ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบสี่

สามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ

SIMPLE

โศลก 1

śrī-bhagavān uvāca
paraṁ bhūyaḥ pravakṣyāmi
jñānānāṁ jñānam uttamam
yaj jñātvā munayaḥ sarve
parāṁ siddhim ito gatāḥ
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
ปรํ ภูยห์ ปฺรวกฺษฺยามิ
ชฺญานานำ ชฺญานมฺ อุตฺตมมฺ
ยชฺ ชฺญาตฺวา มุนยห์ สเรฺว
ปรำ สิทฺธิมฺ อิโต คตาห์
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัส, ปรมฺ — ทิพย์, ภูยห์ — อีกครั้งหนึ่ง, ปฺรวกฺษฺยามิ — ข้าจะตรัส, ชฺญานานามฺ — ในบรรดาความรู้ทั้งหมด, ชฺญานมฺ — ความรู้, อุตฺตมมฺ — สูงสุด, ยตฺ — ซึ่ง, ชฺญาตฺวา — เมื่อรู้, มุนยห์ — นักปราชญ์, สเรฺว — ทั้งหมด, ปรามฺ — ทิพย์, สิทฺธิมฺ — สมบูรณ์, อิตห์ — จากโลกนี้, คตาห์ — บรรลุ

คำแปล

บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงตรัสว่า อีกครั้งหนึ่งที่ข้าจะประกาศถึงภูมิปัญญาอันสูงสุดนี้แก่เจ้า ซึ่งดีที่สุดในบรรดาความรู้ทั้งหมด เมื่อรู้แล้วนักปราชญ์ทั้งหลายจะบรรลุถึงความสมบูรณ์สูงสุด

คำอธิบาย

จากบทที่เจ็ดมาถึงท้ายบทที่สิบสองศฺรี กฺฤษฺณ บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงเปิดเผยสัจธรรมอย่างละเอียด บัดนี้พระองค์ทรงให้แสงสว่างแก่ อรฺชุน มากขึ้นไปอีก หากผู้ใดเข้าใจบทนี้ผ่านวิธีการคาดคะเนทางปรัชญาเขาจะเข้าใจถึงการอุทิศตนเสียสละรับใช้ บทที่สิบสามได้อธิบายอย่างชัดเจนว่า จากการพัฒนาความรู้ด้วยความถ่อมตนเขาอาจเป็นอิสระจากพันธนาการทางวัตถุ และอธิบายไว้ด้วยว่าเนื่องจากการมาคบหาสมาคมกับระดับต่างๆของธรรมชาติทำให้สิ่งมีชีวิตถูกพันธนาการอยู่ในโลกวัตถุ ในบทนี้องค์ภควานฺทรงอธิบายว่าระดับแห่งธรรมชาติวัตถุเป็นอย่างไร ทำงานอย่างไรพันธนาการอย่างไร และให้ความหลุดพ้นได้อย่างไร องค์ภควานฺทรงประกาศว่าความรู้ที่อธิบายในบทนี้สูงกว่าความรู้ที่ให้ไว้ในบทอื่นๆทั้งหมด จากการเข้าใจความรู้นี้นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่มากมายได้บรรลุถึงความสมบูรณ์และย้ายไปสู่โลกทิพย์ บัดนี้พระองค์ทรงอธิบายถึงความรู้เดียวกันนี้ในวิธีที่ดีกว่า ความรู้นี้สูงกว่าวิธีการแห่งความรู้ทั้งหลายที่อธิบายมาแล้วมากมาย เมื่อรู้แล้วหลายๆคนได้บรรลุถึงความสมบูรณ์ ดังนั้นจึงคาดว่าผู้ที่เข้าใจบทที่สิบสี่นี้จะบรรลุถึงความสมบูรณ์

โศลก 2

idaṁ jñānam upāśritya
mama sādharmyam āgatāḥ
sarge ’pi nopajāyante
pralaye na vyathanti ca
อิทํ ชฺญานมฺ อุปาศฺริตฺย
มม สาธรฺมฺยมฺ อาคตาห์
สรฺเค ’ปิ โนปชายนฺเต
ปฺรลเย น วฺยถนฺติ จ
อิทมฺ — นี้, ชฺญานมฺ — ความรู้, อุปาศฺริตฺย — มาพึ่ง, มม — ของข้า, สาธรฺมฺยมฺ — ธรรมชาติเดียวกัน, อาคตาห์ — บรรลุ, สรฺเค อปิ — แม้ในการสร้าง, — ไม่เคย, อุปชายนฺเต — เกิด, ปฺรลเย — ในการทำลาย, — ไม่, วฺยถนฺติ — วุ่นวายใจ, — เช่นกัน

คำแปล

เมื่อมาตั้งมั่นในความรู้นี้เขาสามารถบรรลุถึงธรรมชาติทิพย์เหมือนกับตัวข้า เมื่อสถิตเช่นนี้เขาจะไม่เกิดเมื่อถึงเวลาสร้าง และจะไม่วุ่นวายใจเมื่อถึงเวลาทำลาย

คำอธิบาย

หลังจากได้ความรู้ทิพย์อันสมบูรณ์เราจะได้รับคุณลักษณะเดียวกันกับองค์ภควานฺ และมาเป็นผู้ที่มีอิสระจากการเกิดและการตายซ้ำซาก อย่างไรก็ดีเราไม่สูญเสียบุคลิกลักษณะของตนเองในฐานะที่เป็นปัจเจกวิญญาณ เป็นที่เข้าใจได้จากวรรณกรรมพระเวทว่า ดวงวิญญาณผู้หลุดพ้นที่มาถึงดาวเคราะห์ทิพย์ในท้องฟ้าทิพย์หมายจะมาพึ่งพระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควานฺ และปฏิบัติรับใช้พระองค์ด้วยความรักทิพย์เสมอ ฉะนั้นแม้หลังจากหลุดพ้นแล้วสาวกจะไม่สูญเสียปัจเจกบุคลิกลักษณะของตนเอง

โดยทั่วไปในโลกวัตถุความรู้ใดๆที่เราได้รับนั้นจะแปดเปื้อนไปด้วยมลทินจากสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ ความรู้ที่ไม่เปื้อนมลทินจากสามระดับแห่งธรรมชาติเรียกว่าความรู้ทิพย์ ทันทีที่สถิตในความรู้ทิพย์เราได้อยู่ในระดับเดียวกันกับองค์ภควานฺ พวกที่ไม่มีความรู้แห่งท้องฟ้าทิพย์เชื่อว่าหลังจากได้รับอิสรภาพจากกิจกรรมทางวัตถุในรูปลักษณ์ทางวัตถุ บุคลิกลักษณะทิพย์นี้จะกลายมาเป็นผู้ที่ไร้รูปลักษณ์ ไม่มีความหลากหลาย อย่างไรก็ดีในโลกทิพย์มีความหลากหลายเหมือนกับโลกวัตถุเช่นเดียวกัน พวกที่อยู่ในอวิชชาเช่นนี้คิดว่าความเป็นอยู่ทิพย์ตรงกันข้ามกับความหลากหลายทางวัตถุ แต่อันที่จริงในท้องฟ้าทิพย์เรามีรูปลักษณ์ทิพย์ มีกิจกรรมทิพย์ และมีสถานภาพทิพย์ซึ่งเรียกว่าชีวิตแห่งการอุทิศตนเสียสละ ในบรรยากาศนั้นกล่าวไว้ว่าไม่มีมลทินแปดเปื้อน ที่นั้นเราเสมอภาคกับองค์ภควานฺในด้านคุณภาพ เมื่อได้รับความรู้เช่นนี้เราต้องพัฒนาคุณสมบัติทิพย์ทั้งหมด ดังนั้นผู้ที่พัฒนาคุณสมบัติทิพย์จะไม่ได้รับผลกระทบจากการสร้าง หรือการทำลายของโลกวัตถุ

โศลก 3

mama yonir mahad brahma
tasmin garbhaṁ dadhāmy aham
sambhavaḥ sarva-bhūtānāṁ
tato bhavati bhārata
มม โยนิรฺ มหทฺ พฺรหฺม
ตสฺมินฺ ครฺภํ ทธามฺยฺ อหมฺ
สมฺภวห์ สรฺว-ภูตานำ
ตโต ภวติ ภารต
มม — ของข้า, โยนิห์ — ต้นเหตุแห่งการเกิด, มหตฺ — ความเป็นอยู่ทางวัตถุทั้งหมด, พฺรหฺม — สูงสุด, ตสฺมินฺ — ในนั้น, ครฺภมฺ — การตั้งครรภ์, ทธามิ — สร้าง, อหมฺ — ข้า, สมฺภวห์ — ความเป็นไปได้, สรฺว-ภูตานามฺ — ของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย, ตตห์ — หลังจากนั้น, ภวติ — มาเป็น, ภารต — โอ้ โอรสแห่ง ภรต

คำแปล

แก่นสารทางวัตถุทั้งหมดเรียกว่า พฺรหฺมนฺ ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งการเกิด และข้าทำให้ พฺรหฺมนฺ ตั้งครรภ์ การเกิดของมวลชีวิตจึงเป็นไปได้ โอ้ โอรสแห่ง ภรต

คำอธิบาย

นี่เป็นการอธิบายเกี่ยวกับโลกนี้ คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการผสมผสานของ กฺเษตฺร และ กฺเษตฺร-ชฺญ หรือร่างกายและดวงวิญญาณ การผสมผสานกันของธรรมชาติวัตถุและสิ่งมีชีวิตเป็นไปได้โดยองค์ภควานฺ มหตฺ-ตตฺตฺว เป็นแหล่งกำเนิดทั้งหมดของปรากฏการณ์ในจักรวาลทั้งหมด และแก่นสารทั้งหมดของแหล่งกำเนิดทางวัตถุนั้นมีสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ บางครั้งเรียกว่า พฺรหฺมนฺ องค์ภควานฺทรงทำให้แก่นสารทั้งหมดตั้งครรภ์ ดังนั้นจักรวาลอันนับไม่ถ้วนจึงเกิดขึ้นมาได้ แก่นสารทางวัตถุทั้งหมดนี้หรือ มหตฺ-ตตฺตฺว อธิบายว่าเป็น พฺรหฺมนฺ ในวรรณกรรมพระเวท (มุณฺฑก อุปนิษทฺ 1.1.19) กล่าวว่า ตสฺมาทฺ เอตทฺ พฺรหฺม นาม-รูปมฺ อนฺนํ ชายเต องค์ภควานฺทรงทำให้ พฺรหฺมนฺ ตั้งครรภ์ด้วยเมล็ดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต ธาตุทั้งยี่สิบสี่เริ่มต้นจาก ดิน น้ำ ไฟ และลมทั้งหมดเป็นพลังงานวัตถุ และสิ่งเหล่านี้รวมกันเรียกว่า มหทฺ พฺรหฺม หรือ พฺรหฺมนฺ ที่ยิ่งใหญ่นั่นคือธรรมชาติวัตถุ ดังที่ได้อธิบายในบทที่เจ็ดยังมีธรรมชาติที่สูงไปกว่านี้นั่นคือสิ่งมีชีวิต ภายในธรรมชาติวัตถุจะมีธรรมชาติที่สูงกว่าเข้าไปผสมด้วยความปรารถนาขององค์ภควานฺ และหลังจากนั้นมวลชีวิตได้กำเนิดมาจากธรรมชาติวัตถุนี้

แมลงป่องวางไข่ในกองข้าว บางครั้งกล่าวกันว่าแมลงป่องเกิดจากข้าว แต่ข้าวไม่ใช่แหล่งกำเนิดของแมลงป่อง อันที่จริงแม่ของแมลงป่องเป็นผู้วางไข่ ในทำนองเดียวกันธรรมชาติวัตถุไม่ใช่แหล่งกำเนิดแห่งการเกิดของสิ่งมีชีวิต บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงเป็นผู้ให้เมล็ดพันธุ์ และดูเหมือนว่าพวกเขาเกิดมาจากผลผลิตของธรรมชาติวัตถุ ดังนั้นตามกรรมเก่าของตนเองทุกๆชีวิตจึงมีร่างกายแตกต่างกัน ซึ่งธรรมชาติวัตถุนี้เป็นผู้สร้าง สิ่งมีชีวิตสามารถได้รับความสุขหรือความทุกข์ตามกรรมในอดีตของตน องค์ภควานฺทรงเป็นแหล่งกำเนิดแห่งปรากฏการณ์ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลกวัตถุนี้

โศลก 4

sarva-yoniṣu kaunteya
mūrtayaḥ sambhavanti yāḥ
tāsāṁ brahma mahad yonir
ahaṁ bīja-pradaḥ pitā
สรฺว-โยนิษุ เกานฺเตย
มูรฺตยห์ สมฺภวนฺติ ยาห์
ตาสำ พฺรหฺม มหทฺ โยนิรฺ
อหํ พีช-ปฺรทห์ ปิตา
สรฺว-โยนิษุ — ในเผ่าพันธุ์ของชีวิตทั้งหมด, เกานฺเตย — โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี, มูรฺตยห์ — รูปร่างต่างๆ, สมฺภวนฺติ — พวกเขาปรากฏ, ยาห์ — ซึ่ง, ตาสามฺ — พวกเขาทั้งหมด, พฺรหฺม — สูงสุด, มหตฺ โยนิห์ — ต้นเหตุของการเกิดในแก่นสารทางวัตถุ, อหมฺ — ข้า, พีช-ปฺรทห์ — ผู้ให้เมล็ดพันธุ์, ปิตา — พระบิดา

คำแปล

โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี ควรเข้าใจว่าที่เผ่าพันธุ์ชีวิตทั้งหมดเป็นไปได้ก็จากการเกิดในธรรมชาติวัตถุนี้ และข้าคือพระบิดาผู้ให้เมล็ดพันธุ์

คำอธิบาย

โศลกนี้อธิบายอย่างชัดเจนว่าองค์กฺฤษฺณบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงเป็นพระบิดาองค์แรกของมวลชีวิต สิ่งมีชีวิตเป็นการผสมผสานกันระหว่างธรรมชาติวัตถุและธรรมชาติทิพย์ สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มิใช่เห็นกันเพียงแต่ในโลกนี้เท่านั้นแต่จะเห็นในทุกๆโลกแม้ในโลกสูงสุดที่พระพรหมทรงประทับอยู่ ทุกแห่งหนจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ภายในดินก็มีสิ่งมีชีวิต แม้แต่ภายในน้ำ และภายในไฟก็มีสิ่งมีชีวิต การปรากฏทั้งหลายเหล่านี้เนื่องมาจากกรรมวิธีของมารดาคือธรรมชาติวัตถุ และการให้เมล็ดพันธุ์ของบิดาคือองค์กฺฤษฺณ คำอธิบายคือ โลกวัตถุถูกทำให้ตั้งครรภ์และออกมาเป็นสิ่งมีชีวิตตามแต่กรรมเก่าในอดีตจึงมีรูปร่างลักษณะต่างกันในเวลาสร้าง

โศลก 5

sattvaṁ rajas tama iti
guṇāḥ prakṛti-sambhavāḥ
nibadhnanti mahā-bāho
dehe dehinam avyayam
สตฺตฺวํ รชสฺ ตม อิติ
คุณาห์ ปฺรกฺฤติ-สมฺภวาห์
นิพธฺนนฺติ มหา-พาโห
เทเห เทหินมฺ อวฺยยมฺ
สตฺตฺวมฺ — ระดับความดี, รชห์ — ระดับตัณหา, ตมห์ — ระดับอวิชชา, อิติ — ดังนั้น, คุณาห์ — คุณลักษณะ, ปฺรกฺฤติ — ธรรมชาติวัตถุ, สมฺภวาห์ — ผลิตจาก, นิพธฺนนฺติ — อยู่ภายใต้พันธสภาวะ, มหา-พาโห — นักรบผู้ยอดเยี่ยม, เทเห — ในร่างนี้, เทหินมฺ — สิ่งมี ชีวิต, อวฺยยมฺ — อมตะ

คำแปล

ธรรมชาติวัตถุประกอบด้วยสามระดับ คือ ความดี ตัณหา และอวิชชา เมื่อสิ่งมีชีวิตอมตะมาสัมผัสกับธรรมชาติ โอ้ อรฺชุน นักรบผู้ยอดเยี่ยม เขามาอยู่ภายใต้สภาวะของสามระดับนี้

คำอธิบาย

เนื่องจากสิ่งมีชีวิตเป็นทิพย์จึงไม่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติวัตถุนี้ แต่เพราะว่ามาอยู่ภายใต้สภาวะของโลกวัตถุสิ่งมีชีวิตจึงปฏิบัติตนภายใต้มนต์สะกดของสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ เพราะมีร่างกายที่ต่างกันตามทิศทางของธรรมชาติที่ต่างกันจึงถูกกระตุ้นให้ปฏิบัติไปตามธรรมชาตินั้นๆ นี่คือสาเหตุแห่งความสุขและความทุกข์ที่หลากหลาย

โศลก 6

tatra sattvaṁ nirmalatvāt
prakāśakam anāmayam
sukha-saṅgena badhnāti
jñāna-saṅgena cānagha
ตตฺร สตฺตฺวํ นิรฺมลตฺวาตฺ
ปฺรกาศกมฺ อนามยมฺ
สุข-สงฺเคน พธฺนาติ
ชฺญาน-สงฺเคน จานฆ
ตตฺร — ที่นั่น, สตฺตฺวมฺ — ระดับความดี, นิรฺมลตฺวาตฺ — บริสุทธิ์ที่สุดในโลกวัตถุ, ปฺรกาศกมฺ — ส่องแสงสว่าง, อนามยมฺ — ปราศจากผลบาป, สุข — ด้วยความสุข, สงฺเคน — จากการคบหาสมาคม, พธฺนาติ — พันธสภาวะ, ชฺญาน — ด้วยความรู้, สงฺเคน — จากการคบหาสมาคม, — เช่นกัน, อนฆ — โอ้ ผู้ไร้บาป

คำแปล

โอ้ ผู้ไร้บาป ระดับความดีบริสุทธิ์กว่าระดับอื่น เพราะจะส่องแสงสว่างและทำให้เป็นอิสระจากผลบาปทั้งปวง พวกที่สถิตในระดับนั้นอยู่ในพันธสภาวะด้วยความรู้สึกว่ามีความสุขและมีความรู้

คำอธิบาย

สิ่งมีชีวิตอยู่ภายใต้สภาวะของธรรมชาติวัตถุมีหลายลักษณะ พวกหนึ่งมีความสุข อีกพวกหนึ่งตื่นตัวมาก และอีกพวกหนึ่งหมดหนทางที่จะช่วยเหลือได้ ปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาทั้งหมดนี้เป็นต้นเหตุของพันธสภาวะในธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต พวกเขามาอยู่ภายใต้สภาวะที่แตกต่างกันได้อย่างไรได้อธิบายไว้ในส่วนนี้ของ ภควัท-คีตา เรามาพิจารณาถึงระดับความดีก่อน ผลจากการพัฒนาระดับความดีในโลกวัตถุคือ จะมีความฉลาดกว่าพวกที่อยู่ในพันธสภาวะด้วยกัน พวกนี้ไม่ได้รับความทุกข์ทางวัตถุมากมายนัก และจะมีความรู้สึกว่า เจริญก้าวหน้าในความรู้ทางวัตถุ ตัวแทนของระดับนี้คือ พฺราหฺมณ ซึ่งควรสถิตในระดับความดี ความรู้สึกว่ามีความสุขเช่นนี้เนื่องจากเข้าใจว่าในระดับความดีทำให้ตนเป็นอิสระจากผลบาป อันที่จริงในวรรณกรรมพระเวทได้กล่าวไว้ว่า ระดับความดีหมายถึงมีความรู้มากกว่าและมีความรู้สึกว่ามีความสุขมากกว่า

ความยากตรงนี้คือ เมื่อสิ่งมีชีวิตอยู่ในระดับความดีเขาอยู่ภายใต้สภาวะที่มีความรู้สึกว่าตนเองเจริญก้าวหน้าในความรู้และดีกว่าคนอื่น เช่นนี้จะทำให้ตกอยู่ในพันธสภาวะ ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือ นักวิทยาศาสตร์และนักปราชญ์ แต่ละท่านภูมิใจมากกับความรู้ที่ตนมี โดยทั่วไปพวกนี้จะพัฒนามาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่าและรู้สึกว่ามีความสุขทางวัตถุ ความรู้สึกว่ามีความสุขมากในสภาวะเช่นนี้ทำให้ถูกพันธนาการโดยระดับความดีของธรรมชาติวัตถุ และเมื่อเป็นเช่นนี้จะหลงติดทำงานอยู่ในระดับความดี ตราบใดที่ยังหลงติดอยู่กับการทำงานเช่นนี้เขาจะต้องได้รับร่างกายในระดับต่างๆของธรรมชาติวัตถุ ดังนั้นจึงไม่มีโอกาสจะหลุดพ้นหรือย้ายไปยังโลกทิพย์ เขาอาจกลับมาเป็นนักปราชญ์ นักวิทยาศาสตร์ หรือนักกวีซ้ำซาก และถูกพันธนาการในสภาวะที่ได้รับโทษแห่งการเกิดและการตายเช่นเดียวกันนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่เนื่องจากความหลงในพลังงานวัตถุทำให้เขาคิดว่าชีวิตเช่นนี้สุขสบายดี

โศลก 7

rajo rāgātmakaṁ viddhi
tṛṣṇā-saṅga-samudbhavam
tan nibadhnāti kaunteya
karma-saṅgena dehinam
รโช ราคาตฺมกํ วิทฺธิ
ตฺฤษฺณา-สงฺค-สมุทฺภวมฺ
ตนฺ นิพธฺนาติ เกานฺเตย
กรฺม-สงฺเคน เทหินมฺ
รชห์ — ระดับตัณหา, ราค-อาตฺมกมฺ — เกิดจากความต้องการหรือราคะ, วิทฺธิ — รู้, ตฺฤษฺณา — ด้วยความทะเยอทะยาน, สงฺค — คบหาสมาคม, สมุทฺภวมฺ — ผลิตจาก, ตตฺ — นั้น, นิพธฺนาติ — พันธนาการ, เกานฺเตย — โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี, กรฺม-สงฺเคน — จากการคบหาสมาคมกับกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ, เทหินมฺ — ร่างกาย

คำแปล

ระดับตัณหาเกิดจากความต้องการและความใคร่ที่ไม่รู้จักพอ โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี ด้วยเหตุนี้สิ่งมีชีวิตในร่างจึงถูกพันธนาการอยู่กับการกระทำเพื่อผลทางวัตถุ

คำอธิบาย

ระดับตัณหามีลักษณะแห่งความเสน่หาระหว่างหญิงและชาย ผู้หญิงมีความเสน่หาสำหรับผู้ชาย และผู้ชายมีความเสน่หาสำหรับผู้หญิง เช่นนี้เรียกว่าระดับตัณหา เมื่อระดับตัณหาเพิ่มพูนขึ้นจะพัฒนาความทะเยอทะยานเพื่อความสุขทางวัตถุ และต้องการความสุขในการสนองประสาทสัมผัส บุคคลในระดับตัณหาต้องการเกียรติยศชื่อเสียงในสังคมหรือในชาติ และต้องการมีครอบครัวที่มีความสุขพร้อมกับลูกหลาน ภรรยา และบ้านที่ดี เหล่านี้คือผลผลิตของระดับตัณหา ตราบใดที่ยังทะเยอทะยานใฝ่ฝันสิ่งเหล่านี้เขาต้องทำงานหนักมาก ดังนั้นได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนตรงนี้ว่า เมื่อมาสัมผัสกับผลแห่งกิจกรรมของตนเองและถูกพันธนาการด้วยกิจกรรมเหล่านี้เพื่อให้ภรรยา ลูกหลาน และสังคมได้รับความพึงพอใจและยังต้องรักษาเกียรติยศชื่อเสียงเอาไว้เขาจึงต้องทำงาน ดังนั้นโลกวัตถุทั้งหมดส่วนใหญ่อยู่ในระดับตัณหา ความศิวิไลสมัยปัจจุบันพิจารณาว่าเจริญก้าวหน้าในมาตรฐานของระดับตัณหา ในอดีตสภาวะความเจริญก้าวหน้าพิจารณาว่าอยู่ในระดับความดี แม้พวกที่อยู่ในระดับความดียังหลุดพ้นไม่ได้แล้วพวกที่ถูกพันธนาการอยู่ในระดับตัณหาจะหลุดพ้นได้อย่างไร

โศลก 8

tamas tv ajñāna-jaṁ viddhi
mohanaṁ sarva-dehinām
pramādālasya-nidrābhis
tan nibadhnāti bhārata
ตมสฺ ตฺวฺ อชฺญาน-ชํ วิทฺธิ
โมหนํ สรฺว-เทหินามฺ
ปฺรมาทาลสฺย-นิทฺราภิสฺ
ตนฺ นิพธฺนาติ ภารต
ตมห์ — ระดับอวิชชา, ตุ — แต่, อชฺญาน-ชมฺ — ผลิตจากอวิชชา, วิทฺธิ — รู้, โมหนมฺ — ความหลง, สรฺว-เทหินามฺ — ของสิ่งมีชีวิตในร่างทั้งหมด, ปฺรมาท — ด้วยความบ้าคลั่ง, อาลสฺย — เกียจคร้าน, นิทฺราภิห์ — และนอน, ตตฺ — นั้น, นิพธฺนาติ — พันธนาการ, ภารต — โอ้ โอรสแห่งบาระทะ

คำแปล

โอ้ โอรสแห่ง ภรต จงรู้ว่าระดับแห่งความมืดเกิดจากอวิชชาเป็นความหลงของมวลชีวิตที่อยู่ในร่าง ผลของระดับนี้คือ ความบ้าคลั่ง ความเกียจคร้าน และการนอนซึ่งผูกมัดพันธวิญญาณ

คำอธิบาย

โศลกนี้ได้ใช้คำว่า ตุ โดยเฉพาะและสำคัญมาก เช่นนี้หมายความว่า ระดับอวิชชามีคุณสมบัติของวิญญาณในร่างที่แปลก ระดับอวิชชาตรงกันข้ามกับระดับความดี จากการพัฒนาความรู้ทำให้ผู้อยู่ในระดับความดีสามารถเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร แต่ในระดับอวิชชาตรงกันข้ามเพราะทุกคนที่อยู่ภายใต้มนต์ขลังของระดับอวิชชากลายเป็นบ้า คนบ้าไม่สามารถเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร แทนที่จะเจริญก้าวหน้ากลับทำตัวให้ตกต่ำลง คำนิยามของระดับอวิชชาได้กล่าวไว้ในวรรณกรรมพระเวทว่า วสฺตุ-ยาถาตฺมฺย-ชฺญานาวรกํ วิปรฺยย-ชฺญาน-ชนกํ ตมห์ ภายใต้มนต์สะกดแห่งอวิชชาทำให้ไม่สามารถเข้าใจสิ่งใดตามความเป็นจริง ตัวอย่างเช่น ทุกคนเห็นว่าคุณปู่คุณตาได้ตายไปแล้ว ดังนั้นตัวเราเองจะต้องตายเช่นกัน มนุษย์ก็ต้องตาย ลูกหลานที่เราให้กำเนิดก็จะต้องตายเช่นเดียวกัน ดังนั้นความตายเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ถึงกระนั้นผู้คนก็ยังสะสมเงินทองอย่างบ้าคลั่งและทำงานหนักมากทั้งวันทั้งคืนโดยไม่สนใจกับดวงวิญญาณอมตะ นี่คือความบ้าคลั่ง และในความบ้าคลั่งนั้นเขาจะไม่เต็มใจที่จะเจริญก้าวหน้าในความเข้าใจวิถีทิพย์ บุคคลเหล่านี้เกียจคร้านมากเมื่อได้รับเชิญให้ไปคบหาสมาคมเพื่อความเข้าใจวิถีทิพย์จะไม่ค่อยสนใจ พวกนี้จะไม่ตื่นตัวเหมือนพวกที่ถูกระดับตัณหาควบคุม ดังนั้นอีกอาการหนึ่งของคนที่อยู่ในระดับอวิชชาคือ นอนเกินความจำเป็น การนอนหกชั่วโมงก็ถือว่าเพียงพอแล้ว แต่บุคคลในระดับอวิชชานอนอย่างน้อยวันละสิบหรือสิบสองชั่วโมง บุคคลเช่นนี้จะดูเศร้าสลดเสมอ มึนเมาอยู่กับสิ่งเสพติดและการนอน สิ่งเหล่านี้คือลักษณะอาการของบุคคลที่อยู่ในสภาวะระดับอวิชชา

โศลก 9

sattvaṁ sukhe sañjayati
rajaḥ karmaṇi bhārata
jñānam āvṛtya tu tamaḥ
pramāde sañjayaty uta
สตฺตฺวํ สุเข สญฺชยติ
รชห์ กรฺมณิ ภารต
ชฺญานมฺ อาวฺฤตฺย ตุ ตมห์
ปฺรมาเท สญฺชยตฺยฺ อุต
สตฺตฺวมฺ — ระดับความดี, สุเข — ในความสุข, สญฺชยติ — ผูกมัด, รชห์ — ระดับตัณหา, กรฺมณิ — ในกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ, ภารต — โอ้ โอรสแห่ง ภรต, ชฺญานมฺ — ความรู้, อาวฺฤตฺย — ปกคลุม, ตุ — แต่, ตมห์ — ระดับอวิชชา, ปฺรมาเท — ในความบ้าคลั่ง, สญฺชยติ — ผูกมัด, อุต — ได้กล่าวไว้

คำแปล

โอ้ โอรสแห่ง ภรต ระดับความดีผูกมัดเขาให้อยู่ในความสุข ระดับตัณหาผูกมัดเขาให้อยู่ในกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ และระดับอวิชชาปกคลุมความรู้ของเขา และผูกมัดเขาให้บ้าคลั่ง

คำอธิบาย

บุคคลที่อยู่ในระดับความดีจะพึงพอใจกับงานหรือเพิ่มพูนปัญญาให้ตนเองดั่งเช่น นักปราชญ์ นักวิทยาศาสตร์ หรือนักวิชาการซึ่งปฏิบัติในสาขาวิชาโดยเฉพาะตนและอาจพึงพอใจอยู่เช่นนั้น บุคคลในระดับตัณหาอาจปฏิบัติในกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุครอบครองเป็นเจ้าของให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้และจะใช้จ่ายไปในการทำบุญ บางครั้งพยายามเปิดโรงพยาบาลหรือให้ทานกับสถาบันต่างๆเป็นต้น เหล่านี้คือลักษณะของผู้ที่อยู่ในระดับตัณหา ระดับอวิชชาปกคลุมความรู้ ทำอะไรก็ไม่ดีทั้งกับตนเองและผู้อื่น

โศลก 10

rajas tamaś cābhibhūya
sattvaṁ bhavati bhārata
rajaḥ sattvaṁ tamaś caiva
tamaḥ sattvaṁ rajas tathā
รชสฺ ตมศฺ จาภิภูย
สตฺตฺวํ ภวติ ภารต
รชห์ สตฺตฺวํ ตมศฺ ไจว
ตมห์ สตฺตฺวํ รชสฺ ตถา
รชห์ — ระดับตัณหา, ตมห์ — ระดับอวิชชา, — เช่นกัน, อภิภูย — ข้ามพ้น, สตฺตฺวมฺ — ระดับความดี, ภวติ — โดดเด่น, ภารต — โอ้ โอรสแห่ง ภรต, รชห์ — ระดับตัณหา, สตฺตฺวมฺ — ระดับความดี, ตมห์ — ระดับอวิชชา, — เช่นกัน, เอว — เช่นนั้น, ตมห์ — ระดับอวิชชา, สตฺตฺวมฺ — ระดับความดี, รชห์ — ระดับตัณหา, ตถา — ดังนั้น

คำแปล

บางครั้งระดับความดีโดดเด่น ชนะระดับตัณหาและอวิชชา โอ้ โอรสแห่ง ภรต บางครั้งระดับตัณหาชนะความดีและอวิชชา และบางครั้งระดับอวิชชาชนะความดีและตัณหา เช่นนี้จะมีการแข่งขันเพื่อความยิ่งใหญ่อยู่เสมอ

คำอธิบาย

เมื่อระดับตัณหาโดดเด่น ระดับความดีและอวิชชาก็พ่ายแพ้ เมื่อระดับความดีโดดเด่น ตัณหาและอวิชชาก็พ่ายแพ้ และเมื่อระดับอวิชชาโดดเด่น ตัณหาและความดีก็พ่ายแพ้ การแข่งขันเช่นนี้จะดำเนินต่อไปตลอดเวลา ฉะนั้นผู้ที่ตั้งใจจะเจริญก้าวหน้าในกฺฤษฺณจิตสำนึกจริงๆต้องข้ามให้พ้นเหนือทั้งสามระดับนี้ ความโดดเด่นของระดับหนึ่งระดับใดแห่งธรรมชาติจะปรากฏในการมาสัมพันธ์กับกิจกรรมและในการรับประทานอาหารของบุคคลนั้น ทั้งหมดนี้จะอธิบายในบทต่อๆไป หากปรารถนาเราสามารถพัฒนาด้วยการปฏิบัติในระดับความดีและเอาชนะระดับอวิชชาและตัณหา ถึงแม้ว่ามีสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุนี้หากมีความมั่นใจเราอาจได้รับพรจากระดับความดี และเมื่อข้ามพ้นเหนือระดับความดีเราจะสถิตในความดีที่บริสุทธิ์ เรียกว่า ระดับ วสุเทว ซึ่งเป็นระดับที่เราสามารถเข้าใจศาสตร์แห่งองค์ภควานฺ จากกิจกรรมต่างๆที่ปรากฏทำให้เข้าใจได้ว่าบุคคลนี้สถิตในระดับใดของธรรมชาติ

โศลก 11

sarva-dvāreṣu dehe ’smin
prakāśa upajāyate
jñānaṁ yadā tadā vidyād
vivṛddhaṁ sattvam ity uta
สรฺว-ทฺวาเรษุ เทเห ’สฺมินฺ
ปฺรกาศ อุปชายเต
ชฺญานํ ยทา ตทา วิทฺยาทฺ
วิวฺฤทฺธํ สตฺตฺวมฺ อิตฺยฺ อุต
สรฺว-ทฺวาเรษุ — ในทวารทั้งหมด, เทเห อสฺมินฺ — ในร่างกายนี้, ปฺรกาศห์ — คุณสมบัติแห่งแสงสว่าง, อุปชายเต — พัฒนา, ชฺญานมฺ — ความรู้, ยทา — เมื่อ, ตทา — ในขณะนั้น, วิทฺยาตฺ — รู้, วิวฺฤทฺธมฺ — เพิ่มพูน, สตฺตฺวมฺ — ระดับความดี, อิติ อุต — ได้กล่าวไว้ดังนี้

คำแปล

ปรากฏการณ์ของระดับความดีพบเห็นได้เมื่อทวารของร่างกายทั้งหมดสว่างไสวไปด้วยความรู้

คำอธิบาย

มีเก้าประตูในร่างกาย คือ สองตา สองหู สองรูจมูก หนึ่งปาก หนึ่งอวัยวะสืบพันธุ์ และหนึ่งทวารหนัก เมื่อทุกประตูสว่างไสวไปด้วยลักษณะอาการแห่งความดี ควรเข้าใจว่าบุคคลนี้ได้พัฒนาระดับความดีทำให้เขาสามารถเห็นสิ่งต่างๆอย่างถูกต้อง ฟังสิ่งต่างๆอย่างถูกต้อง และลิ้มรสต่างๆอย่างถูกต้อง เขามีความสะอาดทั้งภายในและภายนอก ทุกประตูมีการพัฒนาลักษณะอาการแห่งความสุข นั่นคือสภาวะแห่งความดี

โศลก 12

lobhaḥ pravṛttir ārambhaḥ
karmaṇām aśamaḥ spṛhā
rajasy etāni jāyante
vivṛddhe bharatarṣabha
โลภห์ ปฺรวฺฤตฺติรฺ อารมฺภห์
กรฺมณามฺ อศมห์ สฺปฺฤหา
รชสฺยฺ เอตานิ ชายนฺเต
วิวฺฤทฺเธ ภรตรฺษภ
โลภห์ — ความโลภ, ปฺรวฺฤตฺติห์ — กิจกรรม, อารมฺภห์ — ความพยายาม, กรฺมณามฺ — ในกิจกรรม, อศมห์ — ควบคุมไม่ได้, สฺปฺฤหา — ความต้องการ, รชสิ — ของระดับตัณหา, เอตานิ — ทั้งหมดนี้, ชายนฺเต — พัฒนา, วิวฺฤทฺเธ — เมื่อมีมากเกินไป, ภรต-ฤษภ — โอ้ ผู้นำแห่งผู้สืบราชวงศ์ ภารต

คำแปล

โอ้ ผู้นำแห่ง ภารต เมื่อระดับตัณหาเพิ่มพูน ลักษณะอาการที่จะพัฒนาขึ้นมากคือ ความยึดติด กิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ ความพยายามอย่างแรงกล้า ความปรารถนา และความทะเยอทะยานที่ควบคุมไม่ได้

คำอธิบาย

ผู้ที่อยู่ในระดับตัณหาไม่เคยมีความพึงพอใจกับสภาวะที่ตนเองได้รับ มักจะทะเยอทะยานเพื่อเลื่อนสถานภาพ หากต้องการสร้างบ้านพักเขาพยายามอย่างดีที่สุดที่จะให้เป็นราชวัง ประหนึ่งว่าตนเองจะสามารถพักอยู่ในบ้านนั้นชั่วกัลปวสาน และพัฒนาความทะเยอทะยานอย่างยิ่งใหญ่เพื่อสนองประสาทสัมผัส การสนองประสาทสัมผัสจะดำเนินไปอย่างไม่สิ้นสุด เขาปรารถนาที่จะอยู่กับบ้านและครอบครัวเสมอ และสนองประสาทสัมผัสไปเรื่อยๆโดยไม่มีวันสิ้นสุด อาการทั้งหมดเหล่านี้ควรเข้าใจว่าเป็นลักษณะของระดับตัณหา

โศลก 13

aprakāśo ’pravṛttiś ca
pramādo moha eva ca
tamasy etāni jāyante
vivṛddhe kuru-nandana
อปฺรกาโศ ’ปฺรวฺฤตฺติศฺ จ
ปฺรมาโท โมห เอว จ
ตมสฺยฺ เอตานิ ชายนฺเต
วิวฺฤทฺเธ กุรุ-นนฺทน
อปฺรกาศห์ — ความมืด, อปฺรวฺฤตฺติห์ — ไม่มีกิจกรรม, — และ, ปฺรมาทห์ — บ้าคลั่ง, โมหห์ — ความหลง, เอว — แน่นอน, — เช่นกัน, ตมสิ — ระดับอวิชชา, เอตานิ — เหล่านี้, ชายนฺเต — ปรากฏ, วิวฺฤทฺเธ — เมื่อพัฒนา, กุรุ-นนฺทน — โอ้ โอรสแห่งคุรุ

คำแปล

เมื่อระดับอวิชชาเพิ่มพูน โอ้ โอรสแห่ง กุรุ ความมืด ความเฉื่อยชา ความบ้าคลั่ง และความหลงปรากฏ

คำอธิบาย

เมื่อไม่มีแสงสว่าง ขาดความรู้ ผู้อยู่ในระดับอวิชชาจะไม่ทำงานตามหลักธรรม และชอบทำอะไรตามอำเภอใจโดยไม่มีจุดมุ่งหมาย แม้มีความสามารถในการทำงานแต่จะไม่พยายาม การกระทำเช่นนี้เรียกว่าความหลง แม้จิตสำนึกยังดำเนินต่อไปแต่ชีวิตไม่มีกิจกรรม สิ่งเหล่านี้คือลักษณะอาการของผู้ที่อยู่ในระดับอวิชชา

โศลก 14

yadā sattve pravṛddhe tu
pralayaṁ yāti deha-bhṛt
tadottama-vidāṁ lokān
amalān pratipadyate
ยทา สตฺเตฺว ปฺรวฺฤทฺเธ ตุ
ปฺรลยํ ยาติ เทห-ภฺฤตฺ
ตโทตฺตม-วิทำ โลกานฺ
อมลานฺ ปฺรติปทฺยเต
ยทา — เมื่อ, สตฺเตฺว — ระดับความดี, ปฺรวฺฤทฺเธ — พัฒนา, ตุ — แต่, ปฺรลยมฺ — สิ้นสุด, ยาติ — ไป, เทห-ภฺฤตฺ — ร่างกาย, ตทา — ในขณะนั้น, อุตฺตม-วิทามฺ — เหล่านักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่, โลกานฺ — โลก, อมลานฺ — บริสุทธิ์, ปฺรติปทฺยเต — บรรลุ

คำแปล

เมื่อตายในระดับความดี เขาบรรลุถึงโลกบริสุทธิ์แห่งนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สูงส่งกว่า

คำอธิบาย

ผู้ที่อยู่ในระดับความดีจะบรรลุถึงระบบดาวเคราะห์ที่สูงกว่าเช่น พฺรหฺมโลก หรือ ชนโลก ที่นั้นเขาจะมีความรื่นเริงกับความสุขแบบเทพ คำว่า อมลานฺ มีความสำคัญหมายความว่า “เป็นอิสระจากระดับตัณหาและอวิชชา” ในโลกวัตถุจะมีความไม่บริสุทธิ์ แต่ระดับแห่งความดีเป็นรูปแบบที่บริสุทธิ์ที่สุดในความเป็นอยู่ทางโลกวัตถุ มีดาวเคราะห์ต่างๆสำหรับสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกัน พวกที่ตายในระดับความดีจะพัฒนาไปยังโลกที่นักปราชญ์และที่ที่สาวกผู้ยิ่งใหญ่อาศัยอยู่

โศลก 15

rajasi pralayaṁ gatvā
karma-saṅgiṣu jāyate
tathā pralīnas tamasi
mūḍha-yoniṣu jāyate
รชสิ ปฺรลยํ คตฺวา
กรฺม-สงฺคิษุ ชายเต
ตถา ปฺรลีนสฺ ตมสิ
มูฒ-โยนิษุ ชายเต
รชสิ — ในตัณหา, ปฺรลยมฺ — สิ้นสุด, คตฺวา — บรรลุ, กรฺม-สงฺคิษุ — ในการคบหาสมาคมกับพวกที่ปฏิบัติกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ, ชายเต — เกิด, ตถา — ในทำนองเดียวกัน, ปฺรลีนห์ — สิ้นสุด, ตมสิ — ในอวิชชา, มูฒ-โยนิษุ — ในเผ่าพันธุ์สัตว์, ชายเต — เกิด

คำแปล

เมื่อตายในระดับตัณหาเขาเกิดในหมู่ชนที่ปฏิบัติกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ และเมื่อตายในระดับอวิชชาเขาจะเกิดในอาณาจักรสัตว์

คำอธิบาย

บางคนมีความรู้สึกว่าเมื่อดวงวิญญาณมาถึงระดับชีวิตมนุษย์แล้วจะไม่ตกลงต่ำนั้นไม่ถูกต้อง ตามโศลกนี้แล้วหากผู้ใดพัฒนาระดับอวิชชาหลังจากตายไปจะตกต่ำลงไปใช้ชีวิตในร่างสัตว์เดรัจฉาน ที่นั้นเขาต้องพัฒนาตนเองด้วยวิธีวิวัฒนาการเพื่อให้ได้ร่างชีวิตมนุษย์อีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นพวกที่จริงจังกับชีวิตมนุษย์อย่างแท้จริงควรอยู่ในระดับความดี จากการคบหากัลยาณมิตรจะทำให้ตนเองข้ามพ้นระดับต่างๆเหล่านี้และมาสถิตในกฺฤษฺณจิตสำนึก นี่คือจุดมุ่งหมายของชีวิตมนุษย์ มิฉะนั้นจะไม่ได้การรับประกันว่ามนุษย์จะได้รับร่างมนุษย์อีกครั้งหนึ่งหรือไม่

โศลก 16

karmaṇaḥ sukṛtasyāhuḥ
sāttvikaṁ nirmalaṁ phalam
rajasas tu phalaṁ duḥkham
ajñānaṁ tamasaḥ phalam
กรฺมณห์ สุกฺฤตสฺยาหุห์
สาตฺตฺวิกํ นิรฺมลํ ผลมฺ
รชสสฺ ตุ ผลํ ทุห์ขมฺ
อชฺญานํ ตมสห์ ผลมฺ
กรฺมณห์ — ของงาน, สุ-กฺฤตสฺย — บุญ, อาหุห์ — กล่าวว่า, สาตฺตฺวิกมฺ — ในระดับความดี, นิรฺมลมฺ — บริสุทธิ์, ผลมฺ — ผล, รชสห์ — ในระดับตัณหา, ตุ — แต่, ผลมฺ — ผล, ทุห์ขมฺ — ความทุกข์, อชฺญานมฺ — ไร้สาระ, ตมสห์ — ของระดับอวิชชา, ผลมฺ — ผล

คำแปล

ผลแห่งการทำบุญที่บริสุทธิ์กล่าวว่าอยู่ในระดับความดี แต่กิจกรรมทำไปในระดับตัณหา ผลคือความทุกข์ และกิจกรรมทำไปในระดับอวิชชา ผลคือความโง่งมงาย

คำอธิบาย

ผลของการทำบุญอยู่ในระดับความดีบริสุทธิ์ ดังนั้นนักปราชญ์ผู้เป็นอิสระจากความหลงทั้งปวงจะสถิตในความสุข แต่กิจกรรมในระดับตัณหาให้แต่ความทุกข์ กิจกรรมใดๆที่ทำไปเพื่อความสุขทางวัตถุต้องได้รับความพ่ายแพ้อย่างแน่นอน ตัวอย่างเช่น หากต้องการมีตึกระฟ้ามนุษย์ต้องมีความทุกข์มากมายก่อนที่จะได้ตึกระฟ้าอันสูงใหญ่ขึ้นมา นักการเงินต้องมีปัญหามากในการหาเงินทุนจำนวนมหาศาล และพวกที่ใช้แรงงานก่อสร้างต้องทำงานอย่างหนักด้วยความทุกข์ยากลำบากกาย ดังนั้น ภควัท-คีตา กล่าวว่า กิจกรรมใดทำลงไปภายใต้มนต์สะกดของระดับตัณหาแน่นอนว่าต้องมีความทุกข์มหาศาล เราอาจคิดว่ามีความสุขทางใจอยู่บ้าง เช่น “ฉันมีบ้าน หรือว่า ฉันมีเงิน” แต่นี่ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง

สำหรับระดับอวิชชานั้นผู้กระทำไม่มีความรู้ ดังนั้นกิจกรรมทั้งหมดมีผลเป็นความทุกข์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพราะการจะมีชีวิตเป็นสัตว์เดรัจฉานชีวิตสัตว์นั้นมีความทุกข์อยู่เสมอ ถึงแม้ว่าอยู่ภายใต้มนต์สะกดของพลังแห่งความหลง หรือมายา สัตว์เดรัจฉานจะไม่เข้าใจ การฆ่าสัตว์ผู้น่าสงสารก็เนื่องมาจากระดับอวิชชาเช่นกัน คนฆ่าสัตว์ไม่รู้ว่าในอนาคตสัตว์ตัวนั้นจะมีร่างกายเหมาะสมที่จะมาฆ่าตนเองได้ นั่นคือกฎแห่งธรรมชาติ ในสังคมมนุษย์หากผู้ใดฆ่าคนตามกฎของรัฐจะถูกลงโทษขั้นประหารชีวิตเช่นกัน เนื่องด้วยอวิชชาผู้คนจึงไม่สำเหนียกว่ามีองค์ภควานฺควบคุมรัฐอย่างสมบูรณ์ ทุกๆชีวิตเป็นบุตรขององค์ภควานฺ พระองค์ทรงทนไม่ได้ที่แม้แต่มดตัวหนึ่งถูกฆ่า ผู้ฆ่าต้องชดใช้กรรม ดังนั้นการตามใจตัวเองในการฆ่าสัตว์เพื่อให้ได้รับรสเป็นอวิชชาที่หยาบที่สุด มนุษย์ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องฆ่าสัตว์เพราะว่าองค์ภควานฺทรงจัดส่งสิ่งดีๆให้มากมาย หากยังตามใจตัวเองและรับประทานเนื้อสัตว์อีกเท่ากับกระทำไปในอวิชชา และจะทำให้อนาคตของตนเองมืดมน ในบรรดาการฆ่าสัตว์ทั้งหมดการฆ่าวัวนั้นเป็นสิ่งที่โหดร้ายที่สุด เพราะวัวให้ความสุขแก่มนุษย์มากมายด้วยการให้นม การฆ่าวัวเป็นการกระทำในอวิชชาที่หยาบที่สุด ในวรรณกรรมพระเวท (ฤคฺ เวท 9.46.4) คำว่า โคภิห์ ปฺรีณิต-มตฺสรมฺ แสดงว่าผู้ใดที่พึงพอใจกับการดื่มนมเป็นอย่างมากแล้วยังปรารถนาที่จะฆ่าวัวอีกผู้นั้นอยู่ในอวิชชาที่หยาบที่สุด มีบทมนต์ในพระเวทกล่าวว่า

นโม พฺรหฺมณฺย-เทวาย
โค-พฺราหฺมณ-หิตาย จ
ชคทฺ-ธิตาย กฺฤษฺณาย
โควินฺทาย นโม นมห์
“โอ้ องค์ภควานฺ พระองค์ทรงเป็นผู้ปรารถนาดีต่อโคและ พฺราหฺมณ (พราหมณ์) ทรงเป็นผู้ปรารถนาดีต่อสังคมมนุษย์และโลกทั้งหมด” (วิษฺณุ ปุราณ 1.19.65) คำอธิบายก็คือ ได้กล่าวไว้เป็นพิเศษในบทมนต์นี้เพื่อเป็นการปกป้องโคและพราหมณ์ พฺราหฺมณ เป็นสัญลักษณ์แห่งการศึกษาวิถีทิพย์ และโคเป็นสัญลักษณ์แห่งอาหารที่มีคุณค่ามากที่สุด สองชีวิตนี้คือทั้งพราหมณ์และโคต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่างดีที่สุด นั่นคือความเจริญก้าวหน้าอย่างแท้จริงแห่งความศิวิไล สังคมมนุษย์ปัจจุบันละเลยความรู้ทิพย์และสนับสนุนการฆ่าวัว เข้าใจได้ว่าสังคมมนุษย์พัฒนาไปในทิศทางที่ผิดและกำลังเปิดทางเพื่อทำลายตัวเอง ความศิวิไลที่ชี้นำประชาชนให้กลายมาเป็นสัตว์เดรัจฉานในชาติหน้าแน่นอนว่าไม่ใช่เป็นความศิวิไลของมนุษย์ และแน่นอนว่าความศิวิไลของมนุษย์ปัจจุบันถูกนำโดยระดับตัณหาและอวิชชาอย่างหยาบซึ่งเป็นยุคที่อันตรายมาก ทุกประเทศควรสนใจและส่งเสริมการเผยแพร่กฺฤษฺณจิตสำนึกซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เพื่อช่วยมนุษยชาติจากภัยอันตรายอันใหญ่หลวงนี้

โศลก 17

sattvāt sañjāyate jñānaṁ
rajaso lobha eva ca
pramāda-mohau tamaso
bhavato ’jñānam eva ca
สตฺตฺวาตฺ สญฺชายเต ชฺญานํ
รชโส โลภ เอว จ
ปฺรมาท-โมเหา ตมโส
ภวโต ’ชฺญานมฺ เอว จ
สตฺตฺวาตฺ — จากระดับความดี, สญฺชายเต — พัฒนา, ชฺญานมฺ — ความรู้, รชสห์ — จากระดับตัณหา, โลภห์ — ความโลภ, เอว — แน่นอน, — เช่นกัน, ปฺรมาท — ความบ้าคลั่ง, โมเหา — และความหลง, ตมสห์ — จากระดับอวิชชา, ภวตห์ — พัฒนา, อชฺญานมฺ — ไร้สาระ, เอว — แน่นอน, — เช่นกัน

คำแปล

จากระดับความดีพัฒนาความรู้ที่แท้จริง จากระดับตัณหาพัฒนาความโลภ และจากระดับอวิชชาพัฒนาความโง่เขลา ความบ้าคลั่ง และความหลง

คำอธิบาย

เนื่องจากความศิวิไลในปัจจุบันไม่เป็นที่พึงพอใจสำหรับสิ่งมีชีวิตเท่าใดนักเราจึงได้แนะนำกฺฤษฺณจิตสำนึก จากกฺฤษฺณจิตสำนึกสังคมจะพัฒนามาถึงระดับความดี เมื่อระดับความดีพัฒนาขึ้นผู้คนจะเห็นสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง ในระดับอวิชชาผู้คนก็เหมือนกับสัตว์เดรัจฉานไม่สามารถเห็นสิ่งต่างๆชัดเจนนัก ตัวอย่างเช่น ในระดับอวิชชาจะไม่เห็นว่าจากการฆ่าสัตว์ตัวหนึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้สัตว์ตัวเดียวกันนั้นมาฆ่าตนในชาติหน้า เนื่องจากไม่ได้รับการศึกษาในความรู้ที่แท้จริงพวกเขาจึงไม่รับผิดชอบ เพื่อหยุดความไม่รับผิดชอบนี้การศึกษาเพื่อพัฒนาระดับความดีสำหรับประชาชนโดยทั่วไปจึงจำเป็นต้องมีขึ้น เมื่อได้รับการศึกษาอย่างแท้จริงและมาอยู่ในระดับความดีจะมีความสุขุมรอบคอบและมีความรู้ในสิ่งต่างๆตามความเป็นจริงอย่างถูกต้อง จากนั้นประชาชนก็จะมีความสุขและมีความเจริญรุ่งเรือง ถึงแม้ว่าคนส่วนใหญ่ไม่มีความสุขและไม่เจริญรุ่งเรือง หากส่วนหนึ่งของประชากรพัฒนากฺฤษฺณจิตสำนึกและสถิตในระดับความดีจะก่อให้เกิดความสงบและความเจริญรุ่งเรืองทั่วโลก มิฉะนั้นหากทั่วทั้งโลกอุทิศตนให้กับระดับตัณหาและอวิชชาก็จะไม่มีความสงบหรือความเจริญรุ่งเรือง ในระดับตัณหาผู้คนมีความโลภและทะเยอทะยานเพื่อความสุขทางประสาทสัมผัสโดยไม่รู้จักพอ เราจะเห็นว่าแม้ผู้ที่มีเงินพอเพียงและมีการตระเตรียมเพื่อสนองประสาทสัมผัสเป็นอย่างดีเขาก็ยังไม่มีความสุข หรือความสงบภายในใจ เพราะว่าสถิตในระดับตัณหา หากเราต้องการความสุขเงินนั้นช่วยไม่ได้ เราต้องพัฒนาตนเองให้มาถึงระดับความดีด้วยการปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึก เมื่อปฏิบัติอยู่ในระดับตัณหาจะไม่เพียงแต่ไม่มีความสุขทางใจเท่านั้น แต่อาชีพและการงานก็จะเป็นปัญหาอย่างมากเช่นกัน เพราะต้องวางแผนและออกอุบายมากมายเพื่อให้ได้เงินมามากเพียงพอเพื่อรักษาสถานภาพของตนในสังคม เช่นนี้เป็นความทุกข์ ในระดับอวิชชาผู้คนบ้าคลั่ง และเนื่องจากอยู่ในสภาวะที่มีความทุกข์จึงต้องไปพึ่งยาเสพติด ดังนั้นจึงจมปลักลงไปในอวิชชามากยิ่งขึ้น อนาคตในชีวิตของคนพวกนี้มืดมนสิ้นดี

โศลก 18

ūrdhvaṁ gacchanti sattva-sthā
madhye tiṣṭhanti rājasāḥ
jaghanya-guṇa-vṛtti-sthā
adho gacchanti tāmasāḥ
อูรฺธฺวํ คจฺฉนฺติ สตฺตฺว-สฺถา
มเธฺย ติษฺฐนฺติ ราชสาห์
ชฆนฺย-คุณ-วฺฤตฺติ-สฺถา
อโธ คจฺฉนฺติ ตามสาห์
อูรฺธฺวมฺ — ขึ้นไป, คจฺฉนฺติ — ไป, สตฺตฺว-สฺถาห์ — พวกที่สถิตในระดับความดี, มเธฺย — ตรงกลาง, ติษฺฐนฺติ — อาศัย, ราชสาห์ — พวกสถิตในระดับตัณหา, ชฆนฺย — น่ารังเกียจ, คุณ — คุณสมบัติ, วฺฤตฺติ-สฺถาห์ — อาชีพของเขา, อธห์ — ตกต่ำ, คจฺฉนฺติ — ไป, ตามสาห์ — บุคคลในระดับอวิชชา

คำแปล

พวกที่สถิตในระดับความดีจะค่อยๆเจริญขึ้นไปยังหมู่ดาวเคราะห์ที่สูงกว่า พวกที่อยู่ในระดับตัณหาจะอยู่ในดาวเคราะห์โลก และพวกที่อยู่ในระดับน่ารังเกียจแห่งอวิชชาจะตกลงไปในนรก

คำอธิบาย

โศลกนี้ผลกรรมของสามระดับแห่งธรรมชาติกำหนดไว้ชัดเจนยิ่งขึ้น มีระบบดาวเคราะห์ที่สูงกว่าประกอบไปด้วยโลกสวรรค์ที่ประชากรมีการพัฒนาสูงมาก ตามระดับการพัฒนาในระดับความดีสิ่งมีชีวิตสามารถย้ายไปยังโลกต่างๆ ในระบบนี้ดาวเคราะห์ที่สูงสุดคือ สตฺยโลก หรือ พฺรหฺมโลก สถานที่ที่พระพรหมซึ่งเป็นบุคคลแรกของจักรวาลนี้ประทับอยู่ ได้เห็นแล้วว่าเราคำนวณสภาวะอันน่าอัศจรรย์ของชีวิต พฺรหฺมโลก ได้ลำบากมาก แต่สภาวะสูงสุดของชีวิตในระดับความดีสามารถนำเราไปถึงที่นั่น

ระดับตัณหาเป็นการผสมผสานอยู่ตรงกลางระหว่างระดับความดีและอวิชชา บุคคลจะไม่บริสุทธิ์เสมอไป แม้หากบริสุทธิ์ในระดับตัณหาเขาก็ยังคงอยู่ในโลกนี้เป็น กฺษตฺริย หรือเป็นเศรษฐี แต่เนื่องจากมีการผสมผสานกันจึงอาจตกลงต่ำได้ ผู้คนในโลกนี้ที่อยู่ในระดับตัณหา หรืออวิชชาไม่สามารถบังคับเครื่องจักรกลให้ไปถึงดาวเคราะห์ที่สูงกว่าได้ ในระดับตัณหามีโอกาสที่จะกลายมาเป็นคนบ้าคลั่งในชาติหน้าได้เหมือนกัน

คุณสมบัติต่ำสุดคือระดับอวิชชาอธิบายตรงนี้ว่าน่ารังเกียจ ผลของการพัฒนาอวิชชามีความเสี่ยงมากเป็นคุณสมบัติต่ำสุดในธรรมชาติวัตถุที่ต่ำกว่า ระดับมนุษย์มีอยู่แปดล้านเผ่าพันธุ์ของชีวิต เช่น นก สัตว์เดรัจฉาน สัตว์เลื้อยคลาน ต้นไม้ ฯลฯ เมื่อพัฒนาระดับอวิชชาผู้คนถูกนำให้ลงไปสู่สภาวะอันน่ารังเกียจเหล่านี้ คำว่า ตามสาห์ มีความสำคัญมาก ตามสาห์ แสดงให้เห็นว่าพวกที่อยู่ในระดับอวิชชาอย่างต่อเนื่องโดยไม่เจริญขึ้นมาสู่ระดับที่สูงกว่าอนาคตของพวกนี้นั้นมืดมนมาก

สำหรับมนุษย์ผู้อยู่ในระดับอวิชชาและตัณหามีโอกาสที่จะพัฒนามาสู่ระดับความดี ระบบที่จะพัฒนาเช่นนี้เรียกว่ากฺฤษฺณจิตสำนึก แต่ผู้ที่ไม่ฉวยประโยชน์จากโอกาสนี้แน่นอนว่าจะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าต่อเนื่องกันไป

โศลก 19

nānyaṁ guṇebhyaḥ kartāraṁ
yadā draṣṭānupaśyati
guṇebhyaś ca paraṁ vetti
mad-bhāvaṁ so ’dhigacchati
นานฺยํ คุเณภฺยห์ กรฺตารํ
ยทา ทฺรษฺฏานุปศฺยติ
คุเณภฺยศฺ จ ปรํ เวตฺติ
มทฺ-ภาวํ โส ’ธิคจฺฉติ
— ไม่, อนฺยมฺ — ผู้อื่น, คุเณภฺยห์ — กว่าคุณสมบัติต่างๆ, กรฺตารมฺ — ผู้ปฏิบัติ, ยทา — เมื่อ, ทฺรษฺฏา — ผู้เห็น, อนุปศฺยติ — เห็นอย่างถูกต้อง, คุเณภฺยห์ — ต่อระดับต่างๆแห่งธรรมชาติ, — และ, ปรมฺ — ทิพย์, เวตฺติ — รู้, มตฺ-ภาวมฺ — ธรรมชาติทิพย์ของข้า, สห์ — เขา, อธิคจฺฉติ — ส่งเสริม

คำแปล

เมื่อเห็นอย่างถูกต้องว่าในกิจกรรมทั้งหมดนี้ ไม่มีนักแสดงผู้ใดทำงานมากไปกว่าสามระดับแห่งธรรมชาติ และผู้รู้ว่าองค์ภควานฺทรงเป็นทิพย์อยู่เหนือระดับทั้งหลายเหล่านี้ เขาบรรลุถึงธรรมชาติทิพย์ของข้า

คำอธิบาย

เราสามารถข้ามพ้นกิจกรรมของระดับต่างๆแห่งธรรมชาติวัตถุทั้งหมดได้ เพียงแต่ต้องเข้าใจอย่างถูกต้องด้วยการเรียนรู้จากดวงวิญญาณที่เหมาะสม พระอาจารย์ทิพย์ที่แท้จริงคือองค์กฺฤษฺณพระองค์ทรงถ่ายทอดความรู้ทิพย์นี้แด่ อรฺชุน ในทำนองเดียวกันเราต้องเรียนรู้ศาสตร์แห่งกิจกรรมเกี่ยวกับระดับต่างๆของธรรมชาตินี้จากพวกที่อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ มิฉะนั้นชีวิตของเราจะถูกนำไปในทางที่ผิด จากคำสั่งสอนของพระอาจารย์ทิพย์ผู้เชื่อถือได้สิ่งมีชีวิตสามารถรู้ตำแหน่งทิพย์ของตนรู้ร่างกายวัตถุของตน รู้ประสาทสัมผัสของตน รู้ว่าตนเองมาอยู่ในกับดักนี้ได้อย่างไร และมาอยู่ภายใต้มนต์สะกดของระดับต่างๆแห่งธรรมชาติวัตถุได้อย่างไร เราสิ้นหวังที่มาอยู่ในอุ้งมือของระดับต่างๆเหล่านี้ แต่เมื่อสามารถเห็นสภาวะอันแท้จริงของตนเองแบบนี้เราจะบรรลุถึงระดับทิพย์และเห็นภาพชีวิตทิพย์ อันที่จริงสิ่งมีชีวิตไม่ใช่ผู้แสดงกิจกรรมต่างๆ แต่ถูกบังคับให้แสดงเพราะมาอยู่ในร่างเฉพาะนี้ซึ่งระดับแห่งธรรมชาติวัตถุเป็นผู้กำกับ นอกจากจะได้รับการช่วยเหลือจากผู้ที่เชื่อถือได้ในวิถีทิพย์มิฉะนั้นเราจะไม่สามารถเข้าใจว่าอันที่จริงตนเองควรสถิตในตำแหน่งใหน จากการมาคบหาสมาคมกับพระอาจารย์ทิพย์ผู้ที่เชื่อถือได้เขาสามารถเห็นสถานภาพอันแท้จริงของตนเอง และจากการเข้าใจเช่นนี้เขาจะตั้งมั่นอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกไม่ถูกมนต์สะกดของระดับแห่งธรรมชาติวัตถุควบคุม ได้กล่าวไว้ในบทที่เจ็ดว่า ผู้ที่ศิโรราบต่อองค์กฺฤษฺณจะได้รับการปลดเปลื้องจากกิจกรรมต่างๆแห่งธรรมชาติวัตถุ สำหรับผู้ที่สามารถเห็นสิ่งต่างๆตามความเป็นจริงแล้วนั้นอิทธิพลของธรรมชาติวัตถุจะค่อยๆหยุดลง

โศลก 20

guṇān etān atītya trīn
dehī deha-samudbhavān
janma-mṛtyu-jarā-duḥkhair
vimukto ’mṛtam aśnute
คุณานฺ เอตานฺ อตีตฺย ตฺรีนฺ
เทหี เทห-สมุทฺภวานฺ
ชนฺม-มฺฤตฺยุ-ชรา-ทุห์ไขรฺ
วิมุกฺโต ’มฺฤตมฺ อศฺนุเต
คุณานฺ — คุณสมบัติ, เอตานฺ — ทั้งหมดนี้, อตีตฺย — ข้ามพ้น, ตฺรีนฺ — สาม, เทหี — ร่างกาย, เทห — ร่างกาย, สมุทฺภวานฺ — ผลิตจาก, ชนฺม — แห่งการเกิด, มฺฤตฺยุ — การตาย, ชรา — และความชรา, ทุห์ไขห์ — ความทุกข์, วิมุกฺตห์ — เป็นอิสระจาก, อมฺฤตมฺ — น้ำทิพย์, อศฺนุเต — เขามีความสุข

คำแปล

เมื่อชีวิตที่อยู่ในร่างสามารถข้ามพ้นทั้งสามระดับที่สัมพันธ์กับร่างกายวัตถุนี้ เขาสามารถเป็นอิสระจากการเกิด การตาย ความชรา และความทุกข์ต่างๆ และสามารถรื่นเริงกับน้ำทิพย์ได้แม้ในชีวิตนี้

คำอธิบาย

เราจะอยู่ในสถานภาพทิพย์ในกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ได้อย่างไรแม้ขณะที่เราอยู่ในร่างกายนี้ โศลกนี้ได้อธิบายคำสันสฤต เทหี ซึ่งหมายถึง “ร่างกาย” จากความเจริญก้าวหน้าในความรู้ทิพย์ ถึงแม้ว่าอยู่ภายในร่างกายวัตถุนี้เราจะสามารถเป็นอิสระจากอิทธิพลของระดับต่างๆแห่งธรรมชาติ รื่นเริงกับความสุขแห่งชีวิตทิพย์และหลังจากออกไปจากร่างกายนี้ก็จะไปยังท้องฟ้าทิพย์อย่างแน่นอน ดังนั้นแม้อยู่ในร่างกายนี้เราก็สามารถรื่นเริงกับความสุขทิพย์ได้ อีกนัยหนึ่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นสัญลักษณ์แห่งความหลุดพ้นจากพันธนาการทางวัตถุ ประเด็นนี้จะอธิบายในบทที่สิบแปด เมื่อเป็นอิสระจากอิทธิพลของระดับต่างๆแห่งธรรมชาติวัตถุแล้วเราจะเข้าถึงการอุทิศตนเสียสละรับใช้

โศลก 21

arjuna uvāca
kair liṅgais trīn guṇān etān
atīto bhavati prabho
kim-ācāraḥ kathaṁ caitāṁs
trīn guṇān ativartate
อรฺชุน อุวาจ
ไกรฺ ลิงฺไคสฺ ตฺรีนฺ คุณานฺ เอตานฺ
อตีโต ภวติ ปฺรโภ
กิมฺ-อาจารห์ กถํ ไจตำสฺ
ตฺรีนฺ คุณานฺ อติวรฺตเต
อรฺชุนห์ อุวาจอรฺชุน ตรัส, ไกห์ — ซึ่ง, ลิงฺไคห์ — อาการต่างๆ, ตฺรีนฺ — สาม, คุณานฺ — คุณสมบัติ, เอตานฺ — ทั้งหมดนี้, อตีตห์ — ข้ามพ้น, ภวติ — เป็น, ปฺรโภ — โอ้ องค์ภควานฺของข้า, กิมฺ — อะไร, อาจารห์ — พฤติกรรม, กถมฺ — อย่างไร, — เช่นกัน, เอตานฺ — เหล่านี้, ตฺรีนฺ — สาม, คุณานฺ — คุณสมบัติ, อติวรฺตเต — ข้ามพ้น

คำแปล

อรฺชุน ทรงถามว่า โอ้ องค์ภควานฺที่รัก ผู้ที่ข้ามพ้นเหนือสามระดับนี้มีลักษณะอาการอย่างไร ความประพฤติของเขาเป็นเช่นไร และเขาข้ามพ้นระดับแห่งธรรมชาติวัตถุได้อย่างไร

คำอธิบาย

โศลกนี้คำถามของ อรฺชุน เหมาะสมมากเพราะปรารถนาที่จะทราบลักษณะอาการของบุคคลผู้ข้ามพ้นระดับวัตถุต่างๆ ก่อนอื่นท่านทรงถามถึงลักษณะอาการของบุคคลทิพย์เช่นนี้ เราจะเข้าใจได้อย่างไรว่าบุคคลนี้ได้ข้ามพ้นอิทธิพลของระดับต่างๆแห่งธรรมชาติวัตถุ คำถามที่สองถามว่าเขาใช้ชีวิตอยู่อย่างไรและมีกิจกรรมอะไร มีระเบียบหรือไร้ระเบียบ จากนั้น อรฺชุน ทรงถามถึงวิธีที่จะทำให้บรรลุถึงธรรมชาติทิพย์ซึ่งประเด็นนี้สำคัญมาก นอกเสียจากว่าเราจะรู้วิธีโดยตรงที่ทำให้สถิตในวิถีทิพย์ตลอดเวลาได้ มิฉะนั้นก็จะเป็นไปไม่ได้ที่จะแสดงลักษณะอาการเหล่านี้ ดังนั้นคำถามทั้งหมดที่ อรฺชุน ทรงถามมีความสำคัญมากและองค์ภควานฺจะทรงให้คำตอบ

โศลก 22-25

śrī-bhagavān uvāca
prakāśaṁ ca pravṛttiṁ ca
moham eva ca pāṇḍava
na dveṣṭi sampravṛttāni
na nivṛttāni kāṅkṣati
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
ปฺรกาศํ จ ปฺรวฺฤตฺตึ จ
โมหมฺ เอว จ ปาณฺฑว
น เทฺวษฺฏิ สมฺปฺรวฺฤตฺตานิ
น นิวฺฤตฺตานิ กางฺกฺษติ
udāsīna-vad āsīno
guṇair yo na vicālyate
guṇā vartanta ity evaṁ
yo ’vatiṣṭhati neṅgate
อุทาสีน-วทฺ อาสีโน
คุไณรฺ โย น วิจาลฺยเต
คุณา วรฺตนฺต อิตฺยฺ เอวํ
โย ’วติษฺฐติ เนงฺคเต
sama-duḥkha-sukhaḥ sva-sthaḥ
sama-loṣṭāśma-kāñcanaḥ
tulya-priyāpriyo dhīras
tulya-nindātma-saṁstutiḥ
สม-ทุห์ข-สุขห์ สฺว-สฺถห์
สม-โลษฺฏาศฺม-กาญฺจนห์
ตุลฺย-ปฺริยาปฺริโย ธีรสฺ
ตุลฺย-นินฺทาตฺม-สํสฺตุติห์
mānāpamānayos tulyas
tulyo mitrāri-pakṣayoḥ
sarvārambha-parityāgī
guṇātītaḥ sa ucyate
มานาปมานโยสฺ ตุลฺยสฺ
ตุโลฺย มิตฺราริ-ปกฺษโยห์
สรฺวารมฺภ-ปริตฺยาคี
คุณาตีตห์ ส อุจฺยเต
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัส, ปฺรกาศมฺ — สว่างไสว, — และ, ปฺรวฺฤตฺติมฺ — ยึดติด, — และ, โมหมฺ — ความหลง, เอว จ — เช่นกัน, ปาณฺฑว — โอ้ โอรส ปาณฺฑุ, น เทฺวษฺฏิ — ไม่เกลียด, สมฺปฺรวฺฤตฺตานิ — ถึงแม้พัฒนา, น นิวฺฤตฺตานิ — ไม่หยุดพัฒนา, กางฺกฺษติ — ปรารถนา, อุทาสีน-วตฺ — ประหนึ่งเป็นกลาง, อาสีนห์ — สถิต, คุไณห์ — ด้วยคุณสมบัติ, ยห์ — ผู้ซึ่ง, — ไม่เคย, วิจาลฺยเต — เร่าร้อน, คุณาห์ — คุณสมบัติ, วรฺตนฺเต — ปฏิบัติ, อิติ เอวมฺ — รู้ดังนี้, ยห์ — ผู้ซึ่ง, อวติษฺฐติ — ยังคง, — ไม่เคย, อิงฺคเต — นิดเดียว, สม — เสมอภาค, ทุห์ข — ในความทุกข์, สุขห์ — ในความสุข, สฺว-สฺถห์ — กระตุ้นอยู่ในตัวเขา, สม — เสมอภาค, โลษฺฏ — ก้อนดิน, อศฺม — หิน, กาญฺจนห์ — ทอง, ตุลฺย — ปฏิบัติเสมอภาค, ปฺริย — ต่อสิ่งที่รัก, อปฺริยห์ — และสิ่งที่ไม่ต้องการ, ธีรห์ — มั่นคง, ตุลฺย — เท่าเทียม, นินฺทา — ในการดูหมิ่น, อาตฺม-สํสฺตุติห์ — และสรรเสริญตัวเขา, มาน — ในเกียรติยศ, อปมานโยห์ — และเสียเกียรติ, ตุลฺยห์ — เท่าเทียม, ตุลฺยห์ — เท่าเทียม, มิตฺร — เพื่อน, อริ — และศัตรู, ปกฺษโยห์ — ต่อพรรค, สรฺว — ทั้งหมด, อารมฺภ — ความพยายาม, ปริตฺยาคี — ผู้เสียสละ, คุณ-อตีตห์ — ข้ามพ้นระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ, สห์ — เขา, อุจฺยเต — กล่าวว่าเป็น

คำแปล

บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัสว่า โอ้ โอรสแห่ง ปาณฺฑุ ผู้ที่ไม่เกลียดแสงสว่าง ความยึดติด และความหลง เมื่อสิ่งเหล่านี้ปรากฏ หรือไม่ปรารถนาเมื่อสิ่งเหล่านี้ไม่ปรากฏ ผู้ที่ไม่เอนเอียง และไม่หวั่นไหวกับผลกระทบซึ่งกันและกันของคุณลักษณะต่างๆทางวัตถุทั้งหลาย คงความเป็นกลางและเป็นทิพย์ รู้ว่าระดับต่างๆเท่านั้นที่ทำงาน ผู้ที่สถิตในตนเอง และปฏิบัติต่อความสุขและความทุกข์เหมือนกัน ผู้ที่มองเห็นก้อนดิน ก้อนหิน และทองคำด้วยสายตาที่เท่าเทียมกัน ผู้ที่เสมอภาคต่อสิ่งที่ปรารถนาและสิ่งที่ไม่ปรารถนา ผู้ที่มีความมั่นคง สถิตเสมอภาคเป็นอย่างดีทั้งในคำสรรเสริญและคำเหยียดหยาม การได้เกียรติและการเสียเกียรติ ผู้ที่ปฏิบัติต่อเพื่อนและศัตรูเหมือนกัน และเป็นผู้ที่สละกิจกรรมทางวัตถุทั้งหมด บุคคลเช่นนี้กล่าวว่าได้ข้ามพ้นเหนือระดับต่างๆแห่งธรรมชาติแล้ว

คำอธิบาย

อรฺชุน ทรงถามสามคำถาม องค์ภควานฺทรงตอบทีละข้อ ในโศลกเหล่านี้ก่อนอื่นองค์กฺฤษฺณทรงแสดงให้เห็นว่าบุคคลสถิตในระดับทิพย์จะไม่มีความอิจฉาริษยาและไม่ทะเยอทะยานกับสิ่งใดๆ เมื่อสิ่งมีชีวิตมาอยู่ในโลกวัตถุนี้และถูกร่างวัตถุปกคลุมเข้าใจว่าเขาต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของหนึ่งในสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ จนกว่าจะออกจากร่างกายจริงๆเขาจึงจะออกจากเงื้อมมือของระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ ตราบใดที่ยังไม่ออกไปจากร่างวัตถุเขาควรทำตัวเป็นกลาง และควรปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺเพื่อจะได้ลืมการสำคัญตนเองกับร่างกายวัตถุไปโดยปริยาย เมื่อมีจิตสำนึกอยู่กับร่างกายวัตถุเขาจะทำสิ่งต่างๆเพื่อสนองประสาทสัมผัสเท่านั้น แต่เมื่อย้ายจิตสำนึกไปที่องค์กฺฤษฺณการสนองประสาทสัมผัสจะหยุดลงโดยปริยาย ร่างกายวัตถุนี้ไม่มีความจำเป็นและตัวเขาก็ไม่จำเป็นต้องยอมรับคำบงการจากร่างวัตถุ คุณสมบัติต่างๆของระดับวัตถุในร่างกายจะทำงาน แต่ดวงวิญญาณหรือตัวเขาเองอยู่ออกห่างเหนือไปจากกิจกรรมต่างๆเหล่านี้ เขาอยู่เหนือและห่างออกไปได้อย่างไร เขาไม่ปรารถนาหาความสุขกับร่างกายและไม่ปรารถนาที่จะออกไปจากร่างกาย ดังนั้นจึงสถิตในวิถีทิพย์สาวกเป็นอิสระโดยปริยาย จึงไม่จำเป็นต้องพยายามมาเป็นอิสระจากอิทธิพลของระดับต่างๆแห่งธรรมชาติวัตถุ

คำถามต่อไปเกี่ยวกับบุคคลผู้สถิตในวิถีทิพย์ บุคคลสถิตทางวัตถุได้รับผลกระทบจากสิ่งที่สมมติว่าเป็นการได้รับเกียรติและเสียเกียรติที่เสนอให้กับร่างกาย แต่บุคคลผู้สถิตในวิถีทิพย์ไม่ได้รับผลกระทบจากการได้เกียรติและการเสียเกียรติอย่างผิดๆ เขาปฏิบัติหน้าที่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกและไม่สนใจว่าใครจะให้เกียรติหรือจะทำให้เขาเสียเกียรติ เขายอมรับสิ่งต่างๆที่เอื้ออำนวยต่อหน้าที่การงานของตนในกฺฤษฺณจิตสำนึก มิฉะนั้นจะไม่มีความจำเป็นกับสิ่งใดๆที่เป็นวัตถุไม่ว่าจะเป็นก้อนหินหรือทองคำ ถือเสียว่าทุกๆคนที่ช่วยเขาในการปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นเพื่อนรักและไม่เกลียดคนที่สมมติว่าเป็นศัตรู เขาปฏิบัติเสมอภาคกับทุกคนและมองดูทุกสิ่งทุกอย่างในระดับเดียวกัน เพราะทราบดีว่าตัวเขาไม่มีอะไรยุ่งเกี่ยวกับความเป็นอยู่ทางวัตถุ ประเด็นทางสังคมและทางการเมืองจะไม่มีผลกระทบต่อเขา เพราะเขารู้ถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและความยุ่งยากต่างๆที่ไม่ถาวร และไม่พยายามทำสิ่งใดๆเพื่อประโยชน์ส่วนตัว แต่จะพยายามทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อองค์กฺฤษฺณ สำหรับส่วนตัวจะไม่พยายามเพื่อสิ่งใด จากพฤติกรรมเช่นนี้เขาสถิตในวิถีทิพย์โดยแท้จริง

โศลก 26

māṁ ca yo ’vyabhicāreṇa
bhakti-yogena sevate
sa guṇān samatītyaitān
brahma-bhūyāya kalpate
มำ จ โย ’วฺยภิจาเรณ
ภกฺติ-โยเคน เสวเต
ส คุณานฺ สมตีไตฺยตานฺ
พฺรหฺม-ภูยาย กลฺปเต
มามฺ — แด่ข้า, — เช่นกัน, ยห์ — บุคคลซึ่ง, อวฺยภิจาเรณ — ไม่ผิดพลาด, ภกฺติ-โยเคน — ด้วยการอุทิศตนเสียสละรับใช้, เสวเต — ถวายการรับใช้, สห์ — เขา, คุณานฺ — ระดับต่างๆแห่งธรรมชาติวัตถุ, สมตีตฺย — ข้ามพ้น, เอตานฺ — ทั้งหมดนี้, พฺรหฺม-ภูยาย — พัฒนามาถึงระดับ พฺรหฺมนฺ, กลฺปเต — กลายมาเป็น

คำแปล

ผู้ปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่างเต็มที่ ไม่หยุดยั้งในทุกๆสถานการณ์ ข้ามพ้นระดับต่างๆแห่งธรรมชาติวัตถุ และมาถึงระดับแห่ง พฺรหฺมนฺ ทันที

คำอธิบาย

โศลกนี้ทรงตอบคำถามที่สามของ อรฺชุน ที่ว่าอะไรคือวิถีทางที่บรรลุถึงสถานภาพทิพย์ ดังที่ได้อธิบายไว้แล้วว่าโลกวัตถุทำงานภายใต้มนต์สะกดของระดับต่างๆแห่งธรรมชาติวัตถุ เราไม่ควรหวั่นไหวไปกับกิจกรรมของระดับต่างๆแห่งธรรมชาติ แทนที่จะปล่อยจิตสำนึกไปในกิจกรรมเหล่านี้ เราอาจย้ายจิตสำนึกไปที่กิจกรรมขององค์กฺฤษฺณ ซึ่งเรียกว่า ภกฺติ-โยค หรือปฏิบัติเพื่อองค์กฺฤษฺณเสมอ เช่นนี้มิได้หมายเพียงแต่องค์กฺฤษฺณเท่านั้น แต่รวมถึงภาคแบ่งแยกที่สมบูรณ์ต่างๆของพระองค์เช่น พระรามและพระนารายณ์ พระองค์ทรงมีอวตารนับไม่ถ้วน ผู้ปฏิบัติในการรับใช้รูปลักษณ์ใดขององค์กฺฤษฺณหรืออวตารที่สมบูรณ์องค์ใดก็ได้พิจารณาว่าสถิตในระดับทิพย์ ควรสังเกตด้วยว่ารูปลักษณ์ขององค์กฺฤษฺณทั้งหมดเป็นทิพย์โดยสมบูรณ์ มีความสุขเกษมสำราญ เปี่ยมไปด้วยความรู้ และเป็นอมตะ องค์ภควานฺเหล่านี้ทรงพระเดชทั้งหมด ทรงเป็นสัพพัญญูและทั้งหมดมีคุณลักษณะทิพย์อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นหากเราปฏิบัติในการรับใช้องค์กฺฤษฺณหรือภาคแบ่งแยกที่สมบูรณ์ของพระองค์ด้วยความมั่นใจอย่างแน่วแน่ ถึงแม้ว่าระดับทั้งสามแห่งธรรมชาติวัตถุเอาชนะได้ยากมาก เราจะสามารถข้ามพ้นระดับเหล่านี้ได้โดยง่ายดาย ได้อธิบายไว้แล้วในบทที่เจ็ดว่าผู้ที่ศิโรราบต่อองค์กฺฤษฺณจะข้ามพ้นอิทธิพลของระดับต่างๆแห่งธรรมชาติวัตถุทันที การอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกหรือในการอุทิศตนเสียสละรับใช้หมายความว่าเราได้รับความเสมอภาคกับองค์กฺฤษฺณ องค์กฺฤษฺณตรัสว่าธรรมชาติของพระองค์เป็นอมตะ มีความสุขเกษมสำราญ และเปี่ยมไปด้วยความรู้ สิ่งมีชีวิตเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺ เศษละอองทองก็เป็นส่วนหนึ่งของเหมืองทอง ดังนั้นสิ่งมีชีวิตในสถานภาพทิพย์ดีเท่าๆกับทองคำดีเท่าๆกับองค์กฺฤษฺณ ในเชิงคุณสมบัติ ความแตกต่างแห่งปัจเจกบุคคลยังคงดำเนินต่อไป มิฉะนั้นจะไม่มีคำว่า ภกฺติ-โยค ภกฺติ-โยค หมายความว่าองค์ภควานฺยังทรงมีอยู่ สาวกก็มีอยู่และกิจกรรมในการแลกเปลี่ยนความรักระหว่างองค์ภควานฺและสาวกก็มีอยู่ ฉะนั้นความเป็นปัจเจกของสองบุคคลมีอยู่ในองค์ภควานฺและปัจเจกชีวิต มิฉะนั้น ภกฺติ-โยค จะไม่มีความหมาย หากเราไม่สถิตในสถานภาพทิพย์เหมือนกับองค์ภควานฺเราจะไม่สามารถรับใช้พระองค์ได้ ในการเป็นผู้รับใช้ส่วนพระองค์ของ กฺษตฺริย เราต้องมีคุณสมบัติเพียงพอ ดังนั้นคุณสมบัติก็คือมาเป็น พฺรหฺมนฺ หรือเป็นอิสระจากมลทินทั้งหลายทางวัตถุ ได้กล่าวไว้ในวรรณกรรมพระเวทว่า พฺรไหฺมว สนฺ พฺรหฺมาปฺยฺ เอติ เราสามารถบรรลุถึง พฺรหฺมนฺ สูงสุดด้วยการมาเป็น พฺรหฺมนฺ เช่นนี้หมายความว่าเราต้องมาเป็นหนึ่งเดียวกับ พฺรหฺมนฺ ในเชิงคุณสมบัติ จากการบรรลุถึง พฺรหฺมนฺ เรามิได้สูญเสียบุคลิก พฺรหฺมนฺ อมตะของตนเองในฐานะที่เป็นปัจเจกวิญญาณ

โศลก 27

brahmaṇo hi pratiṣṭhāham
amṛtasyāvyayasya ca
śāśvatasya ca dharmasya
sukhasyaikāntikasya ca
พฺรหฺมโณ หิ ปฺรติษฺฐาหมฺ
อมฺฤตสฺยาวฺยยสฺย จ
ศาศฺวตสฺย จ ธรฺมสฺย
สุขไสฺยกานฺติกสฺย จ
พฺรหฺมณห์ — ของ พฺรหฺม-โชฺยติรฺ ที่ไร้รูปลักษณ์, หิ — แน่นอน, ปฺรติษฺฐา — ที่เหลือ, อหมฺ — ข้าเป็น, อมฺฤตสฺย — ของไม่รู้จักตาย, อวฺยยสฺย — ของที่ไม่สูญสิ้น, — เช่นกัน, ศาศฺวตสฺย — ของอมตะ, — และ, ธรฺมสฺย — ของตำแหน่งพื้นฐานเดิม, สุขสฺย — แห่งความสุข, ไอกานฺติกสฺย — ในที่สุด, — เช่นกัน

คำแปล

และข้าคือฐานของ พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ซึ่งไม่รู้จักตาย ไม่สูญสิ้น เป็นอมตะ และเป็นสถานภาพพื้นฐานเดิมแห่งความสุขสูงสุด

คำอธิบาย

สถานภาพพื้นฐานเดิมของ พฺรหฺมนฺ คือ ความไม่ตาย ความไม่สูญสิ้น เป็นอมตะ และมีความสุข พฺรหฺมนฺ คือความรู้แจ้งทิพย์ขั้นแรก ปรมาตฺมา หรืออภิวิญญาณคือความรู้แจ้งในระดับกลาง หรือระดับที่สอง และบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าคือความรู้แจ้งสูงสุดแห่งสัจธรรมที่สมบูรณ์ ดังนั้นทั้ง ปรมาตฺมา และ พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์อยู่ภายในบุคคลสูงสุด องค์ภควานฺได้อธิบายไว้ในบทที่เจ็ดว่า ธรรมชาติวัตถุเป็นปรากฏการณ์ของพลังงานเบื้องต่ำขององค์ภควานฺ พระองค์ทรงทำให้ธรรมชาติเบื้องต่ำ หรือธรรมชาติวัตถุตั้งครรภ์ด้วยละอองแห่งธรรมชาติเบื้องสูง และนั่นคือการสัมผัสทิพย์ในธรรมชาติวัตถุ และค่อยๆเจริญขึ้นมาจนถึงแนวคิด พฺรหฺมนฺ แห่งองค์ภควานฺ การบรรลุถึงแนวคิดชีวิตแห่ง พฺรหฺมนฺ นี้เป็นระดับแรกในความรู้แจ้งแห่งตน ในระดับนี้บุคคลผู้รู้แจ้ง พฺรหฺมนฺ นี้เป็นระดับแรกในความรู้แจ้งแห่งตน ในระดับนี้บุคคลผู้รู้แจ้ง พฺรหฺมนฺ เป็นทิพย์เหนือสถานภาพทางวัตถุ แต่จะไม่มีความสมบูรณ์อย่างแท้จริงในความรู้แจ้ง พฺรหฺมนฺ หากปรารถนาจะสามารถอยู่ในสถานภาพ พฺรหฺมนฺ ต่อไป และค่อยๆเจริญขึ้นมาถึงความรู้แจ้ง ปรมาตฺมา จากนั้นก็รู้แจ้งถึงบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า มีตัวอย่างเช่นนี้มากมายในวรรณกรรมพระเวท เช่น กุมาร ทั้งสี่ ตอนแรกสถิตในแนวคิดแห่งสัจธรรม พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ และค่อยๆเจริญขึ้นมาจนถึงระดับแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ผู้ที่ไม่สามารถพัฒนาตนเองให้อยู่เหนือแนวคิดอันไร้รูปลักษณ์แห่ง พฺรหฺมนฺ จะมีความเสี่ยงในการตกลงต่ำ ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ กล่าวว่าถึงแม้บุคคลอาจเจริญขึ้นมาถึงระดับ พฺรหฺมนฺ อันไร้รูปลักษณ์ หากไม่พัฒนาให้สูงขึ้นเนื่องจากไม่มีข้อมูลแห่งองค์ภควานฺปัญญาของเขาจะไม่ผ่องใสโดยสมบูรณ์ ฉะนั้นถึงแม้ว่าจะเจริญมาถึงระดับ พฺรหฺมนฺ ก็ยังมีโอกาสตกลงต่ำหากไม่ปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อพระองค์ ในภาษาพระเวทกล่าวไว้เช่นกันว่า รโส ไว สห์, รสํ หฺยฺ เอวายํ ลพฺธฺวานนฺที ภวติ “เมื่อเข้าใจบุคลิกภาพแห่งพระเจ้าองค์กฺฤษฺณผู้ทรงเป็นแหล่งกำเนิดแห่งความสุข เขาจะมาเป็นผู้มีความปลื้มปีติสุขทิพย์อย่างแท้จริง” (ไตตฺติรีย อุปนิษทฺ 2.7.1) องค์ภควานฺทรงเปี่ยมไปด้วยความมั่งคั่งหกประการ และเมื่อสาวกเข้าพบพระองค์จะมีการแลกเปลี่ยนความมั่งคั่งทั้งหกประการนี้ ผู้รับใช้พระเจ้าแผ่นดินได้รับความรื่นเริงเกือบระดับเดียวกันกับพระเจ้าแผ่นดิน ดังนั้นความสุขนิรันดร ความสุขที่ไม่มีวันสูญสลาย และชีวิตอมตะรวมอยู่ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้เช่นเดียวกัน ความรู้แจ้ง พฺรหฺมนฺ หรือความเป็นอมตะ หรือความไม่รู้จักตายรวมอยู่ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ผู้ที่ปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้มีสิ่งเหล่านี้อยู่ในตัวเรียบร้อยแล้ว

สิ่งมีชีวิตถึงแม้เป็น พฺรหฺมนฺ โดยธรรมชาติมีความปรารถนาเป็นเจ้าเหนือโลกวัตถุด้วยเหตุนี้จึงตกต่ำลง ในสถานภาพพื้นฐานเดิมของตนสิ่งมีชีวิตอยู่เหนือสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ แต่การที่มาคบหาสมาคมกับธรรมชาติวัตถุจึงทำให้ถูกพันธนาการอยู่ในระดับต่างๆแห่งธรรมชาติวัตถุ เช่น ความดี ตัณหา และอวิชชา เนื่องจากการมาคบหาสมาคมกับสามระดับเหล่านี้ความปรารถนาที่จะครอบครองโลกวัตถุจึงมีอยู่ เมื่อปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ในกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์เราจะสถิตในสถานภาพทิพย์ทันที และความปรารถนาที่ผิดกฎหมายในการมาควบคุมธรรมชาติวัตถุจะถูกขจัดไป ดังนั้นวิธีแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้เริ่มจากการสดับฟัง การสวดภาวนา การระลึกถึง ซึ่งมีอยู่เก้าวิธีเพื่อรู้แจ้งถึงการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่ได้อธิบายไว้นั้นเราควรฝึกปฏิบัติร่วมกับเหล่าสาวก จากการมาร่วมกันและด้วยอิทธิพลของพระอาจารย์ทิพย์ความปรารถนาที่จะครอบครองธรรมชาติวัตถุจะค่อยๆถูกขจัดไป และเราจะสถิตอย่างมั่นคงในการรับใช้ทิพย์ด้วยความรักต่อองค์ภควานฺ วิธีนี้ได้อธิบายจากโศลกที่ยี่สิบสองจนมาถึงโศลกสุดท้ายของบทนี้ การอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานฺเป็นสิ่งที่ง่ายมาก เราควรปฏิบัติในการรับใช้พระองค์เสมอ ควรรับประทานอาหารส่วนที่เหลือหลังจากที่ได้ถวายต่อพระปฏิมา แล้วดมกลิ่นหอมของดอกไม้ที่ถวายต่อพระบาทรูปดอกบัวขององค์ภควานฺ มองดูสถานที่ต่างๆที่พระองค์ทรงแสดงลีลาทิพย์ อ่านกิจกรรมต่างๆของพระองค์รวมถึงการแลกเปลี่ยนความรักของพระองค์กับเหล่าสาวก สวดภาวนาคลื่นเสียงทิพย์ หเร กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ หเร หเร / หเร ราม หเร ราม ราม ราม หเร หเร เสมอ และถือวันอดอาหารเพื่อระลึกถึงการปรากฏและการจากไปของพระองค์และบรรดาสาวกของพระองค์ด้วยการปฏิบัติตามวิธีการเหล่านี้ทำให้เราไม่ยึดติดกับกิจกรรมต่างๆทางวัตถุทั้งหมดโดยสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ที่สามารถสถิตใน พฺรหฺม-โชฺยติรฺ หรือแนวคิดแห่ง พฺรหฺมนฺ อันหลากหลายต่างๆมีความทัดเทียมกันกับบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าในเชิงคุณสมบัติ

ดังนั้นได้จบคำอธิบายโดย ภักดีเวดานตะ บทที่สิบสี่ ของหนังสือ ศฺรีมทฺ ภควัท-คีตา ในหัวข้อเรื่อง สามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ