ยินเข้าจึงมีความเมตตาสงสารต่อนกน้อยผู้ซึ่งเปรียบเสมือนน้องสาว พญาครุฑจึงมาพบนกกระจอกน้อย พญาครุฑรู้สึกยินดีมากในความมุ่งมั่นของนกกระจอกน้อยจึงรับปากว่าจะช่วย ดังนั้นพญาครุฑจึงได้ขอร้องให้มหาสมุทรนำไข่ของนกกระจอกน้อยมาคืนทันทีไม่อย่างนั้นท่านจะจัดการกับงานของนกกระจอกน้อยนี้เอง มหาสมุทรรู้สึกตกใจจึงนำไข่ทั้งหมดมาคืน จึงทำให้นกกระจอกน้อยได้รับความสุขด้วยพระกรุณาของพญาครุฑ

ในลักษณะเดียวกันการฝึกปฏิบัติโดยโยคะเฉพาะ ภกฺติ-โยค ในกฺฤษฺณจิตสำนึกอาจดูเหมือนว่าเป็นงานที่ยากมาก แต่หากผู้ใดปฏิบัติตามหลักธรรมด้วยความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่องค์กฺฤษฺณจะทรงช่วยอย่างแน่นอน เพราะว่าพระองค์ทรงช่วยคนที่ช่วยตนเอง

โศลก 25

śanaiḥ śanair uparamed
buddhyā dhṛti-gṛhītayā
ātma-saṁsthaṁ manaḥ kṛtvā
na kiñcid api cintayet
ศไนห์ ศไนรฺ อุปรเมทฺ
พุทฺธฺยา ธฺฤติ-คฺฤหีตยา
อาตฺม-สํสฺถํ มนห์ กฺฤตฺวา
น กิญฺจิทฺ อปิ จินฺตเยตฺ
ศไนห์ — ทีละน้อย, ศไนห์ — ทีละขั้น, อุปรเมตฺ — เขาควรระงับ, พุทฺธฺยา — ด้วยปัญญา, ธฺฤติ-คฺฤหีตยา — ปฏิบัติด้วยความมั่นใจ, อาตฺม-สํสฺถมฺ — วางอยู่ในความเป็นทิพย์, มนห์ — จิตใจ, กฺฤตฺวา — ทำ, — ไม่, กิญฺจิตฺ — สิ่งอื่นใด, อปิ — แม้, จินฺตเยตฺ — ควรคิดถึงมัน

คำแปล

ค่อยๆเป็นค่อยๆไปทีละขั้น เขาควรสถิตในสมาธิด้วยวิถีทางแห่งปัญญา และมีความมั่นใจอย่างเต็มเปี่ยม ดังนั้นจิตใจควรตั้งมั่นอยู่ที่ตนเองเท่านั้น และไม่ควรคิดถึงสิ่งอื่นใด

คำอธิบาย

ด้วยความมั่นใจและสติปัญญาที่ถูกต้องเราควรค่อยๆหยุดกิจกรรมทางประสาทสัมผัส เช่นนี้เรียกว่า ปฺรตฺยาหาร จิตใจถูกควบคุมด้วยความมั่นใจ สมาธิ และหยุดกิจกรรมทางประสาทสัมผัส ทำให้สามารถที่จะควบคุมจิตใจได้ และควรสถิตในสมาธิหรือ สมาธิ ในขณะนั้นจะไม่มีอันตรายใดๆเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแนวคิดชีวิตทางวัตถุอีกต่อไป อีกนัยหนึ่งคือถึงแม้ว่าจะพัวพันอยู่กับวัตถุตราบที่ยังมีร่างวัตถุอยู่ก็ไม่ควรคิดถึงการสนองประสาทสัมผัส เราไม่ควรคิดถึงความสุขอื่นใดนอกจากความสุขแห่งองค์ภควานฺ ระดับนี้บรรลุได้โดยง่ายดายด้วยการฝึกปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกโดยตรง

โศลก 26

yato yato niścalati
manaś cañcalam asthiram
tatas tato niyamyaitad
ātmany eva vaśaṁ nayet
ยโต ยโต นิศฺจลติ
มนศฺ จญฺจลมฺ อสฺถิรมฺ
ตตสฺ ตโต นิยไมฺยตทฺ
อาตฺมนฺยฺ เอว วศํ นเยตฺ
ยตห์ ยตห์ — ที่ใด, นิศฺจลติ — ถูกรบกวน, มนห์ — จิตใจ, จญฺจลมฺ — ไม่นิ่ง, อสฺถิรมฺ — ไม่มั่นคง, ตตห์ ตตห์ — จากนั้น, นิยมฺย — ประมาณ, เอตตฺ — นี้, อาตฺมนิ — ในตัว, เอว — แน่นอน, วศมฺ — ควบคุม, นเยตฺ — ต้องนำมาอยู่ภายใต้

คำแปล

จิตใจที่ล่องลอยไปยังแห่งหนใดก็แล้วแต่นั้น เป็นผลมาจากธรรมชาติที่ไม่หยุดนิ่งและไม่มั่นคงของมันเอง เราต้องเอามันออกและดึงมันให้กลับมาอยู่ภายใต้การควบคุมของตัวเราให้ได้

คำอธิบาย

ธรรมชาติของจิตใจนั้นไม่หยุดนิ่งและไม่มั่นคง แต่โยคีผู้รู้แจ้งแห่งตนต้องควบคุมจิตใจ จิตใจนั้นไม่ควรเป็นตัวที่ควบคุมตัวเขา ผู้ที่ควบคุมจิตใจ (รวมทั้งประสาทสัมผัส) ได้เรียกว่า โคสฺวามี หรือ สฺวามี ผู้ที่ถูกจิตใจควบคุมเรียกว่า โค-ทาส หรือเป็นทาสของประสาทสัมผัส โคสฺวามี รู้ถึงมาตรฐานของความสุขทางประสาทสัมผัส ในความสุขทางประสาทสัมผัสทิพย์ประสาทสัมผัสจะต้องปฏิบัติในการรับใช้องค์หฺฤษีเกศ หรือเจ้าของสูงสุดแห่งประสาทสัมผัสคือองค์กฺฤษฺณ การรับใช้องค์กฺฤษฺณด้วยประสาทสัมผัสที่บริสุทธิ์เรียกว่า กฺฤษฺณจิตสำนึก นี่คือวิธีที่จะนำประสาทสัมผัสมาอยู่ภายใต้การควบคุม และเป็นความสมบูรณ์สูงสุดแห่งการฝึกปฏิบัติโยคะ ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้

โศลก 27

praśānta-manasaṁ hy enaṁ
yoginaṁ sukham uttamam
upaiti śānta-rajasaṁ
brahma-bhūtam akalmaṣam
ปฺรศานฺต-มนสํ หฺยฺ เอนํ
โยคินํ สุขมฺ อุตฺตมมฺ
อุไปติ ศานฺต-รชสํ
พฺรหฺม-ภูตมฺ อกลฺมษมฺ
ปฺรศานฺต — สงบ, ตั้งมั่นอยู่ที่พระบาทรูปดอกบัวขององค์กฺฤษฺณ, มนสมฺ — จิตใจของเขา, หิ — แน่นอน, เอนมฺ — นี้, โยคินมฺโยคี, สุขมฺ — ความสุข, อุตฺตมมฺ — สูงสุด, อุไปติ — ได้รับ, ศานฺต-รชสมฺ — ตัณหาสงบลง, พฺรหฺม-ภูตมฺ — หลุดพ้นด้วยการแสดงตัวกับสัจธรรม, อกลฺมษมฺ — เป็นอิสระจากวิบากกรรมในอดีตทั้งมวล

คำแปล

โยคีผู้มีจิตใจตั้งมั่นอยู่ที่ข้า บรรลุถึงความสมบูรณ์สูงสุดแห่งความสุขทิพย์อย่างแท้จริง เขาอยู่เหนือระดับตัณหา รู้แจ้งคุณสมบัติอันแท้จริงของตนเองกับองค์ภควานฺ ดังนั้นจึงเป็นอิสระจากผลกรรมในอดีตทั้งปวง

คำอธิบาย

พฺรหฺม-ภูต คือระดับที่เป็นอิสระจากมลทินทางวัตถุ และสถิตในการรับใช้ทิพย์แด่องค์ภควานฺ มทฺ-ภกฺตึ ลภเต ปรามฺ (ภควัท-คีตา 18.54) เขาไม่สามารถดำรงรักษาอยู่ในคุณสมบัติของ พฺรหฺมนฺ สัจธรรมที่สมบูรณ์ได้จนกว่าจิตใจจะตั้งมั่นอยู่ที่พระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควานฺ ไว มนห์ กฺฤษฺณ-ปทารวินฺทโยห์ การปฏิบัติอยู่ในการรับใช้ด้วยความรักทิพย์แด่องค์ภควานฺ หรือการดำรงรักษาอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกคือการได้รับเสรีภาพความหลุดพ้นจากระดับตัณหาและมลทินทางวัตถุทั้งปวงอย่างแท้จริง

โศลก 28

yuñjann evaṁ sadātmānaṁ
yogī vigata-kalmaṣaḥ
sukhena brahma-saṁsparśam
atyantaṁ sukham aśnute
ยุญฺชนฺนฺ เอวํ สทาตฺมานํ
โยคี วิคต-กลฺมษห์
สุเขน พฺรหฺม-สํสฺปรฺศมฺ
อตฺยนฺตํ สุขมฺ อศฺนุเต
ยุญฺชนฺ — ปฏิบัติฝึกฝนโยคะ, เอวมฺ — ดังนั้น, สทา — เสมอ, อาตฺมานมฺ — ตัวเขา, โยคี — ผู้ที่สัมผัสอยู่กับองค์ภควานฺ, วิคต — เป็นอิสระจาก, กลฺมษห์ — มลทินทางวัตถุทั้งมวล, สุเขน — ในความสุขทิพย์, พฺรหฺม-สํสฺปรฺศมฺ — สัมผัสกับองค์ภควานฺอยู่เสมอ, อตฺยนฺตมฺ — สูงสุด, สุขมฺ — ความสุข, อศฺนุเต — ได้รับ

คำแปล

ดังนั้นโยคีผู้ที่ควบคุมตนเองได้ปฏิบัติตนฝึกฝนอยู่ในโยคะเสมอ เป็นอิสรเสรีจากมลทินทางวัตถุทั้งปวง และบรรลุระดับสูงสุดแห่งความสุขที่สมบูรณ์ในการรับใช้องค์ภควานด้วยความรักทิพย์

คำอธิบาย

การรู้แจ้งตนเอง หมายถึง รู้สถานภาพพื้นฐานของตนในความสัมพันธ์กับองค์ภควานฺ ปัจเจกวิญญาณเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺ และสถานภาพของตนคือการถวายการรับใช้ทิพย์แด่พระองค์การเชื่อมสัมพันธ์ทิพย์กับองค์ภควานฺนี้ เรียกว่า พฺรหฺม-สํสฺปรฺศ

โศลก 29

sarva-bhūta-stham ātmānaṁ
sarva-bhūtāni cātmani
īkṣate yoga-yuktātmā
sarvatra sama-darśanaḥ
สรฺว-ภูต-สฺถมฺ อาตฺมานํ
สรฺว-ภูตานิ จาตฺมนิ
อีกฺษเต โยค-ยุกฺตาตฺมา
สรฺวตฺร สม-ทรฺศนห์
สรฺว-ภูต-สฺถมฺ — สถิตในมวลชีวิต, อาตฺมานมฺ — อภิวิญญาณ, สรฺว — ทั้งหมด, ภูตานิ — สิ่งมีชีวิต, — เช่นกัน, อาตฺมนิ — ในตนเอง, อีกฺษเต — เห็น, โยค-ยุกฺต-อาตฺมา — ผู้ที่ประสานในกฺฤษฺณจิตสำนึก, สรฺวตฺร — ทุกหนทุกแห่ง, สม-ทรฺศนห์ — เห็นด้วยความเสมอภาค

คำแปล

โยคีที่แท้จริงจะเห็นข้าอยู่ในทุกๆชีวิต และเห็นทุกๆชีวิตอยู่ในข้า อันที่จริงบุคคลผู้รู้แจ้งแห่งตนเห็นข้าภควานฺองค์เดียวกันทุกหนทุกแห่ง

คำอธิบาย

โยคีผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นผู้เห็นที่สมบูรณ์เพราะเขาเห็นองค์กฺฤษฺณ องค์ภควานฺ ทรงสถิตภายในหัวใจของทุกคนในรูปอภิวิญญาณ (ปรมาตฺมา) อีศฺวรห์ สรฺว-ภูตานำ หฺฤทฺ-เทเศ ’รฺชุน ติษฺฐติ องค์ภควานฺในรูปของ ปรมาตฺมา ทรงสถิตภายในหัวใจของทั้งสุนัขและ พฺราหฺมณ โยคีผู้สมบูรณ์รู้ว่าพระองค์ทรงเป็นทิพย์อยู่เสมอ และไม่มีผลกระทบทางวัตถุในการที่ทรงประทับอยู่ทั้งในสุนัขและใน พฺราหฺมณ นี่คือความเสมอภาคสูงสุดขององค์ภควานฺ ปัจเจกวิญญาณสถิตในหัวใจเฉพาะของตนเองเท่านั้นมิได้สถิตอยู่ในหัวใจของผู้อื่นทั้งหมด นี่คือข้อแตกต่างระหว่างปัจเจกวิญญาณและอภิวิญญาณ ผู้ที่มิไวราคฺยได้ฝึกปฏิบัติโยคะอย่างแท้จริงจะไม่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจน บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกสามารถเห็นองค์กฺฤษฺณทั้งในหัวใจของผู้ที่เชื่อและผู้ที่ไม่เชื่อ ใน สฺมฺฤติ ได้ยืนยันไว้ดังต่อไปนี้ อาตตตฺวาจฺ มาตฺฤตฺวาจฺ อาตฺมา หิ ปรโม หริห์ องค์ภควานฺทรงเป็นแหล่งกำเนิดของมวลชีวิต ทรงเปรียบเทียบเสมือนกับพระมารดาและผู้ค้ำจุน เฉกเช่นมารดาเป็นกลางกับลูกๆที่ไม่เหมือนกันทุกคน บิดาสูงสุด (หรือมารดา) ก็เช่นเดียวกัน ดังนั้นองค์อภิวิญญาณจึงทรงประทับอยู่ในทุกๆชีวิตเสมอ

ดูจากภายนอกทุกๆชีวิตสถิตในพลังงานขององค์ภควานฺเช่นกัน ดังจะอธิบายในบทที่เจ็ดพระองค์ทรงมีพลังงานพื้นฐานสองพลังงานคือ พลังงานทิพย์(สูงกว่า) และพลังงานวัตถุ(ต่ำกว่า) สิ่งมีชีวิตถึงแม้ว่าจะเป็นส่วนของพลังงานเบื้องสูงแต่อยู่ในสภาวะของพลังงานเบื้องต่ำ ฉะนั้นสิ่งมีชีวิตจะอยู่ในพลังงานขององค์ภควานฺเสมอ ทุกๆชีวิตสถิตในพระองค์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

โยคีจะเห็นด้วยความเสมอภาคเพราะเขาเห็นมวลชีวิตต่างๆถึงแม้จะอยู่ในสภาวะที่แตกต่างกันตามแต่ผลกรรม เขาก็ยังคงเป็นผู้รับใช้ขององค์ภควานฺอยู่ดี ขณะที่อยู่ในพลังงานวัตถุสิ่งมีชีวิตรับใช้ประสาทสัมผัสวัตถุ และขณะที่อยู่ในพลังงานทิพย์เขาจะรับใช้องค์ภควานฺโดยตรง ไม่ว่าในกรณีใดสิ่งมีชีวิตก็เป็นผู้รับใช้ของพระองค์วิสัยทัศน์แห่งความเสมอภาคนี้มีอย่างสมบูรณ์ในบุคคลผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึก

โศลก 30

yo māṁ paśyati sarvatra
sarvaṁ ca mayi paśyati
tasyāhaṁ na praṇaśyāmi
sa ca me na praṇaśyati
โย มำ ปศฺยติ สรฺวตฺร
สรฺวํ จ มยิ ปศฺยติ
ตสฺยาหํ น ปฺรณศฺยามิ
ส จ เม น ปฺรณศฺยติ
ยห์ — ผู้ใดที่, มามฺ — ข้า, ปศฺยติ — เห็น, สรฺวตฺร — ทุกหนทุกแห่ง, สรฺวมฺ — ทุกสิ่งทุกอย่าง, — และ, มยิ — ในข้า, ปศฺยติ — เห็น, ตสฺย — สำหรับเขา, อหมฺ — ข้า, — ไม่, ปฺรณศฺยามิ, สห์ — เขา, — เช่นกัน, เม — แด่ข้า, — ไม่, ปฺรณศฺยติ — หาย

คำแปล

สำหรับผู้ที่เห็นข้าทุกหนทุกแห่ง และเห็นทุกสิ่งทุกอย่างในข้า ข้าไม่เคยหายไปจากเขา และเขาก็ไม่เคยหายไปจากข้า

คำอธิบาย

บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกเห็นองค์ศฺรี กฺฤษฺณทุกหนทุกแห่งอย่างแน่นอน และเห็นทุกสิ่งทุกอย่างในองค์กฺฤษฺณ บุคคลเช่นนี้อาจดูเหมือนว่าเห็นปรากฏการณ์ที่แยกจากกันทั้งหมดของธรรมชาติวัตถุ แต่ในทุกๆโอกาสเขาจะมีจิตสำนึกขององค์กฺฤษฺณ และทราบว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นปรากฏการณ์แห่งพลังงานของพระองค์ไม่มีอะไรสามารถอยู่ได้โดยปราศจากองค์กฺฤษฺณ และองค์กฺฤษฺณทรงเป็นองค์ภควานฺของทุกสิ่งทุกอย่าง นี่คือหลักธรรมพื้นฐานของกฺฤษฺณจิตสำนึก กฺฤษฺณจิตสำนึกคือการพัฒนาความรักต่อองค์กฺฤษฺณเป็นสถานภาพที่เหนือกว่าแม้กระทั่งความหลุดพ้นทางวัตถุ ในระดับของกฺฤษฺณจิตสำนึกที่เหนือกว่าความรู้แจ้งแห่งตนนี้สาวกจะกลายเป็นหนึ่งเดียวกับองค์กฺฤษฺณ ในความรู้สึกที่ว่าองค์กฺฤษฺณทรงกลายมาเป็นทุกสิ่งทุกอย่างสำหรับสาวก และสาวกมีความเปี่ยมล้นไปด้วยความรักต่อองค์กฺฤษฺณ ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดสนิทสนมระหว่างองค์ภควานฺและสาวกจึงเกิดขึ้น ในระดับนั้นสิ่งมีชีวิตไม่มีวันถูกทำลาย และองค์ภควานฺทรงไม่เคยคลาดไปจากสายตาของสาวก การกลืนหายเข้าไปในองค์กฺฤษฺณเป็นการทำลายดวงวิญญาณสาวกจะไม่เสี่ยงที่จะทำเช่นนั้น กล่าวไว้ใน พฺรหฺม-สํหิตา (5.38) ว่า

เปฺรมาญฺชน-จฺฉุริต-ภกฺติ-วิโลจเนน
สนฺตห์ สไทว หฺฤทเยษุ วิโลกยนฺติ
ยํ ศฺยามสุนฺทรมฺ อจินฺตฺย-คุณ-สฺวรูปํ
โควินฺทมฺ อาทิ-ปุรุษํ ตมฺ อหํ ภชามิ
“ข้าขอบูชาพระผู้เป็นเจ้าองค์แรก โควินฺท ผู้ที่สาวกมองเห็นด้วยดวงตาที่ชโลมไปด้วยเยื่อใยแห่งความรักตลอดเวลา สาวกเห็นพระองค์ในรูปอมตะแห่ง ศฺยามสุนฺทร ผู้ทรงสถิตภายในหัวใจของสาวก”

ในระดับนี้องค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงไม่มีวันคลาดสายตาไปจากสาวก และสาวกก็จะไม่คลาดสายตาไปจากพระองค์ในกรณีที่โยคีเห็นองค์ภควานฺในรูป ปรมาตฺมา ผู้ทรงประทับอยู่ภายในหัวใจก็เช่นเดียวกัน โยคีผู้นั้นจะกลายมาเป็นสาวกผู้บริสุทธิ์ และทนไม่ได้ที่จะมีชีวิตอยู่แม้แต่นาทีเดียวโดยที่ไม่ได้เห็นพระองค์ทรงประทับอยู่ในตนเอง

โศลก 31

sarva-bhūta-sthitaṁ yo māṁ
bhajaty ekatvam āsthitaḥ
sarvathā vartamāno ’pi
sa yogī mayi vartate
สรฺว-ภูต-สฺถิตํ โย มำ
ภชตฺยฺ เอกตฺวมฺ อาสฺถิตห์
สรฺวถา วรฺตมาโน ’ปิ
ส โยคี มยิ วรฺตเต
สรฺว-ภูต-สฺถิตมฺ — ทรงสถิตในหัวใจของทุกคน, ยห์ — ผู้ซึ่ง, มามฺ — ข้า, ภชติ — ปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้, เอกตฺวมฺ — ในหนึ่งเดียวกัน, อาสฺถิตห์ — สถิต, สรฺวถา — ในทุกกรณี, วรฺตมานห์ — สถิต, อปิ — ถึงแม้ว่า, สห์ — เขา, โยคี — นักทิพย์นิยม, มยิ — ในข้า, วรฺตเต — ดำรง

คำแปล

โยคีผู้ฏิบัติในการรับใช้องค์อภิวิญญาณด้วยความเคารพบูชาเช่นนี้ รู้ว่าข้าและอภิวิญญาณเป็นหนึ่งเดียวกันจะดำรงอยู่ในข้าเสมอในทุกๆสถานการณ์

คำอธิบาย

โยคีผู้ฝึกปฏิบัติสมาธิอยู่ที่อภิวิญญาณเห็นภาคแบ่งแยกขององค์กฺฤษฺณภายในตัวเขาในรูปพระวิษณุสี่กร ทรงหอยสังข์ กงจักร คทา และดวกบัว โยคีควรรู้ว่าพระวิษณุทรงไม่แตกต่างจากองค์กฺฤษฺณ องค์กฺฤษฺณในรูปของอภิวิญญาณนี้ทรงสถิตในหัวใจของทุกๆคน ยิ่งไปกว่านั้นคือไม่มีข้อแตกต่างระหว่างอภิวิญญาณที่มีจำนวนนับไม่ถ้วนผู้ทรงปรากฏอยู่ภายในหัวใจอันนับไม่ถ้วนของสิ่งมีชีวิต ไม่มีข้อแตกต่างระหว่างบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกผู้ปฏิบัติรับใช้ด้วยความรักทิพย์แด่องค์กฺฤษฺณอยู่เสมอ และโยคีผู้สมบูรณ์ปฏิบัติสมาธิอยู่ที่อภิวิญญาณ โยคีในกฺฤษฺณจิตสำนึกถึงแม้อาจจะปฏิบัติกิจกรรมต่างๆขณะที่อยู่ในโลกวัตถุ แต่จะดำรงสถิตในองค์กฺฤษฺณเสมอ ได้ยืนยันไว้ใน ภกฺติ-รสามฺฤต-สินฺธุ (1.2.187) ของ ศฺรีล รูป โคสฺวามี ว่า นิขิลาสฺวฺ อปฺยฺ อวสฺถาสุ ชีวนฺ-มุกฺตห์ อุจฺยเต สาวกขององค์ภควานฺผู้ปฏิบัติอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเสมอได้รับความหลุดพ้นโดยปริยาย ใน นารท ปญฺจราตฺร ได้ยืนยันไว้ดังนี้

ทิกฺ-กาลาทฺยฺ-อนวจฺฉินฺเน
กฺฤษฺเณ เจโต วิธาย จ
ตนฺ-มโย ภวติ กฺษิปฺรํ
ชีโว พฺรหฺมณิ โยชเยตฺ
“จากการตั้งสมาธิจิตอยู่ที่พระวรกายทิพย์ขององค์กฺฤษฺณ ผู้ทรงแผ่กระจายไปทั่ว ผู้ทรงอยู่เหนือเวลาและอวกาศ เขาซึมซาบอยู่ในการระลึกถึงองค์กฺฤษฺณ จากนั้นจะบรรลุถึงระดับแห่งความสุขในการมาคบหาสมาคมทิพย์กับพระองค์”

กฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นระดับสูงสุดแห่งสมาธิในการปฏิบัติโยคะ การเข้าใจอย่างแท้จริงว่าองค์กฺฤษฺณทรงปรากฏในรูป ปรมาตฺมา อยู่ภายในหัวใจของทุกๆคนทำให้โยคีไม่มีความผิดพลาด คัมภีร์พระเวท (โคปาล-ตาปนี อุปนิษทฺ 1.21) ได้ยืนยันพลังอำนาจขององค์ภควานฺที่ไม่สามารถมองเห็นได้ไว้ดังนี้ เอโก ’ปิ สนฺ พหุธา โย ’วภาติ “ถึงแม้ว่าองค์ภควานฺทรงเป็นหนึ่งแต่พระองค์ทรงปรากฏอยู่ภายในหัวใจจำนวนที่นับไม่ถ้วนอย่างมากมาย” ในทำนองเดียวกัน สฺมฺฤติ-ศาสฺตฺร ได้กล่าวไว้ว่า

เอก เอว ปโร วิษฺณุห์
สรฺว-วฺยาปี น สํศยห์
ไอศฺวรฺยาทฺ รูปมฺ เอกํ จ
สูรฺย-วตฺ พหุเธยเต
“พระวิษณุทรงเป็นหนึ่งถึงกระนั้นพระองค์ยังทรงแผ่กระจายไปทั่วด้วยพลังอำนาจที่มองไม่เห็น ถึงแม้ว่าทรงมีรูปลักษณ์เดียวพระองค์ยังทรงปรากฏอยู่ทุกหนทุกแห่งเสมือนดังดวงอาทิตย์ที่ปรากฏอยู่หลายๆแห่งในขณะเดียวกัน”

โศลก 32

ātmaupamyena sarvatra
samaṁ paśyati yo ’rjuna
sukhaṁ vā yadi vā duḥkhaṁ
sa yogī paramo mataḥ
อาตฺเมาปเมฺยน สรฺวตฺร
สมํ ปศฺยติ โย ’รฺชุน
สุขํ วา ยทิ วา ทุห์ขํ
ส โยคี ปรโม มตห์
อาตฺม — ด้วยตัวเขา, เอาปเมฺยน — ด้วยการเปรียบเทียบ, สรฺวตฺร — ทุกหนทุกแห่ง, สมมฺ — เท่าเทียมกัน, ปศฺยติ — เห็น, ยห์ — เขาผู้ซึ่ง, อรฺชุน — โอ้ อรฺชุน, สุขมฺ — ความสุข, วา — หรือ, ยทิ — ถ้า, วา — หรือ, ทุห์ขมฺ — ความทุกข์, สห์ — เช่นนี้, โยคี — นักทิพย์นิยม, ปรมห์ — สมบูรณ์, มตห์ — พิจารณา

คำแปล

จากการเปรียบเทียบกับตัวเขาเอง โยคีผู้สมบูรณ์เห็นสิ่งมีชีวิตทั้งหลายด้วยความเสมอภาคอย่างแท้จริง ทั้งในขณะที่พวกเขามีความสุขและในขณะที่มีความทุกข์ โอ้ อรฺชุน

คำอธิบาย

ผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นโยคีที่สมบูรณ์ เขารู้ถึงความสุขและความทุกข์ของทุกๆคนโดยอาศัยประสบการณ์ส่วนตัว สาเหตุแห่งความทุกข์ของสิ่งมีชีวิตคือการลืมความสัมพันธ์ของตนเองกับองค์ภควานฺ และสาเหตุแห่งความสุขคือรู้ว่าองค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงเป็นผู้มีความสุขเกษมสำราญสูงสุดในกิจกรรมทั้งหลายของมนุษย์ องค์กฺฤษฺณทรงเป็นเจ้าของแผ่นดินและดาวเคราะห์ทั้งหมด และองค์กฺฤษฺณทรงเป็นเพื่อนผู้มีความจริงใจที่สุดของมวลชีวิต โยคีที่สมบูรณ์รู้ว่าสิ่งมีชีวิตผู้อยู่ในสภาวะของระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ อยู่ภายใต้อำนาจของความทุกข์ทางวัตถุสามคำรบอันเนื่องมาจากการลืมความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับองค์กฺฤษฺณ เนื่องจากผู้ที่อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกมีความสุขจึงพยายามแจกจ่ายความรู้แห่งองค์กฺฤษฺณนี้ไปทั่วทุกหนทุกแห่ง เพราะว่าโยคีที่สมบูรณ์พยายามประกาศความสำคัญในการมาเป็นกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงเป็นคนใจบุญที่ดีที่สุดในโลก และเป็นคนรับใช้ที่น่ารักที่สุดขององค์ภควานฺ ตสฺมานฺ มนุเษฺยษุ กศฺจินฺ เม ปฺริย-กฺฤตฺตมห์ (ภค.18.69) อีกนัยหนึ่งสาวกของพระองค์มุ่งบำรุงสุขแด่มวลชีวิตอยู่เสมอด้วยเหตุนี้จึงเป็นมิตรแท้ของทุกๆคน เขาเป็นโยคีที่ดีที่สุดเพราะว่าไม่ปรารถนาความสมบูรณ์ในโยคะเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวแต่พยายามเพื่อคนอื่น เขาไม่อิจฉาเพื่อนสิ่งมีชีวิตด้วยกัน นี่คือข้อแตกต่างระหว่างสาวกผู้บริสุทธิ์ขององค์ภควานฺ และโยคีผู้ที่สนใจเพียงแต่ความเจริญก้าวหน้าของตนเองเท่านั้น โยคีผู้ที่ถอนตัวไปอยู่อย่างสันโดษเพื่อทำสมาธิโดยสมบูรณ์อาจไม่สมบูรณ์บริบูรณ์เท่ากับสาวกผู้ที่พยายามอย่างดีที่สุดเพื่อให้ทุกๆคนได้มีกฺฤษฺณจิตสำนึก

โศลก 33

arjuna uvāca
yo ’yaṁ yogas tvayā proktaḥ
sāmyena madhusūdana
etasyāhaṁ na paśyāmi
cañcalatvāt sthitiṁ sthirām
อรฺชุน อุวาจ
โย ’ยํ โยคสฺ ตฺวยา โปฺรกฺตห์
สาเมฺยน มธุสูทน
เอตสฺยาหํ น ปศฺยามิ
จญฺจลตฺวาตฺ สฺถิตึ สฺถิรามฺ
อรฺชุนห์ อุวาจอรฺชุน ตรัส, ยห์ อยมฺ — ระบบนี้, โยคห์ — โยคะ, ตฺวยา — โดยพระองค์, โปฺรกฺตห์ — อธิบาย, สาเมฺยน — โดยทั่วไป, มธุ-สูทน — โอ้ ผู้สังหารมาร มธุ, เอตสฺย — ของสิ่งนี้, อหมฺ — ข้า, — ไม่, ปศฺยามิ — เห็น, จญฺจลตฺวาตฺ — เนื่องจากไม่สงบนิ่ง, สฺถิติมฺ — สภาวะ, สฺถิรามฺ — มั่นคง

คำแปล

อรฺชุน ตรัสว่า โอ้ มธุสูทน ระบบโยคะที่พระองค์ทรงสรุปให้นี้ดูเหมือนจะปฏิบัติไม่ได้ และข้าไม่มีความอดทนพอเพราะว่าจิตใจไม่สงบนิ่งและไม่มั่นคง

คำอธิบาย

ระบบโยคะที่องค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงอธิบายให้ อรฺชุน เริ่มด้วยคำว่า ศุเจา เทเศ และจบด้วยคำว่า โยคี ปรมห์ ได้ทรงถูก อรฺชุน ปฏิเสธตรงนี้จากความรู้สึกที่ว่าไม่สามารถปฏิบัติได้ เป็นไปไม่ได้สำหรับคนธรรมดาทั่วไปที่จะจากบ้านไปยังป่าเขาลำเนาไพรและอยู่อย่างสันโดษเพื่อฝึกปฏิบัติโยคะ ในกลียุคยุคปัจจุบันนี้มีลักษณะที่ดิ้นรนอย่างขมขื่นเพื่อความอยู่รอดด้วยชีวิตอันสั้น ผู้คนไม่จริงจังเกี่ยวกับความรู้แจ้งแห่งตนแม้จะด้วยวิธีที่ง่ายและปฏิบัติได้ จึงไม่จำเป็นต้องพูดถึงระบบโยคะที่ยากลำบากเช่นนี้ซึ่งต้องควบคุมชีวิตการเป็นอยู่ในเรื่องของการนั่ง การเลือกสถานที่ และการทำให้จิตใจไม่ยึดติดกับการปฏิบัติทางวัตถุ ในฐานะที่เป็นนักปฏิบัติ อรฺชุน ทรงคิดว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะปฏิบัติตามระบบโยคะนี้ ถึงแม้ว่าทรงมีคุณสมบัติที่เอื้ออำนวยอยู่หลายประการ อรฺชุน ประสูติอยู่ในตระกูล กฺษตฺริย ทรงมีความเจริญมากในคุณสมบัติหลายๆด้าน เช่น เป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่ มีพระชนมายุยืนยาว และยิ่งไปกว่าสิ่งอื่นใดยังเป็นสหายสนิทที่สุดขององค์ภควานฺ ศฺรี กฺฤษฺณ เมื่อห้าพันปีก่อนนี้ อรฺชุน ทรงมีสิ่งเอื้ออำนวยที่ดีกว่าพวกเราที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้อย่างมากมายถึงกระนั้นก็ยังปฏิเสธระบบโยคะนี้ อันที่จริงเราไม่พบบันทึกใดๆในประวัติศาสตร์ที่เห็น อรฺชุน ฝึกปฏิบัติโยคะนี้ไม่ว่าในตอนใด ฉะนั้นระบบนี้ต้องพิจารณาว่าโดยทั่วไปแล้วจะเป็นไปไม่ได้ที่จะปฎิบัติในกลียุคนี้ แน่นอนว่าอาจจะเป็นไปได้สำหรับคนบางคนที่หาได้ยากมาก แต่สำหรับผู้คนโดยทั่วไปเป็นข้อเสนอที่เป็นไปไม่ได้ เพราะหากเป็นเช่นนั้นเมื่อห้าพันปีก่อนแล้วปัจจุบันนี้จะเป็นอย่างไร พวกที่เลียนแบบระบบโยคะนี้ซึ่งอยู่ในสถานที่ที่เรียกว่าสถาบันและสมาคมต่างๆ ถึงแม้ว่าจะได้รับความอิ่มเอิบใจแต่เป็นการสูญเสียเวลาไปอย่างแน่นอน พวกนี้อยู่ในอวิชชาอย่างสมบูรณ์เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายที่ตนปรารถนา

โศลก 34

cañcalaṁ hi manaḥ kṛṣṇa
pramāthi balavad dṛḍham
tasyāhaṁ nigrahaṁ manye
vāyor iva su-duṣkaram
จญฺจลํ หิ มนห์ กฺฤษฺณ
ปฺรมาถิ พลวทฺ ทฺฤฒมฺ
ตสฺยาหํ นิคฺรหํ มเนฺย
วาโยรฺ อิว สุ-ทุษฺกรมฺ
จญฺจลมฺ — ไม่สงบนิ่ง, หิ — แน่นอน, มนห์ — จิตใจ, กฺฤษฺณ — โอ้ กฺฤษฺณ, ปฺรมาถิ — ว้าวุ่น, พล-วตฺ — มีพลังมาก, ทฺฤฒมฺ — ดื้อรั้น, ตสฺย — ของมัน, อหมฺ — ข้า, นิคฺรหมฺ — ปราบ, มเนฺย — คิด, วาโยห์ — ของลม, อิว — เหมือน, สุ-ทุษฺกรมฺ — ยาก

คำแปล

เพราะว่าจิตใจไม่สงบนิ่ง พลุกพล่าน ดื้อรั้น และมีพลังมาก โอ้ กฺฤษฺณ และในการปราบปรามมันข้าพเจ้าคิดว่ายากยิ่งกว่าการควบคุมลม

คำอธิบาย

จิตใจมีพลังมากและดื้อรั้นซึ่งบางครั้งก็เอาชนะปัญญา ถึงแม้ว่าจิตใจควรอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของปัญญา สำหรับบุคคลผู้อยู่ในโลกแห่งการปฏิบัติที่ต้องต่อสู้กับฝ่ายตรงข้ามมากมายแน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ยากมากในการควบคุมจิตใจ เขาอาจทำใจให้เป็นกลางอย่างผิดธรรมชาติระหว่างเพื่อนกับศัตรู แต่ในที่สุดไม่มีผู้ใดในโลกสามารถทำได้ สำหรับการกระทำเช่นนั้นมันยากยิ่งกว่าการควบคุมลมพายุที่พัดมาอย่างแรง ในวรรณกรรมพระเวท (กฐ อุปนิษทฺ 1.3.3-4) กล่าวไว้ว่า

อาตฺมานํ รถินํ วิทฺธิ
ศรีรํ รถมฺ เอว จ
พุทฺธึ ตุ สารถึ วิทฺธิ
มนห์ ปฺรคฺรหมฺ เอว จ
อินฺทฺริยาณิ หยานฺ อาหุรฺ
วิษยำสฺ เตษุ โคจรานฺ
อาตฺเมนฺทฺริย-มโน-ยุกฺตํ
โภกฺเตตฺยฺ อาหุรฺ มนีษิณห์
“ปัจเจกวิญญาณเป็นผู้โดยสารในพาหนะแห่งร่างวัตถุ ปัญญาเป็นผู้ขับ จิตใจเป็นคันบังคับ และประสาทสัมผัสเป็นม้า ตัวเขาจะได้รับความสุขหรือความทุกข์นั้นเกิดจากการมาคบหาสมาคมกับจิตใจและประสาทสัมผัส จึงเป็นที่เข้าใจโดยนักคิดผู้ยิ่งใหญ่” ปัญญาควรเป็นผู้สั่งจิตใจแต่จิตใจมีพลังอำนาจมาก และดื้อรั้นจนส่วนใหญ่เอาชนะแม้กระทั่งปัญญาของตนเอง เหมือนกับโรคปัจจุบันทันด่วนที่ดื้อยา จิตใจที่มีพลังมากเช่นนี้ควรถูกควบคุมด้วยการฝึกปฏิบัติโยคะ แต่การฝึกเช่นนี้ปฏิบัติไม่ได้แม้สำหรับบุคคลทางโลก เช่น อรฺชุน จึงไม่จำเป็นต้องพูดถึงคนในยุคสมัยนี้ คำอุปมาที่ให้ไว้ ที่นี้เหมาะสมดีว่า เราไม่สามารถจับกุมลมที่พัดมาแรงได้ฉันใดก็เป็นการยากยิ่งไปกว่าที่จะจับกุมจิตใจที่พลุกพล่านได้ฉันนั้น องค์ไจตนฺย ทรงแนะนำวิธีที่ง่ายที่สุดด้วยความถ่อมตนอย่างยิ่งในการควบคุมจิตใจ คือ การร้องเพลงสวดมนต์ภาวนา หเร กฺฤษฺณ ซึ่งเป็นบทมนต์อันยิ่งใหญ่เพื่อการจัดส่ง ได้อธิบายวิธีไว้ดังนี้ ไว มนห์ กฺฤษฺณ-ปทารวินฺทโยห์ เราต้องใช้จิตใจอย่างเต็มที่ในองค์กฺฤษฺณ ด้วยวิธีนี้เท่านั้นจึงจะไม่มีกิจกรรมอื่นใดทำให้จิตใจวุ่นวาย

โศลก 35

śrī-bhagavān uvāca
asaṁśayaṁ mahā-bāho
mano durnigrahaṁ calam
abhyāsena tu kaunteya
vairāgyeṇa ca gṛhyate
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
อสํศยํ มหา-พาโห
มโน ทุรฺนิคฺรหํ จลมฺ
อภฺยาเสน ตุ เกานฺเตย
ไวราเคฺยณ จ คฺฤหฺยเต
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — องค์ภควานตรัส, อสํศยมฺ — อย่างไม่สงสัย, มหา-พาโห — โอ้ ยอดนักรบ, มนห์ — จิตใจ, ทุรฺนิคฺรหมฺ — ยากที่จะดัด, จลมฺ — ว้าวุ่น, อภฺยาเสน — ด้วยการปฏิบัติ, ตุ — แต่, เกานฺเตย — โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี, ไวราเคฺยณ — ด้วยการไม่ยึดติด, — เช่นกัน, คฺฤหฺยเต — สามารถควบคุมได้

คำแปล

องค์ศฺรี กฺฤษฺณตรัสว่า โอ้ ยอดนักรบโอรสพระนาง กุนฺตี การดัดจิตใจที่ไม่สงบนิ่งเป็นสิ่งที่ยากมากโดยไม่ต้องสงสัย แต่เป็นไปได้ด้วยการฝึกปฏิบัติอย่างถูกต้องเหมาะสม และด้วยการไม่ยึดติด

คำอธิบาย

ความยากลำบากในการควบคุมจิตใจที่ดื้อรั้นดังที่ อรฺชุน ทรงดำรินั้นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงยอมรับ แต่ในขณะเดียวกันพระองค์ทรงแนะนำว่าการฝึกปฏิบัติและการไม่ยึดติดเป็นไปได้ การฝึกปฏิบัตินั้นคืออะไร ในยุคปัจจุบันไม่มีใครสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบอันเคร่งครัดในการที่จะให้ตนเองไปอยู่ยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และตั้งสมาธิจิตอยู่ที่องค์อภิวิญญาณ หักห้ามประสาทสัมผัสและจิตใจ ถือเพศพรหมจรรย์ หรืออยู่อย่างสันโดษได้ อย่างไรก็ดีด้วยการปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกในเก้าวิธีแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺ วิธีแรกและสำคัญมากในการปฏิบัติอุทิศตนเสียสละคือ การสดับฟังเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณ ซึ่งเป็นวิถีทิพย์ที่ทรงพลังอำนาจมากในการขจัดข้อสงสัยทั้งหลายให้ออกไปจากจิตใจ ผู้ที่สดับฟังเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณได้มากเท่าไรก็จะมีความรู้แจ้ง และไม่ยึดติดกับทุกสิ่งทุกอย่างที่นำพาจิตใจให้ออกห่างจากองค์กฺฤษฺณได้มากเท่านั้น จากการไม่ยึดติดจิตใจอยู่กับกิจกรรมที่ไม่อุทิศตนเสียสละให้พระองค์เขาจะสามารถเรียนรู้ ไวราคฺย ได้อย่างง่ายดาย ไวราคฺย หมายถึงการไม่ยึดติดกับวัตถุและให้จิตใจปฏิบัติอยู่กับดวงวิญญาณ การไม่ยึดติดในวิถีทิพย์ของพวกไม่เชื่อในรูปลักษณ์ยากยิ่งกว่าการยึดมั่นจิตใจอยู่กับกิจกรรมขององค์กฺฤษฺณ เช่นนี้ปฏิบัติได้เพราะจากการสดับฟังเกี่ยวกับองค์กฺฤษฺณจะทำให้ยึดมั่นกับดวงวิญญาณสูงสุดโดยปริยาย การยึดมั่นเช่นนี้เรียกว่า ปเรศานุภว ความพึงพอใจทิพย์ คล้ายๆกับความรู้สึกพึงพอใจกับอาหารทุกคำที่คนกำลังหิวได้รับประทาน ขณะที่กำลังหิวเมื่อได้รับประทานมากเท่าไรก็จะรู้สึกพึงพอใจและมีพลังงานเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น ในทำนองเดียวกันจากการปฏิบัติรับใช้ด้วยการอุทิศตนเสียสละเขามีความรู้สึกพึงพอใจทิพย์ในขณะที่จิตใจไม่ยึดติดกับจุดมุ่งหมายทางวัตถุ เหมือนกับการรักษาโรคด้วยวิธีที่ชำนาญและโภชนาการที่เหมาะสม ดังนั้นการสดับฟังกิจกรรมทิพย์ขององค์ศฺรี กฺฤษฺณจึงเป็นวิธีรักษาที่มีความชำนาญสำหรับจิตใจที่บ้าคลั่ง และการรับประทานภัตตาหารที่ถวายให้องค์กฺฤษฺณ คือโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับคนไข้ที่กำลังมีความทุกข์ การรักษาเช่นนี้คือวิธีของกฺฤษฺณจิตสำนึก

โศลก 36

asaṁyatātmanā yogo
duṣprāpa iti me matiḥ
vaśyātmanā tu yatatā
śakyo ’vāptum upāyataḥ
อสํยตาตฺมนา โยโค
ทุษฺปฺราป อิติ เม มติห์
วศฺยาตฺมนา ตุ ยตตา
ศโกฺย ’วาปฺตุมฺ อุปายตห์
อสํยต — หักห้ามไม่ไหว, อาตฺมนา — ด้วยจิตใจ, โยคห์ — การรู้แจ้งแห่งตน, ทุษฺปฺราปห์ — ยากที่จะบรรลุ, อิติ — ดังนั้น, เม — ของข้า, มติห์ — ความเห็น, วศฺย — ควบคุม, อาตฺมนา — ด้วยจิตใจ, ตุ — แต่, ยตตา — ขณะที่พยายาม, ศกฺยห์ — ปฏิบัติได้, อวาปฺตุมฺ — บรรลุ, อุปายตห์ — ด้วยวิธีที่เหมาะสม

คำแปล

สำหรับผู้ที่หักห้ามจิตใจของตนเองไม่ได้ การรู้แจ้งแห่งตนเป็นงานที่ยาก แต่ผู้ที่ควบคุมจิตใจตนเองได้ และมีความพยายามในวิถีทางที่ถูกต้องจะประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอน นี่คือความเห็นของข้า

คำอธิบาย

บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงประกาศว่าผู้ที่ไม่ยอมรับการรักษาที่ถูกต้องที่จะให้จิตใจไม่ยึดติดกับการปฏิบัติทางวัตถุจะบรรลุผลสำเร็จในการรู้แจ้งแห่งตนได้ยากมาก การพยายามฝึกปฏิบัติโยคะในขณะที่จิตใจใฝ่หาความสุขทางวัตถุเปรียบเสมือนกับการพยายามจุดไฟในขณะที่ราดน้ำลงไป การฝึกปฏิบัติโยคะโดยไม่ควบคุมจิตใจเป็นการเสียเวลา การอวดวิธีการปฏิบัติโยคะเช่นนี้อาจได้รับผลกำไรงามทางวัตถุแต่ว่าไร้ประโยชน์ในการรู้แจ้งแห่งดวงวิญญาณ ฉะนั้นเขาต้องควบคุมจิตใจโดยให้จิตใจปฏิบัติรับใช้ด้วยความรักทิพย์แด่องค์ภควานฺอยู่เสมอ นอกจากว่าเราจะปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกมิฉะนั้นแล้วเราจะไม่สามารถควบคุมจิตใจได้อย่างมั่นคง บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกบรรลุผลแห่งการปฏิบัติโยคะได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องพยายามนอกเหนือไปจากนี้ แต่ผู้ฝึกปฏิบัติโยคะไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จได้หากปราศจากกฺฤษฺณจิตสำนึก

โศลก 37

arjuna uvāca
ayatiḥ śraddhayopeto
yogāc calita-mānasaḥ
aprāpya yoga-saṁsiddhiṁ
kāṁ gatiṁ kṛṣṇa gacchati
อรฺชุน อุวาจ
อยติห์ ศฺรทฺธโยเปโต
โยคาจฺ จลิต-มานสห์
อปฺราปฺย โยค-สํสิทฺธึ
กำ คตึ กฺฤษฺณ คจฺฉติ
อรฺชุนห์ อุวาจอรฺชุน ตรัส, อยติห์ — นักทิพย์นิยมผู้ไม่ประสบผลสำเร็จ, ศฺรทฺธยา — ด้วยความศรัทธา, อุเปตห์ — ปฏิบัติ, โยคาตฺ — จากการเชื่อมสัมพันธ์ที่เร้นลับ, จลิต — เบี่ยงเบน, มานสห์ — ผู้มีจิตใจเช่นนี้, อปฺราปฺย — ล้มเหลวในการบรรลุ, โยค-สํสิทฺธิมฺ — ความสมบูรณ์สูงสุดในโยคะ, กามฺ — ซึ่ง, คติมฺ — จุดมุ่งหมาย, กฺฤษฺณ — โอ้ กฺฤษฺณ, คจฺฉติ — บรรลุ

คำแปล

อรฺชุน ตรัสว่า โอ้ กฺฤษฺณ นักทิพย์นิยมผู้ไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งในตอนแรกรับเอาวิถีทางเพื่อความรู้แจ้งแห่งตนมาปฏิบัติด้วยความศรัทธา แต่ต่อมาได้ยกเลิกการปฏิบัติอันเนื่องมาจากจิตใจมาฝักใฝ่ทางโลก ดังนั้นจึงไม่บรรลุความสมบูรณ์ในโยคะ จุดหมายปลายทางของบุคคลเช่นนี้อยู่ที่ใหน

คำอธิบาย

วิถีทางเพื่อความรู้แจ้งแห่งตนหรือระบบโยคะได้อธิบายใน ภควัท-คีตา หลักธรรมพื้นฐานเพื่อความรู้แจ้งแห่งตนคือความรู้ที่ว่าสิ่งมีชีวิตไม่ใช่ร่างกายวัตถุนี้แต่ว่าแตกต่างไปจากร่างวัตถุ และความสุขของเขาอยู่ในชีวิตอมตะ เปี่ยมไปด้วยความปลื้มปีติสุข และความรู้ สิ่งเหล่านี้เป็นทิพย์อยู่เหนือทั้งร่างกายและจิตใจ ความรู้แจ้งแห่งตนค้นพบได้ด้วยวิถีแห่งความรู้ ด้วยการฝึกปฏิบัติแปดระบบหรือด้วย ภกฺติ-โยค ในแต่ละวิธีนี้จะต้องรู้แจ้งสถานภาพพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับองค์ภควานฺ กิจกรรมซึ่งทำให้เขาสามารถสถาปนาความสัมพันธ์ที่สูญหายไปให้กลับมาอีกครั้ง และบรรลุถึงระดับสมบูรณ์สูงสุดแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึก การปฏิบัติตามทางใดทางหนึ่งในสามวิธีที่กล่าวไว้ข้างต้นแน่นอนว่าจะต้องบรรลุเป้าหมายสูงสุดในไม่ช้าก็เร็ว องค์ภควานฺทรงยืนยันไว้เช่นนี้ในบทที่สองว่าแม้ความพยายามเพียงเล็กน้อยบนวิถีทิพย์จะให้ความหวังอย่างสูงเพื่อการจัดส่ง จากสามวิธีนี้วิธีของ ภกฺติ-โยค เหมาะสมโดยเฉพาะสำหรับยุคนี้ เพราะเป็นวิธีตรงที่สุดเพื่อความรู้แจ้งองค์ภควานฺ เพื่อให้มั่นใจยิ่งขึ้นไปอีก อรฺชุน ทรงถามองค์กฺฤษฺณเพื่อให้ทรงยืนยันคำดำรัสที่เคยกล่าวไว้ เราอาจยอมรับวิธีเพื่อความรู้แจ้งอย่างจริงใจแต่วิธีแห่งการเพิ่มพูนความรู้ การฝึกปฏิบัติของระบบโยคะแปดระดับโดยทั่วไปเป็นสิ่งที่ยากมากสำหรับยุคนี้ ฉะนั้นแม้จะพยายามอย่างสม่ำเสมอแต่อาจประสบความล้มเหลวเนื่องจากเหตุผลมากมาย ประการแรกเขาอาจไม่มีความจริงจังเพียงพอในการปฏิบัติตามวิธี การก้าวเดินไปบนวิถีทิพย์คล้ายกับการประกาศสงครามกับพลังงานแห่งความหลง ฉะนั้นเมื่อไรที่เราพยายามที่จะหนีไปจากเงื้อมมือของพระนางมายา พระนางจะพยายามเอาชนะผู้ฝึกปฏิบัติด้วยการหลอกล่อให้หลงมากมาย พันธวิญญาณถูกหลอกล่อให้หลงอยู่แล้วด้วยระดับแห่งพลังงานวัตถุ จึงเป็นไปได้เสมอที่จะถูกหลอกล่อให้หลงอีกครั้งหนึ่ง แม้ขณะฝึกปฏิบัติตามระเบียบวินัยทิพย์เช่นนี้เรียกว่า โยคาจฺ จลิต-มานสห์ การเบี่ยงเบนจากวิถีทิพย์ อรฺชุน ทรงตั้งคำถามเพื่อให้ทราบถึงผลแห่งการเบี่ยงเบนจากวิถีเพื่อความรู้แจ้งแห่งตน

โศลก 38

kaccin nobhaya-vibhraṣṭaś
chinnābhram iva naśyati
apratiṣṭho mahā-bāho
vimūḍho brahmaṇaḥ pathi
กจฺจินฺ โนภย-วิภฺรษฺฏศฺ
ฉินฺนาภฺรมฺ อิว นศฺยติ
อปฺรติษฺโฐ มหา-พาโห
วิมูโฒ พฺรหฺมณห์ ปถิ
กจฺจิตฺ — ไม่ว่า, — ไม่, อุภย — ทั้งสอง, วิภฺรษฺฏห์ — เบี่ยงเบนจาก, ฉินฺน — ขาด, อภฺรมฺ — เมฆ, อิว — เหมือน, นศฺยติ — สูญสิ้น, อปฺรติษฺฐห์ — ไม่มีตำแหน่ง, มหา-พาโห — โอ้ กฺฤษฺณ ยอดนักรบ, วิมูฒห์ — สับสน, พฺรหฺมณห์ — แห่งความเป็นทิพย์, ปถิ — บนวิถีทาง

คำแปล

โอ้ กฺฤษฺณ ยอดนักรบ ผู้สับสนบนวิถีทิพย์ไม่ประสบผลสำเร็จทั้งในวิถีทิพย์และวิถีวัตถุจะแตกดับเสมือนดั่งก้อนเมฆที่สูญสลายหายไป โดยไม่มีตำแหน่งที่จะยืนอยู่ไม่ว่าในอาณาจักรใดใช่หรือไหม

คำอธิบาย

มีอยู่สองทางในความเจริญก้าวหน้า พวกวัตถุนิยมไม่สนใจในวิถีทิพย์ดังนั้นจึงสนใจในความก้าวหน้าทางวัตถุด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจ หรือการส่งเสริมให้ไปอยู่บนดาวเคราะห์ที่สูงกว่าจากการปฏิบัติที่เหมาะสม เมื่อบุคคลรับเอาวิถีทิพย์มาปฏิบัติเราต้องหยุดกิจกรรมทางวัตถุทั้งปวง และถวายสิ่งที่เรียกว่าความสุขทางวัตถุทุกรูปแบบ หากผู้ที่ปรารถนาวิถีทิพย์ล้มเหลวในเรื่องนี้ดูเหมือนว่าจะสูญเสียทั้งสองทาง อีกนัยหนึ่งเขาไม่สามารถได้รับทั้งความสุขทางวัตถุหรือความสำเร็จในวิถีทิพย์ เขาไม่มีตำแหน่ง เหมือนกับก้อนเมฆที่สูญสลายหายจากกันไป ก้อนเมฆในท้องฟ้าบางครั้งแยกออกจากเมฆก้อนเล็กและไปรวมตัวกับเมฆก้อนใหญ่ได้แล้วถูกลมพัดพาไปจนไม่เหลือบุคลิกของตนเองในท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ พฺรหฺมณห์ ปถิ คือวิถีทิพย์ซึ่งรู้แจ้งผ่านทางความรู้ที่ว่าตัวเขาคือดวงวิญญาณโดยเนื้อแท้และเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺ ผู้ทรงปรากฏมาในรูปของ พฺรหฺมนฺ ปรมาตฺมา และ ภควานฺ องค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงเป็นปรากฏการณ์ที่สมบูรณ์แห่งสัจธรรมอันสมบูรณ์สูงสุด ดังนั้นผู้ที่ศิโรราบแด่องค์ภควานฺจึงเป็นนักทิพย์นิยมที่ประสบผลสำเร็จ การบรรลุถึงเป้าหมายความรู้แจ้งแห่งชีวิตนี้โดยผ่านทาง พฺรหฺมนฺ และ ปรมาตฺมา จะใช้เวลาหลายต่อหลายชาติ (พหูนำ ชนฺมนามฺ อนฺเต) ฉะนั้นวิถีทางสูงสุดแห่งการรู้แจ้งทิพย์คือ ภกฺติ-โยค หรือกฺฤษฺณจิตสำนึกซึ่งเป็นวิธีโดยตรง

โศลก 39

etan me saṁśayaṁ kṛṣṇa
chettum arhasy aśeṣataḥ
tvad-anyaḥ saṁśayasyāsya
chettā na hy upapadyate
เอตนฺ เม สํศยํ กฺฤษฺณ
เฉตฺตุมฺ อรฺหสฺยฺ อเศษตห์
ตฺวทฺ-อนฺยห์ สํศยสฺยาสฺย
เฉตฺตา น หฺยฺ อุปปทฺยเต
เอตตฺ — นี่คือ, เม — ของข้า, สํศยมฺ — ข้อสงสัย, กฺฤษฺณ — โอ้ กฺฤษฺณ, เฉตฺตุมฺ — ปัดเป่า, อรฺหสิ — พระองค์ได้รับการขอร้อง, อเศษตห์ — อย่างสมบูรณ์, ตฺวตฺ — กว่าพระองค์, อนฺยห์ — ผู้อื่น, สํศยสฺย — แห่งความสงสัย, อสฺย — นี้, เฉตฺตา — เคลื่อนออก, — ไม่เคย, หิ — แน่นอน, อุปปทฺยเต — ค้นพบ

คำแปล

โอ้ กฺฤษฺณ นี่คือข้อสงสัย ข้าพเจ้าขอให้พระองค์ทรงช่วยขจัดข้อสงสัยนี้ไปให้หมดสิ้น นอกจากพระองค์แล้วจะไม่มีผู้ใดสามารถขจัดข้อสงสัยนี้ได้

คำอธิบาย

องค์กฺฤษฺณทรงเป็นผู้รู้อดีต ปัจจุบัน และอนาคตอย่างสมบูรณ์ ในตอนต้นของ ภควัท-คีตา องค์ภควานฺตรัสว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหลายมีความเป็นปัจเจกในอดีต เป็นปัจเจกในปัจจุบัน และจะยังคงมีบุคลิกลักษณะเป็นปัจเจกสืบต่อไปในอนาคต แม้หลังจากที่หลุดพ้นจากพันธนาการทางวัตถุแล้ว ฉะนั้นพระองค์ทรงให้ความกระจ่างเกี่ยวกับคำถามของปัจเจกชีวิตในอนาคตเรียบร้อยแล้ว มาบัดนี้ อรฺชุน ทรงปรารถนาที่จะทราบถึงอนาคตของนักทิพย์นิยมผู้ไม่ประสบความสำเร็จ ไม่มีผู้ใดเทียบเท่าหรือเหนือกว่าองค์กฺฤษฺณ ผู้ที่เรียกว่านักบวชและนักปราชญ์ยิ่งใหญ่ทั้งหลายที่ได้รับพระเมตตาจากธรรมชาติวัตถุไม่สามารถเทียบเท่าองค์ภควานฺได้ ดังนั้นคำตัดสินขององค์กฺฤษฺณถือว่าเป็นคำตอบสุดท้ายและสมบูรณ์ต่อข้อสงสัยทั้งมวล เพราะทรงทราบอดีต ปัจจุบัน และอนาคตอย่างสมบูรณ์ แต่ไม่มีผู้ใดทราบถึงพระองค์(องค์กฺฤษฺณ) และสาวกผู้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกเท่านั้นที่ทราบว่าอะไรคืออะไร

โศลก 40

śrī-bhagavān uvāca
pārtha naiveha nāmutra
vināśas tasya vidyate
na hi kalyāṇa-kṛt kaścid
durgatiṁ tāta gacchati
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
ปารฺถ ไนเวห นามุตฺร
วินาศสฺ ตสฺย วิทฺยเต
น หิ กลฺยาณ-กฺฤตฺ กศฺจิทฺ
ทุรฺคตึ ตาต คจฺฉติ
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัส, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, น เอว — ไม่เคยเป็นเช่นนั้น, อิห — ในโลกวัตถุนี้, — ไม่เคย, อมุตฺร — ในชาติหน้า, วินาศห์ — ทำลาย, ตสฺย — ของเขา, วิทฺยเต — เป็นอยู่, — ไม่เคย, หิ — แน่นอน, กลฺยาณ-กฺฤตฺ — ผู้ปฏิบัติกิจกรรมอันเป็นมงคล, กศฺจิตฺ — ผู้ใด, ทุรฺคติมฺ — ตกต่ำลง, ตาต — สหายข้า, คจฺฉติ — ไป

คำแปล

องค์ภควานตรัสว่า โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา นักทิพย์นิยมผู้ปฏิบัติกิจกรรมอันเป็นมงคลจะไม่พบกับความหายนะ ไม่ว่าในโลกนี้หรือในโลกทิพย์ สหายของข้า! คนทำดีจะไม่มีวันถูกความชั่วครอบงำ

คำอธิบาย

ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (1.5.17) ศฺรี นารท มุนิ กล่าวสอน วฺยาสเทว ดังต่อไปนี้

ตฺยกฺตฺวา สฺว-ธรฺมํ จรณามฺพุชํ หเรรฺ
ภชนฺนฺ อปโกฺว ’ถ ปเตตฺ ตโต ยทิ
ยตฺร กฺว วาภทฺรมฺ อภูทฺ อมุษฺย กึ
โก วารฺถ อาปฺโต ’ภชตำ สฺว-ธรฺมตห์
“หากผู้ใดยกเลิกความมุ่งหวังทางวัตถุทั้งปวงและรับเอาองค์ภควานฺเป็นที่พึ่งอย่างสมบูรณ์จะไม่สูญเสียหรือตกต่ำลงไม่ว่าในทางใด อีกด้านหนึ่งผู้ไม่ใช่สาวกอาจปฏิบัติหน้าที่ในสายอาชีพของตนอย่างสมบูรณ์แต่จะไม่ได้รับประโยชน์อันใดเลย” สำหรับความมุ่งหวังทางวัตถุมีกิจกรรมมากมายทั้งตามพระคัมภีร์และตามประเพณี นักทิพย์นิยมควรยกเลิกกิจกรรมทางวัตถุทั้งมวลเพื่อความเจริญก้าวหน้าแห่งชีวิตทิพย์หรือกฺฤษฺณจิตสำนึก เขาอาจเถียงว่ากฺฤษฺณจิตสำนึกบรรลุถึงความสมบูรณ์สูงสุดได้หากปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ แต่ถ้าหากว่าไม่บรรลุถึงระดับสมบูรณ์นี้จะสูญเสียทั้งทางวัตถุและทางจิตวิญญาณ ได้กล่าวไว้ในพระคัมภีร์ว่าเขาต้องรับทุกข์จากผลกรรมที่ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ ฉะนั้นผู้ที่ไม่ปฏิบัติกิจกรรมทิพย์อย่างเหมาะสมจะได้รับผลกรรมเหล่านี้ ภาควต ได้ยืนยันว่านักทิพย์นิยมผู้ไม่ประสบผลสำเร็จไม่จำเป็นต้องวิตกกังวล ถึงแม้อาจได้รับผลกรรมที่ปฏิบัติตามหน้าที่อย่างสมบูรณ์ก็ไม่สูญเสียอะไร เพราะกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นสิริมงคลจะไม่มีวันถูกลืม และผู้ได้ปฏิบัติเช่นนี้จะปฏิบัติต่อไปแม้หากเขาเกิดมาต่ำต้อยในชาติหน้า อีกด้านหนึ่งหากบุคคลปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดแต่ไม่มีกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่ได้รับผลอันเป็นมงคล

คำอธิบายเข้าใจได้ดังต่อไปนี้ มนุษยชาติอาจแบ่งออกได้เป็นสองพวก คือพวกมีกฎเกณฑ์ และพวกที่ไม่มีกฎเกณฑ์ พวกที่เพียงแต่ปฏิบัติตนเพื่อสนองประสาทสัมผัสเยี่ยงสัตว์เดรัจฉานโดยปราศจากความรู้ของชาติหน้า หรือความหลุดพ้นแห่งดวงวิญญาณเป็นพวกที่ไม่กฎเกณฑ์ ส่วนพวกที่ปฏิบัติตามหลักธรรมแห่งหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระคัมภีร์เป็นพวกที่มีกฎเกณฑ์ พวกไม่มีกฎเกณฑ์ทั้งศิวิไลและไม่ศิวิไล มีการศึกษาและด้อยการศึกษา แข็งแรงและอ่อนแอทั้งหมดเต็มไปด้วยนิสัยสัตว์เดรัจฉาน กิจกรรมของพวกนี้ไม่เคยเป็นมงคล เพราะขณะที่เพลิดเพลินกับนิสัยเยี่ยงสัตว์เดรัจฉานในการกิน นอน ป้องกันตัว และเพศสัมพันธ์ พวกเขาจะยังคงมีความเป็นอยู่ทางวัตถุชั่วกัลปวสานซึ่งมีแต่ความทุกข์ อีกด้านหนึ่งพวกมีกฎเกณฑ์ตามคำสั่งสอนของพระคัมภีร์จะค่อยๆเจริญขึ้นมาสู่กฺฤษฺณจิตสำนึกชีวิตจะเจริญก้าวหน้าอย่างแน่นอน

พวกที่ปฏิบัติตามวิธีอันเป็นมงคลแบ่งได้เป็นสามกลุ่ม คือ (1) กลุ่มที่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของพระคัมภีร์และได้รับความสุขจากความมั่งคั่งทางวัตถุ (2) กลุ่มที่พยายามค้นหาเสรีภาพสูงสุดจากความเป็นอยู่ทางวัตถุ และ (3) กลุ่มที่เป็นสาวกในกฺฤษฺณจิตสำนึก กลุ่มที่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของพระคัมภีร์เพื่อความสุขทางวัตถุอาจแบ่งต่อไปอีกได้เป็นสองกลุ่มย่อย คือ กลุ่มที่ทำงานเพื่อผลประโยชน์ทางวัตถุ และกลุ่มที่ไม่ปรารถนาผลทางวัตถุเพื่อสนองประสาทสัมผัส พวกที่ปรารถนาผลทางวัตถุเพื่อสนองประสาทสัมผัสอาจพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้นจนกระทั่งไปถึงดาวเคราะห์ที่สูงกว่า แต่ถึงกระนั้นเนื่องจากมิได้เป็นอิสระจากความเป็นอยู่ทางวัตถุเพื่อสนองประสาทสัมผัสอาจพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้นจนกระทั่งไปถึงดาวเคราะห์ที่สูงกว่า ถึงกระนั้นเนื่องจากมิได้เป็นอิสระจากความเป็นอยู่ทางวัตถุจึงไม่ได้ปฏิบัติตามวิถีทางอันเป็นมงคลอย่างแท้จริง กิจกรรมอันเป็นมงคลคือกิจกรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้นเท่านั้น กิจกรรมใดๆที่ไม่มุ่งไปที่ความรู้แจ้งแห่งตนหรือความหลุดพ้นจากแนวคิดชีวิตทางวัตถุในที่สุดจะไม่เป็นมงคลเลย กิจกรรมในกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นกิจกรรมเดียวที่เป็นมงคล และผู้ใดอาสายอมรับความไม่สะดวกสบายทางร่างกายทั้งมวลเพื่อความเจริญก้าวหน้าบนวิถีแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกสามารถเรียกได้ว่าเป็นนักทิพย์นิยมที่สมบูรณ์ภายใต้ความสมถะอย่างเคร่งครัด เพราะระบบโยคะแปดระดับจะนำมาสู่ความรู้แจ้งแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกในที่สุด การฝึกปฏิบัติเช่นนี้เป็นมงคลเช่นกัน ผู้ใดที่พยายามอย่างดีที่สุดในเรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องกลัวตกลงต่ำ

โศลก 41

prāpya puṇya-kṛtāṁ lokān
uṣitvā śāśvatīḥ samāḥ
śucīnāṁ śrīmatāṁ gehe
yoga-bhraṣṭo ’bhijāyate
ปฺราปฺย ปุณฺย-กฺฤตำ โลกานฺ
อุษิตฺวา ศาศฺวตีห์ สมาห์
ศุจีนำ ศฺรีมตำ เคเห
โยค-ภฺรษฺโฏ ’ภิชายเต
ปฺราปฺย — หลังจากได้รับ, ปุณฺย-กฺฤตามฺ — ของพวกทำบุญ, โลกานฺ — ดาวเคราะห์, อุษิตฺวา — หลังจากอาศัยอยู่, ศาศฺวตีห์ — หลายๆ, สมาห์ — ปี, ศุจีนามฺ — แห่งบุญ, ศฺรี-มตามฺ — แห่งความรุ่งเรือง, เคเห — ในบ้าน, โยค-ภฺรษฺฏห์ — ผู้ตกลงจากวิถีความรู้แจ้งแห่งตน, อภิชายเต — เกิด

คำแปล

หลังจากมีความสุขหลายๆปีบนดาวเคราะห์ของสิ่งมีชีวิตผู้มีบุญ โยคีผู้ไม่ประสบความสำเร็จจะเกิดในตระกูลของคนที่มีคุณธรรม หรือเกิดในตระกูลสูงที่ร่ำรวย

คำอธิบาย

โยคีที่ไม่ประสบผลสำเร็จแบ่งออกเป็นสองพวก พวกหนึ่งตกลงมาหลังจากความเจริญก้าวหน้าเพียงเล็กน้อย อีกพวกหนึ่งตกลงมาหลังจากการฝึกปฏิบัติโยคะเป็นเวลายาวนาน โยคีที่ตกลงมาหลังจากการฝึกปฏิบัติในระยะเวลาสั้นจะไปยังดาวเคราะห์ที่สูงกว่าที่อนุญาตให้สิ่งมีชีวิตผู้มีบุญไปอยู่ หลังจากมีชีวิตอันยืนยาวอยู่ที่นั่นจะถูกส่งกลับมายังโลกนี้อีกครั้งหนึ่งโดยมาเกิดในตระกูล พฺราหฺมณ ไวษฺณว ผู้มีคุณธรรม หรือในตระกูลพ่อค้าวานิชที่ร่ำรวย

จุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการฝึกปฏิบัติโยคะคือ การบรรลุความสมบูรณ์สูงสุดแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึก ดังที่ได้อธิบายไว้ในโศลกสุดท้ายของบทนี้ แต่พวกที่ไม่มีความเพียรพยายามมากเช่นนี้และตกลงต่ำเพราะไปลุ่มหลงทางวัตถุจะได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์กับนิสัยชอบทางวัตถุอย่างเต็มที่ด้วยพระเมตตาขององค์ภควานฺ หลังจากนั้นก็จะได้รับโอกาสให้ไปใช้ชีวิตมั่งคั่งในตระกูลที่มีคุณธรรมหรือตระกูลสูง พวกที่เกิดในตระกูลเช่นนี้อาจฉวยประโยชน์จากสิ่งเอื้ออำนวยต่างๆ และพยายามพัฒนาตนเองให้มีกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์

โศลก 42

atha vā yoginām eva
kule bhavati dhīmatām
etad dhi durlabha-taraṁ
loke janma yad īdṛśam
อถ วา โยคินามฺ เอว
กุเล ภวติ ธีมตามฺ
เอตทฺ ธิ ทุรฺลภ-ตรํ
โลเก ชนฺม ยทฺ อีทฺฤศมฺ
อถ วา — หรือ, โยคินามฺ — ของนักทิพย์นิยมผู้มีความรู้, เอว — แน่นอน, กุเล — ในครอบครัว, ภวติ — เกิด, ธี-มตามฺ — ของพวกมีปัญญาสูง, เอตตฺ — นี้, หิ — แน่นอน, ทุรฺลภ-ตรมฺ — หายากมาก, โลเก — ในโลกนี้, ชนฺม — เกิด, ยตฺ — ที่ซึ่ง, อีทฺฤศมฺ — เหมือนเช่นนี้

คำแปล

หรือ (หากไม่ประสบผลสำเร็จหลังจากฝึกปฏิบัติโยคะไปเป็นเวลานาน) เขาจะเกิดในครอบครัวของนักทิพย์นิยมผู้ที่เปี่ยมไปด้วยปัญญาอย่างแน่นอน และเป็นจริงที่ว่าการเกิดเช่นนี้เป็นสิ่งที่หาได้ยากในโลกนี้

คำอธิบาย

การเกิดในตระกูลของโยคีหรือนักทิพย์นิยมผู้ที่เปี่ยมไปด้วยปัญญาได้รับการสรรเสริญไว้ ที่นี้ว่า เด็กที่เกิดในตระกูลเช่นนี้ได้รับแรงกระตุ้นทางจิตวิญญาณตั้งแต่แรกเริ่มของชีวิตโดยเฉพาะในกรณีของตระกูล อาจารฺย หรือ โคสฺวามี ตระกูลเช่นนี้มีความรู้มากและอุทิศตนเสียสละตามประเพณีและการฝึกปฏิบัติ ดังนั้นพวกท่านจึงกลายมาเป็นพระอาจารย์ทิพย์ ในประเทศอินเดียมีตระกูล อาจารฺย เช่นนี้มากมาย แต่ปัจจุบันเสื่อมทรามลงเนื่องจากการศึกษาและการฝึกปฏิบัติไม่เพียงพอ ด้วยพระเมตตาขององค์ภควานฺจึงยังมีครอบครัวที่อุปถัมภ์นักทิพย์นิยมมาหลายชั่วคน แน่นอนว่าเป็นบุญมหาศาลที่ได้เกิดในตระกูลเช่นนี้ เป็นความโชคดีที่ทั้งพระอาจารย์ทิพย์ของเรา โอํ วิษฺณุปาท ศฺรี ศฺรีมทฺ ภกฺติสิทฺธานฺต สรสฺวตี โคสฺวามี มหาราช และตัวอาตมาเองได้มีโอกาสเกิดในตระกูลเช่นนี้ ด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์ภควานฺเราทั้งสองคนได้รับการฝึกฝนในการอุทิศตนเสียสละรับใช้พระองค์ตั้งแต่แรกเริ่มของชีวิต ต่อมาเราได้มาพบกันตามคำสั่งแห่งระบบทิพย์

โศลก 43

tatra taṁ buddhi-saṁyogaṁ
labhate paurva-dehikam
yatate ca tato bhūyaḥ
saṁsiddhau kuru-nandana
ตตฺร ตํ พุทฺธิ-สํโยคํ
ลภเต เปารฺว-เทหิกมฺ
ยตเต จ ตโต ภูยห์
สํสิทฺเธา กุรุ-นนฺทน
ตตฺร — จากนั้น, ตมฺ — นั้น, พุทฺธิ-สํโยคมฺ — ฟื้นฟูจิตสำนึก, ลภเต — ได้รับ, เปารฺว-เทหิกมฺ — จากร่างก่อน, ยตเต — เขาพยายาม, — เช่นกัน, ตตห์ — หลังจากนั้น, ภูยห์ — อีกครั้ง, สํสิทฺเธา — เพื่อความสมบูรณ์, กุรุ-นนฺทน — โอ้ โอรสแห่งคุรุ

คำแปล

การเกิดเช่นนี้ทำให้ได้ฟื้นฟูจิตสำนึกทิพย์ของเขาจากชาติปางก่อน และพยายามเพื่อความเจริญก้าวหน้าอีกครั้งในการบรรลุถึงความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ โอ้ โอรสแห่ง กุรุ

คำอธิบาย

กฺษตฺริย ภารต ทรงประสูติในตระกูลพราหมณ์ที่ดี เป็นตัวอย่างในการเกิดที่ดีเพื่อฟื้นฟูจิตสำนึกทิพย์ ในอดีตพระราชา ภารต ทรงเป็นจักรพรรดิ์แห่งโลกและนับตั้งแต่นั้นมาโลกนี้มีชื่อเรียกในหมู่เทวดาว่า ภารต-วรฺษ ในอดีตมีชื่อว่า อิลาวฺฤต-วรฺษ เมื่อยังทรงพระเยาว์จักรพรรดิ์ทรงสละราชบัลลังก์เพื่อความสมบูรณ์ในวิถีทิพย์แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ในชาติต่อมาประสูติในตระกูล พฺราหฺมณ ที่ดีมีพระนามว่า ชฑ ภรต เนื่องจากทรงอยู่ในที่สันโดษเสมอและไม่พูดกับผู้ใด ในเวลาต่อมา กฺษตฺริย รหูคณ ทรงพบว่า ชฑ ภรต เป็นนักทิพย์นิยมผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด จากชีวิตของ กฺษตฺริย ภรต นี้ทำให้เข้าใจได้ว่าความพยายามในวิถีทิพย์หรือการฝึกปฏิบัติโยคะไม่เคยสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ ด้วยพระเมตตาขององค์ภควานฺนักทิพย์นิยมจะได้รับโอกาสอีกครั้งเพื่อความสมบูรณ์บริบูรณ์ในกฺฤษฺณจิตสำนึก

โศลก 44

pūrvābhyāsena tenaiva
hriyate hy avaśo ’pi saḥ
jijñāsur api yogasya
śabda-brahmātivartate
ปูรฺวาภฺยาเสน เตไนว
หฺริยเต หฺยฺ อวโศ ’ปิ สห์
ชิชฺญาสุรฺ อปิ โยคสฺย
ศพฺท-พฺรหฺมาติวรฺตเต
ปูรฺว — ในอดีต, อภฺยาเสน — ด้วยการฝึกปฏิบัติ, เตน — เช่นนั้น, เอว — แน่นอน, หฺริยเต — รัก, หิ — แน่นอน, อวศห์ — โดยปริยาย, อปิ — เช่นกัน, สห์ — เขา, ชิชฺญาสุห์ — ถาม, อปิ — แม้แต่, โยคสฺย — เกี่ยวกับโยคะ, ศพฺท-พฺรหฺม — หลักพิธีกรรมของพระคัมภีร์, อติวรฺตเต — อยู่เหนือ

คำแปล

ด้วยบุญบารมีแห่งจิตสำนึกทิพย์จากชาติปางก่อน จิตใจของเขาจะชื่นชอบหลักธรรมของโยคะโดยปริยาย ถึงแม้จะไม่ได้แสวงหา นักทิพย์นิยมที่ชอบถามผู้นี้จะยืนอยู่เหนือหลักพิธีกรรมของพระคัมภีร์เสมอ

คำอธิบาย

โยคีผู้ที่เจริญแล้วจะไม่ติดใจอยู่กับพิธีกรรมของพระคัมภีร์ แต่จะชื่นชอบหลักธรรมของโยคะโดยปริยายซึ่งสามารถพัฒนาให้ไปถึงกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ หรือความสมบูรณ์สูงสุดแห่งโยคะ ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (3.33.7) การที่นักทิพย์นิยมผู้เจริญแล้วไม่สนใจพิธีกรรมทางพระเวทได้อธิบายไว้ดังนี้

อโห พต ศฺว-ปโจ ’โต ครียานฺ
ยชฺ-ชิหฺวาเคฺร วรฺตเต นาม ตุภฺยมฺ
เตปุสฺ ตปสฺ เต ชุหุวุห์ สสฺนุรฺ อารฺยา
พฺรหฺมานูจุรฺ นาม คฺฤณนฺติ เย เต
“โอ้ องค์ภควานฺที่รัก บุคคลผู้สวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์แม้จะเกิดในตระกูลคนกินสุนัขก็มีความเจริญในชีวิตทิพย์มาก ผู้ที่สวดภาวนาเช่นนี้ได้ปฏิบัติความสมถะและการบูชาทุกชนิดโดยไม่ต้องสงสัย ได้อาบน้ำในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทุกแห่ง และได้เสร็จสิ้นการศึกษาพระคัมภีร์ทั้งหมดแล้ว”

องค์ศฺรี ไจตนฺย ทรงให้ตัวอย่างสาวกที่มีชื่อเสียงเช่นนี้ไว้ด้วยการยอมรับ ฐากุร หริทาส ว่าเป็นหนึ่งในสาวกที่สำคัญที่สุดของพระองค์ถึงแม้ ฐากุร หริทาส ได้เกิดในตระกูลมุสลิมแต่ได้พัฒนามาจนองค์ศฺรี ไจตนฺย ทรงให้ฉายาว่า นามาจารฺย เนื่องจาก ฐากุร หริทาส รับเอาหลักการสวดภาวนาอย่างเคร่งครัดถึงสามแสนพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควานฺทุกวัน หเร กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ หเร หเร หเร ราม หเร ราม ราม ราม หเร หเร ท่านสวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์อยู่เสมอ เข้าใจว่าในอดีตชาติท่านต้องผ่านการปฏิบัติตามพิธีกรรมของพระเวททั้งหลายที่เรียกว่า ศพฺท-พฺรหฺม ดังนั้นนอกจากจะมีความบริสุทธิ์ มิฉะนั้นก็จะไม่สามารถรับหลักธรรมของกฺฤษฺณจิตสำนึก หรือปฏิบัติการสวดภาวนาพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควานฺ หเร กฺฤษฺณ ได้

โศลก 45

prayatnād yatamānas tu
yogī saṁśuddha-kilbiṣaḥ
aneka-janma-saṁsiddhas
tato yāti parāṁ gatim
ปฺรยตฺนาทฺ ยตมานสฺ ตุ
โยคี สํศุทฺธ-กิลฺพิษห์
อเนก-ชนฺม-สํสิทฺธสฺ
ตโต ยาติ ปรำ คติมฺ
ปฺรยตฺนาตฺ — ด้วยการฝึกปฏิบัติอย่างจริงจัง, ยตมานห์ — ความพยายาม, ตุ — และ, โยคี — นักทิพย์นิยมเช่นนี้, สํศุทฺธ — ชะล้าง, กิลฺพิษห์ — ความบาปทั้งมวล, อเนก — หลังจากหลายต่อหลาย, ชนฺม — การเกิด, สํสิทฺธห์ — บรรลุความสมบูรณ์, ตตห์ — หลังจากนั้น, ยาติ — ได้รับ, ปรามฺ — สูงสุด, คติมฺ — จุดมุ่งหมาย

คำแปล

และเมื่อโยคีปฏิบัติตนด้วยความพยายามอย่างจริงใจในความเจริญก้าวหน้าขึ้นไปอีก ชะล้างมลทินทั้งหมด และในที่สุดบรรลุถึงความสมบูรณ์ หลังจากฝึกปฏิบัติมาหลายต่อหลายชาติ เขาจะบรรลุถึงจุดมุ่งหมายสูงสุด

คำอธิบาย

บุคคลผู้เกิดในตระกูลสูงและมีคุณธรรมหรือตระกูลที่ใฝ่ศาสนาโดยเฉพาะรู้สำนึกถึงสภาวะที่เอื้ออำนวยในการฝึกปฏิบัติโยคะ ดังนั้นด้วยความมั่นใจจึงเริ่มทำงานที่ยังคั่งค้างอยู่และชะล้างตัวเขาจากมลทินทางวัตถุทั้งมวลให้บริสุทธิ์อย่างสมบูรณ์ ในที่สุดเมื่อเป็นอิสระจากมลทินทั้งมวลเขาจะบรรลุถึงความสมบูรณ์สูงสุด หรือกฺฤษฺณจิตสำนึก กฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นระดับที่สมบูรณ์ในการเป็นอิสระจากมลทินทั้งมวล ได้ยืนยันไว้ใน ภควัท-คีตา (7.28)

เยษำ ตฺวฺ อนฺต-คตํ ปาปํ
ชนานำ ปุณฺย-กรฺมณามฺ
เต ทฺวนฺทฺว-โมห-นิรฺมุกฺตา
ภชนฺเต มำ ทฺฤฒ-วฺรตาห์
“หลังจากหลายต่อหลายชาติในการสะสมบุญ เมื่อเป็นอิสระอย่างสมบูรณ์จากมลทินทั้งปวงจากความหลงกับสิ่งคู่ทั้งหลาย เขาจะมาปฏิบัติในการรับใช้ทิพย์ด้วยความรักต่อองค์ภควานฺ”

โศลก 46

tapasvibhyo ’dhiko yogī
jñānibhyo ’pi mato ’dhikaḥ
karmibhyaś cādhiko yogī
tasmād yogī bhavārjuna
ตปสฺวิโภฺย ’ธิโก โยคี
ชฺญานิโภฺย ’ปิ มโต ’ธิกห์
กรฺมิภฺยศฺ จาธิโก โยคี
ตสฺมาทฺ โยคี ภวารฺชุน
ตปสฺวิภฺยห์ — กว่านักพรต, อธิกห์ — ยิ่งใหญ่กว่า, โยคี — โยคี, ชฺญานิภฺยห์ — กว่านักปราชญ์, อปิ — เช่นกัน, มตห์ — พิจารณา, อธิกห์ — ยิ่งใหญ่กว่า, กรฺมิภฺยห์ — กว่าผู้ทำงานเพื่อผลทางวัตถุ, — เช่นกัน, อธิกห์ — ยิ่งใหญ่กว่า, โยคี — โยคี, ตสฺมาตฺ — ดังนั้น, โยคี — นักทิพย์นิยม, ภว — จงมาเป็น, อรฺชุน — โอ้ อารจุนะ

คำแปล

โยคียิ่งใหญ่กว่านักพรต ยิ่งใหญ่กว่านักปราชญ์ และยิ่งใหญ่กว่าผู้ทำงานเพื่อผลทางวัตถุ ฉะนั้น โอ้ อรฺชุน ในทุกๆสถานการณ์เธอจงเป็นโยคี

คำอธิบาย

เมื่อเราพูดถึงโยคะเราหมายถึงการเชื่อมสัมพันธ์จิตสำนึกของเรากับสัจธรรมที่สมบูรณ์สูงสุด วิธีการปฏิบัตินี้มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามแนวทางของนักปฏิบัติ เมื่อวิธีการเชื่อมสัมพันธ์เน้นที่กิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุมีชื่อเรียกว่า กรฺม-โยค เมื่อเน้นที่ปรัชญามีชื่อเรียกว่า ชฺญาน-โยค เมื่อเน้นความสัมพันธ์ในการอุทิศตนเสียสละต่อองค์ภควานฺมีชื่อเรียกว่า ภกฺติ-โยค ภกฺติ-โยค หรือกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นความสมบูรณ์สูงสุดแห่งโยคะทั้งหลาย ดังจะอธิบายในโศลกต่อไป องค์ภควานฺทรงยืนยันในที่นี้ถึงความยิ่งใหญ่แห่งโยคะ แต่ทรงมิได้กล่าวว่ามีอะไรดีไปกว่า ภกฺติ-โยค ภกฺติ-โยค เป็นความรู้ทิพย์ที่สมบูรณ์เช่นนี้จึงไม่มีอะไรที่เหนือกว่า ระบบนักพรตโดยปราศจากความรู้แห่งตนไม่สมบูรณ์ ความรู้ทางปรัชญาโดยปราศจากการศิโรราบต่อองค์ภควานฺก็ไม่สมบูรณ์ และการทำงานเพื่อผลทางวัตถุโดยปราศจากกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นการเสียเวลา ฉะนั้นการปฏิบัติโยคะที่ได้รับการยกย่องสรรเสริญอย่างสูงสุด ที่นี้คือ ภกฺติ-โยค และจะอธิบายให้กระจ่างกว่านี้ในโศลกต่อไป

โศลก 47

yoginām api sarveṣāṁ
mad-gatenāntar-ātmanā
śraddhāvān bhajate yo māṁ
sa me yukta-tamo mataḥ
โยคินามฺ อปิ สเรฺวษามฺ
มทฺ-คเตนานฺตรฺ-อาตฺมนา
ศฺรทฺธาวานฺ ภชเต โย มำ
ส เม ยุกฺต-ตโม มตห์
โยคินามฺ — ของโยคี, อปิ — เช่นกัน, สเรฺวษามฺ — ทุกชนิด, มตฺ-คเตน — มีข้าเป็นสรณะ, ระลึกถึงข้าอยู่เสมอ, อนฺตห์-อาตฺมนา — ภายในตัวเขา, ศฺรทฺธา-วานฺ — เปี่ยมไปด้วยศรัทธา, ภชเต — ปฏิบัติรับใช้ด้วยความรักทิพย์, ยห์ — ผู้ซึ่ง, มามฺ — แด่ข้า (องค์ภควาน), สห์ — เขา, เม — โดยข้า, ยุกฺต-ตมห์ — โยคีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด, มตห์ — พิจารณาว่า

คำแปล

ในบรรดาโยคีทั้งหลายผู้ที่เปี่ยมไปด้วยความศรัทธา มีข้าเป็นสรณะอยู่เสมอ ระลึกถึงข้าอยู่ภายใน ปฏิบัติรับใช้ข้าด้วยความรักทิพย์ โยคีผู้นี้อยู่ร่วมกับข้าในโยคะอย่างใกล้ชิดที่สุด และเป็นบุคคลสูงสุด นี่คือความคิดเห็นของข้า

คำอธิบาย

คำว่า ภชเต มีความสำคัญ ที่นี้ ภชเต มีรากศัพท์มาจากคำกริยา ภชฺ ซึ่งใช้คำนี้เมื่อมีความจำเป็นในการรับใช้ คำว่า “บูชา” ไม่สามารถใช้ในความหมายเดียวกันกับคำว่า ภชฺ ได้ บูชาหมายความถึงการเคารพหรือแสดงความนับถือและให้เกียรติต่อผู้ที่ทรงเกียรติ แต่การรับใช้ด้วยความรักและศรัทธาหมายถึงองค์ภควานฺเท่านั้น เราอาจหลีกเลี่ยงการบูชาผู้ที่เคารพนับถือหรือเทวดาได้แล้วจะถูกเรียกว่าเป็นคนไม่มีมารยาท แต่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการรับใช้องค์ภควานฺได้โดยไม่ถูกตำหนิอย่างรุนแรง ทุกๆชีวิตเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺ ดังนั้นทุกๆชีวิตมีไว้เพื่อรับใช้พระองค์ตามสถานภาพพื้นฐานของตนเอง หากไม่ทำเช่นนี้จะทำให้ตกต่ำลง ภาควต (11.5.3) ได้ยืนยันไว้ดังต่อไปนี้

ย เอษำ ปุรุษํ สากฺษาทฺ
อาตฺม-ปฺรภวมฺ อีศฺวรมฺ
น ภชนฺตฺยฺ อวชานนฺติ
สฺถานาทฺ ภฺรษฺฏาห์ ปตนฺตฺยฺ อธห์
“ผู้ใดที่ไม่ปฏิบัติรับใช้องค์ภควานฺ ผู้ทรงเป็นแหล่งกำเนิดของมวลชีวิต และละเลยหน้าที่ของตนจะตกลงต่ำจากสถานภาพพื้นฐานของตนอย่างแน่นอน”

ในโศลกนี้คำว่า ภชนฺติ ได้นำมาใช้เช่นเดียวกัน ฉะนั้นคำว่า ภชนฺติ ใช้ได้เฉพาะกับองค์ภควานฺเท่านั้น ในขณะที่คำว่า “บูชา” สามารถใช้ได้กับเทวดาหรือสิ่งมีชีวิตธรรมดาทั่วไป คำว่า อวชานนฺติ ที่ใช้ในโศลกของ ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ นี้ก็พบใน ภควัท-คีตา เช่นกัน อวชานนฺติ มำ มูฒาห์ “คนโง่และเลวทรามเท่านั้นที่เย้ยหยันองค์ภควานฺ ศฺรี กฺฤษฺณ” พวกคนโง่เช่นนี้เขียนคำอธิบาย ภควัท-คีตา ด้วยตัวเองโดยปราศจากท่าทีแห่งการรับใช้องค์ภควานฺ ดังนั้นพวกนี้ไม่สามารถแยกได้อย่างถูกต้องระหว่างคำว่า ภชนฺติ และคำว่า “บูชา”

การฝึกปฏิบัติโยคะทั้งหลายไปถึงจุดสุดยอดที่ ภกฺติ-โยค โยคะรูปแบบอื่นทั้งหลายเป็นเพียงวิถีทางเพื่อให้มาถึงจุด ภกฺติ ใน ภกฺติ-โยค อันที่จริงโยคะหมายถึง ภกฺติ-โยค โยคะรูปแบบอื่นทั้งหมดเป็นขั้นบันไดเพื่อให้มาถึงจุดหมายปลายทางแห่ง ภกฺติ-โยค นี้ จากการเริ่มต้นของ กรฺม-โยค มาจนจบลงที่ ภกฺติ-โยค เป็นหนทางอันยาวไกลเพื่อความรู้แจ้งแห่งตน กรฺม-โยค โดยปราศจากผลทางวัตถุเป็นจุดเริ่มต้นแห่งวิถีทางนี้เมื่อ กรฺม-โยค พัฒนาความรู้และการเสียสละระดับนี้เรียกว่า ชฺญาน-โยค เมื่อ ชฺญาน-โยค พัฒนาการทำสมาธิที่อภิวิญญาณด้วยวิธีการทางสรีระร่างกายต่างๆนานาและตั้งสมาธิจิตอยู่ที่พระองค์เรียกว่า อษฺฏางฺค-โยค เมื่อข้ามพ้น อษฺฏางฺค-โยค และมาถึงจุดแห่งบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าองค์ศฺรี กฺฤษฺณเรียกว่า ภกฺติ-โยค ซึ่งเป็นจุดสุดยอด อันที่จริง ภกฺติ-โยค เป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดแต่เพื่อเป็นการวิเคราะห์ ภกฺติ-โยค อย่างละเอียดถี่ถ้วนเราต้องเข้าใจโยคะอื่นๆเหล่านี้ ฉะนั้นโยคะที่เจริญก้าวหน้าจะอยู่บนวิถีทางแห่งความโชคดีนิรันดรอย่างแท้จริง ผู้ที่ยึดติดอยู่กับจุดหนึ่งจุดใดโดยเฉพาะ และไม่สร้างความเจริญก้าวหน้าขึ้นไปอีกมีชื่อเรียกเฉพาะนั้นๆว่า กรฺม-โยคี, ชฺญาน-โยคี หรือ ธฺยาน-โยคี, ราช-โยคี, หฐ-โยคี ฯลฯ หากผู้ใดโชคดีพอที่มาถึงจุดแห่ง ภกฺติ-โยค เข้าใจได้ว่าได้ข้ามพ้นโยคะอื่นๆทั้งหลาย ดังนั้นการมีกฺฤษฺณจิตสำนึกจึงเป็นระดับสูงสุดแห่งโยคะ เฉกเช่นเมื่อเราพูดถึง หิมาลย (หิมาลัย) เราหมายถึงเทือกเขาที่สูงที่สุดในโลก ภูเขาหิมาลัยที่มียอดสูงสุดจึงพิจารณาว่าเป็นจุดสุดยอด

ด้วยโชคอันมหาศาลที่เราได้มาถึงกฺฤษฺณจิตสำนึกบนหนทางแห่ง ภกฺติ-โยค และสถิตอย่างดีตามคำแนะนำของคัมภีร์พระเวท โยคีที่ดีเลิศตั้งสมาธิอยู่ที่องค์กฺฤษฺณ ผู้ทรงมีพระนามว่า ศฺยามสุนฺทร ผู้ทรงมีสีสันสวยงามดั่งก้อนเมฆ ทรงมีพระพักตร์คล้ายรูปดอกบัว ทรงมีรัศมีเจิดจรัสดั่งดวงอาทิตย์ ทรงมีพระอาภรณ์สว่างไสวไปด้วยอัญมณี และทรงมีพระวรกายประดับด้วยมาลัยดอกไม้ รัศมีอันงดงามของพระองค์เจิดจรัสไปทั่วทุกสารทิศมีชื่อว่า พฺรหฺม-โชฺยติรฺ พระองค์ทรงอวตารมาในรูปลักษณ์ต่างๆ เช่น พระราม, นฺฤสึห, วราห และ กฺฤษฺณ บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าพระองค์เสด็จลงมาเยี่ยงมนุษย์ ทรงเป็นโอรสของพระนาง ยโศทา และมีพระนามว่า กฺฤษฺณ, โควินฺท และ วาสุเทว พระองค์ทรงเป็นโอรส เป็นพระสวามี เป็นพระสหาย และเป็นพระอาจารย์ที่สมบูรณ์ และพระองค์ยังเปี่ยมไปด้วยความมั่งคั่งและคุณสมบัติทิพย์ทั้งหลาย หากผู้ใดรักษาจิตสำนึกอย่างเต็มเปี่ยมเกี่ยวกับลักษณะเหล่านี้ขององค์ภควานฺจะได้ชื่อว่าเป็นโยคีที่สูงสุด

ระดับแห่งความสมบูรณ์สูงสุดในโยคะนี้สามารถบรรลุได้ด้วย ภกฺติ-โยค เท่านั้น ดังที่ได้ยืนยันไว้ในวรรณกรรมพระเวททั้งหลายว่า

ยสฺย เทเว ปรา ภกฺติรฺ
ยถา เทเว ตถา คุเรา
ตไสฺยเต กถิตา หฺยฺ อรฺถาห์
ปฺรกาศนฺเต มหาตฺมนห์
“ดวงวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่ที่มีความศรัทธาอย่างเปี่ยมล้นทั้งในองค์ภควานฺและพระอาจารย์ทิพย์เท่านั้นที่สาระสำคัญทั้งหลายแห่งความรู้พระเวทจะถูกเปิดเผยโดยปริยาย” (เศฺวตาศฺวตร อุปนิษทฺ 6.23)

ภกฺติรฺ อสฺย ภชนํ ตทฺ อิหามุโตฺรปาธิ-ไนราเสฺยนามุษฺมินฺ มนห์-กลฺปนมฺ, เอตทฺ เอว ไนษฺกรฺมฺยมฺ ภกฺติ หมายถึงการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานฺ ซึ่งมีอิสระเสรีจากความปรารถนาเพื่อผลกำไรทางวัตถุ ไม่ว่าในชาตินี้หรือในชาติหน้าปราศจากซึ่งแนวโน้มเช่นนี้เขาควรให้จิตใจซึมซาบอย่างบริบูรณ์ในองค์ภควานฺ นั่นคือจุดมุ่งหมายของ ไนษฺกรฺมฺย (โคปาล-ตาปนี อุปนิษทฺ 1.15)

เหล่านี้คือวิถีทางบางประการในการปฏิบัติ ภกฺติ หรือ กฺฤษฺณจิตสำนึกซึ่งเป็นระดับสมบูรณ์สูงสุดแห่งระบบโยคะ

ดังนั้นได้จบคำอธิบายโดย ภักดีเวดานตะ บทที่หก ของหนังสือ ศฺรีมทฺ ภควัท-คีตา ในหัวข้อเรื่อง ธฺยาน-โยค